โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

นอร์ทอเมริกันเอวิเอชัน

ดัชนี นอร์ทอเมริกันเอวิเอชัน

นอร์ทอเมริกันเอวิเอชัน เป็นอดีตบริษัทผลิตอากาศยานรายใหญ่ของสหรัฐอเมริกา ต่อมาถูกควบรวมเป็นส่วนหนึ่งของร็อกเวลล์อินเตอร์เนชันนัล ซึ่งปัจจุบันคือส่วนหนึ่งของโบอิง ผลงานอากาศยานและจรวดชื่อดังในอดีตและใช้งานในปัจจุบัน เช่น เครื่องบินฝึก ที-6 เท็กซัน, เครื่องบินขับไล่ พี-51 มัสแตง, เครื่องบินทิ้งระเบิด บี-25 มิตเชล, เครื่องบินขับไล่ เอฟ-86 เซเบอร์, อากาศยานต้นแบบเอ็กซ์-16, เอ็กซ์บี-70 วาลคีรี, โครงการอพอลโล, จรวดแซทเทิร์น 5, กระสวยอวกาศ, และเคร่องบินทิ้งระเบิดบี-1 แลนเซอร.

7 ความสัมพันธ์: บี-1 แลนเซอร์กระสวยอวกาศอากาศยานนอร์ทอเมริกัน พี-51 มัสแตงโบอิงโครงการอะพอลโลเจเนรัลมอเตอร์

บี-1 แลนเซอร์

right บี-1 แลนเซอร์ (B-1 Lancer) เป็นเครื่องบินเจ็ตทิ้งระเบิดยุทธศาสตร์ เพื่อใช้แทนบี-52 สตราโตฟอสเตรส บี-1 มีขนาดเล็กกว่าบี-52 และสามารถบรรทุกอาวุธได้มากกว่า 2 เท่า บินเร็วมากกว่า 2 เท่า โดยใช้ระยะทางบินขึ้นสั้นกว่าบี-52.

ใหม่!!: นอร์ทอเมริกันเอวิเอชันและบี-1 แลนเซอร์ · ดูเพิ่มเติม »

กระสวยอวกาศ

ลัมเบีย STS-1 พ.ศ. 2524 กระสวยอวกาศ (space shuttle) คือ เครื่องบินอวกาศของสหรัฐอเมริกา สร้างขึ้นโดยองค์การนาซ่า (NASA) มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า Space Transportation System (STS) ผลิตโดยบริษัท North American Aviation ซึ่งปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของบริษัท Rockwell International สเปซชัทเทิลทะยานขึ้นเหมือนจรวดและไปโคจรรอบโลก มีปีกและตอนกลับสู่โลกจะร่อนลงตามรันเวย์ กระสวยอวกาศสามารถนำมาใช้ได้หลาย ๆ ครั้ง กระสวยอวกาศถูกออกแบบมาให้ใช้งานซ้ำได้ 100 ครั้ง หรือปฏิบัติการได้ 10 ปี โครงการถูกเริ่มขึ้นในท้ายยุค 60 หลังจากนั้นก็มีบทบาทสำคัญในปฏิบัติการที่ต้องใช้คนเข้าร่วมของนาซามาโดยตลอด ส่วนสำคัญของกระสวยอวกาศ เรียกว่า ออร์บิเตอร์ (orbiter หมายถึง ยานโคจร) จะพาลูกเรือและสัมภาระไปยังอวกาศในขณะที่จะส่งกระสวยอวกาศขึ้นไป กระสวยจะอยู่ที่ฐานส่งโดยจะตั้งชี้ขึ้นไปคล้ายจรวด ข้าง ๆ ออร์บิเตอร์จะมีแทงค์น้ำมันขนาดใหญ่ ซึ่งเรียกว่า แทงค์ด้านนอก (External Tank) ซึ่งมันจะเก็บออกซิเจนและไฮโดรเจนในขณะที่มันขึ้นเชื้อเพลิงเหล่านี้จะถูกสูบเข้าไปยังเครื่องยนต์หลัก 3 เครื่อง ของออร์บิเตอร์ นอกจากนี้ยังมีแทงค์ขนาดเล็กที่อยู่ข้าง ๆ ออร์บิเตอร์บนฐานส่งเพื่อให้แรงผลักดันพิเศษในขณะส่งกระสวยขึ้น ซึ่งเรียกว่า Solid Fuel Rocket Booster หรือ SRB ทำงานคล้ายกับจรวดดอกไม้ไฟขนาดใหญ่ เมื่อกระสวยอวกาศทะยานขึ้น หลังจากนั้นประมาณ 2 นาที เชื้อเพลิงในแทงค์เชื้อเพลิง SRB จะหมดลง และตกลงในทะเลกับร่มชูชีพ อัตราความเร็วของกระสวยค่อย ๆ เพิ่มขึ้นจนถึงความเร็วประมาณ 72 ไมล์ จากนั้นเครื่องยนต์หลักจึงหยุดทำงาน และถังเชื้อเพลิงภายนอกซึ่งว่างเปล่าจะถูกปล่อยตกลงสู่ทะเล เครื่องยนต์ของจรวดสองลำจะรับภาระต่อไป ซึ่งเรียกว่า ระบบการยักย้ายการโคจร ในระหว่างการโคจร เมื่อถึงเวลากลับสู่โลก เครื่องยนต์ระบบการยักย้ายการโคจรจะถูกยิงคล้ายกับตอนล่างของจรวด และยานจะหลุดออกจากการโคจร แล้วกลับลงมาสู่บรรยากาศโลกในอัตราความเร็ว 15,900 ไมล์ต่อชั่วโมง (หรือประมาณ 25,700 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) แผ่นกำบังความร้อนข้างใต้กระสวยอวกาศจะเปล่งแสงสีแดงจัดพร้อมกับความร้อนในการกลับเข้ามาสู่โลก แผ่นกระเบื้องพิเศษบนกระสวยอวกาศจะป้องกันลูกเรือและยานอวกาศออร์บิเตอร์จะช้าลงเมื่อเข้ามาถึงบริเวณส่วนล่างของบรรยากาศ จะร่อนลงบนพื้นดินบนรันเวย์ด้วยความเร็วประมาณ 210 ไมล์แล้วภารกิจก็จะจบลง.

ใหม่!!: นอร์ทอเมริกันเอวิเอชันและกระสวยอวกาศ · ดูเพิ่มเติม »

อากาศยาน

รื่องบินแอร์บัส A-380 อากาศยานโดยสารที่ใหญ่ที่สุดในโลก อากาศยาน (aircraft)หมายถึงสิ่งหรือเครื่องที่สามารถบินได้โดยได้รับการรองรับจากอากาศ หรือโดยทั่วไปคือชั้นบรรยากาศของโลก มันสามารถต้านแรงดึงดูดของโลกโดยใช้แรงลอยตัว(แรงยกอยู่กับที่)(Buoyancy หรือ static lift) หรือใช้แรงยกพลศาสตร์(dynamic lift)ของ airfoil อย่างใดอย่างหนึ่ง, หรือมีไม่กี่กรณีที่ใช้แรงขับลงด้านล่าง(downward thrust)จากเครื่องยนต์ไอพ่น กิจกรรมของมนุษย์ที่เกี่ยวข้องกับอากาศยานเรียกว่า การบิน (aviation) อากาศยานที่มีลูกเรือจะถูกบินโดยนักบินที่อยู่บนเครื่อง แต่ยานพาหนะทางอากาศไร้คนขับอาจถูกควบคุมโดยระยะไกลหรือควบคุมตัวเองโดยเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่บนเครื่อง อากาศยานถูกแยกประเภทโดยเกณฑ์ที่แตกต่างกัน เช่นรูปแบบของการยกตัว การขับเคลื่อน การใช้งานและอื่นๆ อากาศยานที่มีคนขับนั้นขับด้วยบุคคลที่เรียกว่า นักบิน จนกระทั่งในคริสต์ทศวรรษที่ 1960 ก็มีอากาศยานแบบที่ไม่มีคนขับเกิดขึ้น มีชื่อเรียกว่า "drone" ในช่วงทศวรรษที่ 1960 นั้น กองทัพสหรัฐได้นำคำว่า อากาศยานที่ควบคุมจากระยะไกล (remotely piloted vehicle (RPV)) มาใช้เรียกชื่ออากาศยานชนิดนี้ ปัจจุบันอากาศยานชนิดนี้มีชื่อเรียกโดยทั่วไปว่า อากาศยานไร้คนขับ (unmanned aerial vehicle (UAV)).

ใหม่!!: นอร์ทอเมริกันเอวิเอชันและอากาศยาน · ดูเพิ่มเติม »

นอร์ทอเมริกัน พี-51 มัสแตง

นอร์ทอเมริกันเอวิเอชัน พี-51 มัสแตง (North American Aviation P-51 Mustang) เป็นเครื่องบินขับไล่และทิ้งระเบิดพิสัยไกลหนึ่งที่นั่งสัญชาติอเมริกาซึ่งถูกใช้ในสงครามโลกครั้งที่ 2 สงครามเกาหลี และสงครามอื่นๆ มันถูกออกแบบและสร้างโดยนอร์ทอเมริกันเอวิเอชันหรือเอ็นเอเอเพื่อตอบโจทย์ของกระทรวงการบินจากการสั่งซื้อของอังกฤษ ลำตันแบบคือเอ็นเอ-73เอ็กซ์ที่สร้างเสร็จในวันที่ 9 กันยายน..

ใหม่!!: นอร์ทอเมริกันเอวิเอชันและนอร์ทอเมริกัน พี-51 มัสแตง · ดูเพิ่มเติม »

โบอิง

อิง (The Boeing Company) เป็นบริษัทผู้ผลิตเครื่องยนต์อากาศยานและยุทโธปกรณ์ มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ชิคาโก รัฐอิลลินอยส์ สหรัฐอเมริกา โบอิงนับเป็นบริษัทผู้ผลิตเครื่องบินที่มีรายได้มากที่สุดในโลก และเป็นผู้ผลิตยุทโธปกรณ์อันดับสองของโลก ในปี พ.ศ. 2549 โบอิงเป็นผู้ผลิตเครื่องบินที่มีจำนวนสั่งซื้อมากที่สุดในโลก มีสัดส่วนการตลาดร้อยละ 55 สำหรับยอดสั่งซื้อ และร้อยละ 54 สำหรับยอดส่งมอบ กุมชัยชนะเหนือแอร์บัสเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 เป็นต้นมา นอกจากนี้ยังเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริก.

ใหม่!!: นอร์ทอเมริกันเอวิเอชันและโบอิง · ดูเพิ่มเติม »

โครงการอะพอลโล

ตราโครงการอะพอลโล โครงการอะพอลโล เป็นโครงการที่ 3 ต่อเนื่องมาจากเมอร์คิวรีและเจมินี มีเป้าหมายสำคัญคือ จะนำมนุษย์ลงไปสำรวจดวงจันทร์ ใช้มนุษย์อวกาศขึ้นไปครั้งละ 3 คน ตัวยานอวกาศประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วนคือ.

ใหม่!!: นอร์ทอเมริกันเอวิเอชันและโครงการอะพอลโล · ดูเพิ่มเติม »

เจเนรัลมอเตอร์

right เจเนรัลมอเตอร์ (General Motors Company) หรือย่อว่า จีเอ็ม (GM) เป็นบริษัทผลิตรถยนต์จากสหรัฐอเมริกา เจ้าของยี่ห้อ บิวอิคก์ (Buick) คาดิลแลค (Cadillac), เชฟโรเลต (Chevrolet), จีเอ็มซี (GMC) ฮัมเมอร์ (Hummer), พอนทิแอค (Pontiac), แซทเทิร์น (Saturn), นำเข้ารถจากยุโรปได้แก่ โอเปิล (Opel), ซาบ (Saab), และ วอกซ์ฮอลล์ (Vauxhall), และยังถือหุ้นใหญ่ในโฮลเด้น (Holden) ซึ่งเป็นยี่ห้อรถยนต์ของออสเตรเลีย และถือหุ้นใหญ่ในกิจการรถยนต์แดวู (Daewoo) ของเกาหลีใต้อีกด้วย 19 ตุลาคม 2550 เชฟโรเล็ตและ GMC ยังผลิตรถบรรทุก จีเอ็มเองมีหุ้นในบริษัทอีซูซุและซูซูกิของประเทศญี่ปุ่น ปัจจุบันจีเอ็มเป็นผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ที่สุดของโลก มีพนักงานประมาณ 340,000 คน แต่ในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจปี 2552 ทางบริษัทก็ได้มีการปิดโรงงานและปลดพนักงานออกจำนวนมากในหลายประเท.

ใหม่!!: นอร์ทอเมริกันเอวิเอชันและเจเนรัลมอเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »