เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

น้ำในหูไม่เท่ากัน

ดัชนี น้ำในหูไม่เท่ากัน

น้ำในหูไม่เท่ากัน อาจหมายถึง อาการเวียนศีรษะหมุน (vertigo) หรือโรคที่ทำให้เกิดอาการเวียนศีรษะหมุน เช่น.

สารบัญ

  1. 4 ความสัมพันธ์: การรู้สึกหมุนเป็นระยะแบบไม่รุนแรงหูชั้นในอักเสบอาการรู้สึกหมุนโรคเมนิแยร์

การรู้สึกหมุนเป็นระยะแบบไม่รุนแรง

อาการรู้สึกหมุนฉับพลันขณะเปลี่ยนท่า เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของหูชั้นใน ผู้ป่วยจะมีอาการเวียนศีรษะเหมือนมีบ้านหมุน เป็นสาเหตุของอาการรู้สึกหมุนที่พบบ่อยมากที่สุดอย่างหนึ่ง.

ดู น้ำในหูไม่เท่ากันและการรู้สึกหมุนเป็นระยะแบบไม่รุนแรง

หูชั้นในอักเสบ

หูชั้นในอักเสบ (labyrinthiis, otitis interna) คือภาวะซึ่งมีการอักเสบของหูชั้นใน ทำให้มีการทำงานของระบบควบคุมการทรงตัวผิดปกติไปข้างหนึ่ง ชื่อภาษาอังกฤษ labyrinthitis ได้มาจากคำว่า labyrinth (เขาวงกต) ซึ่งมาจากลักษณะเป็นท่อคดเคี้ยวของส่วนหนึ่งของหูชั้นใน ท่อนี้ทำหน้าที่รับรู้การทรงตัวและตำแหน่งในปัจจุบันของศีรษะ หูชั้นในอักเสบทำให้มีความผิดปกติของการทรงตัว เกิดอาการเวียนศีรษะหมุนได้ นอกจากจะทำให้มีความผิดปกติของการทรงตัวแล้วผู้ป่วยหูชั้นในอักเสบยังอาจมีปัญหาสูญเสียการได้ยินหรือได้ยินเสียงผิดปกติได้ หูชั้นในอักเสบส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส แต่ก็อาจเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย การบาดเจ็บที่ศีรษะ ภาวะเครียด ภูมิแพ้ หรือเป็นผลข้างเคียงจากยาบางชนิดก็ได้ หูชั้นในอักเสบที่เกิดจากการติดเชื้อไม่ว่าจะเป็นไวรัสหรือแบคทีเรียอาจทำให้สูญเสียการได้ยินถาวรได้ แม้จะพบน้อยมากก็ตาม.

ดู น้ำในหูไม่เท่ากันและหูชั้นในอักเสบ

อาการรู้สึกหมุน

อาการรู้สึกหมุน (vertigo) เป็นอาการเวียนศีรษะแบบหนึ่ง ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกถึงการเคลื่อนไหวทั้งที่จริงๆ แล้วไม่มีการเคลื่อนไหว อาการนี้เป็นผลจากความผิดปกติของระบบควบคุมการทรงตัวในหูชั้นใน อาจพบร่วมกับอาการคลื่นไส้อาเจียน ยืนหรือเดินลำบากได้ อาการรู้สึกหมุนนี้อาจแบ่งได้เป็นสามแบบ คือ แบบที่ 1 objective คือผู้ป่วยรู้สึกว่าวัตถุต่างๆ หมุนรอบตัวเอง แบบที่ 2 subjective คือผู้ป่วยรู้สึกว่าตัวเองกำลังมีอาการเคลื่อนไหว และแบบที่ 3 pseudovertigo (อาการรู้สึกหมุนเทียม) คือรู้สึกว่ามีการหมุนอยู่ข้างในศีรษะ สาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของอาการรู้สึกหมุนคืออาการหมุนเป็นระยะสัมพันธ์กับการเปลี่ยนท่าชนิดไม่ร้าย การกระทบกระเทือนที่ศีรษะ และไมเกรนของระบบควบคุมการทรงตัว สาเหตุอื่นๆ ที่พบไม่บ่อยเท่าเช่นโรคเมนิแยร์ และเส้นประสาทควบคุมการทรงตัวอักเสบ เป็นต้น การดื่มสุราก็สามารถทำให้มีอาการรู้สึกหมุนได้ การหมุนตัวหลายๆ รอบ เช่นการละเล่นของเด็ก ก็สามารถทำให้เกิดอาการรู้สึกหมุนชั่วคราวได้จากการที่ของเหลวในหูชั้นในยังคงมีการเคลื่อนไหว ("กระฉอก") จากแรงเฉื่อยจากการหมุนได้.

ดู น้ำในหูไม่เท่ากันและอาการรู้สึกหมุน

โรคเมนิแยร์

รคเมนิแยร์ (Ménière's disease) เป็นโรคอย่างหนึ่งของหูชั้นใน ผู้ป่วยจะมีอาการเวียนศีรษะหมุนเป็นระยะๆ ได้ยินเสียงผิดปกติในหู สูญเสียการได้ยิน และหูอื้อได้ ส่วนใหญ่จะเป็นเพียงข้างเดียวในระยะแรก อาการครั้งหนึ่งมักคงอยู่ประมาณ 20 นาที ไปจนถึง 2-3 ชั่วโมง โดยแต่ละครั้งอาจเป็นนานไม่เท่ากันได้ อาการสูญเสียการได้ยินและอาการได้ยินเสียงผิดปกติในหูอาจเป็นมากขึ้น จนเป็นถาวรได้ สาเหตุของโรคเมนิแยร์ยังไม่ชัดเจน แต่เชื่อว่าสัมพันธ์กับสาเหตุทางพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมประกอบกัน บางทฤษฎีเชื่อว่าสาเหตุของโรคสัมพันธ์กับการเกิดหลอดเลือดตีบ การติดเชื้อไวรัส และปฏิกิริยาแพ้ภูมิตนเอง ผู้ป่วย 10% มีคนในครอบครัวเป็นโรคนี้ด้วย อาการของโรคเชื่อว่าเกิดจากการที่มีสารน้ำคั่งกว่าปกติในโพรงเลบิรินท์ของหูชั้นใน การวินิจฉัยทำได้โดยการสัมภาษณ์อาการ การตรวจร่างกาย และการตรวจการได้ยิน โรคอื่นที่อาจทำให้มีอาการคล้ายกันได้แก่อาการเวียนศีรษะจากไมเกรนและภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราว ปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาใดที่สามารถรักษาโรคเมนิแยร์ให้หายขาดได้ การรักษาจะมุ่งเน้นไปที่การบรรเทาอาการในแต่ละครั้งที่มีอาการกำเริบ ซึ่งทำได้ด้วยการใช้ยาเพื่อบรรเทาอาการเวียนศีรษะ อาการคลื่นไส้ และความกังวล วิธีที่แนะนำไว้ในการป้องกันการเกิดอาการกำเริบมีหลายวิธี แต่ละวิธียังไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์สนับสนุนว่าได้ผล ผู้ป่วยอาจใช้การลดปริมาณเกลือในอาการ การใช้ยาขับปัสสาวะ หรือยาสเตียรอยด์ได้ภายใต้การแนะนำของแพทย์ การทำกายภาพบำบัดอาจช่วยบรรเทาปัญหาการทรงตัวได้ และการรับคำปรึกษาอาจช่วยลดความกังวลได้ บางครั้งแพทย์อาจแนะนำให้รักษาด้วยการฉีดยาเข้าหูชั้นใน หรือการผ่าตัด หากรักษาด้วยวิธีอื่นๆ แล้วยังไม่ได้ผล แต่วิธีการรักษาเช่นนี้ก็ยังมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ การวางท่อที่แก้วหูเป็นวิธีรักษาหนึ่งที่ทำกันมาก แต่ก็ยังไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์สนับสนุนว่าได้ผล โรคเมนิแยร์ค้นพบครั้งแรกเมื่อช่วงต้นคริสต์ศตวรรษ 1800 โดย Prosper Ménière มีความชุก 0.3-1.9 ต่อ 1000 ประชากร ผู้ป่วยส่วนใหญ่เริ่มมีอาการในช่วงอายุ 40-60 เป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย หลังเริ่มมีอาการไปประมาณ 5-15 ปี อาการเวียนศีรษะหมุนมักลดลงจนไม่เป็นอีก คงเหลือเฉพาะอาการทรงตัวลำบากเล็กน้อย สูญเสียการได้ยินปานกลาง และมีเสียงผิดปกติในหู.

ดู น้ำในหูไม่เท่ากันและโรคเมนิแยร์

หรือที่รู้จักกันในชื่อ โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน