โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

บาเอซา

ดัชนี บาเอซา

บาเอซา (Baeza) เป็นเมืองในจังหวัดคาเอน แคว้นอันดาลูซีอา ทางตอนใต้ของประเทศสเปน ตั้งอยู่ริมหน้าผาแห่งหนึ่งของโลมาเดอูเบดา (Loma de Úbeda) ซึ่งเป็นทิวเขาเตี้ย ๆ ที่แยกลุ่มน้ำกวาดัลกีบีร์ทางทิศใต้ออกจากลุ่มน้ำกวาดาลีมาร์ทางทิศเหนือ ปัจจุบันเมืองนี้มีชื่อเสียงเป็นหลักจากกลุ่มอาคารสถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาแบบอิตาลีที่ได้รับการอนุรักษ์ไว้อย่างดีเยี่ยมในสเปน องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติได้ประกาศให้เมืองนี้เป็นแหล่งมรดกโลกร่วมกับเมืองอูเบดา (ซึ่งตั้งอยู่ใกล้กัน) เมื่อปี พ.ศ. 2546 หมวดหมู่:แคว้นอันดาลูซีอา หมวดหมู่:เมืองในประเทศสเปน.

12 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2546พรรคแรงงานสังคมนิยมสเปนมรดกโลกสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในอิตาลีองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติประเทศสเปนแม่น้ำกัวดัลกิบีร์แคว้นอันดาลูซิอาเมืองหลวงเวลายุโรปกลางเวลาออมแสงยุโรปกลางเขตการปกครองของประเทศสเปน

พ.ศ. 2546

ทธศักราช 2546 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2003 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพุธตามปฏิทินเกรกอเรียน และกำหนดให้เป็น.

ใหม่!!: บาเอซาและพ.ศ. 2546 · ดูเพิ่มเติม »

พรรคแรงงานสังคมนิยมสเปน

พรรคแรงงานสังคมนิยมสเปน (Partido Socialista Obrero Español; Spanish Socialist Workers' Party) หรือชื่อย่อ เปโซเอ (PSOE) เป็นพรรคการเมืองที่เก่าแก่เป็นอันดับสองของประเทศสเปน ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2422 ปัจจุบันหัวหน้าพรรคคือ นายเปโดร ซันเชซ จากการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2551 พรรคแรงงานสังคมนิยมสเปนได้คะแนนเสียงมากเป็นอันดับหนึ่ง คือ 11,064,524 เสียง และได้ที่นั่งทั้งหมด 169 ที่นั่ง จากทั้งหมด 350 ที่นั่ง ทำให้นายโฆเซ ลุยส์ โรดริเกซ ซาปาเตโร ได้เป็นนายกรัฐมนตรีของประเทศต่ออีกสมัยหนึ่ง จนกระทั่งพ่ายแพ้การเลือกตั้งให้กับพรรคประชาชนในการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อปลายปี พ.ศ. 2554 หมวดหมู่:พรรคการเมืองสเปน.

ใหม่!!: บาเอซาและพรรคแรงงานสังคมนิยมสเปน · ดูเพิ่มเติม »

มรดกโลก

ตราสัญลักษณ์ แหล่งมรดกโลก หรือ มรดกโลก (World Heritage Site; Patrimoine Mondial) คือสถานที่ อันได้แก่ ป่าไม้ อนุสาวรีย์ สิ่งก่อสร้างต่างๆ รวมไปถึงเมือง ซึ่งคัดเลือกโดยองค์การยูเนสโกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2515 เพื่อเป็นการบ่งบอกถึงคุณค่าของสิ่งที่มนุษยชาติ หรือธรรมชาติได้สร้างขึ้นมา และควรจะปกป้องสิ่งเหล่านั้นได้อย่างไร เพื่อให้ได้ตกทอดไปถึงอนาคต ในปัจจุบัน (กรกฎาคม 2560) มีมรดกโลกทั้งหมด 1073 แห่ง ใน 167 ประเทศทั่วโลก ซึ่งแบ่งเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม 832 แห่ง มรดกโลกทางธรรมชาติ 206 แห่ง และอีก 35 แห่งเป็นแบบผสมทั้งสองประเภท, UNESCO World Heritage Sites official sites.

ใหม่!!: บาเอซาและมรดกโลก · ดูเพิ่มเติม »

สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในอิตาลี

มัยฟื้นฟูศิลปวิทยาอิตาลี (ภาษาอังกฤษ: Italian Renaissance) เป็นจุดแรกของการเริ่มสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาซึ่งเป็นช่วงเวลาของความเจริญทางวัฒนธรรมที่สูงสุดในยุโรปที่เริ่มตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 13 ไปจนสิ้นสุดลงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 16 ที่เป็นช่วงเวลาที่เชื่อมระหว่างยุคกลางของยุโรปกับยุโรปสมัยใหม่ตอนต้น (Early Modern Europe) คำว่า “เรอเนสซองซ์” เป็นคำสมัยใหม่ที่มาใช้กันในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ในงานของนักประวัติศาสตร์เช่นเจคอป เบิร์คฮาร์ดท์ (Jacob Burckhardt) ที่มาของขบวนการฟื้นฟูศิลปวิทยาจะเริ่มจากการวิวัฒนาการทางวรรณกรรมของผู้ก่อตั้งในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 14 แต่ วัฒนธรรมด้านอื่นๆของอิตาลีในขณะนั้นยังคงเป็นวัฒนธรรมของยุคกลาง ปรัชญาฟื้นฟูศิลปวิทยามิได้แพร่หลายอย่างเต็มที่จนกระทั่งปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 คำว่า “เรอเนสซองซ์” หรือ “Rinascimento” ในภาษาอิตาลีหมายความว่า “เกิดใหม่” และเป็นสมัยที่เป็นที่รู้จักกันดีที่สุดในการฟื้นฟูความสนใจในวัฒนธรรมของกรีกโรมันหลังจากสมัยที่นักมนุษย์วิทยาเรอเนสซองซ์ (Renaissance humanist) ตั้งชื่อว่ายุคมืด (Dark Ages) ความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้เป็นความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญแต่จำกัดอยู่แต่ในกลุ่มชนชั้นสูงและทิ้งให้ประชากรส่วนใหญ่ในยุโรปยังมีความเป็นอยู่ที่ไม่ต่างจากสมัยกลางที่ผ่านมา สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาของอิตาลีเริ่มในทัสเคนีโดยมีศูนย์กลางอยู่ที่ฟลอเรนซ์และเซียนา และต่อมาในเวนิสที่มีผลเป็นอันมาก เพราะงานต่างๆ ของกรีกโบราณถูกนำไปรวบรวมไว้ที่เวนิสซึ่งทำให้กลายเป็นแหล่งความรู้ต่างๆ ที่ใหม่ๆ ให้แก่นักมนุษยนิยม ผู้คงแก่เรียนในเวนิสในขณะนั้น ต่อมาปรัชญาฟื้นฟูศิลปวิทยาก็มามีอิทธิพลในกรุงโรม ที่ทำให้เกิดการสร้างสิ่งก่อสร้างใหม่ๆ มากมายที่ส่วนใหญ่โดยการอุปถัมภ์ของพระสันตปาปาในคริสต์ศตวรรษที่ 16 สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาของอิตาลีรุ่งเรืองที่สุดในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 15 หลังจากนั้นก็ลดถอยลงหลังจากการรุกรานจากต่างประเทศที่ก่อสงครามในอิตาลี แต่การฟื้นฟูศิลปวิทยาของอิตาลีก็มิได้หยุดนิ่งลงแต่เผยแพร่ไปทั่วยุโรปและเริ่มสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาตอนเหนือของยุโรปและสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาอังกฤษและประเทศอื่นๆ ในยุโรป สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาของอิตาลีเป็นที่รู้จักกันดีที่สุดในความสำเร็จทางด้านวัฒนธรรม วรรณกรรมฟื้นฟูศิลปวิทยาของอิตาลีรวมนักมนุษยนิยมผู้มีชื่อเสียงเช่นเปตรากที่รู้จักกันดีในงานซอนเน็ต “Il Canzoniere”; จิโอวานนิ บอคคาซิโอ (Giovanni Boccaccio) ในงานเรื่องเล่า “Decameron” และนักมนุษย์วิทยาเรอเนสซองซ์เช่นโปลิซิอาโน (Poliziano), มาร์ซิลิโอ ฟิซิโน (Marsilio Ficino), โลเร็นโซ วาลลา (Lorenzo Valla), อัลโด มานูซิโอ (Aldo Manuzio), โพจจิโอ บราชชิโอลินิ (Poggio Bracciolini) นอกจากนั้นก็มีนักประพันธ์มหากาพย์เรอเนสซองซ์เช่นบัลดัสซาเร คาสติกลิโอเน (Baldassare Castiglione) (“The Book of the Courtier”), ลุโดวิโค อริโอสโต (Ludovico Ariosto) (“Orlando Furioso”) และทอร์ควาโท ทาสโซ (Torquato Tasso) (“Jerusalem Delivered”) และนักประพันธ์ร้อยแก้วเช่นนิคโคโล มาเคียเวลลี (“The Prince”) จิตรกรรมเรอเนสซองซ์อิตาลีเป็นจิตรกรรมที่มีอิทธิพลต่อจิตรกรรมตะวันตกต่อมาอีกหลายร้อยปี โดยมีจิตรกรเช่นไมเคิล แอนเจโล, ราฟาเอล, ซานโดร บอตติเชลลี, ทิเชียน และเลโอนาร์โด ดา วินชี และเช่นเดียวกันกับสถาปัตยกรรมฟื้นฟูศิลปวิทยา โดยมีสถาปนิกเช่นอันเดรอา ปัลลาดีโอ และงานเช่นมหาวิหารฟลอเรนซ์ และมหาวิหารเซนต์ปีเตอร์ในกรุงโรม ในขณะเดียวกันนักประวัติศาสตร์ในปัจจุบันเห็นว่าเป็นสมัยของความหดตัวทางเศรษฐกิจและความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งมามีความก้าวหน้ามากกว่าในวัฒนธรรมของโปรเตสแตนต์ในคริสต์ศตวรรษที่ 17.

ใหม่!!: บาเอซาและสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในอิตาลี · ดูเพิ่มเติม »

องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ

งของยูเนสโก องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization) หรือ ยูเนสโก (UNESCO) เป็นทบวงการชำนัญพิเศษของสหประชาชาติ ก่อตั้งโดยได้มีการลงนามในธรรมนูญขององค์การ เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: บาเอซาและองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศสเปน

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: บาเอซาและประเทศสเปน · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำกัวดัลกิบีร์

แม่น้ำกัวดัลกิบีร์ (Guadalquivir) เป็นแม่น้ำที่ยาวที่สุดของแคว้นอันดาลูซิอา ทางภาคใต้ของประเทศสเปน ชื่อแม่น้ำมาจากภาษาอาหรับว่า "อัลวาดิลกะบีร" (al-wādi al-kabīr; الوادي الكبير) ซึ่งหมายถึง "แม่น้ำใหญ่" แม่น้ำสายนี้เคยมีชื่อเรียกว่า เบติส (Betis) หรือ ไบติส (Baetis) ตั้งแต่สมัยก่อนโรมันจนกระทั่งถึงสมัยอัลอันดะลุส (ช่วงที่ชาวมุสลิมปกครองสเปน) มณฑลในคาบสมุทรไอบีเรียของจักรวรรดิโรมันที่แม่น้ำสายนี้ไหลผ่านนั้นจึงมีชื่อว่า ฮิสปาเนียไบตีกา แม่น้ำกัวดัลกิบีร์ที่เมืองเซบียา แม่น้ำกัวดัลกิบีร์มีความยาว 657 กิโลเมตร มีพื้นที่ลุ่มน้ำมระมาณ 58,000 กิโลเมตร เริ่มต้นที่กัญญาดาเดลัสฟูเอนเตสในทิวเขากาซอร์ลา ผ่านเมืองกอร์โดบาและเมืองเซบิยา และสิ้นสุดที่หมู่บ้านทำประมงชื่อโบนันซา ในเมืองซันลูการ์เดบาร์ราเมดา โดยไหลลงสู่อ่าวกาดิซ (ส่วนหนึ่งของมหาสมุทรแอตแลนติก) พื้นที่ต่ำและชื้นแฉะบริเวณปากน้ำนั้นมีชื่อเรียกว่า "ลัสมาริสมัส" (Las Marismas) มีพื้นที่ติดต่อกับอุทยานแห่งชาติดอญญานา (Doñana National Park) แม่น้ำกัวดัลกิบีร์เป็นหนึ่งในแม่น้ำขนาดใหญ่ไม่กี่สายของประเทศที่ใช้เดินเรือได้ ซึ่งปัจจุบันสามารถเดินเรือเข้าไปได้ถึงเมืองเซบียา แต่ในสมัยโรมันนั้น เรือสามารถแล่นลึกเข้าไปถึงเมืองกอร์โดบา กล่าวกันว่าเมืองโบราณเมืองหนึ่งในประวัติศาสตร์สเปนที่ชื่อตาร์เตสโซส (Tartessos) ตั้งอยู่บริเวณปากแม่น้ำสายนี้ แต่ก็ยังไม่พบร่องรอย ภาพ:río Guadalquivir Cordoba.jpg|แม่น้ำกัวดัลกิบีร์ เมืองกอร์โดบา ภาพ:Spain Andalusia Cordoba BW 2015-10-27 12-15-09.jpg|แม่น้ำกัวดัลกิบีร์และสะพานสมัยโรมัน ที่เมืองกอร์โดบา ภาพ:Sevilla2005July 040.jpg|แม่น้ำกัวดัลกิบีร์และสะพานกินโตเซนเตนารีโอ ("ศตวรรษที่ 5") เมืองเซบียา ภาพ:Cormoranes.jpg|นกกาน้ำในแม่น้ำกัวดัลกิบีร์ตอนใต้ (อุทยานแห่งชาติดอญญานา) กัวดัลกิบีร์.

ใหม่!!: บาเอซาและแม่น้ำกัวดัลกิบีร์ · ดูเพิ่มเติม »

แคว้นอันดาลูซิอา

อันดาลูซิอา (Andalucía) เป็นแคว้นปกครองตนเองของประเทศสเปน โดยเป็นแคว้นที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับหนึ่งและมีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองในจำนวนแคว้นปกครองตนเอง 17 แห่งที่ประกอบขึ้นเป็นประเทศสเปน เมืองหลักของแคว้นคือเซบิยา แคว้นอันดาลูซิอาแบ่งออกเป็น 7 จังหวัด คือ จังหวัดอูเอลบา จังหวัดเซบิยา จังหวัดกาดิซ จังหวัดกอร์โดบา จังหวัดมาลากา จังหวัดฆาเอน จังหวัดกรานาดา และจังหวัดอัลเมริอา อันดาลูเซียมีอาณาเขตทางทิศเหนือติดต่อกับแคว้นเอซเตรมาดูราและแคว้นกัสติยา-ลา มันชา ทิศตะวันออกติดต่อกับแคว้นมูร์เซียและทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทิศตะวันตกติดต่อกับประเทศโปรตุเกสและมหาสมุทรแอตแลนติก (ตะวันตก-ใต้) และทางทิศใต้ติดต่อกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน (ใต้-ตะวันออก) และมหาสมุทรแอตแลนติก (ใต้-ตะวันตก) ทั้งสองน่านน้ำเชื่อมต่อกันโดยช่องแคบยิบรอลตาร์ทางตอนใต้สุดซึ่งแยกประเทศสเปนออกจากประเทศโมร็อกโกในทวีปแอฟริกา ยิบรอลตาร์ ดินแดนของสหราชอาณาจักรที่ตั้งอยู่ทางทิศใต้มีพรมแดนร่วมกับจังหวัดกาดิซ.

ใหม่!!: บาเอซาและแคว้นอันดาลูซิอา · ดูเพิ่มเติม »

เมืองหลวง

มืองหลวง หรือ ราชธานี คือ เมืองหลักที่เกี่ยวข้องกับรัฐบาล ส่วนใหญ่เป็นที่ตั้งของทำเนียบรัฐบาล คำในภาษาอังกฤษ capital มาจากภาษาละติน caput หมายถึง "หัว" และอาจเกี่ยวข้อง เนินเขาแคปิทอไลน์ เนินเขาที่สูงที่สุดในโรมโบราณ ศูนย์กลางทางประวัติศาสตร์และศาสนา ในภาษาไทย มีหลายคำที่ใช้ในความหมายนี้ เช่น กรุง หรือ พระนคร สำหรับคำว่าเมืองหลวงนั้นยังก็มีความหมายเป็นสองนัย กล่าวคือ หมายถึงเมืองใหญ่ (หลวง หมายถึง ใหญ่) หรือเมืองของหลวง (คือเมืองของพระเจ้าแผ่นดิน, เพราะเป็นที่ประทับของกษัตริย์) เมืองหลวงในบางประเทศ มีขนาดเล็กกว่าเมืองอื่น เช่นใน สหรัฐอเมริกา อินเดีย บราซิล สำหรับคำว่าเมืองหลวงนี้ อาจเป็นเมืองหลวงของรัฐ (ในประเทศที่ปกครองแบบสาธารณรัฐ เป็นต้น) หรือเมืองหลวงของเขตการปกครองระดับใดๆ ก็ได้ เช่น อำเภอเมือง เปรียบเหมือนเป็นเมืองหลวงของจังหวั.

ใหม่!!: บาเอซาและเมืองหลวง · ดูเพิ่มเติม »

เวลายุโรปกลาง

ตเวลาชาติยุโรปกลาง (Central European Time; CET) เป็นชื่อของเขตเวลาที่ตรงกับมาตรฐานบบเวลาสากลเชิงพิกัดบวก 1 ชั่วโมง (UTC+1) ซึ่งใช้เป็นเวลามาตรฐานส่วนใหญ่ในประเทศยุโรป และใช้ในประเทศทางตอนเหนือของทวีปแอฟริก.

ใหม่!!: บาเอซาและเวลายุโรปกลาง · ดูเพิ่มเติม »

เวลาออมแสงยุโรปกลาง

ตเวลาออมแสงยุโรปกลาง (Central European Summer Time; CEST) เป็นชื่อของเขตเวลาที่ตรงกับมาตรฐานเวลาสากลเชิงพิกัดบวก 2 ชั่วโมง (UTC+2) ซึ่งใช้เป็นเวลามาตรฐานส่วนใหญ่ในประเทศยุโรป และใช้ในประเทศทางตอนเหนือของทวีปแอฟริก.

ใหม่!!: บาเอซาและเวลาออมแสงยุโรปกลาง · ดูเพิ่มเติม »

เขตการปกครองของประเทศสเปน

การแบ่งเขตการปกครองของราชอาณาจักรสเปน ตั้งอยู่บนพื้นฐานของหมวด 8 แห่งรัฐธรรมนูญสเปน พ.ศ. 2521 ซึ่งกำหนดให้มีการจัดระเบียบดินแดนออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่ เทศบาล (municipio), จังหวัด (provincia) และแคว้นปกครองตนเอง (comunidad autónoma) โดยเทศบาลเป็นเขตการปกครองย่อยของจังหวัด และจังหวัดเป็นเขตการปกครองย่อยของแคว้นปกครองตนเอง ทั้งนี้ รัฐสเปนมาตรา 138 แห่งรัฐธรรมนูญสเปน..

ใหม่!!: บาเอซาและเขตการปกครองของประเทศสเปน · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »