เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

ปลาตองลายแอฟริกา

ดัชนี ปลาตองลายแอฟริกา

ปลาตองลายแอฟริกา (Marbled knifefish, Reticulate knifefish, Arowana knifefish) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Papyrocranus afer ในวงศ์ปลากราย (Notopteridae) มีส่วนหัวมนกลม ตากลมโต มุมปากกว้างเลยดวงตา รูปร่างเพรียวยาวและแบนข้างมาก มีจุดเด่นคือ ตามลำตัวมีจุดกลมสีเหลืองกระจายไปทั้งตัว ที่โคนครีบหูไม่มีจุดกลมสีดำเหมือนปลากรายในสกุล Chitala ที่พบในทวีปเอเชีย มีขนาดลำตัวโตเต็มที่ได้ถึง 80 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ในแหล่งน้ำจืดของทวีปแอฟริกาแถบตะวันตกบริเวณประเทศไนเจอร์, แกมเบีย, เซเนกัล และกานา โดยมักหากินและอาศัยอยู่บริเวณพื้นน้ำ ซึ่งยังไม่สามารถที่จะแยกเพศระหว่างปลาตัวผู้และตัวเมียได้ชัดเจน นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม เช่นเดียวกับ Notopterus notopterus ซึ่งเป็นปลาอีกชนิดหนึ่งที่อยู่ในวงศ์เดียวกันที่พบในทวีปแอฟริกา แต่อยู่คนละสกุล โดยมีอายุสูงสุดในที่เลี้ยงถึง 15 ปี.

สารบัญ

  1. 28 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2411พื้นที่ชุ่มน้ำการตั้งชื่อทวินามวงศ์ปลากรายสัตว์สัตว์มีแกนสันหลังสีดำสีเหลืองสปีชีส์อันดับปลาลิ้นกระดูกจุดทรงกลมทวีปเอเชียตาประเทศกานาประเทศแกมเบียประเทศไนเจอร์ประเทศเซเนกัลปลากรายคองโกปลาสลาดปลาที่มีก้านครีบปลาตองปลาตองแอฟริกาปากน้ำจืดแอฟริกาตะวันตกเพศชายเมตร

  2. วงศ์ปลากราย

พ.ศ. 2411

ทธศักราช 2411 ตรงกั.

ดู ปลาตองลายแอฟริกาและพ.ศ. 2411

พื้นที่ชุ่มน้ำ

ื้นที่ชุ่มน้ำเขตร้อน -ป่าพรุศูนย์พิกุลทอง จังหวัดนราธิวาส พื้นที่ชุ่มน้ำ (wetland) หมายถึงลักษณะทางภูมิประเทศที่มีรูปแบบเป็น พื้นที่ลุ่ม พื้นที่ราบลุ่ม พื้นที่ลุ่มชื้นแฉะ พื้นที่ฉ่ำน้ำ มีน้ำท่วม มีน้ำขัง พื้นที่พรุ พื้นที่แหล่งน้ำ ทั้งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและที่มนุษย์สร้างขึ้น ทั้งที่มีน้ำขังหรือท่วมอยู่ถาวรและชั่วครั้งชั่วคราว ทั้งที่เป็นแหล่งน้ำนิ่งและน้ำทั้งที่เป็นน้ำจืด น้ำกร่อย และน้ำเค็ม รวมไปถึงพื้นที่ชายฝั่งทะเล และพื้นที่ของทะเล ในบริเวณซึ่งเมื่อน้ำลดลงต่ำสุดมีความลึกของระดับน้ำไม่เกิน 6 เมตร.

ดู ปลาตองลายแอฟริกาและพื้นที่ชุ่มน้ำ

การตั้งชื่อทวินาม

ระบบการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิตแบบทวินาม (Binomial nomenclature) เป็นระบบการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิตแต่ละสปีชีส์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ชื่อแต่ละชื่อในระบบนี้เรียกว่า ชื่อทวินาม (Binomial name) หรือ ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name) คือชื่อที่ใช้เรียกแทนสิ่งมีชีวิตในสปีชีส์ต่าง ๆ อย่างเป็นทางการ ชื่อทวินามจะเป็นภาษาละติน ประกอบด้วยคำศัพท์ 2 คำ คือ สกุล และ สปีชีส์ ซึ่งขึ้นอยู่กับสิ่งมีชีวิตที่ต้องการระบุ โดยรายละเอียดปลีกย่อยอาจแตกต่างกันออกไปบ้าง.

ดู ปลาตองลายแอฟริกาและการตั้งชื่อทวินาม

วงศ์ปลากราย

วงศ์ปลากราย (Featherback fish, Knife fish) เป็นปลากระดูกแข็งน้ำจืดที่อยู่ในอันดับ Osteoglossiformes คือ ปลาที่มีกระดูกแข็งบริเวณส่วนหัวและลิ้น อันเป็นอันดับเดียวกับปลาในวงศ์ปลาตะพัดและปลาไหลผีอะบาอะบา ใช้ชื่อวงศ์ว่า Notopteridae (/โน-ท็อป-เทอ-ริ-เด-อา/; มาจากภาษากรีกคำว่า noton หมายถึง "หลัง" และ pteron หมายถึง "ครีบ") เป็นปลาน้ำจืด มีรูปร่างแบนด้านข้างมาก และเรียวไปทางด้านท้าย ครีบหลังเล็ก ครีบก้นและครีบหางยาวติดกัน จึงใช้ครีบก้นที่ยาวติดกันนี้โบกพริ้วในเวลาว่ายน้ำ ครีบท้องมีขนาดเล็กมาก ปากกว้าง เกล็ดเป็นแบบขอบบางเรียบ และมีขนาดเล็กละเอียด บางครั้งอาจจะขึ้นมาผิวน้ำเพื่อฮุบอากาศโดยไม่ต้องผ่านซี่กรองเหงือกเหมือนเช่นปลาทั่วไปอื่น ๆ เนื่องจากเป็นปลาที่มีอวัยวะพิเศษพัฒนามาจากถุงลมใช้ในการหายใจได้โดยตรง เป็นปลากินเนื้อที่ออกหากินในเวลากลางคืน มีจุดเด่นคือ ครีบก้นที่ต่อกับครีบหาง มีก้านครีบทั้งหมด 85-141 ก้าน เป็นครีบที่ปลาในวงศ์นี้ใช้ในการว่ายน้ำมากที่สุด ไม่ว่าจะเคลื่อนที่ไปทิศทางใด ส่วนที่อยู่เหนือครีบก้นขึ้นไปจะเป็นกล้ามเนื้อหนาทำหน้าที่เช่นเดียวกับครีบก้น ซึ่งส่วนของกล้ามเนื้อตรงนี้ มีชื่อเรียกกันในภาษาพูดว่า "เชิงปลากราย" จัดเป็นส่วนที่มีรสชาติอร่อยมาก พฤติกรรมเมื่อวางไข่ตัวผู้และตัวเมียช่วยกันดูแลไข่ ไข่เป็นก้อนสีขาวทึบ ติดเป็นกลุ่มกับวัสดุใต้น้ำเช่นตอไม้หรือเสาสะพาน เลี้ยงดูลูกจนโต พบกระจายพันธุ์ตั้งแต่ทวีปแอฟริกา, เอเชียใต้จนถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีทั้งสิ้น 4 สกุล 10 ชนิด ได้แก.

ดู ปลาตองลายแอฟริกาและวงศ์ปลากราย

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ดู ปลาตองลายแอฟริกาและสัตว์

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ดู ปลาตองลายแอฟริกาและสัตว์มีแกนสันหลัง

สีดำ

ีดำ เป็นสีของวัตถุที่ไม่สะท้อนแสงที่สเปกตรัมสะท้อนออกมา วัตถุสีดำจะดูดกลืนทุกสีในสเปกตรัม จึงไม่สะท้อนสีใด ๆ ออกมาเลย หลายคนคิดว่าสีดำคือ "การผสมทุกสีเข้าด้วยกัน" แต่ความเป็นจริงแล้ว สีที่สามารถสะท้อนแสงคืนได้หมดทุกสีคือ สีขาว บางครั้งสีดำบ่งบอกถึงความว่างเปล่า และไม่มีสีสัน แต่สีดำเป็นสีสีหนึ่ง สามารถบ่งบอกคุณลักษณ์ต่างๆ ของวัตถุ เช่น แมวสีดำ หรือภาพศิลป์สีดำ.

ดู ปลาตองลายแอฟริกาและสีดำ

สีเหลือง

ีเหลือง เป็น 1 ใน 3 แม่สี ร่วมกับสีแดง และสีน้ำเงิน โดยปกติสีจะมีอยู่สองโทน คือ สีโทนร้อน และ สีโทนเย็น แต่สีเหลืองเป็นสีที่อยู่ตรงกลางระหว่าง สีโทนร้อน และ สีโทนเย็น จึงสามารถเลือกใช้สีเหลืองเข้าไปผสมผสานได้กับสีทั้งสองโทน ซึ่งนอกจากสีเหลืองแล้วยังมีสีม่วงอีกสีหนึ่งที่มีลักษณะดังกล่าว.

ดู ปลาตองลายแอฟริกาและสีเหลือง

สปีชีส์

ในวิชาชีววิทยา ชนิด หรือทับศัพท์ว่า สปีชีส์ (species, ย่อ: sp., รูปพหูพจน์ย่อ: spp.) เป็นหน่วยการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานและอันดับอนุกรมวิธานหนึ่ง มักนิยามว่า สปีชีส์เป็นกลุ่มอินทรีย์ใหญ่สุดที่สามารถสืบพันธุ์แล้วออกลูกที่สืบพันธุ์ได้ การมีลักษณะปรับตัวเฉพาะบางท้องถิ่นอาจแบ่งสปีชีส์ต่ออีกได้เป็น "ชื่อต่ำกว่าระดับชนิด" (infraspecific taxa) เช่น ชนิดย่อย (ในทางพฤกษศาสตร์ มีใช้คำอื่น เช่น พันธุ์ (variety) พันธุ์ย่อยและแบบ (forma)).

ดู ปลาตองลายแอฟริกาและสปีชีส์

อันดับปลาลิ้นกระดูก

อันดับปลาลิ้นกระดูก (อังกฤษ: Bony tongues fish) เป็นอันดับของปลากระดูกแข็งจำพวกหนึ่งที่มีวิวัฒนาการไม่ต่างจากปลาในยุคก่อนประวัติศาสตร์มากนัก ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Osteoglossiformes (/ออส-ที-โอ-ฟอร์-เมส/) จากฟอสซิลอายุกว่า 60 ล้านปี ที่ค้นพบในทวีปอเมริกาเหนือ บรรพบุรุษของปลาในอันดับนี้มีขนาดใหญ่ ยาวกว่า 14 ฟุต มีลักษณะพิเศษคือ บริเวณส่วนหัวและลิ้นเป็นกระดูกแข็ง อันเป็นที่มาของชื่อ ทั้งหมดเป็นปลาน้ำจืด ไม่พบในทะเล เป็นปลากินเนื้อ มีการกระจายพันธุ์ทั่วโลกในเขตร้อนและเขตอบอุ่น พบทั้งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้, เอเชียใต้, ทวีปแอฟริกา, ทวีปอเมริกาใต้, ทวีปออสเตรเลี.

ดู ปลาตองลายแอฟริกาและอันดับปลาลิ้นกระดูก

จุด

อาจหมายถึง.

ดู ปลาตองลายแอฟริกาและจุด

ทรงกลม

รูปทรงกลม ในทางเรขาคณิต ทรงกลม (อังกฤษ: sphere) เป็นกราฟสามมิติ ทรงกลมที่มีจุดศูนย์กลางที่ (x0, y0, z0) จะมีสมการเป็น จุดบนทรงกลมที่มีรัศมี r จะผ่าน พื้นที่ผิวของทรงกลมที่มีรัศมี r คือ และปริมาตรคือ ทรงกลมเป็นรูปทรงที่มีพื้นที่ผิวน้อยที่สุดในบรรดารูปทรงที่มีปริมาตรเท่ากัน และมีปริมาตรมากที่สุดในบรรดารูปทรงที่มีพื้นที่ผิวเท่ากัน หมวดหมู่:เรขาคณิตเชิงอนุพันธ์ หมวดหมู่:เรขาคณิตมูลฐาน หมวดหมู่:พื้นผิว หมวดหมู่:ทอพอโลยี.

ดู ปลาตองลายแอฟริกาและทรงกลม

ทวีปเอเชีย

แผนที่ดาวเทียมแสดงส่วนประกอบทางภูมิศาสตร์ของทวีปเอเชีย เอเชีย (Asia; Ασία อาเซีย) เป็นทวีปใหญ่และมีประชากรมากที่สุดในโลก พื้นที่ส่วนมากตั้งอยู่ในซีกโลกเหนือและตะวันออก ทวีปเอเชียตั้งอยู่ในทวีปยูเรเชียรวมกับทวีปยุโรป และอยู่ในทวีปแอฟโฟร-ยูเรเชียร่วมกับยุโรปและแอฟริกา ทวีปเอเชียมีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 44,579,000 ตารางกิโลเมตร คิดเป็น 30% ของแผ่นดินทั่วโลกหรือคิดเป็น 8.7% ของผิวโลกทั้งหมด ทวีปเอเชียเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์มานานและเป็นแหล่งกำเนินอารยธรรมแรก ๆ ของโลกหลายแห่ง เอเชียไม่ได้เพียงแค่มีขนานใหญ่และมีประชากรเยอะแต่ยังมีสถานที่ ๆ ตั้งถิ่นฐานหนาแน่นและมีขนาดใหญ่เช่นเดียวกับที่ยังมีบริเวณที่ประชากรตั้งถิ่นฐานเบาบางด้วย ทั้งนี้ทวีปเอเชียมีประชากรราว 4.5 พันล้านคน คิดเป็น 60% ของประชากรโลก โดยทั้วไปทางตะวันออกของทวีปติดกับมหาสมุทรแปซิฟิก ทางใต้ติดมหาสมุทรอินเดียและทางเหนือติดกับมหาสมุทรอาร์กติก บริเวณชายแดนระหว่างเอเชียและยุโรปมีประวัติศาสตร์และโครงสร้างวัฒนธรรมมากมายเพราะไม่มีการแยกกันด้วยลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่ชัดเจน จึงมีการโยกย้ายติดต่อกันในช่วงสมัยคลาสสิก ทำให้บริเวณนี้แสดงให้เห็นความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรม ภาษา ความแตกต่างทางชาติพันธุ์ของตะวันออกกับตะวันตกและแบ่งจากกันอย่างเด่นชัดกว่าการขีดเส้นแบ่ง เขตแดนที่เด่นชัดของเอเชียคือตั้งแต่ฝั่งตะวันออกของคลองสุเอซ, แม่น้ำยูรัล, เทือกเขายูรัล, ช่องแคบตุรกี, ทางใต้ของเทือกเขาคอเคซัส, ทะเลดำและทะเลแคสเปียน "Europe" (pp.

ดู ปลาตองลายแอฟริกาและทวีปเอเชีย

ตา

ม่านตา (iris) คือ ส่วนที่มีสีต่างๆกัน thumb ตา คือส่วนรับแสงสะท้อนของร่างกาย ทำให้สามารถมองเห็น และรับรู้สิ่งต่างๆ รอบตัวได้ ตาของสัตว์ต่างๆ มีรูปแบบที่ต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็นตาของ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม, สัตว์ปีก, สัตว์เลื้อยคลาน และสัตว์น้ำ โดยดวงตาของสัตว์ที่พัฒนาแล้ว มักจะมีเพียง 2 ดวง และ อยู่ด้านหน้าของใบหน้า เพื่อการมองเห็นแบบ 3 มิติ ตา คือ อวัยวะที่ทำหน้าที่รับแสง โดยสัตว์แต่ละชนิดจะมีอวัยวะรับแสงที่แตกต่างกัน ตาที่เรียบง่ายที่สุดจะไม่สามารถทำอะไรได้เลยเว้นแต่การรับรู้ว่าสิ่งแวดล้อมนั้นมืดหรือสว่างเพื่อให้สามารถปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมได้ เช่น กลางวันหรือกลางคืน เป็นต้น แต่จะไม่สามารถรับรู้ออกมาเป็นภาพได้ ตาที่ซับซ้อนกว่าจะมีรูปทรงและสีที่เป็นเอกลักษณ์ ในระบบตาที่ซับซ้อน ตาแต่ละดวงจะสามารถรับภาพที่มีบริเวณที่ซ้อนทับกันได้ เพื่อให้สมองสามารถรับรู้ถึงความลึก หรือ ความเป็นสามมิติของภาพ เช่น ระบบตาของมนุษย์ อย่างไรก็ตาม ตาของสัตว์บางชนิด เช่น กระต่ายและกิ้งก่า ได้ถูกออกแบบมาให้มีส่วนของภาพที่ซ้อนทับกันน้อยที่สุด เลนส์ ที่อยู่ส่วนข้างหน้าของตาทำหน้าที่เช่นเดียวกับเลนส์ของกล้อง เมื่อคนเราแก่ตัวลง ตาของคนแก่จะไม่สามารถมองเห็นได้ชัดเจน และต้องใช้แว่น หรือคอนแทคท์เลนส์ จึงจะสามารถมองเห็นชัดเจนได้.

ดู ปลาตองลายแอฟริกาและตา

ประเทศกานา

กานา (Ghana) มีชื่อทางการว่า สาธารณรัฐกานา (Republic of Ghana) เป็นประเทศที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคแอฟริกาตะวันตก พรมแดนด้านตะวันตกจรกประเทศโกตดิวัวร์ ด้านตะวันออกจรดประเทศบูร์กินาฟาโซ ด้านตะวันออกจรดประเทศโตโก โดยมีชายฝั่งทะเลด้านใต้ติดกับอ่าวกินี เดิมเป็นอาณานิคมของสหราชอาณาจักรมีชื่อเรียกว่า โกลด์โคสต์ (Gold Coast).

ดู ปลาตองลายแอฟริกาและประเทศกานา

ประเทศแกมเบีย

แกมเบีย (The Gambia) หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐแกมเบีย (Republic of The Gambia) เป็นประเทศในแอฟริกาตะวันตก จัดเป็นประเทศที่เล็กที่สุดในแผ่นดินใหญ่ของทวีปแอฟริกา ถูกล้อมด้วยเซเนกัลสามด้าน ยกเว้นด้านตะวันตกติดกับมหาสมุทรแอตแลนติก มีเมืองหลวงชื่อบันจูล แต่เมืองที่ใหญ่ที่สุดในประเทศคือเซเรกุนดา ประเทศนี้ตั้งอยู่ริมสองฝั่งแม่น้ำแกมเบีย ซึ่งเป็นแม่น้ำที่ไหลผ่านกลางประเทศไปลงมหาสมุทรแอตแลนติก มีพื้นที่ 10,500 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรราว 1,700,000 คน ประวัติศาสตร์ของแกมเบียเกี่ยวข้องกับการค้าทาสในอดีตเช่นเดียวกับประเทศในแอฟริกาตะวันตกอื่น ๆ ทำให้เกิดอาณานิคมในบริเวณแม่น้ำแกมเบีย โดยครั้งแรกถูกยึดครองโดยโปรตุเกส ต่อมาจึงถูกยึดครองโดยอังกฤษ อาชีพหลักของประชากรคือเกษตรกรรม การประมงและการท่องเที่ยว ประชากรส่วนใหญ่มีฐานะยากจน วันที่ 18 กุมภาพัน..

ดู ปลาตองลายแอฟริกาและประเทศแกมเบีย

ประเทศไนเจอร์

นเจอร์ (อังกฤษและNiger) หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐไนเจอร์ (Republic of Niger; République du Niger) เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลที่อยู่ทางใต้ของทะเลทรายสะฮาราในแอฟริกาตะวันตก ตั้งชื่อตามแม่น้ำไนเจอร์ มีอาณาเขตทางใต้จดประเทศไนจีเรียและประเทศเบนิน ตะวันตกจดประเทศมาลี เหนือจดประเทศแอลจีเรียและประเทศลิเบีย ตะวันออกจดประเทศชาด ไนเจอร์มีพื้นที่เกือบ 1,270,000 ตารางกิโลเมตร ซึ่งร้อยละ 80 ถูกปกคลุมด้วยทะเลทรายสะฮารา มีประชากรประมาณ 15 ล้านคน ส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลามและอาศัยอยู่หนาแน่นบริเวณตอนใต้และตะวันตกของประเทศ เมืองหลวงชื่อนีอาเม (Niamey).

ดู ปลาตองลายแอฟริกาและประเทศไนเจอร์

ประเทศเซเนกัล

ซเนกัล (Sénégal) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐเซเนกัล (République du Sénégal) เป็นประเทศที่อยู่ในแอฟริกาตะวันตก มีพรมแดนทางตะวันตกจรดมหาสมุทรแอตแลนติก ทางเหนือจรดมอริเตเนีย ทางตะวันออกจรดมาลี และทางใต้จรดกินีและกินี-บิสเซา โดยล้อมแกมเบียซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันตกของประเทศไว้เกือบทั้งหมด และมีหมู่เกาะกาบูเวร์ดีตั้งอยู่ห่างจากชายแดนตะวันตกไปราว 560 กิโลเมตร.

ดู ปลาตองลายแอฟริกาและประเทศเซเนกัล

ปลากรายคองโก

ปลากรายคองโก เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง ที่อยู่ในวงศ์ปลากราย (Notopteridae) และเป็นหนึ่งในสองชนิดเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Papyrocranus ซึ่งพบได้ในทวีปแอฟริกา เป็นปลาที่มีรูปร่างคล้ายกับ P.

ดู ปลาตองลายแอฟริกาและปลากรายคองโก

ปลาสลาด

ปลาสลาด หรือ ปลาฉลาด เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Notopterus notopterus อยู่ในวงศ์ปลากราย (Notopteridae) มีปากกว้างไม่เกินลูกตาเหมือนปลาในวงศ์นี้ชนิดอื่น ๆ พื้นลำตัวมีสีเรียบ ยกเว้นปลาวัยอ่อนจะมีลายบั้งเหมือนปลากราย (Chitala ornata) วัยอ่อน จมูกมีสองคู่ คู่หน้ายื่นออกมาคล้ายหลอดหรือหนวด มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 20-30 เซนติเมตร จัดเป็นปลาที่เล็กที่สุดชนิดหนึ่งของวงศ์นี้ และเป็นเพียงชนิดเดียวที่อยู่ในสกุล Notopterus พบในแม่น้ำและแหล่งน้ำนิ่งทั่วประเทศไทย ในต่างประเทศพบได้ที่ภูมิภาคเอเชียใต้และเอเชียอาคเนย์ไปจนถึงเกาะสุมาตราและชวาหรือบอร์เนียว เป็นปลาที่หาง่าย มักอยู่รวมเป็นฝูงใหญ่ อาหารได้แก่ ลูกกุ้ง ลูกปลา สัตว์น้ำขนาดเล็ก เป็นปลาที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจชนิดหนึ่ง และนิยมนำเนื้อไปทำทอดมันแทนเนื้อปลากรายซึ่งมีราคาแพงกว่าได้ นอกจากนี้ยังแปรรูปเป็นอาหารอื่น ๆ ได้อีก เช่น ลูกชิ้นสับนก หรือรมควัน เป็นต้น และยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามอีก โดยเฉพาะปลาที่กลายสีเป็นสีเผือก ปลาสลาด ยังมีชื่อเรียกอย่างอื่นอีก เช่น "ปลาตอง" หรือ "ปลาตองนา".

ดู ปลาตองลายแอฟริกาและปลาสลาด

ปลาที่มีก้านครีบ

ปลาที่มีก้านครีบ (Ray-finned fishes) เป็นชั้นย่อยของปลากระดูกแข็ง (Osteichthyes) ชั้นหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Actinopterygii (/แอก-ติ-โน-เทอ-ริ-กิ-ไอ/) เป็นปลาที่เคลื่อนไหวโดยอาศัยครีบและกล้ามเนื้อลำตัวเป็นสำคัญ ซึ่งแบ่งออกได้เป็น ก้านครีบแข็ง และก้านครีบอ่อน ซึ่งปลาส่วนใหญ่ในปัจจุบัน จะถูกจัดอยู่ในชั้นนี้ บรรพบุรุษของปลาในชั้นนี้จะมีขนาดเล็ก มีเกราะหุ้มตัวหนา มีปอดและเหงือก ชื่อ Andreolepis hedei โดยพบเป็นฟอสซิลอยู่ในยุคปลายซิลลูเรียนเมื่อกว่า 420 ล้านปีก่อนที่รัสเซีย, สวีเดน และเอสโตเนีย ปลาชั้นนี้มีการวิวัฒนาการอยู่ 3 ขั้นตอน คือ.

ดู ปลาตองลายแอฟริกาและปลาที่มีก้านครีบ

ปลาตอง

ปลาตอง (Clown knifefishes, Featherbackfishes) เป็นสกุลปลากระดูกแข็งที่อยู่ใน วงศ์ปลากราย (Notoperidae) อันดับปลาลิ้นกระดูก (Osteoglossiformes) ใช้ชื่อสกุลว่า Chitala (/ไค-ตา-ลา/).

ดู ปลาตองลายแอฟริกาและปลาตอง

ปลาตองแอฟริกา

ปลาตองแอฟริกา เป็นสกุลของปลากระดูกแข็งน้ำจืดในวงศ์ปลากราย (Notopridae) ในอันดับปลาลิ้นกระดูก (Osteoglossiformes) ใช้ชืิ่อสกุลว่า Papyrocranus เป็นปลาที่พบได้เฉพาะทวีปแอฟริกาเท่านั้น มีรูปร่างโดยรวมคือ มีลำตัวเพรียวยาวและแบนข้างมาก ส่วนหัวกลมมน ตาโต ปากกว้าง มีครีบหลังเช่นเดียวกับปลากรายในสกุล Chitala ที่พบในทวีปเอเชีย พบเพียงแค่ 2 ชนิดเท่านั้น คือ.

ดู ปลาตองลายแอฟริกาและปลาตองแอฟริกา

ปาก

ปาก หรือ ช่องปาก เป็นอวัยวะของสิ่งมีชีวิต โดยทั่วไปใช้กินอาหารและดื่มน้ำ เป็นจุดเริ่มต้นของระบบย่อยอาหาร.

ดู ปลาตองลายแอฟริกาและปาก

น้ำจืด

น้ำจืดในลำธาร น้ำจืด หมายถึงน้ำในแหล่งน้ำทั่วไปอาทิ บ่อน้ำ ทะเลสาบ แม่น้ำ ลำธาร เป็นต้น ที่ซึ่งมีเกลือและของแข็งอื่นละลายอยู่ในระดับต่ำ มีความหนาแน่นน้อย นั่นคือน้ำจืดไม่ได้เป็นน้ำเค็มและน้ำกร่อย น้ำจืดสามารถเป็นผลผลิตของน้ำทะเลที่เอาเกลือออกแล้วได้ น้ำจืดเป็นทรัพยากรหมุนเวียนที่สำคัญต่อสิ่งมีชีวิตบนบกเป็นส่วนใหญ่ และเป็นที่จำเป็นต่อมนุษย์สำหรับน้ำดื่ม และใช้ในเกษตรกรรม เป็นต้น องค์การสหประชาชาติได้คาดการณ์ไว้ว่า ประชากรโลกประมาณร้อยละ 18 ขาดแคลนน้ำดื่มที่ปลอดภั.

ดู ปลาตองลายแอฟริกาและน้ำจืด

แอฟริกาตะวันตก

นแดนแอฟริกาตะวันตก แอฟริกาตะวันตก เป็นภูมิภาคที่อยู่ทางตะวันตกของทวีปแอฟริกา ซึ่งประกอบไปด้วย 15 ประเทศคือ.

ดู ปลาตองลายแอฟริกาและแอฟริกาตะวันตก

เพศชาย

ัญลักษณ์เพศชาย เพศชาย (♂) หรือเพศผู้ คือเพศหนึ่งของสิ่งมีชีวิต ที่ผลิตเซลล์สืบพันธุ์ขนาดเล็กที่เรียกว่า อสุจิ โดยตัวอสุจิสามารถรวมกับเซลล์สืบพันธุ์ของเพศหญิงที่เรียกว่า เซลล์ไข่ เกิดขั้นตอนที่เรียกว่า การผสมพันธุ์ เพศชายไม่สามารถสืบพันธุ์ได้โดยปราศจากการเข้าถึงเซลล์ไข่ของเพศหญิงอย่างน้อย 1 เซลล์ แต่สิ่งมีชีวิตบางอย่างสามารถสืบพันธุ์ได้โดยอาศัยการสืบพันธุ์หรือไม่อาศัยการสืบพันธุ์ แต่ละสปีชีส์ไม่ได้มีระบบทางเพศที่เหมือนกัน ในมนุษย์และในสัตว์ส่วนใหญ่ การสืบพันธุ์ถือเป็นกลไกทางพันธุกรรมแต่ในบางสปีชีส์แล้วสามารถเกิดในจากทางด้านสังคม สิ่งแวดล้อมและปัจจัยอื่น.

ดู ปลาตองลายแอฟริกาและเพศชาย

เมตร

มตร อักษรย่อ ม. (mètre → metre meter The Metric Conversion Act of 1975 gives the Secretary of Commerce of the US the responsibility of interpreting or modifying the SI for use in the US., m) เป็นหน่วยฐานเอสไอของความยาวในหน่วยเอสไอ แต่เดิมนิยามว่าหนึ่งเมตรเท่ากับ 1/10,000,000 ของระยะทางจากเส้นศูนย์สูตรของโลกไปยังขั้วโลกเหนือวัดจากเส้นรอบวงที่ผ่านเมืองปารีส แต่เนื่องจากความแม่นยำทางมาตรวิทยา ที่มีมากขึ้น ตั้งแต่ปีพ.ศ.

ดู ปลาตองลายแอฟริกาและเมตร

ดูเพิ่มเติม

วงศ์ปลากราย

หรือที่รู้จักกันในชื่อ Notopterus afer