โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

หม่อมผิว สุขสวัสดิ์ ณ อยุธยา

ดัชนี หม่อมผิว สุขสวัสดิ์ ณ อยุธยา

หม่อมผิว สุขสวัสดิ์ ณ อยุธยา (สกุลเดิม: วสุวัต; 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2438 – 30 กันยายน พ.ศ. 2534) เป็นครู และนักเขียน มีผลงานเรื่องสั้น และนวนิยาย เจ้าของนามปากกา "วรรณสิริ" ผู้เขียน วนิดา, นางทาส และนางครวญ ที่ได้รับความนิยม มีผู้นำมาสร้างเป็นภาพยนตร์ และละครโทรทัศน์หลายครั้ง.

12 ความสัมพันธ์: พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศุขสวัสดี กรมหลวงอดิศรอุดมเดชกัลย์ อิศรเสนา ณ อยุธยาวนิดาสงครามโลกครั้งที่สองหม่อมราชวงศ์รุจีสมร สุขสวัสดิ์หม่อมเจ้าทินทัต สุขสวัสดิ์ถนนพระอาทิตย์ณรงค์ จันทร์เรืองนางทาสโรงเรียนราชินีโรงเรียนวรรณวิทย์

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

ระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธฯ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือ พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (1 มกราคม พ.ศ. 2423 – 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468) เป็นพระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 6 ในราชวงศ์จักรี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันเสาร์ เดือนยี่ ขึ้น 2 ค่ำ ปีมะโรง ตรงกับวันที่ 1 มกราคม..

ใหม่!!: หม่อมผิว สุขสวัสดิ์ ณ อยุธยาและพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศุขสวัสดี กรมหลวงอดิศรอุดมเดช

ตราประจำพระองค์ พลโท พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศุขสวัสดี กรมหลวงอดิศรอุดมเดช เมื่อประสูติมีพระนามว่า พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าชายศุขสวัสดี เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 23 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาจันทร์ เมื่อวันศุกร์ เดือน 4 ขึ้น 9 ค่ำ ปีเถาะสัปตศก..

ใหม่!!: หม่อมผิว สุขสวัสดิ์ ณ อยุธยาและพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศุขสวัสดี กรมหลวงอดิศรอุดมเดช · ดูเพิ่มเติม »

กัลย์ อิศรเสนา ณ อยุธยา

ตราจารย์ กัลย์ อิศรเสนา ณ อยุธยา (24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2457 - 12 สิงหาคม พ.ศ. 2539) อดีตองคมนตรีในรัชกาลที่ 9 อดีตเลขาธิการพระราชวัง และอดีตผู้บังคับการวชิราวุธวิทยาลั.

ใหม่!!: หม่อมผิว สุขสวัสดิ์ ณ อยุธยาและกัลย์ อิศรเสนา ณ อยุธยา · ดูเพิ่มเติม »

วนิดา

วนิดา เป็นบทประพันธ์นวนิยายของ วรรณสิริ ตีพิมพ์ในนิตยสารวารสารศัพท์ ว. วินิจฉัยกุลเคยวิเคราะห์ไว้ในในวารสารสมาคมภาษาและหนังสือแห่งประเทศไทย และพิมพ์รวมเล่มในหนังสือ ปากไก่วรรณกรรม ของสำนักพิมพ์ดอกหญ้า เมื่อ..

ใหม่!!: หม่อมผิว สุขสวัสดิ์ ณ อยุธยาและวนิดา · ดูเพิ่มเติม »

สงครามโลกครั้งที่สอง

งครามโลกครั้งที่สอง (World War II หรือ Second World Warคำว่าสงครามโลกครั้งที่สองในภาษาอังกฤษนั้น ในเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการของสหราชอาณาจักรและชาติตะวันตกใช้คำว่า "Second World War" ส่วนในสหรัฐใช้คำว่า "World War II" (ย่อเป็น "WWII" หรือ "WW2") ซึ่งเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการในประเทศส่วนใหญ่มักจะใช้ภาษาอังกฤษว่า "Second World War" (เช่น Zweiter Weltkrieg ในภาษาเยอรมัน; Segunda Guerra mundial ในภาษาสเปน; Seconde Guerre mondiale ในภาษาฝรั่งเศส) แต่ทั้งสองคำนี้โดยทั่วไปแล้วสามารถใช้แทนกันได้; แม้ในประวัติศาสตร์การทหารอย่างเป็นทางการ คำว่า "Second World War" ถูกสร้างขึ้นโดย แฟรงก์ บี. เคลล็อก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา; ส่วนคำว่า "World War II" พบใช้เป็นครั้งแรกในนิตยสาร ไทมส์ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 1939 ซึ่งเป็นผู้ประดิษฐ์คำว่า "World War I" ขึ้นในอีกสามเดือนต่อมา; มักย่อเป็น WWII หรือ WW2) เป็นสงครามทั่วโลกกินเวลาตั้งแต่ปี 1939 ถึง 1945 ประเทศส่วนใหญ่ในโลกมีส่วนเกี่ยวข้อง รวมทั้งรัฐมหาอำนาจทั้งหมด แบ่งเป็นพันธมิตรทางทหารคู่สงครามสองฝ่าย คือ ฝ่ายสัมพันธมิตรและฝ่ายอักษะ เป็นสงครามที่กว้างขวางที่สุดในประวัติศาสตร์ มีทหารกว่า 100 ล้านนายจากกว่า 30 ประเทศเข้าร่วมโดยตรง สงครามนี้มีลักษณะเป็น "สงครามเบ็ดเสร็จ" คือ ประเทศผู้ร่วมสงครามหลักทุ่มขีดความสามารถทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ทั้งหมดเพื่อความพยายามของสงคราม โดยลบเส้นแบ่งระหว่างทรัพยากรของพลเรือนและทหาร ประเมินกันว่าสงครามมีมูลค่าราว 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ประเมินกันว่ามีผู้เสียชีวิตระหว่าง 50 ถึง 85 ล้านคน ด้วยประการทั้งปวง สงครามโลกครั้งที่สองจึงนับว่าเป็นสงครามขนาดใหญ่ที่สุด ใช้เงินทุนมากที่สุด และมีผู้เสียชีวิตสูงสุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ จักรวรรดิญี่ปุ่นซึ่งมีเป้าหมายครอบงำทวีปเอเชียและแปซิฟิกและทำสงครามกับจีนมาตั้งแต่ปี 1937 แล้ว แต่โดยทั่วไปถือว่าสงครามโลกครั้งที่สองเริ่มตั้งแต่การบุกครองโปแลนด์ของเยอรมนีในวันที่ 1 กันยายน 1939 นำไปสู่การประกาศสงครามต่อเยอรมนีของประเทศฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักร ตั้งแต่ปลายปี 1939 ถึงต้นปี 1941 ในการทัพและสนธิสัญญาต่าง ๆ ประเทศเยอรมนีพิชิตหรือควบคุมยุโรปภาคพื้นทวีปได้ส่วนใหญ่ และตั้งพันธมิตรอักษะกับอิตาลีและญี่ปุ่น ภายใต้สนธิสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบนทรอพเมื่อเดือนสิงหาคม 1939 เยอรมนีและสหภาพโซเวียตแบ่งแลผนวกดินแดนประเทศเพื่อนบ้านยุโรปของตน ได้แก่ โปแลนด์ ฟินแลนด์ โรมาเนียและรัฐบอลติก สงครามดำเนินต่อส่วนใหญ่ระหว่างชาติฝ่ายอักษะยุโรปและแนวร่วมสหราชอาณาจักรและเครือจักรภพบริติช โดยมีการทัพอย่างการทัพแอฟริกาเหนือและแอฟริกาตะวันออก ยุทธการที่บริเตนซึ่งเป็นการสู้รบทางอากาศ การทัพทิ้งระเบิดเดอะบลิตซ์ การทัพบอลข่าน ตลอดจนยุทธการที่แอตแลนติกที่ยืดเยื้อ ในเดือนมิถุนายน 1941 ชาติอักษะยุโรปบุกครองสหภาพโซเวียต เปิดฉากเขตสงครามภาคพื้นดินที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ซึ่งทำให้กำลังทหารสำคัญของฝ่ายอักษะตกอยู่ในสงครามบั่นทอนกำลัง ในเดือนธันวาคม 1941 ญี่ปุ่นโจมตีสหรัฐและอาณานิคมยุโรปในมหาสมุทรแปซิฟิก และพิชิตมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกส่วนมากได้อย่างรวดเร็ว การรุกของฝ่ายอักษะยุติลงในปี 1942 หลังญี่ปุ่นปราชัยในยุทธนาวีที่มิดเวย์ใกล้กับฮาวายที่สำคัญ และเยอรมนีปราชัยในแอฟริกาเหนือและจากนั้นที่สตาลินกราดในสหภาพโซเวียต ในปี 1943 จากความปราชัยของเยอรมนีติด ๆ กันที่เคิสก์ในยุโรปตะวันออก การบุกครองอิตาลีของฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งนำให้อิตาลียอมจำนน จนถึงชัยของฝ่ายสัมพันธมิตรในมหาสมุทรแปซิฟิก ฝ่ายอักษะเสียการริเริ่มและต้องล่าถอยทางยุทธศาสตร์ในทุกแนวรบ ในปี 1944 ฝ่ายสัมพันธมิตรบุกครองฝรั่งเศสในการยึดครองของเยอรมนี ขณะเดียวกันกับที่สหภาพโซเวียตยึดดินแดนที่เสียไปทั้งหมดคืนและบุกครองเยอรมนีและพันธมิตร ระหว่างปี 1944 และ 1945 ญี่ปุ่นปราชัยสำคัญในทวีปเอเชียในภาคกลางและภาคใต้ของจีนและพม่า ขณะที่ฝ่ายสัมพันธมิตรก่อความเสียหายต่อกองทัพเรือญี่ปุ่นและยึดหมู่เกาะแปซิฟิกตะวันตกที่สำคัญ สงครามในยุโรปยุติลงหลังกองทัพแดงยึดกรุงเบอร์ลินได้ และการยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขของเยอรมนีเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 1945 แม้จะถูกโดดเดี่ยวและตกอยู่ในสภาพเสียเปรียบอย่างยิ่ง ญี่ปุ่นยังปฏิเสธที่จะยอมจำนน กระทั่งมีการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์สองลูกถล่มญี่ปุ่น และการบุกครองแมนจูเรีย จึงได้นำไปสู่การยอมจำนนอย่างเป็นทางการของญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 2 กันยายน 1945 สงครามยุติลงด้วยชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตร ผลของสงครามได้เปลี่ยนแปลงการวางแนวทางการเมืองและโครงสร้างสังคมของโลก สหประชาชาติถูกสถาปนาขึ้น เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศและเพื่อป้องกันความขัดแย้งในอนาคต สหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตก้าวเป็นอภิมหาอำนาจของโลกอันเป็นคู่ปรปักษ์กัน นำไปสู่ความขัดแย้งบนเวทีแห่งสงครามเย็น ซึ่งได้ดำเนินต่อมาอีก 46 ปีหลังสงคราม ขณะเดียวกัน การยอมรับหลักการการกำหนดการปกครองด้วยตนเอง เร่งให้เกิดการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องเอกราชในทวีปเอเชียและทวีปแอฟริกา พร้อม ๆ กับที่หลายประเทศได้มุ่งหน้าฟื้นฟูเศรษฐกิจซึ่งอุตสาหกรรมได้รับความเสียหายระหว่างสงคราม และบูรณาการทางการเมืองได้เกิดขึ้นทั่วโลกในความพยายามที่จะรักษาเสถียรภาพความสัมพันธ์หลังสงคราม.

ใหม่!!: หม่อมผิว สุขสวัสดิ์ ณ อยุธยาและสงครามโลกครั้งที่สอง · ดูเพิ่มเติม »

หม่อมราชวงศ์รุจีสมร สุขสวัสดิ์

หม่อมราชวงศ์รุจีสมร สุขสวัสดิ์ เป็นครูใหญ่โรงเรียนวรรณวิทย์ กรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน.

ใหม่!!: หม่อมผิว สุขสวัสดิ์ ณ อยุธยาและหม่อมราชวงศ์รุจีสมร สุขสวัสดิ์ · ดูเพิ่มเติม »

หม่อมเจ้าทินทัต สุขสวัสดิ์

ร้อยเอก หม่อมเจ้าทินทัต สุขสวัสดิ์ (10 กรกฎาคม พ.ศ. 2433 - 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2463) เป็นพระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศุขสวัสดี กรมหลวงอดิศรอุดมเดชกับหม่อมแช่ม สุขสวัสดิ์ ณ อยุธยา สมรสกับหม่อมผิว สุขสวัสดิ์ ณ อ.

ใหม่!!: หม่อมผิว สุขสวัสดิ์ ณ อยุธยาและหม่อมเจ้าทินทัต สุขสวัสดิ์ · ดูเพิ่มเติม »

ถนนพระอาทิตย์

ป้ายชื่อถนนพระอาทิตย์บริเวณป้อมพระสุเมรุ ถนนพระอาทิตย์ (Thanon Phra Athit) เป็นถนนขนาด 2 ช่องจราจร ในท้องที่แขวงพระบรมมหาราชวังและแขวงชนะสงคราม เขตพระนคร กรุงเทพฯ มีระยะทางระหว่างประตูมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เลียบฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ จนถึงบริเวณป้อมพระสุเมรุ ถนนพระสุเมรุ ชื่อของถนนพระอาทิตย์นำมาจากป้อมพระอาทิตย์ซึ่งเป็นป้อมปราการ 1 ใน 14 ป้อม ที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อสถาปนากรุงเทพฯ เป็นราชธานี ปัจจุบันป้อมพระอาทิตย์ถูกรื้อไปแล้ว.

ใหม่!!: หม่อมผิว สุขสวัสดิ์ ณ อยุธยาและถนนพระอาทิตย์ · ดูเพิ่มเติม »

ณรงค์ จันทร์เรือง

ณรงค์ จันทร์เรือง เกิดเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2489 เป็นนักเขียนชาวไทย ประเภทเรื่องขนหัวลุก ใช้นามปากกาว่า "ใบหนาด".

ใหม่!!: หม่อมผิว สุขสวัสดิ์ ณ อยุธยาและณรงค์ จันทร์เรือง · ดูเพิ่มเติม »

นางทาส

นางทาส (หรือ นางทาษ) เป็นเรื่องสั้นขนาดยาวของ วรรณสิริ ผู้ประพันธ์เรื่อง วนิดา และนางครวญ ตีพิมพ์ครั้งแรกอยู่ใน รวมเรื่องสั้นชุด "สร้อยนพเก้า" ของวรรณสิริ และได้รับความนิยม ถูกนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์และละครโทรทัศน์หลายครั้ง พร้อมกับมีการแต่งเติมเรื่องราวเพิ่มเติม ในการพิมพ์ครั้งต่อมา ได้เปลี่ยนชื่อหนังสือเป็น รวมเรื่องสั้นชุด "นางทาส" ภาพยนตร์ นางทาษ ฉบั..

ใหม่!!: หม่อมผิว สุขสวัสดิ์ ณ อยุธยาและนางทาส · ดูเพิ่มเติม »

โรงเรียนราชินี

รงเรียนราชินี เป็นโรงเรียนเก่าแก่แห่งหนึ่ง ตั้งอยู่เลขที่ 444 ถนนมหาราช แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ริมฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา ผู้ทรงให้กำเนิดโรงเรียนคือ สมเด็จพระศรีพัชรินทรา พระบรมราชินีนาถในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2447 ณ ตึกแถวมุมถนนอัษฎางค์และถนนจักรเพชร ต่อมาได้ย้ายไปอยู่ตึกริมแม่น้ำเจ้าพระยาใกล้ปากคลองตลาด และมีการเปิดรับนักเรียนกินนอนขึ้นใน..

ใหม่!!: หม่อมผิว สุขสวัสดิ์ ณ อยุธยาและโรงเรียนราชินี · ดูเพิ่มเติม »

โรงเรียนวรรณวิทย์

รงเรียนวรรณวิทย์ ตั้งอยู่ที่เลขที่ 16 ซอยสุขุมวิท 8 ถนนสุขุมวิท แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร ปัจจุบันมีอายุ ปี เปิดรับนักเรียนเข้าศึกษาตั้งแต่ชั้นอนุบาล จนถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 3 โดยรับทั้งนักเรียนชายและนักเรียนหญิง และมีผู้อำนวยการและผู้จัดโรงเรียนคือ หม่อมราชวงศ์รุจีสมร สุขสวัสดิ์ มีบุคลากรครูทั้งหมด 43 คน ส่วนใหญ่เป็นศิษย์เก่าของโรงเรียน ทางโรงเรียนมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว คือ การใช้เสียงระฆังเป็นสัญลักษณ์ในการส่งสัญญาณเปลี่ยนคาบเรียน.

ใหม่!!: หม่อมผิว สุขสวัสดิ์ ณ อยุธยาและโรงเรียนวรรณวิทย์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

วรรณสิริผิว สุขสวัสดิ์ ณ อยุธยา

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »