โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ผีตายทั้งกลม

ดัชนี ผีตายทั้งกลม

ผีตายทั้งกลม (หรือบางครั้งเรียกว่า ผีตายท้องกลม ซึ่งเป็นคำที่ใช้ผิด) เป็นผีไทยลักษณะหนึ่ง โดยผู้หญิงที่ตายขณะที่กำลังตั้งครรภ์ลูกในท้องหรือขณะที่กำลังคลอดลูก ถ้าในขณะที่กำลังจะคลอดลูกนั้นแล้วเกิดตายขึ้นมาทั้งแม่และลูกถือว่าเป็นการตายโหงอีกรูปแบบหนึ่ง นางนาค หรือแม่นาคพระโขนงก็เป็นผีตายทั้งกลมเช่นกัน ผีตายทั้งกลมจะสำแดงอาการหลอกหลอนคนในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ถ้าใครเดินผ่านบ้านที่มีหญิงตายทั้งกลมในยามค่ำคืน จะได้ยินเสียงกล่อมเด็กดังวังเวงมาจากในบ้านที่มีหญิงตายทั้งกลมนั้น หรือหนักหน่อยอาจจะมีคนเห็นเปลเด็กผูกอยู่บนคบไม้สูง โดยมีผีตายทั้งกลมนั่งกล่อมลูกอยู่ข้างล่าง ส่วนมือยืดยาวขึ้นไปบนคบไม้ ไกวเปลให้ลูก คำว่าตายทั้งกลม สันนิษฐานว่าน่าจะมาจากคำว่า "ตายทั้งกลํ" คำว่า "กลํ" (/กม/) เป็นภาษาเขมร หรือภาษาโบราณ แปลว่า "ทั้งหมด ทั้งมวล หรือหมดสิ้น" ซึ่งในประชุมจารึกสยาม ภาคที่ ๑ จารึกสุโขทัย ชำระและแปลโดยยอร์จ เซเดส์ ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ..

5 ความสัมพันธ์: ภาษาเขมรรายชื่อผีไทยผีตายโหงผีในวัฒนธรรมไทยแม่นากพระโขนง

ภาษาเขมร

ษาเขมร (ភាសាខ្មែរ ภาสาแขฺมร เพียซา ขฺมะเอ) ซึ่งเป็นภาษาประจำชาติของราชอาณาจักรกัมพูชา เป็นหนึ่งในภาษาหลักของภาษากลุ่มออสโตรเอเซียติก และได้รับอิทธิพลหลายๆ ประการมาจากภาษาสันสกฤต และภาษาบาลี พอสมควร ซึ่งอิทธิพลเหล่านี้เข้ามาผ่านศาสนาพุทธ และศาสนาฮินดู ในขณะที่อิทธิพลจากภาษาอื่นๆ โดยมากเป็นคำยืม เช่น จากภาษาไทย ภาษาลาว และภาษาเวียดนาม เป็นผลมาจากการติดต่อกันทางด้านภาษา และความใกล้ชิดกันในทางภูมิศาสตร์ และภาษาจีนจากการอพยพ ภาษาฝรั่งเศสจากการตกเป็นอาณานิคมช่วงเวลาหนึ่ง และภาษามลายูจากความสัมพันธ์ในอดีตและการที่เคยมีอาณาจักรจามปาในตอนกลางของประเทศเวียดนาม ภาษาเขมรแปลกไปจากภาษาในประเทศเพื่อนบ้าน (ภาษาไทย ภาษาลาว และภาษาเวียดนาม) เนื่องจากไม่มีเสียงวรรณยุกต.

ใหม่!!: ผีตายทั้งกลมและภาษาเขมร · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อผีไทย

้านล่างนี้คือ รายชื่อผีไท.

ใหม่!!: ผีตายทั้งกลมและรายชื่อผีไทย · ดูเพิ่มเติม »

ผีตายโหง

ผีตายโหง คือ คนที่เสียชีวิตอย่างปัจจุบันทันด่วน แบบไม่ธรรมดาตามธรรมชาติ เช่น ถูกยิง จมน้ำ รถชน ฆ่าตัวตาย เป็นต้น สำหรับการตายทั้งกลมก็ถือว่าเป็นการตายแบบตายโหงเช่นกัน ผีตายโหงจะเป็นผีที่จิตตก เนื่องจากจิตสุดท้ายก่อนตายอารมณ์ยังติดอยู่กับความหวาดกลัว ความตกใจ ความอาฆาตแค้น ความอาลัยอาวรณ์ ตายทั้งที่ยังทำใจไม่ได้ วิญญาณจึงติดอยู่ในบ่วงแห่งอารมณ์ต่างๆ เหล่านั้น ไม่สงบสุข เป็นวิญญาณทรมาน ไม่ยอมรับสภาพปัจจุบันของตัวเอง เลยยังคงเที่ยวปรากฏกายให้คนได้พบได้เห็น ยิ่งถ้าเป็นผีตายโหงที่ตายขณะยังมีความอาฆาตพยาบาทจะมีความดุร้ายเป็นพิเศษ ผีตายโหงมักสิงสถิตอยู่กับที่ที่ตัวเองตาย (เช่น ผีเฝ้าถนน ตามโค้งร้อยศพ เป็นต้น) เมื่อมีคนมาตายแทนจึงจะไปผุดไปเกิดได้ เรื่องของโค้งร้อยศพนี้ สามารถสันนิษฐานได้ถึงปรากฏการณ์ของความคำนึงอันแรงกล้าที่หลงเหลืออยู่ ยกตัวอย่างเช่น ถ้ามีใครสักคนนั่งอยู่ที่เก้าอี้ตัวหนึ่ง และรู้สึกกระหายอยากดื่มน้ำมากๆ แต่มีคนมาเรียกให้ไปทำอย่างอื่นและต้องลุกไปเสียก่อนทั้งๆ ที่ยังไม่ได้ดื่มน้ำให้ชุ่มชื่นใจ ความปรารถนาอันแรงกล้าที่อยากจะดื่มน้ำจะยังคงหลงเหลืออยู่ที่เก้าอี้ตัวนั้น เมื่อมีคนเดินมานั่งที่เก้าอี้ตัวนั้นก็จะเกิดความรู้สึกกระหาย และอยากดื่มน้ำเป็นอันมากเช่นเดียวกัน ซึ่งสามารถอธิบายปรากฏการณ์โค้งร้อยศพได้ว่า ขณะที่ผู้ประสบอุบัติเหตุกำลังอยู่ในอารมณ์ที่ตกใจ และทุรนทุรายนั้น ความรู้สึกอันแรงกล้าเฮือกสุดท้ายยังคงหลงเหลืออยู่ ณ บริเวณนั้น ดังนั้น เมื่อมีผู้ที่ผ่านมาหลังจากนั้นก็จะรับเอาความคำนึงอันแรงกล้าของผู้ตายมา ทำให้เกิดประสบอุบัติเหตุเช่นเดียวกัน หมวดหมู่:ชีวิตหลังความตาย หมวดหมู่:ผีไทย.

ใหม่!!: ผีตายทั้งกลมและผีตายโหง · ดูเพิ่มเติม »

ผีในวัฒนธรรมไทย

ลเพียงตา ซึ่งเป็นสิงสถิตย์ของผีที่คุ้มครองดูแลที่ดิน ชาวไทยเชื่อว่า ผีสามารถให้คุณหรือให้โทษได้ หากเซ่นสวรวงหรือบูชาไม่ถูกต้อง เช่น ผีขุนน้ำ คือ เทพอารักษ์ประจำต้นน้ำแต่ละสาย ซึ่งสถิตอยู่บนดอยสูง ผีขุนน้ำมักอยู่ตามต้นไม้ใหญ่ ชาวบ้านจะอัญเชิญมาสถิตที่หอผีที่ปลูกอย่างค่อนข้างถาวรใต้ต้นไม้เหล่านี้ ผีขุนน้ำที่อยู่ต้นแม่น้ำใด ก็มักจะได้ชื่อตามแม่น้ำนั้น เช่น ผีปันน้ำ (เทือกเขาผีปันน้ำ ในภาคเหนือ) หรือผีมด และ ผีเมง คือ ผีบรรพบุรุษตามความเชื่อของชาวล้านนา (คำว่า "มด" หมายถึงระวังรักษา) ส่วนผีเมงนี้เข้าใจกันว่ารับมาจากชนเผ่าเม็งหรือมอญโบราณ, ผีเจ้าที่ หรือพระภูมิเจ้าที่ คือผีที่รักษาประจำอยู่ที่ใดที่หนึ่ง เป็นผู้ดูแลรักษาเขตนั้น ๆ ดังนั้น คนโบราณเมื่อเดินทางและหยุดพักที่ใด มักจะบอกขออนุญาตเจ้าที่ทุกครั้ง นอกเหนือไปจากผีดังกล่าวแล้ว ในแต่ละท้องถิ่นยังมีผีอีกหลายประเภท เช่น ผีกละ หรือ ผีจะกละ เป็นผีที่มักเข้าสิงผู้คนเพื่อเรียกร้องจะกินอาหาร เมื่อเข้าสิงใคร ก็จะแสดงกิริยาผิดปกติไป เมื่อคนสังเกตเห็นก็มักร้องขอกินอาหารและจะกินอย่างตะกละตะกลาม จึงเรียกผีกละตามลักษณะการกิน แต่มักเขียนเป็นผีกะ หรือผีกละยักษ์ เป็นผีที่อยู่รักษาสถานที่ต่างๆ เช่น วัดร้าง, ถ้ำ หรือที่ซึ่งมีสมบัติฝังหรือซ่อนอยู่ ผีกละยักษ์จะคอยพิทักษ์สมบัติเหล่านั้น จนกว่าเจ้าของจะรับทรัพย์สินเหล่านั้นไป ในกรณีผีกละยักษ์ที่อยู่ในวัด เล่ากันว่า มักจะเป็นวิญญาณของพระหรือเจ้าอาวาสที่ผิดวินัย เมื่อตายแล้วไปเกิดไม่ได้ จึงต้องทำหน้าที่พิทักษ์วัดไปจนกว่าจะสิ้นกรรม รูปร่างของผีกละยักษ์ไม่แน่นอน บ้างก็ว่าเป็นหมูตัวใหญ่ที่มีร่างกายเป็นทองแดง บ้างก็ว่าเป็นสุนัขใหญ่สีดำสนิททั้งตัว เป็นต้น ผี มีความผูกพันกับวิถีชีวิตของชาวไทยมาแต่โบราณ ตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตาย จนเกิดเป็นข้อห้าม หรือคะลำ ในภาษาอีสานต่าง ๆ ที่เหมือนกันหรือแตกต่างกันในแต่ละภูมิภาคไป เช่น ห้ามกินเลือด, ห้ามเลี้ยงนกฮูก, นกเค้าแมว, นกแสก, และค้างคาว, ห้ามเคาะจานข้าว, ห้ามกวาดบ้านตอนกลางคืน หรือห้ามเผาศพในวันศุกร์ เป็นต้น.

ใหม่!!: ผีตายทั้งกลมและผีในวัฒนธรรมไทย · ดูเพิ่มเติม »

แม่นากพระโขนง

ลแม่นากพระโขนง ในวัดมหาบุศย์ ซอยสุขุมวิท 77 (ถนนอ่อนนุช) ซึ่งปัจจุบันตั้งอยู่ในเขตสวนหลวงมิใช่เขตพระโขนง แม่นากโขนง หรือมักเรียกสั้น ๆ ว่า แม่นาก (โดยมากสะกดด้วย ค.ควาย) เป็นผีตายทั้งกลมที่เป็นที่รู้จักกันดีของไทย เชื่อกันว่าเรื่องนี้เกิดขึ้นจริงในสมัยรัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ปัจจุบันมีศาลแม่นากตั้งอยู่ที่วัดมหาบุศย์ ซอยสุขุมวิท 77 (ถนนอ่อนนุช) เขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร.

ใหม่!!: ผีตายทั้งกลมและแม่นากพระโขนง · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ผีตายท้องกลมตายทั้งกลมตายท้องกลม

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »