โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ปลากระเบนเฮนไล

ดัชนี ปลากระเบนเฮนไล

ปลากระเบนเฮนไล หรือ ปลากระเบนโปลกาด๊อทจุดเหลือง (Bigtooth river stingray, Tocantins river ray) เป็นปลากระเบนน้ำจืดชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลากระเบนหางสั้น (Potamotrygonidae) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Potamotrygon henlei มีรูปร่างลักษณะคลายกับปลากระเบนโปลกาด๊อท (P. leopoldi) ซึ่งอยู่ในสกุลเดียวกันมาก แต่ปลากระเบนเฮนไลจะมีสีบนลำตัวอ่อนกว่า โดยจะเป็นสีเทาหรือสีน้ำตาลดำ และจุดเป็นลำตัวจะออกไปทางสีขาวปนเหลือง จึงทำให้ได้อีกชื่อหนึ่งว่า "ปลากระเบนโปลกาด๊อทจุดเหลือง" และจุดดังกล่าวจะลามไปจนถึงใต้ท้อง ซึ่งปลากระเบนโปลกาด๊อทไม่มีลักษณะเช่นนี้ มีความกว้างของลำตัวประมาณ 30 เซนติเมตร ซึ่งนับว่าเล็กกว่าปลากระเบนโปลกาด๊อทเล็กน้อย และพบในแม่น้ำริโอ โตคานทินส์ ในประเทศบราซิลเท่านั้น นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามเช่นเดียวกับปลากระเบนโปลกาด๊อทและปลากระเบนชนิดอื่น ๆ ในวงศ์เดียวกัน โดยมีรหัสทางการค้าว่า P12.

23 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2398พ.ศ. 2553กันยายนการตั้งชื่อทวินามรหัสวงศ์ปลากระเบนหางสั้นสกุล (ชีววิทยา)สกุลโปตาโมไทรกอนสัตว์สัตว์มีแกนสันหลังสีขาวสีดำสีน้ำตาลสีเหลืองสีเทาสปีชีส์อันดับปลากระเบนประเทศบราซิลปลากระดูกอ่อนปลากระเบนปลากระเบนโปลกาด๊อทน้ำจืดเมตร

พ.ศ. 2398

ทธศักราช 2398 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1855.

ใหม่!!: ปลากระเบนเฮนไลและพ.ศ. 2398 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2553

ทธศักราช 2553 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2010 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันศุกร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็นปีแรกในคริสต์ทศวรรษที่ 2010.

ใหม่!!: ปลากระเบนเฮนไลและพ.ศ. 2553 · ดูเพิ่มเติม »

กันยายน

กันยายน เป็นเดือนที่ 9 ของปี ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็นหนึ่งในเดือน 4 เดือนที่มี 30 วัน ตามหลักโหราศาสตร์ เดือนกันยายนเริ่มต้นขึ้นเมื่อดวงอาทิตย์ยกเข้าสู่ราศีกันย์ และสิ้นสุดเมื่อยกเข้าสู่ราศีตุล แต่ในทางดาราศาสตร์ ต้นเดือนกันยายนดวงอาทิตย์อยู่ในกลุ่มดาวสิงโตและปลายเดือนไปอยู่ในกลุ่มดาวหญิงสาว เดือนกันยายนในภาษาอังกฤษ September มาจากภาษาละติน septem เนื่องจากเป็นเดือนที่ 7 ในปฏิทินโรมันดั้งเดิมที่เริ่มต้นปีในเดือนมีนาคม ประเทศไทยเริ่มใช้ชื่อเดือนกันยายนในปี พ.ศ. 2432 ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 5 โดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาเทววงศ์วโรปการ เป็นผู้เสนอให้ใช้ราศีกำหนดชื่อเดือน.

ใหม่!!: ปลากระเบนเฮนไลและกันยายน · ดูเพิ่มเติม »

การตั้งชื่อทวินาม

ระบบการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิตแบบทวินาม (Binomial nomenclature) เป็นระบบการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิตแต่ละสปีชีส์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ชื่อแต่ละชื่อในระบบนี้เรียกว่า ชื่อทวินาม (Binomial name) หรือ ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name) คือชื่อที่ใช้เรียกแทนสิ่งมีชีวิตในสปีชีส์ต่าง ๆ อย่างเป็นทางการ ชื่อทวินามจะเป็นภาษาละติน ประกอบด้วยคำศัพท์ 2 คำ คือ สกุล และ สปีชีส์ ซึ่งขึ้นอยู่กับสิ่งมีชีวิตที่ต้องการระบุ โดยรายละเอียดปลีกย่อยอาจแตกต่างกันออกไปบ้าง.

ใหม่!!: ปลากระเบนเฮนไลและการตั้งชื่อทวินาม · ดูเพิ่มเติม »

รหัส

ในการสื่อสาร รหัส คือ กฎในการแปลงสารสนเทศหนึ่งๆ (เช่น ตัวอักษร, คำ, หรือวลี) ให้อยู่ในรูปแบบหรือลักษณะที่ไม่จำเป็นต้องเหมือนเดิม ในการสื่อสารและการประมวลผลสารสนเทศ การเข้ารหัส (encoding) คือกระบวนการที่ผู้ให้ข้อมูลทำการแปลงสารสนเทศให้กลายเป็นข้อมูล ที่จะถูกส่งไปยังผู้รับ เช่น ระบบประมวลผลข้อมูล การถอดรหัส (decoding) คือกระบวนการย้อนกลับในการแปลงข้อมูลที่ได้รับมา ให้เป็นสารสนเทศที่ผู้รับสามารถเข้าใจได้ ในบางสถานที่หรือสถานการณ์ การใช้ภาษาพูดหรือภาษาเขียนธรรมดานั้น ไม่สามารถเป็นสื่อกลางในการสื่อสารได้ ซึ่งทำให้การเข้ารหัสมีความจำเป็น ยกตัวอย่างเช่น การสื่อสารทางสายหลายครั้งได้เปลี่ยนคำที่พูดกัน ให้เป็นคำที่สั้นลอง ทำให้ข้อมูลเดียวกันสามารถส่งได้โดยใช้จำนวนอักขระที่น้อยลง รวดเร็วขึ้น และประหยัดขึ้น อีกตัวอย่างเช่นการใช้รูปแบบของธงที่ปักอยู่ในประภาคารสูงเพื่อทำให้คนที่อยู่ในสถานที่ห่างไกล สามารถเข้าใจความหมายและตีความได้ ในวิทยาการเข้ารหัสลับ รหัสถูกนำมาใช้ในการสื่อสารที่ต้องการรักษาความลับ อย่างไรก็ตามในปัจจุบันรหัสลับได้ถูกนำมาใช้แทน.

ใหม่!!: ปลากระเบนเฮนไลและรหัส · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลากระเบนหางสั้น

วงศ์ปลากระเบนหางสั้น (Freshwater stingray, River stingray, Short-tail stingray) เป็นปลากระเบนวงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวงศ์ว่า Potamotrygonidae โดยคำว่า "Potamotrygon" เป็นภาษากรีก (Ποταμός; potamos) แปลว่า "แม่น้ำ" และภาษากรีกคำว่า "trygon" แปลว่า "ปลากระเบน" พบกระจายพันธุ์ในทวีปอเมริกาใต้ มีรูปร่างกลมคล้ายจานข้าวหรือแผ่นซีดี หางมีขนาดสั้นเมื่อเทียบกับปลากระเบนในวงศ์อื่น ๆ พบทั้งหมด 4 สกุล ในหลายชนิด (ดูในเนื้อหาข้างล่าง) บางชนิดหางสั้นมากจนดูขัดกับขนาดลำตัว เช่น ชนิด Paratrygon aiereba มีขนาดแตกต่างออกไปตามชนิด ตั้งแต่มีขนาดไม่เกิน 2 ฟุต เช่น ชนิด Potamotrygon hystrix ไปจนถึงขนาดหนึ่งเมตร เช่น P. motoro มีสีสันด้านบนลำตัวและหางสวยงาม บางชนิดมีสีลำตัวเป็นสีดำ และมีลวดลายเป็นลายจุดสีขาว เช่น P. leopoldi หรือ P. henlei ในบางชนิดมีสีพื้นเป็นสีเหลือง และมีลวดลายสีดำทำให้แลดูคล้ายลายเสือ เช่น P. menchacai ทั้งนี้ลวดลายและสีสันแตกต่างออกไปตามแต่ละตัว ซึ่งในบางครั้งขึ้นอยู่กับถิ่นที่อยู่อาศัยด้วย ทำให้ในชนิดเดียวกัน ยังมีหลายสี หลายลวดลาย อีกด้วย สันนิษฐานว่าเป็นไปเพื่อใช้ในการพรางตัวกับให้กลมกลืนกับสภาพพื้นน้ำ บริเวณโคนหางมีเงี่ยงแข็งอยู่ 2 ชิ้น ใช้สำหรับป้องกันตัว ซึ่งเงี่ยงนี้มีพิษและมีฤทธิ์ในการทำลายเนื้อเยื่อของสิ่งที่ถูกแทง เคยมีมนุษย์เสียชีวิตมาแล้วจากการโดนเงี่ยงนี้แทงโดยไม่ระมัดระวังตัว เพราะเสียเลือดมาก โดยชาวพื้นเมืองในอเมริกาใต้เรียกว่า "Chucho de rio" แปลว่า "สุนัขทะเล" โดยปรกติหากินตามพื้นน้ำ ไม่ค่อยขึ้นมาหากินบนผิวน้ำนัก ในพื้นถิ่นถูกใช้เป็นอาหารและตกเป็นเกมกีฬา จากสีสันที่สวยงามและขนาดของลำตัวที่ไม่ใหญ่และหางที่ไม่ยาวเกินไปนัก จึงนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม ซึ่งพบว่า ปลากระเบนในวงศ์นี้สามารถผสมพันธุ์และออกลูกได้ง่ายกว่าปลากระเบนในวงศ์อื่น สามารถผสมพันธุ์และออกลูกในตู้กระจกได้เลย โดยสามารถให้ลูกครั้งละ 4-5 ตัว ถึง 20 ตัว ขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของพ่อแม่ปลาและสายพันธุ์ จึงทำให้ได้รับความนิยมมาก ในบางครั้งมีการผสมข้ามสายพันธุ์เพื่อให้เกิดเป็นสายพันธุ์ใหม่ สีสันและลวดลายใหม่ ที่ไม่สามารถระบุชื่อทางวิทยาศาสตร์ได้ด้วย ซึ่งปลากระเบนในวงศ์นี้เป็นปลาน้ำจืดทั้งหมด แตกต่างไปจากปลากระเบนในวงศ์ปลากระเบนธง ที่พบในน้ำจืดหรือน้ำกร่อยเพียงบางชนิดเท่านั้น และด้วยความที่พบการแพร่กระจายพันธุ์เฉพาะแหล่งน้ำในทวีปอเมริกาใต้เท่านั้น จึงทำให้มีการสันนิษฐานเรื่องธรณีสัณฐานของโลกว่า ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ บริเวณที่เป็นทวีปอเมริกาใต้และแม่น้ำอเมซอนเคยเป็นทะเลมาก่อน ก่อนที่จะมีการเปลี่ยนแปลงทางธรณีวิทยา และปลากระเบนที่เป็นบรรพบุรุษของวงศ์นี้ก็ได้เข้ามาอยู่อาศัย และวิวัฒนาการจนสามารถอยู่ในน้ำจืดสนิทได้.

ใหม่!!: ปลากระเบนเฮนไลและวงศ์ปลากระเบนหางสั้น · ดูเพิ่มเติม »

สกุล (ชีววิทยา)

ในทางชีววิทยา สกุล (อังกฤษ genus) เป็นการจัดกลุ่มเอาสิ่งมีชีวิตสปีชีส์ที่มีลักษณะใกล้เคียงเข้ามารวมกัน ในการตั้งชื่อแบบทวินาม ชื่อสิ่งมีชีวิตประกอบขึ้นจากสองส่วน คือ สกุล ซึ่งต้องขึ้นต้นด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ และ สปีชีส์ ตัวอย่างหนึ่งคือ Homo sapiens เป็นชื่อเรียกมนุษย์ อยู่ในสกุล Homo ชื่อสกุลในอาณาจักรหนึ่งสามารถซ้ำกับชื่อสกุลหรือชื่อในอนุกรมวิธานของอาณาจักรอื่นได้ ตัวอย่างเช่น Anura เป็นชื่อสกุลของพืชในวงศ์ และเป็นชื่ออันดับของกบ Aotus เป็นชื่อสกุลของถั่วและลิง เป็นต้น แต่ชื่อสกุลในอาณาจักรหนึ่ง ๆ ต้องห้ามซ้ำกัน หมวดหมู่:ชีววิทยา หมวดหมู่:การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์.

ใหม่!!: ปลากระเบนเฮนไลและสกุล (ชีววิทยา) · ดูเพิ่มเติม »

สกุลโปตาโมไทรกอน

กุลโปตาโมไทรกอน เป็นปลากระเบนสกุลหนึ่งที่มีจำนวนสมาชิกมากที่สุดในวงศ์ปลากระเบนหางสั้น (Potamotrygonidae) ใช้ชื่อสกุลว่า Potamotrygon (/โป-ตา-โม-ไทร-กอน/) โดยมาจากภาษากรีก (Ποταμός; potamos) แปลว่า "แม่น้ำ" และภาษากรีกคำว่า "trygon" แปลว่า "ปลากระเบน" พบกระจายพันธุ์ในพื้นที่แหล่งน้ำจืดของหลายประเทศในทวีปอเมริกาใต้ อาทิ บราซิล, เปรู, โคลอมเบีย, เวเนซุเอลา, อาร์เจนตินา, เอกวาดอร์, ปารากวัย มีลักษณะทั่วไปเหมือนปลากระเบนสกุลอื่นในวงศ์นี้ คือ ลำตัวเป็นทรงกลมคล้ายจานหรือแผ่นซีดี หางมีขนาดสั้นไม่ยาวเหมือนปลากระเบนในวงศ์ปลากระเบนธง (Dasyatidae) โคนหางมีเงี่ยงที่มีพิษอยู่ 2 ชิ้น และมีหนามแหลมบริเวณโคนหางไปจนถึงเงี่ยง ปลายหางมีแผ่นหนังบาง ๆ เป็นริ้ว ๆ อยู่ มีสีพื้นลำตัวและมีจุดหรือมีลวดลายหลากหลายมาก แตกต่างกันออกไปตามแต่ละชนิด มีความกว้างของลำตัวตั้งแต่ 1 ฟุต ไปจนถึง 1 เมตร หากินตามพื้นท้องน้ำ นาน ๆ ทีจึงจะว่ายขึ้นมาหากินบนผิวน้ำบ้าง ซึ่งอาหารหลักได้แก่ ครัสเตเซียนชนิดต่าง ๆ รวมทั้ง ปลาขนาดเล็กกว่า ปลากระเบนในสกุลนี้นิยมเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงาม เนื่องจากมีความสวยในสีสันและลวดลายซึ่งเป็นเอกลักษณะเฉพาะไม่เหมือนกับปลากระเบนประเภทอื่น อีกทั้งยังสามารถเพาะขยายพันธุ์ในสถานที่เลี้ยงได้อีกด้วย และสามารถผสมข้ามสายพันธุ์ก่อให้เกิดเป็นสายพันธุ์ใหม่ ๆ ได้อีกหลายชน.

ใหม่!!: ปลากระเบนเฮนไลและสกุลโปตาโมไทรกอน · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: ปลากระเบนเฮนไลและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ใหม่!!: ปลากระเบนเฮนไลและสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

สีขาว

ีขาว คือ โทนสี หรือ การรับรู้ที่เกิดจากแสงไปกระตุ้นเซลล์สีรูปกรวยทั้ง 3 แบบในดวงตาของมนุษย์ในปริมาณที่เกือบจะเท่ากันและมีความสว่างสูงสุดเมื่อเทียบกับสิ่งแวดล้อมรอบข้าง สีขาว เป็นสีที่เกิดจากการรวมความเข้มของแสงสเปกตรัมที่มองเห็นได้ เป็นสีที่เต็มไปด้วยความสว่าง แต่ไม่มีสีสัน แหล่งกำเนิดของแสงสีขาวมีอยู่หลายแหล่ง เช่น ดวงอาทิตย์ในเวลากลางวัน, หลอดไฟแบบไส้, หลอดไฟแบบฟลูออเรสเซนท์ และหลอด LED สีขาว สีขาวยังมีความพิเศษอยู่อีกอย่างหนึ่ง ก็คือ เป็นสีที่เกิดจากการผสมกันระหว่างแสงสีปฐมภูมิ ซึ่งได้แก่ สีแดง, เขียว และน้ำเงิน (RGB) โดยเรียกกระบวนการนี้ว่า การผสมแสงสี (additive mixing) ซึ่งพบได้ทั่วไปในเทคโนโลยีการแสดงผล แสงสีขาวที่สะท้อนออกมาจากวัตถุจะสามารถมองเห็นได้ก็ต่อเมื่อไม่มีสเปกตรัมของแสงส่วนไหนที่สะท้อนมากกว่าส่วนอื่นๆและวัตถุที่สะท้อนแสงนั้นมีมุมตกกระทบที่เหมาะสมที่จะทำให้เกิดการกระจัดกระจายของแสง (diffusion) ได้.

ใหม่!!: ปลากระเบนเฮนไลและสีขาว · ดูเพิ่มเติม »

สีดำ

ีดำ เป็นสีของวัตถุที่ไม่สะท้อนแสงที่สเปกตรัมสะท้อนออกมา วัตถุสีดำจะดูดกลืนทุกสีในสเปกตรัม จึงไม่สะท้อนสีใด ๆ ออกมาเลย หลายคนคิดว่าสีดำคือ "การผสมทุกสีเข้าด้วยกัน" แต่ความเป็นจริงแล้ว สีที่สามารถสะท้อนแสงคืนได้หมดทุกสีคือ สีขาว บางครั้งสีดำบ่งบอกถึงความว่างเปล่า และไม่มีสีสัน แต่สีดำเป็นสีสีหนึ่ง สามารถบ่งบอกคุณลักษณ์ต่างๆ ของวัตถุ เช่น แมวสีดำ หรือภาพศิลป์สีดำ.

ใหม่!!: ปลากระเบนเฮนไลและสีดำ · ดูเพิ่มเติม »

สีน้ำตาล

ีน้ำตาล (Brown) เป็นสีชนิดหนึ่งที่คล้ายกับสีของลำต้นของต้นไม้ ออกสีส้มแก่ๆ ผสมกับสีเขียวไปด้วย พบเห็นได้ทั่วไป เช่น กิ่งและลำต้นของต้นไม้ เป็นต้น เป็นสีที่ไม่ค่อยจะสะท้อนแสงเท่าไรนัก จัดอยู่ในกลุ่มจำพวกสีเย็น.

ใหม่!!: ปลากระเบนเฮนไลและสีน้ำตาล · ดูเพิ่มเติม »

สีเหลือง

ีเหลือง เป็น 1 ใน 3 แม่สี ร่วมกับสีแดง และสีน้ำเงิน โดยปกติสีจะมีอยู่สองโทน คือ สีโทนร้อน และ สีโทนเย็น แต่สีเหลืองเป็นสีที่อยู่ตรงกลางระหว่าง สีโทนร้อน และ สีโทนเย็น จึงสามารถเลือกใช้สีเหลืองเข้าไปผสมผสานได้กับสีทั้งสองโทน ซึ่งนอกจากสีเหลืองแล้วยังมีสีม่วงอีกสีหนึ่งที่มีลักษณะดังกล่าว.

ใหม่!!: ปลากระเบนเฮนไลและสีเหลือง · ดูเพิ่มเติม »

สีเทา

ีเทา เป็นสีที่อยู่ระหว่างสีขาวและสีดำซึ่งเป็นสีที่ไม่มีสีสัน สีเทาในภาษาอังกฤษสะกดได้สองอย่างคือ grey (อังกฤษบริเตน) และ gray (อังกฤษอเมริกัน) ไทยสมัยโบราณมีคำเรียก "สีเหล็ก" หมายถึงสีเทาออกดำ.

ใหม่!!: ปลากระเบนเฮนไลและสีเทา · ดูเพิ่มเติม »

สปีชีส์

ในวิชาชีววิทยา ชนิด หรือทับศัพท์ว่า สปีชีส์ (species, ย่อ: sp., รูปพหูพจน์ย่อ: spp.) เป็นหน่วยการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานและอันดับอนุกรมวิธานหนึ่ง มักนิยามว่า สปีชีส์เป็นกลุ่มอินทรีย์ใหญ่สุดที่สามารถสืบพันธุ์แล้วออกลูกที่สืบพันธุ์ได้ การมีลักษณะปรับตัวเฉพาะบางท้องถิ่นอาจแบ่งสปีชีส์ต่ออีกได้เป็น "ชื่อต่ำกว่าระดับชนิด" (infraspecific taxa) เช่น ชนิดย่อย (ในทางพฤกษศาสตร์ มีใช้คำอื่น เช่น พันธุ์ (variety) พันธุ์ย่อยและแบบ (forma)).

ใหม่!!: ปลากระเบนเฮนไลและสปีชีส์ · ดูเพิ่มเติม »

อันดับปลากระเบน

อันดับปลากระเบน (อันดับ: Myliobatiformes) เป็นอันดับของปลากระดูกอ่อนกลุ่มหนึ่ง ในอันดับใหญ่ Batoidea ถือเป็น 1 ใน 4 อันดับในอันดับใหญ่นี้ ซึ่งปลาที่อยู่ในอันดับนี้ มีรูปร่างโดยรวม คือ มีทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ พบทั้งในทะเล, น้ำกร่อย และน้ำจืด ลำตัวแบนลงมาก ครีบอกแผ่ออกด้านข้าง มีเหงือกประมาณ 5 คู่ อยู่ด้านล่างของส่วนหัว บริเวณถัดจากส่วนท้ายของนัยน์ตามีรูเปิดข้างละช่อง มีส่วนหางที่ยื่นยาวเหมือนแส้ในบางวงศ์ หรือ บางวงศ์มีครีบที่แผ่ออกไปด้านข้างลำตัวเหมือนปีกของนกหรือผีเสื้อ ทำให้ว่ายน้ำได้เหมือนการโบยบินของนก บางสกุลหรือบางวงศ์มีหางที่สั้น ลำตัวแบนกลมเหมือนจานข้าวหรือแผ่นซีดี โดยมากเป็นปลาที่หากินตามหน้าดิน โดย อาหารหลักได้แก่ ครัสเตเชียนและหอยชนิดต่าง ๆ ในบางวงศ์เท่านั้น ที่หากินในระดับใกล้ผิวน้ำและกินอาหารเป็นแพลงก์ตอนด้วยการกรองเข้าปาก.

ใหม่!!: ปลากระเบนเฮนไลและอันดับปลากระเบน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศบราซิล

ราซิล (Brazil; Brasil) หรือชื่อทางการว่า สหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล (Federal Republic of Brazil; República Federativa do Brasil) เป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดและมีประชากรมากที่สุดในทวีปอเมริกาใต้ และเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับที่ 5 ของโลก มีพื้นที่กว้างขวางระหว่างตอนกลางของทวีปอเมริกาใต้และ มหาสมุทรแอตแลนติก มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศอุรุกวัย อาร์เจนตินา ปารากวัย โบลิเวีย เปรู โคลอมเบีย เวเนซุเอลา กายอานา ซูรินาม และแคว้นเฟรนช์เกียนาของฝรั่งเศส (ติดกับทุกประเทศในทวีปอเมริกาใต้ ยกเว้นเอกวาดอร์และชิลี) ชื่อ "บราซิล" มาจากต้นไม้ชนิดหนึ่งที่มีชื่อว่า บราซิลวูด (Pau-Brasil ในภาษาโปรตุเกส) ซึ่งนำไปใช้ย้อมผ้าด้วยสีแดงจากเปลือกไม้ของมัน บราซิลเป็นดินแดนแห่งเกษตรกรรมและป่าเขตร้อน การที่บราซิลมีทรัพยากรธรรมชาติที่มากมายและมีแรงงานเป็นจำนวนมาก ทำให้เป็นประเทศที่มีผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) สูงที่สุดในทวีปอเมริกาใต้ (สูงเป็นอันดับที่ 10 ของโลก) และเป็นผู้นำทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาคในปัจจุบัน บราซิลใช้ภาษาโปรตุเกสเป็นภาษาทางการ.

ใหม่!!: ปลากระเบนเฮนไลและประเทศบราซิล · ดูเพิ่มเติม »

ปลากระดูกอ่อน

ปลากระดูกอ่อน (ชั้น: Chondrichthyes; Cartilaginous fish) เป็นชั้นของปลาจำพวกหนึ่ง ซึ่งมีโครงสร้างกระดูกประกอบไปด้วยเซลล์กระดูกอ่อนอย่างเดียว โดยมีหินปูนมาประกอบเป็นบางส่วน ส่วนมากมีเหงือกแยกออกเป็นช่อง 5 ช่อง มีเกล็ดแบบพลาคอยด์ ที่จะไม่โตไปตามตัว มีลักษณะสากเมื่อสัมผัส ตัวผู้มีรยางค์เพศที่ครีบท้องเป็นติ่งยื่นเรียก แคลสเปอร์ หรือที่ในภาษาไทยเรียก เดือย โดยมากจะออกลูกเป็นตัว ขากรรไกรแยกออกจากกะโหลก ปลาจำพวกนี้พบทั่วโลกประมาณ 800 ชนิด เป็นปลากินเนื้อ ส่วนมากเป็นปลาทะเล ในน้ำจืดมีเพียงไม่กี่สิบชนิด มีหลายอันดับ หลายวงศ์ หลายสกุล โดยปลาในกลุ่มปลากระดูกอ่อนนี้ที่รู้จักกันดี ก็ได้แก่ ปลาฉลาม, ปลากระเบน, ปลาฉนาก, ปลาโรนัน เป็นต้น ปลากระดูกอ่อนส่วนใหญ่มีรูปร่างเรียวยาว ยกเว้น ปลากระเบน ที่มีรูปร่างแบน ส่วนใหญ่อยู่ในทะเล พบในน้ำจืดเพียงไม่กี่ชนิด เช่น ปลากระเบนน้ำจืด มีขนาดแตกต่างกันตามแต่ละสกุล แต่ละชนิด ตั้งแต่มีความยาวเพียงไม่ถึงหนึ่งฟุต จนถึง 20 เมตร หนักถึง 34 ตัน คือ ปลาฉลามวาฬ (Rhincodon typus) ซึ่งเป็นปลาที่ใหญ่ที่สุดในโลก.

ใหม่!!: ปลากระเบนเฮนไลและปลากระดูกอ่อน · ดูเพิ่มเติม »

ปลากระเบน

ปลากระเบน คือ ปลากระดูกอ่อนจำพวกหนึ่งที่อยู่ในชั้นย่อยอีลาสโมแบรนชิไอ (Elasmobranchii) ในอันดับใหญ่ที่ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Batoidea หรือ Rajomorphii มีประมาณ 400 ชนิด พบได้ทั้งน้ำจืดสนิท, น้ำกร่อย และทะเล มีรูปร่างแบนราบ ครีบทั้งหมดอยู่ชิดติดกับลำตัวด้านข้าง มีท่อน้ำออก 1 คู่ อยู่ด้านหลังของหัว ซึ่งทำหน้าที่ให้น้ำผ่านเข้าทางเพื่อไหลเวียนผ่านเหงือกเพื่อการหายใจ ซึ่งจะไม่ไหลเวียนผ่านปากซึ่งอยู่ด้านล่างลำตัว เหมือนปลากระดูกอ่อนหรือปลากระดูกแข็งจำพวกอื่น หากินบริเวณพื้นน้ำ ในปากไม่มีฟันแหลมคมเหมือนปลาฉลาม ดังนั้นการกินอาหารจึงค่อยเป็นค่อยไป ด้วยการเคี้ยวอย่างช้า ๆ ซึ่งอาหารส่วนมากก็ได้แก่ หอย, กุ้ง, ปู หรือปลาขนาดเล็กตามพื้นน้ำ เป็นส่วนใหญ่ แบ่งออกได้เป็น 4 อันดับ (ดูในตาราง) ซึ่งก็แบ่งออกได้เป็นหลายวงศ์, หลายสกุล ขนาดแตกต่างหลากหลายไปตามสกุลและชนิด กระจายไปตามเขตอบอุ่นทั่วโลก เช่น วงศ์ปลากระเบนธง (Dasyatidae) รูปร่างค่อนข้างกลม จะงอยปากแหลม หางยาวคล้ายแส้ มีเงี่ยงแหลมคม ที่มีพิษบริเวณโคนหาง 1-2 ชิ้น ที่เมื่อหักไปแล้วสามารถงอกใหม่ได้, วงศ์ปลากระเบนนก (Myliobatidae) มีส่วนหัวโหนก ครีบด้านข้างแยกออกจากส่วนหัวเห็นได้ชัดเจน และครีบขยายออกด้านข้างเสมือนกับปีกของนก ปลายแหลม ใช้สำหรับว่ายน้ำในลักษณะโบกโบยเหมือนนกบินในทะเล ส่วนปลากระเบนไฟฟ้า พบเฉพาะในทะเล มีขนาดเล็ก มีรูปร่างต่างไปจากปลากระเบนจำพวกอื่น ๆ ที่โคนหางไม่มีเงี่ยง และสามารถผลิตไฟฟ้าเพื่อป้องกันตัวและล่าเหยื่อได้ด้วย ปลากระเบน เป็นปลาที่มนุษย์ผูกพันมาตั้งแต่อดีต ด้วยการใช้เนื้อในการรับประทาน สามารถนำไปปรุงเป็นอาหารต่าง ๆ เช่น ผัดเผ็ด, ผัดขี้เมา หรือผัดฉ่า เช่นเดียวกับปลาฉลามได้ ในปลากระเบนบางวงศ์ เช่น วงศ์ปลากระเบนหางสั้น (Potamotrygonidae) มีลำตัวกลมเหมือนจานข้าวหรือแผ่นซีดี จะงอยปากไม่แหลม มีส่วนหางที่สั้น มีถิ่นกำเนิดเฉพาะในแม่น้ำของทวีปอเมริกาใต้ มีสีสันและลวดลายตามลำตัวสวยงาม และสามารถแพร่ขยายพันธุ์ในที่เลี้ยงได้ง่าย จึงนิยมเลี้ยงและเพาะขยายพันธุ์กันเป็นปลาสวยงาม นอกจากนี้แล้ว ปลากระเบนส่วนมากจะมีเกล็ดเป็นตุ่มแข็งบริเวณกลางหลัง ซึ่งสามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่าง ๆ เช่น ผลิตเป็นเครื่องหนัง เช่น กระเป๋า ได้ นอกจากนี้แล้วยังนำไปทำเป็นเครื่องประดับเช่น แหวน เป็นต้น.

ใหม่!!: ปลากระเบนเฮนไลและปลากระเบน · ดูเพิ่มเติม »

ปลากระเบนโปลกาด๊อท

ปลากระเบนโปลกาด๊อท (Xingu river ray) เป็นปลากระเบนน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Potamotrygon leopoldi ในวงศ์ปลากระเบนหางสั้น (Potamotrygonidae) มีลำตัวรูปร่างทรงกลม พื้นลำตัวสีดำสนิท มีจุดกลมสีขาวกระจายไปทั่วลำตัวด้านบน ด้านล่างสีขาว ปลายหางมีริ้วหนังบาง ๆ ซึ่งจุดกลมเหล่านี้มีจำนวนและขนาดแตกต่างกันออกไปในปลาแต่ละตัว มีขนาดลำตัวโตเต็มที่ราว 43 เซนติเมตร พบอาศัยอยู่เฉพาะแม่น้ำซิงกู ซึ่งเป็นสาขาของแม่น้ำอเมซอน ในประเทศบราซิลเท่านั้น ได้รับความนิยมในฐานะเป็นปลาสวยงาม โดยมีรหัสทางการค้าว่า P13 ซึ่งผู้เลี้ยงมักนิยมเลี้ยงในบ่อขนาดใหญ่และเลี้ยงรวมกันหลายตัว และสามารถผสมพันธุ์กันออกลูกในที่เลี้ยงได้ อายุเมื่อปลาพร้อมที่จะผสมพันธุ์คือ 5 ปี และยังสามารถผสมข้ามสายพันธุ์กับปลากระเบนชนิดอื่นในสกุลเดียวกันได้ด้วย เช่น ปลากระเบนโมโตโร่ (P. motoro) ทำให้เกิดลูกปลาสายพันธุ์ใหม่ที่จะได้จุดและสีสันลำตัวแปลกออกไป ส่วนสถานะปลาในธรรมชาตินั้นใกล้สูญพันธุ์แล้ว เนื่องจากสูญเสียที่อยู่อาศัย สำหรับในวงการปลาสวยงาม ปลาในตัวที่มีจุดสีขาวมากกว่าปกติ โดยมีจุดรอบขอบครีบถึง 3 แถว เรียกว่า "แบล็คไดมอนด์" เป็นปลาที่ในธรรมชาติ จะพบได้ที่แม่น้ำเซาเฟลิก ในเขตประเทศบราซิล มีราคาซื้อขายแพงกว่าปลากระเบนโปลกาด็อทธรรมดามาก.

ใหม่!!: ปลากระเบนเฮนไลและปลากระเบนโปลกาด๊อท · ดูเพิ่มเติม »

น้ำจืด

น้ำจืดในลำธาร น้ำจืด หมายถึงน้ำในแหล่งน้ำทั่วไปอาทิ บ่อน้ำ ทะเลสาบ แม่น้ำ ลำธาร เป็นต้น ที่ซึ่งมีเกลือและของแข็งอื่นละลายอยู่ในระดับต่ำ มีความหนาแน่นน้อย นั่นคือน้ำจืดไม่ได้เป็นน้ำเค็มและน้ำกร่อย น้ำจืดสามารถเป็นผลผลิตของน้ำทะเลที่เอาเกลือออกแล้วได้ น้ำจืดเป็นทรัพยากรหมุนเวียนที่สำคัญต่อสิ่งมีชีวิตบนบกเป็นส่วนใหญ่ และเป็นที่จำเป็นต่อมนุษย์สำหรับน้ำดื่ม และใช้ในเกษตรกรรม เป็นต้น องค์การสหประชาชาติได้คาดการณ์ไว้ว่า ประชากรโลกประมาณร้อยละ 18 ขาดแคลนน้ำดื่มที่ปลอดภั.

ใหม่!!: ปลากระเบนเฮนไลและน้ำจืด · ดูเพิ่มเติม »

เมตร

มตร อักษรย่อ ม. (mètre → metre meter The Metric Conversion Act of 1975 gives the Secretary of Commerce of the US the responsibility of interpreting or modifying the SI for use in the US., m) เป็นหน่วยฐานเอสไอของความยาวในหน่วยเอสไอ แต่เดิมนิยามว่าหนึ่งเมตรเท่ากับ 1/10,000,000 ของระยะทางจากเส้นศูนย์สูตรของโลกไปยังขั้วโลกเหนือวัดจากเส้นรอบวงที่ผ่านเมืองปารีส แต่เนื่องจากความแม่นยำทางมาตรวิทยา ที่มีมากขึ้น ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2526 ความยาวหนึ่งเมตรจึงถูกนิยามไว้ให้เท่ากับความยาวที่แสงเดินทางได้ในสุญญากาศ ในช่วงเวลา วินาที.

ใหม่!!: ปลากระเบนเฮนไลและเมตร · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Potamotrygon henleiTrygon henleiปลากระเบนโปลกาด๊อทจุดเหลือง

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »