โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

นารายณ์ภัณฑ์

ดัชนี นารายณ์ภัณฑ์

ริษัท นารายณ์ภัณฑ์ จำกัด (Narai Phand Co., Ltd) เป็นศูนย์จำหน่ายสินค้าหัตถกรรมไทย และเป็นบริษัทร่วมทุนระหว่างกระทรวงอุตสาหกรรม กับภาคเอกชน ซึ่งแต่เดิมมีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจ ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2480 จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2527 ได้เปลี่ยนสถานะมาเป็นบริษัทร่วมทุน ปัจจุบันมีสาขาตั้งอยู่ในจังหวัดต่างๆ อาทิ ท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่ ท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต และเป็นศูนย์รวมหัตถกรรมที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไท.

15 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2480พ.ศ. 2527กระทรวงพาณิชย์ (ประเทศไทย)กระทรวงอุตสาหกรรม (ประเทศไทย)กรุงเทพมหานครรัฐวิสาหกิจถนนหลานหลวงถนนเพลินจิตถนนเจริญกรุงท่าอากาศยานภูเก็ตท่าอากาศยานนานาชาติกระบี่ท่าอากาศยานเชียงใหม่คณะรัฐมนตรีเขตปทุมวัน11 สิงหาคม

พ.ศ. 2480

ทธศักราช 2480 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1937.

ใหม่!!: นารายณ์ภัณฑ์และพ.ศ. 2480 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2527

ทธศักราช 2527 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1984 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันอาทิตย์ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: นารายณ์ภัณฑ์และพ.ศ. 2527 · ดูเพิ่มเติม »

กระทรวงพาณิชย์ (ประเทศไทย)

กระทรวงพาณิชย์ (Ministry of Commerce) เป็นกระทรวงหนึ่งของประเทศไทยที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการค้า ธุรกิจบริการ ทรัพย์สินทางปัญญา และราชการอื่นๆ ตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงพาณิชย์ หรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ตั้งอยู่ที่ 44/100 ถนนสนามบินน้ำ ตำบลบางกระสอ อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี 11000.

ใหม่!!: นารายณ์ภัณฑ์และกระทรวงพาณิชย์ (ประเทศไทย) · ดูเพิ่มเติม »

กระทรวงอุตสาหกรรม (ประเทศไทย)

กระทรวงอุตสาหกรรม (Ministry of Industry) เป็นส่วนราชการของรัฐบาลไทย ประเภทกระทรวง มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรม การพัฒนาผู้ประกอบการ และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงอุตสาหกรรม หรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม.

ใหม่!!: นารายณ์ภัณฑ์และกระทรวงอุตสาหกรรม (ประเทศไทย) · ดูเพิ่มเติม »

กรุงเทพมหานคร

กรุงเทพมหานคร เป็นเมืองหลวงและนครที่มีประชากรมากที่สุดของประเทศไทย เป็นศูนย์กลางการปกครอง การศึกษา การคมนาคมขนส่ง การเงินการธนาคาร การพาณิชย์ การสื่อสาร และความเจริญของประเทศ เป็นเมืองที่มีชื่อยาวที่สุดในโลก ตั้งอยู่บนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเจ้าพระยา มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านและแบ่งเมืองออกเป็น 2 ฝั่ง คือ ฝั่งพระนครและฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานครมีพื้นที่ทั้งหมด 1,568.737 ตร.กม.

ใหม่!!: นารายณ์ภัณฑ์และกรุงเทพมหานคร · ดูเพิ่มเติม »

รัฐวิสาหกิจ

รัฐวิสาหกิจ เป็นองค์การที่เป็นเจ้าของหรือเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ อาจมีโครงสร้างเช่นเดียวกับหน่วยธุรกิจเอกชนหรือมีโครงสร้างอย่างหน่วยงานของราชการ แต่มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหาผลกำไร.

ใหม่!!: นารายณ์ภัณฑ์และรัฐวิสาหกิจ · ดูเพิ่มเติม »

ถนนหลานหลวง

นนหลานหลวง (Thanon Lan Luang) ถนนสายหนึ่งในกรุงเทพมหานคร เป็นถนนที่มุ่งหน้าสู่ทิศตะวันออกเป็นเส้นตรง มีจุดเริ่มต้นที่สะพานผ่านฟ้าลีลาศ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย ผ่านแยกผ่านฟ้าลีลาศ ผ่านถนนจักรพรรดิพงศ์ ที่แยกหลานหลวง จากนั้นตัดกับถนนพะเนียง และตัดกับถนนกรุงเกษมที่แยกสะพานขาว ข้ามคลองผดุงกรุงเกษม ที่สะพานจตุรภักตร์รังสฤษดิ์ จากนั้นตัดกับถนนลูกหลวงที่เชิงสะพาน ก่อนจะไปสิ้นสุดที่แยกยมราช จุดตัดกับถนนเพชรบุรีและถนนสวรรคโลก ที่เขตดุสิต รวมระยะทางทั้งสิ้น 1,550 เมตร เดิมมีชื่อเรียกว่า "ถนนสนามควาย" หรือ "ถนนสนามกระบือ" เนื่องจากเมื่อแรกสถาปนากรุงเทพมหานครขึ้นเป็นราชธานี พื้นที่บริเวณนี้ถือเป็นเขตนอกพระนคร ใช้เป็นที่สำหรับเลี้ยงควายหลวง เรียกกันในสมัยนั้นว่า "สนามควาย" ต่อมาจึงเรียกให้ไพเราะขึ้นว่า "สนามกระบือ" ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 4 โปรดเกล้าฯ ให้ขุดคลองผดุงกรุงเกษมขึ้นเป็นคูเมืองชั้นนอก เป็นเหตุให้มีการขยายอาณาเขตพระนครออกไป สนามกระบือจึงมีความเจริญขึ้น เกิดมีเส้นทางสัญจรระหว่างชุมชน จึงเกิดชื่อเรียกถนนเส้นนี้ขึ้นตามนั้น ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 ในราว..

ใหม่!!: นารายณ์ภัณฑ์และถนนหลานหลวง · ดูเพิ่มเติม »

ถนนเพลินจิต

นนเพลินจิต ถนนเพลินจิต (Thanon Phloen Chit) เป็นถนนในท้องที่แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร เป็นถนนสายสั้น ๆ มีระยะทางตั้งแต่ถนนราชดำริ (สี่แยกราชประสงค์) โดยต่อเนื่องจากถนนพระรามที่ 1 ตัดกับถนนชิดลม (สี่แยกชิดลม) และถนนวิทยุ (สี่แยกเพลินจิต) ไปจนถึงทางรถไฟเก่าสายช่องนนทรี ซึ่งจากทางรถไฟสายนี้ไปจะเป็นถนนสุขุมวิท ถนนเพลินจิตสร้างขึ้นใน พ.ศ. 2463 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยกรมสุขาภิบาล กระทรวงนครบาลได้ตัดถนนขึ้น 2 สาย คือ สายหนึ่งเริ่มตั้งแต่ถนนราชดำริตรงสะพานราชปรารภ ตรงไปทางตะวันออกถึงถนนขวางที่ตั้งวิทยุโทรเลข ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า "ถนนเพลินจิต" ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2464 ส่วนอีกถนนหนึ่งตัดเชื่อมถนนเพลินจิตกับถนนพระรามที่ 4 และพระราชทานนามว่า "ถนนวิทยุ" โดยถนนเพลินจิต เดิมสะกดว่า "เพลินจิตร์" ได้รับนามพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยการเสนอแนะของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรวรรณากร กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ เนื่องจากเดิมสถานที่บริเวณนี้เป็นที่ห่างไกล การสัญจรไปถึงลำบากจนแทบลืมความสบายไปเลย ผู้คนจึงมักนิยมเรียกว่า "หายห่วง" ปัจจุบัน จัดว่าเป็นถนนสายธุรกิจสายหนึ่ง ที่เต็มไปด้วยร้านค้าหรือห้างสรรพสินค้าระดับหรูหราและใหญ่โตหลายแห่ง เช่นเดียวกับบริเวณสี่แยกราชประสงค์ที่อยู่ใกล้เคียง.

ใหม่!!: นารายณ์ภัณฑ์และถนนเพลินจิต · ดูเพิ่มเติม »

ถนนเจริญกรุง

นนเจริญกรุงในสมัยรัชกาลที่ 5 ถนนเจริญกรุงในกลางปี พ.ศ. 2559 ช่วงเชิงสะพานพิทยเสถียร (สะพานเหล็กล่าง) ย่านตลาดน้อย เขตสัมพันธวงศ์ ถนนเจริญกรุง (Thanon Charoen Krung) ถนนสายสำคัญสายหนึ่งในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เริ่มต้นตั้งแต่ถนนสนามไชยบริเวณวงเวียน รด. หน้าหน่วยบัญชาการรักษาดินแดน สิ้นสุดที่แม่น้ำเจ้าพระยาที่ถนนตก บริเวณโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ และการไฟฟ้านครหลวง เขตยานวานา เป็นถนนรุ่นแรกที่ใช้เทคนิคการสร้างแบบตะวันตก ผ่านพื้นที่เขตพระนคร, เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย, เขตสัมพันธวงศ์, เขตบางรัก, เขตสาทร และเขตบางคอแหลม และเป็นเส้นแบ่งของเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย (ด้านซ้าย) กับเขตสัมพันธวงศ์ (ด้านขวา) ตั้งแต่ช่วงคลองถมไปจนถึงบริเวณแยกหมอมี ถนนเจริญกรุงเป็นถนนที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2405 แล้วเสร็จใน พ.ศ. 2407 มีความยาวจากถนนสนามไชยถึงดาวคะนอง 8,575 เมตร การก่อสร้างถนนเจริญกรุงนั้นเนื่องจากในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีชาวต่างประเทศเข้ามาอยู่ในกรุงเทพฯ มากขึ้น และมีพวกกงสุลได้เข้าชื่อกันขอให้สร้างถนนสายยาวสำหรับขี่ม้าหรือนั่งรถม้าตากอากาศและอ้างว่า “เข้ามาอยู่ที่กรุงเทพมหานครไม่มีถนนหนทางที่จะขี่รถม้าไปเที่ยว พากันเจ็บไข้เนือง ๆ” ในปีระกา พ.ศ. 2404 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค ต่อมาคือ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ที่สมุหพระกลาโหมเป็นแม่กอง พระยาอินทราธิบดีสีหราชรองเมืองเป็นนายงาน รับผิดชอบในการก่อสร้างถนนช่วงตั้งแต่คูเมืองชั้นในถึงถนนตกริมแม่น้ำเจ้าพระยาที่ตำบลบางคอแหลม เรียกว่าถนนเจริญกรุงตอนใต้ (แต่ชาวบ้านมักเรียกว่าเจริญกรุงตอนล่าง) กว้าง 5 วา 4 ศอก (ประมาณ 10 เมตร หรือเทียบได้กับถนน 4 เลน) โดยมีนายเฮนรี อาลาบาศเตอร์ (ต้นสกุลเศวตศิลา) เป็นผู้สำรวจแนวถนนและเขียนแผนผังถนน และในปีจอ พ.ศ. 2405 โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยายมราช (ครุฑ) เป็นแม่กอง พระยาบรรหารบริรักษ์ (สุ่น) เป็นนายงาน รับผิดชอบการก่อสร้างถนนเจริญกรุงตอนใน คือช่วงระยะทางตั้งแต่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร (วัดโพธิ์) ถึงสะพานดำรงสถิต (สะพานเหล็กบน) กว้าง 4 วา โดยสร้างเป็นถนนดินอัด เอาอิฐเรียงตะแคงปูให้ชิดกัน ตรงกลางนูนสูง เมื่อถูกฝนไม่กี่ปีก็ชำรุด การก่อสร้างถนนเจริญกรุงตอนในนี้เดิมกำหนดให้ตัดตรงจากสะพานดำรงสถิต ถึงกำแพงเมืองด้านถนนสนามไชย แต่พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทักท้วงว่าการสร้างถนนตรงมาสู่พระบรมมหาราชวังอาจเป็นชัยภูมิให้ข้าศึกใช้ตั้งปืนใหญ่ยิงทำลายกำแพงเมืองได้ จึงต้องเปลี่ยนแนวถนนมาหักมุมเลี้ยวตรงเชิงสะพานดำรงสถิต เมื่อสร้างถนนเจริญกรุงเสร็จใหม่ ๆ นั้น ยังไม่ได้พระราชทานนาม จึงเรียกกันทั่วไปว่า ถนนใหม่ และชาวยุโรปเรียกว่า นิวโรด (New Road) ชาวจีนเรียกตามสำเนียงแต้จิ๋วว่า ซิงพะโล่ว (新打路) แปลว่าถนนตัดใหม่ ต่อมา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามถนนว่า "ถนนเจริญกรุง" ซึ่งมีความหมายถึงความเจริญรุ่งเรืองของบ้านเมือง เช่นเดียวกับชื่อถนนบำรุงเมืองและถนนเฟื่องนคร ที่โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นในคราวเดียวกัน.

ใหม่!!: นารายณ์ภัณฑ์และถนนเจริญกรุง · ดูเพิ่มเติม »

ท่าอากาศยานภูเก็ต

ท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต หรือ สนามบินภูเก็ต เป็นสนามบินตั้งอยู่ที่ เหนือสุดของเกาะภูเก็ตเป็นท่าอากาศยานที่มีเที่ยวบินหนาแน่นเป็นอันดับที่สามของประเทศ รองจากท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิ และท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมือง มีเที่ยวบินทั้งในและต่างประเทศ บินมาลงทุกวัน ซึ่งเป็นจังหวัดที่มีมาตรฐานทั้งในด้านการท่องเที่ยว เศรษฐกิจ ท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต ตั้งอยู่เลขที่ 222 ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4026 ตำบลไม้ขาว อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ห่างจากตัวเมืองภูเก็ตประมาณ 32 กิโลเมตร เนื้อที่โดยประมาณ 94,800 ตารางเมตร แท๊กซี่เวย์ 8 จุด ทิศเหนือเป็นภูเขา ทิศใต้เป็นสวนยางพารา ทิศตะวันตกเป็นชายฝั่งทะเลอันดามัน สามารถรองรับผู้โดยสารได้ 6,500,000 คนต่อปี โดยในปี..

ใหม่!!: นารายณ์ภัณฑ์และท่าอากาศยานภูเก็ต · ดูเพิ่มเติม »

ท่าอากาศยานนานาชาติกระบี่

ท่าอากาศยานนานาชาติกระบี่ หรือ สนามบินกระบี่ (Krabi International Airport) ตั้งอยู่ริมถนนเพชรเกษม ตำบลเหนือคลอง อำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่ ตั้งอยู่ระหว่างอำเภอเมืองกระบี่กับอำเภอเหนือคลอง ไปทางจังหวัดตรัง เป็นท่าอากาศยานในสังกัดกรมท่าอากาศยาน กระทรวงคมนาคม.

ใหม่!!: นารายณ์ภัณฑ์และท่าอากาศยานนานาชาติกระบี่ · ดูเพิ่มเติม »

ท่าอากาศยานเชียงใหม่

มุมสูงของท่าอากาศยานเชียงใหม่ มองจากวัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร ภายในอาคารท่าอากาศยานเชียงใหม่ Boeing 737-800 ของสายการบินนกแอร์ ที่สนามบินเชียงใหม่ Airbus A319 ของสายการบินบางกอกแอร์เวย์ ที่สนามบินเชียงใหม่ ท่าอากาศยานเชียงใหม่ หรือสนามบินเชียงใหม่ (Chiang Mai International Airport) ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ ห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่ 4 กิโลเมตร ในตำบลสุเทพ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ เป็นท่าอากาศยานนานาชาติ 1 ในจำนวนทั้งหมด 6 แห่ง ที่ดำเนินงานโดยบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) เป็นศูนย์กลางทางการบินของภาคเหนือ โดยมีเที่ยวบินเข้าออกหนาแน่นเป็นลำดับสี่ รองจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ท่าอากาศยานดอนเมือง และท่าอากาศยานภูเก็ต.

ใหม่!!: นารายณ์ภัณฑ์และท่าอากาศยานเชียงใหม่ · ดูเพิ่มเติม »

คณะรัฐมนตรี

ณะรัฐมนตรี (council of ministers หรือ cabinet) มีอำนาจหน้าที่บริหารราชการแผ่นดิน ให้เป็นไปตามนโยบายที่ได้แถลงไว้ต่อรัฐสภา ตามรัฐธรรมนูญ และกฎหมาย อันประกอบด้วย หัวหน้าคณะ 1 คน ซึ่งมักเรียกว่า นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีอื่น ตามจำนวนที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้อง.

ใหม่!!: นารายณ์ภัณฑ์และคณะรัฐมนตรี · ดูเพิ่มเติม »

เขตปทุมวัน

ตปทุมวัน เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงเทพใต้ ซึ่งถือเป็นเขตศูนย์กลางธุรกิจ การค้า การบริการ การพยาบาล วัฒนธรรม การศึกษา และการทูต เป็นเขตหนึ่งที่มีที่ตั้งอยู่บริเวณใจกลางที่สุดของกรุงเทพมหานครและที่มีการคมนาคมหลากหลายช่องทาง.

ใหม่!!: นารายณ์ภัณฑ์และเขตปทุมวัน · ดูเพิ่มเติม »

11 สิงหาคม

วันที่ 11 สิงหาคม เป็นวันที่ 223 ของปี (วันที่ 224 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 142 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: นารายณ์ภัณฑ์และ11 สิงหาคม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

บริษัท นารายณ์ภัณฑ์ จำกัด

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »