โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

นกโมอา

ดัชนี นกโมอา

นกโมอา (moa) เป็นนกขนาดใหญ่ในวงศ์ Dinornithidae เคยอาศัยอยู่ในประเทศนิวซีแลนด์ซึ่งปัจจุบันได้สูญพันธ์ไปหมดแล้ว มีความเกี่ยวข้องกับนกอีมูจากออสเตรเลีย ในช่วงศตวรรษที่ 1800 ถึงต้นศตวรรษที่ 1900 มีหลายสายพันธุ์ของนกโมอาอยู่ในประเทศนิวซีแลนด์ ตอนนี้นักวิทยาศาสตร์สรุปอย่างเป็นทางการได้ว่ามีอยู่ประมาณ 10 หรือ 12 ชนิด จากการศึกษาดีเอ็นเอ ของนกโมอา ได้มีการค้นพบว่านกโมอาตัวเมียกับตัวผู้มีความแตกต่างกันมาก ไม่ว่าจะเป็นทางขนาดลำตัวรึขนาดของกระดูก ตัวเมียมีขนาดที่ใหญ่กว่าและสูงกว่าตัวผู้อยู่ประมาณร้อยละ 150 และมีน้ำหนักกว่าร้อย 280 เหตุผลนี้ทำให้ตอนแรกมีการเข้าใจผิดคิดว่าโครงกระดูกที่ถูกค้นพบนี้เป็นของนก 2 ชนิด โครงกระดูกที่ถูกค้นพบได้ถูกนำมาประกอบกันแล้วจัดแสดงอยู่ตามพิพิธภัณฑ์ต่าง ๆ ทั่วประเทศนิวซีแลน.

13 ความสัมพันธ์: ชาวมาวรีสมัยโฮโลซีนสมัยไมโอซีนสัตว์สัตว์มีแกนสันหลังสัตว์ปีกสปีชีส์อินทรีฮาสท์ประเทศนิวซีแลนด์นกแก้วคาคาโปไก่ต๊อกเกาะใต้เนเจอร์ (วารสาร)

ชาวมาวรี

มาวรี เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่เป็นชนพื้นเมืองของประเทศนิวซีแลน.

ใหม่!!: นกโมอาและชาวมาวรี · ดูเพิ่มเติม »

สมัยโฮโลซีน

อุณหภูมิเฉลี่ยของบรรยากาศโลกในสมัยโฮโลซีน โฮโลซีน (Holocene) เป็นสมัย (epoch) ทางธรณีวิทยา ที่เริ่มขึ้นหลังจากการสิ้นสุดของไพลสโตซีน (11,700 ปีก่อนปัจจุบัน ตามปีปฏิทิน) มาจนถึงปัจจุบัน สมัยโฮโลซีนเป็นส่วนหนึ่งของยุคควอเทอร์นารี โดยนับตั้งแต่ปลายยุคน้ำแข็งครั้งล่าสุด ชื่อโฮโลซีน มาจากรากศัพท์ภาษากรีก ὅλος (holos แปลว่า ทั้งหมด) และ καινός (kainos แปลว่า ใหม่) ซึ่งแปลว่า "ใหม่ทั้งหมด" ได้รับการบัญญัติโดยสภาธรณีวิทยาสากล ในปี..

ใหม่!!: นกโมอาและสมัยโฮโลซีน · ดูเพิ่มเติม »

สมัยไมโอซีน

รรดาสัตว์สมัยไมโอซีนในอเมริกาเหนือ สมัยไมโอซีน (Miocene) เป็นสมัยแรกของยุคนีโอจีนในธรณีกาลระหว่าง 23.03 ถึง 5.333 ล้านปีก่อนถึงปัจจุบัน เป็นสมัยที่ต่อมาจากสมัยโอลิโกซีนและตามด้วยสมัยไพลโอซีน ชาร์ลส์ ไลแอลได้นำจากคำภาษากรีก คำว่าμείων (meiōn, “น้อย”) และคำว่า καινός (kainos, “ใหม่”)มาตั้งชื่อให้กับสมัยนี้ สาเหตุที่ใช้คำว่า"น้อย"เพราะว่ามีสัตว์ทะเลไม่มีกระดูกสันหลังสมัยใหม่น้อยกว่าสมัยไพลโอซีน 18% ขณะที่เวลาได้ผ่านตั้งแต่สมัยโอลิโกซีนมาถึงไมโอซีนและผ่านไปยังสมัยไพลโอซีนอากาศค่อย ๆ เย็นลงซึ่งเป็นผลมาจากยุคน้ำแข็ง การแบ่งยุคสามยุคนี้ออกจากกันนั้นไม่ได้ใช้เหตุการณ์ระดับโลกในการแบ่งแต่ใช้ระดับอุณหภูมิในการแบ่งโดยสมัยโอลิโกซีนอุ่นกว่าไมโอซีนและไมโอซีนอุ่นกว่าสมัยไพลโอซีน เอปได้เกิดและมีความหลากหลายขึ้นในยุดนี้จากนั้นก็เริ่มแพร่พันธุ์ไปทั่วพื้นที่โลกเก่า ในช่วงท้ายของสมัยนี้บรรพบุรุษของมนุษย์ได้เริ่มแยกตัวออกจากบรรพบุรุษของลิงชิมแปนซี (ช่วงประมาณ 7.5 ถึง 5.6 ล้านปีก่อน) สมัยนี้มีลักษณะเหมือนสมัยโอลิโกซีนคือทุ่งหญ้าขนายตัวขึ้นและป่าไม้ลดน้อยลง ทะเลในสมัยนี้ป่าสาหร่ายเริ่มปรากฏขึ้นเป็นครั้งแรกและกลายเป็นระบบนิเวศที่สำคัญมากที่สุดแบบหนึ่งของโลก พืชและสัตว์ยุคนี้มีวิวัฒนาการแบบใหม่มากขึ้น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมและนกสามารถพบได้มาก สาหร่ายทะเล วาฬและสัตว์ตีนครีบเริ่มแพร่พันธุ์ไปทั่ว ยุคนี้มีเป็นยุคที่มีความน่าสนใจเกี่ยวกับธรณีวิทยาและภูมิอากาศบรรพกาลวิทยาเป็นอย่างมากเนื่องจากยุคนี้เป็นช่วงเวลาสำคัญของการเกิดเทือกเขาหิมาลัยซึ่งส่งผลกระทบต่อรูปแบบของมรสุมในเอเชียซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับการขยายตัวของธารน้ำแข็งในซีกโลกเหนือ.

ใหม่!!: นกโมอาและสมัยไมโอซีน · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: นกโมอาและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ใหม่!!: นกโมอาและสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์ปีก

ัตว์ปีก หรือ นก (รวมถึง ไก่, เป็ด, ห่าน, ไก่ฟ้า) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้น Aves (คำว่า Aves เป็นภาษาละติน หมายถึง นก) โดยมีลักษณะทั่วไปคือ เป็นสัตว์ทวิบาท เลือดอุ่น ออกลูกเป็นไข่ รยางค์คู่หน้าเปลี่ยนแปลงไปเป็นปีก มีขนนก และมีกระดูกที่กลวงเบา ในปัจจุบันทั่วโลกมีนกอยู่ประมาณ 8,800 ถึง 9,800 ชนิด (ตามการจัดอนุกรมวิธานที่ต่างกัน) ซึ่งนับว่านกเป็นชั้นของสัตว์มีกระดูกสันหลังที่มีความหลากหลายมากที่สุด ในบรรดาชั้นของสัตว์มีกระดูกสันหลังทั้งหลายที่อาศัยอยู่บนพื้นดิน ความหลากหลายของนกนับเนื่องไปตั้งแต่ในเรื่องของขนาดตัว สีสัน เสียงร้อง อาหารการกิน และถิ่นที่อยู่อาศัย นกเป็นสัตว์ที่มีความสำคัญเป็นอันมากทั้งต่อระบบนิเวศและต่อชีวิตมนุษย์ ความสัมพันธ์ระหว่างคนกับนกเป็นไปอย่างแน่นแฟ้น และการเกื้อกูลกันระหว่างนกกับสรรพสิ่งต่างๆ ตามธรรมชาติก็เป็นไปอย่างแนบแน่น ถ้าหากปราศจากนก คงเป็นเรื่องยากที่จะจินตนาการถึงการดำรงอยู่ต่อไปของชีวภาคใบนี้.

ใหม่!!: นกโมอาและสัตว์ปีก · ดูเพิ่มเติม »

สปีชีส์

ในวิชาชีววิทยา ชนิด หรือทับศัพท์ว่า สปีชีส์ (species, ย่อ: sp., รูปพหูพจน์ย่อ: spp.) เป็นหน่วยการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานและอันดับอนุกรมวิธานหนึ่ง มักนิยามว่า สปีชีส์เป็นกลุ่มอินทรีย์ใหญ่สุดที่สามารถสืบพันธุ์แล้วออกลูกที่สืบพันธุ์ได้ การมีลักษณะปรับตัวเฉพาะบางท้องถิ่นอาจแบ่งสปีชีส์ต่ออีกได้เป็น "ชื่อต่ำกว่าระดับชนิด" (infraspecific taxa) เช่น ชนิดย่อย (ในทางพฤกษศาสตร์ มีใช้คำอื่น เช่น พันธุ์ (variety) พันธุ์ย่อยและแบบ (forma)).

ใหม่!!: นกโมอาและสปีชีส์ · ดูเพิ่มเติม »

อินทรีฮาสท์

อินทรีฮาสท์ (Haast's Eagle; คืออินทรีสายพันธุ์หนึ่งซึ่งสูญพันธุ์ไปแล้ว ครั้งหนึ่งมันเคยอาศัยอยู่ที่เกาะใต้ของนิวซีแลนด์ เป็นสายพันธุ์อินทรีที่เชื่อกันว่ามีขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่มีมา อินทรีฮาสท์มีถิ่นกำเนิดในนิวซีแลนด์ ได้ชื่อว่าเป็นนกอินทรีที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยมันมีความยาวจากปลายปีกข้างหนึ่งไปยังอีกข้างหนึ่งกว่า 10 ฟุต หรือสามเมตร น้ำหนักราว 15 -20 กิโลกรัม กรงเล็บของอินทรีฮาสท์มีขนาดพอ ๆ กับเล็บเสือโคร่ง จัดว่าเป็นนักล่าที่น่ากลัวที่สุดของนิวซีแลนด์ เนื่องจากนกอินทรีชนิดนี้อาศัยอยู่ในเกาะใต้ซึ่งพื้นที่ส่วนใหญ่ปกคลุมด้วยป่าหนาทึบ มันจึงมีปีกที่ค่อนข้างสั้นเมื่อเทียบตามสัดส่วนร่างกาย ทั้งนี้เพื่อให้เป็นประโยชน์ขณะที่บินล่าเหยื่อในป่า ช่วงปีกค่อนข้างสั้นและแผ่กว้างทำให้อินทรีฮาสท์ไม่ร่อนหาเหยื่อจากที่สูงเหมือนอย่างพวกแร้ง แต่มักจะบินไปตามแนวป่ามากกว่า เหยื่อสำคัญของอินทรีฮาสท์คือบรรดานกโมอาชนิดต่าง ๆ โดยเฉพาะนกโมอายักษ์ที่หนักกว่า 250 กิโลกรัม แม้ว่าโมอายักษ์จะใหญ่กว่าอินทรีฮาสท์หลายเท่า แต่มันก็ค่อนข้างเชื่องช้าและยังมีคอและศีรษะขนาดเล็กทำให้ง่ายต่อการโจมตี โดยอินทรีฮาสต์จะโฉบลงที่ลำคอหรือไม่ก็ศีรษะของเหยื่อ ก่อนใช้กรงเล็บสังหารเหยื่อของมัน เนื่องจากเหยื่อของมันมีขนาดใหญ่มาก อินทรีฮาสต์จึงมักกินเหยื่อที่พื้นและอยู่กับซากเป็นเวลาหลายวัน การที่อินทรีฮาสต์ล่าเหยื่อขนาดใหญ่อย่างนกโมอายักษ์ ก็เพราะว่าในนิวซีแลนด์ มันเป็นนักล่าที่ใหญ่ที่สุดของดินแดนแห่งนี้ ตามปกติสัตว์จำพวกเหยี่ยวและนกอินทรีจะล่าเหยื่อที่มีขนาดเล็กกว่าพวกมันเพื่อให้ง่ายต่อการนำขึ้นไปกินบนกิ่งไม้สูงทั้งนี้ เพื่อไม่ให้ถูกสัตว์นักล่าบนพื้นดินชนิดอื่นที่แข็งแรงกว่ามาแย่งเหยื่อไป แต่ในนิวซีแลนด์ไม่มีสัตว์นักล่าบนพื้นดิน ที่แข็งแกร่งกว่าอินทรีฮาสท์ ทำให้พวกมันสามารถกินเหยื่อบนพื้นดินได้โดยไม่ต้องกลัวถูกแย่งไป ไม่เคยมีชาวผิวขาวคนใดได้เห็น นกอินทรีฮาสท์ คงมีเพียงชาวมาวรีเท่านั้นที่เคยเห็นมัน พวกมาวรีเรียกนกอินทรีชนิดนี้ว่า "โปวาไก" (Pouakai). Museum of New Zealand: Te Papa Tongarewa. Retrieved 27 October 2010. ในตำนานพื้นบ้านเล่าว่า มันจะเกาะอยู่บนยอดไม้สูง เมื่อมนุษย์เดินผ่าน มันจะพุ่งเข้าจู่โจมโดยใช้กรงเล็บขยุ้มที่ศีรษะเหยื่อ และเมื่อเหยื่อตายแล้วมันจะนำกลับไปที่รัง เมื่อดูจากกรงเล็บและขนาดของมันแล้ว ก็พอจะกล่าวได้ว่า ตำนานนี้ไม่เกินจริงนัก ภาพวาดนกอิทรียักษ์ฮาสท์กำลังล่านกโมอา กระดูกของอินทรียักษ์ ถูกค้นพบครั้งแรกในปี 1871 ระหว่างการขุดค้นกระดูกนกโมอาที่บึงเกลมมาร์ก (Glemmark) ในแคนเทอร์บรี (Canterbury) จากนั้นได้มีการศึกษา และตั้งชื่อในปีต่อมา กระดูกของอินทรีฮาสท์ไม่ได้พบทั่วไป แต่มีอยู่เฉพาะในเกาะใต้ และทางตอนใต้ของเกาะเหนือของประเทศนิวซีแลนด์เท่านั้น นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่านกอินทรีฮาสท์เป็นนกนักล่าที่น่ากลัวที่สุดของนิวซีแลนด์ พวกมันสามารถล่าเหยื่อขนาดใหญ่อย่างนกโมอาที่หนักกว่า 250 กิโลกรัมได้ โดยนกอินทรีฮาสท์จะใช้วิธีพุ่งเข้าชนเหยื่อ แรงปะทะของมันจะทำให้นกโมอาเสียหลักล้มลง จากนั้นมันจึงเล่นงานด้วยกรงเล็บ นอกจากนี้พวกมันก็อาจเล่นงานชาวพื้นเมืองเหมือนดังในตำนานก็ได้ จากหลักฐานที่พบ สรุปได้ว่าอินทรีฮาสท์สูญพันธุ์ไปเมื่อ 500 ปีก่อน สาเหตุของการสูญพันธุ์น่าจะเกี่ยวเนื่องกับการเข้ามาของชาวมาวรี ทั้งนี้เมื่อเหยื่อขนาดใหญ่อย่างนกโมอาถูกมนุษย์ล่า ทำให้นกอินทรีขาดแหล่งอาหาร นอกจากนี้ยังมีหลักฐานว่า ชาวมาวรีล่าอินทรีเหล่านี้เพื่อใช้ขนทำเสื้อด้วย อย่างไรก็ดี ในช่วงปี 1800 มีผู้อ้างว่า ได้ยิงอินทรียักษ์สองตัว แม้ไม่มีหลักฐานยืนยัน แต่ก็พอจะพูดได้ว่านั่นเป็นข่าวการพบเห็นครั้งสุดท้าย เพราะนับแต่นั้นมาก็ไม่เคยมีใครพบนกอินทรีชนิดนี้อีกเล.

ใหม่!!: นกโมอาและอินทรีฮาสท์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศนิวซีแลนด์

นิวซีแลนด์ (New Zealand; มาวรี: Aotearoa หมายถึง "ดินแดนแห่งเมฆยาวสีขาว" หรือ Niu Tirenio ซึ่งเป็นการทับศัพท์จากภาษาอังกฤษ) เป็นประเทศที่ประกอบด้วยเกาะใหญ่ 2 เกาะ รวมถึงเกาะเล็ก ๆ จำนวนหนึ่ง ในมหาสมุทรแปซิฟิกตอนตะวันตกเฉียงใต้ - นิวซีแลนด์มีเมืองหลวงชื่อเวลลิงตัน นิวซีแลนด์เป็นประเทศที่ห่างไกลจากประเทศอื่น ๆ มากที่สุด ประเทศที่อยู่ใกล้ที่สุดคือประเทศออสเตรเลีย ซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะใหญ่ 2,000 กิโลเมตร โดยที่มี ทะเลแทสมันกั้นกลาง ดินแดนเดียวที่อยู่ทางใต้คือทวีปแอนตาร์กติกา และทางเหนือคือนิวแคลิโดเนีย ฟิจิ และตองกา นิวซีแลนด์ได้กลายเป็นอาณานิคมของอังกฤษด้วยสนธิสัญญาไวตางี (Treaty of Waitangi) เมื่อปี พ.ศ. 2383 ซึ่งได้สัญญาไว้ว่าจะให้สิทธิในการเป็นผู้นำชนเผ่าอย่างเต็มรูปแบบ "complete chieftainship" (tino rangatiratanga) แก่ชาวมาวรีพื้นเมืองของนิวซีแลนด์ ในปัจจุบันความหมายที่แน่นอนของสนธิสัญญานี้ยังคงเป็นข้อพิพาท และยังคงเป็นเรื่องที่ก่อให้เกิดการแบ่งแยกและความไม่พอใจกันอยู่เนื่องจากมีการแปลสนธิสัญญาทั้งสองฉบับไม่ตรงกัน โดยในฉบับภาษาอังกฤษมีใจความว่าสหราชอาณาจักรจะปกครองประเทศและประชาชนของประเทศ ในขณะที่ในฉบับภาษามาวรีมีใจความว่าสหราชอาณาจักรจะเป็นฝ่ายสนับสนุนการปกครองของผู้นำที่ชาวมาวรีพึงใจให้ปกครอง ตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: นกโมอาและประเทศนิวซีแลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

นกแก้วคาคาโป

นกแก้วคาคาโป (เมารี: kākāpō) เป็นภาษามาวรี มีความหมายว่า "นกแก้วกลางคืน" เป็นนกที่อยู่ในวงศ์ Strigopidae มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Strigops habroptilus นกแก้วคาคาโป บ้างก็เรียกว่า "นกแก้วฮูก" ซึ่งเป็นนกแก้วที่บินไม่ได้ที่พบในนิวซีแลนด์เท่านั้น ถือเป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของวิวัฒนาการบนเกาะโดดเดี่ยว ทำให้มีรูปลักษณ์พิเศษ โดยบรรพบุรุษร่วมของนกแก้วคาคาโปและนกในสกุล Nestor ในวงศ์ใหญ่เดียวกัน คือ วงศ์ Strigopoidea ได้แยกไปอยู่ต่างหากจากนกแก้วชนิดอื่น ๆ หลังจากนิวซีแลนด์แยกตัวออกจากทวีปกอนด์วานา เมื่อประมาณ 82 ล้านปีก่อน จากนั้นอีก 12 ล้านปีต่อมาหรือประมาณ 70 ล้านปีก่อน นกแก้วคาคาโปจึงแยกออกจากนกสกุล Nestor ชัดเจน จากสภาพแวดล้อมที่ไม่มีสัตว์นักล่าบนเกาะนิวซีแลนด์ ทำให้นกแก้วคาคาโปมีวิวัฒนาการเป็นนกแก้วชนิดเดียวในโลกที่บินไม่ได้ และยังครองสถิติอีกหลายอย่าง คือเป็นนกแก้วที่มีน้ำหนักมากที่สุดในโลก มีขนาดตัวระหว่าง 59-64 เซนติเมตร และหนักถึง 4 กิโลกรัม นอกจากนี้ยังเชื่อกันว่ามันเป็นนกแก้วที่มีอายุยืนที่สุดด้วย โดยมีสถิติพบอายุยืนที่สุดถึง 100 ปี อีกทั้งเป็นนกแก้วชนิดเดียวในโลกที่หากินตอนกลางคืน และมีระบบการผสมพันธุ์ที่ตัวผู้จะอยู่ในอาณาเขตหรือรังของตัวเองและส่งเสียงเรียกตัวเมีย ซึ่งมีเสียงร้องคล้ายเสียงกบและจะร้องติดต่อกันนานถึง 3 เดือน วันละ 8 ชั่วโมง และเสียงร้องจะได้ยินไปไกลถึง 5 กิโลเมตร.

ใหม่!!: นกโมอาและนกแก้วคาคาโป · ดูเพิ่มเติม »

ไก่ต๊อก

ก่ต๊อก (guineafowl, guineahen) เป็นวงศ์ของสัตว์ปีกจำพวกไก่วงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวงศ์ว่า Numididae ลักษณะโดยทั่วไปของไก่ต๊อก คือ มีจะงอยปากสั้นและหนา สีน้ำตาลหรือแดงอมส้ม มีเหนียงสีเทาอมดำห้อยอยู่ที่จะงอยปากล่างแผ่ไปทั้ง 2 ข้างของคาง และมีเหนียงสีขาวประแดงบริเวณใต้ขากรรไกรทั้ง 2 ข้างด้วย หัวถึงสันคอมีขนเล็กน้อยหรือไม่มีเลย ลำตัวป้อม ขนหางมี 14-16 เส้น หางสั้น ปลายชี้ลง ขาแข็งแรง ส่วนนิ้วตีนเหมือนไก่ในวงศ์ Phasianidae ตัวผู้มีเดือยหรือไม่มีแล้วแต่ชนิด มีพฤติกรรมการจับคู่เพียงคู่เดียวตลอดชีวิต อาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง บางครั้งอาจมีสมาชิกได้ถึง 100 ตัว แพร่กระจายพันธุ์ทั่วไปในทวีปแอฟริกา หากินตามพื้นดินมากกว่าจะขึ้นต้นไม้ จะบินหรือขึ้นต้นไม้ต่อเมื่อจำเป็น เช่น หนีศัตรู มักอาศัยอยู่ตามป่าโปร่งและทุ่งหญ้าสะวันนา ในธรรมชาติมักตกเป็นอาหารของสัตว์กินเนื้อชนิดต่าง ๆ เช่น ลิงบาบูน, เสือชีตาห์, ไฮยีนา, หมาจิ้งจอก, เสือดาว และนิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงสวยงามและบริโภคเนื้อและไข่เป็นอาหารสำหรับมนุษ.

ใหม่!!: นกโมอาและไก่ต๊อก · ดูเพิ่มเติม »

เกาะใต้

กาะใต้ หรือ เซาท์ไอแลนด์ (South Island) เป็นเกาะในประเทศนิวซีแลนด์ เป็นหนึ่งใน 2 เกาะใหญ่ของประเทศ เป็นเกาะใหญ่ที่สุดในประเทศ แบ่งกับเกาะเหนือโดยช่องแคบคุก มีพื้นที่ 151,215 ตร.กม.

ใหม่!!: นกโมอาและเกาะใต้ · ดูเพิ่มเติม »

เนเจอร์ (วารสาร)

วารสาร''เนเจอร์''ฉบับแรก วันที่ 4 พฤศจิกายน ค.ศ. 1869 เนเจอร์ เป็นวารสารวิชาการทางวิทยาศาสตร์ ตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: นกโมอาและเนเจอร์ (วารสาร) · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

DinornithidaeMoaโมอา

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »