โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ปลาดุกไฟฟ้า

ดัชนี ปลาดุกไฟฟ้า

ปลาดุกไฟฟ้า (Electric catfish) เป็นสกุลปลาหนังน้ำจืดในวงศ์ปลาดุกไฟฟ้า (Malapteruridae) ใช้ชื่อสกุลว่า Malapterurus (/มา-แลป-เทอ-รู-รัส/) โดยมาจากภาษากรีกคำว่า μαλακός (malakos) หมายถึง "อ่อนนุ่ม", πτερων (pteron) หมายถึง "ครีบ" และ ουρά (oura) หมายถึง "หาง" โดยมีความหมายถึง ครีบไขมันที่แลดูโดดเด่น เนื่องจากปลาในสกุลนี้ไม่มีครีบหลัง โดยรวมมีรูปร่างกลมยาวอวบอ้วนทรงกระบอกคล้ายไส้กรอก ตามีขนาดเล็ก ริมปากหนาและรูจมูกกลมและมีความห่างจากกันพอสมควร ช่องเหงือกแคบและบีบตัว มีหนวดสามคู่ ไม่มีครีบหลัง มีครีบไขมันขนาดใหญ่อยู่ค่อนไปทางส่วนท้ายของลำตัวติดกับครีบหาง ครีบทุกครีบปลายครีบมนกลม ถุงลมแบ่งเป็นสองห้องยาว มีลำตัวทั่วไปสีน้ำตาลหรือเทา และมีลายจุดหรือกระสีคล้ำกระจายอยู่บนหลังและด้านข้างลำตัว ใต้ท้องเป็นสีขาวไม่มีลาย คอดหางมีลายแถบสีคล้ำสลับขาว และครีบหางมีลายสีขาวคล้ายรูปพระจันทร์ครึ่งเสี้ยวอยู่กลางครีบ เป็นปลาที่พบกระจายพันธุ์ในแหล่งน้ำจืดขนาดใหญ่ เช่น แม่น้ำไนล์, แม่น้ำคองโก, แม่น้ำแซมเบซี, แม่น้ำไนเจอร์ และแม่น้ำหลายสาย ในทวีปแอฟริกา รวมถึงทะเลสาบต่าง ๆ เช่น ทะเลสาบแทนกันยีกา หรือทะเลสาบชาด มีอวัยวะที่ปล่อยกระแสไฟฟ้าจากกล้ามเนื้อด้านข้างลำตัว ซึ่งสามารถปล่อยได้มากถึง 350 โวลต์ ในขนาดลำตัว 50 เซนติเมตร (19 นิ้ว) โดยชนิดที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ยาวได้ถึง 122 เซนติเมตร (48 นิ้ว) และน้ำหนัก 20 กิโลกรัม (44 ปอนด์) อาศัยอยู่ในน้ำขุ่นและมีวัสดุต่าง ๆ เช่น ตอไม้หรือโพรงหินสำหรับหลบซ่อนตัว โดยใช้ไฟฟ้าในการป้องกันตัวและช็อตเหยื่อสำหรับเป็นอาหาร เป็นปลาที่เคลื่อนไหวได้เชื่องช้า เมื่อช็อตเหยื่อจนสลบแล้วจึงค่อยกลืนกิน มีการจับคู่ผสมพันธุ์ด้วยการขุดโพรงยาวถึง 3 เมตร (10 ฟุต) ที่ริมตลิ่งในระดับความลึกประมาณ 1-3 เมตร (3.3-9.8 ฟุต) เป็นปลาที่มนุษย์ใช้รับประทานเป็นอาหารมาตั้งแต่อดีต ตั้งแต่ยุคอียิปต์โบราณ และนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม.

22 ความสัมพันธ์: ภาษากรีกรูปแบบเอกสารใช้ได้หลายระบบวงศ์ปลาดุกไฟฟ้าสัตว์สัตว์มีแกนสันหลังสปีชีส์อันดับปลาหนังอียิปต์โบราณทวีปแอฟริกาทะเลสาบชาดทะเลสาบแทนกันยีกาปลาสวยงามปลาที่มีก้านครีบปลาดุกไฟฟ้ายักษ์ปลาดุกไฟฟ้าแอฟริกาแม่น้ำคองโกแม่น้ำแซมบีซีแม่น้ำไนล์แม่น้ำไนเจอร์โวลต์ไส้กรอกไทสัน อาร์. โรเบิร์ตส์

ภาษากรีก

ษากรีก ซึ่งคนที่พูดและเขียนภาษานี้เรียกว่า เฮลเลนิก หรือ เอลเลนิกา (Ελληνικά) เป็นภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน เกิดในประเทศกรีซ และเคยเป็นภาษาพูดตามชายฝั่งของเอเชียไมเนอร์และทางใต้ของประเทศอิตาลีในยุคโบราณ มีการพูดภาษาถิ่นจำนวนหนึ่ง เช่น ไอโอนิก ดอริก และแอททิก การเรียนการสอนภาษากรีกในประเทศไทยยังไม่แพร่หลายนัก ปัจจุบันมีเพียง คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, รูปแบบไฟล.doc /สืบค้นเมื่อวันที่ 21 มกราคม..

ใหม่!!: ปลาดุกไฟฟ้าและภาษากรีก · ดูเพิ่มเติม »

รูปแบบเอกสารใช้ได้หลายระบบ

รูปแบบเอกสารใช้ได้หลายระบบ (portable document format (ย่อ: pdf)) คือ รูปแบบแฟ้มลักษณะหนึ่ง ที่พัฒนาโดยบริษัทอะโดบีซิสเต็มส์ สำหรับแสดงเอกสารที่สามารถใช้งานได้ในทุกระบบปฏิบัติการ และยังคงลักษณะเอกสารเหมือนต้นฉบับ เอกสารในรูปแบบนี้สามารถจัดเก็บ ตัวอักษร รูปภาพ รูปลายเส้น ในลักษณะเป็นหน้าหนังสือ ตั้งแต่ หนึ่งหน้า หรือหลายพันหน้าได้ในแฟ้มเดียวกัน รูปแบบเป็นมาตรฐานที่เปิดให้คนอื่นสามารถเขียนโปรแกรมมาทำงานร่วมกันได้ รูปแบบนี้ เหมาะสมสำหรับงานที่ต้องการให้แสดงผลลักษณะเดียวกับต้นฉบับ ซึ่งแตกต่างกับการใช้งานรูปแบบอื่น เช่น HTML เพราะการแสดงผลของ HTML จะขึ้นอยู่กับโปรแกรมเบราว์เซอร์และคอมพิวเตอร์ที่ใช้ และเพราะฉะนั้น จะแสดงผลต่างกัน ถ้าใช้ต่างกัน.

ใหม่!!: ปลาดุกไฟฟ้าและรูปแบบเอกสารใช้ได้หลายระบบ · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาดุกไฟฟ้า

วงศ์ปลาดุกไฟฟ้า (Electric catfish) วงศ์ปลาหนังน้ำจืดจำพวกหนึ่ง พบเฉพาะในทวีปแอฟริกาตอนเหนือและตะวันออกบริเวณแม่น้ำไนล์ มีทั้งหมด 2 สกุล พบทั้งหมด 25 ชนิด ใช้ชื่อวงศ์ว่า Malapteruridae ซึ่งมาจากภาษากรีกคำว่า "Mala" หมายถึง "นุ่มนิ่ม", "pteron" หมายถึง "ครีบ" และ "oura" หมายถึง "หาง" มีลำตัวมีรูปร่างกลมป้อม หัวหนา ตามีขนาดเล็ก มีครีบ 7 ครีบ แต่ไม่มีครีบหลัง มีเพียงครีบไขมัน ขนาดใหญ่ อยู่ด้านหลังใกล้โคนหาง ครีบอก 1 คู่ ไม่มีเงี่ยง ครีบท้อง 1 คู่มีขนาดเล็ก ครีบก้นอยู่ตรงข้ามกับครีบไขมัน หางมีขนาดใหญ่เป็นรูปพัด มีหนวด 3 คู่ รอบริมฝีปากมีหนังหนา มีอวัยวะสร้างไฟฟ้า 1 คู่โดยฝังอยู่ใต้ ผิวหนังที่หนาบริเวณลำตัวข้างละอันการปล่อยกระแสไฟฟ้าอยู่ภายใต้การควบคุมของระบบประสาท โดยปกติจะปล่อยกระแสไฟฟ้าเวลาหาอาหารหรือป้องกันตัวเท่านั้น ปลาที่มีขนาดใหญ่สามารถสร้างกระแสไฟฟ้าขนาด 1 แอมแปร์ และแรงคลื่นกว่า 100 โวลท์ได้ ซึ่งกระแสไฟฟ้าขนาดนี้ในน้ำสามารถ ทำอันตรายต่อศัตรู หรือแม้กระทั่งมนุษย์ได้ แต่แม้กระนั้นกระแสไฟฟ้าของปลาดุกไฟฟ้าเมื่อเทียบกับ ปลาไหลไฟฟ้า (Electrophorus electricus) ก็ยังจัดว่ามีกำลังอ่อนกว่ามาก เพราะปลาไหลไฟฟ้าขนาดใหญ่บางตัวสามารถสร้างไฟฟ้าที่มีแรงคลื่นสูงถึง 600 โวลท์ ซึ่ง เป็นอันตรายร้ายแรงต่อสัตว์ทุกชนิด สีตัวของปลาดุกไฟฟฟ้า ด้านหลังเป็นสีน้ำตาลลอมเทา ส่วนด้านท้องมีสีจางกว่า ตามตัว มีปละสีดำกระจายทั่วตัวจะมากหรือน้อยไม่แน่นอน ตามครีบมีสีอ่อน โคนครีบหางมีสีดำจางพาดลงมา โดยเฉพาะในตัวที่มีขนาดเล็ก ปลาดุกไฟฟ้าเป็นปลาที่รู้จักของมนุษย์มาตั้งแต่สมัยอียิปต์โบราณไม่ต่ำกว่า 6,000 ปี ทั้งนี้โดยมีหลักฐานจากภาพแกะสลักบนแผ่นดินที่พบในปิรามิดของอียิปต์ นิยมใช้เนื้อบริโภคในท้องถิ่น เป็นปลากินเนื้อ มักซุกซ่อนตัวอยู่นิ่ง ๆ ตามวัสดุใต้น้ำ เช่น โพรงไม้, สาหร่าย หาเหยื่อในเวลากลางคืนด้วยการสร้างกระแสไฟฟ้าเพื่อสลบเหยื่อ การขยายพันธุ์เชื่อกันว่าเป็นปลาที่ฟักไข่ในปาก ปลาดุกไฟฟ้า ชนิดที่ใหญ่ที่สุดโตเต็มได้ราว 1.22 เมตร คือ ชนิด ''Malapterurus microstoma'' ปัจจุบันนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม ซึ่งต้องเลี้ยงเดี่ยว ๆ เพียงตัวเดียวเนื่องจากเป็นปลาที่ก้าวร้าว ซ้ำยังสามารถปล่อยไฟฟ้าใส่ปลาชนิดอื่นได้อีก.

ใหม่!!: ปลาดุกไฟฟ้าและวงศ์ปลาดุกไฟฟ้า · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: ปลาดุกไฟฟ้าและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ใหม่!!: ปลาดุกไฟฟ้าและสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

สปีชีส์

ในวิชาชีววิทยา ชนิด หรือทับศัพท์ว่า สปีชีส์ (species, ย่อ: sp., รูปพหูพจน์ย่อ: spp.) เป็นหน่วยการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานและอันดับอนุกรมวิธานหนึ่ง มักนิยามว่า สปีชีส์เป็นกลุ่มอินทรีย์ใหญ่สุดที่สามารถสืบพันธุ์แล้วออกลูกที่สืบพันธุ์ได้ การมีลักษณะปรับตัวเฉพาะบางท้องถิ่นอาจแบ่งสปีชีส์ต่ออีกได้เป็น "ชื่อต่ำกว่าระดับชนิด" (infraspecific taxa) เช่น ชนิดย่อย (ในทางพฤกษศาสตร์ มีใช้คำอื่น เช่น พันธุ์ (variety) พันธุ์ย่อยและแบบ (forma)).

ใหม่!!: ปลาดุกไฟฟ้าและสปีชีส์ · ดูเพิ่มเติม »

อันดับปลาหนัง

อันดับปลาหนัง หรือ ตระกูลปลาหนัง (Catfish) เป็นอันดับทางอนุกรมวิธานของปลากระดูกแข็งอันดับหนึ่ง ใช้ชื่อชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Siluriformes (/ซิ-ลู-ริ-ฟอร์-เมส/) อันดับปลาหนังเป็นอันดับที่มีจำนวนปลามากถึง 35 วงศ์ และ 2,867 ชนิด ซึ่งประกอบไปด้วยปลาที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ เช่น ปลาดุก, ปลาสวาย, ปลาบึก, ปลาเนื้ออ่อน, ปลาก.

ใหม่!!: ปลาดุกไฟฟ้าและอันดับปลาหนัง · ดูเพิ่มเติม »

อียิปต์โบราณ

มมฟิสและสุสานโบราณ อียิปต์โบราณ หรือ ไอยคุปต์ เป็นหนึ่งในอารยธรรมที่เก่าแก่ที่สุดในโลก ตั้งอยู่ทางตอนตะวันออกเฉียงเหนือของทวีปแอฟริกา มีพื้นที่ตั้งแต่ตอนกลางจนถึงปากแม่น้ำไนล์ ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของประเทศอียิปต์ อารยธรรมอียิปต์โบราณเริ่มขึ้นประมาณ 3150 ปีก่อนคริตศักราช โดยการรวมอำนาจทางการเมืองของอียิปต์ตอนเหนือและตอนใต้ ภายใต้ฟาโรห์องค์แรกแห่งอียิปต์ และมีการพัฒนาอารยธรรมเรื่อยมากว่า 5,000 ปี ประวัติของอียิปต์โบราณปรากฏขึ้นในช่วงระยะเวลาหนึ่ง หรือที่รู้จักกันว่า "ราชอาณาจักร" มีการแบ่งยุคสมัยของอียิปต์โบราณเป็นราชอาณาจักร ส่วนมากแบ่งตามราชวงศ์ที่ขึ้นมาปกครอง จนกระทั่งราชอาณาจักรสุดท้าย หรือที่รู้จักกันในชื่อว่า "ราชอาณาจักรกลาง" อารยธรรมอียิปต์อยู่ในช่วงที่มีการพัฒนาที่ยมาก และส่วนมากลดลง ซึ่งเป็นเวลาเดียวกันที่อียิปต์ชนพ่ายต่อการทำสงครามจากชาติอื่น ดังเช่นชาวอัสซีเรียและเปอร์เซีย จนกระทั่งเมื่อ 332 ปีก่อนคริสตศักราช ก็เป็นการสิ้นสุดอารยธรรมอียิปต์โบราณลง เมื่อพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชสามารถยึดครองอียิปต์ และจัดอียิปต์เป็นเพียงจังหวัดหนึ่งในจักรวรรดิมาซิโดเนีย อารยธรรมอียิปต์พัฒนาการมาจากสภาพของลุ่มแม่น้ำไนล์ การควบคุมระบบชลประทาน, การควบคุมการผลิตพืชผลทางการเกษตร พร้อมกับพัฒนาอารยธรรมทางสังคม และวัฒนธรรม พื้นที่ของอียิปต์นั้นล้อมรอบด้วยทะเลทรายเสมือนปราการป้องกันการรุกรานจากศัตรูภายนอก นอกจากนี้ยังมีการทำเหมืองแร่ และอียิปต์ยังเป็นชนชาติแรกๆที่มีการพัฒนาการด้วยการเขียน ประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นใช้,การบริหารอียิปต์เน้นไปทางสิ่งปลูกสร้าง และการเกษตรกรรม พร้อมกันนั้นก็มีการพัฒนาการทางทหารของอียิปต์ที่เสริมสร้างความแข็งแกร่งแก่ราชอาณาจักร โดยประชาชนจะให้ความเคารพกษัตริย์หรือฟาโรห์เสมือนหนึ่งเทพเจ้า ฟาโรห์มีอำนาจและโหดร้ายมาก ทำให้การบริหารราชการบ้านเมืองและการควบคุมอำนาจนั้นทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ ชาวอียิปต์โบราณไม่ได้เป็นเพียงแต่นักเกษตรกรรม และนักสร้างสรรค์อารยธรรมเท่านั้น แต่ยังเป็นนักคิด, นักปรัชญา ได้มาซึ่งความรู้ในศาสตร์ต่างๆมากมายตลอดการพัฒนาอารยธรรมกว่า 4,000 ปี ทั้งในด้านคณิตศาสตร์, เทคนิคการสร้างพีระมิด, วัด, โอเบลิสก์, ตัวอักษร และเทคนิคโลยีด้านกระจก นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาประสิทธิภาพทางด้านการแพทย์, ระบบชลประทานและการเกษตรกรรม อียิปต์ทิ้งมรดกสุดท้ายแก่อนุชนรุ่นหลังไว้คือศิลปะ และสถาปัตยกรรม ซึ่งถูกคัดลอกนำไปใช้ทั่วโลก อนุสรณ์สถานที่ต่างๆในอียิปต์ต่างดึงดูดนักท่องเที่ยว นักประพันธ์กว่าหลายศตวรรษที่ผ่านมา ปัจจุบันมีการค้นพบวัตถุใหม่ๆในอียิปต์มากมายซึ่งกำลังตรวจสอบถึงประวัติความเป็นมา เพื่อเป็นหลักฐานให้แก่อารยธรรมอียิปต์ และเป็นหลักฐานแก่อารยธรรมของโลกต่อไป.

ใหม่!!: ปลาดุกไฟฟ้าและอียิปต์โบราณ · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปแอฟริกา

แผนที่ดาวเทียมแสดงส่วนประกอบทางภูมิศาสตร์ของทวีปแอฟริกา ภาพถ่ายทวีปแอฟริกาจากนอกโลก แอฟริกา (Africa) เป็นทวีปที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากทวีปเอเชีย ทั้งในแง่ของพื้นที่และจำนวนประชากร ด้วยพื้นที่ประมาณ 30.2 ล้านตารางกิโลเมตร (11.7 ล้านตารางไมล์) รวมทั้งเกาะต่าง ๆ ที่อยู่ข้างเคียง ทวีปแอฟริกามีพื้นที่ประมาณร้อยละ 6 ของพื้นผิวโลกทั้งหมด และนับเป็นพื้นที่ประมาณร้อยละ 20.4 ของพื้นดินทั้งหมดSayre, April Pulley.

ใหม่!!: ปลาดุกไฟฟ้าและทวีปแอฟริกา · ดูเพิ่มเติม »

ทะเลสาบชาด

right ทะเลสาบชาด (Lake Chad) ตั้งอยู่บริเวณรอยต่อ 4 ประเทศในทวีปแอฟริกา ได้แก่ ชาด ไนเจอร์ ไนจีเรีย และแคเมอรูน เป็นทะเลสาบน้ำจืดตื้น ๆ และเป็นแหล่งที่อยู่ของนกอีกหลายชนิด ซึ่งในช่วงเวลาที่น้ำขึ้นสูงในฤดูฝน ทะเลสาบจะครอบคลุมพื้นที่กว่า 20,800 ตารางกิโลเมตร แต่บางช่วงเวลาขนาดพื้นที่น้ำอาจจะเหลือเพียง 10,000 ตารางกิโลเมตร ส่วนที่ลึกที่สุดของทะเลสาบมีความลึกเพียง 8 เมตร ซึ่งเมื่อ 13,000 ปีก่อน ทะเลสาบชาดเคยเป็นทะเลขนาด 400,000 ตารางกิโลเมตรมาก่อน ชาด.

ใหม่!!: ปลาดุกไฟฟ้าและทะเลสาบชาด · ดูเพิ่มเติม »

ทะเลสาบแทนกันยีกา

ทะเลสาบแทนกันยีกา (Lake Tanganyika) เป็นทะเลสาบน้ำจืดขนาดใหญ่ที่ตั้งอยู่ในเขตรอยต่อ 4 ประเทศด้วยกัน ได้แก่ สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก (ซาอีร์เดิม), แทนซาเนีย, แซมเบีย และบุรุนดี เป็นแหล่งน้ำจืดที่สำคัญเป็นอันดับที่สองในแอฟริการองจากทะเลสาบวิกตอเรีย นอกจากนั้นยังเป็นทะเลสาบที่ใหญ่เป็นอันดับสองในทวีปแอฟริกาและลึกที่สุดในทวีปแอฟริกาอีกด้วย จุดที่มีความลึกที่สุดลึกกว่า 1,470 เมตร ทะเลสาบแทนกันยีกาเกิดจากการทรุดตัวของแผ่นเปลือกโลกและภูเขาไฟระเบิด เมื่อราว 20 ล้านปีมาแล้ว นับเป็นทะเลสาบแห่งหนึ่งที่มีอายุเก่าแก่ในทวีปแอฟริกา ซึ่งตั้งอยู่ในแนวเกรตริฟต์แวลลีย์ โดยคำว่า "แทนกันยีกา" นั้นมาจากภาษาสวาฮิลีสองคำ คือ "tangan" หมายถึง "เรือใบ" และ "nyika" หมายถึง "ป่า" หรือ "ไม่มีที่อยู่" โดยรวมอาจหมายความว่า "เรือใบที่แล่นในถิ่นทุรกันดาร" ก็ได้ ทะเลสาบแทนกันยีกา มีความยาวจัดจากเหนือจรดใต้ได้ถึง 673 กิโลเมตร แต่มีความกว้างโดยเฉลี่ยประมาณ 50 กิโลเมตร มีพื้นที่โดยรวมประมาณ 3,2892 ตารางกิโลเมตร ความยาวรอบชายฝั่งวัดรวมกันได้ 1,828 กิโลเมตร และยังเป็นทะเลสาบน้ำจืดที่มีความลึกเป็นอันดับสองของโลกรองจากทะเลสาบไบคาล ในไซบีเรีย มีดินแดนติดกับคองโกราวร้อยละ 45 และติดกับแทนซาเนียร้อยละ 41 โดยประมาณ น้ำในทะเลสาบไหลสู่แม่น้ำคองโกในตอนกลางของทวีป และจะไหลไปลงทะเลที่ตอนแอฟริกาตะวันตกที่มหาสมุทรแอตแลนติก ทะเลสาบแห่งนี้มีความโดดเด่นเรื่องของอุณหภูมิที่ค่อนข้างเสถียร เรื่องจากข้างล่างทะเลสาบยังคงมีภูเขาไฟ น้ำมีการเปลี่ยนแปลงในแนวตั้งน้อยมาก ในความลึกเกิน 300 เมตร ปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำค่อนข้างน้อย จึงมักไม่ค่อยมีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ อุณหภูมิโดยเฉลี่ยมีความเปลี่ยนแปลงต่างกันไม่เกิน 5 ฟาเรนไฮต์ โดยบริเวณผิวน้ำจะมีอุณหภูมิประมาณ 73-88 ฟาเรนไฮต์ ค่าความเป็นกรด-ด่างของน้ำอยู่ที่ประมาณ 7.5-9.3 (pH) ระบบนิเวศของทะเลสาบแทนกันยีกา แบ่งออกได้เป็นสองส่วนหลัก คือ ระบบชายฝั่งและพื้นที่นอกชายฝั่ง ซึ่งสามารถแบ่งระบบนิเวศตามสภาพแวดล้อมที่ต่างกันได้ ดังนี้.

ใหม่!!: ปลาดุกไฟฟ้าและทะเลสาบแทนกันยีกา · ดูเพิ่มเติม »

ปลาสวยงาม

ตู้ ปลาสวยงาม หรือ ปลาตู้ (Ornamental fish) คือ ปลาที่มนุษย์เลี้ยงไว้เป็นสัตว์เลี้ยงเพื่อความเพลิดเพลินหรือเพื่อความสวยงาม ไม่ใช่เพื่อการบริโภค หรือสัตว์น้ำจำพวกอื่น ที่ไม่ใช่ปลาแต่มีการนำมาเลี้ยงเพื้อการเดียวกัน เช่น เครย์ฟิช นิยมเลี้ยงไว้ในสถานที่ต่าง ๆ ในบ้านพักอาศัย อาทิ ตู้ปลา, บ่อ หรือสระ ถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของการประมง ความเป็นอยู่ของปลามีความแตกต่างจากสัตว์บกหรือสัตว์เลือดอุ่นค่อนข้างมาก การเลี้ยงสัตว์บกสามารถปรับปรุงคอกเลี้ยง ทำให้สามารถทำความสะอาดกำจัดเศษอาหาร และมูลสัตว์ออกจากคอกได้อย่างง่ายดาย แต่ปลามีน้ำเป็นบ้านอย่างถาวรและจำเป็นต้องอยู่ร่วมกับสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ อีกหลายชนิด คุณภาพน้ำอาจเปลี่ยนแปลงได้ทั้งสาเหตุจากสภาพแวดล้อมและจากตัวปลาเอง เพราะปลาก็มีการขับถ่ายอยู่ตลอดเวลา แต่ในแหล่งน้ำธรรมชาติจะเกิดการปรับปรุงหรือปรับสภาพให้น้ำมีคุณสมบัติที่เหมาะสม โดยขบวนการต่าง ๆ จากสิ่งมีชีวิตหลายชนิด เพื่อให้สิ่งมีชีวิตทั้งหลายในน้ำอยู่ร่วมกันได้อย่างสมดุล.

ใหม่!!: ปลาดุกไฟฟ้าและปลาสวยงาม · ดูเพิ่มเติม »

ปลาที่มีก้านครีบ

ปลาที่มีก้านครีบ (Ray-finned fishes) เป็นชั้นย่อยของปลากระดูกแข็ง (Osteichthyes) ชั้นหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Actinopterygii (/แอก-ติ-โน-เทอ-ริ-กิ-ไอ/) เป็นปลาที่เคลื่อนไหวโดยอาศัยครีบและกล้ามเนื้อลำตัวเป็นสำคัญ ซึ่งแบ่งออกได้เป็น ก้านครีบแข็ง และก้านครีบอ่อน ซึ่งปลาส่วนใหญ่ในปัจจุบัน จะถูกจัดอยู่ในชั้นนี้ บรรพบุรุษของปลาในชั้นนี้จะมีขนาดเล็ก มีเกราะหุ้มตัวหนา มีปอดและเหงือก ชื่อ Andreolepis hedei โดยพบเป็นฟอสซิลอยู่ในยุคปลายซิลลูเรียนเมื่อกว่า 420 ล้านปีก่อนที่รัสเซีย, สวีเดน และเอสโตเนีย ปลาชั้นนี้มีการวิวัฒนาการอยู่ 3 ขั้นตอน คือ.

ใหม่!!: ปลาดุกไฟฟ้าและปลาที่มีก้านครีบ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาดุกไฟฟ้ายักษ์

ปลาดุกไฟฟ้ายักษ์ (Smallmouth electric catfish) ปลาน้ำจืดในอันดับปลาหนังชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาดุกไฟฟ้า (Malapteruridae) มีรูปร่างอ้วนป้อม ลำตัวยาว ครีบทั้งหมดสั้น ส่วนหัวมีลักษณะเรียวแหลม ช่องปากมีขนาดเล็ก มีหนวดอยู่สามคู่รอบ ๆ ปาก ใช้รับสัมผัสหาอาหาร สีของลำตัวเป็นสีเทาหรือสีน้ำเงินอ่อนมีลายจุดสีดำอยู่ทั่วตัว ใต้ท้องสีขาว อาศัยอยู่ตามพื้นท้องน้ำในแหล่งน้ำนิ่ง โดยจะหลบอาศัยตามโพรงหิน โพรงไม้ และตามรากไม้จมน้ำต่าง ๆ สภาพเป็นน้ำขุ่นแสงส่องผ่านได้น้อย พบเฉพาะในทวีปแอฟริกาเท่านั้น เป็นปลาที่ไม่ค่อยจะเคลื่อนไหวและเคลื่อนไหวได้ช้า โดยกินสัตว์น้ำขนาดเล็กกว่าเป็นอาหาร โดยการช็อตด้วยกระแสไฟฟ้าและกลืนกินลงไปทั้งตัว เป็นปลาที่มีอัตราการเจริญเติบโตที่เร็วมาก นับเป็นปลาดุกไฟฟ้าชนิดที่ใหญ่ที่สุด ตัวที่ใหญ่ที่สุดพบยาวถึง 122 เซนติเมตร นิยมเลี้ยงเป็นปลาตู้สวยงาม.

ใหม่!!: ปลาดุกไฟฟ้าและปลาดุกไฟฟ้ายักษ์ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาดุกไฟฟ้าแอฟริกา

ปลาดุกไฟฟ้าแอฟริกา (African electric catfish) ปลาน้ำจืดในอันดับปลาหนังชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาดุกไฟฟ้า (Malapteruridae).

ใหม่!!: ปลาดุกไฟฟ้าและปลาดุกไฟฟ้าแอฟริกา · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำคองโก

แม่น้ำคองโก บริเวณมาลูกู แม่น้ำคองโก (Congo River) หรือแม่น้ำซาอีร์ (Zaire River) เป็นแม่น้ำที่ใหญ่ที่สุดทางตะวันออกกลางของแอฟริกา มีความยาวรวม 4,700 กม.

ใหม่!!: ปลาดุกไฟฟ้าและแม่น้ำคองโก · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำแซมบีซี

แม่น้ำแซมบีซี หรือ แม่น้ำซัมเบซี (Zambezi) เป็นแม่น้ำที่ยาวเป็นอันดับ 4 ของทวีปแอฟริกา และเป็นแม่น้ำแอฟริกาที่ใหญ่ที่สุดที่ไหลลงมหาสมุทรอินเดีย มีปริมาณน้ำไหล 1,390,000 ตร.กม.

ใหม่!!: ปลาดุกไฟฟ้าและแม่น้ำแซมบีซี · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำไนล์

แผนที่แสดงเส้นทางการไหลของแม่น้ำไนล์ แม่น้ำไนล์ ในบริเวณอียิปต์ แม่น้ำไนล์ และ กรุงไคโรด้านหลัง แม่น้ำไนล์ (النيل อันนีล; Nile) เป็นแม่น้ำใน ทวีปแอฟริกา เป็นแม่น้ำที่ยาวที่สุดในโลก โดยถูกค้นพบแหล่งต้นน้ำใหม่ที่ทำให้มีความยาวกว่าเดิมเมื่อไม่นานมานี้ โดยแม่น้ำไนล์มีความยาวทั้งสิ้น 6,695 กิโลเมตร^~^.

ใหม่!!: ปลาดุกไฟฟ้าและแม่น้ำไนล์ · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำไนเจอร์

แม่น้ำไนเจอร์ แม่น้ำไนเจอร์ เป็นแม่น้ำที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ที่สำคัญของทวีปแอฟริกา อยู่ในส่วนแอฟริกาตะวันตกของประเทศมาลี ไนเจอร์ ไนจีเรีย ต้นน้ำอยู่ที่ประเทศเซียร์ราลีโอน ไหลลงสู่อ่าวกินี ทอดตัวยาวเป็นแนวกว่า 2500 ไมล์ แม่น้ำไนเจอร์ เปรียบเสมือนเลือดชีวิตของ ประเทศมาลี เป็นแหล่งอาหาร, น้ำซึ่งเหมาะสำหรับดื่ม, และน้ำสำหรับการทำไร่ เป็นวิถีทางที่สำคัญที่ชาวมาลีได้รับ เป็นแม่น้ำสายสำคัญที่ให้พ่อค้าใช้สำหรับการขนส่งแลกเปลี่ยนสินค้าอีกด้วย ระหว่างเดือนที่มีน้ำสูง (ระหว่าง สิงหาคม ถึง พฤศจิกายน) เรือใหญ่มากมายสามารถเดินทางเที่ยวชมตามแม่น้ำ เรือที่มีขนาดเล็กสามารถล่องในแม่น้ำได้อย่างกว้างขวางอีกด้วย หมวดหมู่:แม่น้ำในทวีปแอฟริกา หมวดหมู่:แม่น้ำนานาชาติในทวีปแอฟริกา.

ใหม่!!: ปลาดุกไฟฟ้าและแม่น้ำไนเจอร์ · ดูเพิ่มเติม »

โวลต์

วลต์ (สัญลักษณ์: V) คือหน่วยอนุพันธ์ในระบบเอสไอของความต่างศักย์ไฟฟ้า ปริมาณที่กำกับด้วยหน่วยโวลต์นั้นคือผลการวัดความเข้มของแหล่งจ่ายไฟฟ้าในแง่ที่ว่าจะสร้างพลังงานได้เท่าใดที่ระดับกระแสค่าหนึ่ง ๆ โวลต์ซึ่งเป็นชื่อของหน่วยนี้ตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติให้แก่ อาเลสซันโดร วอลตา (พ.ศ. 2288 - 2370) ผู้คิดค้นแบตเตอรี่เคมีชนิดแรกที่เรียกว่าเซลล์โวลตาอิก (Voltaic Pile) โวลท์ (volt หรือ V) คือ หน่วยที่ใช้เรียกเพื่อบอกขนาดของแรงดันไฟฟ้าในบ้าน เช่น 220 V หมายถึง ขนาดของแรงดันไฟฟ้าเท่ากับ 220 โวลท์ (ประเทศไทยใช้ไฟระบบนี้) 1 โวลต์ (V).

ใหม่!!: ปลาดุกไฟฟ้าและโวลต์ · ดูเพิ่มเติม »

ไส้กรอก

้กรอกชนิดต่าง ๆ ไส้กรอกสวีเดน ขนาดใหญ่ ไส้กรอก (Sausage) มาจากคำภาษาลาตินว่า Salsus หมายถึง "การเก็บรักษาเนื้อสัตว์โดยใช้เกลือ" หรือมาจากคำว่า Wurst ในภาษาเยอรมัน ซึ่งหมายถึง "เนื้อสัตว์บดละเอียดผสมกับเกลือและเครื่องเทศ บรรจุลงในไส้" ดังนั้นกรรมวิธีในการผลิตไส้กรอกนั้นจึงถือได้ว่าเป็นกรรมวิธีในการถนอมอาหารแบบหนึ่ง ไส้กรอก มีความเป็นมานานถึง 3,500 ปีแล้ว ในยุคบาบิโลเนีย ลักษณะเป็นเนื้อหมักเครื่องเทศ ยัดไว้ในไส้สัตว์ ในยุคกลาง เมืองต่าง ๆ ในยุโรปได้พัฒนาสูตร รสชาติ และรูปร่างของไส้กรอกของตนเอง และตั้งชื่อไส้กรอกตามชื่อเมืองที่เป็นถิ่นกำเนิด เช่น ไส้กรอกเวียนนา เป็นต้น ไส้กรอกของประเทศแถบเมดิเตอเรเนียนจะมีลักษณะแข็งและแห้งเพื่อไม่ให้ไส้กรอกบูดเสียได้ง่ายในอากาศร้อนแถบนั้น ส่วนไส้กรอกของสก็อตแลนด์นิยมยัดไส้ด้วยข้าวโอ๊ต มากกว่าจะใช้เนื้อหมูหรือเนื้อวัว ไส้กรอกที่เป็นที่นิยมกันมากที่สุดประเภทหนึ่งในเยอรมนี คิดค้นขึ้นโดยชาวเมืองแฟรงเฟิร์ต จึงมีชื่อเรียกว่าแฟรงเฟอเตอร์ หรือเรียกสั้น ๆ ว่า แฟรงค์ มีขนาดหนา นุ่ม ใส่เครื่องเทศและรมควันอย่างดีมีรูปร่างโค้งเล็กน้อย คล้ายรูปร่างของสุนัขดัชชุน จนบางคนเรียกไส้กรอกประเภทนี้ว่า ไส้กรอกดัชชุน เล่ากันว่าผู้คิดไส้กรอกประเภทนี้เลี้ยงสุนัขดัชชุนไว้หนึ่งตัว จึงเกิดความคิคว่าไส้กรอกที่มีรูปร่างเหมือนสุนัขตัวโปรดนี้จะเป็นที่นิยมของตลาดด้วย ในยุคปัจจุบันการผลิตไส้กรอกเป็นการประยุกต์ใช้กระบวนการถนอมอาหารหลายอย่างรวมกัน เช่น การใช้สารเคมี การใช้ความร้อน การอบแห้ง การแช่แข็ง และการแช่เย็น จึงทำให้ผลิตภัณฑ์ไส้กรอกในปัจจุบันนั้นมาให้เลือกบริโภคอย่างหลากหลาย ซึ่งจะแตกต่างกันตามลักษณะของวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต ชนิดของเครื่องเทศและเครื่องปรุงรส ชนิดของเนื้อสัตว์ เช่น เนื้อหมู เนื้อไก่ เนื้อวัว เนื้อปลา เป็นต้น อัตราส่วนระหว่างเนื้อสัตว์และไขมันของเนื้อสัตว์ ความละเอียดของการบดเนื้อสัตว์และเครื่องเทศ วิธีการผสม ขั้นตอนการผลิต วิธีการอัดไส้ ขนาดและความยาวของไส้ที่นำมาใช้ และ ชนิดของไส้ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ 1.ไส้ธรรมชาติ เช่น ไส้แกะ ไส้หมู หรือหลอดลมวัว 2.ไส้สังเคราะห์หรือไส้เทียม เช่น ไส้จากคอลลาเจน ไส้สังเคราะห์จากใยฝ้าย หรือไส้พลาสติก วัตถุดิบที่สำคัญในการผลิตไส้กรอก ได้แก่ เนื้อสัตว์ เกลือแกง ไขมัน เกลือไนเตรต เครื่องเทศ และเครื่องปรุงรส โดยเนื้อสัตว์ที่นำมาใช้ในการผลิตไส้กรอกจะต้องมีความสามารถในการรวมตัวกับน้ำได้สูง โดยมีแอคติน และไมโอซิน ทำหน้าที่ให้น้ำและไขมันในเนื้อสัตว์สามารถรวมตัวกันได้ เกลือนอกจากจะทำหน้าที่ให้รสชาติแล้วยังทำหน้าที่สกัดโปรตีนจำพวก แอคตินและไมโอซิน ออกจากกล้ามเนื้อของสัตว์ ทำให้ไส้กรอกที่ได้มีเนื้อสัมผัสที่นุ่มและชุ่มฉ่ำและให้กลิ่น และรสชาติที่คงตัว เกลือไนเตรต (KNO3, NaNO3) ทำให้ไส้กรอกเกิดสีและกลิ่นที่คงตัว และป้องกันไม่ให้ไส้กรอกเกิดการเน่าเสียจาก แบคทีเรียที่ไม่ใช้ออกซิเจนในการหายใจ โดยในประเทศไทยได้กำหนดปริมาณสูงสุดในการใช้สารประกอบไนเตรต (KNO3, NaNO3) ที่สามารถใช้ได้ไว้ที่ 500 มิลลิกรัม ต่อผลิตภัณฑ์เนื้อหมัก 1 กิโลกรัม (ซึ่งหากคำนวณน้ำหนักของไนเตรตจริงๆแล้วจะมีไนเตรตน้ำหนักเพียง 125 มิลลิกรัมเท่านั้น) เพราะถ้าหากบริโภคไนเตรตมากเกินไปจะทำให้เป็นพิษต่อร่างกาย เนื่องจากไนเตรตหรือสารประกอบไนเตรต (KNO3, NaNO3) เมื่อเข้าสู่กระแสเลือดจะไปทำปฏิกิริยาออกซิไดซ์กับฮีโมโกลบินในเม็ดเลือด ทำให้เม็ดเลือดแดงนั้นหมดสภาพ ไม่สามารถทำหน้าที่ลำเลียงออกซิเจนได้ นอกจากนั้นแล้ว ไนเตรตหรือสารประกอบไนเตรต (KNO3, NaNO3) ยังทำให้เกิดสารประกอบไนโตรซามีนซึ่งเป็นสารที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็งอีกด้ว.

ใหม่!!: ปลาดุกไฟฟ้าและไส้กรอก · ดูเพิ่มเติม »

ไทสัน อาร์. โรเบิร์ตส์

ทสัน อาร.

ใหม่!!: ปลาดุกไฟฟ้าและไทสัน อาร์. โรเบิร์ตส์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Malapterurus

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »