เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

ปฏิบัติการทันเนนแบร์ก

ดัชนี ปฏิบัติการทันเนนแบร์ก

ปฏิบัติการทันเนนแบร์ก (Unternehmen Tannenberg) เป็นรหัสนามของหนึ่งในการปฏิบัติการสังหารหมู่โดยนาซีเยอรมนีที่ได้ถูกนำไปใช้ในชาติโปแลนด์ในช่วงการเปิดฉากของสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรป เป็นส่วนหนึ่งของเจเนรัลพลันโอสท์ (Generalplan Ost) สำหรับการตั้งรกรากทางตะวันออกของเยอรมัน การยิงเป้าได้ถูกดำเนินการด้วยการใช้รายชื่อในการเนรเทศ (Sonderfahndungsbuch Polen) รวบรวมโดยตำรวจลับ เกสตาโปในช่วงสองปีก่อนการโจมตีในปี ค.ศ.

สารบัญ

  1. 9 ความสัมพันธ์: ชาวโปแลนด์การบุกครองโปแลนด์การยึดครองโปแลนด์ (ค.ศ. 1939–1945)การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์สงครามโลกครั้งที่สองนาซีเยอรมนีไอน์ซัทซกรุพเพนเกสตาโพเจเนรัลพลันโอสท์

  2. การทัพโปแลนด์
  3. ประเทศเยอรมนีในปี พ.ศ. 2482

ชาวโปแลนด์

วโปแลนด์ หรือ ชาวโปล(Polacy เอกพจน์ Polak, Polish people หรือ Poles) ชาวโปลเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ในกลุ่มชนสลาฟตะวันตกที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในปัจจุบันคือโปแลนด์ ชาวโปแลนด์บางครั้งก็จะได้รับการบรรยายว่าเป็นผู้ที่มีวัฒนธรรมโปแลนด์ร่วมกัน และสืบเชื้อสายโปแลนด์ ศาสนาส่วนใหญ่เป็นโรมันคาทอลิก ชาวโปแลนด์อาจจะมหาหมายถึงทั้งผู้ที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในโปแลนด์เองที่มีเชื้อสายโปแลนด์หรือชาติพันธุ์อื่น นอกจากนั้นก็ยังมีกลุ่มชนชาวโปแลนด์พลัดถิ่น (Polonia) ที่ไปตั้งหลักแหล่งทั่วไปในยุโรปตะวันตก ยุโรปตะวันออก ทวีปอเมริกา และออสเตรลี.

ดู ปฏิบัติการทันเนนแบร์กและชาวโปแลนด์

การบุกครองโปแลนด์

การบุกครองโปแลนด์ หรือเรียกการทัพกันยายน (Kampania wrześniowa) หรือสงครามตั้งรับปี 1939 (Wojna obronna 1939 roku) ในโปแลนด์ และ การทัพโปแลนด์ (Polenfeldzug) หรือ ฟัลล์ไวสส์ (Fall Weiss) ในเยอรมนี เป็นการบุกครองโปแลนด์ร่วมโดยเยอรมนี สหภาพโซเวียตและสโลวาเกียซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรป การบุกครองของเยอรมนีเริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 1 กันยายน 1939 หนึ่งสัปดาห์ให้หลังการลงนามสนธิสัญญาโมโลตอฟ-ริบเบนทรอพ ขณะที่การบุกครองของโซเวียตเริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 17 กันยายน 1939 หลังความตกลงโมโลตอฟ-โตโก ซึ่งยุติความเป็นปรปักษ์ระหว่างสหภาพโซเวียตและญี่ปุ่นในภาคตะวันออกเมื่อวันที่ 16 กันยายน การทัพดังกล่าวสิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 6 ตุลาคมด้วยเยอรมนีและสหภาพโซเวียตแบ่งแยกและผนวกโปแลนด์ทั้งประเทศตามเงื่อนไขของสนธิสัญญาเขตแดนเยอรมนี–โซเวียต กำลังเยอรมนีบุกครองโปแลนด์จากทิศเหนือ ใต้ และตะวันตกในเช้าหลังเกิดกรณีกลิวิซ ขณะที่เวร์มัคท์รุกคืบ กำลังโปแลนด์ถอนจากฐานปฏิบัติการส่วนหน้าติดกับพรมแดนโปแลนด์–เยอรมนีไปแนวป้องกันที่จัดตั้งดีกว่าทางตะวันออก หลังโปแลนด์แพ้ยุทธการที่บึซราเมื่อกลางเดือนกันยายน ทำให้เยอรมนีได้เปรียบแน่นอน จากนั้นกำลังโปแลนด์ถอนตัวไปทางตะวันออกเฉียงใต้ ที่ซึ่งพวกเขาเตรียมการป้องกันระยะยาวที่หัวสะพานโรมาเนียและคอยการสนับสนุนและการช่วยเหลือที่คาดจากฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักร ทั้งสองประเทศมีสนธิสัญญากับโปแลนด์และประกาศสงครามกับเยอรมนีเมื่อวันที่ 3 กันยายน แต่สุดท้ายแล้วทั้งสองช่วยเหลือโปแลนด์แต่เพียงเล็กน้อย การบุกครองโปแลนด์ตะวันออกของกองทัพแดงโซเวียตเมื่อวันที่ 17 กันยายนตามพิธีสารลับในสนธิสัญญาโมโลตอฟ-ริบเบนทรอพ ทำให้แผนการตั้งรับของโปแลนด์ต้องเลิกไป เมื่อเผชิญกับแนวรบที่สอง รัฐบาลโปแลนด์สรุปว่าการป้องกันหัวสะพานโรมาเนียเป็นไปไม่ได้อีกต่อไปและสั่งอพยพกำลังพลฉุกเฉินทั้งหมดไปยังประเทศโรมาเนียที่เป็นกลาง วันที่ 6 ตุลาคม หลังโปแลนด์ปราชัยที่ยุทธการที่ค็อก (Kock) กำลังเยอรมนีและโซเวียตก็ควบคุมโปแลนด์อย่างสมบูรณ์ ความสำเร็จของการบุกครองนี้เป็นจุดสิ้นสุดของสาธารณรัฐโปแลนด์ที่สอง แม้โปแลนด์จะไม่เคยยอมจำนนอย่างเป็นทางการก็ตาม วันที่ 8 ตุลาคม หลังสมัยการบริหารทหารทหารช่วงต้น เยอรมนีได้ผนวกโปแลนด์ตะวันตกและอดีตนครเสรีดันซิกโดยตรง และกำหนดให้ดินแดนส่วนที่เหลืออยู่ภายใต้การบริหารของรัฐบาลทั่วไป (General Government) สหภาพโซเวียตรวมพื้นที่ที่เพิ่งได้มาเข้ากับสาธารณรัฐองค์ประกอบเบลารุสและยูเครนของตน และเริ่มการรณรงค์ปลูกฝังความเป็นโซเวียตทันที หลังการบุกครองดังกล่าว องค์การขัดขืนใต้ดินหลายกลุ่มได้ตั้งรัฐใต้ดินโปแลนด์ขึ้นในดินแดนของอดีตรัฐโปแลนด์ ในเวลาเดียวกับที่ทหารลี้ภัยจำนวนมากซึ่งสามารถหลบหนีออกนอกประเทศได้ก็เข้าร่วมกับกองทัพโปแลนด์ในทิศตะวันตก ซึ่งเป็นกองทัพที่ภักดีต่อรัฐบาลพลัดถิ่นโปแลน.

ดู ปฏิบัติการทันเนนแบร์กและการบุกครองโปแลนด์

การยึดครองโปแลนด์ (ค.ศ. 1939–1945)

ปแลนด์ภายใต้การยึดครองโดยนาซีเยอรมนีและสหภาพโซเวียตระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง (1939–1945) เริ่มต้นด้วยการบุกเข้ายึดครองโปแลนด์ของเยอรมัน-สหภาพโซเวียตในเดือนกันยายน ปี..

ดู ปฏิบัติการทันเนนแบร์กและการยึดครองโปแลนด์ (ค.ศ. 1939–1945)

การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์

การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ (genocide) คือ การกระทำอย่างเป็นระบบและไตร่ตรองไว้ก่อนเพื่อทำลายกลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มเชื้อชาติ กลุ่มชนในชาติ หรือกลุ่มชนทางศาสนาทั้งกลุ่มหรือส่วนใหญ่ ถึงแม้จะมีผู้ให้นิยามของ "ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์" ไว้มากมายและบางทีก็แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง แต่ทางนิติศาสตร์นั้น สหประชาชาติได้กำหนดนิยามของพฤติการณ์นี้ในข้อ 2 แห่งอนุสัญญาว่าด้วยการป้องกันและลงโทษความผิดอาญาฐานฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ (United Nations Convention on the Prevention and Punishment of the Crime of Genocide) ว่า ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ หมายถึง "การกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทำลายกลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มเชื้อชาติ กลุ่มชนในชาติ หรือกลุ่มชนทางศาสนาทั้งกลุ่มหรือส่วนใหญ่ เป็นต้นว่า ฆ่าสมาชิกของกลุ่ม กระทำให้สมาชิกของกลุ่มถึงแก่พิกลพิการอย่างหนักทางกายภาพหรือจิตภาวะ กระทำโดยไตร่ตรองหรือโดยคาดการณ์ไว้แล้วเพื่อให้เกิดแก่หรือนำพามาสู่สมาชิกของกลุ่มซึ่งทุกขเวทนาในสภาพความเป็นอยู่ กระทำโดยมาตรการใด ๆ เพื่อกันมิให้มีการถือกำเนิดของทารกภายในกลุ่ม หรือใช้กำลังนำพาผู้เยาว์ในกลุ่มไปยังอีกกลุ่มหนึ่ง"Office of the High Commissioner for Human Rights.

ดู ปฏิบัติการทันเนนแบร์กและการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์

สงครามโลกครั้งที่สอง

งครามโลกครั้งที่สอง (World War II หรือ Second World Warคำว่าสงครามโลกครั้งที่สองในภาษาอังกฤษนั้น ในเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการของสหราชอาณาจักรและชาติตะวันตกใช้คำว่า "Second World War" ส่วนในสหรัฐใช้คำว่า "World War II" (ย่อเป็น "WWII" หรือ "WW2") ซึ่งเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการในประเทศส่วนใหญ่มักจะใช้ภาษาอังกฤษว่า "Second World War" (เช่น Zweiter Weltkrieg ในภาษาเยอรมัน; Segunda Guerra mundial ในภาษาสเปน; Seconde Guerre mondiale ในภาษาฝรั่งเศส) แต่ทั้งสองคำนี้โดยทั่วไปแล้วสามารถใช้แทนกันได้; แม้ในประวัติศาสตร์การทหารอย่างเป็นทางการ คำว่า "Second World War" ถูกสร้างขึ้นโดย แฟรงก์ บี.

ดู ปฏิบัติการทันเนนแบร์กและสงครามโลกครั้งที่สอง

นาซีเยอรมนี

นาซีเยอรมนี (Nazi Germany) หรือ ไรช์ที่สาม (Drittes Reich) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ ไรช์เยอรมัน (Deutsches Reich) เป็นชื่อเรียกยุคหนึ่งในประวัติศาสตร์เยอรมนีระหว่างปี 1933 ถึง 1945 เมื่อประเทศเยอรมนีอยู่ภายใต้การควบคุมระบอบเผด็จการของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์และพรรคนาซี ในการปกครองของฮิตเลอร์ ประเทศเยอรมนีกลายเป็นรัฐฟาสซิสต์ซึ่งควบคุมแทบทุกแง่มุมของชีวิต นาซีเยอรมนีล่มสลายหลังฝ่ายสัมพันธมิตรพิชิตเยอรมนีในเดือนพฤษภาคม 1945 ซึ่งยุติสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรป ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐไวมาร์ เพาล์ ฟอน ฮินเดนบูร์กแต่งตั้งฮิตเลอร์เป็นนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 มกราคม 1933 จากนั้น พรรคนาซีเริ่มกำจัดคู่แข่งทางการเมืองและรวบอำนาจ ฮินเดนบูร์กถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 1934 และฮิตเลอร์เป็นผู้เผด็จการแห่งเยอรมนีโดยการรวมอำนาจและตำแหน่งของนายกรัฐมนตรีกับประธานาธิบดี มีการจัดการลงประชามติทั่วประเทศเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 1934 ทำให้ฮิตเลอร์เป็นฟือเรอร์ (ผู้นำ) เยอรมนีเพียงผู้เดียว อำนาจเบ็ดเสร็จทั้งหมดรวมอยู่ในมือของฮิตเลอร์ และคำของเขาอยู่เหนือกฎหมายทั้งปวง รัฐบาลมิได้เป็นหน่วยที่ร่วมมือประสานกัน หากแต่เป็นหมู่กลุ่มแยกต่าง ๆ ที่แก่งแย่งอำนาจและความนิยมจากฮิตเลอร์ ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ นาซีฟื้นฟูเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและยุติการว่างงานขนานใหญ่โดยใช้รายจ่ายทางทหารอย่างหนักและเศรษฐกิจแบบผสม มีการดำเนินการโยธาสาธารณะอย่างกว้างขวาง รวมการก่อสร้างเอาโทบาน การคืนเสถียรภาพทางเศรษฐกิจส่งเสริมความนิยมของรัฐบาลให้เพิ่มพูนขึ้น คตินิยมเชื้อชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การต่อต้านยิว เป็นลักษณะหัวใจของนาซีเยอรมนี โดยถือว่า กลุ่มชนเจอร์มานิค หรือเชื้อชาตินอร์ดิก (Nordic race) เป็นเชื้อชาติอารยันซึ่งบริสุทธิ์ที่สุด ฉะนั้นจึงเป็นเชื้อชาติปกครอง (master race) ชาวยิวและชนกลุ่มอื่นที่ถือว่าไม่พึงปรารถนาถูกเบียดเบียนหรือฆ่า และการค้านการปกครองของฮิตเลอร์ถูกปราบปรามอย่างโหดเหี้ยม สมาชิกฝ่ายค้านเสรีนิยม สังคมนิยมและคอมมิวนิสต์ถูกฆ่า จำคุกหรือเนรเทศ โบสถ์คริสต์ก็ถูกกดขี่เช่นกัน โดยผู้นำหลายคนถูกจำคุก การศึกษามุ่งเน้นชีววิทยาเชื้อชาติ นโยบายประชากร และสมรรถภาพทางกายสำหรับราชการทหาร โอกาสในอาชีพและการศึกษาของสตรีถูกตัดทอน มีการจัดนันทนาการและการท่องเที่ยวผ่านโครงการความแข็งแรงผ่านความรื่นเริง (Strength Through Joy) มีการใช้โอลิมปิกฤดูร้อน 1936 เป็นตัวนำเสนอไรช์ที่สามในเวทีระหว่างประเทศ รัฐมนตรีโฆษณาการ โยเซฟ เกิบเบิลส์ ใช้ภาพยนตร์ การชุมนุมมวลชน และวาทศิลป์จับจิตของฮิตเลอร์เพื่อควบคุมมติมหาชนอย่างได้ผล รัฐบาลควบคุมการแสดงออกทางศิลปะ โดยสนับสนุนศิลปะบางรูปแบบ แต่ขัดขวางหรือห้ามศิลปะรูปแบบอื่น เริ่มตั้งแต่ปลายคริสต์ทศวรรษ 1930 นาซีเยอรมนีเรียกร้องดินแดนอย่างก้าวร้าวมากขึ้นเรื่อย ๆ และขู่ทำสงครามหากไม่สนองข้อเรียกร้อง เยอรมนียึดออสเตรียและเชโกสโลวาเกียในปี 1938 และ 1939 ฮิตเลอร์ทำสนธิสัญญาไม่รุกรานกับโจเซฟ สตาลิน และบุกครองโปแลนด์ในเดือนกันยายน 1939 เป็นการเปิดฉากสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรป เยอรมนีเข้าเป็นพันธมิตรกับอิตาลีและฝ่ายอักษะที่เล็กกว่าและพิชิตทวีปยุโรปส่วนใหญ่เมื่อถึงปี 1940 และคุกคามสหราชอาณาจักร ไรช์ซคอมมิสซารีอัทควบคุมพื้นที่ที่ถูกพิชิตอย่างโหดร้ายและมีการสถาปนาการปกครองของเยอรมนีในประเทศโปแลนด์ที่เหลืออยู่ ชาวยิวและกลุ่มอื่นที่ถือว่าไม่พึงปรารถนาถูกจำคุกในค่ายกักกันและค่ายกำจัดนาซี การนำนโยบายเชื้อชาติของระบอบไปปฏิบัติลงเอยด้วยการสังหารชาวยิวและชนกลุ่มน้อยอื่นเป็นอันมากในฮอโลคอสต์ หลังการรุกรานสหภาพโซเวียตในปี 1941 นาซีเยอรมนีก็เริ่มเป็นรอง และปราชัยทางทหารสำคัญหลายครั้งในปี 1943 การทิ้งระเบิดทางอากาศต่อประเทศเยอรมนีทวีขึ้นในปี 1944 และฝ่ายอักษะถอยจากยุโรปตะวันออกและยุโรปใต้ หลังการบุกครองฝรั่งเศสของสัมพันธมิตร ประเทศเยอรมนีถูกโซเวียตจากทิศตะวันออกและฝ่ายสัมพันธมิตรจากทิศตะวันตกพิชิตและยอมจำนนในหนึ่งปี การที่ฮิตเลอร์ปฏิเสธยอมรับความปราชัยนำให้โครงสร้างพื้นฐานของเยอรมนีถูกทำลายล้างขนานใหญ่และการเสียชีวิตที่เกี่ยวข้องกับสงครามเพิ่มในเดือนท้าย ๆ ของสงคราม ฝ่ายสัมพันธมิตรผู้กำชัยริเริ่มนโยบายขจัดความเป็นนาซี (denazification) และนำผู้นำนาซีที่เหลือรอดหลายคนมาพิจารณาคดีอาชญากรรมสงครามในการพิจารณาคดีเนือร์นแบร์ก ส่วนประเทศเยอรมนีถูกยึดครองโดยมหาอำนาจฝ่ายสัมพันธมิตรคือ ฝรั่งเศส สหภาพโซเวียต สหรัฐอเมริกา และสหราชอาณาจักร.

ดู ปฏิบัติการทันเนนแบร์กและนาซีเยอรมนี

ไอน์ซัทซกรุพเพน

การสังหารชาวยิวที่ Ivanhorod,ยูเครน,ปี 1942 ภาพที่เห็นนั้นคือผู้หญิงคนหนึ่งได้ทำการปกป้องเด็กด้วยร่างกาย ก่อนที่จะถูกขับไล่ยิงด้วยปืนไรเฟิลในระยะประชิด ไอน์ซัทซกรุพเพน ("กำลังรบเฉพาะกิจ" "deployment groups") เป็นหน่วยทีมสังหารของกองกำลังกึ่งทหารหน่วยเอสเอสของนาซีเยอรมนีที่มีส่วนรับผิดชอบต่อการสังหารหมู่,โดยส่วนใหญ่เป็นการยิงเป้า,ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง (1939–45).ไอน์ซัทซกรุพเพนมีส่วนเกี่ยวข้องกับการสังหารหมู่เหล่าปัญญาชน,รวมถึงสมาชิกของพระนักบว.และมีบทบาทสำคัญในปฏิบัติการขั้นตอนสุดท้ายที่ถูกเรียกว่า การแก้ปัญหาชาวยิวครั้งสุดท้าย (Final solution to the Jewish question,Die Endlösung der Judenfrage) ในดินแดนที่ถูกยึดครองโดยนาซีเยอรมนี,เกือบทั้งหมดทุกคนที่ถูกสังหารคือพลเรือน,เริ่มต้นจากกลุ่มปัญญาชนและเหล่านักบวช,ก่อนจะก้าวไปยังนักการเมืองโซเวียตคอมมิสซาร์,ชาวยิวและชาวยิปซีเช่นเดียวกันกับความเป็นจริงหรือถูกข้อกล่าวหาว่า ได้เข้าร่วมกับกลุ่มพลพรรค (partisans) ตลอดทั่วยุโรปตะวันออก ภายใต้การนำของไรซ์ฟือเรอร์-เอสเอสไฮน์ริช ฮิมม์เลอร์และการกำกับดูแลของไรน์ฮาร์ด ฮายดริช ไอน์ซัทซกรุพเพนได้ปฏิบัติการในดินแดนที่ถูกยึดครองโดยกองทัพเยอรมันภายหลังจากการบุกครองโปแลนด์ในเดือนกันยายน ปี..

ดู ปฏิบัติการทันเนนแบร์กและไอน์ซัทซกรุพเพน

เกสตาโพ

รื่องแบบเกสตาโพ เกสตาโพ (Gestapo) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ ทบวงตำรวจลับของรัฐ (Geheime Staatspolizei) เป็นตำรวจลับอย่างเป็นทางการของนาซีเยอรมนี เริ่มตั้งแต่วันที่ 20 เมษายน..

ดู ปฏิบัติการทันเนนแบร์กและเกสตาโพ

เจเนรัลพลันโอสท์

นรัลพลันโอสท์ (Master Plan for the East), ย่อคำว่า GPO, เป็นแผนการของรัฐบาลนาซีเยอรมนีในการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์และขจัดชาติพันธุ์ในพื้นที่กว้างใหญ่,และเขตอาณานิคมของทวีปยุโรปกลางและตะวันออกโดยเยอรมัน มันได้ถูกรับรองในดินแดนที่ถูกยึดครองโดยเยอรมันในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง แผนการนี้ได้เป็นที่รับรู้เพียงบางส่วนในช่วงสงคราม,ได้ส่งผลทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมากมายมหาศาลทั้งทางตรงและทางอ้อม,แต่การลงมือแผนการทั้งหมดกลับไม่ได้ปฏิบัติตามในช่วงปฏิบัติการทางทหารที่สำคัญ, และถูกขัดขวางจากความพ่ายแพ้ของเยอรมนี แผนการนี้ได้ก่อให้เกิดการกดขี่ข่มเหง, ขับไล่เนรเทศ,และสังหารหมู่ต่อชนชาวสลาฟจำนวนมากในทวีปยุโรปรวมถึงการวางแผนการทำลายประเทศชาติของพวกเขา,แบบที่"เผ่าอารยัน"ของนาซีนั้นได้ดูราวกับเชื้อชาติด้อยกว่าตน โครงการแนวทางการปฏิบัตินี้ได้ขึ้นอยู่กับนโยบายเลเบนสเราม์ ซึ่งได้ออกแบบโดยอดอล์ฟ ฮิตเลอร์และพรรคนาซีในการปฏิบัติตามอุดมการณ์ของลัทธิ Drang nach Osten (การขับไล่ไปทางตะวันออก) จากการขยายตัวของเยอรมัน ซึ่งเช่นนี้แล้ว,ได้มุ่งมั่นหมายที่จะเป็นส่วนหนึ่งของระเบียบใหม่ในทวีปยุโรป แผนการนำได้ดำเนินไป,มีเพียงสี่รุ่นที่เป็นที่รู้จักกัน,มันได้ถูกพัฒนาขึ้นเมื่อเวลาได้ผ่านพ้นไป,ภายหลังจากการบุกยึดครองโปแลนด์,ภาพออกแบบพิมพ์เขียวสำหรับแผนการเจเนรัลพลันโอสท์(GPO)ได้ถูกกล่าวถึงโดยสำนักผู้ตรวจการไรช์เพื่อความเป็นเอกภาพแห่งชนชาติเยอรมัน-RKFDV ในช่วงกลางของปี..

ดู ปฏิบัติการทันเนนแบร์กและเจเนรัลพลันโอสท์

ดูเพิ่มเติม

การทัพโปแลนด์

ประเทศเยอรมนีในปี พ.ศ. 2482