โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ท่าอากาศยานนานาชาติอังโตนีอู การ์ลูช โชบิง

ดัชนี ท่าอากาศยานนานาชาติอังโตนีอู การ์ลูช โชบิง

ท่าอากาศยานนานาชาติอังโตนีอู การ์ลูช โชบิง (Aeroporto Internacional do Rio de Janeiro/Galeão–Antonio Carlos Jobim), หรือชื่อเก่าที่นิยมเรียกกันคือ ท่าอากาศยานนานาชาติกาเลียโอ เป็นท่าอากาศยานที่ใหญ่ที่สุดของประเทศบราซิล และเป็นหนึ่งในสองท่าอากาศยานของนครริโอเดจาเนโร อย่างไรก็ตาม แม้ว่าสนามบินแห่งนี้จะใหญ่ที่สุดในบราซิลในแง่พื้นที่ แต่ก็มีปริมาณผู้โดยสารมากอยู่ในอันดับ 4 ของประเทศ ซึ่งท่าอากาศยานในบราซิลที่มีผู้โดยสารมากที่สุดคือท่าอากาศยานนานาชาติกัวรูลลูสในเซาเปาโล สนามบินแห่งนี้เดิมมีชื่อว่ากาเลียโอ (Galeão) ซึ่งเป็นชื่อของชายหาดที่อยู่หน้าอาคารผู้โดยสารหลังเก่า ก่อนที่ต่อมาในปี..

8 ความสัมพันธ์: บอสซาโนวายางมะตอยรีโอเดจาเนโรอังโตนีอู การ์ลูช โชบิงท่าอากาศยานคอนกรีตประเทศบราซิลเซาเปาลู

บอสซาโนวา

อสซาโนวา (bossa nova, บอซานอวา) เป็นชื่อของแนวเพลงที่กำเนิดในประเทศบราซิล ในปี ค.ศ. 1958 โดยอังโตนีอู การ์ลูช โชบิง, วีนีซีอุช จี โมไรช์ และชูเอา ชิลเบร์ตู โดยมาจากการผสมผสานดนตรีแจ๊สของแอฟริกัน-อเมริกันกับดนตรีแซมบา ดนตรีพื้นบ้านของบราซิล เครื่องดนตรีที่ใช้กับดนตรีบอสซาโนวาประกอบด้วยเครื่องดนตรีหลัก 2 ชิ้น คือ กีตาร์และเปียโน โดยมีเครื่องดนตรีอื่น ๆ ได้แก่ออร์แกนไฟฟ้า ดับเบิลเบส กลอง และเครื่องเคาะ กีตาร์ที่ใช้จะต้องเป็นกีตาร์คลาสสิก สายไนลอน และเล่นโดยใช้นิ้ว ไม่ใช้ปิ๊ก ดนตรีบอสซาโนวา เป็นที่นิยมอยู่ในบราซิล สหรัฐอเมริกา ยุโรปตะวันตก ญี่ปุ่น และฟิลิปปินส์ ปัจจุบันอาจเรียกสั้น ๆ ว่า บอสซา ผลงานดนตรีที่ทำให้บอสซาโนวาเป็นที่นิยม คืออัลบัมเพลงประกอบภาพยนตร์ Black Orpheus (Orfeu Negro, 1959) โดยชูเอา ชิลเบร์ตู และเป็นที่นิยมในสหรัฐอเมริกาจากอัลบัม Jazz Samba (1962) ของสแตน เก็ตซ์และชาร์ลี เบิร์ด และโด่งดังไปทั่วโลกกับอัลบัม Getz/Gilberto (1963) ของสแตน เก็ตซ์และชูเอา ชิลเบร์ตู โดยเพลงที่มีชื่อเสียงที่สุดคือเพลง The Girl from Ipanema (Garota de Ipanema) ซึ่งขับร้องโดยอัสตรุด ชิลเบร์ตู ภรรยาของชูเอา เพลงนี้ได้รับรางวัลแกรมมีเมื่อปี ค.ศ. 1965.

ใหม่!!: ท่าอากาศยานนานาชาติอังโตนีอู การ์ลูช โชบิงและบอสซาโนวา · ดูเพิ่มเติม »

ยางมะตอย

งมะตอย โรงงานยางมะตอยสำหรับการทำยางมะตอย ถนนลาดยาง มหาวิทยาลัยควีนส์แลนด์ได้ทดลองระดับลดลงการแสดงให้เห็นความหนืดของยางมะตอย ยางมะตอยเป็นวัสดุที่สกัดจากน้ำมันดิบ มีสีดำ มีลักษณะเหนียวและความหนืดต่ำ ยางมะตอยนิยมมาใช้ในงานก่อสร้างถนน โดยใช้เป็นวัสดุผิวหน้า ซึ่งคุณสมบัติที่สำคัญของยางมะตอยทำหน้าที่ประสานระหว่างวัสดุเติมเช่นหินและทราย เข้าเป็นเนื้อเดียวกัน โดยวัสดุที่นำมาใช้ในการเทผิวหน้าถนนจะเรียกชื่อเต็มว่า แอสฟอลต์คอนกรีต (asphalt concrete) และมักย่อว่า แอสฟอลต์ ภาษาอังกฤษเรียกยางมะตอยว่า แอสฟอลต์ (อเมริกัน) หรือ แอสแฟลต์ (บริเตน) (asphalt) ซึ่งมาจากภาษากรีกคำว่า άσφαλτος (asphaltos) ส่วนภูมิภาคอื่นอาจเรียกว่า ไบทูเมน, ไบทิวเมน, บิทูเมน, บิชูเมน (bitumen).

ใหม่!!: ท่าอากาศยานนานาชาติอังโตนีอู การ์ลูช โชบิงและยางมะตอย · ดูเพิ่มเติม »

รีโอเดจาเนโร

รีโอเดจาเนโร (Rio de Janeiro) หรือ รีอูจีฌาเนย์รู (เสียงอ่านภาษาโปรตุเกส) มีความหมายว่า "แม่น้ำเดือนมกราคม") หรือมักเรียกโดยย่อว่า รีโอ (Rio) เป็นเมืองหลวงของรัฐรีโอเดจาเนโร ประเทศบราซิล โดยเป็นเมืองที่กล่าวขานกันว่างดงามที่สุดแห่งหนึ่งในโลก และเป็นที่รู้จักในด้านการท่องเที่ยว โดยเฉพาะชายหาดกอปากาบานา (Copacabana) และอีปาเนมา (Ipanema) เทศกาลรื่นเริงประจำปีของบราซิล และรูปปั้นพระเยซูขนาดใหญ่ที่รู้จักในชื่อ กริชตูเรเดงโตร์ บนยอดเขากอร์โกวาดู รีโอเดจาเนโรตั้งอยู่ที่ละติจูด 22 องศา 54 ลิปดาใต้ และลองจิจูด 43 องศา 14 ลิปดาตะวันตก รีโอมีประชากรประมาณ 6,150,000 (..

ใหม่!!: ท่าอากาศยานนานาชาติอังโตนีอู การ์ลูช โชบิงและรีโอเดจาเนโร · ดูเพิ่มเติม »

อังโตนีอู การ์ลูช โชบิง

อังโตนีอู การ์ลูช บราซีเลย์รู จี อัลเมย์ดา โชบิง (Antônio Carlos Brasileiro de Almeida Jobim) หรือรู้จักกันดีในอีกชื่อนึงว่า ทอม โจบิม (Tom Jobim) เกิดเมื่อวันที่ 25 มกราคม ค.ศ. 1927 ที่รีโอเดจาเนโร - ตายเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม ค.ศ. 1994 ที่นิวยอร์กซิตี เป็นนักแต่งเพลง นักร้อง นักเปียโนและกีตาร์ชาวบราซิล ผู้บุกเบิกแนวเพลงด้านบอสซาโนวาจนเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก เพลงที่มีชื่อเสียงที่สุดของโชบิง คือเพลง The Girl from Ipanema แต่งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1962 ขับร้องโดยอัสตรุด ชิลเบร์ตู และได้รับรางวัลแกรมมี เมื่อปี ค.ศ. 1965.

ใหม่!!: ท่าอากาศยานนานาชาติอังโตนีอู การ์ลูช โชบิงและอังโตนีอู การ์ลูช โชบิง · ดูเพิ่มเติม »

ท่าอากาศยาน

ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ท่าอากาศยาน คือ สถานที่สำหรับจอดอากาศยาน เพื่อ ขนส่งผู้โดยสาร ขนส่งสินค้า ซ่อมแซม บำรุงรักษา และแวะพัก โดยท่าอากาศยาน แบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักๆ คือ ท่าอากาศยานพาณิชย์ และท่าอากาศยานทางการทหาร.

ใหม่!!: ท่าอากาศยานนานาชาติอังโตนีอู การ์ลูช โชบิงและท่าอากาศยาน · ดูเพิ่มเติม »

คอนกรีต

การเทคอนกรีต สำหรับหล่อพื้น คอนกรีต (คอน-กรีด) (Concrete ในภาษาอังกฤษอ่านว่า คอนครีท) เป็นวัสดุผสมที่นิยมใช้ในงานก่อสร้างประกอบด้วย 3 ส่วนหลักคือ ปูนซีเมนต์ วัสดุผสม (เช่น หิน ทราย หรือ กรวด) และ น้ำ โดยอาจจะมีสารเคมีเติมเพิ่มเข้าไปสำหรับคุณสมบัติด้านอื่น เมื่อผสมเสร็จคอนกรีตจะแข็งตัวอย่างช้าๆ ซึ่งน้ำและซีเมนต์จะทำปฏิกิริยาทางเคมีกันในลักษณะที่เรียกว่าการไฮเดรชัน โดยซีเมนต์จะเริ่มจับตัวกับวัสดุอื่นและแข็งตัว ซึ่งในสถานะนี้จะนิยมเรียกกันว่าคอนกรีต ความแข็งแรงของคอนกรีตจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆหลังจากที่ผสม และยังแข็งแรงขึ้นภายหลังจากการแข็งตัว โดยประมาณหลังจากแข็งตัวแล้ว 28 วัน ความแข็งแรงจะเริ่มคงที่ คอนกรีตมีใช้กันในงานก่อสร้างหลายชนิด ซึ่งรวมถึง อาคาร ถนน เขื่อน สะพาน อนุสาวรีย์ และงานก่อสร้างต่างๆ ซึ่งมีเห็นได้ทั่วไป คุณสมบัติหลักของคอนกรีตคือการรับแรงอัดสูง ในขณะที่สามารถรับแรงดึงได้ต่ำ (ประมาณ 10% ของแรงอัด) โดยเมื่อต้องการให้คอนกรีตสามารถรับแรงดึง จะมีการเสริมวัสดุอื่นเพิ่มเข้าไปในคอนกรีตโดยจะเรียกว่า คอนกรีตเสริมแรง หรือคอนกรีตเสริมเหล็กที่เรียกกัน (โดยเสริมแรงด้วยเหล็ก) วัสดุเหล่านี้จะช่วยรับแรงดึงภายในคอนกรีต ซึ่งงานโครงสร้างอาคารส่วนใหญ่นิยมใช้คอนกรีตเสริมแรงแทนที่คอนกรีตเปลือย นอกจากนี้ในงานก่อสร้างยังมีการใช้วิธีการที่เรียกว่า คอนกรีตอัดแรง โดยทำการใส่แรงเข้าไปในคอนกรีตหล่อสำเร็จที่หล่อมาจากโรงงาน โดยเมื่อนำไปใช้งาน แรงที่ใส่เข้าไปในคอนกรีตจะหักล้างกับน้ำหนักของตัวคอนกรีตเองและน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นมา ซึ่งวิธีการนี้จะทำให้คอนกรีตสามารถรับน้ำหนักได้เพิ่มมากขึ้น โดยงานสะพานและทางยกระดับ นิยมใช้คอนกรีตอัดแรง มนุษย์เริ่มใช้คอนกรีตในการก่อสร้างตั้งแต่สมัยกรีกโบราณ ในอดีต ชาวกรีกและชาวโรมันใช้คอนกรีตในการก่อสร้างป้อมปราการทางการทหารและสถานที่สำคัญต่างๆมากม.

ใหม่!!: ท่าอากาศยานนานาชาติอังโตนีอู การ์ลูช โชบิงและคอนกรีต · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศบราซิล

ราซิล (Brazil; Brasil) หรือชื่อทางการว่า สหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล (Federal Republic of Brazil; República Federativa do Brasil) เป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดและมีประชากรมากที่สุดในทวีปอเมริกาใต้ และเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับที่ 5 ของโลก มีพื้นที่กว้างขวางระหว่างตอนกลางของทวีปอเมริกาใต้และ มหาสมุทรแอตแลนติก มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศอุรุกวัย อาร์เจนตินา ปารากวัย โบลิเวีย เปรู โคลอมเบีย เวเนซุเอลา กายอานา ซูรินาม และแคว้นเฟรนช์เกียนาของฝรั่งเศส (ติดกับทุกประเทศในทวีปอเมริกาใต้ ยกเว้นเอกวาดอร์และชิลี) ชื่อ "บราซิล" มาจากต้นไม้ชนิดหนึ่งที่มีชื่อว่า บราซิลวูด (Pau-Brasil ในภาษาโปรตุเกส) ซึ่งนำไปใช้ย้อมผ้าด้วยสีแดงจากเปลือกไม้ของมัน บราซิลเป็นดินแดนแห่งเกษตรกรรมและป่าเขตร้อน การที่บราซิลมีทรัพยากรธรรมชาติที่มากมายและมีแรงงานเป็นจำนวนมาก ทำให้เป็นประเทศที่มีผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) สูงที่สุดในทวีปอเมริกาใต้ (สูงเป็นอันดับที่ 10 ของโลก) และเป็นผู้นำทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาคในปัจจุบัน บราซิลใช้ภาษาโปรตุเกสเป็นภาษาทางการ.

ใหม่!!: ท่าอากาศยานนานาชาติอังโตนีอู การ์ลูช โชบิงและประเทศบราซิล · ดูเพิ่มเติม »

เซาเปาลู

นตัวเมืองเซาเปาลู right right right เซาเปาลู (São Paulo) เป็นเมืองหลวงของรัฐเซาเปาลู ประเทศบราซิล เมืองนี้เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในประเทศและใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของโลกตามจำนวนประชากร ตั้งอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ของบราซิล นอกจากนี้ยังเป็นเมืองที่มีความมั่งคั่งที่สุดในประเทศ ชื่อเซาเปาลูเป็นภาษาโปรตุเกส มีความหมายว่า "นักบุญพอล" เซาเปาลูมีเนื้อที่ 1,523 ตารางกิโลเมตร และมีประชากร 10,886,518 คน ซึ่งทำให้เมืองนี้เป็นเมืองที่มีประชากรมากที่สุดในประเทศบราซิล ทวีปอเมริกาใต้ และซีกโลกใต้ (เขตมหานคร: ประมาณ 19 ล้านคน) เซาเปาลูเดิมเป็นหมู่บ้านเล็ก ๆ ที่ตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1554 โดยคณะมิชชันนารีนิกายเยซูอิตชาวโปรตุเกส ต่อมาในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 17 และ 18 โปรตุเกสก็เริ่มเข้ามาขยายอำนาจในอเมริกาใต้ (ภายในเขตที่กำหนดไว้ในสนธิสัญญาตอร์เดซียัส) โดยส่งคณะนักสำรวจเข้ามาครอบครองดินแดนแถบนี้และค้นหาทองคำ เพชร และทรัพยากรอื่น ๆ ซึ่งมีส่วนทำให้เซาเปาลูขยายตัวมากขึ้น จนในที่สุดก็ยกฐานะขึ้นเป็นเมืองอย่างเป็นทางการเมื่อปี ค.ศ. 1711 ในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 คลื่นผู้อพยพจากประเทศอิตาลี โปรตุเกส สเปน เยอรมนี และประเทศอื่น ๆ ก็เริ่มเข้ามาในเซาเปาลูเพื่อทำงานในไร่กาแฟภายในรัฐ จนกระทั่งต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 การค้ากาแฟตกต่ำลง ผู้ประกอบการจึงเริ่มหันไปลงทุนในการพัฒนาอุตสาหกรรมในเมือง โดยในครึ่งแรกของศตวรรษ นอกจากชาวยุโรปแล้ว ชาวญี่ปุ่นและชาวอาหรับก็อพยพเข้ามาด้วย และตลอดศตวรรษเดียวกันนี้ เศรษฐกิจที่เฟื่องฟูของเซาเปาลูก็เป็นตัวดึงดูดให้ประชากรจากรัฐอื่น ๆ ที่ยากจนในบราซิลเข้ามาทำงานในเมืองนี้เช่นกัน.

ใหม่!!: ท่าอากาศยานนานาชาติอังโตนีอู การ์ลูช โชบิงและเซาเปาลู · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Galeão International AirportRio de Janeiro–Galeão International Airport

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »