สารบัญ
ภูเขา
ทือกเขาร็อกกี ภูเขา (mountain) เป็นลักษณะของพื้นโลกที่มีความสูงกว่าพื้นที่บริเวณโดยรอบ ภูเขา หรือเทือกเขาหมายถึง ลักษณะภูมิประเทศ ที่มีความสูงตั้งแต่ 600 เมตรขึ้นไปจากพื้นที่บริเวณรอบ ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับเนินเขา แต่ว่าเนินเขานั้น จะมีพื้นที่สูงจากบริเวณรอบ ๆ ประมาณ 150 แต่ไม่เกิน 600 เมตร ภูเขาสามารถแบ่ง เป็นประเภทต่างๆ ดังนี้.
ธรณีวิทยา
The Blue Marble: ภาพนี้เป็นภาพถ่ายของโลก เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม ค.ศ. 1972 ที่ถ่ายโดยแฮร์ริสสัน ชมิตต์ (Harrison Schmitt) นักธรณีวิทยาคนแรกที่ร่วมเดินทางไปกับยานอวกาศอะพอลโล 17 (Apollo 17) ที่เดินทางไปยังดวงจันทร์ ธรณีวิทยา, ธรณีศาสตร์ (Geology จากγη- (''เก-'', โลก) และ λογος (''ลอกอส'', ถ้อยคำ หรือ เหตุผล).) เป็นวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับโลก สสารต่าง ๆ ที่เป็นส่วนประกอบของโลก เช่น แร่ หิน ดินและน้ำ รวมทั้งกระบวนการเปลี่ยนแปลงภายในโลก ที่เกิดขึ้นในธรรมชาติ ตั้งแต่กำเนิดโลกจนถึงปัจจุบัน เป็นการศึกษาทั้งในระดับโครงสร้าง ส่วนประกอบทางกายภาพ เคมี และชีววิทยา ทำให้รู้ถึงประวัติความเป็นมา และสภาวะแวดล้อมในอดีตจนถึงปัจจุบัน ศึกษาปัจจัยต่าง ๆ ทั้งภายใน และภายนอกที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพพื้นผิว วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต ตลอดจนรูปแบบ และวิธีการนำเอาทรัพยากรธรรมชาติ มาใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนอีกด้วย นักธรณีวิทยาศึกษาพบว่าโลกมีอายุประมาณ 4,500 ล้านปี (4.5x109 ปี) และเห็นตรงกันว่าเปลือกโลกแยกออกเป็นหลายแผ่น เรียกว่าแผ่นเปลือกโลก แต่ละแผ่นเคลื่อนที่อยู่เหนือเนื้อโลกหรือแมนเทิลที่มีสภาวะกึ่งหลอมเหลว เรียกกระบวนการนี้ว่าการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก นอกจากนี้ นักธรณีวิทยายังทำหน้าที่ระบุตำแหน่งและจัดการกับทรัพยากรธรรมชาติ เช่น แหล่งหิน แหล่งแร่ แหล่งปิโตรเลียมเช่น น้ำมันและถ่านหิน รวมทั้งโลหะอย่างเหล็ก ทองแดง และยูเรเนียม วิชาธรณีวิทยา มีความเกี่ยวข้องกับหลากหลายสาขาวิชา เช่น ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา คณิตศาสตร์ มีการบูรณการความรู้จากหลากหลายวิชา เพื่อวิเคราะห์หาคำตอบเกี่ยวกับสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นบนโลก โดยสามารถแบ่งออกเป็นหลากหลายสาขาวิชา เช่น ธรณีวิทยากายภาพ (Physical Geology) ธรณีวิทยาโครงสร้าง (Structural Geology) ธรณีวิทยาแปรสัณฐาน (Geotectonics, Tectonics) ตะกอนวิทยา (Sedimentology) ธรณีสัณฐานวิทยา (Geomorphology) ธรณีเคมี (Geochemistry) ธรณีฟิสิกส์ (Geophysics) ธรณีอุทกวิทยา (Geohydrology) บรรพชีวินวิทยา (Paleontology) เป็นต้น '''การเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก''' วิชาธรณีวิทยานอกโลก ศึกษาองค์ประกอบทางธรณีวิทยาของวัตถุในระบบสุริยะ อย่างไรก็ตาม ยังมีศัพท์เฉพาะอื่น ๆ ที่ใช้เรียกธรณีวิทยานอกโลก เช่น "ศศิวิทยา" (selenology) ศึกษาธรณีวิทยาบนดวงจันทร์, areology ศึกษาธรณีวิทยาบนดาวอังคาร เป็นต้น วิชาธรณีวิทยา สามารถตอบปัญหาต่างๆ มากมาย ที่เกี่ยวข้องกับ วิวัฒนาการของโลก ดาวเคราะห์ และ จักรวาล ธรณีพิบัติภัย ภูเขาไฟ แผ่นดินไหว รอยเลื่อน สึนามิ อุทกภัย น้ำท่วม น้ำหลาก การกัดเซาะ ดินถล่ม หลุมยุบ ภูเขา แม่น้ำ ทะเล มหาสมุทร ทะเลทราย ไดโนเสาร์ ซากดึกดำบรรพ์หรือบรรพชีวินหรือฟอสซิล บั้งไฟพญานาค ไม้กลายเป็นหิน ถ่านหิน น้ำมัน ปิโตรเลียม เชื้อเพลิง แหล่งแร่ เหล็กไหล อุลกมณี โลกศาสตร.
ธรณีสัณฐานวิทยา
รณีสัณฐาน. ธรณีสัณฐานวิทยา (Geomorphology) คือศึกษาทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับต้นกำเนิดและวิวัฒนาการของภูมิประเทศชนิดต่าง ๆ ซึ่งเกิดการเปลี่ยนแปลงทางธรณีวิทยาตามกระบวนการทางกายภาพหรือทางเคมี เช่น ภูมิประเทศที่เกิดจากการกัดเซาะ การพัดพา การเคลื่อนไหวของเปลือกโลกนักธรณีวิทยาพยายามที่จะทำความเข้าใจเกี่ยวกับภูมิทัศน์ว่าทำไมแต่ละที่จึงมีลักษณะต่างกันจึงพยายามศึกษาประวัติและพลศาสตร์ของธรณีสัณฐานเพื่อรวบรวมการเปลี่ยนแปลงผ่านการสังเกตภาคสนาม การทดลองทางกายภาพและการสร้างแบบจำลองเชิงตัวเลข ธรณีสัณฐานวิทยาเป็นส่วนหนึ่งในสาขาของภูมิศาสตร์กายภาพ ธรณีวิทยา จีออเดซี วิศวกรรมธรณี โบราณคดีและวิศวกรรมธรณีเทคนิคซึ่งแต่ละสาขาวิชาจะทำให้เกิดรูปแบบและผลงานวิจัยที่แตกก่างกันไป.
ดู ธรณีสัณฐานและธรณีสัณฐานวิทยา
ที่ราบ
ูเขาอารารัตในคอเคซัส โดยมีที่ราบอารารัตอยู่ด้านหน้า ในวิชาภูมิศาสตร์ ที่ราบ หรือ พื้นราบ เป็นแผ่นดินเรียบกวางใหญ่ซึ่งปกติมีการเปลี่ยนแปลงระดับความสูงไม่มาก ที่ราบเกิดเป็นที่ลุ่มตามก้นของหุบเขาหรือเป็นประตูสู่ภูเขา เป็นที่ราบชายฝั่ง และที่ราบสูงหรือที่ดอน ในหุบเขาที่ราบจะถูกขนาบทั้งสองด้นา แต่บางทีที่ราบอาจแสดงขอบเขตโดยวงแหวนเขาครบวงหรือไม่ครบวง โดยภูเขาหรือหน้าผา เมื่อบริเวณภูมิศาสตร์หนึ่งมีที่ราบมากกว่าหนึ่งแห่ง ที่ราบทั้งหลายอาจเชื่อมกันโดยช่องเขา (pass หรือ gap) ที่ราบชายฝั่งส่วนใหญ่สูงกว่าระดับน้ำทะเลจนไปบรรจบภูเขาหรือที่ราบสูง ที่ราบเป็นธรณีสัณฐานหลักอย่างหนึ่งของโลก โดยปรากฏอยู่ในทุกทวีป และกินอาณาบริเวณกว่าหนึ่งในสามของพื้นที่ดินของโลก ที่ราบอาจเกิดขึ้นระหว่างลาวาไหล มีการทับถมโดยน้ำ น้ำแข็งหรือลม หรือเกิดจากการกร่อนด้วยตัวการดังกล่าวจากเขาและภูเขา ปกติที่ราบอยู่ภายใต้ชีวนิเวศทุ่งหญ้า (เขตอบอุ่นหรือกึ่งเขตร้อน) สเตปป์ (กึ่งแห้งแล้งจัด) สะวันนา (เขตร้อน) หรือทันดรา (ขั้วโลก) ในบางกรณี บริเวณแห้งแล้งและป่าฝนก็เป็นที่ราบได้ ที่ราบในหลายพื้นที่มีความสำคัญต่อเกษตรกรรมเพราะดินมีการทับถมเป็นตะกอนที่อาจลึกและอุดมสมบูรณ์ และความราบช่วยเอื้อต่อการผลิตพืชผลโดยใช้เครื่องจักร หรือเพราะเอื้อต่อทุ่งหญ้าซึ่งเป็นแหล่งอาหารอย่างดีสำหรับปศุสัตว.
เปลือกโลก
ภาพหน้าตัดของโลกทั้งหมด เปลือกโลก (Crust) เป็นเปลือกแข็งชั้นนอกสุดของโครงสร้างโลก มีทั้งที่เป็นแผ่นดิน และมหาสมุทร มีความหนาประมาณ 5 - 40 กิโลเมตร แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ เปลือกโลกภาคพื้นทวีป (Continental Crust) เป็นหินแกรนิต มักมีความหนามาก มีความหนาแน่นต่ำ ประกอบด้วยแร่ อะลูมินา และซิลิกา เป็นส่วนใหญ่ ทำให้มีชื่อเรียกว่า ชนิดไซอัล (SIAL) และเปลือกโลกภาคพื้นสมุทร (Oceanic Crust) เป็นหินบะซอลต์ มักจะมีความหนาน้อยกว่าเปลือกโลกภาคพื้นทวีป มีความหนาแน่นมากกว่า เนื่องจากประกอบด้วยแร่ แมกนีเซียม และซิลิกา เป็นส่วนใหญ่ เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ชั้นไซมา (SIMA) แผ่นของเปลือกโลก (Crust of the Earth) ประกอบไปด้วยความหลากหลายของหินอัคนี หินแปร หินตะกอน รองรับด้วยชั้นเนื้อโลก Mantle ส่วนใหญ่ประกอบด้วยหิน peridotite หินที่มีความหนาแน่น และมีอยู่มากในเปลือกโลก รอยต่อระหว่างชั้นเปลือกโลก และชั้นเนื้อโลก หรือในทางธรณีวิทยาเรียกว่า ความไม่ต่อเนื่องของโมโฮโลวิคซิค (Mohorovicic’s discontinuity) คือเขตแดนที่ใช้เปรียบเทียบพฤติกรรมของคลื่นไหวสะเทือน หมวดหมู่:ธรณีวิทยา หมวดหมู่:เปลือกโลก.
ดูเพิ่มเติม
ภูมิทัศน์
- การออกแบบชุมชนเมือง
- ธรณีสัณฐาน
- ฝายแม้ว
- ภูมิทัศน์
- สวน
- สวนกระท่อม
- สวนสาธารณะ