เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

ประเพณีรับบัว

ดัชนี ประเพณีรับบัว

ประเพณีรับบัว วัดบางพลีใหญ่ใน เป็นประเพณีประจำท้องถิ่นของชาวอำเภอบางพลีจังหวัดสมุทรปราการ เป็นประเพณีเก่าแก่ที่สืบทอดมาแต่โบราณ โดยมิได้ปรากฏหลักฐานว่ามีมาแต่ยุคใดสมัยใด ทั้ง ๓ พวกก็ปรึกษาหารือกันว่าสมควรจะช่วยกันหักล้างถางพงให้กว้างขวางยิ่งขึ้นเพื่อทำไร่ทำสวนต่อไป บริเวณนี้แต่ก่อนเต็มไปด้วยป่าพงอ้อ พงแขมและไม้นานาชนิดขึ้นเต็มไปหมด ฝั่งทางตอนใต้ของลำคลองสำโรงก็เต็มไปด้วยป่าแสม น้ำก็เป็นน้ำเค็ม ซึ่งเต็มไปด้วยอันตรายจากสัตว์ร้ายนานาชนิดทางฝั่งตอนเหนือก็เต็มไปด้วยบึงขนาดใหญ่ ภายในบึงแต่ละบึงก็อุดมสมบูรณ์ไปด้วยบัวหลวงมากมาย พวกคนไทย รามัญและลาว ก็พยายามหักล้างถางพงเรื่อยมาจนถึงทางแยก ๓ ทางคือ ทาง ทิศตะวันตกเฉียงเหนือเป็นคลองสลุด ทางเหนือเป็นคลองชวดลากข้าว และทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือเป็นคลองลาดกระบัง คนทั้ง ๓ พวกก็ตกลงกันว่าควรจะแยกย้ายกันทำมาหากินคนละทางจะดีกว่าเพื่อที่จะได้รู้ภูมิประเทศว่าด้านไหนจะทำมาหากินได้คล่องดีกว่ากัน เมื่อตกลงดังนั้นแล้วจึงแยกทางกันไปทำมาหากิน โดยพวกลาวไปทางคลองสลุด ไทยไปทางคลองชวดลากข้าว พวกรามัญไปทางคลองลาดกระบัง พวกรามัญทำมาหากินอยู่ประมาณ ๒-๓ ปี ก็ไม่ได้ผลเพราะนก หนู ชุกชุมรบกวนพืชผลต่างๆจนเสียหายมากมาย เมื่อทำมาหากินไม่ได้ผลพวกรามัญก็ปรึกษาเตรียมตัวอพยพกลับถิ่นเดิมที่ปากลัด (พระประแดง) เริ่มอพยพกันในตอนเช้ามืดของเดือน ๑๑ ขึ้น ๑๔ ค่ำ ก่อนไปก็ได้ไปเก็บดอกบัวในบึงบริเวณนี้มากมาย คนไทยที่คุ้นเคยกับ พวกรามัญก็ไต่ถามว่าเก็บดอกบัวไปทำไมมากมายเพียงนี้พวกรามัญก็บอกว่าจะเอาไปบูชาพระคาถาพัน (เทศน์มหาชาติ) ที่ปากลัด และได้สั่งเสียกับคนไทยที่รักและสนิทสนมชิดชอบว่าในปีต่อมาเมื่อถึงเดือน ๑๑ ขึ้น ๑๔ ค่ำ ให้ช่วยเก็บดอกบัวรวบรวมไว้ที่วัดหลวงพ่อโตนี้ด้วยพวกตนจะมารับ ด้วยนิสัยคนไทยนั้นชอบโอบอ้อมอารีรักพวกพ้องจึงตอบตกลง จากนั้นพวกชาวรามัญก็นมัสการหลวงพ่อโตพร้อมทั้งขอน้ำมนต์หลวงพ่อโตไปเพื่อเป็นศิริมงคลและลากลับถิ่นฐานเดิมที่ปากลัดและนำดอกบัวไปบูชาพระคาถาพัน ปีต่อมาพอถึงกำหนดเดือน ๑๑ ขึ้น ๑๔ ค่ำ คนไทยบางพลีก็รวบรวมดอกบัวไว้ที่วัดบางพลีใหญ่ตามคำขอร้องของชาวรามัญ พวกชาวรามัญก็จะมารับดอกบัวทุกปี การมาจะมาในเวลากลางคืน มาโดยเรือขนาดจุ ๕๐-๖๐ คน จะมาถึงวัดประมาณตี ๑-๔ ของทุกครั้งที่มาและมีการตีฆ้องร้องเพลงตลอดทางอย่างสนุกสนาน พร้อมทั้งมีการละเล่นต่างๆในเรือ ผู้ที่คอยต้อนรับก็พลอยสนุกสนานไปด้วยไมตรีจิตอันดียิ่ง คนไทยได้ทำอาหารคาวหวานต่างๆเลี้ยงรับรองโดยใช้ศาลาวัดเป็นที่เลี้ยงอาหารกันเมื่ออิ่มหนำสำราญแล้วก็นำดอกบัวไปมนัสการหลวงพ่อโต จากนั้นก็นำดอกบัวกลับไปบูชาพระคาถาพันที่ปากลัด ประการที่สอง ชาวรามัญที่ปากลัด (พระประแดง) มาทำนาอยู่ที่อำเภอบางพลี (ตำบลบางแก้ว) ซึ่งมีเรื่องเล่ากันว่าเป็นชาวรามัญที่อพยพเข้ามาในประเทศไทย พร้อมกับเจ้าพระยามหาโยธา (เจ่ง คชเสนี) ในสมัยกรุงธนบุรี การอพยพของชาวรามัญครั้งนี้เนื่องจากพระเจ้ามังระ คิดจะมาตีกรุงธนบุรี จึงเกณฑ์พวกรามัญซึ่งเป็นเมืองขึ้นของพม่ามาช่วยรบ ชาวรามัญนั้นได้รับการกดขี่ข่มเหงจิตใจถูกฆ่าลูกเมีย ชาวรามัญจึงกบฏต่อพม่าโดยรวมตัวกันไปตีพม่าแต่สู้พม่าไม่ได้ ก็หนีมาพึ่งพระบรมโพธิสมภารบารมีต่อพระเจ้าตากสินมหาราชและได้นำเอาปี่พาทย์มอญเข้ามาด้วยเมื่อปี..

สารบัญ

  1. 8 ความสัมพันธ์: วัดบางพลีใหญ่ในหลวงพ่อโตอำเภอบางพลีจังหวัดพระประแดงจังหวัดสมุทรปราการคลองสำโรงประเพณีเจ้าพระยามหาโยธา (เจ่ง คชเสนี)

วัดบางพลีใหญ่ใน

วัดบางพลีใหญ่ในเป็นชื่อของวัดพระอารามหลวงชั้นตรีที่มีประวัติความเป็นมาอันยาวนานและมีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ เพราะเป็นวัดที่ใช้ประดิษฐานหลวงพ่อโตซึ่งเป็นพระพุทธรูปสมัยสุโขทัย ปางมารวิชัยและเป็นหนึ่งในพระสามพี่น้อง วัดแห่งนี้เดิมมีชื่อว่า วัดพลับพลาชัยชนะสงคราม ภาพบรรยากาศในโบสถ์หลวงพ่อโต (ส่วนที่เห็นตรงขวามือเป็นภาพชาวพุทธคนหนึ่งกำลังปิดทองคำเปลวหลวงพ่อบ้านแหลมจำลอง).

ดู ประเพณีรับบัวและวัดบางพลีใหญ่ใน

หลวงพ่อโต

หลวงพ่อโต อาจหมายถึง.

ดู ประเพณีรับบัวและหลวงพ่อโต

อำเภอบางพลี

งพลี เป็นอำเภอที่มีพื้นที่มากที่สุดในจังหวัดสมุทรปราการ เป็นที่ตั้งของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ที่ตั้งของโครงการสร้างศูนย์ที่พักอาศัยสำหรับผู้สูงอายุแบบครบวงจร และเป็นที่ตั้งของสถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดลทางเข้าวัดบัวโร.

ดู ประเพณีรับบัวและอำเภอบางพลี

จังหวัดพระประแดง

ังหวัดพระประแดง เป็นจังหวัดของประเทศไทยในอดีต ประกอบด้วยอำเภอพระประแดง, อำเภอบ้านทะวาย (ยานนาวา) อำเภอพระโขนง และอำเภอราษฎร์บูรณะ ถูกยุบรวมเข้ากับจังหวัดสมุทรปราการ, จังหวัดพระนคร และจังหวัดธนบุรี หากจังหวัดพระประแดงยังคงอยู่ในปัจจุบัน จะประกอบด้วยอำเภอดังนี้ ซึ่งอยู่ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร 205.38 ตร.กม.

ดู ประเพณีรับบัวและจังหวัดพระประแดง

จังหวัดสมุทรปราการ

ังหวัดสมุทรปราการ เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลางของประเทศไทย และยังเป็นจังหวัดในเขตปริมณฑลของกรุงเทพมหานคร จัดตั้งขึ้นครั้งล่าสุดโดย พระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดนนทบุรี จังหวัดสมุทรสาคร และจังหวัดนครนายก พุทธศักราช 2489 ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ.

ดู ประเพณีรับบัวและจังหวัดสมุทรปราการ

คลองสำโรง

ลองสำโรง (ช่วงที่ผ่านวัดบางพลีใหญ่ใน) คลองสำโรง เป็นคลองที่สำคัญของจังหวัดสมุทรปราการ และจังหวัดฉะเชิงเทรา เริ่มจากแม่น้ำเจ้าพระยา ตำบลสำโรง และตำบลสำโรงกลาง (เทศบาลเมืองสำโรงใต้) อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ผ่านพื้นที่อำเภอเมืองสมุทรปราการ อำเภอบางพลี อำเภอบางเสาธง อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ และบรรจบแม่น้ำบางปะกง ตำบลท่าสะอ้าน อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา สันนิษฐานว่าเป็นคลองที่ขุดขึ้นในสมัยขอมเรืองอำนาจ ระหว่าง..

ดู ประเพณีรับบัวและคลองสำโรง

ประเพณี

ประเพณี (Tradition) เป็นกิจกรรมที่มีการปฏิบัติสืบเนื่องกันมา เป็นเอกลักษณ์และมีความสำคัญต่อสังคม เช่น การแต่งกาย ภาษา วัฒนธรรม ศาสนา ศิลปกรรม กฎหมาย คุณธรรม ความเชื่อ ฯลฯ อันเป็นบ่อเกิดของวัฒนธรรมของสังคมเชื้อชาติต่างๆ กลายเป็นประเพณีประจำชาติและถ่ายทอดกันมาโดยลำดับ หากประเพณีนั้นดีอยู่แล้วก็รักษาไว้เป็นวัฒนธรรมประจำชาติ หากไม่ดีก็แก้ไขเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเท.

ดู ประเพณีรับบัวและประเพณี

เจ้าพระยามหาโยธา (เจ่ง คชเสนี)

้าพระยามหาโยธานราธิบดีศรีพิชัยณรงค์ (เจ่ง คชเสนี) เป็นชาวมอญ เกิดในเมืองมอญราวปี..

ดู ประเพณีรับบัวและเจ้าพระยามหาโยธา (เจ่ง คชเสนี)