เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

นกเอี้ยง

ดัชนี นกเอี้ยง

นกเอี้ยง (Mynas) เป็นสกุลของนกเกาะคอนสกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Acridotheres ในวงศ์นกเอี้ยงและนกกิ้งโครง (Sturnidae) มีรูปร่างอ้วนป้อม หางสั้น กินแมลงและผลไม้เป็นอาหาร รวมถึงน้ำหวานในดอกไม้ อยู่รวมกันเป็นฝูง ชอบส่งเสียงร้องเจื้อยแจ้ว แพร่กระจายพันธุ์ตั้งแต่เอเชียใต้ จากภาคตะวันออกของอิหร่านถึงภาคใต้ของจีน และอินโดนีเซีย นิยมเลี้ยงกันเป็นสัตว์เลี้ยง บางชนิดถูกนำเข้าและแพร่ขยายพันธุ์ในซีกโลกใหม่เช่น บริติชโคลัมเบีย, แวนคูเวอร์ หรือนิวซีแลน.

สารบัญ

  1. 14 ความสัมพันธ์: รัฐบริติชโคลัมเบียวงศ์นกเอี้ยงและนกกิ้งโครงสัตว์สัตว์มีแกนสันหลังสัตว์ปีกสปีชีส์ประเทศอิหร่านประเทศอินโดนีเซียประเทศนิวซีแลนด์นกเกาะคอนนกเอี้ยงสาลิกานกเอี้ยงหัวสีทองแวนคูเวอร์โลกใหม่

รัฐบริติชโคลัมเบีย

รัฐบริติชโคลัมเบีย (ภาษาอังกฤษ: British Columbia; ภาษาฝรั่งเศส: la Colombie-Britannique) คือรัฐหนึ่งของประเทศแคนาดา ที่ตั้งอยู่ทางตะวันตกสุดของประเทศ รัฐบริติชโคลัมเบีย มีเมืองหลวงชื่อว่า "วิคตอเรีย" มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 15 ของประเทศ โดยมีเมืองที่ใหญ่ที่สุดในรัฐคือเมือง "แวนคูเวอร์" ซึ่งเมืองแวนคูเวอร์นี้ เป็นเมืองที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 3 ของประเท.

ดู นกเอี้ยงและรัฐบริติชโคลัมเบีย

วงศ์นกเอี้ยงและนกกิ้งโครง

วงศ์นกเอี้ยงและนกกิ้งโครง (Starlings, Mynas) เป็นวงศ์ของนกเกาะคอนในกลุ่มนกร้องเพลง ใช้ชื่อวงศ์ว่า Sturnidae จัดเป็นนกขนาดเล็กถึงขนาดกลางในอันดับนี้ มีขนาดลำตัวตั้งแต่ 19-30 เซนติเมตร มีลักษณะเด่น คือ จะงอยปากค่อนข้างแบนข้างเล็กน้อย และยาวกว่าหัว รูจมูกไม่มีสิ่งปกคลุมและไม่ทะลุถึงกันเพราะมีผนังกั้น และตั้งอยู่ใกล้มุมปากมากกว่าจะงอยปากบน มุมปากไม่มีขนแข็ง จะงอยปากแข็งแรง ปลายปีกแหลม มีขนปลายปีก 10 เส้น ขนหางมี 12 เส้น ขาแข้งอ้วนสั้นปกคลุมด้วยเกล็ดชนิดเกล็ดซ้อน แข้งยาวกว่านิ้วที่ 3 รวมเล็บ บริเวณโคนนิ้วเป็นอิสระ หางสั้น บินเก่ง บินเป็นแนวตรง นกที่มีขนาดเล็ก จะมีปีกเรียวยาว ในขณะที่นกขนาดใหญ่กว่าจะมีปีกที่กว้างและมนกว่า มักมีสีขนที่เข้ม มีนิเวศวิทยาที่กระจายพันธุ์ไปในหลายพื้นที่ทั้งในป่าทึบ ภูเขา หรือแม้กระทั่งพื้นที่เปิดโล่งหรือตามชุมชนเมืองที่อยู่อาศัยของมนุษย์ มีพฤติกรรมที่เป็นที่รู้จักดีคือ อยู่รวมกันเป็นฝูง ชอบส่งเสียงร้องดัง ร้องเก่ง และสามารถเลียนเสียงต่าง ๆ ได้ แม้แต่ภาษาพูดของมนุษย์ จึงนิยมนำมาเป็นสัตว์เลี้ยง กินอาหารจำพวกแมลง เมล็ดพืช และผลไม้ สร้างรังอยู่ตามกิ่งไม้หรือบนยอดมะพร้าว ต้นปาล์ม บางชนิดทำรังอยู่ในโพรง โดยจะไม่เจาะโพรงเอง แต่จะอาศัยโพรงเก่าหรือแย่งมาจากสัตว์หรือนกชนิดอื่น มีอาณาเขตของตนเองและจะปกป้องอาณาเขต ทั่วโลกทั้งหมดราว 112 ชนิด ใน 28 สกุล (ดูในตาราง-บางข้อมูลจำแนกมี 27 สกุล) พบได้ทั้งเอเชีย ยุโรป แอฟริกา อเมริกาเหนือ ออสเตรเลียทางตอนเหนือ และนิวซีแลนด์ และยังแบ่งออกได้เป็น 2 เผ่า คือ Sturnini และMimini ในประเทศไทยพบ 16 ชนิด ชนิดที่เป็นที่รู้จักกันดี ได้แก่ นกเอี้ยง (Acridotheres tristis), นกเอี้ยงหงอน (A.

ดู นกเอี้ยงและวงศ์นกเอี้ยงและนกกิ้งโครง

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ดู นกเอี้ยงและสัตว์

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ดู นกเอี้ยงและสัตว์มีแกนสันหลัง

สัตว์ปีก

ัตว์ปีก หรือ นก (รวมถึง ไก่, เป็ด, ห่าน, ไก่ฟ้า) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้น Aves (คำว่า Aves เป็นภาษาละติน หมายถึง นก) โดยมีลักษณะทั่วไปคือ เป็นสัตว์ทวิบาท เลือดอุ่น ออกลูกเป็นไข่ รยางค์คู่หน้าเปลี่ยนแปลงไปเป็นปีก มีขนนก และมีกระดูกที่กลวงเบา ในปัจจุบันทั่วโลกมีนกอยู่ประมาณ 8,800 ถึง 9,800 ชนิด (ตามการจัดอนุกรมวิธานที่ต่างกัน) ซึ่งนับว่านกเป็นชั้นของสัตว์มีกระดูกสันหลังที่มีความหลากหลายมากที่สุด ในบรรดาชั้นของสัตว์มีกระดูกสันหลังทั้งหลายที่อาศัยอยู่บนพื้นดิน ความหลากหลายของนกนับเนื่องไปตั้งแต่ในเรื่องของขนาดตัว สีสัน เสียงร้อง อาหารการกิน และถิ่นที่อยู่อาศัย นกเป็นสัตว์ที่มีความสำคัญเป็นอันมากทั้งต่อระบบนิเวศและต่อชีวิตมนุษย์ ความสัมพันธ์ระหว่างคนกับนกเป็นไปอย่างแน่นแฟ้น และการเกื้อกูลกันระหว่างนกกับสรรพสิ่งต่างๆ ตามธรรมชาติก็เป็นไปอย่างแนบแน่น ถ้าหากปราศจากนก คงเป็นเรื่องยากที่จะจินตนาการถึงการดำรงอยู่ต่อไปของชีวภาคใบนี้.

ดู นกเอี้ยงและสัตว์ปีก

สปีชีส์

ในวิชาชีววิทยา ชนิด หรือทับศัพท์ว่า สปีชีส์ (species, ย่อ: sp., รูปพหูพจน์ย่อ: spp.) เป็นหน่วยการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานและอันดับอนุกรมวิธานหนึ่ง มักนิยามว่า สปีชีส์เป็นกลุ่มอินทรีย์ใหญ่สุดที่สามารถสืบพันธุ์แล้วออกลูกที่สืบพันธุ์ได้ การมีลักษณะปรับตัวเฉพาะบางท้องถิ่นอาจแบ่งสปีชีส์ต่ออีกได้เป็น "ชื่อต่ำกว่าระดับชนิด" (infraspecific taxa) เช่น ชนิดย่อย (ในทางพฤกษศาสตร์ มีใช้คำอื่น เช่น พันธุ์ (variety) พันธุ์ย่อยและแบบ (forma)).

ดู นกเอี้ยงและสปีชีส์

ประเทศอิหร่าน

อิหร่าน (ایران, อีรอน) หรือ เปอร์เซีย มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน (جمهوری اسلامی ايران) เป็นประเทศในเอเชียตะวันตก มีเขตแดนติดกับประเทศอาร์มีเนีย สาธารณรัฐนากอร์โน-คาราบัคโดยพฤตินัย และอาเซอร์ไบจานทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ติดประเทศคาซัคสถานและรัสเซียโดยมีทะเลแคสเปียนคั่น ติดประเทศเติร์กเมนิสถานทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ติดประเทศอัฟกานิสถานและปากีสถานทางทิศตะวันออก ติดอ่าวเปอร์เซียและอ่าวโอมานทางทิศใต้ และติดประเทศตุรกีและอิรักทางทิศตะวันตก มีพื้นที่ดินแดน 1,648,195 ตารางกิโลเมตร เป็นประเทศใหญ่ที่สุดอันดับที่สองในตะวันออกกลางและอันดับที่ 18 ในโลก มีประชากร 78.4 ล้านคน มากที่สุดเป็นอันดับที่ 17 ของโลก เป็นประเทศเดียวที่มีชายฝั่งทะเลแคสเปียนและมหาสมุทรอินเดีย ประเทศอิหร่านมีความสำคัญทางภูมิรัฐศาสตร์มาช้านานเนื่องจากที่ตั้งอยู่ในกลางยูเรเชียและเอเชียตะวันตก และอยู่ใกล้กับช่องแคบฮอร์มุซ อิหร่านเป็นประเทศที่มีวัฒนธรรมหลากหลายที่มีกลุ่มชาติพันธุ์และภาษาต่างๆมากมาย เปอร์เซียที่ใหญ่ที่สุด (61%) อาเซอร์ไบจาน (16%), Kurds (10%) และ Lorestan (6%) ประเทศอิหร่านเป็นที่ตั้งของอารยธรรมเก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก เริ่มต้นด้วยการตั้งราชอาณาจักรก่อนเอลามและเอลามใน 3200–2800 ปีก่อน..

ดู นกเอี้ยงและประเทศอิหร่าน

ประเทศอินโดนีเซีย

อินโดนีเซีย (Indonesia) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (Republik Indonesia) เป็นหมู่เกาะที่ใหญ่ที่สุดในโลก ตั้งอยู่ระหว่างคาบสมุทรอินโดจีนกับทวีปออสเตรเลีย และระหว่างมหาสมุทรอินเดียกับมหาสมุทรแปซิฟิก มีพรมแดนติดกับประเทศมาเลเซียบนเกาะบอร์เนียวหรือกาลีมันตัน (Kalimantan), ประเทศปาปัวนิวกินีบนเกาะนิวกินีหรืออีเรียน (Irian) และประเทศติมอร์-เลสเตบนเกาะติมอร์ (Timor).

ดู นกเอี้ยงและประเทศอินโดนีเซีย

ประเทศนิวซีแลนด์

นิวซีแลนด์ (New Zealand; มาวรี: Aotearoa หมายถึง "ดินแดนแห่งเมฆยาวสีขาว" หรือ Niu Tirenio ซึ่งเป็นการทับศัพท์จากภาษาอังกฤษ) เป็นประเทศที่ประกอบด้วยเกาะใหญ่ 2 เกาะ รวมถึงเกาะเล็ก ๆ จำนวนหนึ่ง ในมหาสมุทรแปซิฟิกตอนตะวันตกเฉียงใต้ - นิวซีแลนด์มีเมืองหลวงชื่อเวลลิงตัน นิวซีแลนด์เป็นประเทศที่ห่างไกลจากประเทศอื่น ๆ มากที่สุด ประเทศที่อยู่ใกล้ที่สุดคือประเทศออสเตรเลีย ซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะใหญ่ 2,000 กิโลเมตร โดยที่มี ทะเลแทสมันกั้นกลาง ดินแดนเดียวที่อยู่ทางใต้คือทวีปแอนตาร์กติกา และทางเหนือคือนิวแคลิโดเนีย ฟิจิ และตองกา นิวซีแลนด์ได้กลายเป็นอาณานิคมของอังกฤษด้วยสนธิสัญญาไวตางี (Treaty of Waitangi) เมื่อปี พ.ศ.

ดู นกเอี้ยงและประเทศนิวซีแลนด์

นกเกาะคอน

นกเกาะคอน หรือ นกจับคอน (Passerine, Perching bird) เป็นอันดับของนกอันดับหนึ่ง ในกลุ่มนกขากรรไกรแบบใหม่ ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Passeriformes (โดยมีที่มาจาก Passer domesticus ซึ่งเป็นชื่อวิทยาศาสตร์ของนกกระจอกใหญ่ และนกในสกุล Passer ที่เป็นนกขนาดเล็กที่ใกล้เคียงกัน) นกในอันดับนี้มีลักษณะทั่วไปทางกายภาค คือ เป็นนกที่มีวิวัฒนาการเพื่ออาศัยและหากินบนต้นไม้เป็นหลัก นิ้วตีนมีทั้งหมด 4 นิ้ว ทุกนิ้วเจริญดีและอยู่ในระนาบเดียวกัน จึงเหมาะแก่การจับหรือเกาะเกี่ยวกับกิ่งไม้หรือต้นไม้ในป่าประเภทต่าง ๆ แต่ไม่เหมาะสำหรับการเดินบนพื้นดิน ดังนั้นเมื่อเมื่อลงดินจะได้วิธีก้าวกระโดด โดยมากแล้วจะเป็นนกที่มีลำตัวขนาดเล็ก ปัจจุบัน นักปักษีวิทยาได้แบ่งอันดับนี้เป็นอันดับย่อย 3 อันดับ (ดูในตาราง-บางข้อมูลจัดให้มี 2) โดยพิจารณาจากกล้ามเนื้อควบคุมกล่องเสียงที่อยู่ในลำคอ โดยบางอันดับย่อยจะมีกล้ามเนื้อนี้เพียง 2 คู่ ซึ่งยังเป็นลักษณะของนกในยุคก่อนประวัติศาสตร์ ทำให้เสียงร้องไม่ไพเราะนัก แต่บางอันดับย่อยมีมากกว่า คือมี 4 คู่ ทำให้มีเสียงร้องที่ไพเราะกว่า นกในอันดับนี้มีมากกว่า 100 วงศ์ (ราว 110 วงศ์) ประมาณ 5,400 ชนิด ทั่วโลก สำหรับในประเทศไทยที่มีการค้นพบนกแล้วราว 1,000 ชนิด แบ่งเป็นนกในอันดับต่าง ๆ 16 อันดับ ใน 70 วงศ์ นกที่อยู่ในอันดับนี้นับว่ามากกว่าครึ่ง ได้แก.

ดู นกเอี้ยงและนกเกาะคอน

นกเอี้ยงสาลิกา

นกเอี้ยงสาลิกา หรือ นกสาลิการาชบัณฑิตยสถาน.

ดู นกเอี้ยงและนกเอี้ยงสาลิกา

นกเอี้ยงหัวสีทอง

วามหมายอื่น ดูที่: สาลิกาลิ้นทอง นกเอี้ยงหัวสีทอง หรือ นกสาลิกาลิ้นทอง (Golden-crested myna) เป็นนกชนิดหนึ่ง ในวงศ์นกเอี้ยงและนกกิ้งโครง (Sturnidae) จัดเป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Ampeliceps มีลักษณะทั่วไป คือ ตัวสีดำ มีแถบสีเหลืองที่ขอบปีกค่อนไปทางปลายปีก หนังรอบดวงตาสีเหลือง ตัวผู้ที่โคนปากด้านบนกระหม่อมไปจรดท้ายทอยสีเหลือง คอสีเหลืองไปจรดใต้ตา ตัวเมียโคนปากด้านบนจรอกระหม่อมสีเหลือง คอมีแถบสีเหลืองเล็ก ๆ มีความยาวประมาณ 22-24 เซนติเมตร เป็นนกที่พบได้ในป่าดิบ, ป่าโปร่ง และพบได้จนถึงพื้นที่ ๆ ที่สูงจากระดับน้ำทะเล 800 เมตร พบได้ทั่วไปในทวีปเอเชียจนถึงบริติชอินเดียนโอเชียนเทร์ริทอรี ในมหาสมุทรอินเดีย ในประเทศไทยจะพบได้ที่ภาคเหนือตอนบน และผืนป่าภาคตะวันตก เช่น ทุ่งใหญ่นเรศวร ส่วนภูมิภาคอื่น พบได้บางพื้นที่ จัดเป็นนกที่ไม่พบบ่อยมากนัก มีสถานะเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองในประเทศไท.

ดู นกเอี้ยงและนกเอี้ยงหัวสีทอง

แวนคูเวอร์

200px แวนคูเวอร์ เป็นเมืองท่าชายฝั่งที่มีชื่อเสียงทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ของรัฐบริติชโคลัมเบีย ประเทศแคนาดา เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของรัฐ และในภูมิภาคแปแซิฟิก มีประชากรราว 611,869 คน แต่เมื่อรวมเขตเมืองทั้งหมดจะมีประชากร 2,249,725 คน ชื่อของเมืองมาจากชื่อของนักสำรวจชาวอังกฤษนามว่า จอร์จ แวนคูเวอร์ บางครั้งอาจจะสับสนระหว่างเมืองแวนคูเวอร์ รัฐบริติชโคลัมเบีย ประเทศแคนาดา กับเมืองแวนคูเวอร์ที่อยู่ในรัฐวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา อุตสาหกรรมที่ทำรายได้ให้แก่เมืองในอดีต ได้แก่ การป่าไม้ การทำเหมืองแร่ การตกปลา และ เกษตรกรรม ส่วนปัจจุบัน ได้แก่ อุตสาหกรรมบริการ อันมีผลมาจากการท่องเที่ยวที่ขยายตัวขึ้น ปัจจุบันแวนคูเวอร์เป็นศูนย์กลางการถ่ายทำภาพยนตร์เป็นอันดับสามของอเมริกาเหนือรองมาจาก ลอสแอนเจลิส และนิวยอร์ก จนมีชื่อเล่นอีกชื่อว่า "Hollywood North" และแวนคูเวอร์ยังเป็นสถานที่จัดแข่งขัน กีฬาโอลิมปิกฤดูหนาว 2010 และพาราลิมปิกฤดูหนาว 2010อีกด้ว.

ดู นกเอี้ยงและแวนคูเวอร์

โลกใหม่

ระวังสับสนกับ โลกยุคใหม่โลกใหม่ (สีเขียว) เปรียบเทียบกับ โลกเก่า (สีเทา) โลกใหม่ (New World) เป็นคำที่ใช้สำหรับดินแดนที่นอกไปจากทวีปแอฟริกา ทวีปยุโรป และ ทวีปเอเชีย ที่ก็คือทวีปอเมริกา และอาจจะรวมไปถึงออสตราเลเชียด้วย เป็นคำที่เริ่มใช้กันในคริสต์ศตวรรษที่ 15 เมื่อทวีปอเมริกายังใหม่ต่อชาวยุโรปผู้ที่เดิมเชื่อว่าโลกประกอบด้วยทวีปเพียงสามทวีปที่เรียกรวมกันว่าโลกเก่า คำว่า “โลกใหม่” ไม่ควรจะสับสนกับคำว่า “โลกยุคใหม่” (Modern era) คำหลังหมายถึงช่วงเวลาในประวัติศาสตร์มิใช่แผ่นดิน.

ดู นกเอี้ยงและโลกใหม่

หรือที่รู้จักกันในชื่อ AcridotheresCommon myna