เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

ปลาแลมป์เพรย์ทะเล

ดัชนี ปลาแลมป์เพรย์ทะเล

ปลาแลมป์เพรย์ทะเล หรือ ปลาแลมป์เพรย์ทะเลสาบ (Sea lamprey, Lake lamprey) ปลาชนิดหนึ่ง จำพวกปลาแลมป์เพรย์ หรือปลาปากกลม จัดเป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Petromyzon ปลาแลมป์เพรย์ทะเล มีความยาวเต็มที่ได้ถึง 125 เซนติเมตร น้ำหนักได้ถึง 2.5 กิโลกรัม นับเป็นปลาแลมป์เพรย์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด มีลำตัวยาวคล้ายปลาไหล ลำตัวเรียบลื่นไม่มีเกล็ด มีลักษณะเด่นคือ ปากเป็นวงกลมไม่มีขากรรไกรหรือกราม ภายในปากเต็มไปด้วยฟันคมขนาดเล็กจำนวนมาก เรียงเป็นแถวไปตามวงกลมของปาก ภายในปากมีอวัยวะพิเศษคล้ายท่อ ใช้สำหรับดูดเลือด มีสีลำตัวตั้งแต่สีฟ้าจนถึงสีดำเทา มีดวงตาขนาดเล็ก และมีซี่กรองเหงือกข้างละ 7 แถว กระจายพันธุ์อยู่ตั้งแต่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน, ชายฝั่งแปซิฟิกของอเมริกาเหนือ, โนวาสโกเทีย, ตอนใต้ของเกาะกรีนแลนด์, ไอร์แลนด์, สหราชอาณาจักร และสแกนดิเนเวีย รวมถึงเกรตเลคส์และแม่น้ำ หรือลำธารน้ำจืดต่าง ๆ กินอาหารโดยการดูดเลือดของสัตว์มีกระดูกสันหลังที่มีขนาดใหญ่กว่า เช่น ปลาขนาดใหญ่ชนิดต่าง ๆ ทั้งน้ำจืดและน้ำเค็ม เช่น ปลาโบว์ฟิน, ปลาการ์, ปลาเทราต์, ปลาซัคเกอร์ โดยมักจะดูดบริเวณหลังครีบอกหรือใต้ท้อง รอยแผลจะปรากฏเป็นรอยช้ำแดงเป็นจั้ม ๆ ปลาที่ถูกดูดอาจถึงตายหรือบาดเจ็บสาหัส รวมกระทั่งมีรายงานว่าโจมตีดูดเลือดมนุษย์ที่ลงเล่นน้ำด้วย โดยแผลที่ถูกดูดจะปรากฏรอยฟันเป็นวงกลมเห็นชัดเจน และมีเลือดไหลซิบ ๆ รอยแผลของปลาที่ถูกปลาแลมป์เพรย์ทะเลดูดเลือด ส่วนหัวของปลาแลมป์เพรย์ทะเล ปลาแลมป์เพรย์ทะเล มีวงจรชีวิตปกติอาศัยอยู่ในทะเล แต่จะเดินทางเข้าสู่เขตน้ำจืดเป็นระยะทางไกลนับเป็นพัน ๆ กว่ากิโลเมตร เพื่อผสมพันธุ์และวางไข่ในลำธารน้ำที่ไหลเชี่ยว บางครั้งที่พบเขื่อนหรือที่กั้นที่เป็นที่สูง ก็จะพยายามคืบคลานขึ้นไป ในช่วงนี้ปลาแลมป์เพรย์ทะเลจะไม่กินอาหารทั้งตัวผู้และตัวเมีย การผสมพันธุ์เป็นการปฏิสนธิภายนอก วางไข่ได้ครั้งละ 35,000-100,000 ฟอง โดยปลาตัวเมียจะขุดหลุมวางไข่ซึ่งมีความกว้างประมาณ 1 เมตร และลึกประมาณ 15 เซนติเมตร ไข่จะฟักเป็นตัว หลังจากปลาพ่อแม่ตายไปแล้ว ปลาในวัยอ่อนจะยังไม่มีฟันและตาบอด ซึ่งมีลักษณะภายนอกแตกต่างจากปลาเต็มวัยพอสมควร และต้องใช้ระยะเวลาประมาณ 3-4 ปีก่อนที่จะเติบโตจะเปลี่ยนแปลงรูปร่างเป็นปลาเต็มวัย ซึ่งในระยะนี้ปลาวัยอ่อนจะเลี้ยงตัวเองในน้ำจืด ปลาแลมป์เพรย์ทะเล แม้จะมีรูปลักษณ์ที่น่าเกลียด แต่ก็นิยมนำมารับประทานเป็นอาหารทั้งสตูหรือพาย และมีอินเดียนแดงบางเผ่าที่นำมาย่างรมควัน รับประทานเป็นอาหารด้วยVampires of the Deep, "River Monsters".สารคดีทางดิสคัฟเวอรี่แชนแนล ทางทรูวิชั่นส์: จันทร์ที่ 9 กันยายน 2556 ในกลางปี..

สารบัญ

  1. 9 ความสัมพันธ์: พาย (อาหาร)วงศ์ปลาหมูกระโดงสูงสัตว์สัตว์มีแกนสันหลังสตูอันดับปลาไหลคาโรลัส ลินเนียสปลาแลมป์เพรย์ปลาไม่มีขากรรไกร

พาย (อาหาร)

ตรอเบอร์รี่ชีสพาย พาย (pie) คืออาหารชนิดหนึ่งที่ผ่านกระบวนการอบ โดยปกติพายจะบรรจุไส้ต่าง ๆ ไว้ด้านใน เช่น เนื้อปลา ผัก ผลไม้ ชีส ครีม ช็อกโกแลต คัสตาร์ด ถั่ว หรือของหวานอื่น ๆ พายจะมี 2 ลักษณะคือ แบบที่มีแป้งประกบทั้งสองด้าน เช่น พายไก่ หรือพายสับปะรด หรืออีกประเภทที่วางอยู่บนแป้งด้านหนึ่ง เช่นพายที่เป็นขนมหวาน โดยไส้ที่เป็นของหวานหรือผลไม้ จะวางบนแผ่นแป้งที่เรียกว่าครัสต์ พายประเภทที่เป็นของหวานมักจะผ่านกระบวนการอบเฉพาะส่วนของแป้งเท่านั้น ส่วนไส้ในจะมาใส่ภายหลัง.

ดู ปลาแลมป์เพรย์ทะเลและพาย (อาหาร)

วงศ์ปลาหมูกระโดงสูง

วงศ์ปลาหมูกระโดงสูง (Sucker, Chinese sucker, American sucker) เป็นวงศ์ของปลาน้ำจืดกระดูกแข็ง ในอันดับปลาตะเพียน (Cypriformes) ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Catostomidae (มาจากภาษากรีก คำว่า "kata" หมายถึง "ล่าง" และ "stoma" หมายถึง "ปาก") มีลักษณะโดยรวมคล้ายกับปลาในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) หรือ วงศ์ปลาสร้อยน้ำผึ้ง (Gyrinocheilidae) ที่อยู่ในอันดับเดียวกัน มีลักษณะร่วม คือ มี ปากอยู่ด้านล่างของส่วนหัว ริมฝีปากหนา มีความแตกต่างไปจากปลาวงศ์อื่นในอันดับเดียวกัน คือ มีแถวฟันในคอหอยเพียงแถวเดียวเท่านั้น มีความยาวเต็มที่ประมาณ 60-90 เซนติเมตร แต่ส่วนใหญ่จะมีความยาวน้อยกว่านั้น เป็นปลาที่หากินตามพื้นท้องน้ำ โดยหากินอาหารจำพวก ตะไคร่น้ำหรือสัตว์น้ำขนาดเล็ก เช่น หนอนแดง, ไส้เดือนน้ำ, กุ้ง หรือ แมลงน้ำต่าง ๆ เป็นต้น พบกระจายพันธุ์ส่วนมากในทวีปอเมริกาเหนือ และพบบางส่วนในประเทศจีน แบ่งออกได้เป็น 13 สกุล 68 ชนิด มีหลายชนิด หลายสกุลที่สูญพันธุ์ไปหมดแล้ว.

ดู ปลาแลมป์เพรย์ทะเลและวงศ์ปลาหมูกระโดงสูง

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ดู ปลาแลมป์เพรย์ทะเลและสัตว์

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ดู ปลาแลมป์เพรย์ทะเลและสัตว์มีแกนสันหลัง

สตู

สตู สตู หรือ ซุปข้น เป็นอาหารประเภทเนื้อตุ๋น โดยใช้เนื้อสัตว์ต่างได้หลายชนิด แม้กระทั่งนก หมวดหมู่:อาหาร de:Eintopf en:Stew fa:خورشت nl:Stoofpot pl:Eintopf ru:Айнтопф.

ดู ปลาแลมป์เพรย์ทะเลและสตู

อันดับปลาไหล

อันดับปลาไหล หรือที่นิยมเรียกสั้น ๆ ในชื่อสามัญว่า ปลาไหล เป็นปลากระดูกแข็งจำพวกหนึ่ง จัดอยู่ในอันดับใหญ่ที่ใช้ชื่อว่า Anguilliformes มีรูปร่างโดยรวมยาวเหมือนงู พบได้ทั้งน้ำจืด, น้ำกร่อย หรือน้ำเค็ม สามารถแบ่งออกได้เป็นอีกหลายอันดับย่อย ในหลายวงศ์ เช่น ในวงศ์ปลาตูหนา (Anguillidae), วงศ์ปลาไหลมอเรย์ (Muraenidae), วงศ์ปลาไหลทะเล (Ophichthidae), วงศ์ปลาไหลยอดจาก (Muraenesocidae), วงศ์ปลาไหลสวน (Congridae) เป็นต้น เป็นปลาที่กินเนื้อเป็นอาหาร ผิวหนังโดยมากเกล็ดจะมีขนาดเล็กแทบมองไม่เห็นและฝังอยู่ใต้ผิวหนัง มีลักษณะลื่น ครีบทั้งหมดมีขนาดเล็กและสั้น มักจะซุกซ่อนตัวอยู่ในวัสดุใต้น้ำประเภทต่าง ๆ เช่น ปะการัง, ก้อนหิน, โพรงไม้ หรือ ซากเรือจม ปลาที่อยู่ในอันดับปลาไหลนี้ พบแล้วประมาณ 4 อันดับย่อย, 19 วงศ์, 110 สกุล และประมาณ 800 ชนิด อนึ่ง ปลาบางประเภทที่มีรูปร่างยาวคล้ายปลาไหล แต่มิได้จัดให้อยู่ในอันดับปลาไหลได้แก่ ปลาไหลนา (Monopterus albus) ที่จัดอยู่ในอันดับปลาไหลนา (Synbranchiformes), ปลาปอด ถูกจัดอยู่ในอันดับ Lepidosireniformes และ Ceratodontiformes, ปลาไหลไฟฟ้า (Electrophorus electricus) อยู่ในอันดับ Gymnotiformes, ปลาไหลผีอะบาอะบา (Gymnarchus niloticus) อยู่ในอันดับ Osteoglossiformes, ปลางู (Pangio spp.) อยู่ในอันดับ Cypriniformes หรือแม้กระทั่ง ปลาแลมป์เพรย์ และแฮคฟิช ถูกจัดอยู่ในชั้น Agnatha ซึ่งอยู่คนละชั้นเลยก็ตาม เป็นต้น.

ดู ปลาแลมป์เพรย์ทะเลและอันดับปลาไหล

คาโรลัส ลินเนียส

รลัส ลินเนียส (ภาษาละติน) หรือ คาร์ล ลินเนียส (ภาษาสวีเดน) ปัจจุบันภาพนี้จัดแสดงที่ราชวิทยาลัยวิทยาศาสตร์แห่งสวีเดน ลายมือชื่อของคาร์ล ลินเนียส คาโรลัส ลินเนียส (Carolus Linnaeus) หรือ คาร์ล ฟอน ลินเนีย บ้างก็เรียก คาร์ล ลินเนียส (Carl Linnaeus) (23 พฤษภาคม พ.ศ.

ดู ปลาแลมป์เพรย์ทะเลและคาโรลัส ลินเนียส

ปลาแลมป์เพรย์

ปลาแลมป์เพรย์ (Lamprey, Lamprey eel) เป็นปลาที่อยู่ในชั้นใหญ่ปลาไม่มีขากรรไกร จัดอยู่ในอันดับ Petromyzontiformes และวงศ์ Petromyzontidae ปลาแลมป์เพรย์มีลำตัวยาวลักษณะคล้ายปลาไหล ลำตัวด้านหลังมักจะเป็นสีดำ มีครีบหลังและครีบหาง แต่ไม่มีครีบคู่ ไม่มีเกล็ด ปากจะอยู่ค่อนลงมาทางด้านท้อง มีลักษณะเป็นวงกลมใช้สำหรับดูด มีฟันแหลมคมจำนวนมากที่เจริญดีอยู่ในอุ้งปาก รูจมูกมี 1 รูซึ่งอยู่กึ่งกลางด้านบนของหัว มีตา 1 คู่ ถุงเหงือก 7 ถุง และมีช่องเหงือก 7 ช่อง หัวใจประกอบด้วยเวนตริเคิล 1 ห้อง และเอเตรียม 1 ห้อง โครงร่างเป็นกระดูกอ่อนและเส้นใย และยังคงมีโนโตคอร์ดอยู่ เส้นประสาทหลัง มีการพัฒนาเป็นสมองซึ่งมีเส้นประสาทสมอง 8-10 คู่ ทางเดินอาหารไม่มีกระเพาะอาหาร ส่วนลำไส้บิดเป็นเกลียว มีลักษณะเพศแยกออกเป็นเพศผู้และเพศเมียชัดเจน ปลาแลมป์เพรย์พบได้ทั้งลำธารในน้ำจืด และในทะเล พบกระจายพันธุ์อยู่ทั่วโลก ทั้งยุโรปตอนบน, อเมริกาเหนือ, อเมริกาใต้, แอฟริกาตะวันตก, ญี่ปุ่น, เกาหลี, ชิลี, ออสเตรเลีย และเกาะแทสมาเนีย ปลาแลมป์เพรย์สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 จำพวกใหญ่ ๆ คือ แบบธรรมดา จะอาศัยอยู่ตามลำธาร ช่วงชีวิตส่วนใหญ่จะเป็นระยะตัวอ่อนที่กินอาหารแบบกรอง ตัวเต็มวัยมีชิวิตอยู่ 3-4 สัปดาห์ โดยไม่กินอาหารเนื่องจากทางเดินอาหารสลายตัว เหลือเพียงสายของเนื้อเยื้อที่ไม่มีหน้าที่การทำงานและจะตายไปหลังวางไข่ ปลาแลมป์เพรย์จำพวกนี้สามารถดำรงชีวิตได้เอง โดยการกินสัตว์อื่นเป็นอาหาร มีความยาวโดยเฉลี่ยประมาณ 15-60 เซนติเมตร จะมีการวางไข่ที่ลำธารน้ำจืดที่มีพื้นเป็นทรายและก้อนกรวดเล็ก ๆ ตามพื้นท้องน้ำและวางไข่ในฤดูตัวผู้จะเริ่มสร้างแอ่งวางไข่โดยใช้ปากคาบเอาหินและกรวดจากพื้นโดยการแกว่งลำตัวทำให้ก้อนกรวดกระจายออกไปเกิดเป็นแอ่งรูปไข่ ตัวเมียจะตามมาและเกาะกับหินเหนือแอ่ง ตัวผู้เกาะทางด้านหัวของตัวเมีย ตัวเมียปล่อยไข่ลงในแอ่ง ตัวผู้ปล่อยน้ำเชื้อออกผสม ไข่ที่ปฏิสนธิแล้วจะยึดเกาะกับก้อนกรวดในแอ่ง แล้วกลบด้วยทราย ลักษณะพิเศษคือ หลังวางไข่แล้วทั้งตัวผู้และเมียก็จะตายไป จากนั้น ไข่จะฟักออกในเวลา 2 สัปดาห์ เป็นตัวอ่อนขนาดเล็กตัวยาว เรียกว่า แอมโมซีทิส (Ammocoetes) ซึ่งจะคงอยู่ในแอ่งจนตัวยาวประมาณ 1 เซนติเมตร ก็จะฝังตัวเข้าไปในทรายแล้วออกมาหากินในเวลากลางคืน ระยะตัวอ่อนแอมโมซีทีสจะยาวนานประมาณ 3-7 ปี จึงจะเจริญเปลี่ยนรูปร่างเป็นตัวเต็มวัย ซึ่งตัวเต็มวัยจะคงอยู่ในน้ำจืดอีกประมาณ 1 ปี แล้วก็วางไข่ จากนั้นก็จะตายไป ส่วนชนิดที่เป็นปลาทะเลก็จะอพยพคืนถิ่นสู่ทะเล มีอายุยืนยาวกว่าชนิดที่เป็นปลาน้ำจืด เมื่อเข้ามาวางไข่ในน้ำจืดจะไม่กินอาหาร และ ปลาแลมป์เพรย์ที่เป็นปรสิต จะมีปากคล้ายแว่นดูดและมีอุ้งปาก คล้ายถ้วยลึกลงไปในอุ้งปาก และลิ้นมีฟันที่เจริญดีอยู่ มันจะใช้ปากเกาะเหยื่อและใช้ฟันและลิ้นครูดเอาเนื้อออก และให้เลือดของเหยื่อไหลผ่านได้สะดวก ปลาแลมป์เพรย์จะสร้างสารป้องกันการตกตะกอนของเลือดส่งไปที่ปากแผล เมื่อดูดเลือดของเหยื่อจนตัวเหยื่อแห้งก็จะปล่อยแล้วหาเหยื่อใหม.

ดู ปลาแลมป์เพรย์ทะเลและปลาแลมป์เพรย์

ปลาไม่มีขากรรไกร

ปลาไม่มีขากรรไกร (Jawless fish) เป็นปลาที่อยู่ในชั้นใหญ่ Agnatha (กรีก: ไม่มีขากรรไกร) เป็นปลาในชั้นหนึ่ง ที่แตกต่างไปจากปลากระดูกแข็ง หรือ ปลากระดูกอ่อน ซึ่งเป็นปลาส่วนใหญ่ที่พบได้ทั่วไปและเป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดี โดยปลาในชั้นนี้จะไม่มีกรามหรือขากรรไกร แต่จะมีปากแบบวงกลมและมีฟันแหลมคมจำนวนมากอยู่รอบ ๆ ใช้สำหรับดูดเลือดและเนื้อเยื่อของปลาชนิดอื่นกินเป็นอาหาร มีลำตัวยาวเหมือนปลาไหล มีโครงสร้างของกระดูกเป็นกระดูกอ่อน พบได้ทั้งน้ำจืดและทะเล บรรพบุรุษของปลาไม่มีขากรรไกร วิวัฒนาการมาจากปลาในชั้นออสตราโคเดิร์มซึ่งสูญพันธ์ไปแล้ว ฟอสซิลที่ถูกค้นพบครั้งล่าสุด พบว่า มีอายุกว่า 500 ล้านปีมาแล้ว และฟอสซิลที่ถูกค้นพบนั้นมีความสลับซับซ้อนมาก จึงเป็นที่น่าคาดการได้ว่า ออสตราโคเดิร์ม เก่าแก่มาก และน่าจะสูญพันธุ์ไปหมดแล้ว ปลาไม่มีขากรรไกร สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ Petromyzontida และ Myxini ซึ่งในปัจจุบัน กลุ่ม Petromyzontida มีเหลืออยู่เพียงประเภทเดียว คือ ปลาแลมป์เพรย์ ส่วน Myxini ก็เหลือเพียงประเภทเดียวเช่นกัน คือ แฮคฟ.

ดู ปลาแลมป์เพรย์ทะเลและปลาไม่มีขากรรไกร

หรือที่รู้จักกันในชื่อ Lake lampreyLampreyPetromyzonPetromyzon marinusSea lampreyปลาแลมป์เพรย์ทะเลสาบ