โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ป้อมอาเมร์

ดัชนี ป้อมอาเมร์

ป้อมอาเมร์ (आमेर क़िला, Amer Fort) หรือ ป้อมแอมเบอร์ (Amber Fort) ตั้งอยู่ที่เมืองอาเมร์ ชานเมืองชัยปุระ รัฐราชสถาน ประเทศอินเดีย (เป็นเมืองเล็กๆที่มีขนาดเพียง) ห่างจากชัยปุระเป็นระยะทาง ป้อมอาเมร์นั้นเป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของชัยปุระ โดยที่ตั้งนั้นโดดเด่นอยู่บนผาหินเหนือทะเลสาบ สร้างโดยมหาราชา มาน สิงห์ที่ 1 ป้อมปราการแห่งนี้มีชื่อเสียงทางด้านสถาปัตยกรรมซึ่งผสมผสานกันระหว่างศิลปะฮินดูและศิลปะราชปุตอันเป็นเอกลักษณ์ สามารถมองเห็นได้จากระยะทางไกลเนื่องจากมีขนาดกำแพงปราการที่ใหญ่และแน่นหนา พร้อมประตูทางเข้าหลายแห่ง ถนนที่ปูด้วยหินหลายสาย ซึ่งเมื่ออยู่บนป้อมแล้วสามารถมองเห็นทะเลสาบเมาตาได้อย่างชัดเจนบริเวณด้านหน้า ความสวยงามของบรรยากาศของป้อมอาเมร์นั้นซ่อนอยู่ภายในกำแพงเมืองที่แบ่งเป็นทั้งหมด 4 ชั้น (แต่ละชั้นคั่นด้วยทางเดินกว้าง) โดยภายในเป็นหมู่พระที่นั่งซึ่งสร้างจากหินทรายสีแดงและหินอ่อน หมู่พระที่นั่งภายในป้อมอาเมร์ประกอบด้วย "ดิวัน-อิ-อัม" หรือท้องพระโรง, "ดิวัน-อิ-กัส" หรือท้องพระโรงส่วนพระองค์, "ชีชมาฮาล" (พระตำหนักซึ่งเป็นห้องทรงประดับกระจกสำหรับมหาราชา) และ "จัย มานดีร์" ซึ่งเป็นตำหนักอยู่บนชั้นสอง, "อารัม บักห์" ซึ่งเป็นสวนสวยจัดเป็นรูปดาวแฉกแบบโมกุลคั่นกลางระหว่างอาคาร และ "สุกห์นิวาส" ซึ่งเป็นพระตำหนักที่ใช้การปรับอากาศภายในพระตำหนักให้เย็นลงด้วยการทำให้ลมเป่าผ่านรางน้ำตกที่มีอยู่โดยรอบภายในพระตำหนัก ทำให้ภายในตำหนักนี้มีอากาศเย็นอยู่เสมอ จากลักษณะโดยรวมอันสวยงามของบริเวณภายในป้อม จึงนิยมเรียกป้อมแห่งนี้อีกอย่างหนึ่งว่า "พระราชวังอาเมร์" พระราชวังในป้อมอาเมร์นี้เคยเป็นที่ประทับของราชปุต มหาราชา และพระราชวงศ์ของอาเมร์ในอดีต นอกจากนี้บริเวณประตูทางเข้าพระราชวังใกล้กับประตูกาเนช (Ganesh Gate "ประตูพระคเณศ") เป็นที่ตั้งของวัดชิลาเทวี (Sila Devi) ซึ่งภายในมีศาลบูชาพระแม่ทุรคา ซึ่งเป็นเทพเจ้าแห่งสงคราม ซึ่งมหาราชา มาน สิงห์ทรงเคารพบูชาอย่างสูง เนื่องจากพระองค์ได้ทรงพระสุบินถึงพระแม่ทุรคาทูลให้ทราบว่าพระองค์จะชนะสงครามกับมหาราชาแห่งเบงกอลในปีค.ศ. 1604 ป้อมอาเมร์ และป้อมจัยการห์ ทั้งสองนั้นตั้งอยู่บนเขา "ชีลกาทีลา" (เขาแห่งอินทรี) อันเป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาอะราวัลลี ทั้งสองป้อมนี้ถือว่าเป็นสถานที่เดียวกัน เนื่องจากสามารถเดินทางหากันได้โดยทางเชื่อมใต้ดิน ซึ่งใช้เป็นทางหลบหนีสำหรับเชื้อพระวงศ์ในกรณีที่ป้อมอาเมร์นั้นถูกยึดครอง จากสถิติปีค.ศ. 2007 จำนวนนักท่องเที่ยวที่มาเยี่ยมชมป้อมอาเมร์มีจำนวนถึง 5,000 คนต่อวัน และ 1.4 ล้านคนต่อปี พานอรามาของป้อมอาเมร์ยามรุ่งอรุณ.

17 ความสัมพันธ์: ชัยปุระพ.ศ. 2135พ.ศ. 2147พ.ศ. 2550กำแพงป้องกันมหาราชารัฐราชสถานวังสถาปัตยกรรมหอหลังคาโดมหินอ่อนหินทรายอุโมงค์ทุรคาประเทศอินเดียป้อมชยครห์ป้อมสนาม

ชัยปุระ

ัยปุระ (जयपुर, Jaipur) เป็นเมืองหลักของรัฐราชสถาน ประเทศอินเดีย และยังเป็นเมืองที่มีจำนวนประชากรมากเป็นอันดับที่ 10 ของประเทศอินเดีย (3.1 ล้านคน) ก่อตั้งเมื่อ 17 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: ป้อมอาเมร์และชัยปุระ · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2135

ทธศักราช 2135 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: ป้อมอาเมร์และพ.ศ. 2135 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2147

ทธศักราช 2147 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: ป้อมอาเมร์และพ.ศ. 2147 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2550

ทธศักราช 2550 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2007 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันจันทร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็น.

ใหม่!!: ป้อมอาเมร์และพ.ศ. 2550 · ดูเพิ่มเติม »

กำแพงป้องกัน

วนหนึ่งของกำแพงเมืองจีน กำแพงป้องกัน (Defensive wall) คือระบบป้อมปราการที่ใช้ในการป้องกันเมืองหรือชุมชนจากผู้รุกราน ตั้งแต่สมัยโบราณมาจนถึงสมัยปัจจุบันการสร้างกำแพงป้องกันมักจะสร้างล้อมรอบบริเวณชุมชนที่อยู่อาศัย โดยทั่วไปแล้วก็จะเรียกว่า กำแพงเมือง แต่ก็มีกำแพงที่ไม่ล้อมเมืองแต่จะยืดยาวเลยออกไปจากตัวเมืองเป็นอันมากที่ก็ยังถือว่าเป็นกำแพงป้องกัน เช่นกำแพงเมืองจีน, กำแพงเฮเดรียน หรือ กำแพงแห่งแอตแลนติก กำแพงเหล่านี้ใช้ในการป้องกันภูมิภาคหรือบ่งเขตแดนของอาณาจักร นอกจากวัตถุประสงค์โดยตรงในใช้ในการป้องกันจากข้าศึกศัตรูแล้วกำแพงป้องกันยังเป็นสัญลักษณ์ของฐานะและความเป็นอิสระของหมู่ชน หรือ เมือง หรือ ภูมิภาค ภายในกำแพงที่ล้อมเอาไว้ กำแพงป้องกันที่ยังคงเหลืออยู่มักจะเป็นกำแพงที่สร้างด้วยหิน และก็มีกำแพงที่สร้างด้วยอิฐ และ ไม้ที่ยังคงมีเหลืออยู่ให้เห็น การสร้างกำแพงก็ขึ้นอยู่กับภูมิลักษณ์ (topography) ของที่ตั้งและองค์ประกอบของพื้นที่ เช่นบริเวณริมฝั่งทะเล หรือ แม่น้ำ ซึ่งอาจจะเป็นองค์ประกอบที่ใช้เป็นส่วนหนึ่งของระบบป้องกันที่ผสานไปกับหรือเสริมกำแพงป้องกันได้อย่ามีประสิทธิภาพ กำแพงอาจจะเข้าออกได้โดยการใช้ประตูเมืองที่มักจะเสริมด้วยหอ ในยุคกลางสิทธิของผู้ตั้งถิ่นฐานในการสร้างกำแพงป้องกันเป็นอภิสิทธิ์ที่มักจะต้องได้รับจากประมุขของราชอาณาจักรที่เรียกว่า “สิทธิในการสร้างกำแพงป้องกัน” (Right of crenellation) การสร้างกำแพงป้องกันวิวัฒนาการมาเป็นกำแพงอันใหญ่โต และมาพัฒนากันอย่างจริงจังในสมัยสงครามครูเสด และต่อมาในยุคของความรุ่งเรืองของนครรัฐในยุโรป.

ใหม่!!: ป้อมอาเมร์และกำแพงป้องกัน · ดูเพิ่มเติม »

มหาราชา

มหาราชา เป็นคำในภาษาสันสกฤต เป็นชื่อเรียกกษัตริย์หรือผู้ปกครอง ที่ได้ทำภารกิจอย่างมากมายช่วยเหลือผู้คนทั้งด้านการรบ การแก้ไขปัญหาภายในประเทศ การรักษาเอกราชของประเทศ คงไว้ด้วยความยุติธรรมอันเป็นแบบอย่างที่ดี ในประเทศหรือเขตการปกครองต่างๆ จึงได้รับการยกย่องว่าเป็น "มหาราช" เขียนไว้ที่ท้ายชื่อ.

ใหม่!!: ป้อมอาเมร์และมหาราชา · ดูเพิ่มเติม »

รัฐราชสถาน

รัฐราชสถาน คือหนึ่งในรัฐของประเทศอินเดีย ตั้งอยู่ทางตะวันตกของประเทศติดกับประเทศปากีสถานทางทิศตะวันตะวันออกเฉียงเหนือ รา หมวดหมู่:รัฐราชสถาน หมวดหมู่:รัฐและดินแดนที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2499.

ใหม่!!: ป้อมอาเมร์และรัฐราชสถาน · ดูเพิ่มเติม »

วัง

้านหน้าของพระราชวังดุสิต วัง หรือ พระราชวัง เป็นสิ่งก่อสร้างสำหรับที่อยู่อาศัยขนาดใหญ่โดยเฉพาะที่อยู่อาศัยของประมุขของประเทศหรือผู้นำผู้มีตำแหน่งสูงในหลายประเทศในยุโรปเช่นประเทศฝรั่งเศส และ อิตาลี นอกจากนั้นยังเป็นคำที่ใช้สำหรับสิ่งก่อสร้างที่ใหญ่แต่ไม่จำเป็นต้องใหญ่มากในตัวเมืองที่สร้างสำหรับเจ้านาย หรือผู้มีตระกูล ในปัจจุบันวังหรือพระราชวังหลายแห่งเปลี่ยนไปใช้เป็นพิพิธภัณฑ์หรือสำนักงานรัฐบาล หรือโรงแรม.

ใหม่!!: ป้อมอาเมร์และวัง · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรม

ปัตยกรรม (architecture) หมายถึง ผลงานศิลปะที่แสดงออกสิ่งก่อสร้าง รวมถึงสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกสิ่งปลูกสร้างนั้น ที่มาจากการออกแบบของมนุษย์ ด้วยศาสตร์ทางด้านศิลปะ การจัดวางที่ว่าง ทัศนศิลป์ และวิศวกรรมการก่อสร้าง เพื่อประโยชน์ใช้สอย สถาปัตยกรรมยังเป็นสื่อความคิด และสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมของสังคมในยุคนั้นๆด้ว.

ใหม่!!: ป้อมอาเมร์และสถาปัตยกรรม · ดูเพิ่มเติม »

หอหลังคาโดม

หร่าอุคบา หรือ “the Great Mosque of Kairouan” ที่ตั้งอยู่ที่ตูนิเซีย หอหลังคาโดม (Cupola) ในทางสถาปัตยกรรมหมายถึงโครงสร้างขนาดเล็กที่มีลักษณะเหมือนโดมที่ตั้งอยู่ตอนบนของสิ่งก่อสร้าง ที่มักจะใช้สำหรับเป็นที่สังเกตการณ์หรือเป็นช่องระบายอากาศ ที่ตอนบนมักจะเป็นหลังคาหรือโดมที่ใหญ่กว่า “Cupola” มาจากภาษาอิตาลีที่แผลงมาจากภาษาละตินขั้นต่ำ “Cupula” (ภาษาละตินคลาสสิก “Cupella” ที่มาจากภาษากรีก “kypellon”) ที่แปลว่าถ้วยเล็ก (ภาษาละติน “Cupa”) ที่เป็นทรงของเพดานโค้งที่รูปร่างเหมือนถ้วยคว่ำ หอหลังคาโดมมักจะพบในสิ่งก่อสร้างที่มีขนาดเล็ก ที่อาจจะใช้เป็นหอระฆัง, หอโคม หรือ หอทัศนาเหนือหลังคาหลัก หรือในบางกรณีก็อาจจะใช้ตกแต่งประดับหอ, ยอดแหลม หรือ หอกลมยอดแหลม.

ใหม่!!: ป้อมอาเมร์และหอหลังคาโดม · ดูเพิ่มเติม »

หินอ่อน

หินอ่อนในธรรมชาติ หินอ่อนเกิดจากแคลเซียมคาร์บอเนต(หินปูน)ที่สะสมอยู่ในท้องทะเลหรือมหาสมุทรมาก่อน กระทั่งเกิดการเคลื่อนไหวขึ้นในบริเวณดังกล่าว คือที่ๆ เคยเป็นทะเลหรือมหาสมุทรกลับกลายเป็นภูเขาขึ้นมา และที่ๆ เคยเป็นบกเป็นภูเขามากลับ กลายเป็นทะเล รวมถึงผ่านกระบวนการทางธรณี เช่น เกิดมีแมกมาไหลออกมา และพอดีหินที่สะสมไว้ในทะเลไปโดนกับแมกมาเข้า สำคัญคือแมกมานั้นเต็มไปด้วยความร้อน ความดัน และก๊าซ จึงทำให้แคลเซียมคาร์บอเนต(หินปูน)ละลาย แล้วตกผลึก เกิดเป็นหินอ่อนขึ้นมาได้ในที่สุด แต่ในกรณีที่เกิดการหลอมละลาย แล้วตกผลึกไม่หมดทีเดียว ก็จะเกิดหินปูนคล้ายหินอ่อน และจะพบพวกซากเปลือกหอยทะเลต่างๆ ซึ่งครั้งหนึ่งเคยอยู่รวมกับตะกอนแคลเซียมคาร์บอเนต หมวดหมู่:หิน.

ใหม่!!: ป้อมอาเมร์และหินอ่อน · ดูเพิ่มเติม »

หินทราย

250px หินทราย (Sandstone) เป็นหินมีลักษณะ เนื้อหยาบ จับดูระคายมือ เพราะประกอบด้วยเม็ดทรายขนาดแตกต่างกัน (1/16 – 2 มม.) เม็ดแร่ส่วนใหญ่เป็นแร่ควอร์ตซ์ แต่อาจมีแร่อื่นและเศษหินดินปะปนอยู่ด้วย เพราะมีวัตถุประสารมีความแข็งมากสามารถขูดเหล็กเป็นรอยได้ มีสีต่าง ๆ เช่น แดง น้ำตาล เทา เขียว เหลืองอ่อน อาจแสดงรอยชั้นให้เห็น มีซากดึกดำบรรพ์ เกิดจากการรวมตัวกันของเม็ดทราย ประกอบด้วยควอร์ตซ์เป็นส่วนใหญ่ อาจมีแร่แมกเนไทต์และไมกาปะปนอยู่ วัตถุประสาร (ซีเมนต์) ส่วนมากเป็นพวกซิลิกา (ควอร์ตซ์ หรือ เชิร์ต) แคลไซด์ โดโลไมต์ เหล็กออกไซด์ ซึ่งมักทำให้หินมีสีเหลือง น้ำตาล แดง ในประเทศไทย พบมากทางภาคอีสาน จังหวัดราชบุรี เพชรบุรี กาญจนบุรี และทางภาคใต้บางแห่ง.

ใหม่!!: ป้อมอาเมร์และหินทราย · ดูเพิ่มเติม »

อุโมงค์

อุโมงค์ในเบลเยี่ยม เดิมเป็นทางรถไฟแต่ปัจจุบันเป็นทางเดินเท้าและจักรยาน ทางเข้าอุโมงค์ถนนในกวานาวาโต, เม็กซิโก อุโมงค์สาธารณูปโภคสำหรับท่อความร้อนระหว่าง Rigshospitalet และ Amagerværket ในโคเปนเฮเกน, เดนมาร์ก อุโมงค์รถไฟใต้ดินไทเปในไต้หวัน ทางเข้าด้านใต้ยาว 421 เมตร (1,381 ฟุต) อุโมงค์คลอง Chirk อุโมงค์ คือ ทางสัญจรใต้ดิน ใต้น้ำ ที่ขุดลงไปใต้ดินหรือในภูเขา โดยทั่วไปแล้วจะมีความยาวอย่างน้อยมากกว่าความกว้าง 2 เท่า และมีผนังโอบล้อมทุกด้าน โดยมีปลายเปิดในส่วนหัวและส่วนท้าย อุโมงค์อาจเป็นทางเดินเท้าหรือจักรยานลอดใต้ถนนหรือเชื่อมต่ออาคาร แต่โดยทั่วไปเป็นทางสัญจรสำหรับรถยนต์ รถไฟ หรือคลอง บางที่อาจเป็นทางระบายน้ำ ทางส่งน้ำโดยเฉพาะที่ใช้สำหรับไฟฟ้าพลังน้ำหรือท่อระบายน้ำ หรือในวัตถุประสงค์อื่น เช่นงานสาธารณูปโภคได้แก่ท่อประปา ไฟฟ้า เคเบิลสำหรับโทรคมนาคม หรือแม้กระทั่งอุโมงค์ที่ออกแบบสำหรับเป็นทางเดินสัตว์ป่าสำหรับสัตว์ในยุโรป ที่อาจเป็นอันตราย บางอุโมงค์ลับก็ใช้สำหรับเป็นทางออกสำหรับหนีภัย อุโมงค์บางแห่งไม่ได้เป็นทางสัญจรแต่เป็นป้อมปราการก็มี อย่างไรก็ตามท่อที่ใช้ในการขนส่ง (transport pipeline) ไม่เรียกว่าเป็นอุโมงค์เนื่องจากบางอุโมงค์สมัยใหม่ได้ใช้เทคนิคการก่อสร้างแบบ immersed tube (ทำท่อสำเร็จเป็นช่วง ๆ บนดินแล้วนำไปจมที่ไซท์งาน) แทนที่จะใช้วิธีขุดเจาะแบบเดิม.

ใหม่!!: ป้อมอาเมร์และอุโมงค์ · ดูเพิ่มเติม »

ทุรคา

ระแม่ทุรคาทรงปราบอสูรในลักษณะ 18 กร พระแม่ทุรคา (ทุรฺคา) หรือ พระศรีมหาทุรคาเทวี หรือ พระแม่มหิษาสุรมรรทินี เป็นปางหนึ่งของ พระอุมาเทวี มีความหมายว่า "ผู้เข้าถึงได้ยาก" ไม่ว่าทั้งเทพเจ้า มนุษย์ อสูร แม้แต่พระศิวะ พระพรหม หรือพระวิษณุ ก็ไม่อาจสังหารมหิษาสูรได้ มีเพียงหญิงสาวที่ไม่ได้เกิดอย่างธรรมชาติ และเป็นหนึ่งในอำนาจทั้งหมดของจักรวาล ซึ่งก็คือพระแม่ทุรคา ซึ่งเกิดจากอำนาจทั้งปวงของเหล่าเทพเจ้า ในช่วงประมาณเดือนกันยายน-ตุลาคมของทุกปี จะมีการบูชาพระแม่ทุรคาเรียกว่า เทศกาลนวราตรีดุเซร่า มีการฉลองถึง ๙ วัน ๙ คืนด้วยกัน ในประเทศไทย งานฉลองนี้จะมีขึ้นประจำทุกปีที่วัดพระศรีมหาอุมาเทวี หรือ วัดแขกสีลม เขตบางรัก โดยมีการแห่ไปตามท้องถนนในเวลากลางคืนด้วยดอกดาวเรืองและสิ่งบูชาต่าง.

ใหม่!!: ป้อมอาเมร์และทุรคา · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอินเดีย

อินเดีย (India; भारत, ออกเสียง) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐอินเดีย (Republic of India; भारत गणराज्य) ตั้งอยู่ในทวีปเอเชียใต้ เป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ของอนุทวีปอินเดีย มีประชากรมากเป็นอันดับที่สองของโลก และเป็นประเทศประชาธิปไตยที่มีประชากรมากที่สุดในโลก โดยมีประชากรมากกว่าหนึ่งพันล้านคน มีภาษาพูดร้อยแปดสิบแปดภาษาโดยประมาณ ด้านเศรษฐกิจ อินเดียมีอำนาจการซื้อมากเป็นอันดับที่สี่ของโลก ทั้งนี้ อาณาเขตทางทิศเหนือติดกับจีน เนปาล และภูฏาน ทางตะวันตกเฉียงเหนือติดกับปากีสถาน ทางตะวันออกติดพม่า ทางตะวันตกเฉียงใต้จรดมหาสมุทรอินเดีย ทางตะวันออกเฉียงใต้ติดศรีลังกา ล้อมรอบบังกลาเทศทางทิศเหนือ ทิศตะวันออก และทิศตะวันตก นอกนั้นยังมีเขตแดนทางทะเลต่อเนื่องกับน่านน้ำไทย พม่า และอินโดนีเซีย และด้วยพื้นที่ 3,287,590 ตารางกิโลเมตร อินเดียจึงเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดอันดับ 7 ของโลก.

ใหม่!!: ป้อมอาเมร์และประเทศอินเดีย · ดูเพิ่มเติม »

ป้อมชยครห์

ป้อมชยครห์ (ราชสถานและजयगढ़ क़िला; Jaigarh Fort) ตั้งอยู่บริเวณเชิงเขาชีลกาทีลา (เขาแห่งอินทรี) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาอะระวัลลี โดยตั้งอยู่สูงเหนือกว่าป้อมอาเมร์ ซึ่งเบื้องล่างนั้นเป็นทะเลสาบเมาตา ซึ่งใกล้กับเมืองอาเมร์ ชานเมืองชัยปุระ ในรัฐราชสถาน ประเทศอินเดีย สร้างโดยมหาราชาสะหวายจัย สิงห์ที่ 2 ในปีค.ศ. 1726 เพื่อใช้สำหรับอารักขาป้อมอาเมร์ และพระราชวังอาเมร์ซึ่งตั้งอยู่ภายในอันเป็นพระราชฐานของพระองค์ ป้อมแห่งนี้มีการออกแบบทางโครงสร้างสถาปัตยกรรมที่คล้ายคลึงกับป้อมอาเมร์ และยังนิยมเรียกกันว่า "ป้อมชัย" (ป้อมแห่งชัยชนะ) ซึ่งกินความยาวรวม ทางด้านทิศเหนือจรดใต้ และกว้างประมาณ ในป้อมแห่งนี้เป็นที่ตั้งของปืนใหญ่ "ชัยวนา" (Jaivana) ซึ่งมีน้ำหนักถึง 50 ตัน ซึ่งได้ทำการหลอมโลหะและผลิตภายในป้อมแห่งนี้ โดยในขณะที่สร้างนั้นถือเป็นปืนใหญ่ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกซึ่งมีล้อสามารถเคลื่อนย้ายได้ ภายในป้อม มีสวนที่ตกแต่งอย่างสวยงาม และหมู่พระตำหนักซึ่งประกอบด้วย "ลักษมีวิลาส" (Laxmi Vilas), "ลลิตมนเทียร" (Lalit Mandir), "วิลาสมนเทียร" (Vilas Mandir) และ "อารามมนเทียร" (Aram Mandir) ซึ่งใช้สำหรับสมาชิกพระราชวงศ์เวลาเสด็จมาประทับที่ป้อมแห่งนี้ นอกจากนี้ยังพบ "ศุภัตนิวาส" (Shubhat Niwas) ซึ่งเป็นโถงสำหรับรวมพล โรงงานผลิตอาวุธ และพิพิธภัณฑ์ ป้อมชยครห์ และป้อมอาเมร์นั้นเชื่อมต่อกันด้วยทางเดินลับใต้ดิน จึงมักถือว่าป้อมทั้งสองนี้เป็นสถานที่เดียวกัน.

ใหม่!!: ป้อมอาเมร์และป้อมชยครห์ · ดูเพิ่มเติม »

ป้อมสนาม

กำแพงเมืองจีน ที่มีหอสังเกตการณ์ประเป็นระยะๆ เป็น “ระบบป้อมปราการ” ชนิดหนึ่ง ป้อมสนาม (Fortification) คือสิ่งก่อสร้างทางยุทธศาสตร์หรือตึกที่ออกแบบเพื่อการป้องกันตนเองในยามสงครามหรือใช้เป็นที่มั่น การสร้างระบบป้อมปราการเป็นการก่อสร้างที่เริ่มทำกันมาเป็นเวลาหลายพันปีในรูปแบบที่เริ่มตั้งแต่เพียงโครงสร้างง่ายๆ มาจนเป็นระบบที่สลับซับซ้อน เช่นในการสร้างป้อมดาวในยุคกลาง ในภาษาอังกฤษ “Fortification” แผลงมาจากภาษาลาติน “Fortis” ที่แปลว่า “แข็งแรง” และคำว่า “Facere” ที่แปลว่า “สร้าง”.

ใหม่!!: ป้อมอาเมร์และป้อมสนาม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ป้อมแอมแมร์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »