โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

น้ำจิ้มบ๊วย

ดัชนี น้ำจิ้มบ๊วย

น้ำจิ้มบ๊วย น้ำจิ้มบ๊วย หรือ น้ำจิ้มบ๊วยเจี่ย (plum sauce, จีนตัวเต็ม: 蘇梅醬, จีนตัวย่อ: 苏梅酱, พินอิน: Sū méi jiàng) เป็นเครื่องปรุงรสอาหาร ให้รสเปรี้ยวหวาน ใช้ในอาหารจีน เป็นน้ำจิ้มสำหรับอาหารทอด เช่น ปอเปี๊ยะ ไข่ม้วน ฮ่อยจ๊อ ไก่ทอด กุ้งทอด ลูกชิ้นทอด เป็นต้น น้ำจิ้มบ๊วยทำมาจากบ๊วยหรือผลไม้อื่น อาทิ ลูกท้อหรือแอปริคอต ผสมกับน้ำตาล น้ำส้มสายชู เกลือ ขิง และพริก.

16 ความสัมพันธ์: บ๊วยพริกพินอินกุ้งอักษรจีนตัวย่ออักษรจีนตัวเต็มอาหารจีนท้อขิงน้ำส้มสายชูน้ำจิ้มน้ำตาลไก่ทอดเกลือเอพริคอตเปาะเปี๊ยะ

บ๊วย

วย เป็นสำเนียงฮกเกี้ยนของคำภาษาจีนว่า "梅" สำเนียงกลางว่า เหมย์ (méi) และอาจหมายถึง.

ใหม่!!: น้ำจิ้มบ๊วยและบ๊วย · ดูเพิ่มเติม »

พริก

right right พริก เป็นพืชในวงศ์ Solanaceae สกุล Capsicum ชื่อภาษาอังกฤษว่า Chilli peppers, chili, chile หรือ chilli มาจากคำภาษาสเปน ว่า chile โดยส่วนมากแล้ว ชื่อเหล่านี้มักหมายถึง พริกที่มีขนาดเล็ก ส่วนพริกขนาดใหญ่ที่มีรสอ่อนกว่าจะเรียกว่า Bell Pepper ในสหรัฐอเมริกา Pepper ในประเทศอังกฤษและไอร์แลนด์, capsicum ในประเทศอินเดียกับออสเตรเลีย และ Paprika ในประเทศทวีปยุโรปหลายประเทศ พริกชนิดต่าง ๆ มีต้นกำเนิดมาจากทวีปอเมริกา ซึ่งในปัจจุบันนี้ได้มีปลูกกันในหลายประเทศทั่วโลก เพราะพริกเป็นเครื่องเทศที่สำคัญชื่อหนึ่ง และยังมีคุณสมบัติเป็นยาสมุนไพรด้วยเช่นกัน.

ใหม่!!: น้ำจิ้มบ๊วยและพริก · ดูเพิ่มเติม »

พินอิน

นอิน หรือ ฮั่นยฺหวี่พินอิน (แปลว่า สะกดเสียงภาษาจีน) คือระบบในการถอดเสียงภาษาจีนมาตรฐาน ด้วยตัวอักษรละติน ความหมายของพินอินคือ "การรวมเสียงเข้าด้วยกัน" (โดยนัยก็คือ การเขียนแบบสัทศาสตร์ การสะกด การถอดเสียง หรือการทับศัพท์) พินอินเริ่มต้นในปี พ.ศ. 2501 และเริ่มใช้กันในปี พ.ศ. 2522 โดย รัฐบาลของสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยใช้แทนที่ระบบการถอดเสียงแบบเก่า เช่น ระบบเวดและไจลส์ และระบบจู้อิน นอกจากนี้ ยังมีการออกแบบระบบอื่น ๆ สำหรับนำไปใช้กับภาษาพูดของจีนในถิ่นต่าง ๆ และภาษาของชนกลุ่มน้อยที่ไม่ใช้ภาษาฮั่น ในสาธารณรัฐประชาชนจีนด้วย นับแต่นั้นมา พินอินก็เป็นที่ยอมรับจากสถาบันนานาชาติหลายแห่ง รวมทั้งรัฐบาลสิงคโปร์ หอสมุดรัฐสภาอเมริกัน และสมาคมหอสมุดอเมริกัน โดยถือว่าเป็นระบบการถอดเสียงที่เหมาะสมสำหรับภาษาจีนกลาง ครั้นปี พ.ศ. 2522 องค์การมาตรฐานนานาชาติ (ISO) ก็ได้รับเอาพินอินเป็นระบบมาตรฐาน (ISO 7098) ในการถ่ายทอดเสียงภาษาจีนปัจจุบันด้วยอักษรโรมัน (the standard romanization for modern Chinese) สิ่งสำคัญที่ต้องระลึกไว้ก็คือ พินอินนั้น เป็นการทับศัพท์ด้วยอักษรโรมัน (Romanization) มิใช่การถอดเสียงแบบภาษาอังกฤษ (Anglicization) นั่นคือ การกำหนดให้ใช้ตัวอักษรตัวหนึ่ง สำหรับแทนเสียงหนึ่ง ๆ ในภาษาจีนไว้อย่างตายตัว เช่น b และ d ในระบบพินอิน เป็นเสียง "ป" และ "ต" ตามลำดับ ซึ่งแตกต่างจากระบบการออกเสียงส่วนใหญ่ ไม่ว่าอังกฤษ ฝรั่งเศส หรือภาษาอื่นในยุโรป ขณะที่อักษร j หรือ q นั้นมีเสียงไม่ตรงกับในภาษาอังกฤษเลย กล่าวสั้น ๆ ก็คือ พินอินมุ่งที่จะใช้อักษรโรมัน เพื่อแทนเสียงใดเสียงหนึ่งโดยเฉพาะ เพื่อความสะดวกในการเขียน มิได้ยืมเสียงจากระบบของอักษรโรมันมาใช้ การใช้ระบบนี้นอกจากทำให้ชาวต่างชาติเขียนอ่านภาษาจีนได้สะดวกแล้ว ยังสามารถใช้กับคอมพิวเตอร์ได้สะดวกอย่างยิ่งด้วย ต่อไปนี้เป็นการถอดเสียงภาษาจีน (ที่เขียนด้วยอักษรโรมันในระบบพินอิน) ด้วยอักษรไทย โปรดสังเกตว่า บางหน่วยเสียงในภาษาจีนไม่มีหน่วยเสียงที่ตรงกันในภาษาไทย จึงต้องอนุโลมใช้อักษรที่ใกล้เคียง ในที่นี้จึงมีอักษรไทยบางตัว ที่ต้องใช้แทนหน่วยเสียงในภาษาจีนมากกว่าหนึ่งหน่วยเสียง ทั้งนี้เพื่อเป็น "เกณฑ์อย่างคร่าว ๆ" สำหรับการเขียนคำทับศัพท์ภาษาจีน.

ใหม่!!: น้ำจิ้มบ๊วยและพินอิน · ดูเพิ่มเติม »

กุ้ง

กุ้ง จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ชั้น Crustacea อันดับ Decapoda มีด้วยกันหลายวงศ์ กุ้งเป็นสัตว์น้ำ หายใจด้วยเหงือก ลำตัวยาว แบนหรือกลม แบ่งเป็นปล้องๆ เปลือกที่หุ้มท่อนหัวและอกคลุมมาถึงอกปล้องที่ 8 ส่วนใหญ่กรีมีลักษณะแบนข้าง ก้ามและขาอยู่ที่ส่วนหัวและอก มี 10 ขา มีทั้งในน้ำจืดและน้ำเค็ม โดยปกติชอบหลบซ่อนตัวอยูเงียบ ๆ ตามพื้นน้ำหรือในซอกมืด ๆ จะออกหากินในเวลากลางคืน กุ้งกินทั้งพืชและสัตว์เป็นอาหาร เช่น กิน กุ้งด้วยกันเอง ลูกปลา ไส้เดือน สัตว์หน้าดินขนาดเล็กชนิดต่าง ๆ ข้าว เนื้อมะพร้าวตลอดจนซากสัตว์ สามารถแบ่งออกได้หลายชนิด เช่น กุ้งกุลาดำ กุ้งก้ามกราม กุ้งนาง กุ้งหลวง กุ้งก้ามเกลี้ยง กุ้งตะกาด กุ้งตะเข็บ กุ้งฝอย กุ้งหัวแข็ง กุ้งหัวโขน กุ้งขาว กุ้งรู กุ้งหิน กุ้งดีดขัน กุ้งแชบ๊วย กุ้งเครย์ฟิช ส่วนประกอบของเปลือกกุ้งส่วนใหญ่เป็นไคติน รองลงมาก็เป็นจำพวกแร่ธาตุ โปรตีน ส่วนของไขมัน เป็นต้น.

ใหม่!!: น้ำจิ้มบ๊วยและกุ้ง · ดูเพิ่มเติม »

อักษรจีนตัวย่อ

Hànzì ฮั่นจื้อ แปลว่า ภาษาฮั่น หรือ ภาษาจีนกลาง เขียนด้วยอักษรจีนตัวย่อ แผนภาพออยเลอร์แสดงกลุ่มของการเปลี่ยนแปลงอักษรจีนตัวเต็มไปเป็นอักษรจีนตัวย่อ อักษรจีนตัวย่อ (เจี่ยนถี่จื้อ/เจี่ยนฮั่วจื้อ) เป็นหนึ่งในสองรูปแบบอักษรจีนมาตรฐานที่ใช้กันทั่วโลกในปัจจุบัน อักษรจีนตัวย่อประดิษฐ์และเริ่มใช้โดยรัฐบาลของสาธารณรัฐประชาชนจีน (จีนแผ่นดินใหญ่) ใน พ.ศ. 2492 เหตุที่ต้องเรียกว่าอักษรจีนตัวย่อ หรือ Simplified Chinese character ก็เพื่อให้แตกต่างจากอักษรจีนมาตรฐานอีกรูปแบบหนึ่งที่ในปัจจุบัน นั่นคือ อักษรจีนตัวเต็ม หรือ Traditional Chinese Character (อักษรจีนดั้งเดิม) อักษรจีนตัวเต็มได้ใช้ใน ฮ่องกง มาเก๊า ไต้หวัน และชุมชนชาวจีนโพ้นทะเลบางชุมชนที่เริ่มตั้งชุมชนก่อนการใช้อักษรจีนตัวย่ออย่างแพร่หลาย ส่วนอักษรจีนตัวย่อ ใช้กันใน สาธารณรัฐประชาชนจีน สิงคโปร์ และชุมชนชาวจีนโพ้นทะเลบางชุมชนที่เริ่มตั้งชุมชนหลังการใช้อักษรจีนตัวย่ออย่างแพร่หลาย อย่างไรก็ตาม ชาวไทยเชื้อสายจีนส่วนมากยังคงใช้อักษรจีนตัวเต็มเป็นหลัก แต่สำหรับการสอนภาษาจีนตามสถานศึกษาในประเทศไทยส่วนมากจะใช้อักษรจีนตัวย่อ เพื่อให้เป็นแบบแผนเดียวกันกับสาธารณรัฐประชาชนจีน.

ใหม่!!: น้ำจิ้มบ๊วยและอักษรจีนตัวย่อ · ดูเพิ่มเติม »

อักษรจีนตัวเต็ม

Hànzì ฮั่นจื้อ แปลว่า ตัวอักษรจีน เขียนด้วยอักษรจีนตัวเต็ม อักษรจีนตัวเต็ม เป็นหนึ่งในสองรูปแบบอักษรจีนมาตรฐานที่ใช้กันทั่วโลกในปัจจุบัน ปรากฏครั้งแรกในสมัยราชวงศ์ฮั่น (พ.ศ. 337 - 763) และได้ใช้มาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 5 ในสมัยราชวงศ์เหนือใต้ ที่ต้องเรียกว่าอักษรจีนตัวเต็ม หรืออักษรจีนดั้งเดิม ก็เพื่อให้แตกต่างจากอักษรจีนมาตรฐานอีกรูปแบบหนึ่งที่ใช้ในปัจจุบัน นั่นคือ อักษรจีนตัวย่อ ซึ่งประดิษฐ์และเริ่มใช้โดยรัฐบาลของ สาธารณรัฐประชาชนจีน (จีนแผ่นดินใหญ่) ใน พ.ศ. 2492 อักษรจีนตัวเต็มได้ใช้ใน ฮ่องกง มาเก๊า ไต้หวัน และชุมชนชาวจีนโพ้นทะเลบางชุมชนที่เริ่มตั้งชุมชนก่อนการใช้อักษรจีนตัวย่ออย่างแพร่หลาย ส่วนอักษรจีนตัวย่อ ใช้กันใน สาธารณรัฐประชาชนจีน สิงคโปร์ และชุมชนชาวจีนโพ้นทะเลบางชุมชนที่เริ่มตั้งชุมชนหลังการใช้อักษรจีนตัวย่ออย่างแพร่หลาย อย่างไรก็ตาม ชาวไทยเชื้อสายจีนส่วนมากยังคงใช้อักษรจีนตัวเต็มเป็นหลัก แต่สำหรับการสอนภาษาจีนตามสถานศึกษาในประเทศไทยส่วนมากจะใช้อักษรจีนตัวย่อ เพื่อให้เป็นแบบแผนเดียวกันกับสาธารณรัฐประชาชนจีน.

ใหม่!!: น้ำจิ้มบ๊วยและอักษรจีนตัวเต็ม · ดูเพิ่มเติม »

อาหารจีน

ติ่มซำ อาหารจีนที่รู้จักกันดี อาหารจีน หมายถึงอาหารที่ประกอบขึ้นตามวัฒนธรรมของชาวจีน ซึ่งรวมทั้งจีนแผ่นดินใหญ่ ไต้หวันและ ฮ่องกง ซึ่งมีหลากหลายชนิดตามแต่ละท้องถิ่น โดยทั่วไปนิยมรับประทานอาหารจานผักและธัญพืชเป็นหลัก นอกจากในราชสำนักที่จะมีอาหารประเภทเนื้อ อาหารที่รู้จักกัน เช่น ก๋วยเตี๋ยว ติ่มซำ หูฉลาม กระเพาะปลา วัฒนธรรมการกินเป็นการกินร่วมกันโดยอุปกรณ์การกินหลัก คือตะเกียบ อาหารจีนจะมีอุปกรณ์การทำหลักๆเพียงสี่อย่างคือ มีด เขียง กะทะก้นกลม และตะหลิว สมัยชุนชิว-จั้นกั๋ว ได้เริ่มมีการแบ่งอาหารจีนเป็น 2 ตระกูลใหญ่ คือ อาหารเมืองเหนือ และอาหารเมืองใต้ กระทั่งต้นราชวงศ์ชิง ได้มีการแบ่งอาหารเป็น 4 ตระกูลใหญ่ ได้แก.

ใหม่!!: น้ำจิ้มบ๊วยและอาหารจีน · ดูเพิ่มเติม »

ท้อ

ลูกท้อ (桃; Peach; ชื่อวิทยาศาสตร์: Prunus persica) เป็นไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีน จัดเป็นไม้พุ่มผลัดใบ อยู่ในสกุล Prunus อันเป็นสกุลเดียวกันกับ ซากุระ, บ๊วย, เชอร์รี่ หรือนางพญาเสือโคร่ง ท้อจัดเป็นไม้เมืองหนาวที่จะขึ้นได้ดีในที่ ๆ มีความสูงตั้งแต่ 3,000 ฟุตขึ้นไป อุณหภูมิโดยเฉลี่ย 10 องศาเซลเซียส ทนแล้งได้ดี เป็นไม้ใบเดี่ยว เรียงสลับ ขอบใบจัก ดอกเดี่ยว มักออกเป็นกระจุก กลีบเลี้ยง 5 กลีบ กลีบดอก 5 กลีบ สีขาวหรืออาจเป็นสีแดง หรือชมพู ดอกจะแตกออกมาก่อนใบ ผลเป็นผลสดเมล็ดเดี่ยว มีขนปกคลุมทั่วบริเวณผิว ท้อนับเป็นผลไม้ที่ใช้ประโยชน์ในการรับประทานมาอย่างยาวนาน และได้รับความนิยมไปทั่วโลก นอกจากนี้แล้วในวัฒนธรรมของชนชาติต่าง ๆ จะมีท้อเข้ามาร่วมอยู่ด้วย ได้แก่ ชาวจีนมีความเชื่อว่า ท้อเป็นสัญลักษณ์ของการมีอายุยืนยาว และเกี่ยวข้องกับการกับการป้องกันสิ่งชั่วร้าย ถ้าดอกท้อของบานในระหว่างการฉลองวันปีใหม่ หมายถึง ปีต่อไปจะเป็นปีของโชคลาภ และดอกท้อยังใช้ประดับตกแต่งภายในบ้านเพื่อความเป็นสิริมงคล ป้องกันสิ่งชั่วร้ายอีกด้วย นอกจากนี้แล้วในสมัยโบราณ การเขียนป้ายคำอวยพรก็นิยมเขียนลงไม้ที่ทำมาจากต้นท้อ ในนิทานพื้นบ้านของญี่ปุ่น โมโมทาโร่ (桃太郎) ซึ่งเป็นเด็กชายที่มีพละกำลังมากมายและเป็นผู้นำในการปราบปีศาจ ก็กำนิดมาจากลูกท้อ เป็นต้น สำหรับในประเทศไทย ท้อมีการนำเข้ามาปลูกในพื้นที่ภาคเหนือ เช่น โครงการหลวง โดยมีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ เช่น มะฟุ้ง, มักม่น, มักม่วน, หุงคอบ, หุงหม่น เป็นต้น.

ใหม่!!: น้ำจิ้มบ๊วยและท้อ · ดูเพิ่มเติม »

ขิง

ง เป็นพืชล้มลุก มีเหง้าใต้ดิน เปลือกนอกสีน้ำตาลแกมเหลือง เนื้อในสีนวลมีกลิ่นหอมเฉพาะ แทงหน่อหรือลำต้นเทียมขึ้นเป็นกอประกอบด้วยกาบหรือโคนใบหุ้มซ้อนกัน ใบ เป็นชนิดใบเดี่ยว ออกเรียงสลับกันเป็นสองแถว ใบรูปหอกเกลี้ยงๆ กว้าง 1.5 - 2 ซม.

ใหม่!!: น้ำจิ้มบ๊วยและขิง · ดูเพิ่มเติม »

น้ำส้มสายชู

Balsamic vinegar น้ำส้มสายชูแดงและขาว น้ำส้มสายชูที่บรรจุขวดรวมกับเครื่องเทศและสมุนไพร น้ำส้มสายชู เป็นของเหลวที่ได้จากกระบวนการหมัก มีองค์ประกอบหลักคือกรดน้ำส้ม (กรดอะซิติก) น้ำส้มสายชูทั่วไปมีความเข้มข้นของกรดตั้งแต่ 4% ถึง 8% โดยปริมาณ และอาจสูงถึง 18% สำหรับ pickling.

ใหม่!!: น้ำจิ้มบ๊วยและน้ำส้มสายชู · ดูเพิ่มเติม »

น้ำจิ้ม

''น้ำจิ้มแป๊ะซะ'' น้ำจิ้ม เป็นเครื่องชูรสอาหารที่แพร่หลายในประเทศไทย ประกอบไปด้วยรสเค็ม, รสหวาน, รสเผ็ด และรสเปรี้ยว โดยน้ำจิ้มมักจะเหลวมากกว่าน้ำพริก ยกเว้นซอสศรีราชาซึ่งสามารถเรียกได้ทั้งน้ำจิ้มศรีราชาและน้ำพริกศรีราชา น้ำจิ้มสามารถรับประทานกับอาหารประเภทย่างและนึ่งได้ โดยน้ำจิ้มนี้ประกอบไปด้วยกระเทียม, น้ำปลา, น้ำมะนาว และพริกขี้หนู.

ใหม่!!: น้ำจิ้มบ๊วยและน้ำจิ้ม · ดูเพิ่มเติม »

น้ำตาล

องน้ำตาลดิบ (ไม่ขัดและไม่ฟอกขาว) น้ำตาล เป็นชื่อเรียกทั่วไปของคาร์โบไฮเดรตชนิดละลายน้ำ โซ่สั้น และมีรสหวาน ส่วนใหญ่ใช้ประกอบอาหาร น้ำตาลเป็นคาร์โบไฮเดรตที่ประกอบด้วยธาตุคาร์บอน ไฮโดรเจน และออกซิเจน มีน้ำตาลหลายชนิดเกิดมาจากที่มาหลายแหล่ง น้ำตาลอย่างง่ายเรียกว่าโมโนแซ็กคาไรด์และหมายรวมถึงกลูโคส (หรือ เด็กซ์โตรส) ฟรุกโตส และกาแลกโตส น้ำตาลโต๊ะหรือน้ำตาลเม็ดที่ใช้เป็นอาหารคือซูโครส เป็นไดแซ็กคาไรด์ชนิดหนึ่ง (ในร่างกาย ซูโครสจะรวมตัวกับน้ำแล้วกลายเป็นฟรุกโตสและกลูโคส) ไดแซ็กคาไรด์ชนิดอื่นยังรวมถึงมอลโตส และแลกโตสด้วย โซ่ของน้ำตาลที่ยาวกว่าเรียกว่า โอลิโกแซ็กคาไรด์ สสารอื่น ๆ ที่แตกต่างกันเชิงเคมีอาจมีรสหวาน แต่ไม่ได้จัดว่าเป็นน้ำตาล บางชนิดถูกใช้เป็นสารทดแทนน้ำตาลที่มีแคลอรีต่ำ เรียกว่าเป็น วัตถุให้ความหวานทดแทนน้ำตาล (artificial sweeteners) น้ำตาลพบได้ทั่วไปในเนื้อเยื่อของพืช แต่มีเพียงอ้อย และชูการ์บีตเท่านั้นที่พบน้ำตาลในปริมาณความเข้มข้นเพียงพอที่จะสกัดออกมาได้อย่างมีประสิทธิภาพ อ้อยหมายรวมถึงหญ้ายักษ์หลายสายพันธุ์ในสกุล Saccharum ที่ปลูกกันในเขตร้อนอย่างเอเชียใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งแต่สมัยโบราณ การขยายการผลิตเกิดขึ้นในคริสศตวรรษที่ 18 พร้อมกับการสร้างไร่น้ำตาลในเวสต์อินดีส และอเมริกา เป็นครั้งแรกที่คนทั่วไปได้ใช้น้ำตาลเป็นสิ่งที่ให้ความหวานแทนน้ำผึ้ง ชูการ์บีต โตเป็นพืชมีรากในที่ที่มีอากาศเย็นกว่าและเป็นแหล่งที่มาส่วนใหญ่ของน้ำตาลในศตวรรษที่ 19 หลังจากมีวิธีสกัดน้ำตาลเกิดขึ้นหลายวิธี การผลิตและการค้าน้ำตาลเปลี่ยนแปลงไปตามวิถีชีวิตของมนุษย์ มีอิทธิพลต่อการก่อตั้งอาณานิคม การมีอยู่ของทาส การเปลี่ยนผ่านไปสู่สัญญาแรงงาน การย้ายถิ่นฐาน สงครามระหว่างชาติที่ครอบครองน้ำตาลในศตวรรษที่ 19 การรวมชนชาติและโครงสร้างทางการเมืองของโลกใหม่ โลกผลิตน้ำตาลประมาณ 168 ล้านตันในปี..

ใหม่!!: น้ำจิ้มบ๊วยและน้ำตาล · ดูเพิ่มเติม »

ไก่ทอด

ไก่ทอด ไก่ทอด เป็นอาหารอย่างง่ายทำจากเนื้อไก่ นำไปคลุกกับแป้งและส่วนผสมอื่น ๆ จากนั้นนำไปทอด อาจด้วยวิธีการทอดน้ำมันท่วม น้ำมันน้อย หรือการทอดด้วยความดัน ผิวนอกของไก่ทอดจะกรอบ ส่วนของไก่ที่นำมาทำไก่ทอดอาจเป็นน่อง ปีก อก หรือเนื้อไก่ที่หั่นเป็นชิ้น ๆ อาจมีหนัง มีกระดูกหรือเลาะกระดูกออกก่อน (เป็นไก่ไม่มีกระดูก) ซึ่งไก่ทอดนั้น ยังมีมากมายหลายอย่าง หมวดหมู่:อาหารประเภทเนื้อไก่ หมวดหมู่:อาหารข้างถนน หมวดหมู่:อาหารอเมริกัน หมวดหมู่:อาหารที่ทอดในน้ำมันที่ท่วม.

ใหม่!!: น้ำจิ้มบ๊วยและไก่ทอด · ดูเพิ่มเติม »

เกลือ

กลือ เกลือ เป็นแร่ธาตุส่วนใหญ่ประกอบด้วยโซเดียมคลอไรด์ (NaCl) สารประกอบในระดับสูงกว่าเกลือชนิดต่าง ๆ เกลือในธรรมชาติก่อตัวเป็นแร่ผลึกรู้จักกันว่า เกลือหิน หรือแฮไลต์ เกลือพบได้ในปริมาณมหาศาลในทะเลซึ่งเป็นองค์ประกอบของแร่ที่สำคัญ ในมหาสมุทรมีแร่ธาตุ 35 กรัมต่อลิตร ความเค็ม 3.5% เกลือเป็นสิ่งจำเป็นต่อชีวิตสัตว์ ความเค็มเป็นรสชาติพื้นฐานของมนุษย์ เนื้อเยื่อสัตว์บรรจุเกลือปริมาณมากกว่าเนื้อเยื่อพืช ดังนั้นอาหารของชนเผ่าเร่ร่อนที่ดำรงชีวิตในฝูงต้องการเกลือเพียงเล็กน้อย หรือไม่ต้องการเกลือเลย ขณะอาหารประเภทซีเรียลจำเป็นต้องเพิ่มเกลือ เกลือเป็นหนึ่งในเครื่องปรุงรสที่เก่าแก่ที่สุดและหาได้ง่ายที่สุด และการดองเค็มก็เป็นวิธีการถนอมอาหารที่สำคัญวิธีหนึ่ง หลักฐานการทำเกลือยุคแรกที่สุดย้อนไปถึง 6,000 ปีที่แล้ว เมื่อคนที่อาศัยในประเทศโรมาเนียต้มน้ำเพื่อสกัดเกลือ การทำนาเกลือในจีนก็เกิดขึ้นในเวลาไล่เลี่ยกัน เกลือถูกชาวฮีบรู กรีก โรมัน ไบแซนไทน์ ฮิไทต์ และอียิปต์ ตีราคาสูง เกลือกลายเป็นวัตถุสำคัญและขนส่งทางเรือผ่านทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ผ่านทางทางเกลือที่สร้างขึ้นเฉพาะ และผ่านทะเลทรายซาฮาราในคาราวานอูฐ ความขาดแคลนและความต้องการเกลือทั่วโลกนำไปสู่สงครามชิงเกลือ และใช้เกลือเพื่อเพิ่มภาษีเงินได้ เกลือยังถูกใช้ในพิธีทางศาสนา และวัฒนธรรมต่าง ๆ ด้วย เกลือผลิตจากเหมืองเกลือ หรือจากการระเหยน้ำทะเล หรือน้ำซับที่อุดมไปด้วยแร่ธาตุในบ่อตื้น ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมหลักของเกลือคือโซดาไฟ และคลอรีน และใช้ในกระบวนการทางอุตสาหกรรมและในการผลิตโพลีไวนิลคลอไรด์ พลาสติก เยื่อกระดาษ และผลิตภัณฑ์อื่น ๆ จากการผลิตเกลือปริมาณสองล้านตันต่อปี มีเพียง 6% ที่ให้มนุษย์บริโภค ส่วนอื่น ๆ ใช้ในการปรับสภาวะของน้ำ กำจัดน้ำแข็งบนถนน และใช้ในการเกษตร เกลือที่กินได้มีขายในหลายรูปแบบ เช่น เกลือสมุทรและเกลือโต๊ะปกติจะบรรจุสารป้องกันการรวมตัวเป็นก้อน และอาจเสริมไอโอดีนเพื่อป้องกันภาวะพร่องไอโอดีน นอกจากจะใช้ปรุงอาหารและวางบนโต๊ะแล้ว เกลือยังพบได้ในอาหารแปรรูปจำนวนมาก อาหารที่มีโซเดียมมากเกินไปทำให้ความดันโลหิตสูง และอาจเพิ่มความเสี่ยงของกล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือด และโรคหลอดเลือดสมอง องค์การอนามัยโลกแนะนำว่าผู้ใหญ่ควรบริโภคโซเดียมน้อยกว่า 2,000 มิลลิกรัม หรือเทียบเท่ากับเกลือ 5 กรัมต่อวัน.

ใหม่!!: น้ำจิ้มบ๊วยและเกลือ · ดูเพิ่มเติม »

เอพริคอต

อพริคอต หรือ แอพริคอต (apricot) เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีน จากนั้นจึงแพร่หลายไปสู่อิตาลีและอังกฤษ เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ใบเดี่ยว ดอกสีขาว ผลเล็กกว่าลูกท้อ ผลกลม มีร่องกลางผลชัดเจน เปลือกบาง มีขนคล้ายกำมะหยี่ปกคลุม ผลดิบสีเขียว ผลสุกสีเหลือง เนื้อแห้ง แน่น รสเปรี้ยวหอม สีน้ำตาล แหล่งปลูกเอพริคอตหลักอยู่ที่จีน ออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกา นิวซีแลนด์ แอฟริกา กินเป็นผลไม้สด ทำเอพริคอตในน้ำเชื่อม ใส่สลัดผลไม้และโยเกิร์ต แยมผลไม้ เอพริคอตตากแห้ง.

ใหม่!!: น้ำจิ้มบ๊วยและเอพริคอต · ดูเพิ่มเติม »

เปาะเปี๊ยะ

เปาะเปี๊ยะ เป็นอาหารว่างที่พบในเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ วิธีทำเปาะเปี๊ยะ หมวดหมู่:อาหารเวียดนาม.

ใหม่!!: น้ำจิ้มบ๊วยและเปาะเปี๊ยะ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ซอสบ๊วยน้ำจิ้มบ๊วยเจี่ย

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »