โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ฝนหลวง

ดัชนี ฝนหลวง

ระราชกรณียกิจในการทำฝนหลวง โครงการฝนหลวง เป็นโครงการที่เกิดขึ้นจากพระราชดำริส่วนพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เพื่อสร้างฝนเทียมสำหรับบรรเทาปัญหาความแห้งแล้งขาดแคลนน้ำในการเกษตร.

11 ความสัมพันธ์: พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชกรมอุตุนิยมวิทยากรมไปรษณีย์โทรเลขกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ประเทศไทย)การทำฝนเทียมภาคอีสาน (ประเทศไทย)หม่อมราชวงศ์เทพฤทธิ์ เทวกุลอำเภออมก๋อยจังหวัดเชียงใหม่เกษตรกรเกษตรกรรม

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

ระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (5 ธันวาคม พ.ศ. 2470 — 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559) เป็นพระมหากษัตริย์ไทย รัชกาลที่ 9 แห่งราชวงศ์จักรี เสด็จสู่พระราชสมบัติตั้งแต่วันที่ 9 มิถุนายน..

ใหม่!!: ฝนหลวงและพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช · ดูเพิ่มเติม »

กรมอุตุนิยมวิทยา

กรมอุตุนิยมวิทยาแห่งราชอาณาจักรไทย (Meteorological Department of Thailand) เป็นหน่วยงานของรัฐบาลไทย ระดับกรม สังกัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ทำหน้าที่ในการพยากรณ์อากาศ รายงานปรากฏการณ์ธรรมชาติต่างๆ เช่น แผ่นดินไหว ความสูงของคลื่น รายงานพยากรณ์อากาศประจำวันและพยากรณ์อากาศในช่วงเวลาที่กำลังจะมาถึง รวมทั้งออกประกาศเตือนต่าง.

ใหม่!!: ฝนหลวงและกรมอุตุนิยมวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

กรมไปรษณีย์โทรเลข

กรมไปรษณีย์โทรเลข เป็นส่วนราชการระดับกรม สังกัดกระทรวงคมนาคม และยุบเลิกโดย พระราชกฤษฎีกายุบกรมไปรษณีย์โทรเลข กระทรวงคมนาคม พ.ศ. 2545 อันมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 19 มกราคม 2545.

ใหม่!!: ฝนหลวงและกรมไปรษณีย์โทรเลข · ดูเพิ่มเติม »

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ประเทศไทย)

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (Ministry of Agriculture and Cooperatives) เป็นหน่วยงานราชการไทยประเภทกระทรวง ได้รับการสถาปนาเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2435 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในชื่อ กระทรวงเกษตรพานิชการ มี เจ้าพระยาภาสกรวงศ์ (พร บุนนาค) ขณะมีบรรดาศักดิ์ที่พระยาภาสกรวงศ์เป็นเสนาบดีคนแรก ต่อมาในปี พ.ศ. 2439 ได้ยุบรวมกระทรวงเกษตรพานิชการเข้ากับ กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ พร้อมกับลดฐานะลงเป็นกรม ๆ หนึ่ง ในวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2442 มีพระบรมราชโองการแยกกรมเกษตรพานิชการออกมาตั้งเป็นกระทรวงใหม่ใช้ชื่อว่า กระทรวงเกษตราธิการ มี เจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ (หม่อมราชวงศ์หลาน กุญชร) ขณะมีบรรดาศักดิ์ที่พระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์เป็นเสนาบดีคนแรก โดยใช้ หอรัษฎากรพิพัฒน์ เป็นที่ทำการชั่วคราว ในปี พ.ศ. 2475 ได้มีการยุบรวมกระทรวงเกษตราธิการเข้ากับ กระทรวงพาณิชย์และคมนาคม ใช้ชื่อว่า กระทรวงเกษตรพาณิชยการ ต่อมาวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2476 ได้มีการเปลี่ยนแปลงชื่อและอำนาจหน้าที่จากกระทรวงเกษตรพาณิชยการเป็น กระทรวงเศรษฐการ ในวันที่ 1 ตุลาคม..

ใหม่!!: ฝนหลวงและกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ประเทศไทย) · ดูเพิ่มเติม »

การทำฝนเทียม

การทำฝนเทียมเป็นกรรมวิธีดัดแปรสภาพอากาศเพื่อให้เกิดฝน การทำฝนเทียมเป็นกรรมวิธีเลียนแบบธรรมชาติ โดยทำจากเมฆซึ่งมีลักษณะพอเหมาะที่จะเกิดฝนได้ จากนั้นจึงเร่งให้เกิดการควบแน่นของเมฆ ด้วย 3 ขั้นตอน คือ ก่อกวน, เลี้ยงให้อ้วน, และโจมตี มักทำใน 2 สภาวะ คือ การทำฝนเมฆเย็น เมื่อเมฆมีอุณหภูมิต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียส และ การทำฝนเมฆอุ่น เมื่อเมฆมีอุณหภูมิสูงกว่า 0 องศาเซลเซียส การทำฝนเทียมในสองสภาวะนี้จะใช้สารในการดัดแปรสภาพอากาศที่แตกต่างกัน เครื่องบิน ''Cessna 210'' กับอุปกรณ์ในการทำฝนเทียม.

ใหม่!!: ฝนหลวงและการทำฝนเทียม · ดูเพิ่มเติม »

ภาคอีสาน (ประเทศไทย)

อีสาน (มาจากภาษาบาลีหรือภาษาสันสกฤต ऐशान aiśāna แปลว่า "ตะวันออกเฉียงเหนือ") หรือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นภูมิภาคหนึ่งในประเทศไทย ตั้งอยู่บนแอ่งโคราชและแอ่งสกลนคร มีแม่น้ำโขงกั้นประเทศลาวทางทิศเหนือและตะวันออกของภาค ทางทิศใต้มีเทือกเขาพนมดงรักกั้นประเทศกัมพูชาและภาคตะวันออกของประเทศไทย และมีทิวเขาเพชรบูรณ์และทิวเขาดงพญาเย็นเป็นแนวกั้นทางตะวันตกแยกจากภาคกลาง ภาคอีสานยังมีเนื้อที่มากที่สุดของประเทศไทย ประมาณ 168,854 ตารางกิโลเมตร หรือมีเนื้อที่ร้อยละ 33.17 เทียบได้กับหนี่งในสามของพื้นที่ทั้งหมดของประเทศไทยได้จัดว่าเป็นพื้นที่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เทือกเขาที่สูงที่สุดในภาคอีสานคือ ยอดภูลมโล ภูหลวง และภูกระดึง ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำสายสำคัญของชาวอีสานในหลายจังหวัดด้วยกัน เช่น แม่น้ำห้วยหลวง แม่น้ำชี ลำตะคอง แม่น้ำพอง แม่น้ำเลย แม่น้ำพรม แม่น้ำมูล แม่น้ำสงคราม ภาษาหลักของภาคนี้ คือ ภาษาอีสาน ซึ่งเป็นภาษาอีสานสำเนียงหนึ่งทางฝั่งขวาแม่น้ำโขง ส่วนภาษาไทยนิยมใช้กันทั่วไปโดยเฉพาะในเมืองใหญ่และจังหวัดนครราชสีมาแต่ไม่ถือเป็นภาษาหลัก ขณะเดียวกันยังมีภาษาเขมรที่ใช้กันมากในบริเวณอีสานใต้ นอกจากนี้ มีภาษาถิ่นอื่น ๆ อีกมาก เช่น ภาษาผู้ไท ภาษาโส้ ภาษาไทโคราช ภาษากวย (ส่วย) ภาษาแสก ภาษาข่า ภาษากะเลิง ภาษาโย้ย ภาษาย้อ เป็นต้น ภาคอีสานยังมีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่โดดเด่นที่สุดของประเทศ เช่น อาหาร ภาษา อักษร เช่น อักษรไทน้อย ดนตรีหมอลำ ดนตรีกันตรึม ดนตรีเจรียง และศิลปะการฟ้อนรำ การเซิ้ง ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ เป็นต้น.

ใหม่!!: ฝนหลวงและภาคอีสาน (ประเทศไทย) · ดูเพิ่มเติม »

หม่อมราชวงศ์เทพฤทธิ์ เทวกุล

หม่อมราชวงศ์เทพฤทธิ์ เทวกุล (20 ธันวาคม 2457 - 26 พฤศจิกายน 2527) อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เป็นโอรสของพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าไตรทศประพันธ์ กรมหมื่นเทววงศ์วโรทัย และหม่อมเพี้ยน เทวกุล (บุนนาค) เกิดที่กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี.

ใหม่!!: ฝนหลวงและหม่อมราชวงศ์เทพฤทธิ์ เทวกุล · ดูเพิ่มเติม »

อำเภออมก๋อย

อมก๋อย (30px) เป็นอำเภอหนึ่งใน 25 อำเภอของจังหวัดเชียงใหม่ ตั้งอยู่ทางใต้สุดของจังหวัด มีอาณาเขตติดกับจังหวัดแม่ฮ่องสอน และตาก อีกทั้งยังมีแหล่งท่องเที่ยวที่มีความสวยงามหลายแห่ง เช่น ดอยม่อนจอง ดอยมูเซอ วัดแสนทอง ซึ่งเป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองอมก๋อย เป็นต้น.

ใหม่!!: ฝนหลวงและอำเภออมก๋อย · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดเชียงใหม่

ังหวัดเชียงใหม่ (40px เจียงใหม่) เป็นจังหวัดหนึ่งของไทย ตั้งอยู่ทางภาคเหนือของประเทศ ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 20,107 ตารางกิโลเมตร ซึ่งใหญ่เป็นอันดับ 2 ของประเทศ มีประชากร 1,746,840 คน มากเป็นอันดับ 5 ของประเทศ ในจำนวนนี้เป็นประชากรที่อาศัยอยู่ในเขตเมืองและชานเมือง 960,906 คน โดยจังหวัดเชียงใหม่ทิศเหนือติดต่อกับรัฐฉานของเมียนมา จังหวัดเชียงใหม่ จัดเป็นเมืองใหญ่อันดับที่สองของประเทศไทย รองจากกรุงเทพมหานคร โดยแบ่งการปกครองออกเป็น 25 อำเภอ โดยมีอำเภอเมืองเชียงใหม่เป็นศูนย์กลางของจังหวัด เมื่อ พ.ศ. 2552 มีการจัดตั้งอำเภอกัลยาณิวัฒนาเป็นอำเภอลำดับที่ 25 ของจังหวัด และลำดับที่ 878 ของประเทศ ซึ่งเป็นอำเภอล่าสุดของไทย จังหวัดเชียงใหม่มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน เคยเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรล้านนาแต่โบราณ มี "คำเมือง" เป็นภาษาท้องถิ่น มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวทั้งด้านประเพณีวัฒนธรรม และมีแหล่งท่องเที่ยวจำนวนมาก โดยเริ่มวางตัวเป็นนครสร้างสรรค์ และได้รับการประกาศเป็นเมืองสร้างสรรค์ของโลกทางด้านหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน เมื่อปี พ.ศ. 2560 ปัจจุบันกำลังพิจารณาสมัครเมืองมรดกโลกจากองค์การยูเนสโก.

ใหม่!!: ฝนหลวงและจังหวัดเชียงใหม่ · ดูเพิ่มเติม »

เกษตรกร

กษตรกร เป็นอาชีพหนึ่งที่ทำงานเกี่ยวกับการเกษตร เป็นการเพาะปลูกพืชต่างๆ ในสวนและไร่นา รวมทั้งการเลี้ยงสัตว์และการประมง เพื่อผลิตเป็นอาหาร เส้นใยธรรมชาติ และเชื้อเพลิงต่าง ๆ อันเกิดมาจากการเกษตรกรรม ในปัจจุบันพบว่าแรงงานร้อยละ 42 ของโลกประกอบอาชีพเกษตรกร เกษตรกรที่มีฐานะมักมีที่ดินทำกินเป็นของตัวเอง แต่สำหรับเกษตรกรที่มีฐานะปานกลางและค่อนข้างต่ำถึงยากจนมักเช่าที่ดินทำกินมากกว่า สำหรับในประเทศไทยพบว่าฐานะของเกษตรกรมีรายได้ลดลงและมีหนี้สินเพิ่มขึ้นทุกปี นอกจากนี้แนวโน้มประชากรในต่างจังหวัดรุ่นใหม่ยังละทิ้งอาชีพเกษตรกรและหันไปประกอบอาชีพอื่นมากขึ้นอีกด้ว.

ใหม่!!: ฝนหลวงและเกษตรกร · ดูเพิ่มเติม »

เกษตรกรรม

กษตรกรรม (agriculture) เป็นการเพาะปลูกพืช เห็ดรา เลี้ยงสัตว์ และรูปแบบของชีวิตแบบอื่น ๆ เพื่อเป็นอาหาร เส้นใย เชื้อเพลิงชีวภาพ ยารักษาโรคและผลิตภัณฑ์อื่นเพื่อความยั่งยืนและเพิ่มสมรรถนะชีวิตมนุษย์ เกษตรกรรมเป็นพัฒนาการที่สำคัญในความเจริญของอารยธรรมมนุษย์ที่ไม่ย้ายที่อยู่ซึ่งการเพาะปลูกหรือเลี้ยงสัตว์ในสปีชีส์ที่ถูกทำให้เชื่องได้ผลิตอาหารส่วนเกิน ซึ่งช่วยหล่อเลี้ยงพัฒนาการของอารยธรรม การศึกษาด้านเกษตรกรรมถูกเรียกว่า เกษตรศาสตร์ ประวัติศาสตร์ของเกษตรกรรมย้อนกลับไปหลายพันปี และการพัฒนาของมันได้ถูกขับเคลื่อนโดยความแตกต่างอย่างมากของภูมิอากาศ วัฒนธรรมและเทคโนโลยี อย่างไรก็ตาม เกษตรกรรมทั้งหมดโดยทั่วไปพึ่งพาเทคนิคต่างๆเพื่อการขยายและบำรุงที่ดินที่เหมาะสมต่อการเลี้ยงสปีชีส์ที่ถูกทำให้เชื่อง สำหรับพืช เทคนิคนี้มักอาศัยการชลประทานบางรูปแบบ แม้จะมีหลายวิธีการของเกษตรกรรมในพื้นที่แห้งแล้งอยู่ก็ตาม ปศุสัตว์จะถูกเลี้ยงในระบบทุ่งหญ้าผสมกับระบบที่ไม่เป็นเจ้าของที่ดิน ในอุตสาหกรรมที่ครอบคลุมพื้นที่เกือบหนึ่งในสามของพื้นที่ที่ปราศจากน้ำแข็งและปราศจากน้ำของโลก ในโลกพัฒนาแล้วเกษตรอุตสาหกรรมที่ยึดการปลูกพืชเชิงเดี่ยวขนาดใหญ่ได้กลายเป็นระบบเกษตรกรรมสมัยใหม่ที่โดดเด่น แม้ว่าจะมีแรงสนับสนุนที่เพิ่มมากขึ้นสำหรับเกษตรกรรมแบบยั่งยืน รวมถึงเกษตรถาวรและเกษตรกรรมอินทรีย์ จนกระทั่งมีการปฏิวัติอุตสาหกรรม ส่วนใหญ่ของประชากรมนุษย์ทำงานในภาคการเกษตร การเกษตรแบบก่อน-อุตสาหกรรมโดยทั่วไปเป็นการเกษตรเพื่อการดำรงชีวิต/การพึ่งตัวเองในที่ซึ่งเกษตรกรส่วนใหญ่ปลูกพืชเพื่อการบริโภคของตัวเองแทน'พืชเงินสด'เพื่อการค้า การปรับเปลี่ยนที่โดดเด่นในการปฏิบัติทางการเกษตรได้เกิดขึ้นในช่วงศตวรรษที่ผ่านมาในการตอบสนองต่อเทคโนโลยีใหม่ๆและการพัฒนาของตลาดโลก มันยังได้นำไปสู่การปรับปรุงด้านเทคโนโลยีในเทคนิคการเกษตร เช่นวิธีของ 'ฮาเบอร์-Bosch' สำหรับการสังเคราะห์แอมโมเนียมไนเตรตซึ่งทำให้การปฏิบัติแบบดั้งเดิมของสารอาหารที่รีไซเคิลด้วยการปลูกพืชหมุนเวียนและมูลสัตว์มีความสำคัญน้อยลง เศรษฐศาสตร์การเกษตร การปรับปรุงพันธุ์พืช เกษตรเคมีเช่นยาฆ่าแมลงและปุ๋ยและการปรับปรุงเทคโนโลยีที่ทันสมัยได้เพิ่มอัตราผลตอบแทนอย่างรวดเร็วจากการเพาะปลูก แต่ในเวลาเดียวกันได้ทำให้เกิดความเสียหายของระบบนิเวศอย่างกว้างขวางและผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์ในเชิงลบ การคัดเลือกพันธุ์และการปฏิบัติที่ทันสมัยในการเลี้ยงสัตว์ได้เพิ่มขึ้นในทำนองเดียวกันของการส่งออกของเนื้อ แต่ได้เพิ่มความกังวลเกี่ยวกับสวัสดิภาพของสัตว์และผลกระทบต่อสุขภาพของยาปฏิชีวนะ ฮอร์โมนที่สร้างการเจริญเติบโต และสารเคมีอื่นๆที่ใช้ทั่วไปในอุตสาหกรรมการผลิตเนื้อสัตว์ สิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมเป็นองค์ประกอบที่เพิ่มขึ้นของการเกษตร แม้ว่าพวกมันจะเป็นสิ่งต้องห้ามในหลายประเทศ การผลิตอาหารการเกษตรและการจัดการน้ำจะได้กลายเป็นเป็นปัญหาระดับโลกเพิ่มขึ้นที่ได้รับการสนับสนุนให้เกิดการอภิปรายเกี่ยวกับจำนวนของ fronts การเสื่อมสลายอย่างมีนัยสำคัญของทรัพยากรดินและน้ำ รวมถึงการหายไปของชั้นหินอุ้มน้ำ ได้รับการตั้งข้อสังเกตในทศวรรษที่ผ่านมา และผลกระทบของภาวะโลกร้อนกับการเกษตรและผลของการเกษตรต่อภาวะโลกร้อนยังคงไม่เป็นที่เข้าใจอย่างเต็มที่ สินค้าเกษตรที่สำคัญสามารถแบ่งออกเป็นกลุ่มกว้างๆได้แก่อาหาร เส้นใย เชื้อเพลิง และวัตถุดิบ อาหารที่เฉพาะได้แก่(เมล็ด)ธัญพืช ผัก ผลไม้ น้ำมันปรุงอาหาร เนื้อสัตว์และเครื่องเทศ เส้นใยรวมถึงผ้าฝ้าย ผ้าขนสัตว์ ป่าน ผ้าไหมและผ้าลินิน วัตถุดิบได้แก่ ไม้และไม้ไผ่ วัสดุที่มีประโยชน์อื่นๆมีการผลิตจากพืช เช่นเรซิน สีธรรมชาติ ยา น้ำหอม เชื้อเพลิงชีวภาพและผลิตภัณฑ์ใช้ประดับเช่นไม้ตัดดอกและพืชเรือนเพาะชำ กว่าหนึ่งในสามของคนงานในโลกมีการจ้างงานในภาคเกษตร เป็นที่สองรองจากภาคบริการเท่านั้น แม้ว่าร้อยละของแรงงานเกษตรในประเทศที่พัฒนาแล้วได้ลดลงอย่างมีนัยสำคัญในช่วงหลายศตวรรษที่ผ่านม.

ใหม่!!: ฝนหลวงและเกษตรกรรม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

วันพระบิดาแห่งฝนหลวงโครงการฝนหลวง

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »