เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

บีกานามัยซิน

ดัชนี บีกานามัยซิน

ีกานามัยซิน หรือ กานามัยซิน บี (INN, Bekanamycin หรือ Kanamycin B หรือ Amino-deoxy-Kanamycin) เป็นยาปฏิชีวนะชนิดหนึ่งในกลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์ ที่ได้จากธรรมชาติ ผลิตได้จากสายพันธุ์ที่กลายพันธุ์ของเชื้อแบคทีเรีย Streptomyces kanamyceticus โดยบีกานามัยซินจะออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียในวงศ์เอนเทอร์โรแบคทีเรียซีอี ได้แก่ สกุลเอสเชอริเชีย, สกุลเคลบซิลลา, สกุลซัลโมเนลลา, สกุลชิเกลลา และสกุลโปรตีอัส ยานี้มีคุณสมบัติทางกายภาพและชีวภาพที่เหมือนกันกับกานามัยซิน ทั้งโครงสร้างโมเลกุล, ขอบเขตการออกฤทธิ์, และเภสัชจลนศาสตร.

สารบัญ

  1. 12 ความสัมพันธ์: ชื่อระหว่างประเทศที่ไม่มีเจ้าของภาษาญี่ปุ่นภาษาเดนมาร์กยาปฏิชีวนะอะมิโนไกลโคไซด์อาการท้องร่วงอาการไม่พึงประสงค์จากยาอาเจียนคลื่นไส้แบคทีเรียเภสัชจลนศาสตร์Salmonella

ชื่อระหว่างประเทศที่ไม่มีเจ้าของ

ื่อระหว่างประเทศที่ไม่มีเจ้าของ (International Nonproprietary Name หรือ INN หรือเรียกอีกอย่างว่า rINN ย่อจาก recommended International Nonproprietary Name) ชื่อเป็นทางการที่ไม่มีเจ้าของ หรือชื่อสามัญทั่วไปที่ใช้เรียก สารประกอบเคมี ทาง เภสัชกรรม ที่กำหนดโดย องค์การอนามัยโลก (World Health Organization) เนื่องจากชื่อตำรับยาที่มีเจ้าของมีจำนวนมากมายแต่มีตัวยาสำคัญตัวเดียวกันซึ่งอาจทำให้เกิดความสับสนได้ง่าย INN เป็นชื่อที่ทำให้ง่ายและสะดวกในการสื่อสารโดยการกำหนดชื่อมาตรฐานสำหรับสารแต่ละตัว คล้ายกับชื่อชื่อ IUPAC ในวิชา เคมี อย่างไรก็ดีบางครั้งชื่อเหล่านี้อาจยาวและไม่สะดวกที่จะใช้ องค์การอนามัยโลก ได้ตั้งชื่อ INN ไว้ในภาษาต่างๆ คือ อังกฤษ ลาติน ฝรั่งเศส รัสเซีย และสเปน ส่วนภาษาอาหรับและจีนจะเป็นอีกเล่มหนึ่ง.

ดู บีกานามัยซินและชื่อระหว่างประเทศที่ไม่มีเจ้าของ

ภาษาญี่ปุ่น

ษาญี่ปุ่น (日本語) เป็นภาษาทางการของประเทศญี่ปุ่น ปัจจุบันมีผู้ใช้ทั่วโลกราว 130 ล้านคน นอกเหนือจากประเทศญี่ปุ่นแล้ว รัฐอังกาอูร์ สาธารณรัฐปาเลา ได้กำหนดให้ภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาทางการภาษาหนึ่ง นอกจากนี้ภาษาญี่ปุ่นยังถูกใช้ในหมู่ชาวญี่ปุ่นที่ย้ายไปอยู่นอกประเทศ นักวิจัยญี่ปุ่น และนักธุรกิจต่างๆ คำภาษาญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลมาจากภาษาต่างประเทศเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะภาษาจีน ที่ได้นำมาเผยแพร่มาในประเทศญี่ปุ่นเมื่อกว่า 1,500 ปีที่แล้ว และตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมา ก็ได้มีการยืมคำจากภาษาต่างประเทศที่ไม่ใช่ภาษาจีนมาใช้อีกเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน เช่นคำที่มาจากภาษาดัตช์ ビール (bier แปลว่า เบียร์) และ コーヒー (koffie แปลว่า กาแฟ).

ดู บีกานามัยซินและภาษาญี่ปุ่น

ภาษาเดนมาร์ก

ษาเดนมาร์ก (dansk แดนฺสฺก) เป็นภาษาในกลุ่มภาษาเจอร์แมนิกเหนือ(หรือภาษาสแกนดิเนเวีย) ซึ่งเป็นกลุ่มย่อยของกลุ่มภาษาเจอร์แมนิก สาขาของภาษาตระกูลอินโด-ยูโรเปียน ภาษาเดนมาร์กเป็นภาษาราชการภาษาเดียวของเดนมาร์ก และเป็นภาษาราชการหนึ่งในสองภาษาของเกาะกรีนแลนด์และหมู่เกาะแฟโร ซึ่งมีฐานะเป็นดินแดนปกครองตนเองของเดนมาร์ก นอกจากนี้ภาษาเดนมาร์กยังพูดกันในหมู่ชนกลุ่มน้อยทางตอนเหนือของประเทศเยอรมนี ในประเทศไอซ์แลนด์ ภาษาเดนมาร์กเป็นภาษาต่างประเทศภาษาที่สอง(ต่อจากภาษาอังกฤษ)ที่มีการเรียนการสอนกันในสถาบันการศึกษาแพร่หลายที.

ดู บีกานามัยซินและภาษาเดนมาร์ก

ยาปฏิชีวนะ

การดื้อยาปฏิชีวนะในกลุ่มเพนิซิลลินอย่างรุนแรง ยาปฏิชีวนะ (Antibiotics จากภาษากรีซโบราณ αντιβιοτικά, antiviotika) หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย (Antibacterials) เป็นกลุ่มย่อยของยาอีกกลุ่มหนึ่งในกลุ่มยาต้านจุลชีพ (Antimicrobial drugs) ซึ่งเป็นยาที่ถูกใช้ในการรักษาและป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรีย โดยอาจออกฤทธิ์ฆ่าหรือยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสอง ยาปฏิชีวนะบางชนิดอาจมีคุณสมบัติเป็นมีคุณสมบัติเป็นสารต้านโพรโทซัวได้ เช่น เมโทรนิดาโซล ทั้งนี้ ยาปฏิชีวนะไม่มีฤทธิ์ในการต้านไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคต่างๆ เช่น ไข้หวัด หรือ ไข้หวัดใหญ่ เป็นต้น โดยยาที่มีฤทธิ์ต่อเชื้อไวรัสจะถูกจัดอยู่ในกลุ่มยาต้านไวรัส ซึ่งเป็นกลุ่มย่อยอีกกลุ่มหนึ่งของยาต้านจุลชีพ ในบางครั้ง คำว่า ยาปฏิชีวนะ (ซึ่งหมายถึง "การต่อต้านชีวิต") ถูกนำมาใช้เพื่อสื่อความถึงสารใดๆที่นำมาใช้เพื่อต้านจุลินทรีย์ ซึ่งมีความหมายเดียวกันกับคำว่า ยาต้านจุลชีพ บางแหล่งมีการใช้คำว่า ยาปฏิชีวนะ และ ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ในความหมายที่แยกจากกันไป โดยคำว่า ยา (สาร) ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย จะสื่อความถึง สบู่ และน้ำยาฆ่าเชื้อ ขณะที่คำว่า ยาปฏิชีวนะ จะหมายถึงยาที่ใช้ในทางการแพทย์เพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรีย การพัฒนายาปฏิชีวนะเริ่มต้นในช่วงศตวรรษที่ 20 พร้อมกับการพัฒนาเรื่องการให้วัคซีนเพื่อป้องกันโรคจากเชื้อจุลชีพต่างๆ การเกิดขึ้นของยาปฏิชีวนะนำมาซึ่งการกำจัดโรคติดเชื้อแบคทีเรียต่างๆ ออกไปหลายชนิด เช่น กรณีของวัณโรคที่ระบาดในประเทศกำลังพัฒนา อย่างไรก็ตาม ด้วยประสิทธิภาพที่ดีและการเข้าถึงยาที่ง่ายนำไปสู่การใช้ยาปฏิชีวนะในทางที่ผิด พร้อมๆกับการที่แบคทีเรียมีการพัฒนาจนกลายพันธุ์เป็นเชื้อแบคทีเรียที่ดื้อต่อยาปฏิชีวนะ ปัญหาดังข้างต้นได้แพร่กระจายเป็นวงกว้าง จนเป็นปัญหาสำคัญของการสาธารณสุขในทุกประเทศทั่วโลก จนองค์การอนามัยโลก (World Health Organization) ได้ประกาศให้ปัญหาการดื้อยาของเชื้อแบคทีเรียเป็น "ปัญหาสำคัญเร่งด่วนที่สุดที่เกิดขึ้นในทุกภูมิภาคทั่วโลกและทุกคนล้วนจะต้องได้รับผลกระทบจากปัญหานี้ ไม่ว่าวัยใด หรือประเทศใดก็ตาม".

ดู บีกานามัยซินและยาปฏิชีวนะ

อะมิโนไกลโคไซด์

อะมิโนไกลโคไซด์ (อังกฤษ:Aminoglycosides) เป็นกลุ่มของยาปฏิชีวนะที่มีฤทธิ์ต้านแบคทีเรียยากลุ่มนี้ได้แก.

ดู บีกานามัยซินและอะมิโนไกลโคไซด์

อาการท้องร่วง

อาการท้องร่วง (diarrhea หรือ diarrhoea) เป็นภาวะมีการถ่ายอุจจาระเหลวหรือเป็นน้ำอย่างน้อยสามครั้งต่อวัน มักกินเวลาไม่กี่วันและอาจทำให้เกิดภาวะขาดน้ำจากการเสียสารน้ำ อาการแสดงของภาวะขาดน้ำมักเริ่มด้วยการเสียความตึงตัวของผิวหนังและบุคลิกภาพเปลี่ยน ซึ่งสามารถลุกลามเป็นการถ่ายปัสสาวะลดลง สีผิวหนังซีด อัตราหัวใจเต้นเร็ว และการตอบสนองลดลงเมื่อภาวะขาดน้ำรุนแรง อย่างไรก็ดี อุจจาระเหลวแต่ไม่เป็นน้ำในทารกที่กินนมแม่อาจเป็นปกติ สาเหตุที่พบบ่อยที่สุด คือ การติดเชื้อของลำไส้อาจเนื่องจากไวรัส แบคทีเรียหรือปรสิต เป็นภาวะที่เรียก กระเพาะและลำไส้เล็กอักเสบ (gastroenteritis) การติดเชื้อเหล่านี้มักได้รับจากอาหารหรือน้ำที่มีการปนเปื้อนอุจจาระ หรือโดยตรงจากบุคคลอื่นที่ติดเชื้อ อาการท้องร่วงอารจแบ่งได้เป็นสามประเภท คือ อาการท้องร่วงเป็นน้ำระยะสั้น อาการท้องร่วงเป็นเลือดระยะสั้น และหากกินเวลานานกว่าสองสัปดาห์จะเป็นอาการท้องร่วงเรื้อรัง อาการท้องร่วงเป็นน้ำระยะสั้นอาจเนื่องจากการติดเชื้ออหิวาตกโรคซึ่งพบยากในประเทศพัฒนาแล้ว หากมีเลือดอยู่ด้วยจะเรียก โรคบิด อาการท้องร่วงมีบางสาเหตุที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อซึ่งมีภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน ภาวะไม่ทนต่อแล็กโทส (แพ้นม) โรคลำไส้อักเสบ ยาจำนวนหนึ่ง และกลุ่มอาการลำไส้ไวเกินต่อการกระตุ้น ในผู้ป่วยส่วนมาก ไม่จำเป็นต้องเพาะเชื้ออุจจาระเพื่อยืนยันสาเหตุแน่ชัด การป้องกันอาการท้องร่วงจากการติดเชื้อทำได้โดยปรับปรุงการสุขาภิบาล มีน้ำดื่มสะอาดและล้างมือด้วยสบู่ แนะนำให้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างน้อยหกเดือนเช่นเดียวกับการรับวัคซีนโรตาไวรัส สารน้ำเกลือแร่ (ORS) ซึ่งเป็นน้ำสะอาดที่มีเกลือและน้ำตาลปริมาณหนึ่ง เป็นการรักษาอันดับแรก นอกจากนี้ยังแนะนำยาเม็ดสังกะสี มีการประเมินว่าการรักษาเหล่านี้ช่วยชีวิตเด็ก 50 ล้านคนใน 25 ปีที่ผ่านมา เมื่อบุคคลมีอาการท้องร่วง แนะนำให้กินอาหารเพื่อสุขภาพและทารกกินนมแม่ต่อไป หากหา ORS พาณิชย์ไม่ได้ อาจใช้สารละลายทำเองก็ได้ ในผู้ที่มีภาวะขาดน้ำรุนแรง อาจจำเป็นต้องให้สารน้ำเข้าหลอดเลือดดำ ทว่า ผู้ป่วยส่วนมากสามารถรักษาได้ดีด้วยสารน้ำทางปาก แม้ว่ามีการใช้ยาปฏิชีวนะน้อย แต่อาจแนะนำให้ผู้ป่วยซึ่งมีอาการท้องร่วงเป็นเลือดและไข้สูง ผู้ที่มีอาการท้องร่วงรุนแรงหลังท่องเที่ยว และผู้ที่เพาะแบคทีเรียหรือปรสิตบางชนิดขึ้นในอุจจาระ โลเพอราไมด์อาจช่วยลดจำนวนการถ่ายอุจจาระ แต่ไม่แนะนำในผู้ป่วยรุนแรง มีผู้ป่วยอาการท้องร่วงประมาณ 1,700 ถึง 5,000 ล้านคนต่อปี พบมากที่สุดในประเทศกำลังพัฒนาซึ่งเด็กเล็กมีอาการท้องร่วงโดยเฉลี่ย 3 ครั้งต่อปี มีการประเมินยอดผู้เสียชีวิตจากอาการท้องร่วง 1.26 ล้านคนในปี 2556 ลดลงจาก 2.58 ล้านคนในปี 2533 ในปี 2555 อาการท้องร่วงเป็นสาเหตุการเสียชีวิตที่พบมากที่สุดอันดับสองในเด็กอายุน้อยกว่า 5 ปี (0.76 ล้านคนหรือ 11%) คราวอาการท้องร่วงบ่อยยังเป็นสาเหตุทุพโภชนาการที่พบมากและเป็นสาเหตุที่พบมากที่สุดในเด็กอายุน้อยกว่าห้าปี ปัญหาระยะยาวอื่นซึ่งอาจเกิดได้มีการเติบโตช้าและพัฒนาการทางสติปัญญาไม่ดี.

ดู บีกานามัยซินและอาการท้องร่วง

อาการไม่พึงประสงค์จากยา

อาการไม่พึงประสงค์จากยา (adverse drug reaction, ADR) คือภาวะซึ่งมีผลเสียจากการใช้ยาในขนาดปกติ ในการให้ยาแบบปกติ อาจเกิดหลังการให้ยาเพียงครั้งเดียว หรือเมื่อให้เป็นเวลานาน หรือเมื่อให้พร้อมกับยาอื่น ก็ได้ ภาวะนี้แตกต่างจากผลข้างเคียงของยาตรงที่ผลข้างเคียงของยานั้นไม่จำเป็นจะต้องเป็นผลที่ไม่พึงประสงค์แต่เพียงอย่างเดียว วิชาที่ว่าด้วยการศึกษาเกี่ยวกับอาการไม่พึงประสงค์จากยาเรียกว่า pharmacovigilance Category:เภสัชวิทยา.

ดู บีกานามัยซินและอาการไม่พึงประสงค์จากยา

อาเจียน

อาเจียน เป็นอาการขับออกซึ่งสิ่งต่างๆ ที่อยู่ในท้องอย่างเฉียบพลันออกทางปาก และบางครั้งทางจมูกด้วย การอาเจียนที่ไม่พึงประสงค์เกิดมาจากหลายสาเหตุตั้งแต่เยื่อบุกระเพาะอักเสบ หรือ ได้รับสารพิษ จนไปถึงเนื้องอกในสมอง เมารถเมาเรือ หรือแม้กระทั่งมาจากความดันในกะโหลกสูง อาการที่อยากจะอาเจียนเรียกว่าอาการคลื่นไส้ อาการนี้มักจะเกิดก่อนการอาเจียน แต่ไม่ได้แปลว่ามีอาการนี้แล้วจะต้องอาเจียนเสมอไป ยาแก้อาเจียนอาจจะต้องใช้ระงับการอาเจียนในรายที่มีอาการหนักมาก.

ดู บีกานามัยซินและอาเจียน

คลื่นไส้

อาการคลื่นไส้คือความรู้สึกไม่สบายไม่สงบในกระเพาะอาหารที่ทำให้เกิดความต้องการที่จะอาเจียนโดยอยู่นอกเหนือการควบคุม อาการนี้อาจเกิดขึ้นก่อนการอาเจียน อย่างไรก็ดีคนที่มีอาการคลื่นไส้อาจไม่อาเจียนก็ได้ หากเป็นต่อเนื่องยาวนานสามารถทำให้เกิดปัญหาได้.

ดู บีกานามัยซินและคลื่นไส้

แบคทีเรีย

แบคทีเรีย หรือ บัคเตรี เป็นประเภทของสิ่งมีชีวิตประเภทใหญ่ประเภทหนึ่ง มีขนาดเล็ก มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น ส่วนใหญ่มีเซลล์เดียว และมีโครงสร้างเซลล์ที่ไม่ซับซ้อนมาก และโดยทั่วไปแบคทีเรียแบ่งได้หลายรูปแ.

ดู บีกานามัยซินและแบคทีเรีย

เภสัชจลนศาสตร์

เภสัชจลนศาสตร์ (Pharmacokinetics) เป็นสาขาหนึ่งของวิชาเภสัชวิทยาที่กล่าวถึงกระบวนการของร่างกายในการจัดการยาเมื่อเปรียบเทียบกับเวลา หรือการเปลี่ยนแปลงความเข้มข้นของยาในร่างกาย ณ เวลาต่างๆ ประกอบด้วยกระบวนการสำคัญทางเภสัชจลนศาสตร์ใน 4 ขั้นตอน คือ การดูดซึม (Absorption), การกระจายยา (Distribution), กระบวนการเผาผลาญ (Metabolism) และการขับยาออกจากร่างกาย (Excretion) นิยมเรียกอย่างย่อว่า ADME การดูดซึมของยาส่งผลต่อชีวปริมาณการออกฤทธิ์ (Bioavailability) ของยาซึ่งขึ้นกับรูปแบบวิธีการให้ยาหรือวิธีการบริหารยาในรูปแบบต่างๆกัน การดูดซึมยังส่งผลอย่างต่อเนื่องไปยังกระบวนการกระจายยา ซึ่งมีปัจจัยต่างๆในร่างกายที่สนับสนุนหรือลดการกระจายยาไปยังอวัยวะเป้าหมาย (Target Organ) และกระบวนการเผาผลาญของยาเพื่อการกำจัดยาออกนอกร่างกาย ในบางกรณีนิยมเรียก "ADME" เป็น "ADMET" ซึ่งเป็นการเพิ่มการขนส่ง (Transport) หรือความเป็นพิษ (Toxicity) เข้าไปผนวกด้วย เภสัชจลนศาสตร์มีความสำคัญยิ่งต่อกระบวนการศึกษาวิชาเภสัชวิทยา หมวดหมู่:เภสัชวิทยา.

ดู บีกานามัยซินและเภสัชจลนศาสตร์

Salmonella

Salmonella เป็นแบคทีเรียแกรมลบรูปท่อนไม่สร้างสปอร์ที่เป็นสาเหตุของอาหารเป็นพิษที่พบได้บ่อยที่สุด และจำนวนแบคทีเรียชนิดนี้ในอาหารเพียงเล็กน้อยทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยได้ สามารถเติบโตได้ที่อุณหภูมิในขอบเขตระหว่าง 8-45 องศาเซลเซียส ในอาหารที่มีความเป็นกรด-ด่างระหว่าง 4-9 อาหารที่มาจากสัตว์เช่นเนื้อสัตว์ดิบ/ปรุงไม่สุก หรือซากเป็ดไก่ ไข่ดิบ ผลิตภัณฑ์ที่มีไข่ดิบ นมดิบหรือนมที่ไม่ได้ผ่านการฆ่าเชื้อ และผลิตภัณฑ์จากนมเช่น เนย ไอศกรีม เนยแข็งและผักบางชนิด สามารถนำเชื้อก่อโรค Salmonella จากสัตว์มาสู่คนได้ การใช้น้ำที่สกปรกทางการเกษตรหรือใช้ล้างอาหารสดทำให้เกิดการปนเปื้อนได้เช่นกัน อาการของอาหารเป็นพิษที่เกิดจาก Salmonella เป็นเช่นเดียวกับจุลินทรีย์ที่มาจากระบบทางเดินอาหารอื่นๆ เกี่ยวข้องกับอาการถ่ายเป็นน้ำ อาเจียน ปวดท้องและมีไข้ เฉพาะโดยการทดสอบจุลินทรีย์ในอุจจาระของคนจึงจะจำแนกเชื้อที่ก่อโรคได้ ทำให้เกิดไข้ไทฟอยด์ การติดเชื้อ Salmonella สามารถส่งผ่านระหว่างคน และระหว่างคนกับสัตว์ได้.

ดู บีกานามัยซินและSalmonella

หรือที่รู้จักกันในชื่อ Kanamycin Bกานามัยซิน บี