โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

บอมบ์สูท

ดัชนี บอมบ์สูท

อมบ์สูท บอมบ์สูท (Bomb suit) หรือชุดกันระเบิด เป็นชุดเกราะหนักที่ได้รับการออกแบบมาเพื่อทนต่อแรงอัดจากระเบิด และอาจรวมถึงระเบิดกระสุนยิง ซึ่งมักจะได้รับการสวมใส่โดยบุคลากรหน่วยทำลายล้างวัตถุระเบิดที่ผ่านการฝึกอบรม เปรียบเทียบกับชุดเกราะกันกระสุนส่วนบุคคล ซึ่งมักจะมุ่งเน้นการป้องกันลำตัวและศีรษะ ในขณะที่ชุดกันระเบิดจะต้องป้องกันทุกส่วนของร่างกาย ตั้งแต่อันตรายที่เกิดจากการระเบิดของวัตถุระเบิดที่มีผลต่อร่างกายทุกส่วน การออกแบบปัจจุบันที่ได้ผลจะมีน้ำหนักมาก, ขนาดใหญ่ และยากในการจัดทำ ข้อบกพร่องเหล่านี้ทำให้มันไม่เหมาะสมสำหรับการใช้งานปกติในสถานการณ์การสู้รบ มีหลายชิ้นส่วนของชุดกันระเบิดที่ทับซ้อนกันเพื่อการป้องกันสูงสุด โดยเป็นชุดป้องกันในรูปแบบต่างกันที่หลากหลาย มันสามารถยับยั้งหรือหักเหแรงกระแทกที่มาจากวัตถุระเบิด นอกจากนี้ยังสามารถหยุดหรือลดแรงอัดจากคลื่นระเบิดที่ส่งผ่านไปยังบุคคลที่อยู่ภายในชุด ชุดกันระเบิดส่วนใหญ่ ดังเช่น แอดวานซ์บอมบ์สูท ได้มีการใช้ชั้นของเคฟลาร์, โฟม และพลาสติก ทำขึ้นแบบสำเร็จ ชุดกันระเบิดอาจจะไม่มีถุงมือ เพื่อเพิ่มความแน่นอนในการปฏิบัติ โดยจะช่วยให้ผู้สวมใส่เกิดการเคลื่อนไหวของมือได้อย่างสูงสุด แต่นั่นก็เป็นการปล่อยให้มือและแขนไม่ได้รับการป้องกันอย่างสมบูรณ์ เจ้าหน้าที่อีโอดีจะทำการสวมใส่ชุดกันระเบิดในระหว่างการสำรวจ 'เรนเดอร์เซฟ' หรือขั้นตอนการหยุดชะงักในการคุกคามของระเบิดที่มีประสิทธิภาพหรือได้รับการยืนยัน ชุดดังกล่าวจะต้องสามารถป้องกันการกระจายตัว, แรงดันระเบิด, ความร้อน และผลกระทบระดับตติยภูมิของภัยคุกคามจากการระเบิด ในขณะเดียวกัน ชุดอาจขัดขวางการเคลื่อนไหวหรือการตระหนักรู้สถานการณ์ของพวกเขาจนเป็นที่น่าสังเกต.

3 ความสัมพันธ์: ระเบิดแสวงเครื่องปอดช้ำแอดวานซ์บอมบ์สูท

ระเบิดแสวงเครื่อง

กระสุนปืนใหญ่สำหรับระเบิดแสวงเครื่องที่ตำรวจอิรักค้นพบในกรุงแบกแดดเมื่อเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2005 คูการ์คันนี้ในอัลอันบาร์ ประเทศอิรัก ถูกโจมตีโดยตรงจากระเบิดแสวงเครื่อง ที่มีขนาดประมาณ 300-500 ปอนด์ ระเบิดแสวงเครื่อง (Improvised explosive device; อักษรย่อ: IED) เป็นระเบิดที่สร้างขึ้นและใช้งานในรูปแบบอื่นนอกเหนือจากการปฏิบัติการทางการทหารแบบเดิม ๆ มันอาจจะสร้างขึ้นจากวัตถุระเบิดทางทหารตามแบบแผน เช่น ปืนใหญ่แนบกับกลไกการระเบิด ซึ่งระเบิดแสวงเครื่องมักใช้เป็นระเบิดข้างถนน ระเบิดแสวงเครื่องมักพบเห็นได้ในการกระทำของผู้ก่อการร้ายแบบรุนแรง หรือสงครามนอกแบบอสมมาตรโดยกองโจร หรือหน่วยคอมมานโดในปฏิบัติการเขตสงคราม ส่วนในสงครามอิรักครั้งที่สอง ระเบิดแสวงเครื่องถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวางต่อกองกำลังของสหรัฐ และในช่วงท้ายปี..

ใหม่!!: บอมบ์สูทและระเบิดแสวงเครื่อง · ดูเพิ่มเติม »

ปอดช้ำ

ภาวะปอดช้ำ (pulmonary contusion) เป็นภาวะซึ่งมีการฟกช้ำของปอด เกิดจากการบาดเจ็บต่อทรวงอกทำให้มีการบาดเจ็บต่อหลอดเลือดฝอยจนมีเลือดและสารน้ำคั่งในเนื้อเยื่อปอด สารน้ำส่วนเกินเหล่านี้จะรบกวนกระบวนการแลกเปลี่ยนก๊าซของปอด จนอาจทำให้ระดับออกซิเจนในเลือดน้อยกว่าที่ร่างกายต้องการ ภาวะนี้แตกต่างจากภาวะปอดฉีกขาดซึ่งเป็นการบาดเจ็บของปอดอีกแบบหนึ่ง ตรงที่ภาวะปอดช้ำจะไม่มีการฉีกขาดของเนื้อเยื่อปอด ภาวะปอดช้ำส่วนใหญ่เกิดจากการกระแทกแต่ก็อาจเกิดจากสาเหตุอื่นๆ เช่น การบาดเจ็บจากระเบิด หรือคลื่นกระแทกที่เกิดจากการถูกทิ่มแทง ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 และ 2 ซึ่งมีการใช้ระเบิดในการรบอย่างแพร่หลายนั้นทำให้ภาวะปอดช้ำที่เกิดจากแรงระเบิดเป็นที่รู้จักมากขึ้น ในช่วงทศวรรษ 1960 ภาวะนี้เป็นที่รู้จักในคนทั่วไปมากขึ้นจากการเกิดอุบัติเหตุจราจร การใช้เข็มขัดนิรภัยและถุงลมนิรภัยช่วยลดโอกาสเกิดภาวะปอดช้ำในผู้โดยสารรถยนต์ได้ การวินิจฉัยภาวะนี้ทำได้โดยอาศัยประวัติการเกิดอุบัติเหตุ การตรวจร่างกาย และการถ่ายภาพรังสีทรวงอก อาการและอาการแสดงส่วนใหญ่เป็นผลโดยตรงจากการบาดเจ็บทางกาย เช่นอาการเจ็บหน้าอก และอาการไอเป็นเลือด รวมทั้งอาการที่เป็นผลจากการที่ร่างกายได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ เช่น ภาวะตัวเขียว การฟกช้ำที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่หายได้เองด้วยการรักษาแบบประคับประคองซึ่งส่วนมากอาศัยการให้ออกซิเจนและการเฝ้าสังเกตอาการ อย่างไรก็ดีบางครั้งก็มีความจำเป็นต้องใช้การดูแลเป็นพิเศษแบบผู้ป่วยหนัก เช่น อาจต้องใช้การช่วยหายใจ บางครั้งอาจต้องให้สารน้ำทดแทน ซึ่งต้องทำโดยความระมัดระวังอย่างมากเนื่องจากการมีสารน้ำมากเกินสามารถทำให้ภาวะน้ำท่วมปอดนั้นแย่ลงได้ ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงขั้นเสียชีวิต ความรุนแรงมีตั้งแต่เป็นไม่มากไปจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ การฟกช้ำเล็กๆ อาจมีผลกระทบน้อยมากหรือแทบไม่มี อย่างไรก็ดีภาวะปอดช้ำเป็นภาวะการบาดเจ็บต่อทรวงอกที่อาจมีอันตรายถึงชีวิตที่พบบ่อยที่สุด พบเป็น 30-75% ของการบาดเจ็บต่อทรวงอกชนิดรุนแรงทั้งหมด ผู้ป่วยปอดช้ำมีอัตราการเสียชีวิตอยู่ที่ประมาณ 14-40% จึงเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยบอกว่าผู้ป่วยจะเสียชีวิตหรือมีภาวะทุพพลภาพจากการบาดเจ็บนั้น ๆ หรือไม่ ผู้ป่วยปอดช้ำส่วนใหญ่มีการบาดเจ็บของระบบอื่นร่วมด้วย แม้ส่วนใหญ่การบาดเจ็บที่พบร่วมเหล่านี้จะเป็นสาเหตุของการเสียชีวิต แต่ก็เชื่อกันว่าภาวะปอดช้ำเป็นสาเหตุโดยตรงของการเสียชีวิตมากถึงประมาณ 1/4 - 1/2 ของทั้งหมด ผู้ป่วยที่เป็นเด็กมีโอกาสบาดเจ็บมากกว่าผู้ใหญ่เนื่องจากความยืดหยุ่นของกระดูกทำให้การบาดเจ็บต่อทรวงอกทั้งหมดถูกถ่ายทอดไปยังเนื้อปอดโดยไม่ถูกดูดซับไปที่ผนังทรวงอก ภาวะแทรกซ้อนของภาวะปอดช้ำได้แก่ปอดบวม และกลุ่มอาการหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน ซึ่งอาจส่งผลต่อภาวะทุพพลภาพของระบบหายใจในระยะยาวได้ Category:การบาดเจ็บของทรวงอก Category:ภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ Category:โรคของปอด.

ใหม่!!: บอมบ์สูทและปอดช้ำ · ดูเพิ่มเติม »

แอดวานซ์บอมบ์สูท

หัวหน้าทีมอีโอดีกับการสวมใส่แอดวานซ์บอมบ์สูท แอดวานซ์บอมบ์สูท (Advanced Bomb Suit; อักษรย่อ: ABS) เป็นชุดเต็มรูปแบบสำหรับป้องกันหน่วยทำลายล้างวัตถุระเบิด (อีโอดี) ซึ่งรวมถึงทหารจากภัยคุกคามที่เกี่ยวข้องกับระเบิดแสวงเครื่อง ประกอบด้วย สิ่งที่เกี่ยวข้องกับสะเก็ดโดยรอบจากการระเบิด, แรงดันระเบิด, แรงปะทะ, ความร้อน และเปลวไฟ แอดวานซ์บอมบ์สูทใช้เทคโนโลยีวัสดุสมัยใหม่และออกแบบสำหรับการป้องกันที่ได้รับการปรับปรุง, สะดวกสบาย รวมทั้งพิจารณาถึงด้านการยศาสตร์ โดยชุดป้องกันนี้สร้างจากเคฟลาร์ ด้วยส่วนคลุมป้องกันไฟฟ้าสถิตย์ด้านนอกของ 50/50 นอเม็กซ์/เคฟลาร์ และประกอบด้วยแจ็คเก็ต, กางเกงไม่มีเป้าขา, กระจับถ้วยขาหนีบ และแผงป้องกันแรงกระแทกชนิดแกร่ง เพื่อลดน้ำหนักและเพิ่มความยืดหยุ่น, การป้องกันที่มีให้ในระดับต่าง ๆ, การเฉพาะเจาะจงถึงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย และอิงตามความไวที่มีต่อบาดแผล แอดวานซ์บอมบ์สูทจะแสดงให้เห็นอย่างเด่นชัดในภาพยนตร์หน่วยระห่ำ ปลดล็อกระเบิดโลก ซึ่งเกี่ยวกับกองกำลังทำลายวัตถุระเบิดของกองทัพบกสหรัฐอเมริกาที่ปฏิบัติหน้าที่ในประเทศอิรัก.

ใหม่!!: บอมบ์สูทและแอดวานซ์บอมบ์สูท · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »