โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ปลามะไฟ

ดัชนี ปลามะไฟ

ปลามะไฟ (Stoliczkae's barb) ปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีลำตัวทรงสี่เหลี่ยมป้อมเล็กน้อย หัวสั้น ตาและปากมีขนาดเล็ก ไม่มีหนวด เกล็ดใหญ่ ลำตัวสีเงิน เหนือครีบอกและโคนครีบหางมีแต้มสีคล้ำ ตัวผู้ในฤดูผสมพันธุ์จะมีสีแดงเหลือบบนลำตัว ครีบใสมีสีแดงแต้ม และมีแถบสีคล้ำเล็กน้อย เป็นปลาขนาดเล็ก มีความยาวประมาณ 5 เซนติเมตร มีพฤติกรรมชอบอยู่รวมตัวเป็นฝูงในแหล่งน้ำลำธารที่ไหลเชี่ยวบนภูเขาในลุ่มแม่น้ำสาละวินและลุ่มแม่น้ำโขง แต่ในฤดูผสมพันธุ์ตัวผู้จะมีนิสัยดุร้าย และมีอาณาเขตของตนเอง เป็นปลาที่มีสีสันและลวดลายสวยงาม จึงนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม มีชื่อเรียกในวงการปลาสวยงามว่า "ปลาตะเพียนจุด", นอกจากนี้ยังมีชื่อเรียกอื่น ๆ อีก เช่น "ปลาเสือภูเขา" หรือ "ปลามุมหมาย" นอกจากนี้แล้วปลามะไฟยังมีความคล้ายคลึงกันมากกับปลาอีกชื่อหนึ่งในสกุลเดียวกัน คือ P. ticto (Tic-tac-toe barb, Two-spot barb) ซึ่งอาจจะเป็นชื่อพ้องกันก็ได้ และมีรายชื่ออยู่ในบัญชีแดงของสหภาพเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ หรือ IUCN Red List จัดอยู่ในสิ่งมีชีวิตที่มีความเสี่ยงต่ำต่อการสูญพันธุ์หรือ LC.

17 ความสัมพันธ์: บัญชีแดงของสหภาพเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติชื่อพ้องพ.ศ. 2365พ.ศ. 2414การตั้งชื่อทวินามรูปสี่เหลี่ยมวงศ์ปลาตะเพียนสกุลเพเธียสัตว์สัตว์มีแกนสันหลังสิ่งมีชีวิตที่มีความเสี่ยงต่ำต่อการสูญพันธุ์สีแดงอันดับปลาตะเพียนปลาที่มีก้านครีบแม่น้ำสาละวินแม่น้ำโขงเมตร

บัญชีแดงของสหภาพเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ

#D59D00nbspเสี่ยงต่ออันตราย ตามที่ระบุใน “บัญชีแดงของสหภาพเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ ค.ศ. 2007” บัญชีแดงของสหภาพเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ หรือ บัญชีแดง (IUCN Red List of Threatened Species หรือ IUCN Red List หรือ Red Data List) บัญชีแดงที่เป็นดัชนีที่เริ่มสร้างขึ้นเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1948 เป็นดัชนีรายชื่อที่สมบูรณ์ที่สุดของสถานภาพของสปีชีส์พืชและสัตว์ต่างๆ ของขบวนการอนุรักษ์ธรรมชาติ สหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ (IUCN) เป็นสถาบันหลักผู้มีอำนาจในการระบุฐานะสถานภาพต่างๆ ของสปีชีส์ นอกจากบัญชีแดงโดยทั่วไปแล้วก็ยังมีบัญชีแดงระดับท้องถิ่น (Regional Red List) ที่รวบรวมขึ้นโดยประเทศ หรือ องค์การต่างๆ ที่ประเมินระดับความเสี่ยงของสปีชีส์ภายในเขตการปกครองของแต่ละท้องถิ่นในความรับผิดชอบ “บัญชีแดงของสหภาพเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ” กำหนดขึ้นจากข้อกำหนด (criteria) ที่วางไว้อย่างจำเพาะเจาะจงในการประเมินระดับความเสี่ยงของสปีชีส์และสปีชีส์ย่อยเป็นจำนวนมาก วัตถุประสงค์ของรวบรวมดัชนีรายชื่อก็เพื่อเป็นการเผยแพร่ข้อมูลอันเร่งด่วนเกี่ยวกับความจำเป็นในการอนุรักษ์แก่สาธารณชน และผู้มีอำนาจในการวางนโยบาย รวมทั้งเพื่อช่วยเหลือประชาคมนานาชาติในการพยายามลดจำนวนการสูญพันธุ์ของสปีชีส์ต่างตามที่ระบุในดัชนี องค์การที่ร่วมในการประเมินระดับความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ของสปีชีส์หลักก็รวมทั้งองค์การชีวปักษานานาชาติ (BirdLife International), สถาบันสัตวศาสตร์ (Institute of Zoology) (แผนกค้นคว้าของสมาคมสัตวศาสตร์แห่งลอนดอน (Zoological Society of London), องค์การติดตามผลการอนุรักษ์นานาชาติ (Conservation Monitoring Centre) และกลุ่มชำนัญพิเศษต่างๆ ภายในคณะกรรมการความอยู่รอดของสปีชีส์ของสหภาพเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ การประเมินระดับความเสี่ยงจากองค์การต่างๆ ดังว่ารวมกันได้เป็นจำนวนเกือบครึ่งหนึ่งของสปีชีส์ในบัญชีแดง “บัญชีแดงของสหภาพเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ” ถือกันโดยทั่วไปว่าเป็นดัชนีที่มีความมีจุดมุ่งหมายและมีหลักการที่สุดในการจัดระดับสปีชีส์ตามระดับความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ สหภาพเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติมีวัตถุประสงค์ที่จะประเมินระดับความเสี่ยงของทุกสปีชีส์ใหม่ทุก 5 ถ้าทำได้ หรืออย่างน้อยก็ทุก 10 ปี ที่ทำโดยวิธีการตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญ (peer review) โดยคณะกรรมการความอยู่รอดของสปีชีส์ (Species Survival Commission (SSC)) ซึ่งเป็นกลุ่มชำนัญพิเศษของสหภาพเอง ผู้มีความรับผิดชอบดัชนีรายชือสปีชีส์, กลุ่มสปีชีส์ หรือ กลุ่มสปีชีส์ของภูมิภาคใดภูมิภาคหนึ่ง หรือในกรณีขององค์การชีวปักษานานาชาติก็จะตรวจสอบสปีชีส์ในอันดับนก “บัญชีแดงของสหภาพเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ” ฉบับล่าสุดออกเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม ค.ศ. 2008 ที่เมืองบาร์เซโลนาในประเทศสเปน.

ใหม่!!: ปลามะไฟและบัญชีแดงของสหภาพเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ · ดูเพิ่มเติม »

ชื่อพ้อง

ในระบบการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิตแบบทวินาม ชื่อพ้องคือชื่อทางวิทยาศาสตร์ที่แตกต่างกันสำหรับสิ่งมีชีวิตสิ่งเดียวในทางอนุกรมวิธาน ชื่อให้ใช้ชื่อตั้งขึ้นก่อนหรือที่ถูกต้องได้รับการยอมรับจะเป็นชื่อที่ถูกต้อง ส่วนชื่ออื่น ๆให้เป็นชื่อพ้อง การใช้และคำศัพท์ก็จะต่างกันไปในสัตววิทยาและพฤกษศาสตร.

ใหม่!!: ปลามะไฟและชื่อพ้อง · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2365

ทธศักราช 2365 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: ปลามะไฟและพ.ศ. 2365 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2414

ทธศักราช 2414 ตรงกั.

ใหม่!!: ปลามะไฟและพ.ศ. 2414 · ดูเพิ่มเติม »

การตั้งชื่อทวินาม

ระบบการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิตแบบทวินาม (Binomial nomenclature) เป็นระบบการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิตแต่ละสปีชีส์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ชื่อแต่ละชื่อในระบบนี้เรียกว่า ชื่อทวินาม (Binomial name) หรือ ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name) คือชื่อที่ใช้เรียกแทนสิ่งมีชีวิตในสปีชีส์ต่าง ๆ อย่างเป็นทางการ ชื่อทวินามจะเป็นภาษาละติน ประกอบด้วยคำศัพท์ 2 คำ คือ สกุล และ สปีชีส์ ซึ่งขึ้นอยู่กับสิ่งมีชีวิตที่ต้องการระบุ โดยรายละเอียดปลีกย่อยอาจแตกต่างกันออกไปบ้าง.

ใหม่!!: ปลามะไฟและการตั้งชื่อทวินาม · ดูเพิ่มเติม »

รูปสี่เหลี่ยม

ในเรขาคณิตแบบยูคลิด รูปสี่เหลี่ยม คือรูปหลายเหลี่ยมที่มีด้านสี่ด้าน (หรือขอบ) และมุมสี่มุม (หรือจุดยอด) รูปสี่เหลี่ยมมีทั้งที่เป็นรูปสี่เหลี่ยมอย่างง่าย (ไม่มีด้านที่ตัดกันเอง) และรูปสี่เหลี่ยมซับซ้อน (มีด้านที่ตัดกันเอง หรือเรียกว่ารูปสี่เหลี่ยมไขว้) รูปสี่เหลี่ยมอย่างง่ายอาจเป็นรูปสี่เหลี่ยมนูน (convex) หรือรูปสี่เหลี่ยมเว้า (concave) อย่างใดอย่างหนึ่ง มุมภายในของรูปสี่เหลี่ยมอย่างง่ายรวมกันได้ 360 องศา ส่วนรูปสี่เหลี่ยมซับซ้อน เนื่องจากมุมภายในที่ด้านตรงข้ามเป็นมุมกลับ ทำให้รวมกันได้ 720 องศา รูปสี่เหลี่ยมนูนทุกรูปสามารถปูเต็มปริภูมิโดยการหมุนรอบจุดกึ่งกลางที่ด้านของมัน.

ใหม่!!: ปลามะไฟและรูปสี่เหลี่ยม · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาตะเพียน

วงศ์ปลาตะเพียน (ชื่อวิทยาศาสตร์: Cyprinidae, barb, carp, minnow, goldfish) โดยคำว่า Cyprinidae มาจากคำว่า kyprînos ในภาษากรีกโบราณ (κυπρῖνος แปลว่า "ปลาทอง") ประกอบด้วยปลาจำพวกปลาไน, ปลาตะเพียน, ปลาทอง และปลาซิว ถือเป็นวงศ์ที่ใหญ่ที่สุดในปลาน้ำจืด ประกอบไปด้วยชนิด มากกว่า 2,000 ชนิดใน 200 สกุล แบ่งออกได้เป็นหลายวงศ์ย่อย โดยจัดอยู่ในอันดับ Cypriniformes เป็นวงศ์ที่มีชนิดและจำนวนปลามากที่สุดในปลาน้ำจืดของไทย และมีความหลากหลายเป็นอันดับสามของโลก ปัจจุบันพบแล้วอย่างน้อย 204 ชน.

ใหม่!!: ปลามะไฟและวงศ์ปลาตะเพียน · ดูเพิ่มเติม »

สกุลเพเธีย

กุลเพเธีย เป็นสกุลของปลาน้ำจืดสกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Pethia ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) คำว่า Pethia มาจากภาษาสิงหลคำว่า pethia หมายถึง สิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ เช่น ปลาตะเพียนขนาดเล็ก ๆ ส่วนใหญ่เป็นปลาที่พบได้ในประเทศอินเดีย รวมถึงพม่า มีลักษณะสำคัญ คือ เป็นปลาขนาดเล็กที่มีสีสันสดใส มีก้านครีบแข็งที่ครีบหลัง ที่ขอบด้านท้ายเป็นซี่จักรแข็งแรง ไม่มีหนวดที่ขากรรไกรคู่หน้า ส่วนคู่หลังอาจพบหรือไม่พบแล้วแต่ชนิด ริมฝีปากบาง เกล็ดที่มีท่อเส้นข้างลำตัวอาจไม่พบตลอดแนวเกล็ดด้านข้างจำนวน 19-24 เกล็ด ในบางชนิด ครีบหลังอยู่กึ่งกลางลำตัวล้ำแนวจุดเริ่มต้นของครีบท้อง มักมีจุดกลมรีในแนวยาวบริเวณคอดหาง และแต้มกลมเหนือแนวครีบอก.

ใหม่!!: ปลามะไฟและสกุลเพเธีย · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: ปลามะไฟและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ใหม่!!: ปลามะไฟและสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

สิ่งมีชีวิตที่มีความเสี่ยงต่ำต่อการสูญพันธุ์

งมีชีวิตที่มีความเสี่ยงต่ำต่อการสูญพันธุ์ (Least Concern หรือ LC) คือระดับที่จัดโดยสหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติแก่สิ่งมีชีวิตที่เมื่อพิจารณาแล้วไม่อยู่ในประเภทใดใด ฉะนั้นสิ่งมีชีวิตในกลุ่มนี้จึงถือว่าเป็นสิ่งมีชีวิตที่ยังไม่เข้าข่ายสิ่งมีชีวิตที่มีความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ (Threatened species) หรือในข่ายสิ่งมีชีวิตที่เกือบอยู่ในข่ายเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ (Near Threatened) หรือ (ก่อน ค.ศ. 2001) สิ่งมีชีวิตที่จำเป็นต่อการอนุรักษ์ (Conservation Dependent) สิ่งมีชีวิตที่จัดอยู่ในกลุ่มนี้ก็ได้แก่ นกกระสาแดง, นกนางนวลแกลบหงอนใหญ่, เพนกวินจักรพรรดิ, แมวดาว, แมวน้ำลายพิณ และอื่นๆ สิ่งมีชีวิตจะจัดอยู่ในกลุ่ม “สิ่งมีชีวิตที่มีความเสี่ยงต่ำต่อการสูญพันธุ์” ก็ต่อเมื่อได้รับการพิจารณาสถานะของจำนวนประชากรที่เปรียบเทียบกับโดยตรงหรือโดยทางอ้อมกับการกระจายของประชากร และ/หรือ สถานภาพของประชากร ตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: ปลามะไฟและสิ่งมีชีวิตที่มีความเสี่ยงต่ำต่อการสูญพันธุ์ · ดูเพิ่มเติม »

สีแดง

ีแดง คือสีมีความถี่ของแสงที่ต่ำที่สุด ที่ตามนุษย์สามารถแยกแยะได้ แสงสีแดงมีบริเวณช่วงคลื่นระหว่าง 630-760 นาโนเมตร สีแดงเป็นสีอย่างสีเลือดหรือสีชาด, ใช้ประกอบสิ่งต่าง ๆ บางอย่างโดยอนุโลมตามลักษณะสี เป็นชื่อเรียกเฉพาะ เช่น มดแดง ผ้าแดง จัดเป็น 1 ในแม่สี 3 สี ร่วมกับสีเขียว, สีน้ำเงิน.

ใหม่!!: ปลามะไฟและสีแดง · ดูเพิ่มเติม »

อันดับปลาตะเพียน

อันดับปลาตะเพียน หรือ อันดับปลากินพืช (ชื่อวิทยาศาสตร์: Cypriniformes, Carp, Barb, Loach, Minnow, Chinese suckerfish, Garra) เป็นอันดับของปลาจำพวกหนึ่ง ซึ่งประกอบด้วยปลาตะเพียน, ปลาทอง, ปลาคาร์ป, ปลาซิว เป็นต้น ส่วนใหญ่เป็นปลาที่อยู่ในวงศ์ Cyprinidae มีลักษณะโดยรวมคือ ลำตัวมีเกล็ด ส่วนใหญ่แบนข้าง สันท้องกลมหรือเป็นสันคม ไม่มีหนามที่สันท้อง ตาไม่มีหนังคลุม ปากมีหลายตำแหน่งทั้งอยู่ตรงด้านหน้า เฉียงขึ้น หรืออยู่ทางด้านล่าง บางชนิดยืดหดได้เล็กน้อย บางชนิดมีลักษณะคล้ายปากดูด ส่วนใหญ่ไม่มีฟันบนขากรรไกรหรือบางชนิดที่มีก็มีไม่เกิน 8 ซี่ รอยต่อส่วนปลายของขากรรไกรล่างมีปมยื่นออกมาเรียกว่า ซิมไซซีล นอบ ริมฝีปากบางอาจมีหรือไม่มีติ่งเนื้อ บางชนิดไม่มีริมฝีปาก ไม่มีหนามใต้ตา หรือหน้าตา ช่องเปิดเหงือกกว้างกระดูกโอเพอร์เคิล เจริญดี มีหนวด 1-2 คู่ หรือไม่มี ก้านครีบเดี่ยวก้านสุดท้ายของครีบหลังอาจแข็ง หรือไม่แข็ง อาจมีหยักด้านในหรือไม่มี ไม่มีครีบไขมัน มีฟันที่หลอดคอ 1-3 แถว ขอบปากเป็นกระดูกพรีแมคซิลลา ขากรรไกรบนยืดหดได้ บางชนิดครีบหลังมีก้านครีบเดี่ยว มีครีบหลังตอนเดียว ถุงลมมีขนาดค่อนข้างใหญ่ส่วนใหญ่แบ่งออกเป็นสองตอน ไม่ถูกแผ่นกระดูกปกคลุมไว้ เป็นปลาที่กระจายอยู่ทั่วไปในทุกภูมิภาคของโลก ทั้งอเมริกาเหนือ, ทวีปยูเรเชียและทวีปเอเชีย มีพฤติกรรมอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ พบในน้ำจืดมากกว่าทะเล ส่วนใหญ่เป็นปลาที่กินพืชเป็นอาหาร ไม่มีกระเพาะอาหาร แต่ก็มีหลายชนิดที่กินเนื้อหรือแพลงก์ตอน เป็นปลาที่มนุษย์คุ้นเคยมานานเพราะใช้เป็นอาหาร นอกเหนือจากปลาในวงศ์ Cyprinidae แล้ว ยังมีปลาในวงศ์อื่นอีกที่อยู่ในอันดับนี้ประมาณ 5-6 วงศ์ ได้แก.

ใหม่!!: ปลามะไฟและอันดับปลาตะเพียน · ดูเพิ่มเติม »

ปลาที่มีก้านครีบ

ปลาที่มีก้านครีบ (Ray-finned fishes) เป็นชั้นย่อยของปลากระดูกแข็ง (Osteichthyes) ชั้นหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Actinopterygii (/แอก-ติ-โน-เทอ-ริ-กิ-ไอ/) เป็นปลาที่เคลื่อนไหวโดยอาศัยครีบและกล้ามเนื้อลำตัวเป็นสำคัญ ซึ่งแบ่งออกได้เป็น ก้านครีบแข็ง และก้านครีบอ่อน ซึ่งปลาส่วนใหญ่ในปัจจุบัน จะถูกจัดอยู่ในชั้นนี้ บรรพบุรุษของปลาในชั้นนี้จะมีขนาดเล็ก มีเกราะหุ้มตัวหนา มีปอดและเหงือก ชื่อ Andreolepis hedei โดยพบเป็นฟอสซิลอยู่ในยุคปลายซิลลูเรียนเมื่อกว่า 420 ล้านปีก่อนที่รัสเซีย, สวีเดน และเอสโตเนีย ปลาชั้นนี้มีการวิวัฒนาการอยู่ 3 ขั้นตอน คือ.

ใหม่!!: ปลามะไฟและปลาที่มีก้านครีบ · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำสาละวิน

แม่น้ำสาละวิน (Salween River; သံလွင်မြစ်; 40px; กะเหรี่ยงสะกอ: โคโหล่โกล) เป็นแม่น้ำสายที่ยาวเป็นอันดับที่ 26 ของโลก ยาว 2,800 กิโลเมตร และเป็นแม่น้ำที่มีความยาวเป็นอันดับสองของภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ รองมาจากแม่น้ำโขง จากไทยพีบีเอส มีต้นกำเนิดจากการละลายของหิมะเหนือเทือกเขาหิมาลัย ไหลผ่านมณฑลยูนนาน ประเทศจีน ที่ซึ่งเรียกแม่น้ำนี้ว่า นู่เจียง (怒江) หมายถึง "แม่น้ำพิโรธ" และผ่านประเทศพม่าผ่านรัฐฉาน รัฐกะยา รัฐกะเหรี่ยง ซึ่งเป็นแม่น้ำกั้นพรมแดน ระหว่างพม่ากับไทยที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน และไหลลงมาบรรจบกับแม่น้ำเมย หลังจากนั้นแม่น้ำสาละวินจึงไหลวกกลับเข้าประเทศพม่า และไหลลงสู่มหาสมุทรอินเดียที่อ่าวเมาะตะมะ รัฐมอญ แม่น้ำสาละวินมีต้นกำเนิดที่เดียวกับแม่น้ำโขง และแม่น้ำแยงซี โดยแบ่งแยกออกจากกันอย่างชัดเจนจากต้นกำเนิด และเนื่องจากเป็นน้ำที่เกิดจากการละลายของหิมะ อุณหภูมิของน้ำในแม่น้ำสาละวินจึงมีความเย็นกว่าน้ำในแม่น้ำอื่น ๆ ในประเทศไทย บางช่วงมีความลึกมากและน้ำไหลแรง นอกจากนี้ ในประเทศ จีน แม่น้ำสาละวิน เป็น 1 ในแม่น้ำ 3 สาย ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็น "มรดกโลก" ร่วมกับ แม่น้ำโขง และ แม่น้ำแยงซี ในเขตพื้นที่มณฑลยูนนาน ภายใต้ชื่อ พื้นที่คุ้มครองแม่น้ำขนานสามสายแห่งยูนนาน โดยพื้นที่ดังกล่าว นับได้ว่าเป็นสถานที่แห่งหนึ่งบนโลกที่มีความอุดมสมบูรณ์และความหลายหลายทางชีวภาพสูง.

ใหม่!!: ปลามะไฟและแม่น้ำสาละวิน · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำโขง

แม่น้ำโขง (မဲခေါင်မြစ်; ແມ່ນ້ຳຂອງ; ទន្លេដ៏ធំ; Mê Kông) มีต้นกำเนิดจากเทือกเขาหิมาลัย ไหลผ่านบริเวณที่ราบสูงทิเบตและมณฑลชิงไห่ ประเทศจีน ผ่านประเทศจีน ประเทศพม่า ประเทศลาว ประเทศไทย ประเทศกัมพูชา และออกสู่ทะเลจีนใต้ที่ประเทศเวียดนาม มีความยาวทั้งหมด 4,880 กิโลเมตร เป็นความยาวในประเทศจีน 2,130 กิโลเมตร ช่วงที่แม่น้ำไหลผ่านประเทศจีนมีชื่อเรียกว่า แม่น้ำหลานชาง หรือ หลานชางเจียง (จีนตัวย่อ: 澜沧江, จีนตัวเต็ม: 瀾滄江) แปลว่า "แม่น้ำที่มีความเชี่ยวกราก" และเมื่อไหลผ่านเข้าเขตประเทศพม่าและประเทศลาว เรียกว่า แม่น้ำของ รวมถึงคำเมืองล้านนาก็เรียก น้ำของ เช่นกัน ส่วนในภาษาไทยเรียกว่า แม่น้ำโขง ลักษณะสำคัญของแม่น้ำโขงคือ มีตลิ่งที่สูงชันมากทั้งสองฝั่ง ไหลเลี้ยวเลาะไปตามไหล่เขา กระแสน้ำจะไหลจากทางเหนือลงสู่ทางใต้ตลอดทั้งปี ระดับน้ำในฤดูฝนกับฤดูแล้งจะมีความแตกต่างกันอย่างมาก ความเร็วของกระแสน้ำขึ้นอยู่กับแต่ละฤดูกาล ดินในแม่น้ำโขงเป็นดินทราย มีเกาะแก่งน้อยใหญ่กว่าหนึ่งร้อยแห่งเรียงรายตลอดแม่น้ำ การที่แม่น้ำโขงไหลผ่านหลายประเทศเช่นเดียวกับแม่น้ำดานูบในยุโรป ทำให้บางคนเรียกว่าแม่น้ำนานาชาติ และทำให้ได้รับการขนานนามว่า แม่น้ำดานูบตะวันออก นอกจากนี้ ในประเทศจีน แม่น้ำโขงยังเป็น 1 ในแม่น้ำ 3 สาย ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกร่วมกับแม่น้ำแยงซีและแม่น้ำสาละวินในเขตพื้นที่มณฑลยูนนาน ภายใต้ชื่อ พื้นที่คุ้มครองแม่น้ำขนานสามสายแห่งยูนนาน พื้นที่ดังกล่าวนับได้ว่าเป็นสถานที่แห่งหนึ่งบนโลกที่มีความอุดมสมบูรณ์และความหลายหลายทางชีวภาพสูง สัตว์น้ำขนาดใหญ่ที่มีความสำคัญและพบได้เฉพาะในแม่น้ำโขงได้แก่ ปลาบึก.

ใหม่!!: ปลามะไฟและแม่น้ำโขง · ดูเพิ่มเติม »

เมตร

มตร อักษรย่อ ม. (mètre → metre meter The Metric Conversion Act of 1975 gives the Secretary of Commerce of the US the responsibility of interpreting or modifying the SI for use in the US., m) เป็นหน่วยฐานเอสไอของความยาวในหน่วยเอสไอ แต่เดิมนิยามว่าหนึ่งเมตรเท่ากับ 1/10,000,000 ของระยะทางจากเส้นศูนย์สูตรของโลกไปยังขั้วโลกเหนือวัดจากเส้นรอบวงที่ผ่านเมืองปารีส แต่เนื่องจากความแม่นยำทางมาตรวิทยา ที่มีมากขึ้น ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2526 ความยาวหนึ่งเมตรจึงถูกนิยามไว้ให้เท่ากับความยาวที่แสงเดินทางได้ในสุญญากาศ ในช่วงเวลา วินาที.

ใหม่!!: ปลามะไฟและเมตร · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Pethia stoliczkanaPuntius stoliczkanus

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »