โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ปฏิกิริยารวมตัว

ดัชนี ปฏิกิริยารวมตัว

ปฏิกิริยารวมตัว (Combination Reaction) หรือปฏิกิริยาการสังเคราะห์ คือปฏิกิริยาเคมีที่ตัวทำปฏิกิริยาสองตัวหรือมากกว่าเกิดปฏิกิริยาเคมีกันโดยการรวมตัวและมีพันธะทางเคมีต่อกัน (chemical bond) แล้วเกิดเป็นสารประกอบตัวใหม่ดังตัวอย่างโซเดียม ทำปฏิกิริยากับคลอรีนแล้วเกิดเป็นโซเดียมคลอไรด์หรือเกลือแกง ดังปฏิกิริยาข้างล่างนี้.

5 ความสัมพันธ์: ปฏิกิริยาแทนที่คู่ซึ่งกันและกันปฏิกิริยาแทนที่ตำแหน่งเดียวปฏิกิริยาแตกตัวปฏิกิริยาเคมีโซเดียมคลอไรด์

ปฏิกิริยาแทนที่คู่ซึ่งกันและกัน

ปฏิกิริยาแทนที่คู่ซึ่งกันและกัน (double displacement reaction) หรือ แทนที่คู่ หรือ เมต้าทีสีส (metathesis) หรือปฏิกิริยาแลกเปลี่ยนไอออน คือ การที่สารประกอบสองตัวแลกเปลี่ยนไอออนซึ่งกันและกันแล้วเกิดเป็นสารประกอบใหม่สองตัวขึ้นมาแทนที่ สามารถเขียนเป็นสมการได้ดังนี้ กค + ขง → กง + ขค ตัวอย่างปฏิกิริยาเคมีจริงเป็นดังนี้ สารประกอบที่เกิดจากปฏิกิริยาเคมีดังกล่าวบางตัวอาจตกตะกอน ก๊าซที่ไม่ละลายในสารละลายนั้นหรืออาจจะเกิดเป็นโมเลกุลของน้ำก็ได้ ปฏิกิริยาทำให้เป็นกลางอาจจะเป็นกรณีพิเศษสำหรับปฏิกิริยาแทนที่คู่ซึ่งกันและกันคือจำนวนของกรดจะต้องเท่ากับจำนวนของด่างแล้วเกิดเป็นเกลือและน้ำขึ้นดังตัวอย่างข้างล่างนี้.

ใหม่!!: ปฏิกิริยารวมตัวและปฏิกิริยาแทนที่คู่ซึ่งกันและกัน · ดูเพิ่มเติม »

ปฏิกิริยาแทนที่ตำแหน่งเดียว

ปฏิกิริยาแทนที่ตำแหน่งเดียว (single-displacement reaction) คือปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้นเมื่อธาตุเคมีตัวหนึ่งเข้าไปแทนที่ธาตุเคมีอีกตัวหนึ่งในสารประกอบใดสารประกอบหนึ่งซึ่งสามารถเขียนเป็นสมการได้ดังนี้ ก + ขค → กค + ข ในสมการข้างบนธาตุ ก ทำปฏิกิริยาเคมีกับสารประกอบ ขค เกิดเป็นสารประกอบ กค และธาตุ ข อธิบายว่าปฏิกิริยานี้จะเกิดได้ง่ายเมื่อธาตุ ก มีความไวต่อปฏิกิริยาเคมีมากกว่าธาตุ ข บางครั้ง ก และ ข มีประจุไฟฟ้าไม่เท่ากันก็ได้ดังนั้นการทำให้สมการสมดุลจึงมีความจำเป็น ยกตัวอย่างเช่น ปฏิกิริยาเคมีระหว่างแคลเซียมคลอไรด์(CaCl2)กับโซเดียม(Na)เกิดเป็นโซเดียมคลอไรด์(NaCl)และแคลเซียม(Ca)ดังสมการนี้ CaCl2 + 2Na → Ca + 2NaCl เพื่อทำให้สมการสมดุลแคลเซียมคลอไรด์หนึ่งโมเลกุลจะต้องใช้โซเดียม 2 อะตอมจึงจะได้สารประกอบ โซเดียมคลอไรด์ 2 โมเลกุลและแคลเซียม 1 อะตอม.

ใหม่!!: ปฏิกิริยารวมตัวและปฏิกิริยาแทนที่ตำแหน่งเดียว · ดูเพิ่มเติม »

ปฏิกิริยาแตกตัว

ปฏิกิริยาแตกตัว (Chemical decomposition) หรือการวิเคราะห์การแตกตัว คือปฏิกิริยาการแตกสะลายของสารเคมีไปเป็นธาตุหรือสารประกอบที่เล็กกว่า ปฏิกิริยาประเภทนี้จะเขียนสมการเคมีได้ดังนี้ ตัวอย่างปฏิกิริยาทางเคมีแบบวิเคราะห์คือ ปฏิกิริยาอิเล็กโทรไลซิส (electrolysis) ของน้ำดังตัวอย่างข้างล่างนี้ สมการวิเคราะห์และสังเคราะห์ทางเคมีอาจสามารถใช้อธิบายปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้นได้ทั้งหมด แต่ในชีวิตประจำวันปฏิกิริยาแตกสลายมักจะเป็นสิ่งที่เราไม่ต้องการ ความเสถียรภาพของสารประกอบเคมีจะขึ้นกับสภาพแวดล้อมเป็นสำคัญซึ่งได้แก.

ใหม่!!: ปฏิกิริยารวมตัวและปฏิกิริยาแตกตัว · ดูเพิ่มเติม »

ปฏิกิริยาเคมี

ปฏิกิริยาเคมี (Chemical reaction) คือกระบวนการที่เกิดจากการที่สารเคมีเกิดการเปลี่ยนแปลงแล้วส่งผลให้เกิดสารใหม่ขึ้นมาซึ่งมีคุณสมบัติเปลี่ยนไปจากเดิม โดยมีสารเริ่มต้นปฏิกิริยาเรียกว่า "สารตั้งต้น" (reactant) ซึ่งจะมีเพียงตัวเดียวหรือมากกว่า 1 ตัวก็ได้ มาเกิดปฏิกิริยากัน และทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในคุณสมบัติทางเคมี ซึ่งก่อตัวขึ้นมาเป็นสารใหม่ที่เรียกว่า "ผลิตภัณฑ์" (product) ในที่สุด สารผลิตภัณฑ์บางตัวอาจมีคุณสมบัติทางเคมีที่ต่างจากสารตั้งต้นเพียงเล็กน้อย แต่ในขณะเดียวกันสารผลิตภัณฑ์บางตัวอาจจะแตกต่างจากสารตั้งต้นโดยสิ้นเชิง แต่เดิมแล้ว คำจำกัดความของปฏิกิริยาเคมีจะเจาะจงไปเฉพาะที่การเคลื่อนที่ของประจุอิเล็กตรอน ซึ่งก่อให้เกิดการสร้างและสลายของพันธะเคมีเท่านั้น แม้ว่าแนวคิดทั่วไปของปฏิกิริยาเคมี โดยเฉพาะในเรื่องของสมการเคมี จะรวมไปถึงการเปลี่ยนสภาพของอนุภาคธาตุ (เป็นที่รู้จักกันในนามของไดอะแกรมฟายน์แมน) และยังรวมไปถึงปฏิกิริยานิวเคลียร์อีกด้วย แต่ถ้ายึดตามคำจำกัดความเดิมของปฏิกิริยาเคมี จะมีปฏิกิริยาเพียง 2 ชนิดคือปฏิกิริยารีดอกซ์ และปฏิกิริยากรด-เบส เท่านั้น โดยปฏิกิริยารีดอกซ์นั้นเกี่ยวกับการเคลื่อนที่ของประจุอิเล็กตรอนเดี่ยว และปฏิกิริยากรด-เบส เกี่ยวกับคู่อิเล็กตรอน ในการสังเคราะห์สารเคมี ปฏิกิริยาเคมีต่างๆ จะถูกนำมาผสมผสานกันเพื่อให้เกิดสารผลิตภัณฑ์ที่ต้องการ ในสาขาวิชาชีวเคมี เป็นที่ทราบกันว่า ปฏิกิริยาเคมีหลายๆ ต่อจึงจะก่อให้เกิดแนวทางการเปลี่ยนแปลง (metabolic pathway) ขึ้นมาเนื่องจากการที่จะสังเคราะห์ผลิตภัณฑ์โดยตรงนั้นไม่สามารถทำได้ในตัวเซลล์ในคราวเดียวเนื่องจากพลังงานในเซลล์นั้นไม่พอต่อการที่จะสังเคราะห์ ปฏิกิริยาเคมียังสามารถแบ่งได้เป็นปฏิกิริยาอินทรีย์เคมีและปฏิกิริยาอนินทรีย์เคมี หมวดหมู่:ปฏิกิริยาเคมี หมวดหมู่:เคมี.

ใหม่!!: ปฏิกิริยารวมตัวและปฏิกิริยาเคมี · ดูเพิ่มเติม »

โซเดียมคลอไรด์

ซเดียมคลอไรด์ (Sodium chloride, สูตรเคมี: NaCl) มีชื่อที่เรียกทั่วไปดังนี้ เกลือแกง หรือ ฮาไลต์ เป็นสารประกอบเคมี โซเดียมคลอไรด์เป็นเกลือที่มีบทบาทต่อความเค็มของมหาสมุทร และของเหลวภายนอกเซลล์ของสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ เป็นส่วนประกอบหลักในเกลือที่กินได้ มันถูกใช้อย่างกว้างขวางในการเป็นเครื่องปรุงรส และใช้ในการถนอมอาหาร.

ใหม่!!: ปฏิกิริยารวมตัวและโซเดียมคลอไรด์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ปฏิกริยารวมตัว

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »