โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

นกกะปูด

ดัชนี นกกะปูด

นกกะปูด (Coucals, Crow pheasants) เป็นนกสกุลหนึ่ง จัดอยู่ในวงศ์ย่อย Centropodinae ในวงศ์นกคัคคู (Cuculidae) โดยใช้ชื่อสกุลว่า Centropus แต่มิใช่นกปรสิตเหมือนนกชนิดอื่น ๆ ในวงศ์เดียวกัน โดยเป็นนกเพียงวงศ์เดียวและสกุลเดียว นกกะปูด จัดเป็นนกขนาดกลาง มีลำตัวเพรียวยาว ลักษณะคล้ายกา มีความยาวประมาณ 35.50 เซนติเมตร ปากสีดำแหลมสั้นหนาแข็งแรง ตาสีแดง หัวและคอ และลำตัวสีดำ ปีกสั้นสีน้ำตาลแดง ขายาวสีดำ นิ้วตีนและเล็บยาวแข็งแรง สามารถจับเหยื่อ เกาะยึดเหนียวไต่แทรกไปตามพงหญ้า, ต้นไม้ หรือ พุ่มไม้หนาทึบได้อย่างคล่องแคล่ว หางยาวประมาณ 15–25 เซนติเมตร หนังหนาเหนียวสีดำ นกกะปูด ได้ชื่อมาจากเสียงร้อง "ปูด ๆ ๆ ๆ ๆ" อันเป็นเอกลักษณ์ มักอาศัยอยู่ในพุ่มไม้ใกล้ชายน้ำหรือพื้นที่ชุ่มน้ำต่าง ๆ มีพฤติกรรมออกกินในตอนเช้าและตอนเย็น เมื่อตกใจแทนที่จะบินหนีเหมือนนกชนิดอื่น แต่กลับวิ่งหัวซุกหัวซุนเข้าซ่อนเร้นอยู่ในพุ่มไม้รกใกล้ ๆ บริเวณนั้น เมื่อจวนตัวจึงบินหนี นกกะปูดกินอาหารได้แก่ กบ, เขียด, หนู, อึ่งอ่าง, ปู, กุ้ง, หอย และปลา โดยหากินตามท้องนาหรือชายน้ำ แต่อาหารที่ชอบที่สุด คือ งู ทำรังอยู่ตามพงหญ้ารกตามริมน้ำ เช่น อ้อ หรือแขม วางไข่ครั้งหนึ่งราว 2 ถึง 6 ฟอง ตัวผู้กับตัวเมียจะผลัดเปลี่ยนกันฟักไข่ นกกะปูด กระจายพันธุ์ในเขตร้อนทั่วไปทั้งทวีปเอเชียและแอฟริกา แบ่งออกเป็น 30 ชนิด ได้แก.

16 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2513ภาษาไทยมนต์รักลูกทุ่งสัตว์สัตว์มีแกนสันหลังสัตว์ปีกสำนวนภาษาปากสปีชีส์จอร์จ โรเบิร์ต เกรย์คาโรลัส ลินเนียสงูนกกะปูดใหญ่นกกานาน้ำขึ้นลงไม้พุ่ม

พ.ศ. 2513

ทธศักราช 2513 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1970 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพฤหัสบดีตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: นกกะปูดและพ.ศ. 2513 · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาไทย

ษาไทย เป็นภาษาราชการของประเทศไทย ภาษาไทยเป็นภาษาในกลุ่มภาษาไท ซึ่งเป็นกลุ่มย่อยของตระกูลภาษาไท-กะได สันนิษฐานว่า ภาษาในตระกูลนี้มีถิ่นกำเนิดจากทางตอนใต้ของประเทศจีน และนักภาษาศาสตร์บางส่วนเสนอว่า ภาษาไทยน่าจะมีความเชื่อมโยงกับตระกูลภาษาออสโตร-เอเชียติก ตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน และตระกูลภาษาจีน-ทิเบต ภาษาไทยเป็นภาษาที่มีระดับเสียงของคำแน่นอนหรือวรรณยุกต์เช่นเดียวกับภาษาจีน และออกเสียงแยกคำต่อคำ.

ใหม่!!: นกกะปูดและภาษาไทย · ดูเพิ่มเติม »

มนต์รักลูกทุ่ง

มนต์รักลูกทุ่ง เป็นภาพยนตร์ไทยที่สร้างมาจากบทประพันธ์เรื่อง "มนต์รักลูกทุ่ง" ของ รังสี ทัศนพยัคฆ์ โดยใช้นามแฝงว่า "มหศักดิ์ สารากร" โดยมิตร ชัยบัญชา มีส่วนร่วมในเนื้อเรื่องด้วย คู่พระ-นาง คือไอ้คล้าว กับ ทองกวาว รับบทโดย มิตร ชัยบัญชา กับเพชรา เชาวราษฎร์ ส่วนคู่รอง คือแว่น กับบุปผา รับบทโดย ศรีไพร ใจพระ กับบุปผา สายชล ภาพยนตร์เรื่องนี้ออกฉายเมื่อวันศุกร์ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2513 ทำรายได้ถล่มทลายจากทั่วประเทศถึง 13 ล้านบาทและฉายติดต่อกันนาน 6 เดือน ที่โรงภาพยนตร์โคลีเซียม จนถึงวันที่ 2 ตุลาคม..

ใหม่!!: นกกะปูดและมนต์รักลูกทุ่ง · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: นกกะปูดและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ใหม่!!: นกกะปูดและสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์ปีก

ัตว์ปีก หรือ นก (รวมถึง ไก่, เป็ด, ห่าน, ไก่ฟ้า) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้น Aves (คำว่า Aves เป็นภาษาละติน หมายถึง นก) โดยมีลักษณะทั่วไปคือ เป็นสัตว์ทวิบาท เลือดอุ่น ออกลูกเป็นไข่ รยางค์คู่หน้าเปลี่ยนแปลงไปเป็นปีก มีขนนก และมีกระดูกที่กลวงเบา ในปัจจุบันทั่วโลกมีนกอยู่ประมาณ 8,800 ถึง 9,800 ชนิด (ตามการจัดอนุกรมวิธานที่ต่างกัน) ซึ่งนับว่านกเป็นชั้นของสัตว์มีกระดูกสันหลังที่มีความหลากหลายมากที่สุด ในบรรดาชั้นของสัตว์มีกระดูกสันหลังทั้งหลายที่อาศัยอยู่บนพื้นดิน ความหลากหลายของนกนับเนื่องไปตั้งแต่ในเรื่องของขนาดตัว สีสัน เสียงร้อง อาหารการกิน และถิ่นที่อยู่อาศัย นกเป็นสัตว์ที่มีความสำคัญเป็นอันมากทั้งต่อระบบนิเวศและต่อชีวิตมนุษย์ ความสัมพันธ์ระหว่างคนกับนกเป็นไปอย่างแน่นแฟ้น และการเกื้อกูลกันระหว่างนกกับสรรพสิ่งต่างๆ ตามธรรมชาติก็เป็นไปอย่างแนบแน่น ถ้าหากปราศจากนก คงเป็นเรื่องยากที่จะจินตนาการถึงการดำรงอยู่ต่อไปของชีวภาคใบนี้.

ใหม่!!: นกกะปูดและสัตว์ปีก · ดูเพิ่มเติม »

สำนวนภาษาปาก

ำนวนภาษาปาก (colloquialism) คือ ภาษาประเภทหนึ่งซึ่งเกิดจากการพูดที่แสดงความคุ้นเคย ไม่เหมาะที่จะใช้เป็นพิธีรีตอง เช่น ตาแป๊ะ ตะบี้ตะบัน เทน้ำเทท่า ทั้งนี้ ภาษาประเภทนี้อาจปรากฏได้ทั้งในภาษาเขียนและภาษาพูด ในพจนานุกรมไทยจะย่อชื่อภาษานี้ว่า "(ปาก)" เช่น "ทาน (ปาก) ก. กิน, กร่อนมาจาก รับประทาน" การใช้ภาษาปากที่แตกต่างจากภาษาแบบแผนหรือภาษามาตรฐานของภาษาหลักนั้น ๆ เมื่อใช้นานไป อาจกลายเป็นมาตรฐานย่อยอย่างหนึ่ง หรืออาจพัฒนาขึ้นเป็นมาตรฐานในภาษานั้นกระทั่งไม่เรียกว่าภาษาปากอีกต่อไปก็ได้หากลักษณะการใช้ภาษาเช่นนั้นเป็นที่ยอมรับและใช้โดยทั่วไป ภาษาปากนั้น แม้จะไม่ใช่ภาษาแบบแผน แต่ไม่จำเป็นว่าจะเป็นภาษาที่ไม่สุภาพเสมอไป หากเป็นลักษณะการใช้ภาษาที่สะดวก ง่าย กะทัดรัด และเป็นกันเอง.

ใหม่!!: นกกะปูดและสำนวนภาษาปาก · ดูเพิ่มเติม »

สปีชีส์

ในวิชาชีววิทยา ชนิด หรือทับศัพท์ว่า สปีชีส์ (species, ย่อ: sp., รูปพหูพจน์ย่อ: spp.) เป็นหน่วยการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานและอันดับอนุกรมวิธานหนึ่ง มักนิยามว่า สปีชีส์เป็นกลุ่มอินทรีย์ใหญ่สุดที่สามารถสืบพันธุ์แล้วออกลูกที่สืบพันธุ์ได้ การมีลักษณะปรับตัวเฉพาะบางท้องถิ่นอาจแบ่งสปีชีส์ต่ออีกได้เป็น "ชื่อต่ำกว่าระดับชนิด" (infraspecific taxa) เช่น ชนิดย่อย (ในทางพฤกษศาสตร์ มีใช้คำอื่น เช่น พันธุ์ (variety) พันธุ์ย่อยและแบบ (forma)).

ใหม่!!: นกกะปูดและสปีชีส์ · ดูเพิ่มเติม »

จอร์จ โรเบิร์ต เกรย์

อร์จ โรเบิร์ต เกรย์ (George Robert Gray, FRS) (8 กรกฎาคม ค.ศ. 1808 - (6 พฤษภาคม ค.ศ. 1872) จอร์จ โรเบิร์ต เกรย์เป็นนักสัตววิทยาและนักเขียนชาวอังกฤษ และเป็นประธานแผนกปักษาวิทยาของพิพิธภัณฑ์บริติชในกรุงลอนดอนเป็นเวลาสี่สิบเอ็ดปี จอร์จเป็นน้องของจอห์น เอ็ดเวิร์ด เกรย์ ผู้เป็นนักสัตววิทยาเช่นกัน และเป็นลูกชายของนักพฤษศาสตร์ซามูเอล เฟรเดอริค เกรย์ งานที่ได้รับการตีพิมพ์ชิ้นสำคัญของเกรย์คือ “Genera of Birds” (ค.ศ. 1844-ค.ศ. 1849) ที่มีภาพประกอบโดยเดวิด วิลเลียม มิทเชลล์ และ โจเซฟ วูล์ฟ ที่รวมข้อมูลของนกด้วยกันทั้งหมด 46,000 สปีชี.

ใหม่!!: นกกะปูดและจอร์จ โรเบิร์ต เกรย์ · ดูเพิ่มเติม »

คาโรลัส ลินเนียส

รลัส ลินเนียส (ภาษาละติน) หรือ คาร์ล ลินเนียส (ภาษาสวีเดน) ปัจจุบันภาพนี้จัดแสดงที่ราชวิทยาลัยวิทยาศาสตร์แห่งสวีเดน ลายมือชื่อของคาร์ล ลินเนียส คาโรลัส ลินเนียส (Carolus Linnaeus) หรือ คาร์ล ฟอน ลินเนีย บ้างก็เรียก คาร์ล ลินเนียส (Carl Linnaeus) (23 พฤษภาคม พ.ศ. 2250 - 10 มกราคม พ.ศ. 2321) เป็นนักพฤกษศาสตร์ชาวสวีเดน ผู้ริเริ่มการจัดแบ่งสิ่งมีชีวิตออกเป็นหมวดหมู่ และการประยุกต์ใช้ระบบการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิตแบบทวินาม ซึ่งมีประโยชน์ในการศึกษาชีววิทยาต่อมาจวบจนปัจจุบัน อนึ่ง ชื่อวิทยาศาสตร์ของสิ่งมีชีวิตที่จัดจำแนกโดยเขา จะลงท้ายด้วย L. หรือ Linn.

ใหม่!!: นกกะปูดและคาโรลัส ลินเนียส · ดูเพิ่มเติม »

งู

งู เป็นสัตว์เลื้อยคลานอันดับหนึ่ง ไม่มีขา ไม่มีเปลือกตา มีเกล็ดปกคลุมผิวหนังทั่วทั้งลำตัว ลักษณะลำตัวยาวซึ่งโดยขนาดของความยาวนั้น จะขึ้นอยู่กับชนิดของงู ปราดเปรียวและว่องไวในการเคลื่อนที่ มีลิ้นสองแฉกเพื่อใช้สำหรับรับความรู้สึกทางกลิ่น จัดอยู่ในชั้น Reptilia, ตระกูล Squamata, ตระกูลย่อย Serpentes โดยทั่วไปแล้วงูจะกลัวและไม่กัด นอกเสียจากถูกรบกวนหรือบุกรุก จะเลื้อยหลบหนีเมื่อมีสิ่งใดเข้ามาใกล้บริเวณที่อยู่ ออกล่าเหยื่อเมื่อรู้สึกหิว โดยกินสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กเป็นอาหาร ยกเว้นงูบางชนิดที่กินงูด้วยกันเอง เช่น งูจงอาง สามารถมองเห็นได้ดีในที่มืดและในเวลากลางคืน โดยทั่วไปจะออกลูกเป็นไข่ ยกเว้นแต่งูที่มีพิษซึ่งมีผลโดยตรงทางด้านโลหิต (วงศ์งูหางกระดิ่ง((Viperidae)) ซึ่งจะออกลูกเป็นตัว เช่น งูแมวเซา ธรรมชาติโดยทั่วไป งูจะลอกคราบเมื่อมันเริ่มโตขึ้น ทำให้ผิวหนังของงูเริ่มแข็งและคับขึ้น ซึ่งงูจะลอกคราบบ่อยครั้งเมื่องูยังมีอายุไม่มากนัก ซึ่งภายหลังจากการลอกคราบของงู จะทำให้ผิวหนังเก่าหลุดออก แต่เซลล์สีที่ทำให้งูมีสีสันยังคงอยู่ในตัวงู ทำให้เกล็ดที่ปกคลุมผิวหนัง มีสีสันสดใสรวมทั้งทำให้เคลื่อนไหวร่างกายได้อย่างรวดเร็ว ปัจจุบัน มีงูถูกค้นพบแล้วประมาณ 2,700 ชนิด แต่เป็นงูไม่มีพิษประมาณ 2,300 ชนิด สำหรับในประเทศไทยมีงูจำนวนมากตามสภาพภูมิอากาศ ซึ่งมีผลกระทบโดยตรงต่อการดำรงชีวิต ทั่วทุกภูมิภาพของประเทศไทยสามารถพบเห็นงูได้มากกว่า 180 ชนิด โดยเป็นงูที่มีพิษจำนวน 46 ชนิด และสามารถจำแนกงูที่มีพิษออกได้อีก 2 ประเภทคือ.

ใหม่!!: นกกะปูดและงู · ดูเพิ่มเติม »

นกกะปูดใหญ่

นกกะปูดใหญ่ หรือ นกกดเพลิง birds of Thailand (Greater coucal, Crow pheasant) เป็นนกขนาดใหญ่ในวงศ์นกคัคคู (Cuculidae) แต่ไม่ใช่นกปรสิต เป็นนกประจำถิ่นที่มีการกระจายพันธุ์อย่างกว้างขวางในเอเชีย จากประเทศอินเดียไปทางตะวันออกถึงจีนและลงไปทางใต้ถึงอินโดนีเซีย แบ่งออกเป็นหลายชนิดย่อย นกกะปูดใหญ่มีขนาดใหญ่คล้ายอีกา มีหางยาว และมีปีกสีน้ำตาลทองแดง พบในแหล่งที่อยู่อาศัยหลากหลายจากป่าถึงพื้นเพาะปลูก และสวนในเมืองใหญ่ เป็นนกมักมีพฤติกรรมปีนป่ายตามพุ่มไม้หรือเดินอยู่ตามพื้นดินเพื่อหาแมลง ไข่ หรือลูกนกชนิดอื่นกินเป็นอาหาร.

ใหม่!!: นกกะปูดและนกกะปูดใหญ่ · ดูเพิ่มเติม »

นกกา

นกกา หรือ อีกา (Crow) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์ปีก เป็นนกชนิดหนึ่งอยู่ในสกุล Corvus ในวงศ์นกกา (Corvidae) พบกระจายพันธุ์ทั่วโลก ยกเว้นในทวีปอเมริกาใต้ มีลักษณะเฉพาะตัวคือมีสีขนสีดำสนิทเป็นเงามันเลื่อม อยู่รวมกันเป็นกลุ่มและออกหากินเวลากลางวันโดยเฉพาะอย่างยิ่งวันที่แดดแรง กาจะหาอาหารโดยการซ่อนตัวในเงาของต้นไม้ สำหรับการจู่โจมเหยื่อ นกกามีลักษณะเหมือนนกอีกประเภทหนึ่งชื่อ นกเรเวน ซึ่งเป็นนกที่มีสีดำเหมือนกัน นอกจากนี้แล้ว นกกายังถือว่าเป็นนกที่มีอายุขัยเฉลี่ยสูงถึง 90 ปี ซึ่งนับว่าสูงกว่าสัตว์ใหญ่อย่างช้างเสียอีก.

ใหม่!!: นกกะปูดและนกกา · ดูเพิ่มเติม »

นา

ทุ่งนา นา หมายถึงพื้นที่สำหรับปลูก หรือนาแบบขั้นบันไดข้าว โดยมีการไถนาให้ดินอ่อน และขุดคันดินสูงโดยรอบเพื่อกั้นน้ำเอาไว้เลี้ยงต้นข้าว ส่วนคำว่า "ทุ่งนา" นั้นเป็นคำเรียกกว้างๆ หมายถึง บริเวณที่นา หรือรวมถึงพื้นที่ใกล้เคียงด้วยก็ได้.

ใหม่!!: นกกะปูดและนา · ดูเพิ่มเติม »

น้ำขึ้นลง

น้ำขึ้นน้ำลง (อังกฤษ: tide) เกิดขึ้นเนื่องจากอิทธิพลดึงดูดระหว่างโลกกับดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ (อิทธิพลของดวงอาทิตย์มีน้อยกว่าดวงจันทร์ประมาณครึ่งหนึ่ง) น้ำขึ้นเกิดใน 2 ส่วนของโลกคือ ส่วนที่หันเข้าหาดวงอาทิตย์หรือดวงจันทร์ และส่วนที่อยู่ห่างจากซีกโลกด้านตรงข้าม และเกิดน้ำขึ้นน้ำลงสูงสุด หรือน้ำเกิด (Spring tide) เมื่อโลก ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ อยู่ในแนวเดียวกันหรือ ทุกๆ 2 อาทิตย์ คือ ขึ้น 15 ค่ำ และ แรม 15 ค่ำ และระดับน้ำขึ้นน้ำลงจะเปลี่ยนแปลงน้อยหรือน้ำตาย (Neap tide)เมื่อดวงอาทิตย์ โลก ดวงจันทร์ อยู่ในแนวตั้งฉากคือ วันขึ้น 7 ค่ำ และ แรม 7 ค่ำ การเคลื่อนที่ขึ้นลงของน้ำบริเวณชายฝั่งทะเลก่อให้เกิดกระแสน้ำขึ้น - น้ำลง (tidal current) ซึ่งอาจมีความเร็ว 7-8 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ตอนน้ำขึ้นกระแสน้ำที่ไหลท่วมชายฝั่งต่ำหรือท่วมลำน้ำสายเล็กๆนั้นเรียกว่า น้ำท่วมฝั่ง (flood tides) และช่วงกระแสน้ำลดต่ำลง จนบริเวณที่ถูกน้ำท่วมโผล่ขึ้นมาอีกเรียกกระแสน้ำนั้นว่า น้ำหนีฝั่ง (ebb tide) เราเรียกบริเวณที่ราบต่ำที่น้ำทะเลท่วมถึงซึ่งอาจเป็นดินหรือทรายก็ได้ ว่า หาดโคลน (tidal flat หรือ mud flat) หาดโคลนที่ประกอบด้วยดินโคลนมักมีวัชพืชที่ทนต่อน้ำเค็มขึ้นปกคลุมอยู่เรียกที่รายชนิดนี้ว่า ลุ่มดินเค็ม (salt marsh) หาดโคลนบางแห่ง อาจมีสภาวะเหมาะสมจนเป็นแหล่งอาศัยที่สำคัญของหอยหลอดได้.

ใหม่!!: นกกะปูดและน้ำขึ้นลง · ดูเพิ่มเติม »

ไม้พุ่ม

ต้นไม้กวาด ไม้ดอกที่ออกดอกเต็มต้นในฤดูใบไม้ผลิในเขตอบอุ่น ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับ ไม้พุ่ม บางครั้งเรียก ไม้กอ เป็นคำเทคนิคที่ใช้ในสาขาวิชาพืชสวนมากกว่าสาขาพฤกษศาสตร์ที่เข้มงวดที่หมายไปถึงประเภทของไม้มีแก่นที่สัณบานแตกต่างไปจากไม้ต้นเนื่องจากการมีหลายลำต้นแตกขยายเป็นพุ่มและเตี้ย ปกติจะเตี้ยกว่า 5-6 เมตร มีต้นไม้หลายชนิดที่จะจำแนกเป็นไม้พุ่มก็ได้หรือไม้ต้นก็ได้ ขึ้นอยู่กับสภาพการขึ้นของมัน รวมทั้งการตัดแต่งโดยจงใจของมนุษย์ ต้นเฟื่องฟ้าที่จำแนกเป็นไม้พุ่ม บางครั้งและบางพันธุ์ตามสัณฐานธรรมชาติอาจจำแนกเป็นไม้เลื้อยได้เช่นกัน และยังสามารถตัดแต่งต้นเฟื่องฟ้าเป็นไม้ต้นขนาดเล็กเป็นไม้ประดับได้ด้วย ชุมชนพืชที่ต้นไม้ส่วนใหญ่เป็นไม้พุ่มขึ้นรวมอยู่กันเป็นหมู่ เรียกว่า ละเมาะ ถ้ามีมาก เรียกป่าละเมาะ บริเวณไม้พุ่มที่ปลูกรวมเป็นที่เฉพาะไว้ในอุทยานหรือสวนเพื่อการจัดแสดงเรียกว่าสวนไม้พุ่ม เมื่อไม้พุ่มถูกตัดแต่งด้วยการขริบเป็น "ไม้ตัด" มันจะแตกกิ่งก้านและมีใบเล็กลงทำให้พุ่มใบแน่นขึ้น ไม้พุ่มหลายชนิดตอบสนองได้รวดเร็วต่อการตัดแต่งเพื่อให้เกิดการแตกกิ่งก้านและใบใหม่ "การตัดแต่งหนัก" คือตัดถึงตอ จะทำให้ไม้พุ่มแตกกิ่งใหม่ที่ยาว ไม้พุ่มบางชนิดตอบสนองต่อการตัดแต่งพิเศษเพื่อแสดงลักษณะโครงสร้างที่สวนงามได้ดี ไม้พุ่มที่ใช้ในงานทำสวนทั่วไปมักเป็นประเภทไม้ใบกว้าง แต่ที่เป็นไม้ใบรูปเข็มก็มี โดยเฉพาะในประเทศเขตอบอุ่น เช่น สนเขาขนาดเล็ก ไม้พุ่มมีทั้งที่เป็นไม้ผลัดใบและไม้ไม่ผลัดใ.

ใหม่!!: นกกะปูดและไม้พุ่ม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

CentropodidaeCentropodinaeCentropusCoucalกะปูดสกุลนกกะปูดนกกดนกกดปูดนกปูด

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »