เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

ปุ่มโคนอยด์

ดัชนี ปุ่มโคนอยด์

ที่ขอบด้านหลังของกระดูกไหปลาร้า ใกล้กับจุดประมาณ 1 ใน 3 ด้านนอก (distal 1/3) ของกระดูกไหปลาร้า (เป็นบริเวณที่กระดูกเปลี่ยนรูปร่างจากรูปกลมเป็นรูปแบน) เป็นปุ่มนูนของกระดูกที่เรียกว่า ปุ่มโคนอยด์ (conoid tubercle) หรือ ปุ่มโคราคอยด์ (coracoid tuberosity) ในตำแหน่งปกติของกระดูก ปุ่มโคนอยด์จะอยู่ด้านบนโคราคอยด์ โพรเซสของกระดูกสะบัก (coracoid process of the scapula) และมีเอ็นโคนอยด์ (conoid ligament) ซึ่งยึดเชื่อมระหว่างปุ่มโคนอยด์และโคราคอยด์ โพรเซสมาเกาะที่ปุ่มกระดูกนี้.

สารบัญ

  1. 3 ความสัมพันธ์: กระดูกสะบักกระดูกไหปลาร้าจะงอยบ่า

กระดูกสะบัก

ในกายวิภาคศาสตร์ของมนุษย์ กระดูกสะบัก (Scapula) เป็นกระดูกแบบแบน (flat bone) ชิ้นหนึ่งที่เป็นส่วนประกอบสำคัญของกระดูกส่วนไหล่ (shoulder girdle) โดยมีส่วนที่ติดต่อกับกระดูกไหปลาร้า (clavicle) และกระดูกต้นแขน (humerus) นอกจากนี้ยังเป็นที่ยึดเกาะของเอ็นเพื่อประกอบเป็นข้อต่อไหล่ (shoulder joint) และมีกล้ามเนื้อหลายมัดที่มีพื้นผิวบนกระดูกสะบักเป็นจุดเกาะต้น (origin) และจุดเกาะปลาย (insertion) อีกด้วย ดังนั้นกระดูกสะบักจึงเป็นกระดูกที่มีความสำคัญยิ่งในการเคลื่อนไหวของแขนรอบข้อต่อไหล.

ดู ปุ่มโคนอยด์และกระดูกสะบัก

กระดูกไหปลาร้า

ในกายวิภาคศาสตร์ของมนุษย์ กระดูกไหปลาร้า (Clavicle) เป็นกระดูกแบบยาว (long bone) ชิ้นหนึ่งที่เป็นส่วนประกอบของกระดูกส่วนไหล่ (shoulder girdle) ชื่อของกระดูกไหปลาร้าในภาษาอังกฤษ Clavicle เป็นคำที่มาจากภาษาลาติน clavicula ซึ่งแปลว่า กุญแจเล็กๆ เนื่องจากกระดูกชิ้นนี้จะมีการหมุนรอบแกน ในแนวนอนคล้ายกับการไขกุญแจ ขณะที่แขนกางออก กระดูกไหปลาร้ายังเป็นกระดูกที่สามารถมองเห็น แนวของกระดูกได้จากภายนอกอย่างชัดเจน โดยเฉพาะในเพศหญิงซึ่งมีไขมันในบริเวณรอบๆกระดูกน้อยกว่า นอกจากในมนุษย์แล้ว กระดูกไหปลาร้ายังพบในสัตว์สี่ขา (tetrapods) ชนิดอื่นๆ แต่อาจมีรูปร่างเล็กกว่าหรืออาจไม่พบเลย กระดูกไหปลาร้าจะเจริญในสัตว์ที่ใช้ส่วนรยางค์หน้าในการหยิบจับ แต่จะไม่เจริญมากนักในสัตว์ที่ใช้รยางค์หน้าในการรองรับน้ำหนักหรือการวิ่ง กระดูกไหปลาร้าเปรียบเสมือนไม้ค้ำ ประคองแขนทั้งสองข้างไว้ ทำให้แขนสามารถเคลื่อนไหว ได้อย่างเป็นอิสระอยู่บนลำตัว กระดูกชิ้นนี้อยู่ในตำแหน่ง ที่ง่ายต่อการกระแทก บาดเจ็บ และรับแรงกระแทกที่ส่งผ่านมาจาก แขนไปสู่ลำตัว กระดูกไหปลาร้าจึงเป็นกระดูกชิ้นที่หักบ่อยที่สุดในร่างกาย โดยมักจะหักเนื่องจาก ล้มหรือตกจากที่สูง โดยลงกระแทกบริเวณไหล่ หรือกระแทกในท่าแขนที่เหยียดออก แรงจะส่งผ่านไปตามแขน ไหล่ ไปสู่กระดูกไหปลาร้า และจะหักในส่วนที่อ่อนแอที่สุด (คือรอยต่อระหว่าง 1/3กลาง กับ 1/3ด้านนอก) หลังจากหักจะถูกกล้ามเนื้อและน้ำหนักของแขนดึงให้ผิดรูปไป.

ดู ปุ่มโคนอยด์และกระดูกไหปลาร้า

จะงอยบ่า

ราคอยด์ โพรเซส (Coracoid process) หรือ จะงอยบ่า เป็นโครงสร้างคล้ายตะขอยื่นออกมาจากกระดูกสะบักชี้ไปทางด้านหน้า คำว่า โคราคอยด์ มีรากศัพท์มาจากภาษากรีก แปลว่า ลักษณะคล้ายจะงอยปากนกกาเรเวน (Korax แปลว่า นกการาเวน).

ดู ปุ่มโคนอยด์และจะงอยบ่า

หรือที่รู้จักกันในชื่อ Conoid tubercle