เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

บอร์คโลน

ดัชนี บอร์คโลน

อร์คโลน (Borgloon) หรือ โลซ (Looz) เป็นเมืองและเทศบาลในมณฑลลิมเบิร์กของประเทศเบลเยียม ในปี ค.ศ. 1976 บอร์คโลนได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็นเทศบาลและได้รวมเขตย่อยอีก 12 เขตย่อยเข้ามาไว้ด้วยกัน โดยมีประชากรมากกว่า 10,000 คนอาศัยอยู่ในพื้นที่ 5,111 เฮกตาร์ ภาษาราชการของบอร์คโลนเป็นภาษาดัตช์ แต่ประชากรหลายคนโดยเฉพาะผู้สูงอายุใช้ภาษาถิ่นสำเนียงลิมเบิร์กตะวันตก.

เปิดใน Google Maps

สารบัญ

  1. 13 ความสัมพันธ์: ชุมชนฟลามส์พ.ศ. 2519พ.ศ. 2557ภาษาราชการภาษาถิ่นภาษาดัตช์มณฑลลิมเบิร์ก (เบลเยียม)ประเทศเบลเยียมเวลายุโรปกลางเวลาออมแสงยุโรปกลางเฮกตาร์เขตการปกครองของประเทศเบลเยียม1 มกราคม

  2. เมืองในจังหวัดลิมบืร์ค (ประเทศเบลเยียม)

ชุมชนฟลามส์

ตพื้นที่ของชุมชนฟลามส์ ชุมชนฟลามส์ (Vlaamse Gemeenschap) ในทางการปกครองของเบลเยียม เป็นสถาบันชุมชนตามรัฐธรรมนูญ มีหน้าที่ตามกฎหมายในขอบเขตพื้นที่ภาษาดัตช์ และเขตทวิภาษาในเขตเมืองหลวงบรัสเซลส์ ทั้งนี้ บทบาทของชุมชนฟลามส์ได้นำมารวมกับเขตฟลามส์ บริหารโดยสภาฟลามส์ในบรัสเซลส์ ชุมชนฟลามส์ยังมีความหมายในทางสังคมและวัฒนธรรม หมายถึงองค์กร สื่อ สังคม วัฒนธรรมของชาวฟลามส์ อีกนัยหนึ่งคือความเป็น"ชาติฟลามส์".

ดู บอร์คโลนและชุมชนฟลามส์

พ.ศ. 2519

ทธศักราช 2519 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1976 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันพฤหัสบดี ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ดู บอร์คโลนและพ.ศ. 2519

พ.ศ. 2557

ทธศักราช 2557 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2014 วันแรกของปีตรงกับวันพุธตามปฏิทินเกรกอเรียน นับเป็นปีที่ 2014 ตามกำหนดสากลศักราช และปีที่ 2557 ตามกำหนดพุทธศักร.

ดู บอร์คโลนและพ.ศ. 2557

ภาษาราชการ

ษาทางการ หรือ ภาษาราชการ คือภาษาที่มีการกำหนดให้เป็นภาษาหลักในการติดต่อสื่อสารภายในประเทศและเขตแดนที่ติดต่อกับประเทศนั้น บางครั้งภาษาท้องถิ่นถูกเข้าใจผิดว่าเป็นภาษาทางการเพราะมีการใช้การติดต่อกับทางส่วนการปกครองของท้องที่นั้น ในขณะที่ประเทศส่วนใหญ่มีภาษาทางการ 1 ภาษา บางประเทศมีภาษาทางการ 2 ภาษาขึ้นไป เช่น เบลเยียม แคนาดา ฟินแลนด์ สวิตเซอร์แลนด์ ฯลฯ ขณะเดียวกันบางประเทศไม่มีภาษาทางการ เช่น สหรัฐอเมริกา สวีเดน ฯลฯ ภาษาทางการของบางประเทศที่อยู่ภายใต้อาณานิคม เช่น ภาษาอังกฤษ และ ภาษาฝรั่งเศส ถูกใช้เป็นภาษาทางการ ถึงแม้ว่าไม่ใช่ภาษาที่มีการใช้เป็นหลักในประเทศนั้นๆ ในประเทศไอร์แลนด์ ภาษาไอร์แลนด์ (ไอริช) เป็นภาษาทางการและเป็นภาษาประจำชาติของประเทศ แต่มีผู้ใช้ภาษาไอร์แลนด์น้อยกว่า 1 ใน 3 ของประชากรประเทศ ขณะที่ผู้คนส่วนมากใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลัก ในบางประเทศมีการโต้เถียงอย่างรุนแรง ในประเด็นที่ว่าควรใช้ภาษาใดเป็นภาษาทางการของประเทศ สำหรับประเทศไทยนั้น ใช้ภาษาไทยมาตรฐาน เป็น "ภาษากลาง" ที่ได้พัฒนารูปแบบขึ้นมาจากภาษาไทยถิ่นกลางมาโดยลำดับ จนมีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างจากภาษาไทยถิ่นกลางอื่นๆ เรียกอีกอย่างว่าเป็นภาษาหนังสือ เป็นภาษาที่ใช้ในเอกสารราชการ การประชุมที่เป็นทางการ หนังสือ และตำราต่างๆ โดยปรากฏแนวการพัฒนาเป็นภาษากลางตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5.

ดู บอร์คโลนและภาษาราชการ

ภาษาถิ่น

ษาถิ่น หรือ สำเนียง คือ ภาษาเฉพาะของท้องถิ่นใดท้องถิ่นหนึ่งที่มีรูปลักษณะเฉพาะตัวทั้งถ้อยคำและสำเนียงเป็นต้น เช่น ในแต่ละภาคของประเทศไทยมีภาษาถิ่นประจำภาคนั้น ดังนี้ ภาคเหนือมีภาษาถิ่นพายัพเช่น ปิ๊กบ้าน ภาคอีสานมีภาษาถิ่นอีสานเช่น เมื่อบ้าน ภาคใต้มีภาษาถิ่นใต้เช่น หลบเริน (แผลงมาจาก "กลับเรือน") และภาคกลางมีภาษาไทยกลางเช่น กลับบ้าน เป็นต้น ทั้งนี้ ทุกภาษาถิ่นในประเทศไทยคงใช้คำศัพท์และไวยากรณ์ที่สอดคล้องกัน แต่มักจะแตกต่างกันในเรื่องของวรรณยุกต์ ถ้อยคำ และสำเนียง เป็นต้น ซึ่งนับเป็นเอกลักษณ์ของภาษาถิ่นนั้น หากพื้นที่ของผู้ใช้ภาษานั้นกว้างก็จะมีภาษาถิ่นหลากหลาย และมีภาษาถิ่นย่อย ๆ ลงไปอีก ซึ่งภาษาถิ่นนั้นมักเป็นเรื่องของภาษาพูดหรือภาษาท่าทาง มากกว่า การกำหนดภาษาหลักหรือภาษาถิ่นนั้น นักภาษาศาสตร์จะพิจารณาคุณลักษณะในเชิงภาษาเท่านั้น ตัวอย่างเช่น ภาษาไทย และภาษาลาวถือว่าต่างก็เป็นภาษาถิ่นของกันและกัน (อาจนับภาษาใดภาษาหนึ่งเป็นภาษาหลักก็ได้ โดยไม่มีนัยสำคัญทางภาษาศาสตร์) แต่เนื่องจากภาษาถิ่นทั้งสองอยู่ในพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ของสองประเทศ โดยทั่วไปจึงถือว่าเป็นคนละภาษา;แนวคิดในการจำแนกภาษาถิ่นนั้น มักพิจารณาจาก.

ดู บอร์คโลนและภาษาถิ่น

ภาษาดัตช์

ษาดัตช์ (Dutch; Nederlands) เป็นภาษากลุ่มเจอร์แมนิกต่ำที่มีคนพูด 22 ล้านคน ส่วนใหญ่ในประเทศเนเธอร์แลนด์และประเทศเบลเยียม ภาษาดัตช์ที่พูดในเบลเยียมมักเรียกว่าภาษาเฟลมิช และมักจะถือเป็นภาษาที่แยกต่างหากกัน.

ดู บอร์คโลนและภาษาดัตช์

มณฑลลิมเบิร์ก (เบลเยียม)

ลิมเบิร์ก (Limburg) เป็นมณฑลที่อยู่ทางตะวันออกที่สุดของเขตฟลามส์ในประเทศเบลเยียม และอยู่ทางตะวันตกของแม่น้ำเมิซ มีพื้นที่ทางเหนือติดต่อกับจังหวัดนอร์ทบราแบนต์, ทางตะวันออกติดต่อกับจังหวัดลิมเบิร์กของประเทศเนเธอร์แลนด์, ทางใต้ติดต่อกับมณฑลลีแยฌ, ทางตะวันตกติดต่อกับมณฑลเฟลมิชบราบันต์และมณฑลแอนต์เวิร์ปของประเทศเบลเยียม ลิมเบิร์กมีเมืองหลวงมณฑลคือฮัสเซิลต์ และมีพื้นที่ 2,414 ตารางกิโลเมตร แบ่งออกเป็น 3 เขตการปกครอง (arrondissement) ประกอบด้วย 44 เทศบาล โดยเคงก์เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ และดีเปินเบกเป็นศูนย์กลางทางการศึกษาของมณฑล ทั้งสองเมืองนี้อยู่ใกล้ๆ กับฮัสเซิลต์ ลิมเบิร์ก เมน ฟาเดอร์ลันด์ (Limburg mijn Vaderland: ลิมเบิร์ก แผ่นดินพ่อของฉัน) คือเพลงประจำมณฑลลิมเบิร์กของทั้งประเทศเบลเยียมและเนเธอร์แลนด์ ลิมเบิร์กเป็นมณฑลที่มีคลองอัลเบิร์ตและแม่น้ำเดเมอร์พาดผ่าน ทางตะวันออกเฉียงใต้ของมณฑลมีเนินเขาเตี้ยๆ เป็นจำนวนมาก และในอดีตลิมเบิร์กเคยมีพื้นที่ทำเหมืองถ่านหินอยู่มาก.

ดู บอร์คโลนและมณฑลลิมเบิร์ก (เบลเยียม)

ประเทศเบลเยียม

ลเยียม (Belgium) หรือชื่อทางการว่า ราชอาณาจักรเบลเยียม (Kingdom of Belgium) เป็นประเทศในยุโรปตะวันตกเฉียงเหนือ มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศเนเธอร์แลนด์ เยอรมนี ลักเซมเบิร์ก ฝรั่งเศส และทะเลเหนือ เบลเยียมเป็นสมาชิกรุ่นก่อตั้งของสหภาพยุโรป และเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ เช่นเดียวกับของอีกหลายองค์กรระหว่างประเทศรวมถึงองค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ ทั้งนี้ ลักษณะของประเทศ ยังคล้ายกับ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์อีกด้วย เบลเยียมมีความหลากหลายทางภาษาค่อนข้างสูง ส่งผลต่อระบบการปกครองที่ค่อนข้างซับซ้อน เบลเยียมแบ่งออกเป็นสองภูมิภาคใหญ่ ๆ ได้แก่ฟลานเดอส์ ซึ่งประชากรส่วนใหญ่พูดภาษาดัตช์ และวัลโลเนีย ซึ่งประชากรส่วนใหญ่พูดภาษาฝรั่งเศส บรัสเซลส์ เมืองหลวงของเบลเยียม เป็นเขตทวิภาษา ตั้งอยู่ในฟลานเดอส์ นอกจากนี้ยังมีชุมชนที่พูดภาษาเยอรมันในทางตะวันออกของวัลโลเนียด้วย คำว่าเบลเยียม (Belgium ในภาษาอังกฤษ België และ Belgique ในภาษาดัตช์และฝรั่งเศส) มีที่มาจาก Gallia Belgica ซึ่งเป็นจังหวัดในยุคโรมัน มีกลุ่มชาว Belgae อยู่อาศั.

ดู บอร์คโลนและประเทศเบลเยียม

เวลายุโรปกลาง

ตเวลาชาติยุโรปกลาง (Central European Time; CET) เป็นชื่อของเขตเวลาที่ตรงกับมาตรฐานบบเวลาสากลเชิงพิกัดบวก 1 ชั่วโมง (UTC+1) ซึ่งใช้เป็นเวลามาตรฐานส่วนใหญ่ในประเทศยุโรป และใช้ในประเทศทางตอนเหนือของทวีปแอฟริก.

ดู บอร์คโลนและเวลายุโรปกลาง

เวลาออมแสงยุโรปกลาง

ตเวลาออมแสงยุโรปกลาง (Central European Summer Time; CEST) เป็นชื่อของเขตเวลาที่ตรงกับมาตรฐานเวลาสากลเชิงพิกัดบวก 2 ชั่วโมง (UTC+2) ซึ่งใช้เป็นเวลามาตรฐานส่วนใหญ่ในประเทศยุโรป และใช้ในประเทศทางตอนเหนือของทวีปแอฟริก.

ดู บอร์คโลนและเวลาออมแสงยุโรปกลาง

เฮกตาร์

กตาร์ คือหน่วยของพื้นที่ มักย่อว่า ha จากภาษาอังกฤษ hectare 1 เฮกตาร์ มีค่าเท่ากับ.

ดู บอร์คโลนและเฮกตาร์

เขตการปกครองของประเทศเบลเยียม

การแบ่งเขตการปกครองของประเทศเบลเยียม นั้นมีลักษณะการปกครองโดยรัฐบาลกลาง (แบบสหพันธรัฐ) อันประกอบด้วย 3 ชุมชน (Community), 3 เขต (Region) และ 4 เขตภาษา (Language area) ซึ่งทั้งสามแบบนี้ประกอบรวมกันเป็นประเทศเบลเยียม ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรเบลเยียมปี..

ดู บอร์คโลนและเขตการปกครองของประเทศเบลเยียม

1 มกราคม

วันที่ 1 มกราคม เป็นวันแรกของปี ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 364 วันในปีนั้น (365 วันในปีอธิกสุรทิน).

ดู บอร์คโลนและ1 มกราคม

ดูเพิ่มเติม

เมืองในจังหวัดลิมบืร์ค (ประเทศเบลเยียม)

หรือที่รู้จักกันในชื่อ Borgloonโบกลูน