โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

กายอุปกรณ์

ดัชนี กายอุปกรณ์

กายอุปกรณ์ หมายถึง อุปกรณ์ทางการแพทย์ต่างๆที่ใช้กับร่างกาย ในความหมายที่ใช้ในปัจจุบัน มักจะหมายถึงอุปกรณ์ที่ใช้กับร่างกายเพื่อช่วยเหลือการเคลื่อนไหว เช่น แขนเทียม ขาเทียม อุปกรณ์ประคองหรือดามหลัง อุปกรณ์ดามมือ เป็นต้น แต่โดยทั่วไป ขอบเขตที่แท้จริงของกายอุปกรณ์ ยังรวมไปถึงอุปกรณ์อื่นๆที่ใช้กับร่างกายด้วย เช่น ลูกตาเทียม ข้อเข่าเทียมที่ใช้สำหรับผ่าตัดทดแทนเข่าเดิมในผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อม เป็นต้น และอุปกรณ์ช่วยเหลือการเคลื่อนไหวต่างๆ เช่น รถล้อเข็น (Wheelchair) ไม้เท้า เป็นต้น ส่วน งานกายอุปกรณ์ หมายถึงการตรวจวัดขนาด ออกแบบ ประดิษฐ์ ผลิต ดัดแปลง แก้ไข ซ่อมแซม อุปกรณ์ต่างๆที่ใช้กับร่างกายให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย เพื่อช่วยเหลือการเคลื่อนไหวเท่านั้น งานกายอุปกรณ์ต้องอาศัยทักษะฝีมือและความเชี่ยวชาญชำนาญเฉพาะบุคคลค่อนข้างสูง (ร่วมกับความรู้ความเข้าใจในเรื่องวัสดุศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ ศิลปะ และเรื่องวิทยาศาสตร์การแพทย์ด้านกายวิภาคประยุกต์ ด้านชีวกลศาสตร์และการเคลื่อนไหวประยุกต์พอสมควร) และ งานกายอุปกรณ์ จัดเป็นส่วนหนึ่งของทีมงานด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟู อีกด้วย ในภาษาอังกฤษคำว่า กายอุปกรณ์ ใช้ใน US ว่า Orthosis and Prosthesis (ตัวย่อว่า O&P) ส่วนในประเทศไทยนิยมเรียกว่า Prosthesis and Orthosis (ตัวย่อ PO) อนึ่งคำว่า Prosthesis อาจเขียนว่า Prostheses ก็ได้เมื่อมีความหมายเป็นพหูพจน์ และคำว่า Orthosis สามารถเขียนให้อยู่ในรูปพหูพจน์ได้ว่า Orthoses ส่วนคำว่า งานกายอุปกรณ์ ใช้ว่า Prosthetics and Orthotics (ตัวย่อ P&O) หรือ Orthotics and Prosthetics (ตัวย่อ O&P) ก็ได้เช่นกัน.

7 ความสัมพันธ์: ชีวกลศาสตร์กายวิภาคศาสตร์รยางค์บนขาแพทย์แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูเวชศาสตร์ฟื้นฟู

ชีวกลศาสตร์

ูนย์กลางมวลในวัตถุสมมาตร แต่ร่างกายคนไม่ได้มีรูปร่างสมมาตรเช่นนี้ หากความสูงของจุดศูนย์ถ่วงเพิ่มขึ้น(ขวา) ความมั่นคงจะลดลง น้ำหนักของมวลที่เพิ่มขึ้น (ขวา) ทำให้ความมั่นคงลดลง พื้นที่ฐานรองรับที่แคบกว่า (ขวา) ส่งผลให้วัตถุไม่ค่อยมั่นคง ตัวอย่างการแก้ไขภาวะผิดรูปของกระดูกและข้อต่อโดยใช้หลักการแรงกด 3 จุด (3-point pressure system) ชีวกลศาสตร์ (Biomechanics) เป็นวิชาหนึ่งในวิทยาศาสตร์ประยุกต์สาขาชีวฟิสิกส์ (Biophysics)ซึ่งเป็นสาขาหนึ่งของฟิสิกส์ ที่ทำการศึกษาแรงและผลของแรงในสิ่งมีชีวิต ซึ่งรวมถึงมนุษย์ด้วย โดยมีรากศัพท์มาจากคำว่า ชีวะ (คือสิ่งมีชีวิต) และกลศาสตร์ (คือวิชาว่าด้วยการศึกษาแรงและผลของแรง)ซึ่งใกล้เคียงกับความหมายที่นำเสนอโดย Herbert Hatze (1974) “ชีวกลศาสตร์ คือการศึกษาโครงสร้างและการทำงานของสิ่งมีชีวิตโดยวิธีการทางกลศาสตร์”.

ใหม่!!: กายอุปกรณ์และชีวกลศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

กายวิภาคศาสตร์

หัวใจและปอดของมนุษย์ ภาพจากหนังสือ ''Gray's Anatomy'' กายวิภาคศาสตร์ (anatomia, มาจาก ἀνατέμνειν ana: การแยก และ temnein: การตัดเปิด) เป็นแขนงหนึ่งของวิชาชีววิทยา ซึ่งศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้างของสิ่งมีชีวิต คำนี้หมายรวมถึงกายวิภาคศาสตร์มนุษย์ (human anatomy), กายวิภาคศาสตร์สัตว์ (animal anatomy หรือ zootomy) และกายวิภาคศาสตร์พืช (plant anatomy หรือ phytotomy) ในบางแง่มุมกายวิภาคศาสตร์ก็มีความเกี่ยวข้องอย่างลึกซึ้งกับวิชาคัพภวิทยา (embryology), กายวิภาคศาสตร์เปรียบเทียบ (comparative anatomy) และคัพภวิทยาเปรียบเทียบ (phylogenetics หรือ comparative embryology) โดยมีรากฐานเดียวกันคือวิวัฒนาการ (evolution) กายวิภาคศาสตร์สามารถแบ่งออกได้เป็นมหกายวิภาคศาสตร์ (gross anatomy หรือ macroscopic anatomy) และจุลกายวิภาคศาสตร์ (microscopic anatomy) มหกายวิภาคศาสตร์ เป็นการศึกษาโครงสร้างทางกายวิภาคที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า จุลกายวิภาคศาสตร์เป็นการศึกษาโครงสร้างทางกายวิภาคขนาดเล็กซึ่งต้องอาศัยกล้องจุลทรรศน์ ได้แก่ มิญชวิทยา (histology) ซึ่งเป็นการศึกษาโครงสร้างของเนื้อเยื่อ และวิทยาเซลล์ (cytology) ซึ่งเป็นการศึกษาเซลล์ กายวิภาคศาสตร์มีประวัติศาสตร์เป็นเวลายาวนาน มีการพัฒนาความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหน้าที่ของอวัยวะและโครงสร้างต่างๆ ของร่างกายอย่างต่อเนื่อง เช่นเดียวกันกับวิธีการศึกษาที่พัฒนาอย่างรวดเร็วตั้งแต่การศึกษาจากสัตว์ไปจนถึงการชำแหละ (dissect) ศพมนุษย์ จนกระทั่งพัฒนาเทคนิคที่อาศัยเทคโนโลยีที่ซับซ้อนในศตวรรษที่ 20 วิชากายวิภาคศาสตร์นั้นต่างจากพยาธิกายวิภาค (anatomical pathology หรือ morbid anatomy) หรือจุลพยาธิวิทยา (histopathology) ซึ่งเป็นการศึกษาลักษณะทางมหภาคและจุลภาคของอวัยวะที่เป็นโร.

ใหม่!!: กายอุปกรณ์และกายวิภาคศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

รยางค์บน

ต้นแขนของมนุษย์ ในกายวิภาคศาสตร์ของมนุษย์ รยางค์บน (upper limb หรือ upper extremities) คือส่วนของร่างกายมนุษย์ที่เรียกโดยทั่วไปว่า แขน (arm) คือโครงสร้างตั้งแต่แขนจนถึงปลายนิ้ว รวมทั้งส่วนของต้นแขน (upper arm) ด้ว.

ใหม่!!: กายอุปกรณ์และรยางค์บน · ดูเพิ่มเติม »

ขา

แผนภาพของขาแมลง ขา เป็นส่วนหนึ่งในร่างกายของสัตว์ที่รองรับน้ำหนักทั้งหมด อยู่ระหว่างข้อเท้าและสะโพก ใช้ในการเคลื่อนที่ ปลายสุดของขามักเป็นโครงสร้างที่พัฒนาหรือเปลี่ยนแปลงเป็นโครงสร้างอื่นที่รับน้ำหนักของสัตว์บนพื้น (ดู เท้า) รยางค์ล่าง (lower limb) ของสัตว์มีกระดูกสันหลังที่มีสองขา (bipedal vertebrate) มักจะเป็นขาของสัตว์นั้นๆ ส่วนรยางค์บน (upper limb) มักจะเป็นแขนหรือปีก จำนวนขาของสัตว์มักเป็นจำนวนคู่ นักอนุกรมวิธานอาจจัดสัตว์ออกเป็นกลุ่มตามจำนวน.

ใหม่!!: กายอุปกรณ์และขา · ดูเพิ่มเติม »

แพทย์

แพทย์ (physician, doctor) หรือภาษาพูดว่า "หมอ" ในบางพื้นที่ตามชนบท อาจเรียกแพทย์ว่า "หมอใหญ่" เพื่อกันสับสนกับพยาบาลหรือเจ้าหน้าที่อื่นในทางด้านสาธารณสุข แพทย์มีหน้าที่ ซักถามประวัติ ตรวจร่างกาย และส่งตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติม เพื่อสั่งการรักษาหรือให้การรักษาโรค ส่งเสริมฟื้นฟูสุขภาพ ให้แก่ผู้ป่วย ร่วมกับบุคลากรด้านสุขภาพอื่น.

ใหม่!!: กายอุปกรณ์และแพทย์ · ดูเพิ่มเติม »

แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู

แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู คือแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ที่ได้รับการอบรมมาโดยเฉพาะ เพื่อทำการรักษาและฟื้นฟูทางเวชศาสตร์ฟื้นฟู ในภาษาอังกฤษคำว่าแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูใช้ว่า Rehabilitation physician (แบบ UK) หรือ Rehabilitation doctor (แบบ UK) หรือ Physiatrist (แบบ US อ่านว่า ฟิส-ซาย-เอ-ตริส) ก็ได้.

ใหม่!!: กายอุปกรณ์และแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู · ดูเพิ่มเติม »

เวชศาสตร์ฟื้นฟู

วชศาสตร์ฟื้นฟู หรืองานเวชกรรมฟื้นฟู จัดว่าเป็น 1 ใน 4 พันธกิจทางการแพทย์ ตามคำจำกัดความขององค์การอนามัยโลก (ได้แก่ "ส่งเสริมสุขภาพ - ป้องกันโรค - รักษาโรค - ฟื้นฟูสมรรถภาพ) ภาษาอังกฤษเรียกว่า Rehabilitation medicine หรือ Physical medicine and rehabilitation (PM&R) หรือ Physiatry (อ่านว่า ฟิส-ซาย-เอ-ตรี้) ก็ได้ งานเวชศาสตร์ฟื้นฟูเอง ก็คือการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ (Medical rehabilitation) ซึ่งเป็นหนึ่งในหลายๆด้านของการฟื้นฟูสมรรถภาพทั้งหมด ขึ้นกับบุคคลนั้นต้องการให้ฟื้นฟูสมรรถภาพทางด้านใด ณ ที่นี้ ยกตัวอย่างการฟื้นฟูด้านอื่นๆ เช่น การฟื้นฟูสมรรถภาพด้านอาชีพ (Vocational rehabilitation) การฟื้นฟูสมรรถภาพด้านการศึกษา (Educational rehabilitation) เป็นต้น งานเวชศาสตร์ฟื้นฟูในประเทศที่พัฒนาแล้ว เป็นงานที่ท้าทายและเป็นที่รู้จักสนใจในวงกว้าง เนื่องจากสามารถบ่งบอกถึงการเอาใจใส่จากภาครัฐได้เป็นอย่างดี เพราะผู้ป่วยที่มีรับการฟื้นฟูนั้น ย่อมเป็นผู้พิการ หรือ ผู้ที่มีสมรรถภาพทางร่างกายไม่ดีนัก แต่เป็นที่น่าเสียดาย ที่ในประเทศไทยไม่ค่อยให้ความสำคัญเท่าไรนัก ทั้งในระดับนโยบาย ระดับโรงพยาบาล และในประชาชนทั่วไป.

ใหม่!!: กายอุปกรณ์และเวชศาสตร์ฟื้นฟู · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ช่างกายอุปกรณ์นักกายอุปกรณ์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »