โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ฝนละออง

ดัชนี ฝนละออง

ฝนละออง หรือ ฝนหยิม คือหยาดน้ำฟ้าที่เป็นเม็ดมีขนาดเล็กละเอียดเป็นละออง หรือเป็นฝอยบาง ๆ มีเส้นผ่าศูนย์กลางเล็กกว่า 0.5 มิลลิเมตร (0.02 นิ้ว) ตกค่อนข้างสม่ำเสมอ เนื่องจากเป็นเม็ดเล็กละเอียดและอยู่ใกล้ชิดกันมาก สามารถลอยปลิวไปมาตามกระแสลมได้ มักตกจากเมฆสเตรตัสและเมฆสเตรโตคิวมูลัสระดับต่ำ จึงทำให้ทัศนวิสัยไม่ดี แตกต่างจากหมอกตรงที่ฝนละอองนี้จะตกจากท้องฟ้าลงสู่ดิน.

4 ความสัมพันธ์: หมอกหยาดน้ำฟ้าท้องฟ้าเส้นผ่านศูนย์กลาง

หมอก

หมอกปกคลุมเมืองซานฟรานซิสโก หมอก (อังกฤษ: fog) คือกลุ่มละอองน้ำที่ลอยตัวอยู่ในระดับต่ำเหนือพื้นดิน ซึ่งเมฆบางครั้งก็ถูกพิจารณาว่าเป็นส่วนหนึ่งของหมอก ตัวอย่างเช่น เมฆที่เคลื่อนตัวในอากาศระดับสูงจะไม่ถูกพิจารณาว่าเป็นหมอก ขณะที่เมฆที่เคลื่อนตัวมาแบบสัมผัสกับพื้นดิน อาคาร หรือสิ่งก่อสร้างของมนุษย์ ที่มีความสูงขนาดหนึ่ง จะถูกพิจารณาว่าเป็นหมอกมากกว่าเมฆ ซึ่งหมอกแตกต่างจากละอองหมอก (mist) ก็เพียงเฉพาะความหนาแน่นเท่านั้น ผลกระทบของการเกิดหมอกที่เด่นชัดคือการทำให้ความสามารถในการมองเห็นลดลง หมอกปกติทั่วไปอาจลดความสามารถในการมองเห็นน้อยกว่า 1 กิโลเมตร ส่วนละอองหมอกจะลดความสามารถในการมองเห็นให้เหลือในระยะ 1–2 กิโลเมตร มาตรฐานการบินของสหราชอาณาจักรกำหนดไว้ว่าประสิทธิภาพในการมองเห็นที่ระยะ 999 เมตรถึง 2 กิโลเมตร จะพิจารณาสภาพนั้นว่าเป็นละอองหมอก นอกจากนี้ละอองหมอกจะต้องมีระดับความชื้นสัมพัทธ์ไม่ต่ำกว่า 95 เปอร์เซ็นต์หรือสูงกว่า หากมีความชื้นสัมพัทธ์น้อยกว่า 95 เปอร์เซ็นต์เราจะพิจารณาสภาพนั้นว่าเป็นฟ้าหลัว สถานที่ที่ซึ่งเกิดหมอกมากที่สุดในโลกคือแกรนด์แบงค์นอกชายฝั่งของเกาะนิวฟันด์แลนด์ แคนาดา สถานที่ที่ซึ่งกระแสน้ำเย็นแลบราดอร์จากทางเหนือมาบรรจบกับกระแสน้ำอุ่นกัล์ฟสตรีมจากทางใต้ทำให้เกิดสภาวะหมอกมากที่สุดในโลก ส่วนสถานที่บนพื้นบกที่เกิดหมอกมากที่สุดในโลกได้แก่ เมโนโมนี รัฐวิสคอนซิน, พอยน์ตเรย์ รัฐแคลิฟอร์เนีย, อาร์เจนเทีย รัฐนิวฟันด์แลนด์และแลบราดอร์ ทั้งหมดที่กล่าวมามีวันที่หมอกหนามากกว่า 200 วันต่อปี แม้แต่ยุโรปใต้ที่มีอากาศอุ่นกว่าส่วนอื่นก็สามารถพบหมอกหนาตามพื้นที่ราบต่ำและหุบเขา เช่นที่ หุบเขาโปในอิตาลี หุบเขาตามแม่น้ำอาร์โนและแม่น้ำไทเบอร์ในอิตาลี และเช่นเดียวกับที่ราบสูงสวิสในช่วงปลายฤดูใบไม้ร่วงและปลายฤดูหนาว.

ใหม่!!: ฝนละอองและหมอก · ดูเพิ่มเติม »

หยาดน้ำฟ้า

ในทางอุตุนิยมวิทยา หยาดน้ำฟ้า (precipitation) เป็นปรากฏการณ์ของน้ำในอากาศ (hydrometeor) ประเภทหนึ่ง ซึ่งหมายความถึงผลิตภัณฑ์ใด ๆ อันเกิดจากการควบแน่นของไอน้ำในบรรยากาศและตกลงมาด้วยอิทธิพลของแรงโน้มถ่วง รูปแบบหลักของหยาดน้ำฟ้าประกอบด้วยฝนละออง (drizzle), ฝน, ฝนน้ำแข็ง (sleet), หิมะ, ลูกปรายหิมะ (graupel) และลูกเห็บ หยาดน้ำฟ้าเกิดขึ้นเมื่อบรรยากาศเหนือพื้นดินบริเวณหนึ่งอิ่มตัวด้วยไอน้ำ จากนั้นน้ำเกิดการควบแน่นและตกลงมา หมอกและหมอกน้ำค้างจึงไม่จัดเป็นหยาดน้ำฟ้า มีอยู่สองกระบวนการที่อากาศอิ่มตัวได้ คือ อากาศได้รับความเย็นหรือเพิ่มไอน้ำเข้าไปในอากาศ ซึ่งสองกระบวนการนี้อาจเกิดร่วมกันได้ โดยทั่วไป หยาดน้ำฟ้าจะตกกลับคืนสู่พื้นดิน แต่ยกเว้นน้ำโปรยฐานเมฆ (virga) ซึ่งระเหยไปหมดก่อนตกถึงพื้น หยาดน้ำฟ้าก่อตัวขึ้นเป็นหยาดเล็กที่รวมกันโดยชนกับหยดฝนหรือผลึกน้ำแข็งอื่นภายในเมฆ หยดฝนที่ตกลงมามีขนาดแตกต่างกันตั้งแต่รูปทรงคล้ายแพนเค้กกลมแป้นสำหรับหยดขนาดใหญ่ ถึงทรงกลมเล็กสำหรับหยดขนาดเล็ก เกล็ดหิมะ (snowflake) มีหลายรูปทรงและแบบ ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิและความชื้นของอากาศที่เกล็ดหิมะเคลื่อนผ่านก่อนตกสู่พื้น หิมะและลูกปรายหิมะจะเกิดเฉพาะเมื่ออุณหภูมิใกล้ผิวดินใกล้หรือต่ำกว่าจุดเยือกแข็งของน้ำ ส่วนลูกเห็บสามารถเกิดขึ้นในเขตอุณหภูมิอบอุ่นได้จากกระบวนการก่อตัว โดยรวมหยาดน้ำฟ้าเกิดจากความชื้นเหนือแนวปะทะ (weather front) เป็นหลัก หากมีความชื้นเพียงพอและมีการเคลื่อนที่ขึ้น หยาดน้ำฟ้าจะตกจากมวลอากาศร้อนขึ้นทางแนวดิ่ง (convective cloud) เช่น คิวมูโลนิมบัส และสามารถก่อตัวเป็นบริเวณแถบฝนแคบ ๆ ได้.

ใหม่!!: ฝนละอองและหยาดน้ำฟ้า · ดูเพิ่มเติม »

ท้องฟ้า

ท้องฟ้าและกลุ่มเมฆ ท้องฟ้าตอนพระอาทิตย์ตก ท้องฟ้าเป็นส่วนหนึ่งของชั้นบรรยากาศหรืออวกาศที่สามารถมองเห็นได้จากพื้นผิวโลก นก แมลง เครื่องบิน และ ว่าว ถูกจัดว่าบินอยู่ในท้องฟ้า มีหลายเหตุผลที่ทำให้ท้องฟ้านั้นยากที่จะจำกัดความ ในเวลากลางวันท้องฟ้าปรากฏเป็นพื้นสีฟ้าเนื่องจากอากาศทำให้เกิดการกระเจิงของแสงอาทิตย์ ไม่ใช่เพราะว่ามีวัตถุสีฟ้าเหนือพื้นโลก เพราะเหตุนี้จึงเป็นการยากที่จะนิยามว่าท้องฟ้าคือสิ่งใด ท้องฟ้านั้นบางครั้งถูกจำกัดความว่าเป็นเขตของชั้นบรรยากาศโลกที่มีแก๊สแน่นหนา ในเวลากลางคืน ท้องฟ้านั้นปรากฏเป็นพื้นสีดำสนิท หรือบางครั้งเรียงรายไปด้วยดวงดาว แต่ถ้าเรากล่าวว่าทั้งหมดที่เราเห็นนั้นคือท้องฟ้า ก็จะกลายเป็นว่าท้องฟ้าคือจักรวาลซึ่งผิดจากความหมายแรกเมื่อเราเห็นตอนกลางวัน ในเวลากลางวัน เราสามารถมองเห็นดวงอาทิตย์ได้ต่อเมื่อไม่มีเมฆบดบัง ในเวลากลางคืน (และบางครั้งในเวลากลางวัน) เราสามารถมองเห็นดวงจันทร์ ดาวเคราะห์ และ ดวงดาว ปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เราสามารถเห็นได้ในท้องฟ้าคือเมฆ รุ้งกินน้ำ และ ออโรรา สายฟ้าและ หยาดน้ำฟ้านั้น สามารถเห็นได้ในระหว่างเวลาที่มีพายุ บ่อยครั้งเราสามารถมองเห็นหมอกควันในเวลากลางวันและรัศมีของแสงในเวลากลางคืนเนื่องจากมลพิษที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ ในสายวิชาดาราศาสตร์ ท้องฟ้าถูกเรียกว่าทรงกลมฟ้า นั่นคือทรงกลมจินตภาพขนาดมหึมา หมุนรอบตัวเองโดยมีแกนหมุนและศูนย์กลางร่วมกันกับโลก ทรงกลมฟ้านั้นถูกแบ่งเป็นสัดส่วนเรียกว่ากลุ่มดาว ดูท้องฟ้าของดาวเคราะห์อื่น สำหรับความหมายของท้องฟ้าในดาวเคราะห์ต่าง ๆ และดวงจันทร์ในระบบสุร.

ใหม่!!: ฝนละอองและท้องฟ้า · ดูเพิ่มเติม »

เส้นผ่านศูนย์กลาง

เส้นผ่านศูนย์กลาง (Diameter) เส้นผ่านศูนย์กลาง (อังกฤษ: diameter) คือเส้นตรงซึ่งลากผ่านจุดศูนย์กลางของรูปวงกลมไปบรรจบกับเส้นรอบวงทั้งสองข้าง ซึ่งรูปวงกลมนั้นอาจมาจากหน้าตัดของทรงกระบอก ทรงกรวย หรือทรงกลมก็ได้ เส้นผ่านศูนย์กลางมีความยาวเป็นสองเท่าของเส้นรัศมี เป็นคอร์ดที่ยาวที่สุดในรูปวงกลม และแบ่งรูปวงกลมออกเป็นรูปครึ่งวงกลมสองส่วนเท่าๆ กัน และสามารถเปลี่ยนไปได้ทุกทิศทางไม่กำหนด เส้นผ่านศูนย์กลางจะสร้างมารถคำนวณได้โดยหาค่ารัศมีแล้วคูณสอง เพราะว่าความยาวของรัศมีหนึ่งเส้นเท่ากับครึ่งหนึ่งของเส้นผ่าศูนย์กลาง ในทางวิศวกรรมศาสตร์ เส้นผ่านศูนย์กลางสามารถเขียนแทนได้ด้วยสัญลักษณ์ ⌀ (ยูนิโคด: U+8960) ซึ่งมีลักษณะเป็นรูปวงกลมเล็กๆ ขีดทับด้วยเส้นตรงเอียงลงทางซ้าย มีประโยชน์ในการบ่งบอกขนาดของรูปวงกลม หมวดหมู่:เรขาคณิตมูลฐาน หมวดหมู่:ความยาว.

ใหม่!!: ฝนละอองและเส้นผ่านศูนย์กลาง · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ฝนหยิมละอองฝน

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »