โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ปัญหาความสอดคล้องแบบบูล

ดัชนี ปัญหาความสอดคล้องแบบบูล

ปัญหาความสอดคล้องแบบบูล หรือ SAT (Boolean satisfiability) เป็นปัญหาการตัดสินใจอย่างหนึ่งที่ถูกกล่าวถึงบ่อย ๆ ในศาสตร์ทางด้านทฤษฎีความซับซ้อนในการคำนวณ ตัวอย่างของปัญหา (instance) สำหรับปัญหานี้ก็คือ นิพจน์บูลีน (boolean expression) ที่ประกอบด้วยตัวแปร ตัวเชื่อมต่าง ๆ และวงเล็บ ปัญหานี้ถามคำถามที่ว่า สำหรับนิพจน์บูลีนที่กำหนด เราสามารถทำให้นิพจน์เป็นจริงโดยการกำหนดค่าให้กับตัวแปรได้หรือไม่ ในกรณีที่เราสามารถกำหนดค่าความจริงให้กับตัวแปรแล้วทำให้นิพจน์เป็นจริงได้ เราจะกล่าวว่านิพจน์นั้น สามารถทำให้เป็นจริงได้ (satisfiable) ปัญหา SAT จัดอยู่ในกลุ่มของปัญหาเอ็นพีบริบูรณ์ (NP-complete) ในบางครั้งเราอาจจะสนใจศึกษาความซับซ้อนของรูปแบบที่ต่างกันออกไปของปัญหา SAT ยกตัวอย่างเช่นปัญหา SAT แบบที่นิพจน์บูลีนอยู่ในรูปมาตรฐานแบบเชื่อม (หรือ Conjunctive Normal Form---CNF) ในกรณีนี้ถ้าแต่ละประพจน์เลือก (disjunct) ประกอบด้วยตัวแปรไม่เกิน 3 ตัวแปรเราจะเรียกปัญหาว่า 3-SAT ซึ่งเป็นปัญหาเอ็นพีบริบูรณ์เช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่ตัวแปรในแต่ละประพจน์เลือกมีไม่เกิน 2 ตัวแปร (เรียกว่าปัญหา 2-SAT) นั้น เรามีอัลกอริธึมที่มีประสิทธิภาพในการแก้ปัญหาได้ นั่นก็คือ 2SAT \in P หรือหากจะพูดให้ชัดเจนกว่านั้น 2SAT \in NL \subseteq P (ทั้งนี้เนื่องจากขั้นตอนวิธีที่ใช้แก้ปัญหา 2-SAT เป็นขั้นตอนวิธีที่ทำงานโดยใช้เนื้อที่เป็นลอการิธึมบนเครื่องจักรทัวริงเชิงไม่กำหนดเท่านั้น).

4 ความสัมพันธ์: ทฤษฎีความซับซ้อนในการคำนวณค่าความจริงปัญหาการตัดสินใจเอ็นพีบริบูรณ์

ทฤษฎีความซับซ้อนในการคำนวณ

ทฤษฎีความซับซ้อนในการคำนวณ (Computational Complexity Theory) เป็นสาขาหนึ่งของทฤษฎีการคำนวณ ที่มุ่งเน้นไปในการวิเคราะห์เวลาและเนื้อที่สำหรับการแก้ปัญหาหนึ่ง ๆ โดยปกติแล้วคำว่า "เวลา" ที่เราพูดถึงนั้น จะเป็นการนับจำนวนขั้นตอนที่ใช้ในการแก้ปัญหา ส่วนในเรื่องของ "เนื้อที่" เราจะพิจารณาเนื้อที่ ๆ ใช้ในการทำงานเท่านั้น (ไม่นับเนื้อที่ ๆ ใช้ในการเก็บข้อมูลป้อนเข้า).

ใหม่!!: ปัญหาความสอดคล้องแบบบูลและทฤษฎีความซับซ้อนในการคำนวณ · ดูเพิ่มเติม »

ค่าความจริง

ค่าความจริง (Truth value) ในทางตรรกศาสตร์และคณิตศาสตร์ หมายถึง ค่าที่ใช้บ่งบอกว่าประพจน์ใดเป็นความจริง ในเรื่องของตรรกศาสตร์แบบฉบับ (classical logic) ค่าความจริงมีเพียงสองอย่างเท่านั้นคือ ค่าจริง (true) และค่าเท็จ (false) แต่สำหรับตรรกศาสตร์คลุมเครือ (fuzzy logic) หรือตรรกศาสตร์หลายค่า (multi-valued logic) ค่าความจริงอาจจะมีค่าอย่างอื่นที่นอกเหนือจากนั้นก็ได้ เซตของค่าความจริง ทำให้เกิดพีชคณิตแบบบูล (Boolean algebra) ซึ่งคำนวณด้วยวิธีที่คล้ายพีชคณิตแล้วให้ผลเฉพาะในเซตเท่านั้น ส่วนพีชคณิตแบบอื่นอาจมีการใช้เซตของค่าความจริงในตรรกศาสตร์ที่ไม่ได้เป็นแบบฉบับ ตัวอย่างเช่น ตรรกศาสตร์สหัชญาณนิยม (intuitionistic logic) หรือพีชคณิตเฮย์ทิง (Heyting algebra) เป็นต้น ในการเขียนโปรแกรม คอมพิวเตอร์จะให้ความหมายของค่า 0 เป็นค่าเท็จ และค่าอื่นที่ไม่ใช่ 0 (รวมทั้ง 1) หมายถึงค่าจริง และภาษาโปรแกรมบางภาษาอาจมีค่าว่าง (null) อยู่ด้วย ซึ่งไม่ใช่ทั้งค่าจริงและค่าเท็จ หมวดหมู่:ตรรกศาสตร์.

ใหม่!!: ปัญหาความสอดคล้องแบบบูลและค่าความจริง · ดูเพิ่มเติม »

ปัญหาการตัดสินใจ

ปัญหาการตัดสินใจ เป็นปัญหาในทฤษฎีการคำนวณได้และทฤษฎีความซับซ้อนในการคำนวณ ซึ่งพิจารณาค่าอินพุตและตอบเพียงว่า "ใช่" หรือ "ไม่ใช่" เท่านั้น เช่นปัญหาที่ถามว่าจำนวนเต็ม x เป็นจำนวนเฉพาะใช่หรือไม.

ใหม่!!: ปัญหาความสอดคล้องแบบบูลและปัญหาการตัดสินใจ · ดูเพิ่มเติม »

เอ็นพีบริบูรณ์

อ็นพี เอ็นพีบริบูรณ์ และเอ็นพีแบบยาก สำหรับทั้งสองกรณีที่พีเท่ากับเอ็นพี และพีไม่เท่ากับเอ็นพี ในทางทฤษฎีความซับซ้อนในการคำนวณ เอ็นพีบริบูรณ์ (NP-complete.) เป็นกลุ่มความซับซ้อนที่ยากที่สุดในเอ็นพี กล่าวคือปัญหาใด ๆ ในกลุ่มปัญหา เอ็นพี สามารถลดรูป (Reduce) มาเป็นปัญหาใน เอ็นพีบริบูรณ์ ได้ แม้ยังไม่ได้รับการพิสูจน์แต่เชื่อกันว่าเป็นกลุ่มปัญหาที่ไม่น่าจะมีขั้นตอนวิธีที่มีประสิทธิภาพใช้แก้ไขได้ ปัญหาในกลุ่มเอ็นพีบริบูรณ์สามารถเปลี่ยนแปลงไปมาเป็นปัญหาอื่นในกลุ่มเดียวกันได้ด้วย polynomial time ดังนั้นการที่มีขั้นตอนวิธีที่มีประสิทธิภาพสำหรับปัญหาใดปัญหาหนึ่งในเอ็นพีบริบูรณ์ ส่งผลให้เราสามารถแก้ปัญหาทั้งหมดในกลุ่มเอ็นพีได้อย่างมีประสิทธิภาพ กลุ่มความซับซ้อนเอ็นพีบริบูรณ์ในบางครั้งถูกเรียกสั้น ๆ ว่า NP-C.

ใหม่!!: ปัญหาความสอดคล้องแบบบูลและเอ็นพีบริบูรณ์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Boolean satisfiability problem

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »