โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ปลาปิรันยาดำ

ดัชนี ปลาปิรันยาดำ

ปลาปิรันยาดำ หรือ ปลาปิรันยาขาว หรือ ปลาปิรันยาตาแดง (Black piranha, White piranha, Redeye piranha) ปลาน้ำจืดกินเนื้อชนิดหนึ่ง จำพวกปลาปิรันยา อยู่ในวงศ์ปลาปิรันยา (Serrasalmidae) ปลาปิรันยาดำ มีลำตัวที่มีลักษณะยาวเรียวกว่าปลาปิรันย่าชนิดอื่น ลำตัวเป็นสีเทาเข้มจนออกสีเขียวมะกอกส่วนลำตัวด้านบนจะสีข้างจะมีจุดสีคล้ำ ๆ จำนวนมาก ได้ชื่อว่าเป็นปลาปิรันยาที่มีขนาดใหญ่ที่สุด โดยโตเต็มที่ยาวได้ถึง 45-55 เซนติเมตร และเป็นไปได้ว่าอาจยาวได้มากกว่านี้ แต่เป็นปลาปิรันยาเมื่อเทียบกับปลาปิรันยาชนิดอื่น เช่น ปลาปิรันยาแดง แล้ว ปลาปิรันยาดำจัดว่ามีความดุร้ายน้อยกว่ามาก โดยเป็นปลาที่อาศัยอยู่ตามลำพังตัวเดียว และมีนิสัยขี้อาย แต่ทว่าเป็นปลาที่มีแรงกัดของกรามเมื่อเทียบกันแล้วแรงที่สุดในโลก โดยมีการวิจัยด้วยทีมนักวิทยาศาสตร์ด้วยการวัดแรงกัดกับเครื่องมือพิเศษ ผลปรากฏว่าพลังกัดของปลาปิรันยาดำทำได้ถึง 320 นิวตัน สูงกว่าขนาดร่างกายถึง 30 เท่า เมื่อเทียบขนาดร่างกายกันแบบปอนด์ต่อปอนด์แล้วมีพลังมากกว่าจระเข้อเมริกันถึง 3 เท่า สาเหตุที่แรงกัดของปลาปิรันยาดำมีมากขนาดนี้ อยู่ที่กล้ามเนื้อกรามอันแข็งแรงและมีขนาดใหญ่ โดยมีพื้นที่ของกล้ามเนื้อส่วนนี้มีมากกว่าร้อยละ 2 ของมวลร่างกายทั้งตัว ทั้งนี้ 1 นิวตันเท่ากับแรงที่ใช้เคลื่อนสิ่งของขนาด 1 กิโลกรัมไปได้ 1 เมตร ใน 1 วินาที ซึ่งแรงกัดของปลาปิรันยาดำนี้เทียบได้กับปลาปิรันยายักษ์ที่มีความยาว 70 เซนติเมตร น้ำหนัก 10 กิโลกรัม ซึ่งสูญพันธุ์ไปแล้วกว่า 5 ล้านปี ปลาปิรันยาดำ กระจายพันธุ์ในลุ่มแม่น้ำขนาดใหญ่หลายสายในทวีปอเมริกาใต้ เช่น อะแมซอน, ปารานา, ยาตา และโอรีโนโก เป็นต้น เป็นปลาปิรันยาอีกชนิดหนึ่งที่มีความอันตราย และนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม.

15 ความสัมพันธ์: วงศ์ปลาปิรันยาสัตว์สัตว์มีแกนสันหลังอันดับปลาคาราซินจระเข้อเมริกาคาโรลัส ลินเนียสปลาที่มีก้านครีบปลาปิรันยาปลาปิรันยาแดงนิวตัน (หน่วย)แม่น้ำปารานาแม่น้ำแอมะซอนแม่น้ำโอริโนโกเซอราแซลมัสMegapiranha

วงศ์ปลาปิรันยา

วงศ์ปลาปิรันยา เป็นวงศ์ของปลากระดูกแข็งน้ำจืดวงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวงศ์ว่า Serrasalmidae (มีความหมายว่า "วงศ์ปลาแซลมอนที่มีฟันเลื่อย") ในอันดับปลาคาราซิน (Characiformes) พบทั้งหมดในปัจจุบัน 16 สกุล (ดูในตาราง) 92 ชนิด ปลาในวงศ์นี้มีชื่อเรียกโดยรวม ๆ กัน เช่น ปลาปิรันยา, ปลาเปคู หรือปลาคู้ และปลาซิลเวอร์ดอลลาร์ เดิมทีเคยเป็นวงศ์ย่อยของวงศ์ปลาคาราซิน (Characidae) ใช้ชื่อว่า Serrasalminae (ในปัจจุบันบางข้อมูลหรือข้อมูลเก่ายังใช้ชื่อเดิมอยู่).

ใหม่!!: ปลาปิรันยาดำและวงศ์ปลาปิรันยา · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: ปลาปิรันยาดำและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ใหม่!!: ปลาปิรันยาดำและสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

อันดับปลาคาราซิน

อันดับปลาคาราซิน (Characins) หรือ อันดับปลาตะเพียนกินเนื้อ เป็นอันดับปลาน้ำจืดวงศ์หนึ่งที่พบในทวีปอเมริกาเหนือจรดถึงทวีปอเมริกาใต้และทวีปแอฟริกา โดยใช้ชื่ออันดับว่า Characiformes สามารถแบ่งย่อยออกได้เป็นหลายวงศ์ โดยมี วงศ์ปลาคาราซิน (Characidae) เป็นวงศ์หลักที่มีจำนวนสมาชิกมาก หลายชนิดเป็นปลาที่รู้จักดี เช่น ปลาปิรันย่า, ปลาเปคู หรือ ปลาขนาดเล็ก ที่เป็นปลาสวยงาม เช่น ปลานีออน เป็นต้น ซึ่งปลาในขนาดเล็กในอันดับนี้มักถูกเรียกชื่อสามัญในภาษาอังกฤษว่า "เตตร้า" (Tetra) จุดเด่นของปลาในอันดับนี้ คือ มีครีบไขมัน ซึ่งเป็นครีบขนาดเล็กที่เป็นร่องรอยเหลือจากวิวัฒนาการในอดีตหลงเหลืออยู่ ที่ปัจจุบันนี้ไม่ได้ใช้งานแล้ว ปรากฏอยู่ระหว่างครีบหลังก่อนถึงต้นครีบหาง วงศ์ในอันดับปลาคาราซินมีตามนี้.

ใหม่!!: ปลาปิรันยาดำและอันดับปลาคาราซิน · ดูเพิ่มเติม »

จระเข้อเมริกา

ระเข้อเมริกา (American crocodile) เป็นจระเข้ที่พบในเขตร้อนของโลกใหม่ มีการกระจายพันธุ์มากที่สุดในจระเข้ 4 ชนิดที่พบในทวีปอเมริกา อาศัยอยู่ตามพื้นที่ชายฝั่งขนาดใหญ่ พบตั้งแต่ชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติกและมหาสมุทรแปซิฟิกทางตอนใต้ประเทศเม็กซิโกถึงทวีปอเมริกาใต้ ไกลถึงประเทศเปรูและประเทศเวเนซุเอลา นอกจากนี้ยังพบในแม่น้ำหลายสายของประเทศคิวบา, ประเทศจาเมกา, และเกาะฮิสปันโยลา ในสหรัฐอเมริกา จระเข้อเมริกาพบในตอนใต้ของรัฐฟลอริดาเท่านั้น ซึ่งคาดว่ามีประชากรจำนวน 2000 ตัว แม้จะอยู่ใกล้กับเกาะฮิสปันโยลาแต่ไม่พบจระเข้อเมริกาในเปอร์โตริโก จระเข้อเมริกาเป็นจระเข้ที่มีขนาดใหญ่กว่าจระเข้อื่นหลายชนิด มีรายงานการพบจระเข้ตัวผู้ยาวถึง 6.1 เมตรในอเมริกากลางและอเมริกาใต้.

ใหม่!!: ปลาปิรันยาดำและจระเข้อเมริกา · ดูเพิ่มเติม »

คาโรลัส ลินเนียส

รลัส ลินเนียส (ภาษาละติน) หรือ คาร์ล ลินเนียส (ภาษาสวีเดน) ปัจจุบันภาพนี้จัดแสดงที่ราชวิทยาลัยวิทยาศาสตร์แห่งสวีเดน ลายมือชื่อของคาร์ล ลินเนียส คาโรลัส ลินเนียส (Carolus Linnaeus) หรือ คาร์ล ฟอน ลินเนีย บ้างก็เรียก คาร์ล ลินเนียส (Carl Linnaeus) (23 พฤษภาคม พ.ศ. 2250 - 10 มกราคม พ.ศ. 2321) เป็นนักพฤกษศาสตร์ชาวสวีเดน ผู้ริเริ่มการจัดแบ่งสิ่งมีชีวิตออกเป็นหมวดหมู่ และการประยุกต์ใช้ระบบการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิตแบบทวินาม ซึ่งมีประโยชน์ในการศึกษาชีววิทยาต่อมาจวบจนปัจจุบัน อนึ่ง ชื่อวิทยาศาสตร์ของสิ่งมีชีวิตที่จัดจำแนกโดยเขา จะลงท้ายด้วย L. หรือ Linn.

ใหม่!!: ปลาปิรันยาดำและคาโรลัส ลินเนียส · ดูเพิ่มเติม »

ปลาที่มีก้านครีบ

ปลาที่มีก้านครีบ (Ray-finned fishes) เป็นชั้นย่อยของปลากระดูกแข็ง (Osteichthyes) ชั้นหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Actinopterygii (/แอก-ติ-โน-เทอ-ริ-กิ-ไอ/) เป็นปลาที่เคลื่อนไหวโดยอาศัยครีบและกล้ามเนื้อลำตัวเป็นสำคัญ ซึ่งแบ่งออกได้เป็น ก้านครีบแข็ง และก้านครีบอ่อน ซึ่งปลาส่วนใหญ่ในปัจจุบัน จะถูกจัดอยู่ในชั้นนี้ บรรพบุรุษของปลาในชั้นนี้จะมีขนาดเล็ก มีเกราะหุ้มตัวหนา มีปอดและเหงือก ชื่อ Andreolepis hedei โดยพบเป็นฟอสซิลอยู่ในยุคปลายซิลลูเรียนเมื่อกว่า 420 ล้านปีก่อนที่รัสเซีย, สวีเดน และเอสโตเนีย ปลาชั้นนี้มีการวิวัฒนาการอยู่ 3 ขั้นตอน คือ.

ใหม่!!: ปลาปิรันยาดำและปลาที่มีก้านครีบ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาปิรันยา

ปลาปิรันยา (piranha) เป็นชื่อสามัญเรียกปลาน้ำจืดกลุ่มหนึ่ง ซึ่งอยู่ในวงศ์ Serrasalmidae (หรือในวงศ์ Characidae) โดยทั่วไป ปลาที่ได้ชื่อว่า "ปิรันยา" นั้นจะหมายถึงปลาในสกุล Pristobrycon, Pygocentrus, Pygopristis และ Serrasalmus แต่ก็อาจรวมถึงปลาในสกุล Catoprion ด้วย รวมกันแล้วประมาณ 40 ชนิดFace Ripper, "River Monsters" สารคดีทางอนิมอลพลาเน็ต.

ใหม่!!: ปลาปิรันยาดำและปลาปิรันยา · ดูเพิ่มเติม »

ปลาปิรันยาแดง

ปลาปิรันยาแดง หรือ ปลาปิรันยาท้องแดง (Red piranha, Red-bellied piranha) จัดเป็นปลาปิรันยาที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักดี อยู่ในวงศ์ปลาปิรันยา (Serrasalmidae) (หรือในวงศ์ Characidae) มีรูปร่างคล้ายกับปลาในวงศ์นี้โดยทั่วไป แต่กรามล่างยื่นยาวออกมาเห็นได้ชัด ภายในปากมีฟันแหลมคม ส่วนหัวมีขนาดใหญ่ และข้างกระพุ้งแก้มมีกล้ามเนื้อที่แข็งแรงหนาแน่นใช้สำหรับออกแรงกรามเพื่อใช้ในการกัดกินอาหาร เกล็ดมีขนาดเล็กมีสีแดงอมชมพูแวววาวดูสวยงามเหมือนกากเพชร มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 33 เซนติเมตร น้ำหนักราว 3.5 กิโลกรัม ปลาปิรันยาแดงมีถิ่นกำเนิดที่ลุ่มแม่น้ำอเมซอนและแม่น้ำขนาดใหญ่ใกล้เคียง บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือของบราซิลและปารากวัย มีพฤติกรรมอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ ว่ายน้ำและล่าเหยื่อด้วยความรวดเร็วและดุดัน จึงขึ้นชื่อว่าเป็นปลาที่ดุร้าย สามารถจู่โจมสัตว์ที่มีขนาดใหญ่กว่าได้ แต่โดยมากหากจะโจมตีสัตว์ที่มีขนาดใหญ่กว่าแล้ว สัตว์ตัวนั้นต้องได้รับบาดเจ็บและอ่อนแออยู่แล้ว แต่ก็มีรายงานจากแม่น้ำยาตาทางตอนเหนือของโบลิเวีย ปลาปิรันยาแดงโจมตีมนุษย์ที่กำลังว่ายน้ำอยู่จนเสียชีวิต โดยกัดแทะที่บริเวณใบหน้าโดยเฉพาะ และมีการโจมตีม้าจนท้องทะลุด้วยFace Ripper, "River Monsters" สารคดีทางอนิมอลพลาเน็ต.

ใหม่!!: ปลาปิรันยาดำและปลาปิรันยาแดง · ดูเพิ่มเติม »

นิวตัน (หน่วย)

นิวตัน (สัญลักษณ์: N) ในวิชาฟิสิกส์ เป็นหน่วยเอสไอของแรง ชื่อของหน่วยนี้ตั้งขึ้นตามชื่อของเซอร์ไอแซก นิวตัน เพื่อระลึกถึงผลงานของเขาในสาขาฟิสิกส์แบบฉบับ หน่วยนี้มีการใช้เป็นครั้งแรกประมาณปี พ.ศ. 2447 (ค.ศ. 1904) แต่ยังไม่ได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการจาก General Conference on Weights and Measures (CGPM) ให้เป็นชื่อหน่วยเอ็มเคเอสของแรงจนกระทั้วปี พ.ศ. 2491 (ค.ศ. 1948) แรง 1 นิวตัน คือแรงที่ทำให้วัตถุมวล 1 กิโลกรัมเคลื่อนที่ด้วยความเร่ง 1 เมตร / วินาที2 ในทิศของแรงนั้น  นิวตันเป็นหน่วยเอสไออนุพันธ์ ซึ่งประกอบขึ้นจากหน่วยเอสไอหลัก kg × m × s-2 ดังนั้นจะได้: \mathrm.

ใหม่!!: ปลาปิรันยาดำและนิวตัน (หน่วย) · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำปารานา

250px แม่น้ำปารานา (Río Paraná; Rio Paraná) เป็นแม่น้ำที่ยาวเป็นอันดับสองในทวีปอเมริกาใต้รองจากแม่น้ำแอมะซอน แม่น้ำปารานามีความยาวประมาณ 3,200 กิโลเมตร ต้นกำเนิดแม่น้ำอยู่ในประเทศบราซิล ไหลผ่านปารากวัยและอาร์เจนตินา ก่อนที่จะไหลออกมหาสมุทรแอตแลนติกที่ปากแม่น้ำรีโอเดลาปลาตา แม่น้ำปารานาเป็นแม่น้ำที่สำคัญสายหนึ่งเพราะเรือขนาดใหญ่สามารถแล่นผ่านไปได้ไกลกว่า 1,600 กิโลเมตร จนสามารถแล่นเข้าไปได้ไกลถึงกรุงอาซุนซีออนในประเทศปารากวัยได้.

ใหม่!!: ปลาปิรันยาดำและแม่น้ำปารานา · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำแอมะซอน

แม่น้ำแอมะซอน แม่น้ำแอมะซอน (Amazon River; Rio Amazonas; Río Amazonas) เป็นแม่น้ำในทวีปอเมริกาใต้ มีต้นกำเนิดอยู่ที่ประเทศเปรู และไหลออกมหาสมุทรที่ประเทศบราซิล มีความยาวทั้งสิ้นประมาณ 6,992 กิโลเมตร เป็นแม่น้ำสายที่ยาวที่สุดของโลก (รองลงมาคือแม่น้ำไนล์) และยังเป็นแม่น้ำที่มีปากแม่น้ำกว้างที่สุดในโลก ซึ่งอยู่บริเวณทางเหนือของบราซิล แม่น้ำแอมะซอนเป็นแม่น้ำสายที่มีปริมาณน้ำมากที่สุด ปริมาณน้ำที่ไหลออกยังมหาสมุทรแอตแลนติกมากถึง 45 ล้านแกลลอนต่อวินาทีในฤดูฝน ฝนที่ตกในลุ่มแม่น้ำแอมะซอนเฉลี่ยปีละ 3 เมตร (สูงสุด 6 เมตร) แต่ฝนจะตกเพียงไม่กี่เดือน ต่างกันไปตามแต่ละสถานที่ ในช่วงฤดูแล้งราวเดือนตุลาคม น้ำจะลดปริมาณลงจนเห็นสันทรายและเกิดเป็นทะเลสาบต่าง ๆ บางแห่งตัดขาดจากกัน ในฤดูน้ำหลากน้ำจะท่วมป่าทุกปี ในเนื้อที่ประมาณ 90,000 ตารางกิโลเมตร ขนาดเท่าประเทศอังกฤษ และยังถือเป็นแม่น้ำที่มีปริมาณน้ำมากถึง 1 ใน 5 ส่วนของโลก มีแม่น้ำสาขาที่แยกออกจากแอมะซอนมากกว่า 1,100 สาขา อีกทั้งยังถือเป็นแม่น้ำที่มีความหลากหลายทางชีวภาพมากที่สุดในโลก เป็นแม่น้ำที่มีความหลากหลายทางชนิดพันธุ์ปลามากที่สุดในโลก กว่า 3,000 ชนิด ซึ่งนับว่ามากกว่ามหาสมุทรแอตแลนติกเสียอีก.

ใหม่!!: ปลาปิรันยาดำและแม่น้ำแอมะซอน · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำโอริโนโก

right โอริโนโก (Orinoco) มีต้นกำเนินมากจากที่ราบสูงกายอานา ในทิวเขาปาริมา อยู่บริเวณรอยต่อระหว่างประเทศเวเนซุเอลากับประเทศบราซิล แม่น้ำมีความยาวกว่า 2,150 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่กว่า 900,000 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 75 ของประเทศเวเนซุเอลา บางช่วงของแม่น้ำโอริโนโกอยู่ในประเทศโคลอมเบีย แม่น้ำไหลลงที่มหาสมุทรแอตแลนติกในประเทศเวเนซุเอลาซึ่งปากแม่น้ำอยู่ใกล้กับประเทศตรินิแดดและโตเบโก.

ใหม่!!: ปลาปิรันยาดำและแม่น้ำโอริโนโก · ดูเพิ่มเติม »

เซอราแซลมัส

ซอราแซลมัส เป็นสกุลหนึ่งของปลาน้ำจืดจำพวกปลาปิรันยา ใช้ชื่อสกุลว่า Serrasalmus ในวงศ์ปลาปิรันยา (Serrasalmidae) ปลาปิรันยาในสกุลนี้จัดเป็นต้นแบบของปลาปิรันยาทั้งหมด และเหมือนกับปลาปิรันยาทุกชนิดคือ อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำจืดของทวีปอเมริกาใต้ หากินเป็นฝูง มีซี่ฟันที่แหลมคมและมีรูปร่างเหมือนสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนหรือรูปไข่ แบ่งออกได้เป็น 24 ชนิด จัดเป็นสกุลที่มีจำนวนสมาชิกมากที่สุดในวงศ์นี้.

ใหม่!!: ปลาปิรันยาดำและเซอราแซลมัส · ดูเพิ่มเติม »

Megapiranha

Megapiranha เป็นสกุลของปลาน้ำจืด จำพวกปลาคาราซินที่สูญพันธุ์ไปแล้ว นับได้ว่าเป็นปลาปิรันยายักษ์ สูญพันธุ์ไปแล้วในยุคไมโอซีนยุคสุดท้าย (ระหว่าง 8-10 ล้านปีมาแล้ว) ที่อาร์เจนตินา โดยค้นพบเมื่อปี..

ใหม่!!: ปลาปิรันยาดำและMegapiranha · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Black piranhaPygocentrus normaniRedeye piranhaRhombeus PiranhaSerrasalmus nigerSerrasalmus rhombeusWhite piranhaปลาปิรันยาขาวปลาปิรันยาตาแดงปลาปิรันย่าขาวปลาปิรันย่าดำปลาปิรันย่าตาแดง

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »