โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

พ.ศ. 758

ดัชนี พ.ศ. 758

ทธศักราช 758 ใกล้เคียงกั.

4 ความสัมพันธ์: มหาศักราชยุทธการที่หับป๋าซุนกวนเตียวเลี้ยว

มหาศักราช

มหาศักราช (ตัวย่อ ม.ศ.; อังกฤษ: Shalivahana era, Saka era) เป็นศักราชที่ใช้ตามปีครองราชย์ของ พระเจ้ากนิษกะ กษัตริย์ที่ปกครองอาณาจักรกุษาณะ หรือ พระเจ้าสลิวาหนะ ศากยะวงศ์องค์หนึ่ง ที่มีอาณาเขตยิ่งใหญ่ปกครองอาณาเขตถึงบริเวณที่ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของ อินเดียส่วนเหนือ อัฟกานิสถาน ทาจิกิสถาน และส่วนตะวันตกของจีน ปีมหาศักราชนั้นในหนังสือไทยจะอ้างถึงปีที่เริ่มครองราชย์คือ พ.ศ. 621 (ค.ศ. 78) ในขณะที่บันทึกต่างประเทศระบุว่าครองราชย์ในปี ค.ศ. 127 (พ.ศ. 670) ด้านสารานุกรมบริเตนนิการะบุว่าไม่ทราบปีครองราชย์ที่แน่นอน คาดว่าอยู่ในช่วง ค.ศ. 78 - 144 เมื่อมหาศักราชแพร่เข้ามายังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทำให้จารึกต่าง ๆ ในสมัยสุโขทัยและอาณาจักรใกล้เคียงต่างใช้มหาศักราชเป็นส่วนใหญ่ คาดว่าไทยเลิกใช้มหาศักราชในปี พ.ศ. 2112 โดยเปลี่ยนไปใช้จุลศักราชแทน อย่างไรก็ตามมีการใช้มหาศักราชอยู่บ้างหลังจากนั้น ดังปรากฏในจารึกวัดไชยวัฒนาราม (จังหวัดพระนครศรีอยุธยา) ปัจจุบันการแปลงมหาศักราช เป็นพุทธศักราช ให้นำ 621 บวกปีมหาศักราชนั้น จะได้ปีพุทธศักร.

ใหม่!!: พ.ศ. 758และมหาศักราช · ดูเพิ่มเติม »

ยุทธการที่หับป๋า

ึกหับป๋า (The Battle of Hefei; ปี ค.ศ. 215) เป็นสงครามที่มีชื่อและมีความสำคัญมากอีกสงครามหนึ่งในสมัยสามก๊ก เป็นการรบกันระหว่างฝ่ายง่อที่มีจำนวนทหารมากกว่าฝ่ายวุยที่รักษาการณ์ที่หับป๋าหลายเท่า แต่กลับเป็นฝ่ายง่อที่พ่ายแพ้และถูกกดดันให้ถอยทัพกลับ ซึ่งถือว่าเป็นศึกที่สำคัญมากต่อฝ่ายวุย เพราะถ้าวุยพลาดเสียหับป๋าให้กับฝ่ายง่อ ก็เท่ากับว่าซุนกวนและกองทัพง่อสามารถเดินทัพอย่างสะดวกเข้าสู่ใจกลางของก๊กวุยและเมืองหลวงได้ ผลจากสงครามครั้งนี้นั้นทำให้ ฝ่ายวุยมั่นคงปลอดภัยที่สามารถรักษาหับป๋าซึ่งเป็นเสมือนประตูสู่ดินแดนวุยได้ ถ้าฝ่ายง่อได้ชัยชนะในครั้งนี้ การที่ซุนกวนจะยกทัพเข้าบุกถึงเมืองหลวงก็มีความเป็นไปได้ เพราะว่าโจโฉได้นำทัพส่วนใหญ่ไปบุกยึดฮันต๋ง เหลือทหารไว้เฝ้าเมืองหลวงไม่มาก อย่างไรก็ดี เรื่องความสามารถของซุนกวนนั้น ในประวัติของเตียวเลี้ยวบอกไว้ว่าซุนกวนเกรงกลัวไม่กล้ามาสู้กับเขา แต่หลาย ๆ บันทึกว่าไว้ว่าซุนกวนนั้นมีความสามารถเรื่องขี่ม้า ยิงธนู กล้าหาญและมีความเป็นนักรบ เสียแต่ว่าซุนกวนไม่มีประวัติความสำเร็จในการนำทัพโจมตีเลย มีเพียงความสามารถในการป้องกันทัพโจโฉจำนวนมากที่บุกมาโจมตีทางปากแม่น้ำยี่สูก่อนหน้าศึกนี้ ซุนกวนนำทัพป้องกันได้เป็นอย่างดี จนโจโฉยังชมเชยว่า ถ้ามีบุตรต้องมีให้ได้อย่างซุนกวน เป็นครั้งสุดท้ายของโจโฉที่บุกง่อก๊กและยิ่งไม่มีโอกาสที่จะกรีฑาทัพบุกง่อก๊ก.

ใหม่!!: พ.ศ. 758และยุทธการที่หับป๋า · ดูเพิ่มเติม »

ซุนกวน

ระเจ้าซุนกวน (181 — 252) หรือ พระเจ้าหวูต้าตี้ เป็นตัวละครในวรรณกรรม จีน อิง ประวัติศาสตร์ เรื่อง สามก๊ก ที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก ผู้ก่อตั้งและพระมหากษัตริย์ของง่อก๊ก (吳) หนึ่งในสามอาณาจักรของยุคสามก๊ก ซุนกวนเป็นบุตรคนที่สองของซุนเกี๋ยน และเป็นน้องชายของซุนเซ็ก เมื่อซุนเซ็กพี่ชายตายไปจึงได้ขึ้นครองเมืองกังตั๋งแทนด้วยวัยแค่ 18 ปี แม้ซุนกวนจะไม่ปรากฏความสามารถในการรบเหมือนผู้พี่แต่มีความสามารถในการปกครองสูงมาก มารดาของซุนกวนได้ตายไปก่อนหน้านี้ ผู้ที่เลี้ยงซุนกวนขึ้นมา คือ ง่อก๊กไท่ ผู้มีศักดิ์เป็นน้าของซุนกวน ซึ่งซุนกวนนับถือง่อก๊กไท่ผู้นี้เสมือนแม่แท้ ๆ ของตัว ซุนกวนมีรูปร่างสูงใหญ่ ผิวขาว มีตาสีเขียว หนวดเคราแดง เมื่อขึ้นครองเมืองแต่ยังเล็ก จึงได้รับฉายาว่า "ทารกตาเขียว" ซึ่งในบรรดาผู้นำก๊กทั้ง 3 นั้น ซุนกวนเป็นผู้มีอายุน้อยที่สุด แม้ตอนที่โจโฉยกทัพไปรบกับง่อก๊กของซุนกวนในศึกหับป๋า ซุนกวนก็บัญชาการรบอย่างแข็งขัน จนโจโฉที่แม้แต่เป็นศัตรูยังเอ่ยปากชมว่า "ถ้าจะได้บุตร ต้องได้บุตรอย่างซุนกวน" ซุนกวนมีน้องสาวอยู่นางหนึ่ง เป็นบุตรสาวของง่อก๊กไท่ ชื่อว่าซุนซางเซียงแต่เรียกกันว่า ซุนฮูหยิน ซึ่งต่อมาในภายหลังได้แต่งงานกับเล่าปี่ เป็นภรรยาคนที่ 3 ของเล่าปี่ ซุนกวนออกอุบายให้นางกลับคืนมาง่อก๊ก โดยเชิญนางให้เร่งรีบกลับมาพร้อมอาเต๊าโดยที่เล่าปี่ไม่รู้ แต่ขงเบ้งอ่านอุบายออก จึงให้จูล่งเร่งรีบเดินทางติดตามไป เมื่อถึงเรือของนางก็กระโดดขึ้นเรือขอให้นางกลับไป แต่นางไม่ยอม จูล่งจึงให้นางไปได้แต่อาเต๊า บุตรของเล่าปี่ต้องอยู่ ท้ายที่สุดอาเต๊าก็ได้กลับไปจ๊กก๊ก และเมื่อซุนฮูหยินทราบเมื่อกลับไปถึงว่านี่เป็นอุบายของพี่ชาย ก็เศร้าโศกเสียใจ ท้ายที่สุดนางก็ตรอมใจตาย ซุนกวน เองก็ปรารถนาก็จะเป็นใหญ่ในแผ่นดินเช่นเดียวกับโจโฉและเล่าปี่ เมื่อตอนที่เล่าปี่มาที่ง่อก๊กเพื่อที่จะสมรสกับซุนฮูหยิน แต่ซุนกวนได้ให้คนคอยซุ่มทำร้ายเล่าปี่อยู่เป็นระยะ ๆ เล่าปี่ก็รู้ทันและได้จูล่งแก้สถานการณ์ให้ เมื่อออกมาจากงานได้รำพันถอดถอนหายใจถึงชะตากรรมตัวเอง และได้เจอหินก้อนใหญ่ก้อนหนึ่ง เล่าปี่อธิษฐานว่าหากตนจะได้เป็นใหญ่ ขอให้ใช้กระบี่ฟันหินนี้ให้แตกเป็น 2 ท่อน ก็ปรากฏว่าฟันหินได้ขาดจริง ๆ ซุนกวนเห็นดังนั้นจึงอธิษฐานบ้าง ก็ปรากฏว่าสามารถฟันหินได้แตกเช่นกัน และทั้งคู่จึงได้ขี่ม้าออกชมทัศนียภาพของง่อก๊กด้วยกัน แต่นโยบายในการทำสงครามของซุนกวนจะไม่ประกาศเป็นศัตรูกับก๊กใหญ่อีก 2 ก๊ก นั้นอย่างเต็มที่ แต่จะผูกไมตรีกับทุกก๊กที่จะเป็นประโยชน์กับตัวเอง ดังจะเห็นว่า ซุนกวนเองแม้จะผูกไมตรีกับจ๊กก๊ก แต่ก็หาทางจะกำจัดเล่าปี่อยู่เสมอ ๆ ถ้ามีโอกาส และซุนกวนเองก็เป็นสาเหตุการตายของกวนอู โดยซุนกวนออกอุบายทำให้จับกวนอูได้ จากนั้นจึงตัดหัวกวนอูส่งไปให้โจโฉ ซึ่งทำให้ทั้งเล่าปี่และเตียวหุยแค้นซุนกวนมาก และทั้งเตียวหุยและเล่าปี่ก็ต้องมาตายด้วยการมาแก้แค้นให้กวนอูทั้งสิ้น และต่อมาใน ปี..252 พระเจ้าซุนกวนสวรรคต รวมเวลาเสวยราชย์อยู่ได้ 24 ปี ภายหลังพระเจ้าซุนกวนสวรรคตไปแล้ว พระโอรสก็ได้ขึ้นเป็นผู้นำก๊กต่อ แต่สภาพภายในง่อก๊กไม่แข็งแกร่งเหมือนเก่า ขุนนางแตกแยกกันเอง จนนำมาสู่การล่มสลายของก๊กในที.

ใหม่!!: พ.ศ. 758และซุนกวน · ดูเพิ่มเติม »

เตียวเลี้ยว

ตียวเลี้ยว (Zhang Liao) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก ขุนพลคนสำคัญของโจโฉ เดิมอยู่รับใช้ลิโป้ ต่อมาลิโป้ถูกจับได้ที่เมืองแห้ฝือถูกประหาร ส่วนเตียวเลี้ยวโจโฉเกลี้ยกล่อมให้มาร่วมงานด้วย และเป็นบุคคลที่กวนอูให้ความเคารพนับถือ เพราะนับถือในความซื่อสัตย์และฝีมือ ทั้ง ๆ ที่อยู่คนละฝ่ายกัน ซึ่งเตียวเลี้ยวเป็นคนที่อาสาโจโฉไปเกลี้ยกล่อมกวนอูขณะที่แตกทัพให้มาอาศัยอยู่ชั่วคราวกับโจโฉนั่นเอง เตียวเลี้ยวเป็นขุนพลที่มีความชำนาญทั้งในพิชัยสงคราม กลศึก การรบบนหลังม้า จึงมักได้รับหน้าที่ภาระสำคัญจากโจโฉเสมอ ๆ แม้จะเป็นขุนพลผู้มาสวามิภักดิ์ภายหลัง เช่นการรักษาเมืองหับป๋า ซึ่งเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญในการรบกับซุนกวน ซึ่งเตียวเลี้ยวก็สามารถทำหน้าที่ได้ดี นอกจากจะรักษาฐานที่มั่นไว้ได้โดยตลอดแล้ว ยังสามารถเป็นฝ่ายรุก รบชนะทัพง่อหลายครั้ง จนเกือบจะจับเป็นซุนกวนได้ จึงเป็นขุนพลที่ทางง่อก๊กขยาดในฝีมือ ถึงกับมีคำกล่าวว่า เตียวเลี้ยวมีตำแหน่งเป็นหนึ่งในห้าทหารเสือของวุยก๊ก (เตียวเลี้ยว, เตียวคับ, งักจิ้น, ซิหลง และอิกิ๋ม) เตียวเลี้ยวเสียชีวิตลงเพราะโดนลูกธนูยิงเมื่อโจผีบุกง่อก๊ก หลังจากโจผีทราบถึงการเสียชีวิตของเตียวเลี้ยวก็จัดพิธีศพอย่างยิ่งใหญ่สมเกียรติ ข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์แตกต่างจากวรรณกรรมอยู่พอสมควร จดหมายเหตุสามก๊กของเฉินโซ่วระบุว่า หลังจากพระเจ้าโจผีขึ้นครองราชย์แล้ว ซุนกวนเป็นฝ่ายยกทัพมารุกรานวุยก๊ก (ไม่ใช่โจผียกไป) เตียวเลี้ยวจึงถูกส่งตัวมาประจำการ ณ หับป๋าอีกครั้ง และเขาก็เอาชนะทัพง่อได้เป็นครั้งที่สอง ทำให้โจผีชื่นชมมาก จึงได้เพิ่มบรรดาศักดิ์และมอบเกียรติยศให้มากมาย ถึงขนาดเปรียบเทียบเขากับ “ซ่าวหู่” ยอดนักรบแห่งราชวงศ์โจว จากนั้นไม่นานเตียวเลี้ยวก็ล้มป่วย พระเจ้าโจผีจึงส่งแพทย์หลวงประจำราชสำนักไปรักษาอาการ ทั้งยังเสด็จไปเยี่ยมเตียวเลี้ยวเป็นการส่วนตัว โดยเสวยอาหารร่วมกับเขาอย่างไม่ถือตัว จนอาการของเตียวเลี้ยวดีขึ้นไม่ช้าไม่นาน ซุนกวนตั้งท่าจะรุกรานวุยก๊กอีก พระเจ้าโจผีจึงให้เตียวเลี้ยวไปรับศึกร่วมกับโจฮิว ครั้นสองฝ่ายประจันหน้ากันที่แม่น้ำแยงซี ซุนกวนซึ่งเคยแพ้เตียวเลี้ยวมาหลายครั้งหลายหนถึงกับกล่าวว่า และแม้จะไม่ได้รบกับซุนกวนอีก แต่เตียวเลี้ยวก็สามารถนำทัพเอาชนะลิห้อมแห่งกังตั๋งได้ในปีเดียวกันนั้น ซึ่งถือเป็นชัยชนะเหนือง่อก๊กรอบที่สาม อาจกล่าวได้ว่านายพลเตียว “ทำแฮตทริก” ชนะง่อก๊กได้ถึงสามครั้ง ซึ่งคงมีนายทหารน้อยคนในแผ่นดินที่จะทำได้เช่นนี้ จากนั้นไม่นาน เตียวเลี้ยวก็ล้มป่วยและเสียชีวิตลง เป็นการ "ป่วยตาย" ไม่ได้โดนเกาทัณฑ์ยิงในการรบเหมือนที่วรรณกรรมหลอกว้านจงเล่าไว้ เตียวเลี้ยวถือเป็นหนึ่งในยอดนายทหารยุคสามก๊กที่ไม่ได้มีดีแค่ฝีมือรบ แต่ยังเปี่ยมไปด้วยสติปัญญา เขาได้รับการยกย่องจากเฉินโซ่ว ผู้บันทึกจดหมายเหตุสามก๊ก ให้เป็น “หมายเลขหนึ่ง” ในบรรดา “ห้าทหารเอกแห่งวุยก๊ก” ร่วมด้วย เตียวคับ ซิหลง งักจิ้น และ อิกิ๋ม ด้วยความที่อยู่วุยก๊ก ซึ่งมักถูกมองเป็น “ก๊กผู้ร้าย” ทำให้เตียวเลี้ยวไม่ได้รับการยกย่องและเป็นที่จดจำของผู้อ่านวรรณกรรมมากเท่ากับทหารเอกฝ่ายจ๊กอย่าง กวนอู เตียวหุย หรือจูล่ง ทั้งๆ ที่ “มือปราบกังตั๋ง” อย่างเขา ยิ่งใหญ่เกรียงไกรไม่แพ้นักรบคนไหนในแผ่นดินเล.

ใหม่!!: พ.ศ. 758และเตียวเลี้ยว · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ค.ศ. 215

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »