โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ปลาซิวข้าวสารญี่ปุ่น

ดัชนี ปลาซิวข้าวสารญี่ปุ่น

ปลาซิวข้าวสารญี่ปุ่น หรือ ปลาซิวข้าวสารจิ๋ว (Japanese rice fish, Japanese killifish; メダカ; โรมะจิ: Medaka) เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาซิวข้าวสาร (Adrianichthyidae) จัดเป็นปลาชนิดแรกที่ถูกค้นพบและศึกษาในวงศ์นี้ โดยพบในนาข้าวประเทศญี่ปุ่น อันเป็นที่มาของชื่อสามัญ "ปลาข้าวสาร" หรือ "ปลาซิวข้าวสาร" และถือเป็นชนิดต้นแบบของสกุล Oryzias ด้วย เป็นปลาที่มีขนาดเล็ก ความยาวไม่เกิน 3 เซนติเมตร พบในแหล่งน้ำที่มีอุณหภูมิประมาณ 20 องศาเซลเซียส มีถิ่นกระจายพันธุ์ที่กว้างไกลมาก โดยพบได้ตั้งแต่ประเทศญี่ปุ่น, ยูเรเซีย, จีน, เกาหลี, ลาว และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไท.

7 ความสัมพันธ์: สกุลออรีเซียสสัตว์สัตว์มีแกนสันหลังอันดับปลาเข็มปลาที่มีก้านครีบปลาซิวข้าวสารโรมาจิ

สกุลออรีเซียส

กุลออรีเซียส เป็นสกุลของปลาในวงศ์ปลาซิวข้าวสาร (Adrianichthyidae) ใช้ชื่อสกุลว่า Oryzias (/ออ-รี-เซียส/) โดยมาจากภาษากรีกคำว่า ὄρυζα ซึ่งแปลว่า "ข้าว" อ้างอิงมาจากสถานที่ค้นพบครั้งแรก คือ นาข้าว มีลักษณะสำคัญ คือ ขากรรไกรไม่ยืดหด ฐานด้านบนของครีบอกอยู่ใกล้แนวสันหลังของลำตัว ครีบหลังอยู่ใกล้ครีบหาง ครีบก้นมีฐานยาว ครีบหางมีปลายกลมมน เป็นปลาที่เก็บไข่ไว้ใต้ครีบอก มีความยาวประมาณ 6-7 เซนติเมตร ขนาดเต็มที่ไม่เกิน 9 เซนติเมตร โดยพบในแหล่งน้ำที่มีพรรณไม้น้ำมากมาย โดยมากพบในอุณหภูมิประมาณ 28 เซนติเมตร บ่อยครั้งที่พบในแหล่งน้ำที่มีค่าแร่ธาตุคาร์บอเนต และมีค่าความเป็นกรดด่าง (pH) ประมาณ 7.5 และอาจพบได้ในน้ำกร่อยได้ด้วย มีการกระจายพันธุ์ที่ค่อนข้างกว้างตั้งแต่ประเทศอินเดียจนถึงญี่ปุ่น, เกาะสุลาเวสี, คาบสมุทรอินโดจีนจนถึงออสเตรเลีย ปัจจุบันพบแล้วประมาณ 32 ชนิด เป็นการพบได้ในประเทศไทย 6 ชนิด หน้า 26-27, สกุล Oryzias ปลาข้าวสาร โดย สุริศา ซอมาดี.

ใหม่!!: ปลาซิวข้าวสารญี่ปุ่นและสกุลออรีเซียส · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: ปลาซิวข้าวสารญี่ปุ่นและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ใหม่!!: ปลาซิวข้าวสารญี่ปุ่นและสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

อันดับปลาเข็ม

อันดับปลาเข็ม เป็นอันดับของปลากระดูกแข็งจำพวกหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Beloniformes มีลักษณะโดยรวม คือ เป็นปลาขนาดเล็ก มักว่ายรวมฝูงหรือหากินกันบริเวณผิวน้ำ เมื่อตกใจสามารถกระโดดหรือเหินขึ้นเหนือผิวน้ำได้สูงและไกลเหมือนการบินของนกหรือแมลงได้ในบางวงศ์ มีลำตัวยาวมาก ยกเว้นในบางวงศ์ ลำตัวค่อนข้างยาว ลำตัวรูปเหลี่ยม ครีบท้องอยู่ตรงข้ามครีบก้นค่อนไปทางด้านท้ายของลำตัว ครีบหูอยู่ระดับสูงของลำตัว ครีบท้องอยู่ในตำแหน่งท้องริมฝีปากบนและริมฝีปากล่างอาจยื่นยาว ถ้าไม่ยื่นยาวครีบหูหลังท้อง และครีบหางอาจขยายออกไป มีเกล็ดเป็นแบบขอบบางเรียบ แบ่งออกเป็น 5 วงศ์ พบได้ทั้งในทะเล, น้ำกร่อย และน้ำจืด ในเขตอบอุ่นและเขตร้อนทั่วโลก ได้แก.

ใหม่!!: ปลาซิวข้าวสารญี่ปุ่นและอันดับปลาเข็ม · ดูเพิ่มเติม »

ปลาที่มีก้านครีบ

ปลาที่มีก้านครีบ (Ray-finned fishes) เป็นชั้นย่อยของปลากระดูกแข็ง (Osteichthyes) ชั้นหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Actinopterygii (/แอก-ติ-โน-เทอ-ริ-กิ-ไอ/) เป็นปลาที่เคลื่อนไหวโดยอาศัยครีบและกล้ามเนื้อลำตัวเป็นสำคัญ ซึ่งแบ่งออกได้เป็น ก้านครีบแข็ง และก้านครีบอ่อน ซึ่งปลาส่วนใหญ่ในปัจจุบัน จะถูกจัดอยู่ในชั้นนี้ บรรพบุรุษของปลาในชั้นนี้จะมีขนาดเล็ก มีเกราะหุ้มตัวหนา มีปอดและเหงือก ชื่อ Andreolepis hedei โดยพบเป็นฟอสซิลอยู่ในยุคปลายซิลลูเรียนเมื่อกว่า 420 ล้านปีก่อนที่รัสเซีย, สวีเดน และเอสโตเนีย ปลาชั้นนี้มีการวิวัฒนาการอยู่ 3 ขั้นตอน คือ.

ใหม่!!: ปลาซิวข้าวสารญี่ปุ่นและปลาที่มีก้านครีบ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาซิวข้าวสาร

ำหรับปลาทะเลขนาดเล็ก ดูที่: ปลากะตัก ปลาซิวข้าวสาร หรือ ปลาในนาข้าว (วงศ์: Adrianichthyidae; Ricefishes) เป็นชื่อวงศ์ของปลาน้ำจืดและปลาน้ำกร่อยจำพวกหนึ่งที่มีขนาดเล็ก มีขนาดโดยเฉลี่ยไม่เกิน 9 เซนติเมตร มีการกระจายพันธุ์ตั้งแต่ประเทศอินเดียจนถึงญี่ปุ่น เกาะสุลาเวสี คาบสมุทรอินโดจีนจนถึงออสเตรเลีย เดิมเคยถูกจัดให้อยู่ในวงศ์ Oryziidae แต่ปัจจุบันวงศ์นี้ได้กลายเป็นเพียงวงศ์ย่อยและสกุลหนึ่งของวงศ์นี้ มีลักษณะทางอนุกรมวิธานที่สำคัญ คือ ไม่มีเส้นข้างลำตัว ช่องจมูกเปิดทะลุถึงก้น นัยน์ตาโต ปากเฉียงขึ้นเล็กน้อย ครีบหลังอยู่ใกล้ครีบหาง ครีบหางมีทั้งปลายตรงและปลายกลมมน โดยปลาในวงศ์นี้ซึ่งเป็นตัวอย่างแรกได้ถูกค้นพบเป็นครั้งแรก ในนาข้าวที่ประเทศญี่ปุ่น จึงเป็นที่มาของชื่อในภาษาอังกฤษ โดยชนิดที่ค้นพบล่าสุด พบที่ลุ่มแม่น้ำโขงในภาคอีสานของไทย คือ ปลาซิวข้าวสารแม่น้ำสงคราม (Oryzias songkhramensis) เมื่อปี ค.ศ. 2010.

ใหม่!!: ปลาซิวข้าวสารญี่ปุ่นและปลาซิวข้าวสาร · ดูเพิ่มเติม »

โรมาจิ

รมาจิ เป็นอักษรโรมันที่ใช้ในภาษาญี่ปุ่นในระบบการเขียนภาษาญี่ปุ่นใช้ คานะและคันจิเป็นหลัก โรมาจิเป็นวิธีที่นิยมสำหรับบุคคลที่ไม่ใช่ชาวญี่ปุ่นเรียนภาษาญี่ปุ่น และยังเป็นที่นิยมในการพิมพ์ข้อมูลภาษาญี่ปุ่นลงในคอมพิวเตอร์ โดยการพิมพ์บนคีย์บอร์ดเป็นโรมาจิและคอมพิวเตอร์แสดงผลเป็นภาษาญี่ปุ่นตัวอักษรแบบต่าง ๆ โรมาจิเริ่มเป็นที่นิยมตั้งแต่สมัยสงครามโลก ซึ่งเริ่มเรียนตั้งแต่ระดับประถมศึกษา สำหรับการเขียนและการอ่านโรมาจิ โรมาจิในปัจจุบันมีอยู่ 3 ระบบ ได้แก่ นิฮงชิกิ (日本式) แบบดั้งเดิม, คุงเรชิกิ (訓令式) แบบที่ดัดแปลงจากนิฮงชิกิ และเฮ็ปเบิร์นหรือเฮบงชิกิ (ヘボン式) แบบปรับปรุงพัฒนาตามการออกเสียงจริง ซึ่งเป็นที่นิยมใช้มากที่สุดในปัจจุบัน ตัวอย่างของการทับศัพท์แบบต่าง.

ใหม่!!: ปลาซิวข้าวสารญี่ปุ่นและโรมาจิ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Oryzias latipesPoecilia latipesปลาข้าวสารญี่ปุ่นปลาข้าวสารจิ๋วปลาซิวข้าวสารจิ๋ว

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »