โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

นิวไคลด์ดึกดำบรรพ์

ดัชนี นิวไคลด์ดึกดำบรรพ์

ในธรณีเคมีและธรณีฟิสิกส์นิวเคลียร์ นิวไคลด์ดึกดำบรรพ์ (Primodial nuclide) หรือเป็นที่รู้จักกันในชื่อ ไอโซโทปดึกดำบรรพ์ เป็นนิวไคลด์ที่พบบนโลกที่ยังคงสภาพเดิมนับตั้งแต่ก่อนที่โลกก่อตัวขึ้น นิวไคลด์ดึกดำบรรพ์นี้เป็นสิ่งที่เหลือตกค้างมาจากบิกแบง นิวไคลด์อื่นๆในเอกภพ และจากซูเปอร์โนวา ซึ่งเกิดขึ้นก่อนที่จะมีระบบสุริยะ พวกมันประกอบไปด้วยนิวไคลด์ที่เสถียรแล้ว และมีอายุที่ยาวนานนับตั้งแต่เนบิวลาดาวฤกษ์ยุคแรก ผ่านการก่อตัวของดาวเคราะห์ จนกระทั่งถึงปัจจุบัน มีนิวไคลด์ที่เสถียรแล้ว 288 ตัวที่เป็นที่รู้จัก มีนิวไคลด์เสถียร 254 ตัว ซึ่งเป็นนิวไคลด์ดึกดำบรรพ์โดยแท้ และมีอีก 34 ตัวที่มีครึ่งชีวิตที่ยาวนานพอที่จะรอดมาจากการกำเนิดโลก นิวไลคด์ดึกดำบรรพ์ 34 ตัวนี้ แบ่งเป็นไอโซโทปของธาตุ 28 ธาตุ เป็นของแคดเมียม เทลลูเรียม นีโอดีเมียม และยูเรเนียม อย่างละ 2 ตัว (113Cd, 116Cd; 128Te, 130Te; 144Nd, 150Nd และ 235U, 238U) และซาแมเรียมมี 3 ตัว (146Sm 147Sm 148Sm).

15 ความสัมพันธ์: บิกแบงฟิสิกส์นิวเคลียร์มหานวดารายูเรเนียมระบบสุริยะธรณีเคมีครึ่งชีวิตตารางไอโซโทป (สมบูรณ์)ซาแมเรียมนีโอดิเมียมแคดเมียมโลก (ดาวเคราะห์)ไอโซโทปไอโซโทปเสถียรเทลลูเรียม

บิกแบง

ตาม'''ทฤษฎีบิกแบง''' จักรวาลมีจุดกำเนิดมาจากสภาพที่มีความหนาแน่นสูงและร้อน และจักรวาลมีการขยายตัวอยู่ตลอดเวลา บิกแบง (Big Bang, "การระเบิดครั้งใหญ่") เป็นแบบจำลองของการกำเนิดและวิวัฒนาการของเอกภพในจักรวาลวิทยาซึ่งได้รับการสนับสนุนจากหลักฐานทางวิทยาศาสตร์และจากการสังเกตการณ์ที่แตกต่างกันจำนวนมาก นักวิทยาศาสตร์โดยทั่วไปใช้คำนี้กล่าวถึงแนวคิดการขยายตัวของเอกภพหลังจากสภาวะแรกเริ่มที่ทั้งร้อนและหนาแน่นอย่างมากในช่วงเวลาจำกัดระยะหนึ่งในอดีต และยังคงดำเนินการขยายตัวอยู่จนถึงในปัจจุบัน ฌอร์ฌ เลอแม็ทร์ นักวิทยาศาสตร์และพระโรมันคาทอลิก เป็นผู้เสนอแนวคิดการกำเนิดของเอกภพ ซึ่งต่อมารู้จักกันในชื่อ ทฤษฎีบิกแบง ในเบื้องแรกเขาเรียกทฤษฎีนี้ว่า สมมติฐานเกี่ยวกับอะตอมแรกเริ่ม (hypothesis of the primeval atom) อเล็กซานเดอร์ ฟรีดแมน ทำการคำนวณแบบจำลองโดยมีกรอบการพิจารณาอยู่บนพื้นฐานของทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปของอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ต่อมาในปี..

ใหม่!!: นิวไคลด์ดึกดำบรรพ์และบิกแบง · ดูเพิ่มเติม »

ฟิสิกส์นิวเคลียร์

ฟิสิกส์นิวเคลียร์ (Nuclear physics) หรือฟิสิกส์ของนิวเคลียส เป็นสาขาหนึ่งของวิชาฟิสิกส์ที่ศึกษาองค์ประกอบต่าง ๆ และปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันของนิวเคลียสทั้งหลายของอะตอม การประยุกต์ใช้ฟิสิกส์นิวเคลียร์ที่ทราบกันดีที่สุดคือ การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานนิวเคลียร์และเทคโนโลยีอาวุธนิวเคลียร์ แต่การวิจัยได้ประยุกต์ในหลายสาขา เช่น เวชศาสตร์นิวเคลียร์และการสร้างภาพด้วยเรโซแนนซ์แม่เหล็ก การปลูกฝังไอออนในวิศวกรรมศาสตร์วัสดุ และการหาอายุจากคาร์บอนกัมมันตรังสีในวิชาภูมิศาสตร์และโบราณคดี นิวเคลียสเป็นสิ่งที่ยังไม่เป็นที่เข้าใจทางทฤษฏี เพราะมันประกอบไปด้วยอนุภาคจำนวนมาก (เช่น โปรตอน และนิวตรอน) แต่ไม่มีขนาดใหญ่พอที่จะอธิบายลักษณะได้ถูกต้องเหมือนอย่างผลึก จึงมีการใช้แบบจำลองของนิวเคลียสซึ่งใช้ศึกษาพฤติกรรมทางนิวเคลียร์ส่วนใหญ่ได้ โดยอาจใช้เป็นวิธีการเดียวหรือร่วมกับวิธีการอื่น.

ใหม่!!: นิวไคลด์ดึกดำบรรพ์และฟิสิกส์นิวเคลียร์ · ดูเพิ่มเติม »

มหานวดารา

ำลองจากศิลปินแสดงให้เห็นมหานวดารา SN 2006gy ที่กล้องโทรทรรศน์อวกาศรังสีเอกซ์จันทราจับภาพได้ อยู่ห่างจากโลก 240 ล้านปีแสง มหานวดารา นิพนธ์ ทรายเพชร, อารี สวัสดี และ บุญรักษา สุนทรธรรม.

ใหม่!!: นิวไคลด์ดึกดำบรรพ์และมหานวดารา · ดูเพิ่มเติม »

ยูเรเนียม

ูเรเนียม (Uranium) คือธาตุที่มีหมายเลขอะตอม 92 และสัญลักษณ์คือ U เป็นธาตุโลหะหนักกัมมันตรังสี ตามธรรมชาติมีลักษณะสีเงินวาว อยู่ในกลุ่มแอกทิไนด์ (actinide group) ไอโซโทป U-235 ใช้เป็นเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ในเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์และอาวุธนิวเคลียร์ ตามธรรมชาติพบยูเรเนียมในปริมาณเล็กน้อยในหิน ดิน น้ำ พืช และสัตว์ รวมทั้งมนุษย์ด้วย ครึ่งชีวิตของธาตุยูเรเนียมคือ 4,500 ล้านปี (U-238).

ใหม่!!: นิวไคลด์ดึกดำบรรพ์และยูเรเนียม · ดูเพิ่มเติม »

ระบบสุริยะ

ระบบสุริยะ (Solar System) ประกอบด้วยดวงอาทิตย์และวัตถุอื่น ๆ ที่โคจรรอบดวงอาทิตย์เนื่องจากแรงโน้มถ่วง ได้แก่ ดาวเคราะห์ 8 ดวงกับดวงจันทร์บริวารที่ค้นพบแล้ว 166 ดวง ดาวเคราะห์แคระ 5 ดวงกับดวงจันทร์บริวารที่ค้นพบแล้ว 4 ดวง กับวัตถุขนาดเล็กอื่น ๆ อีกนับล้านชิ้น ซึ่งรวมถึง ดาวเคราะห์น้อย วัตถุในแถบไคเปอร์ ดาวหาง สะเก็ดดาว และฝุ่นระหว่างดาวเคราะห์ โดยทั่วไปแล้วจะแบ่งย่านต่าง ๆ ของระบบสุริยะ นับจากดวงอาทิตย์ออกมาดังนี้คือ ดาวเคราะห์ชั้นในจำนวน 4 ดวง แถบดาวเคราะห์น้อย ดาวเคราะห์ขนาดใหญ่รอบนอกจำนวน 4 ดวง และแถบไคเปอร์ซึ่งประกอบด้วยวัตถุที่เย็นจัดเป็นน้ำแข็ง พ้นจากแถบไคเปอร์ออกไปเป็นเขตแถบจานกระจาย ขอบเขตเฮลิโอพอส (เขตแดนตามทฤษฎีที่ซึ่งลมสุริยะสิ้นกำลังลงเนื่องจากมวลสารระหว่างดวงดาว) และพ้นไปจากนั้นคือย่านของเมฆออร์ต กระแสพลาสมาที่ไหลออกจากดวงอาทิตย์ (หรือลมสุริยะ) จะแผ่ตัวไปทั่วระบบสุริยะ สร้างโพรงขนาดใหญ่ขึ้นในสสารระหว่างดาวเรียกกันว่า เฮลิโอสเฟียร์ ซึ่งขยายออกไปจากใจกลางของแถบจานกระจาย ดาวเคราะห์ชั้นเอกทั้ง 8 ดวงในระบบสุริยะ เรียงลำดับจากใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดออกไป มีดังนี้คือ ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน นับถึงกลางปี ค.ศ. 2008 วัตถุขนาดย่อมกว่าดาวเคราะห์จำนวน 5 ดวง ได้รับการจัดระดับให้เป็นดาวเคราะห์แคระ ได้แก่ ซีรีสในแถบดาวเคราะห์น้อย กับวัตถุอีก 4 ดวงที่โคจรรอบดวงอาทิตย์อยู่ในย่านพ้นดาวเนปจูน คือ ดาวพลูโต (ซึ่งเดิมเคยถูกจัดระดับไว้เป็นดาวเคราะห์) เฮาเมอา มาคีมาคี และ อีรีส มีดาวเคราะห์ 6 ดวงและดาวเคราะห์แคระ 3 ดวงที่มีดาวบริวารโคจรอยู่รอบ ๆ เราเรียกดาวบริวารเหล่านี้ว่า "ดวงจันทร์" ตามอย่างดวงจันทร์ของโลก นอกจากนี้ดาวเคราะห์ชั้นนอกยังมีวงแหวนดาวเคราะห์อยู่รอบตัวอันประกอบด้วยเศษฝุ่นและอนุภาคขนาดเล็ก สำหรับคำว่า ระบบดาวเคราะห์ ใช้เมื่อกล่าวถึงระบบดาวโดยทั่วไปที่มีวัตถุต่าง ๆ โคจรรอบดาวฤกษ์ คำว่า "ระบบสุริยะ" ควรใช้เฉพาะกับระบบดาวเคราะห์ที่มีโลกเป็นสมาชิก และไม่ควรเรียกว่า "ระบบสุริยจักรวาล" อย่างที่เรียกกันติดปาก เนื่องจากไม่เกี่ยวข้องกับคำว่า "จักรวาล" ตามนัยที่ใช้ในปัจจุบัน.

ใหม่!!: นิวไคลด์ดึกดำบรรพ์และระบบสุริยะ · ดูเพิ่มเติม »

ธรณีเคมี

รณีเคมี (Geochemistry) เป็นวิทยาศาสตร์ ที่ใช้เป็นเครื่องมือและหลักการทางเคมี เพื่ออธิบายกลไกที่อยู่เบื้องหลังระบบธรณีวิทยาที่สำคัญ ๆ เช่น เปลือกโลก และมหาสมุทร ในขอบเขตของธรณีเคมีขยายไปไกลกว่าของโลก, การครอบคลุมทั้งระบบสุริยะ และมีส่วนร่วมสำคัญในการทำความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการต่างๆรวมถึง การพาความร้อนของเปลือกโลกในชั้นหลอมเหลว (Mantle convection),การก่อตัวของดาวเคราะห์และต้นกำเนิดของหินแกรนิต และหินบะซอลต.

ใหม่!!: นิวไคลด์ดึกดำบรรพ์และธรณีเคมี · ดูเพิ่มเติม »

ครึ่งชีวิต

ครึ่งชีวิต (t½) (Half-life) คือเวลาที่สารกัมมันตรังสีใช้ในการสลายตัวเหลือครึ่งหนึ่งของที่มีอยู่เดิม มักถูกใช้เพื่ออธิบายคุณสมบัติของการสลายตัวของสารกัมมันตรังสี แต่อาจจะใช้เพื่ออธิบายปริมาณใด ๆ ก็ตามที่มีสลายตัวแบบเอ็กโพเนนเชียลด้วย จุดกำเนิดของคำศัพท์คำนี้ ได้ระบุไว้ว่าเออร์เนสต์ รัทเทอร์ฟอร์ดได้ค้นพบหลักการนี้ในปี 1907 และเรียกว่า "ช่วงเวลาครึ่งชีวิต" (half-life period) ต่อมาคำนี้ถูกย่อให้สั้นลงเหลือเป็น "ครึ่งชีวิต" (half-life) ในช่วงต้นทศวรรษปี 1950 หมวดหมู่:กัมมันตรังสี หมวดหมู่:นิวเคลียร์เคมี หมวดหมู่:ฟิสิกส์นิวเคลียร์ หมวดหมู่:การยกกำลัง.

ใหม่!!: นิวไคลด์ดึกดำบรรพ์และครึ่งชีวิต · ดูเพิ่มเติม »

ตารางไอโซโทป (สมบูรณ์)

ตารางไอโซโทป นี้แสดงไอโซโทปทั้งหมดของธาตุเคมีที่เป็นที่รู้จักกัน ถูกจัดโดยเลขอะตอมเพิ่มจากซ้ายไปขวา และเลขนิวตรอนเพิ่มจากบนลงล่าง ค่าครึ่งชีวิตแสดงให้เห็นด้วยสีของเซลล์ไอโซโทปแต่ละเซลล์ (ตารางสีด้านขวา) ขอบที่มีสีบอกค่าครึ่งชีวิตของnuclear isomer ในสถานะที่เสถียรที่สุด สำหรับตารางที่เหมือนกันแต่ถูกจัดให้ดูง่ายกว่า, ดูตารางไอโซโทป (แบ่งส่วน).

ใหม่!!: นิวไคลด์ดึกดำบรรพ์และตารางไอโซโทป (สมบูรณ์) · ดูเพิ่มเติม »

ซาแมเรียม

ซาแมเรียม (Samarium) คือธาตุเคมีที่มีหมายเลขอะตอม 62 และสัญลักษณ์คือ Sm ซาแมเรียมเป็นธาตุหายาก ลักษณะเป็นสีเงินมันวาว ซาแมเรียมมีความเสถียรในอากาศ และติดไฟได้เองที่อุณหภูมิ 150 °C.

ใหม่!!: นิวไคลด์ดึกดำบรรพ์และซาแมเรียม · ดูเพิ่มเติม »

นีโอดิเมียม

นีโอดิเมียม (Neodymium) เป็นธาตุโลหะลักษณะเงินมันวาวหายาก เมื่อสัมผัสอากาศสีจะหมองเพราะเกิดสนิมสารประกอบออกไซด์ หมายเลขอะตอมคือ 60 สัญลักษณ์ Nd จัดอยู่ในกลุ่มแลนทาไนด์ มีปริมาณบนพื้นโลกมากเป็นอันดับ2 ในกลุ่มเดียวกันรองจากซีเรียม นีโอดีเมียมเป็นธาตุที่ไม่ได้พบในรูปแบบโลหะหรือบริสุทธิ์เหมือนกับธาตุอื่นๆในกลุ่มแลนทาไนด์ และนีโอดีเมียมยังใช้การกลั่นปกติสำหรับการใช้งานทั่วไป แม้ว่านีโอดิเมียมถูกจัดว่าเป็น "โลกที่หายาก" มีการกระจายกันอย่างแพร่หลายในโลกอยู่ในชั้นเปลือกโลก ส่วนใหญ่นีโอดิเมียมในโลกจะขุดได้ที่ในประเทศจีน นีโอดิเมียมเป็นธาตุที่อยู่ในบล็อกF จำนวนอิเล็กตรอนในแต่ละชั้นนีโอดีเมียม คือ 2, 8, 18, 22, 8, 2 และการกำหนดค่าอิเล็กตรอนของมันคือ 4f46s2 นีโอไดเมียเป็นที่อุดมสมบูรณ์ที่สุดของธาตุหายากหลังจากซีเรียมและแลนทานัม.

ใหม่!!: นิวไคลด์ดึกดำบรรพ์และนีโอดิเมียม · ดูเพิ่มเติม »

แคดเมียม

แคดเมียม (cadmium) คือธาตุเคมีที่มีหมายเลขอะตอม 48 และสัญลักษณ์คือ Cd แคดเมียมเป็นโลหะทรานซิชันสีขาว-ฟ้า เป็นธาตุมีพิษ ในธรรมชาติพบอยู่ในแร่สังกะสี แคดเมียมใช้ประโยชน์ในการทำแบตเตอรี.

ใหม่!!: นิวไคลด์ดึกดำบรรพ์และแคดเมียม · ดูเพิ่มเติม »

โลก (ดาวเคราะห์)

ลก (Earth) เป็นดาวเคราะห์ลำดับที่สามจากดวงอาทิตย์ และเป็นวัตถุทางดาราศาสตร์เพียงหนึ่งเดียวที่ทราบว่ามีสิ่งมีชีวิต จากการวัดอายุด้วยกัมมันตรังสีและแหล่งหลักฐานอื่นได้ความว่าโลกกำเนิดเมื่อประมาณ 4,500 ล้านปีก่อน โลกมีอันตรกิริยะเชิงโน้มถ่วงกับวัตถุอื่นในอวกาศโดยเฉพาะดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ ซึ่งเป็นดาวบริวารถาวรหนึ่งเดียวของโลก โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ใช้เวลา 365.26 วัน เรียกว่า ปี ซึ่งระหว่างนั้นโลกโคจรรอบแกนตัวเองประมาณ 366.26 รอบ แกนหมุนของโลกเอียงทำให้เกิดฤดูกาลต่าง ๆ บนผิวโลก อันตรกิริยาความโน้มถ่วงระหว่างโลกกับดวงจันทร์ก่อให้เกิดน้ำขึ้นลงมหาสมุทร ทำให้การหมุนบนแกนของโลกมีเสถียรภาพ และค่อย ๆ ชะลอการหมุนของโลก โลกเป็นดาวเคราะห์ที่มีความหนาแน่นสูงสุดในระบบสุริยะและใหญ่สุดในดาวเคราะห์คล้ายโลก 4 ดวง ธรณีภาคของโลกแบ่งออกได้เป็นหลาย ๆ ส่วน เรียกว่าแผ่นธรณีภาค ซึ่งย้ายที่ตัดผ่านพื้นผิวตลอดเวลาหลายล้านปี ร้อยละ 71 ของพื้นผิวโลกปกคลุมด้วยน้ำ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นมหาสมุทร อีกร้อยละ 29 ที่เหลือเป็นแผ่นดินประกอบด้วยทวีปและเกาะซึ่งมีะเลสาบ แม่น้ำและแลห่งน้ำอื่นจำนวนมากกอปรเป็นอุทกภาค บริเวณขั้วโลกทั้งสองปกคลุมด้วยน้ำแข็งเป็นส่วนใหญ่ ได้แก่แผ่นน้ำแข็งแอนตาร์กติก และน้ำแข็งทะเลของแพน้ำแข็งขั้วโลก บริเวณภายในของโลกยังคงมีความเคลื่อนไหวโดยมีแก่นชั้นในซึ่งเป็นเหล็กในสถานะของแข็ง มีแก่นเหลวชั้นนอกซึ่งกำเนิดสนามแม่เหล็ก และชั้นแมนเทิลพาความร้อนที่ขับเคลื่อนการแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาค ภายในพันล้านปีแรก สิ่งมีชีวิตปรากฏขึ้นในมหาสมุทรและเริ่มส่งผลกระทบต่อชั้นบรรยากาศและผิวดาว เกื้อหนุนให้เกิดการแพร่ขยายของสิ่งมีชีวิตที่ใช้ออกซิเจนเช่นเดียวกับสิ่งมีชีวิตที่ไม่ใช้ออกซิเจน หลักฐานธรณีวิทยาบางส่วนชี้ว่าชีวิตอาจกำเนิดขึ้นเร็วสุด 4.1 พันล้านปีก่อน นับแต่นั้นตำแหน่งของโลกในระบบสุริยะ คุณสมบัติทางกายภาพของโลก และประวัติศาสตร์ธรณีวิทยาของโลกประกอบกันทำให้สิ่งมีชีวิตวิวัฒนาการและแพร่พันธุ์ได้ Early edition, published online before print.

ใหม่!!: นิวไคลด์ดึกดำบรรพ์และโลก (ดาวเคราะห์) · ดูเพิ่มเติม »

ไอโซโทป

แสดงไอโซโทปของไฮโดรเจนที่เกิดในธรรมชาติทั้งสามตัว ความจริงที่ว่าแต่ละไอโซโทปมีโปรตอนเพียงหนึ่งตัว ทำให้พวกมันทั้งหมดเป็นไฮโดรเจนที่แตกต่างกัน นั่นคือ ตัวตนของไอโซโทปถูกกำหนดโดยจำนวนของนิวตรอน จากซ้ายไปขวา ไอโซโทปเป็นโปรเทียม (1H) ที่มีนิวตรอนเท่ากับศูนย์, ดิวเทอเรียม (2H) ที่มีนิวตรอนหนึ่งตัว, และ ทริเทียม (3H) ที่มีสองนิวตรอน ไอโซโทป (isotope) เป็นความแตกต่างขององค์ประกอบทางเคมีที่เฉพาะเจาะจงของธาตุนั้นซึ่งจะแตกต่างกันในจำนวนของนิวตรอน นั่นคืออะตอมทั้งหลายของธาตุชนิดเดียวกัน จะมีจำนวนโปรตอนหรือเลขอะตอมเท่ากัน แต่มีจำนวนนิวตรอนต่างกัน ส่งผลให้เลขมวล(โปรตอน+นิวตรอน)ต่างกันด้วย และเรียกเป็นไอโซโทปของธาตุนั้น.

ใหม่!!: นิวไคลด์ดึกดำบรรพ์และไอโซโทป · ดูเพิ่มเติม »

ไอโซโทปเสถียร

ไอโซโทปเสถียร (stable isotope) คือ ไอโซโทปของธาตุที่ไม่มีการสลายต่อไป ธาตุหนึ่งอาจมีทั้งที่ไม่เสถียรคือมีการสลายต่อไป ที่เรียกว่า ไอโซโทปกัมมันตรังสี (radioisotopes) และไอโซโทปเสถียร เช่น ไอโซโทปของตะกั่วมี 5 ชนิด ซึ่งแบ่งออกเป็น ไอโซโทปกัมมันตรังสี 2 ชนิด คือ ตะกั่ว -210 และตะกั่ว -214 และไอโซโทปเสถียร 3 ชนิด คือ ตะกั่ว -206 ตะกั่ว -207 และตะกั่ว -208 สำหรับธาตุบางธาตุอาจมีไอโซโทปกัมมันตรังสีก็ได้ เมื่อพิจารณาอนุกรมการสลายของธาตุกัมมันตรังสีจะพบว่ามีนิวเคลียสบางกลุ่ม ที่มีเลขอะตอมเท่ากัน แต่มีเลขมวลต่างกัน เช่น กลุ่มของยูเรเนียม ซึ่งประกอบด้วยยูเรเนียม -234 ยูเรเนียม -235 และยูเรเนียม -238 นิวเคลียสต่างๆ ในกลุ่มนี้มีเลขอะตอมเท่ากัน คือ 92 แต่มีเลขมวลต่างกัน นั่นคือ นิวเคลียสเหล่านี้มีจำนวนโปรตอนเท่ากัน แต่จำนวนนิวตรอนต่างกัน เราเรียกนิวเคลียสที่มีจำนวนโปรตอนเท่ากัน แต่มีจำนวนนิวตรอนต่างกันนี้ว่า เป็น ไอโซโทป (isotopes) ของธาตุเดียวกัน เนื่องจากไอโซโทปของธาตุเดียวกันมีเลขอะตอมเท่ากันแต่เลขมวลต่างกัน จึงมีสมบัติทางเคมีเหมือนกัน แต่สมบัติทางกายภาพต่างกัน ดังนั้นการวิเคราะห์ไอโซโทปของธาตุชนิดหนึ่ง จึงไม่สามารถกระทำได้โดยอาศัยปฏิกิริยาเคมี แต่ด้วยเหตุที่ไอโซโทปเหล่านี้มีสมบัติทางกายภาพต่างกัน เช่น มีมวลต่างกัน การวิเคราะห์ไอโซโทปเหล่านี้ จึงทำได้โดยจำแนกมวล เพราะเหตุว่ามวลของไอโซโทปของธาตุชนิดเดียวกันจะแตกต่างกันน้อยมาก ดังนั้นการวิเคราะห์ ไอโซโทปจึงต้องใช้เครื่องมือ ที่วัดมวลได้ละเอียดมาก เครื่องมือประเภทนี้ได้แก่ แมสสเปกโทรมิเตอร์ (mass spectrometer) หมวดหมู่:ไอโซโทป อไอโซโทปเสถียร de:Isotop#Stabile Isotope sv:Stabil isotop.

ใหม่!!: นิวไคลด์ดึกดำบรรพ์และไอโซโทปเสถียร · ดูเพิ่มเติม »

เทลลูเรียม

เทลลูเรียม (Tellurium) คือธาตุที่มีหมายเลขอะตอม 52 และสัญลักษณ์คือ Te เทลลูเรียมเป็นธาตุกึ่งโลหะ (metalloid) มีสีขาวเงินเหมือนดีบุก เทลลูเรียมมีสมบัติทางเคมีใกล้เคียงกับซีลีเนียมและกำมะถัน ใช้ประโยชน์ในการทำโลหะผสมและสารกึ่งตัวนำ หมวดหมู่:เทลลูเรียม หมวดหมู่:ธาตุเคมี หมวดหมู่:วัสดุศาสตร์.

ใหม่!!: นิวไคลด์ดึกดำบรรพ์และเทลลูเรียม · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »