โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

นิวต์หงอนใหญ่

ดัชนี นิวต์หงอนใหญ่

นิวต์หงอนใหญ่ หรือ นิวต์หงอนเหนือ (Great crested newt, Northern crested newt) เป็นซาลาแมนเดอร์จำพวกนิวต์ชนิดหนึ่ง จำพวกซาลาแมนเดอร์หางใบพาย เป็นซาลาแมนเดอร์ที่คงรูปร่างความเป็นวัยอ่อนไว้เมื่อเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์แล้วก็ตาม จัดเป็นซาลาแมนเดอร์หรือนิวต์อีกชนิดหนึ่งที่มีสีสันสดใส แลดูสวยงาม โดยปกติมีลำตัวสีเทาเข้ม มีลายกระกระจายสีดำ บางครั้งบนจุดสีเหลืองหรือส้มไปจนสีเงินที่หางด้วย มีจุดเด่น คือ มีแผ่นครีบเหมือนหงอนตั้งแต่ส่วนหัวไปจรดหาง เมื่อถึงฤดูผสมพันธุ์ ตัวผู้จะมารวมตัวกันเป็นกลุ่มในบริเวณแหล่งน้ำที่อาศัยแล้วกำหนดพื้นที่ของตนเองขึ้นมาและป้องกันพื้นที่ไว้จากตัวผู้ตัวอื่นด้วยการแสดงท่าทางและการต่อสู้ นิวต์ตัวเมียที่เคลื่อนย้ายไปตามพื้นที่แต่ละแห่งได้รับการต้อนรับจากตัวผู้ที่เป็นเจ้าของพื้นที่ด้วยการแสดงท่าทาง เช่น แผ่กางครีบหลัง หรือครีบหาง แสดงสีสันที่สดใสตามลำตัว เป็นต้น ในขณะที่ตัวเมียก็จะมีแถบสีส้มเล็ก ๆ คาดที่โคนหาง วางไข่ในน้ำประมาณครั้งละ 200 ฟอง พบกระจายพันธุ์ในป่าแถบเทือกเขาแอลป์ ในทวีปยุโรป และบริเวณรอบ ๆ ทะเลดำ ชอบอาศัยในที่ชื้นแฉะและบริเวณที่มีมอสส์ขึ้นTriturus ทั้ง 5, คอลัมน์ Aqua Survey โดย สุริศา ซอมาดี.

10 ความสัมพันธ์: มอสส์วงศ์ซาลาแมนเดอร์แท้สัตว์สัตว์มีแกนสันหลังสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกทะเลดำซาลาแมนเดอร์นิวต์นิวต์หางใบพายเทือกเขาแอลป์

มอสส์

มอสส์เป็นพืชขนาดเล็ก, พุ่มสูงประมาณ 1–10 เซนติเมตร (0.4-4 นิ้ว) แต่อาจมีบางชนิดที่มีขนาดใหญ่กว่ามาก ปกติจะเจริญเติบโตในหมู่ต้นไม้หรือบริเวณที่เปียกชื้นใต้ร่มเงาไม้ใหญ่ ไม่มีดอกและเมล็ด โดยทั่วไปใบที่ปกคลุมลำต้นจะบางเล็กคล้ายลวด มอสส์แพร่พันธุ์ด้วยสปอร์ ซึ่งสร้างขึ้นที่จะงอยปลายก้านเล็กๆ คล้ายแคปซูล มอสส์มีประมาณ 12,000 สปีชีส์และถูกจัดอยู่ในส่วนไบรโอไฟตา ใน ไบรโอไฟตา นั้นปกติไม่ได้มีแค่มอสส์เท่านั้น แต่ยังรวมถึงลิเวอร์เวิร์ตและฮอร์นเวิร์ตด้วย แล้วยังมีไบรโอไฟต์อีก 2 กลุ่มที่มักถูกจัดอยู่ในส่วนเดียวกัน.

ใหม่!!: นิวต์หงอนใหญ่และมอสส์ · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ซาลาแมนเดอร์แท้

วงศ์ซาลาแมนเดอร์แท้ หรืออาจเรียกได้ว่า นิวต์ (Newts, True salamanders) เป็นวงศ์ของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำในอันดับซาลาแมนเดอร์ (Caudata) วงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Salamandridae จัดเป็นซาลาแมนเดอร์ขนาดเล็ก มีขนาดโตเต็มที่ไม่เกิน 20 เซนติเมตร มีลักษณะโดยรวม คือ ตัวเต็มวัยไม่มีเหงือก และไม่มีช่องเปิดเหงือก ไม่มีร่องในโพรงจมูก มีปอด รูปร่างมีแตกต่างกันตั้แงต่เรียวยาวจนถึงป้อม ขาสั้น ผิวหลังลำตัวมีความแตกต่างกันตั้งแต่ราบเรียบจนถึงหยักย่น สำหรับตัวที่หยักย่นนั้นเนื่องจากมีต่อมน้ำพิษเป็นจำนวนมาก ซึ่งนับได้ว่าเป็นซาลาแมนเดอร์วงศ์ที่มีพิษร้ายแรงที่สุด นอกจากนี้แล้วยังมีสีสันลำตัวที่สดใสจัดจ้าน โดยเฉพาะด้านข้างลำตัวและหลัง ซึ่งจะใช้พิษและสีเหล่านี้เพื่อใช้ในการเตือนภัยสัตว์ล่าเหยื่อ มีวงจรชีวิตแตกต่างหลากหลายกันออกไปตามแต่สกุล บางสกุลอาศัยอยู่บนบก แต่หลายสกุลอาศัยอยู่ในน้ำและมีส่วนหางเป็นแผ่นแบนคล้ายใบพาย บางชนิดวางไข่บนดิน แต่ส่วนใหญ่จะวางไข่ในน้ำ บางชนิดเปลี่ยนรูปร่างแค่บางส่วนในวัยอ่อนแล้วขึ้นไปอาศัยบนบกตั้งแค่ระยะเวลานาน 1–14 ปี ต่อจากนั้นจึงย้ายกลับไปใช้ชีวิตในน้ำแล้วจึงเปลี่ยนรูปร่างเป็นตัวเต็มวัยและอาศัยอยู่ในน้ำตลอดไปก็มี มีการกระจายพันธุ์ค่อนข้างกว้างขวางตั้งแต่ทวีปอเมริกาเหนือ, ยุโรป, แอฟริกาตะวันตก, เอเชียตะวันตก และเอเชียตะวันออก สำหรับในประเทศไทย กะท่าง (Tylottriton verrucosus) ซึ่งเป็นซาลาแมนเดอร์เพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่พบได้ในประเทศไทย พบในดอยสูงทางภาคเหนือที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลมาก ก็จัดอยู่ในวงศ์นี้เช่นกัน และก็มีพิษด้วยเช่นกัน.

ใหม่!!: นิวต์หงอนใหญ่และวงศ์ซาลาแมนเดอร์แท้ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: นิวต์หงอนใหญ่และสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ใหม่!!: นิวต์หงอนใหญ่และสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก

ัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก หรือที่นิยมเรียกทั่วไปว่า สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ (Amphibians) เป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังที่อยู่ในชั้น Amphibia อาศัยอยู่ได้ทั้งในน้ำและบนบก มีลักษณะเฉพาะ คือ ผิวหนังมีต่อมเมือกทำให้ผิวหนังชุ่มชื้นตลอดเวลา ผิวหนังเปียกลื่นอยู่เสมอ ไม่มีเกล็ดตัวไม่แห้งหรือไม่มีขน หายใจด้วยเหงือก, ปอด, ผิวหนัง หรือผิวในปากในคอ โดยชั้นผิวหนังนั้นมีลักษณะพิเศษสามารถแลกเปลี่ยนออกซิเจนได้เนื่องจากมีโครงข่ายหลอดเลือดฝอยจำนวนมาก เพื่อใช้ในการหายใจ สืบพันธุ์โดยการผสมพันธุ์ภายนอกลำตัว สืบพันธุ์เมื่ออายุ 2–3 ปี ออกลูกเป็นไข่อยู่ในน้ำ ไม่มีเปลือก วางไข่เป็นกลุ่มในน้ำมีสารเป็นวุ้นหุ้ม ลูกอ่อนที่ออกจากไข่มีรูปร่างคล้ายปลาเรียกว่า "ลูกอ๊อด" อยู่ในน้ำหายใจด้วยเหงือก เมื่อเติบโตเต็มที่แล้วมีปอดหายใจ ขึ้นบกได้ แต่ต้องอยู่ใกล้น้ำ สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกส่วนใหญ่จะมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างทั้งภายนอกและภายในอย่างสิ้นเชิง ไปตามวงจรชีวิต ตัวอ่อนอาศัยอยู่ในน้ำ หายใจด้วยเหงือก เมื่อโตขึ้นจะเปลี่ยนรูปร่างอาศัยอยู่บนบก หายใจด้วยปอดหรือผิวหนัง โดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้งในช่วงระหว่างฤดูหนาวถึงฤดูร้อน ส่วนใหญ่จะขุดรูจำศีล เพื่อหนีความแห้งแล้ง มิให้ผิวหนังแห้ง ถ้าผิวหนังแห้งจะหายใจไม่ได้และตายในที่สุด เพราะก๊าชจากอากาศต้องละลายไปกับน้ำเมือกที่ผิวหนัง แล้วจึงแพร่เข้าสู่กระแสโลหิต ระยะนี้จะใช้อาหารที่สะสมไว้ในร่างกายอย่างช้า ๆ นิวต์และซาลามานเดอร์ก็เป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำเหมือนกัน แต่แตกตางกันตรงที่นิวต์และซาลามานเดอร์จะยังคงหางของมันไว้ เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่ สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกถือเป็นสัตว์เลือดเย็นเช่นเดียวกับสัตว์พวกปลา หรือแมลง หรือสัตว์เลื้อยคลาน ปัจจุบันมีการอนุกรมวิธานสัตว์ในชั้นแล้วกว่า 6,500 ชน.

ใหม่!!: นิวต์หงอนใหญ่และสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก · ดูเพิ่มเติม »

ทะเลดำ

แผนที่บริเวณทะเลดำ ภาพถ่ายดาวเทียมบริเวณทะเลดำ โดยนาซา ทะเลดำ (Black Sea หรือชื่อในสมัยโบราณ​ Euxine Sea) เป็นทะเลที่อยู่ระหว่างทวีปยุโรป (ด้านตะวันออกเฉียงใต้),เอเชียไมเนอร์,และดินแดนคอเคซัส มีทางออกไปยังมหาสมุทรแอตแลนติก ผ่านทางทะเลเมดิเตอร์เรเนียน,ทะเลอีเจียน และช่องแคบอีกหลายแห่ง ทางช่องแคบบอสฟอรัสที่เชื่อมต่อกับทะเลมาร์มะรา แล้วผ่านช่องแคบดาร์ดะเนลส์เชื่อมต่อไปยังทะเลอีเจียนซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทะเลแห่งนี้ได้แยกยุโรปตะวันออกกับเอเชียตะวันตกออกจากกัน นอกจากนี้ทะเลดำยังเชื่อมต่อกับทะเลอะซอฟผ่านทางช่องแคบเคียร์ช ทะเลดำมีเนื้อที่ผิวประมาณ 436,402 ตารางกิโลเมตร (168,500 ตารางไมล์) (ไม่นับรวมทะเลอะซอฟ) ทะเลดำมีความลึกสุด 2,212 เมตร (7,257 ฟุต) และมีปริมาตร 547,000 ลูกบาศก์กิโลเมตร (131,200 ลูกบาศก์ไมล์) ประเทศที่มีชายฝั่งติดทะเลดำ ได้แก่ ประเทศตุรกี, บัลแกเรีย, โรมาเนีย, ยูเครน, รัสเซีย และจอร์เจีย ดินแดนของแหลมไครเมียปัจจุบันเป็นของยูเครน ทะเลดำถูกล้อมรอบด้วยเทือกเขาพอนทิกทางทิศใต้ เทือกเขาคอเคซัสทางทิศตะวันออก และมีชะโงกผากว้างทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ระยะจากทิศตะวันออกไปจรดทิศตะวันตกยาวสุด 1,175 กิโลเมตร (730 ไมล์) ทะเลดำมีเมืองสำคัญที่ตั้งอยู่ตามชายฝั่ง ประกอบด้วย เมืองโซชี (Sochi), โนโวรอสซีสค์ (Novorossiysk) และ เคียร์ช (Kerch) ประเทศรัสเซีย โอเดสซา (Odessa), เซวัสโตปอล (Sevastopol), และ ยัลต้า (Yalta) ประเทศยูเครน เมืองคอนสแตนตา (Constanta), เมืองแมงกาเลีย (Mangalia), และเมืองนาโวดารี (Năvodari) ประเทศโรมาเนีย เมืองวาร์นา (Varna) กับเมืองเบอร์กาส (Burgas) ประเทศบัลแกเรีย เมืองซอนกุลดาก (Zonkuldak), เมืองซัมซุน (Samsum), เมืองกีเรซัน (Giresun), เมืองออร์ดู (Ordu), เมืองไรซ์ (Rize), เมืองแทรบซอน (Trabzon), และเมืองโฮปา (Hopa) ประเทศตุรกี และเมืองบาตูมี (Batumi), เมืองปอตี (Poti), และเมืองซักฮูมี (Sukhumi) ประเทศจอร์เจี.

ใหม่!!: นิวต์หงอนใหญ่และทะเลดำ · ดูเพิ่มเติม »

ซาลาแมนเดอร์

ซาลาแมนเดอร์ (salamander) เป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังที่อยู่ในชั้นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ จัดอยู่ในอันดับ Caudata และ Urodela.

ใหม่!!: นิวต์หงอนใหญ่และซาลาแมนเดอร์ · ดูเพิ่มเติม »

นิวต์

นิวต์ (Newts) เป็นสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกจำพวกซาลาแมนเดอร์ ในวงศ์ซาลาแมนเดอร์แท้ (Salamandridae) ในวงศ์ย่อย Pleurodelinae นิวต์เป็นซาลาแมนเดอร์ขนาดเล็ก กระจายพันธุ์ในทวีปอเมริกาเหนือ, ยุโรป และเอเชีย เมื่อยังเป็นวัยอ่อนที่มีพู่เหงือกเรียกว่า "เอลฟ์" (Efts) นิวต์มีลักษณะภายนอกที่แตกต่างไปจากซาลาแมนเดอร์ คือ มีผิวหนังที่แห้งกว่าและขรุขระหรือเป็นตะปุ่มตะป่ำกว่า และมักมีพิษ กะท่าง (Tylottriton verrucosus) ซึ่งเป็นซาลาแมนเดอร์เพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่พบได้ในประเทศไทย พบในดอยสูงทางภาคเหนือที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลมาก ก็จัดว่าเป็นนิวต์เช่นกัน ไม่ใช่ซาลาแมนเดอร์ และก็มีพิษด้วยเช่นกัน นิวต์อาจจำแนกออกได้เป็นสกุลต่าง ๆ ดังนี้.

ใหม่!!: นิวต์หงอนใหญ่และนิวต์ · ดูเพิ่มเติม »

นิวต์หางใบพาย

นิวต์หางใบพาย หรือ ซาลาแมนเดอร์หางใบพาย (Alpine newt) เป็นซาลาแมนเดอร์ในกลุ่มของนิวต์ หรือซาลาแมนเดอร์ขนาดเล็ก ในสกุล Triturus (มาจาก ไทรทัน บุตรชายของโพไซดอน เทพเจ้าแห่งมหาสมุทรตามเทพปกรณัมกรีก และภาษากรีกคำว่า ura หมายถึง "หาง") ลักษณะเด่นของนิวต์หางใบพาย คือ มีส่วนหางที่แผ่แบนเหมือนใบพายหรือครีบปลา มีช่วงชีวิตยาวนานอยู่ในน้ำมากกว่านิวต์สกุลอื่น ๆ โดยที่ขณะเป็นตัวอ่อนหรือตัวเต็มวัย ลักษณะหางที่เป็นใบพายก็ยังคงลักษณะเดิมไม่เปลี่ยนแปลง มีขนาดลำตัวประมาณ 9-12 เซนติเมตร ในชนิดที่มีขนาดใหญ่อาจยาวได้ถึง 16 เซนติเมตร ในบางชนิดมีแผ่นหนังที่ดูคล้ายหงอนหรือครีบหลังที่สันหลังของลำตัวไปถึงส่วนหางด้วยซึ่งดูเป็นจุดเด่น ลำตัวมักมีสีน้ำตาลหรือสีเทาเข้ม มีลายประหรือจุดสีสันต่าง ๆ แตกต่างออกไปตามและชนิด และยิ่งจะมีความเด่นชัดขึ้นโดยเฉพาะในช่วงฤดูผสมพันธุ์ มีการขยายพันธุ์และวางไข่เหมือนกับนิวต์สกุลอื่น วางไข่ครั้งละ 100-200 ฟอง หรือในชนิดที่มีจำนวนมากอาจได้ถึง 300-400 ฟอง พบกระจายพันธุ์ในป่า หรือลำห้วย หรือทะเลสาบในแถบเทือกเขาในระดับความสูงต่าง ๆ กันในทวีปยุโรป จนถึงบางส่วนของรัสเซีย และภูมิภาคตะวันออกกลางTriturus ทั้ง 5, คอลัมน์ Aqua Survey โดย สุริศา ซอมาดี.

ใหม่!!: นิวต์หงอนใหญ่และนิวต์หางใบพาย · ดูเพิ่มเติม »

เทือกเขาแอลป์

ทือกเขาแอลป์ระบบดิจิตอล เทือกเขาแอลป์ในประเทศออสเตรีย เทือกเขาแอลป์ (Alpen; Alpes; Alpi; สโลวีเนีย: Alpe; Alps) เป็นเทือกเขาที่ใหญ่สุดของทวีปยุโรปโดยครอบคลุมตั้งแต่ออสเตรีย, อิตาลี และสโลวีเนียทางด้านตะวันออก ไปจนถึงสวิตเซอร์แลนด์, ลิกเตนสไตน์, เยอรมนี และฝรั่งเศสทางด้านตะวันตก เทือกเขาแอลป์เป็นเทือกเขาอายุน้อย เกิดขึ้นเมื่อแผ่นทวีปแอฟริกามุดใต้แผ่นทวีปยูเรเซีย (อนุทวีปสเปนและอิตาลีชนกับแผ่นดินใหญ่) ภูเขาที่สูงที่สุดในเทือกเขาแอลป์คือ ยอดเขามองต์บลังก์ ที่ความสูง 4,807 เมตร บริเวณชายแดนฝรั่งเศสกับอิตาลี.

ใหม่!!: นิวต์หงอนใหญ่และเทือกเขาแอลป์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Great crested newtNorthern crested newtTriturus cristatusTuranomolge mensbieriนิวต์หงอนเหนือ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »