โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ปลาหมอเท็กซัสแดง

ดัชนี ปลาหมอเท็กซัสแดง

ปลาหมอเท็กซัสแดง ปลาหมอเท็กซัสแดง หรือที่นิยมเรียกกันสั้น ๆ ว่า เท็กซัสแดง (Red texas cichlid) เป็นปลาหมอสีข้ามชนิดระหว่างปลาหมอเท็กซัสเขียว ซึ่งเป็นปลาที่มีถิ่นกำเนิดจากทางอเมริกากลางถึงเม็กซิโก โดยทั่วไปการเพาะพันธุ์มักนิยมใช้ปลาหมอเท็กซัสเขียวตัวผู้กับปลาหมอสีที่ลอกสีผิวเป็นสีแดง เช่น ปลาหมอเรดอเมริกา, ปลาหมอนกแก้ว, ปลาซินสไปลุ่ม หรือปลาพื้นแดงลอกที่ผสมข้ามชนิดมาแล้วก็ได้ ซึ่งก็จะได้ลูกปลาที่เป็นเท็กซัสแดง แต่ในปัจจุบันมักใช้แม่ปลาหมอนกแก้วเนื่องจากลูกปลาเวลาลอกสีผิวแล้วมักมีสีแดงมากกว่าแม่ปลาชนิดอื่น.

10 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2547ปลาหมอฟลามิงโก้ปลาหมอซินสไปลุ่มปลาหมอนกแก้วปลาหมอเท็กซัสเขียวไรทะเลไรแดงไส้เดือนน้ำเดลินิวส์28 กุมภาพันธ์

พ.ศ. 2547

ทธศักราช 2547 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2004 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันพฤหัสบดีตามปฏิทินเกรกอเรียน เป็นปีอธิกมาส ปกติวาร ตามปฏิทินไทยจันทรคติ และกำหนดให้เป็น.

ใหม่!!: ปลาหมอเท็กซัสแดงและพ.ศ. 2547 · ดูเพิ่มเติม »

ปลาหมอฟลามิงโก้

ปลาหมอฟลามิงโก้ หรือ ปลาหมอไมดาส (Red devil cichild, Midas cichlid) เป็นปลาชนิดหนึ่งในวงศ์ปลาหมอสี (Cichlidae) พบกระจายพันธุ์ในทวีปอเมริกาใต้ จัดเป็นปลาหมอสีที่มีรูปร่างใหญ่ เมื่อโตเต็มที่จะยาวได้ 25-30 เซนติเมตร มีลักษณะลำตัวค่อนข้างแบนกว้าง ส่วนหัวจะมีโหนกนูนอย่างเห็นได้ชัดเจนเมื่อโตเต็มที่ ริมฝีปากหนา ตาสีดำ ครีบอกแผ่กว้างปลายมนเล็กน้อย ครีบกระโดงหลังจะเรียวยาวแผ่กว้างไปทางด้านหลัง ครีบท้อง 2 อันเท่ากัน ขณะที่ครีบทวารจะแผ่กว้างคล้ายครีบกระโดงแต่ไม่ยาวมาก ครีบหางแผ่กว้างปลายมนเล็กน้อย ลำตัวมีสีหลากหลายทั้งสีส้ม, เหลือง, ขาว ปนอยู่ โดยมีแถบสีดำแซม ขึ้นอยู่กับที่การเปลี่ยนสี หรือ "การลอก" ในภาษาเฉพาะของวงการปลาสวยงามว่าจะออกมาเป็นอย่างไร ซึ่งปลาที่มีสีส้มหรือแดง นิยมเรียกว่า ปลาหมอเรดเดวิล หรือ ปลาหมอเรดอเมริกา ปลาหมอฟลามิงโก้เป็นปลาที่มีนิสัยก้าวร้าว หวงอาณาเขตเป็นปลาที่อยู่ตามลำพังเพียงตัวเดียว ชอบขุดคุ้ยซอกหิน ซอกไม้ ในการหลบซ่อนตัว โดยเฉพาะปลาตัวผู้ที่มีโหนกใหญ่บนหัวจะก้าวร้าวมาก ปลาหมอฟลามิงโก้ นั้นสามารถเพาะขยายพันธุ์ได้ในตู้เลี้ยงตั้งแต่ขนาด 24 นิ้วขึ้นไป โดยวางไข่ติดไว้กับพื้นหรือหิน ตัวเมียเมื่อมีความสมบูรณ์เต็มที่จะออกไข่ได้ครั้งละ 400-800 ฟอง ลักษณะไข่มีสีเหลืองนวล ไข่ใช้เวลา 3 วัน ในการฟักเป็นตัว แยกเพศโดยการสังเกตที่ส่วนท้อง ช่องเพศของตัวเมียจะมีลักษณะกลมใหญ่กว่า ขณะที่ตัวผู้จะยาวแหลมยื่นออกมา และมีลำตัวและส่วนหัวใหญ่กว่าตัวเมียอย่างเห็นได้ชัด ปลาหมอฟลามิงโก้ ถือเป็นปลาชนิดที่เป็นต้นแบบของปลาหมอลูกผสม หรือที่เรียกกันว่า ครอสบรีด เช่น ปลาหมอฟลาวเวอร์ฮอร์น เป็นต้น.

ใหม่!!: ปลาหมอเท็กซัสแดงและปลาหมอฟลามิงโก้ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาหมอซินสไปลุ่ม

ปลาหมอซินสไปลุ่ม (Quetzel cichlid, Redhead cichlid, Firehead cichlid) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาหมอสี (Cichlidae) มีถิ่นกำเนิดเดิมที่ภูมิภาคอเมริกากลาง มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 30 เซนติเมตร ปลาตัวผู้เมื่อโตเต็มวัย มีโหนกใหญ่บนหัวและมีสีสันสวยงาม มีสีแดงเข้มบริเวณส่วนหัว และมีปื้นสีดำยาว 3 แถบที่ลำตัว ปลาหมอซินสไปลุ่มมักถูกนำมาผสมพันธุ์กับปลาหมอสีชนิดอื่น ๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งปลาชนิดผสมที่มีลักษณะสวยงาม เช่น ปลาหมอนกแก้ว และ ปลาหมอฟลาวเวอร์ฮอร์น เป็นต้น.

ใหม่!!: ปลาหมอเท็กซัสแดงและปลาหมอซินสไปลุ่ม · ดูเพิ่มเติม »

ปลาหมอนกแก้ว

ฝูงปลาหมอนกแก้ว จัดแสดงที่ ศูนย์แสดงพันธุ์สัตว์น้ำบึงฉวากเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสุพรรณบุรี ปลาหมอนกแก้ว (Blood parrot cichlid) เป็นพันธุ์ลูกผสมระหว่างปลาหมอฟลามิงโก้ และปลาหมอซินสไปลุ่ม มีปากคล้ายกับนกแก้ว เป็นปลาที่ไม่มีในธรรมชาติ แต่ถูกผสมพันธุ์ขึ้นมาครั้งแรกที่ประเทศไต้หวัน ขนาดโตเต็มที่ 10-15 เซนติเมตร มีดวงตาโต ม่านตาใหญ่จนบางคราวดูไม่เหมือนทรงกลม เป็นวงรีหรือไม่ก็เป็นขีด ดำ ๆ หนา ๆ พาด ผ่านตามแนวนอนของ ลูกตา ตู้ที่เหมาะสม ไม่ควรต่ำกว่า 30 นิ้ว เป็น ปลาที่ค่อนข้าง ก้าวร้าว อันที่จริง เป็นปลาที่ไม่ค่อยดุนัก และสามารถเลี้ยงรวมกับปลาอื่นที่ ขนาดเท่ากันได้ สามารถให้อาหารสำเร็จรูปและสัตว์น้ำขนาดเล็กเป็นอาหารได้.

ใหม่!!: ปลาหมอเท็กซัสแดงและปลาหมอนกแก้ว · ดูเพิ่มเติม »

ปลาหมอเท็กซัสเขียว

ปลาหมอเท็กซัสเขียว (Pearlscale cichlid, Lowland cichlid, Green texas cichlid) ปลาน้ำจืดกระดูกแข็งชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาหมอสี (Cichlidae) ปลาหมอเท็กซัสเขียว ลักษณะคือ มีลักษณะเด่นเป็นปื้นสีดำหรือมาร์คกิ้ง ที่ลำตัวประมาณ 1-3 จุด และมีจุดกลมเล็ก ๆ คล้ายมุกกระจายทั่วตัว สีลำตัวออกเขียวหรือสีฟ้า ตัวผู้มีส่วนหัวที่โหนกนูน เป็นปลาหมอสีชนิดหนึ่งที่มีนิสัยก้าวร้าวหวงถิ่น มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 6-10 นิ้ว พบกระจายพันธุ์ในตอนเหนือของประเทศเม็กซิโก ในแม่น้ำเวอร์เต้ตามปากแม่น้ำพีนูโกที่ลาดลงสู่มหาสมุทรแอตแลนติก ปลาหมอเท็กซัสเขียว นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามทั่วไป ในประเทศไทยมีการเลี้ยงกันมาไม่ต่ำกว่า 20 ปี และเป็นปลาที่ได้รับการพัฒนาสายพันธุ์หรือผสมข้ามพันธุ์กับปลาหมอเท็กซัสในสกุลเดียวกัน เช่น ปลาหมอเท็กซัส (H. cyanoguttatus) หรือผสมกับปลาหมอสีในสกุล Amphilophus ซึ่งต่างสกุลกัน เป็นปลาสายพันธุ์ใหม่ที่มีความสวยงามขึ้นและมีพื้นลำตัวสีแดงสด คือ ปลาหมอเท็กซัสแดง.

ใหม่!!: ปลาหมอเท็กซัสแดงและปลาหมอเท็กซัสเขียว · ดูเพิ่มเติม »

ไรทะเล

รทะเล หรือ อาร์ทีเมีย หรือ ไรน้ำเค็ม หรือ ไรน้ำสีน้ำตาล (Brine shrimp, Sea-monkey) เป็นสัตว์น้ำจำพวกครัสเตเชียนสกุลหนึ่ง ที่นิยมใช้ในอุตสาหกรรมการประมงและเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ไรทะเล เป็นครัสเตเชียน ในสกุล Artemia ถือกำเนิดในบริเวณเมดิเตอร์เรเนียนมานานกว่า 5.5 ล้านปีมาแล้ว ลักษณะเป็นสัตว์สีน้ำตาลแดงหรือสีน้ำตาลส้ม ไม่มีเปลือกแข็งหุ้มตัว มีเพียงเนื้อเยื่อบาง ๆ เท่านั้นที่หุ้มตัว ว่ายน้ำเคลื่อนที่ในลักษณะหงายท้อง ลำตัวเรียวยาวคล้ายใบไม้แบ่งออกได้เป็น 3 ส่วน คือ ส่วนหัว แบ่งออกได้เป็น 6 ปล้อง ปล้องแรกเป็นที่ตั้งของตาเดียวและตารวม มีก้านตา 1 คู่ ปล้องที่ 2 เป็นที่ตั้งของหนวดคู่แรก ปล้องที่ 3 เป็นที่ตั้งของหนวดคู่ที่ 2 ปล้องที่ 4 เป็นกราม ปล้องที่ 5 เป็นฟันคู่แรก ปล้องที่ 6 เป็นฟันคู่ที่ 2 ส่วนอกแบ่งออกเป็น 11 ปล้อง แต่ละปล้องประกอบด้วยระยางค์ เป็นอวัยวะทำหน้าที่เกี่ยวกับการเคลื่อนที่ การหายใจและการกรองรวบรวมอาหาร ส่วนท้องแบ่งออกได้ 8 ปล้อง ปล้องแรกเป็นที่ตั้งของอวัยวะเพศ ปล้องที่ 2-7 ไม่มีระยางค์ ปล้องที่ 8 มีแพนหาง 1 คู่ โดยปกติเมื่อโตเต็มวัย เพศผู้จะมีขนาดเล็กกว่าเพศเมีย และจะมีหนวดคู่ที่ 2 ขนาดใหญ่กว่ารูปร่างคล้ายตะขอใช้เกาะจับเพศเมีย บริเวณปล้องแรกของส่วนท้องของเพศผู้จะมีอวัยวะเพศผู้อยู่ 1 คู่ ในเพศเมียตัวเต็มวัย หนวดคู่ที่ 2 จะมีขนาดเล็กลง และเปลี่ยนมาทำหน้าที่รับความรู้สึก บริเวณปล้องแรกของส่วนท้องจะมีอวัยวะเพศเมียทำหน้าที่เก็บตัวอ่อนหรือเก็บไข่ ไรทะเลสืบพันธุ์ได้ทั้งอาศัยเพศและไม่อาศัยเพศ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ ให้ลูกทั้งแบบเป็นตัว โดยจะมีไข่ฟักเป็นตัวภายในมดลูก ไข่ไม่มีเปลือกหนาแข็งหุ้ม สามารถวางไข่ได้ครั้งละ 300-500 ฟอง ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์, ความสมบูรณ์ของไรทะเล หรืออุณหภูมิของสภาพแวดล้อมที่อาศัย ใช้เวลาประมาณ 48 ชั่วโมง ในการฟักเป็นตัว ไรทะเล มีถิ่นกำเนิดในทะเลสาบน้ำเค็ม ในสหรัฐอเมริกา, ยุโรป และจีน ไม่พบในประเทศไทย แบ่งออกได้เป็น 10 ชนิด ได้แก.

ใหม่!!: ปลาหมอเท็กซัสแดงและไรทะเล · ดูเพิ่มเติม »

ไรแดง

ทความนี้หมายถึงไรที่เป็นสัตว์น้ำ หากไรที่เป็นแมง ดูที่: ไร ไรแดง หรือ ไรน้ำจืด หรือ ลูกไร เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังจำพวกครัสเตเชียนสกุลหนึ่ง โดยอยู่ในสกุล Moina ถือเป็นแพลงก์ตอนสัตว์อย่างหนึ่ง อาศัยอยู่ทั่วไปในแหล่งน้ำจืด มีขนาดโดยทั่วไป 0.4–1.8 มิลลิเมตร ลำตัวมีสีแดงเรื่อ ๆ ถ้าอยู่รวมกันเป็นจำนวนมากจะมองเห็นเป็นกลุ่มสีแดงเข้ม ตัวผู้จะมีขนาดเล็กกว่าตัวเมีย ลำตัวอ้วนเกือบกลมมีขนาดโดยเฉลี่ย 1.3 มิลลิเมตร ขณะที่ตัวผู้มีขนาดเล็กและค่อนข้างยาวกว่า มีขนาดเฉลี่ย 0.5 มิลลิเมตร ตัวอ่อนของไรแดงเมื่ออกมาจากไข่ใหม่ ๆ จะมีขนาด 0.22–0.35 มิลลิเมตร มีสีจางกว่าตัวเต็มวัย ไรแดงนิยมให้เป็นอาหารปลาทั้งปลาสวยงาม และปลาเศรษฐกิจ โดยเป็นอาหารที่เหมาะมากสำหรับลูกปลาวัยอ่อน และเป็นอาหารถ่ายท้องแก้ปัญหาท้องผูกของปลา คุณค่าทางสารอาหารของไรแดง ประกอบไปด้วย โปรตีนร้อยละ 74.09, คาร์โบไฮเดรตร้อยละ 12.50, ไขมันร้อยละ 10.19 และเถ้าร้อยละ 3.47 ปัจจุบันมีการเพาะขยายพันธุ์ไรแดงเป็นสัตว์เศรษฐกิจเพื่อส่งขายเป็นอาหารปลาทั่วไป.

ใหม่!!: ปลาหมอเท็กซัสแดงและไรแดง · ดูเพิ่มเติม »

ไส้เดือนน้ำ

้เดือนน้ำ (Tubiflex worm) เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังที่เป็นสัตว์พวกหนอนปล้องชนิดหนึ่ง มีการดำรงชีวิตอยู่ตามแหล่งน้ำจืดต่าง ๆ โดยกินอาหารจำพวกอินทรียวัตถุที่เน่าเปื่อยในดินชั้นล่างของแหล่งน้ำที่อาศัย จะขุดรูคล้ายท่อหรือหลอดในโคลนโดยทิ้งให้ส่วนหัวอยู่ด้านล่าง และยื่นออกมาเฉพาะส่วนท้ายของหางโผล่ออกมาจากดิน ส่วนของหางจะทำหน้าที่ในการโบกกลับไปมา ทำให้เกิดการหมุนเวียนของกระแสน้ำเพื่อแลกเปลี่ยนออกซิเจนในการหายใจด้วย ดังนั้นจะเห็นไส้เดือนน้ำมักรวมกลุ่มกันเป็นก้อนโบกตัวไปมาใต้พื้นน้ำ ไส้เดือนน้ำนิยมให้เป็นอาหารปลา โดยเฉพาะปลาสวยงาม มีคุณค่าทางสารอาหาร คือ ประกอบไปด้วยโปรตีนร้อยละ 60, ไขมันร้อยละ 6.50, ความชื้นร้อยละ 6, ไฟเบอร์ร้อยละ 0.30 ถือว่ามีคุณค่าทางสารอาหารสูงกว่าหนอนแดงเสียอีก แต่ทว่าไส้เดือนน้ำมักมีความสกปรก เมื่อนำไปให้ปลากิน ปลามักจะป่วยหรือตายได้ง่าย ๆ ฉะนั้นก่อนจะให้ ผู้เลี้ยงจึงต้องทำความสะอาดด้วยการล้างด้วยน้ำเปล่าสะอาด ๆ หลายครั้ง อีกทั้งการเก็บรักษาก็ยุ่งยากกว่าอาหารปลาที่เป็นอาหารสดทั่วไป โดยต้องให้ออกซิเจนตลอดเวลา จึงมักเก็บไว้ในภาชนะที่มีระบบน้ำไหลผ่านตลอดเวลา ไม่เช่นนั้นไส้เดือนน้ำจะตายได้และจะทับถมกันจนน้ำเน่าเสีย ส่งกลิ่นเหม็น.

ใหม่!!: ปลาหมอเท็กซัสแดงและไส้เดือนน้ำ · ดูเพิ่มเติม »

เดลินิวส์

ลินิวส์ (Daily News) เป็นหนังสือพิมพ์รายวันภาษาไทย ที่มียอดจำหน่ายมากที่สุดเป็นอันดับสองของประเทศ นำเสนอข่าวทั่วไป ก่อตั้งโดย นายแสง เหตระกูล ออกฉบับปฐมฤกษ์ เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2493 ใช้ชื่อหัวหนังสือพิมพ์ขณะนั้นว่า เดลิเมล์วันจันทร์ จำนวน 16 หน้า ราคาฉบับละ 1.00 บาท โดยมีนายประพันธ์ เหตระกูล เป็นบรรณาธิการบริหาร ปัจจุบันใช้ชื่อ เดลินิวส์ (ตั้งแต่ 22 มกราคม พ.ศ. 2522) มีจำนวนหน้าระหว่าง 28-48 หน้า ราคาฉบับละ 10.00 บาท มีจำนวนพิมพ์ปัจจุบันที่ 900,000 ฉบับ สำหรับผู้บริหารคือ ประชา เหตระกูล เป็นบรรณาธิการบริหาร และอภิชัย รุ่งเรืองกุล เป็นบรรณาธิการผู้พิมพ์ผู้โฆษณ.

ใหม่!!: ปลาหมอเท็กซัสแดงและเดลินิวส์ · ดูเพิ่มเติม »

28 กุมภาพันธ์

วันที่ 28 กุมภาพันธ์ เป็นวันที่ 59 ของปี ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 306 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: ปลาหมอเท็กซัสแดงและ28 กุมภาพันธ์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ปลาเท็กซัสแดงเท็กซัสแดง

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »