โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ท่าอากาศยานนานาชาติย่างกุ้ง

ดัชนี ท่าอากาศยานนานาชาติย่างกุ้ง

ท่าอากาศยานนานาชาติย่างกุ้ง (พม่า: ရန်ကုန်အပြည်ပြည်ဆိုင်ရာလေဆိပ်) เป็นท่าอากาศยานที่ตั้งอยู่ในตำบลมีนกะลาโดน ทางเหนือ 15 กิโลเมตรจากตัวเมืองย่างกุ้ง ดำเนินงานโดยรัฐบาล เป็นท่าอากาศยานนานาชาติแห่งหลักของพม่า และเป็นท่าอากาศยานที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของประเทศ รองจากท่าอากาศยานนานาชาติมัณฑะเลย์ และท่าอากาศยานนานาชาติเนปยีดอ อาคารผู้โดยสารหลังเก่าปัจจุบันถูกใช้งานสำหรับเที่ยวบินภายในประเทศ ในขณะที่อาคารผู้โดยสารหลังใหม่ที่เริ่มเปิดใช้งานเมื่อ พฤษภาคม..

57 ความสัมพันธ์: บางกอกแอร์เวย์การบินไทยการบินไทยสมายล์กาตาร์แอร์เวย์ภาษาพม่ามาเลเซียแอร์ไลน์ย่างกุ้งย่างกุ้งแอร์เวย์สิงคโปร์แอร์ไลน์สงครามโลกครั้งที่สองออล นิปปอน แอร์เวย์ท่าอากาศยานฟุกุโอะกะท่าอากาศยานสิงคโปร์ชางงีท่าอากาศยานสุวรรณภูมิท่าอากาศยานดอนเมืองท่าอากาศยานคาโงชิมะท่าอากาศยานคุมะโมะโตะท่าอากาศยานนะฮะท่าอากาศยานนะงะซะกิท่าอากาศยานนานาชาติพนมเปญท่าอากาศยานนานาชาติกว่างโจวไป๋-ยฺหวินท่าอากาศยานนานาชาติกัวลาลัมเปอร์ท่าอากาศยานนานาชาติมัณฑะเลย์ท่าอากาศยานนานาชาติอินช็อนท่าอากาศยานนานาชาติอินทิรา คานธีท่าอากาศยานนานาชาติฮาหมัดท่าอากาศยานนานาชาติฮ่องกงท่าอากาศยานนานาชาติดูไบท่าอากาศยานนานาชาติคันไซท่าอากาศยานนานาชาติคิมแฮท่าอากาศยานนานาชาติปักกิ่งท่าอากาศยานนานาชาตินาริตะท่าอากาศยานนานาชาติโหน่ยบ่ายท่าอากาศยานนานาชาติไต้หวันเถา-ยฺเหวียนท่าอากาศยานนานาชาติเสียมราฐท่าอากาศยานนานาชาติเตินเซินเญิ้ตท่าอากาศยานนานาชาติเฉิงตูซวงหลิวท่าอากาศยานนานาชาติเนปยีดอท่าอากาศยานแม่สอดท่าอากาศยานเชียงใหม่ดรากอนแอร์ซิลค์แอร์ประเทศพม่านกแอร์แอร์อินเดียแอร์ไชนาแอร์เอเชียโคเรียนแอร์ไชนาอีสเทิร์นแอร์ไลน์ไชนาแอร์ไลน์...ไชนาเซาเทิร์นแอร์ไลน์ไทยแอร์เอเชียไทยไลอ้อนแอร์ไทเกอร์แอร์เวียดนามแอร์ไลน์เวียดเจ็ทแอร์เอเชียน่าแอร์ไลน์ ขยายดัชนี (7 มากกว่า) »

บางกอกแอร์เวย์

การบินบางกอกแอร์เวย์ เป็นสายการบินเชิงพาณิชย์ ดำเนินงานโดย บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด ซึ่งเริ่มดำเนินงานกิจการด้านการบินเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2511 ในแผนกการบินสหกลแอร์ บริษัท กรุงเทพสหกล จำกัด ซึ่งในระยะแรกได้ดำเนินกิจการทำการบินบริการให้แก่หน่วยงานของรัฐบาล (รบ.) รัฐวิสาหกิจ (รสก.) และธุรกิจเอกชนต่างๆ ทั่วไป ในปี..

ใหม่!!: ท่าอากาศยานนานาชาติย่างกุ้งและบางกอกแอร์เวย์ · ดูเพิ่มเติม »

การบินไทย

ริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) (Thai Airways International Public Company Limited; ชื่อย่อ: ไทย, THAI) เป็นรัฐวิสาหกิจสังกัดกระทรวงคมนาคม ทำหน้าที่ดำเนินธุรกิจการบินพาณิชย์ ในฐานะสายการบินแห่งชาติของประเทศไทย ก่อตั้งเมื่อวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2503 จากเว็บไซต์การบินไทย โดยปฏิบัติการบินจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเป็นหลัก ทั้งนี้ การบินไทยยังได้ร่วมก่อตั้งกลุ่มพันธมิตรการบิน สตาร์อัลไลแอนซ์ เคยเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในสายการบินนกแอร์ และเปิดตัวสายการบินลูก ไทยสมายล์ อีกด้วย ปัจจุบัน(มิถุนายน พ.ศ. 2561) การบินไทยบิน 64 สนามบินรวมต่างประเทศและในประเทศ แบ่งเป็นต่างประเทศ 60 สนามบิน ในประเทศไทย 4 สนามบินไม่รวมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ทั้งหมด 3 ทวีป 32 ประเทศทั่วโลกไม่รวมประเทศไทย จากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ด้วยฝูงบินกว่า 84 ลำ การบินไทยเป็นสายการบินลำดับต้นในเอเชีย ที่ทำการบินในเส้นทางกรุงเทพ ลอนดอน (ท่าอากาศยานฮีทโธรว์) นอกจากนี้ การบินไทยได้รับรางวัลยอดเยี่ยมจากองค์การอนามัยโลกว่าด้วยสุขอนามัยบนเครื่องบินอีกด้ว.

ใหม่!!: ท่าอากาศยานนานาชาติย่างกุ้งและการบินไทย · ดูเพิ่มเติม »

การบินไทยสมายล์

การบินไทยสมายล์ เป็นสายการบินในประเทศไทยและต่างประเทศ ซึ่งดำเนินการโดยบริษัท ไทยสมายล์แอร์เวย์ จำกัด (มีสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจตาม พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2502) ยังเป็นบริษัทในเครือการบินไทย (ถือหุ้นร้อยละ 100) โดยเริ่มบินระหว่างประเทศเที่ยวแรกไปยังมาเก๊า เมื่อวันเสาร์ที่ 7 กรกฎาคม..

ใหม่!!: ท่าอากาศยานนานาชาติย่างกุ้งและการบินไทยสมายล์ · ดูเพิ่มเติม »

กาตาร์แอร์เวย์

กาตาร์แอร์เวย์ (القطرية) เป็นสายการบินที่มีฐานอยู่ที่กรุงโดฮา ประเทศกาตาร์ ให้บริการบินสู่จุดหมายมากกว่า100แห่งทั่วโลก จัดเป็นหนึ่งในสายการบินที่เติบโตเร็วที่สุด และเป็น 1 ใน 5 สายการบินที่ได้รับการจัดอันดับจาก Skytrax ให้อยู่ในอันดับ 5 ดาวในแต่ละปีมีผู้โดยสารใช้บริการถึง 12 ล้านคน.

ใหม่!!: ท่าอากาศยานนานาชาติย่างกุ้งและกาตาร์แอร์เวย์ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาพม่า

ษาพม่า หรือ ภาษาเมียนมา (MLCTS: myanma bhasa) เป็นภาษาราชการของประเทศพม่า จัดอยู่ในในตระกูลภาษาย่อยทิเบต-พม่า อันเป็นสาขาย่อยของตระกูลภาษา โดยเป็นภาษาแม่ของคนประมาณ 32 ล้านคนในพม่า และเป็นภาษาที่สองของชนกลุ่มน้อยในพม่า และในประเทศอินเดีย ประเทศบังกลาเทศ ประเทศมาเลเซีย ประเทศไทย และสหรัฐอเมริกา ภาษาพม่าเป็นภาษาที่มีระดับเสียง หรือวรรณยุกต์ มีวรรณยุกต์ 4 เสียงและเขียนโดยใช้อักษรพม่า ซึ่งดัดแปลงจากอักษรมอญอีกทอดหนึ่ง และจัดเป็นสมาชิกในตระกูลอักษรพราหมี รหัส ISO 639 สำหรับภาษาพม่าคือ 'my' และรหัส SIL คือ BMS.

ใหม่!!: ท่าอากาศยานนานาชาติย่างกุ้งและภาษาพม่า · ดูเพิ่มเติม »

มาเลเซียแอร์ไลน์

Malaysia Airlines head office มาเลเซียแอร์ไลน์ เป็นสายการบินประจำชาติของมาเลเซีย ให้บริการเดินทางทั้งในและนอกทวีป เคยเป็น 1 ใน 5 สายการบินที่ได้รับการจัดอันดับโดยสกายแทรกซ์ให้อยู่ในอันดับ 5 ดาว มาเลเซียแอร์ไลน์เคยเป็นหนึ่งในสายการบินที่มีผู้คนยอมรับมากที่สุดในโลกตะวันออก จนกระทั่งเกิดเหตุการณ์เครื่องบินของเที่ยวบินที่ 370 สูญหายระหว่างทำการบินในเดือนมีนาคม..

ใหม่!!: ท่าอากาศยานนานาชาติย่างกุ้งและมาเลเซียแอร์ไลน์ · ดูเพิ่มเติม »

ย่างกุ้ง

งกุ้ง หรือ ยานโกน (ရန်ကုန်, MLCTS rankun mrui, ยานโกน มโย; "อวสานสงคราม") หรือ ร่างกุ้ง (Rangoon) เป็นเมืองหลวงของเขตย่างกุ้ง ย่างกุ้งเป็นเมืองหลวงของพม่าจนถึงปี..

ใหม่!!: ท่าอากาศยานนานาชาติย่างกุ้งและย่างกุ้ง · ดูเพิ่มเติม »

ย่างกุ้งแอร์เวย์

งกุ้งแอร์เวย์ (ရန်ကုန် လေကြောင်းလိုင်း) เป็นสายการบินของประเทศพม่า สำนักงานตั้งอยู่ที่ย่างกุ้ง ให้บริการเที่ยวบินในประเทศ ทั้งแบบบินประจำและเช่าเหมาลำ ฐานการบินอยู่ที่ท่าอากาศยานนานาชาติย่างกุ้ง สายการบินเคยถูกพักงานชั่วคราวตั้งแต่เดือนธันวาคม..

ใหม่!!: ท่าอากาศยานนานาชาติย่างกุ้งและย่างกุ้งแอร์เวย์ · ดูเพิ่มเติม »

สิงคโปร์แอร์ไลน์

อาคารสิงคโปร์แอร์ไลน์ สิงคโปร์แอร์ไลน์ (abbreviated 新航) เป็นบริษัทสายการบินในสิงคโปร์ มีท่าอากาศยานสิงคโปร์ชางงีเป็นท่าอากาศยานหลัก จัดว่ามีความแข็งแกร่งในตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียตะวันออก เอเชียใต้ และ"เส้นทางจิงโจ้" (เส้นทางบินระหว่างประเทศในทวีปออสเตรเลียกับสหราชอาณาจักรโดยผ่านซีกโลกตะวันออก) นอกจากนี้ยังมีเที่ยวบินข้ามมหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งรวมถึงเที่ยวบินตรงเชิงพาณิชย์ที่ใช้เวลาบินนานที่สุดในโลกสองเส้นทาง คือ จากสิงคโปร์ไปนูอาร์ก และลอสแอนเจลิส ด้วยเครื่องบินแอร์บัส เอ 340-500 สิงคโปร์แอร์ไลน์เป็นสายบินแรกที่สั่งซื้อเครื่องบินแอร์บัส เอ 380 และนอกจากกิจการสายการบินแล้ว ยังขยายกิจการไปยังธุรกิจอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับสายการบิน เช่น การจัดการและวิศวกรรมอากาศยาน มีสายการบินซิลค์แอร์เป็นบริษัทสาขาที่สิงคโปร์แอร์ไลน์เป็นเจ้าของทั้งหมด ให้บริการเที่ยวบินภายในภูมิภาคไปยังเมืองที่มีความสำคัญระดับรองและมีผู้โดยสารน้อยกว่า และยังมีสิงคโปร์แอร์ไลน์คาร์โกเป็นบริษัทสาขาที่ดำเนินการบินฝูงบินขนส่งสินค้าและจัดการขนส่งและจัดเก็บสัมภาระบนเครื่องบินโดยสาร สิงคโปร์แอร์ไลน์ถือหุ้นในสายการบินเวอร์จินแอตแลนติกอยู่ 49% และลงทุนในสายการบินไทเกอร์แอร์ไลน์เป็นส่วนปันผล 49% เพื่อรับมือการแข่งขันจากสายการบินต้นทุนต่ำ สิงคโปร์แอร์ไลน์จัดว่าเป็นสายการบินที่มีจำนวนผู้โดยสารมากเป็นอันดับที่ 11 ในเอเชีย และมีผู้โดยสารระหว่างประเทศมากเป็นอันดับ 6 ของโลก สิงคโปร์แอร์ไลน์ได้รับการจัดอันดับจากนิตยสารฟอร์จูนให้อยู่ในอันดับที่ 27 ในหมวดหมู่บริษัทที่เป็นที่ยกย่องชมเชยมากที่สุดในโลกประจำ พ.ศ. 2553 และได้สร้างตราบริษัทที่แข็งแกร่งในฐานะผู้สร้างปรากฏการณ์ในอุตสาหกรรมการบิน โดยเฉพาะความเป็นเลิศในด้านนวัตกรรม ความปลอดภัย และบริการ ที่เชื่อมโยงเข้ากับความได้เปรียบทางธุรกิจอย่างมั่นคง นอกจากนี้ยังได้รับรางวัลมากมายและเป็นผู้นำทางอุตสาหกรรมในด้านการจัดซื้ออากาศยาน มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ Airport House ใกล้กับท่าอากาศยานชางงีในย่านชางงีในสิงคโปร.

ใหม่!!: ท่าอากาศยานนานาชาติย่างกุ้งและสิงคโปร์แอร์ไลน์ · ดูเพิ่มเติม »

สงครามโลกครั้งที่สอง

งครามโลกครั้งที่สอง (World War II หรือ Second World Warคำว่าสงครามโลกครั้งที่สองในภาษาอังกฤษนั้น ในเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการของสหราชอาณาจักรและชาติตะวันตกใช้คำว่า "Second World War" ส่วนในสหรัฐใช้คำว่า "World War II" (ย่อเป็น "WWII" หรือ "WW2") ซึ่งเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการในประเทศส่วนใหญ่มักจะใช้ภาษาอังกฤษว่า "Second World War" (เช่น Zweiter Weltkrieg ในภาษาเยอรมัน; Segunda Guerra mundial ในภาษาสเปน; Seconde Guerre mondiale ในภาษาฝรั่งเศส) แต่ทั้งสองคำนี้โดยทั่วไปแล้วสามารถใช้แทนกันได้; แม้ในประวัติศาสตร์การทหารอย่างเป็นทางการ คำว่า "Second World War" ถูกสร้างขึ้นโดย แฟรงก์ บี. เคลล็อก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา; ส่วนคำว่า "World War II" พบใช้เป็นครั้งแรกในนิตยสาร ไทมส์ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 1939 ซึ่งเป็นผู้ประดิษฐ์คำว่า "World War I" ขึ้นในอีกสามเดือนต่อมา; มักย่อเป็น WWII หรือ WW2) เป็นสงครามทั่วโลกกินเวลาตั้งแต่ปี 1939 ถึง 1945 ประเทศส่วนใหญ่ในโลกมีส่วนเกี่ยวข้อง รวมทั้งรัฐมหาอำนาจทั้งหมด แบ่งเป็นพันธมิตรทางทหารคู่สงครามสองฝ่าย คือ ฝ่ายสัมพันธมิตรและฝ่ายอักษะ เป็นสงครามที่กว้างขวางที่สุดในประวัติศาสตร์ มีทหารกว่า 100 ล้านนายจากกว่า 30 ประเทศเข้าร่วมโดยตรง สงครามนี้มีลักษณะเป็น "สงครามเบ็ดเสร็จ" คือ ประเทศผู้ร่วมสงครามหลักทุ่มขีดความสามารถทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ทั้งหมดเพื่อความพยายามของสงคราม โดยลบเส้นแบ่งระหว่างทรัพยากรของพลเรือนและทหาร ประเมินกันว่าสงครามมีมูลค่าราว 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ประเมินกันว่ามีผู้เสียชีวิตระหว่าง 50 ถึง 85 ล้านคน ด้วยประการทั้งปวง สงครามโลกครั้งที่สองจึงนับว่าเป็นสงครามขนาดใหญ่ที่สุด ใช้เงินทุนมากที่สุด และมีผู้เสียชีวิตสูงสุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ จักรวรรดิญี่ปุ่นซึ่งมีเป้าหมายครอบงำทวีปเอเชียและแปซิฟิกและทำสงครามกับจีนมาตั้งแต่ปี 1937 แล้ว แต่โดยทั่วไปถือว่าสงครามโลกครั้งที่สองเริ่มตั้งแต่การบุกครองโปแลนด์ของเยอรมนีในวันที่ 1 กันยายน 1939 นำไปสู่การประกาศสงครามต่อเยอรมนีของประเทศฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักร ตั้งแต่ปลายปี 1939 ถึงต้นปี 1941 ในการทัพและสนธิสัญญาต่าง ๆ ประเทศเยอรมนีพิชิตหรือควบคุมยุโรปภาคพื้นทวีปได้ส่วนใหญ่ และตั้งพันธมิตรอักษะกับอิตาลีและญี่ปุ่น ภายใต้สนธิสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบนทรอพเมื่อเดือนสิงหาคม 1939 เยอรมนีและสหภาพโซเวียตแบ่งแลผนวกดินแดนประเทศเพื่อนบ้านยุโรปของตน ได้แก่ โปแลนด์ ฟินแลนด์ โรมาเนียและรัฐบอลติก สงครามดำเนินต่อส่วนใหญ่ระหว่างชาติฝ่ายอักษะยุโรปและแนวร่วมสหราชอาณาจักรและเครือจักรภพบริติช โดยมีการทัพอย่างการทัพแอฟริกาเหนือและแอฟริกาตะวันออก ยุทธการที่บริเตนซึ่งเป็นการสู้รบทางอากาศ การทัพทิ้งระเบิดเดอะบลิตซ์ การทัพบอลข่าน ตลอดจนยุทธการที่แอตแลนติกที่ยืดเยื้อ ในเดือนมิถุนายน 1941 ชาติอักษะยุโรปบุกครองสหภาพโซเวียต เปิดฉากเขตสงครามภาคพื้นดินที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ซึ่งทำให้กำลังทหารสำคัญของฝ่ายอักษะตกอยู่ในสงครามบั่นทอนกำลัง ในเดือนธันวาคม 1941 ญี่ปุ่นโจมตีสหรัฐและอาณานิคมยุโรปในมหาสมุทรแปซิฟิก และพิชิตมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกส่วนมากได้อย่างรวดเร็ว การรุกของฝ่ายอักษะยุติลงในปี 1942 หลังญี่ปุ่นปราชัยในยุทธนาวีที่มิดเวย์ใกล้กับฮาวายที่สำคัญ และเยอรมนีปราชัยในแอฟริกาเหนือและจากนั้นที่สตาลินกราดในสหภาพโซเวียต ในปี 1943 จากความปราชัยของเยอรมนีติด ๆ กันที่เคิสก์ในยุโรปตะวันออก การบุกครองอิตาลีของฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งนำให้อิตาลียอมจำนน จนถึงชัยของฝ่ายสัมพันธมิตรในมหาสมุทรแปซิฟิก ฝ่ายอักษะเสียการริเริ่มและต้องล่าถอยทางยุทธศาสตร์ในทุกแนวรบ ในปี 1944 ฝ่ายสัมพันธมิตรบุกครองฝรั่งเศสในการยึดครองของเยอรมนี ขณะเดียวกันกับที่สหภาพโซเวียตยึดดินแดนที่เสียไปทั้งหมดคืนและบุกครองเยอรมนีและพันธมิตร ระหว่างปี 1944 และ 1945 ญี่ปุ่นปราชัยสำคัญในทวีปเอเชียในภาคกลางและภาคใต้ของจีนและพม่า ขณะที่ฝ่ายสัมพันธมิตรก่อความเสียหายต่อกองทัพเรือญี่ปุ่นและยึดหมู่เกาะแปซิฟิกตะวันตกที่สำคัญ สงครามในยุโรปยุติลงหลังกองทัพแดงยึดกรุงเบอร์ลินได้ และการยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขของเยอรมนีเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 1945 แม้จะถูกโดดเดี่ยวและตกอยู่ในสภาพเสียเปรียบอย่างยิ่ง ญี่ปุ่นยังปฏิเสธที่จะยอมจำนน กระทั่งมีการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์สองลูกถล่มญี่ปุ่น และการบุกครองแมนจูเรีย จึงได้นำไปสู่การยอมจำนนอย่างเป็นทางการของญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 2 กันยายน 1945 สงครามยุติลงด้วยชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตร ผลของสงครามได้เปลี่ยนแปลงการวางแนวทางการเมืองและโครงสร้างสังคมของโลก สหประชาชาติถูกสถาปนาขึ้น เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศและเพื่อป้องกันความขัดแย้งในอนาคต สหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตก้าวเป็นอภิมหาอำนาจของโลกอันเป็นคู่ปรปักษ์กัน นำไปสู่ความขัดแย้งบนเวทีแห่งสงครามเย็น ซึ่งได้ดำเนินต่อมาอีก 46 ปีหลังสงคราม ขณะเดียวกัน การยอมรับหลักการการกำหนดการปกครองด้วยตนเอง เร่งให้เกิดการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องเอกราชในทวีปเอเชียและทวีปแอฟริกา พร้อม ๆ กับที่หลายประเทศได้มุ่งหน้าฟื้นฟูเศรษฐกิจซึ่งอุตสาหกรรมได้รับความเสียหายระหว่างสงคราม และบูรณาการทางการเมืองได้เกิดขึ้นทั่วโลกในความพยายามที่จะรักษาเสถียรภาพความสัมพันธ์หลังสงคราม.

ใหม่!!: ท่าอากาศยานนานาชาติย่างกุ้งและสงครามโลกครั้งที่สอง · ดูเพิ่มเติม »

ออล นิปปอน แอร์เวย์

ออลนิปปอนแอร์เวย์ (All Nippon Airways) หรือ บริษัท เดินอากาศเซ็งนิปปง มหาชนจำกัด หรือย่อว่า ANA เป็นสายการบินที่ใหญ่ที่สุดในประเทศญี่ปุ่น มีสำนักงานใหญ่อยู่ในกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น และมีท่าอากาศยานหลักนานาชาติคือ ท่าอากาศยานนานาชาตินาริตะ และ ท่าอากาศยานนานาชาติคันไซ (โอซาก้าใต้) และมีท่าอากาศยานหลักภายในประเทศคือ ท่าอากาศยานนานาชาติโตเกียว ท่าอากาศยานนานาชาติโอซะกะ ท่าอากาศยานชูบุเซ็นแทรร์ (นาโกย่า) และ ท่าอากาศยานชินชิโตเสะ (ซัปโปโร) ANA จัดตั้งขึ้นโดยการควบรวมของ แอร์นิปปอน (สายการบินภูมิภาค) และ แอร์เจแปน (ผู้ให้บริการเช่าเหมาลำ) และต่อมาในปี 2547 ANA ได้จัดตั้งสายการบินต้นทุนต่ำในนามของ แอร์เน็กซ์ (Air Next) เพื่อทำการบินจากท่าอากาศยานฟุกุโอกะ ซึ่งเริ่มทำการบินครั้งแรกในปี 2548 และในปีเดียวกันนั้น (2547) ANA ได้เป็นผู้ถืหุ้นหลักในสายการบินนะกะนิคอน แอร์ไลน์ เซอร์วิส (NAL) ซึ่งมีสำนักงานใหญ่ที่เมืองนาโกย่า และในปี 2548 ได้เปลี่ยนชื่อนะกะนิคอนฯ เป็น แอร์ เซ็นทรัล พร้อมทั้งย้ายที่ทำการไปยังท่าอากาศยานนานาชาติชูบุเซ็นแทรร.

ใหม่!!: ท่าอากาศยานนานาชาติย่างกุ้งและออล นิปปอน แอร์เวย์ · ดูเพิ่มเติม »

ท่าอากาศยานฟุกุโอะกะ

อะแกรมของท่าอากาศยานฟุกุโอะกะ ท่าอากาศยานฟุกุโอะกะ ชื่อเดิมคือ ฐานทัพอากาศอิตะซุเกะ เป็นท่าอากาศยานในเมืองฟุกุโอะกะ ประเทศญี่ปุ่น ตั้งอยู่ห่างจากสถานีรถไฟฮะกะตะ 3 กิโลเมตรทางทิศตะวันออก จัดเป็นท่าอากาศยานระดับสองในญี่ปุ่น ปัจจุบันรองรับเที่ยวบินภายในประเทศและระหว่างประเทศ มีการใช้งานเต็มอัตราการรองรับของท่าอากาศยานและไม่สามารถขยายได้แล้ว ปิดการขึ้นลงของเที่ยวบินเวลา 22.00 น. ทุกวันเพื่อลดเสียงรบกวนต่อผู้อยู่อาศัยบริเวณใกล้เคียงในเวลากลางคืน และจะเปิดให้เที่ยวบินขึ้นลงอีกครั้งเวลา 7.00 น. ท่าอากาศยานตั้งอยู่ที่เขตฮะกะตะ ทางตะวันออกเฉียงใต้ของศูนย์กลางของเมือง เชื่อมต่อกับส่วนอื่นของเมืองด้วยรถไฟใต้ดินและถนน รถไฟใต้ดินวิ่งจากท่าอากาศยานไปยังย่านธุรกิจใช้เวลาไม่ถึง 10 นาที ท่าอากาศยานฟุกุโอะกะเป็นท่าอากาศยานที่มีผู้โดยสารคับคั่งเป็นอันดับสีของญี่ปุ่น ใน..

ใหม่!!: ท่าอากาศยานนานาชาติย่างกุ้งและท่าอากาศยานฟุกุโอะกะ · ดูเพิ่มเติม »

ท่าอากาศยานสิงคโปร์ชางงี

ท่าอากาศยานสิงคโปร์ชางงี หรือเรียกโดยทั่วไปว่าสนามบินชางงี ตั้งอยู่ในเขตชางงี เป็นท่าอากาศยานหลักของสายการบินสิงคโปร์แอร์ไลน์, สิงคโปร์แอร์ไลน์คาร์โก, ซิลค์แอร์, ไทเกอร์แอร์เวย์, เจ็ตสตาร์เอเชียแอร์เวย์ และแวลูแอร์ ในปี พ.ศ. 2549 ท่าอากาศยานแห่งนี้รองรับผู้โดยสารจำนวนถึง 35 ล้านคน เพิ่มมากขึ้น 8% จากปีงบประมาณ 2548..

ใหม่!!: ท่าอากาศยานนานาชาติย่างกุ้งและท่าอากาศยานสิงคโปร์ชางงี · ดูเพิ่มเติม »

ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เป็น สนามบิน ตั้งอยู่ที่ ถนนเทพรัตน และ ทางพิเศษบูรพาวิถี ในเขตตำบลหนองปรือและตำบลราชาเทวะ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ห่างจากใจกลางเมือง กรุงเทพมหานคร ประมาณ 25 กิโลเมตร เปิดให้บริการเชิงพาณิชย์เต็มรูปแบบอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2549 รัฐบาลได้กำหนดให้ท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิเป็นท่าอากาศยานหลักของ ประเทศไทย แทน ท่าอากาศยานดอนเมือง และตั้งเป้าให้เป็นศูนย์กลางการบินใน ทวีปเอเชีย อีกทั้งการเน้นพัฒนาคุณภาพการให้บริการของท่าอากาศยานให้ได้รับการจัดอันดับ 1 ใน 10 ท่าอากาศยานที่มีคุณภาพการบริการดีที่สุดในโลกในปี พ.ศ. 2553 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิมีหอควบคุมที่สูงเป็นอันดับ 2 ของโลก (132.2 เมตร) และอาคารผู้โดยสารเดี่ยวที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก (563,000 ตารางเมตร) ปัจจุบันเป็น หนึ่งในท่าอากาศยานที่มีผู้โดยสารมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก โดยในปี พ.ศ. 2559 มีผู้โดยสารมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลกและใน เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2560 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิบริการสายการบินที่ทำการบินแบบประจำ 109 สายการบิน ซึ่งถือว่าบริการตามจำนวนสายการบินมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก (สามารถรองรับเที่ยวบิน 76 เที่ยวต่อชั่วโมงและผู้โดยสาร 45 ล้านคนต่อปี) Suvarnabhumi Airport.

ใหม่!!: ท่าอากาศยานนานาชาติย่างกุ้งและท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ · ดูเพิ่มเติม »

ท่าอากาศยานดอนเมือง

แผนผังท่าอากาศยานดอนเมือง ท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมือง (ชื่อเดิมคือ ท่าอากาศยานกรุงเทพ) หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า สนามบินดอนเมือง ตั้งอยู่บนถนนวิภาวดีรังสิต แขวงสนามบิน เขตดอนเมือง ช่วงกิโลเมตรที่ 24 ทางตอนเหนือของกรุงเทพมหานคร เป็นจุดศูนย์กลางทางการบินในภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่สามารถเชื่อมโยงการคมนาคมทางอากาศไปยังจุดต่างๆ ของโลกได้อย่างเหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นการบินภายในภูมิภาคเอเชียด้วยกัน หรือระหว่างทวีปยุโรป ทวีปอเมริกา ทวีปออสเตรเลีย ซึ่งสามารถใช้เป็นจุดแวะลงและเชื่อมต่อในการเดินทางของผู้โดยสารตลอดจนพัสดุไปรษณียภัณฑ์ไปยังจุดอื่นๆ ได้อย่างดี เปิดดำเนินการครั้งแรกเมื่อวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2457 โดยปิดตัวลงวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2549 วันเดียวกับที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเปิดใช้งาน โดยสนามบินดอนเมืองถูกเปลี่ยนเป็นสถานที่ซ่อมเครื่องบิน ฝึกบิน และสำหรับจอดเครื่องบินส่วนตัวของบุคคลสำคัญ อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่วันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2550 เป็นต้นมา ท่าอากาศยานดอนเมืองได้กลับมาให้บริการเที่ยวบินแบบประจำ (scheduled flight) เที่ยวบินในประเทศอีกครั้งโดยมี สายการบินไทย นกแอร์ วันทูโก และพีบีแอร์มาเปิดให้บริการในลำดับแรก หลังจากพบปัญหาหลายอย่างที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2555 ท่าอากาศยานดอนเมืองได้กลับมาเปิดให้บริการในฐานะสนามบินนานาชาติแห่งที่สองอีกครั้ง เนื่องด้วยนโยบายรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตรต้องการลดความแออัดของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิลง ปัจจุบัน ท่าอากาศยานดอนเมือง รับเที่ยวบิน จาก ประเทศจีน ประเทศเกาหลีใต้ ประเทศญี่ปุ่น ประเทศสิงคโปร์ ประเทศกัมพูชา ประเทศมาเลเซีย ประเทศพม่า ประเทศเวียดนาม ประเทศไต้หวัน ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศอินเดีย ประเทศมัลดีฟส์ ฮ่องกง ประเทศฟิลิปปินส์ มาเก๊า และล่าสุด ประเทศเนปาล รวม 14 ประเทศ ส่วนเที่ยวบินภายในประเทศสำหรับท่าอากาศยานดอนเมืองมีเที่ยวบินภายในประเทศบริการบินไปกลับ จาก ท่าอากาศยานแพร่ ท่าอากาศยานตรัง ท่าอากาศยานร้อยเอ็ด ท่าอากาศยานนครพนม ท่าอากาศยานนครศรีธรรมราช ท่าอากาศยานระนอง ท่าอากาศยานสกลนคร ท่าอากาศยานพิษณุโลก ท่าอากาศยานบุรีรัมย์ ท่าอากาศยานน่านนคร ท่าอากาศยานแม่ฮ่องสอน ท่าอากาศยานแม่สอด และ ท่าอากาศยานเพชรบูรณ์ ซึ่ง ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ไม่มีบริการใน 13 จังหวัดดังกล่าว ใน 13 จังหวัดดังกล่าวมีเที่ยวบินให้บริการที่ ท่าอากาศยานดอนเมืองเท่านั้น.

ใหม่!!: ท่าอากาศยานนานาชาติย่างกุ้งและท่าอากาศยานดอนเมือง · ดูเพิ่มเติม »

ท่าอากาศยานคาโงชิมะ

ท่าอากาศยานคาโงชิมะ เป็นท่าอากาศยานระดับสองในญี่ปุ่น ตั้งอยู่ที่เมืองคิริชิมะใกล้กับเมืองคาโงชิมะ จังหวัดคาโงชิมะ เปิดใช้ทางวิ่งในปี..

ใหม่!!: ท่าอากาศยานนานาชาติย่างกุ้งและท่าอากาศยานคาโงชิมะ · ดูเพิ่มเติม »

ท่าอากาศยานคุมะโมะโตะ

ท่าอากาศยานคุมะโมะโตะ เป็นท่าอากาศยานตั้งอยู่ที่เมืองมะชิกิและใกล้กับเมืองคุมะโมะโตะเมืองหลวงของจังหวัดคุมะโมะโตะ ประเทศญี่ปุ่น จัดอยู่ในท่าอากาศยานระดับสองในญี่ปุ่น.

ใหม่!!: ท่าอากาศยานนานาชาติย่างกุ้งและท่าอากาศยานคุมะโมะโตะ · ดูเพิ่มเติม »

ท่าอากาศยานนะฮะ

ท่าอากาศยานนะฮะ เป็นท่าอากาศยานระดับสองในญี่ปุ่น ตั้งอยู่ 4 กิโลเมตรทางตะวันตกของเมืองนะฮะ จังหวัดโอะกินะวะ ประเทศญี่ปุ่น ในเดือนตุลาคม..

ใหม่!!: ท่าอากาศยานนานาชาติย่างกุ้งและท่าอากาศยานนะฮะ · ดูเพิ่มเติม »

ท่าอากาศยานนะงะซะกิ

Terminal building ท่าอากาศยานนะงะซะกิ เป็นท่าอากาศยานที่ตั้งอยู่บนเกาะซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเมืองโอมุระ จังหวัดนะงะซะกิ ประเทศญี่ปุ่น จัดอยู่ในท่าอากาศยานระดับที่สองในญี่ปุ่น ท่าอากาศยานมีลักษณะคล้ายกลับท่าอากาศยานที่ตั้งอยู่บนเกาะอื่นๆ เช่น ท่าอากาศยานนานาชาติคันไซ ท่าอากาศยานโกเบ ท่าอากาศยานนิวคิตะกีวชู และท่าอากาศยานนานาชาติชูบุเซ็นแทรร.

ใหม่!!: ท่าอากาศยานนานาชาติย่างกุ้งและท่าอากาศยานนะงะซะกิ · ดูเพิ่มเติม »

ท่าอากาศยานนานาชาติพนมเปญ

ท่าอากาศยานนานาชาติพนมเปญ (អាកាសយានដ្ឋានអន្តរជាតិភ្នំពេញ; อากาสยานฐานอนฺตรชาติภนุมฺเพญ, Phnom Penh International Airport) เป็นท่าอากาศยานหลักของกัมพูชา ตั้งอยู่ห่างจากใจกลางกรุงพนมเปญไปทางตะวันตก 7 กิโลเมตร มีชื่อเดิมว่า "ท่าอากาศยานนานาชาติโปเชนตง" (អាកាសយានដ្ឋានអន្តរជាតិពោធិ៏ចិនតុង; อากาสยานฐานอนฺตรชาติโพธิ์จินตุง, Pochentong International Airport) เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม..

ใหม่!!: ท่าอากาศยานนานาชาติย่างกุ้งและท่าอากาศยานนานาชาติพนมเปญ · ดูเพิ่มเติม »

ท่าอากาศยานนานาชาติกว่างโจวไป๋-ยฺหวิน

ท่าอากาศยานนานาชาติกว่างโจวไป๋-ยฺหวิน (Guangzhou Baiyun International Airport) เป็นท่าอากาศยานหลักของนครกว่างโจว เมืองเอกของมณฑลกวางตุ้งในประเทศจีน จากสถิติในปี 2014 สนามบินแห่งนี้มีปริมาณผู้โดยสารมากสุดเป็นอันดับสองของจีนรองจากท่าอากาศยานนานาชาติปักกิ่ง และเป็นอันดับ 16 ของโลก สนามบินแห่งนี้ตั้งอยู่ในอำเภอไป๋-ยฺหวินและอำเภอฮฺวาตูของนครกว่างโจว เปิดทำการเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2004 เพื่อทดแทนสนามบินแห่งเก่าที่มีอายุกว่า 72 ปี ซึ่งในปัจจุบันได้ปิดใช้งานแล้ว สนามบินแห่งใหม่นี้สร้างขึ้นด้วยงบประมาณกว่า 1.98 หมื่นล้านหยวน มีที่ตั้งห่างจากตัวเมืองกว่างโจวไปทางเหนือราว 27 กิโลเมตร และมีขนาดใหญ่กว่าสนามบินเดิมถึงเกือบห้าเท่า คำว่า "ไป๋-ยฺหวิน" (白云) นั้นเป็นชื่อของภูเขาที่อยู่ใกล้เคียงสนามบินแห่งเก่า (ไป๋-ยฺหวินชาน) มีความหมายว่า "เมฆขาว" นอกจากนี้ สนามบินแห่งใหม่ยังอยู่ใกล้ตัวเมืองมากกว่าสนามบินแห่งเก่า สนามบินแห่งนี้มีศักยภาพในการรองรับผู้โดยสารได้ 45 ล้านคนต่อปี แต่ในปัจจุบันจำนวนผู้โดยสารก็มากเกินศักยภาพ ขณะนี้มีโครงการขยายสนามบินซึ่งรวมถึงอาคารผู้โดยสารหลังใหม่ขนาด 531,000 ตารางเมตรที่มีขนาดเท่ากับอาคารผู้โดยสารในปัจจุบันกำลังดำเนินการอยู่ คาดว่าจะก่อสร้างเสร็จภายในปี 2018 ซึ่งจะทำให้สนามบินมีศักยภาพในการรองรับผู้โดยสารได้ 80 ล้านคน และปริมาณสินค้า 25 ล้านตันต่อปี.

ใหม่!!: ท่าอากาศยานนานาชาติย่างกุ้งและท่าอากาศยานนานาชาติกว่างโจวไป๋-ยฺหวิน · ดูเพิ่มเติม »

ท่าอากาศยานนานาชาติกัวลาลัมเปอร์

ท่าอากาศยานนานาชาติกัวลาลัมเปอร์ (Lapangan Terbang Antarabangsa Kuala Lumpur) ตั้งอยู่ที่เขตเซปัง รัฐเซอลาโงร์ ประเทศมาเลเซีย ห่างจากตัวเมืองกัวลาลัมเปอร์ประมาณ 50 กิโลเมตร เปิดดำเนินการเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2541 เพื่อใช้เป็นท่าอากาศยานหลัก แทน ท่าอากาศยานสุลต่านอับดุล อาซิส ซาห์ (ซูบัง) ซึ่งตั้งห่างอยู่ทางทิศเหนือ (ปัจจุบันเปิดทำการในสายภายในประเทศ และเครื่องบินขนาดเล็ก) และเป็นท่าอากาศยานหลักของมาเลเซียแอร์ไลน์, มาเลเซียแอร์ไลน์คาร์โก และแอร์เอเชีย ได้รับรางวัลท่าอากาศยานที่ดีที่สุด จาก (AETRA awards) ปี 2005 และ (ACI-ASQ awards) ปี 2006.

ใหม่!!: ท่าอากาศยานนานาชาติย่างกุ้งและท่าอากาศยานนานาชาติกัวลาลัมเปอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ท่าอากาศยานนานาชาติมัณฑะเลย์

ท่าอากาศยานนานาชาติมัณฑะเลย์ - มุมมองจากที่จอดรถ ท่าอากาศยานนานาชาติมัณฑะเลย์ (မန္တလေး အပြည်ပြည်ဆိုင်ရာ လေဆိပ်), อยู่ห่างจากเมืองมัณฑะเลย์ ไปทางตอนใต้ 35 กิโลเมตร เป็น 1 ใน 3 ท่าอากาศยานนานาชาติของ ประเทศพม่า สร้างแล้วเสร็จในปี..

ใหม่!!: ท่าอากาศยานนานาชาติย่างกุ้งและท่าอากาศยานนานาชาติมัณฑะเลย์ · ดูเพิ่มเติม »

ท่าอากาศยานนานาชาติอินช็อน

ท่าอากาศยานนานาชาติอินช็อน (ฮังกึล: 인천국제공항, ฮันจา: 仁川國際空港) ตั้งอยู่ที่เกาะยางจอง เมืองอินช็อน ประเทศเกาหลีใต้ ซึ่งอยู่ทางตะวันตกของโซล โดยรองรับการเป็นท่าอากาศยานหลักของเกาหลีใต้ และสายการบินแห่งชาติอย่างโคเรียนแอร์ รวมทั้งเอเชียน่าแอร์ไลน์ และคาร์โก360 แทนที่ท่าอากาศยานกิมโป (เดิมคือท่าอากาศยานนานาชาติกิโป) นับตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: ท่าอากาศยานนานาชาติย่างกุ้งและท่าอากาศยานนานาชาติอินช็อน · ดูเพิ่มเติม »

ท่าอากาศยานนานาชาติอินทิรา คานธี

ท่าอากาศยานนานาชาติอินทิรา คานธี เป็นสนามบินหลักของเขตเมืองหลวงของเดลี ประเทศอินเดีย ตั้งอยู่ที่ปาลาม ห่างจากตัวเมืองนิวเดลีทางทิศตะวันตกเฉียงใต้เป็นระยะทาง ตั้งชื่อตามนางอินทิรา คานธี อดีตนายกรัฐมนตรีของอินเดีย ในปัจจุบันเป็นสนามบินหลัก และมีผู้โดยสารมากที่สุดของอินเดีย หลังจากการเปิดใช้อาคารผู้โดยสารแห่งใหม่ หรือ อาคาร 3 ท่าอากาศยานแห่งนี้จึงได้กลายเป็นสนามบินที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียใต้ และเป็นศูนย์กลางการบินที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งในภูมิภาค พร้อมศักยภาพในการขนส่งผู้โดยสารกว่า 46 ล้านคนต่อปี และมีเป้าหมายที่ 100 ล้านคนต่อปีภายในปีค.ศ. 2030 โดยเมื่อรวมกับท่าอากาศยานนานาชาติฉัตรปติ ศิวาชีที่มุมไบ จะสามารถขนส่งผู้โดยสารมากกว่าครึ่งหนึ่งของภูมิภาคเอเชียใต้ โดยมีบริษัท เดลี อินเตอร์แนชันนัล แอร์พอร์ต ไพรเวท จำกัด (Delhi International Airport Private Limited (DIAL)) เป็นผู้ดำเนินการ ซึ่งมีเป้าหมายและความมุ่งมั่นที่จะทำให้ท่าอากาศยานแห่งนี้เป็นฐานการบินนานาชาติ ในปีค.ศ. 2011 - ค.ศ. 2012 ท่าอากาศยานอินทิรา คานธี ได้รองรับผู้โดยสารเป็นจำนวนรวมทั้งสิ้น 35.88 ล้านคน และโครงการต่อเติมในอนาคตจะเพิ่มขีดศักยภาพให้สามารถรับได้ถึง 100 ล้านคนต่อปีในปีค.ศ. 2030 โดยมีอาคารผู้โดยสาร 3 ที่สามารถรองรับผู้โดยสารเพิ่มมากขึ้นถึง 34 ล้านคนต่อปีตั้งแต่การเปิดกีฬาคอมมอนเวลท์ (Commonwealth Game) ในปีค.ศ. 2010 ซึ่งอาคารผู้โดยสาร 3 นี้เคยได้ถูกบันทึกเป็นอาคารผู้โดยสารที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับที่ 8 ของโลก ในเดือนกันยายน..

ใหม่!!: ท่าอากาศยานนานาชาติย่างกุ้งและท่าอากาศยานนานาชาติอินทิรา คานธี · ดูเพิ่มเติม »

ท่าอากาศยานนานาชาติฮาหมัด

ท่าอากาศยานนานาชาติฮาหมัด (مطار حمد الدولي) เป็น ท่าอากาศยานนานาชาติ ตั้งอยูในโดฮา เมืองหลวงของประเทศกาตาร์ สร้างขึ้นใหม่เพื่อใช้แทน ท่าอากาศยานนานาชาติโดฮา เพื่อเป็นท่าอากาศยานหลักของประเทศ เป็นสนามบินที่รู้จักกันในชื่อเดิมว่า ท่าอากาศยานนานาชาติโดฮาแห่งใหม่ (NDIA), ท่าอากาศยานนานาชาติฮาหมัด เดิมมีกำหนดเปิดให้บริการในปี 2009 แต่ก็เกิดความล่าช้าเรื่องค่าใช้จ่ายทำให้ท่าอากาศยานเปิดใช้จริงในวันที่ 30 เมษายน 2014 โดยเครื่องบินของกาตาร์แอร์เวย์ บินจากท่าอากาศยานนานาชาติโดฮา ผู้ให้บริการหลักอย่าง กาตาร์แอร์เวย์ และผู้ให้บริการรายอื่นๆ ทั้งหมดย้ายมาอย่างเป็นทางการมายังสนามบินใหม่แห่งนี้เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2014.

ใหม่!!: ท่าอากาศยานนานาชาติย่างกุ้งและท่าอากาศยานนานาชาติฮาหมัด · ดูเพิ่มเติม »

ท่าอากาศยานนานาชาติฮ่องกง

ท่าอากาศยานนานาชาติฮ่องกง (จีน: 香港國際機場, จีนกลาง: Xiānggǎng Guójì Jīcháng, จีนกวางตุ้ง: hoeng1 gong2 gwok3 zai3 gei1 coeng4) หรือเรียกโดยทั่วไปว่าสนามบินเช็กล้าบก็อก (จีน: 赤鱲角機場, จีนกลาง: Chìlièjiǎo Jīcháng, จีนกวางตุ้ง: cek3 laap6 gok3 gei1 coeng4) เป็นท่าอากาศยานหลักของเขตบริหารพิเศษฮ่องกง สาธารณรัฐประชาชนจีน เปิดใช้เมื่อปีพ.ศ. 2541 แทนที่ท่าอากาศยานนานาชาติฮ่องกงเดิม ท่าอากาศยานแห่งนี้เปิดใช้งานเพื่อการพาณิชย์เมื่อปี พ.ศ. 2541 และเป็นจุดเปลี่ยนถ่ายผู้โดยสารที่สำคัญของสาธารณรัฐประชาชนจีน เอเชียตะวันออก และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แม้ว่าจะมีประวัติความเป็นมาไม่ยาวนานนัก แต่ท่าอากาศยานแห่งนี้ก็ได้รับรางวัลท่าอากาศยานยอดเยี่ยมระดับนานาชาติมาหลายครั้งในช่วงปี..

ใหม่!!: ท่าอากาศยานนานาชาติย่างกุ้งและท่าอากาศยานนานาชาติฮ่องกง · ดูเพิ่มเติม »

ท่าอากาศยานนานาชาติดูไบ

ท่าอากาศยานนานาชาติดูไบ (อาหรับ: مطار دبي الدولي) ตั้งอยู่ที่ดูไบ, สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เป็นท่าอากาศยานหลักของสายการบินเอมิเรตส์แอร์ไลน.

ใหม่!!: ท่าอากาศยานนานาชาติย่างกุ้งและท่าอากาศยานนานาชาติดูไบ · ดูเพิ่มเติม »

ท่าอากาศยานนานาชาติคันไซ

ทางอากาศ หอควบคุมการบิน ท่าอากาศยานนานาชาติคันไซ เป็นท่าอากาศยานนานาชาติที่ตั้งอยู่เกาะที่มนุษย์สร้างขึ้นในอ่าวโอซะกะ นอกชายฝั่งเมืองเซ็นนังและเมืองอิซุมิซะโนะ จังหวัดโอซะกะ ญี่ปุ่น ออกแบบโดยสถาปนิก Renzo Piano เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 4 กันยายน 2537 โดย ในระหว่างปีงบประมาณ 2015 (พ.ศ. 2558) ท่าอากาศยานแห่งนี้มีเที่ยวบินเข้าและออก 163,506 เที่ยว ในจำนวนนี้มี 72,251 เที่ยวเป็นเที่ยวบินระหว่างประเทศ และอีก 40,328 เที่ยวเป็นเที่ยวบินภายในประเทศ มีผู้โดยสารมาใช้บริการทั้งหมด 23,214,756 คน โดยเป็นผู้โดยสารระหว่างประเทศ 16,250,323 คน และผู้โดยสารภายในประเทศ 5,289,063 คน.

ใหม่!!: ท่าอากาศยานนานาชาติย่างกุ้งและท่าอากาศยานนานาชาติคันไซ · ดูเพิ่มเติม »

ท่าอากาศยานนานาชาติคิมแฮ

ในท่าอากาศยานนานาชาติกิมแฮ (อาคารระหว่างประเทศ) ท่าอากาศยานนานาชาติกิมแฮ IATA: PUS, ICAO: RKPK) ตั้งอยู่ที่สุดฝั่งตะวันตกของเมือง ปูซาน, ประเทศเกาหลีใต้. เปิดให้บริการในปี พ.ศ. 2519. ส่วนอาคารผู้โดยสารระหว่างประเทศ เปิดให้บริการในวันที่ 31 ตุลาคม, 2550. ท่าอากาศยานนานาชาติกิมแฮ ถือเป็นท่าอากาศยานหลักของ แอร์ปูซาน. ทางวิ่งหมายเลข 18L/36R ใช้ในการทหารเท่านั้น, แต่ด้วยสภาพการจราจรทางอากาศที่หนาแน่นขึ้น, จึงมีแผนจะเปิดให้บริการสำหรับสายการบินพลเรือน. ในปี พ.ศ. 2558 มีผู้โดยสารใช้บริการทั้งหมด 12,382,150 คน. ในปี 2556, เมืองปูซานประกาศว่าเตรียมสิ้นสุดการให้บริการสำหรับสายการบินโดยสารที่ท่าอากาศยานนานาชาติกิมแฮ เนื่องจากขนาดท่าอากาศยานที่เล็ก การจราจรทางอากาศที่ขับคั่งและเหตุผลด้านความปลอดภัย. โดยมีแผนจะย้ายท่าอากาศยานของปูซานไปยังเกาะกาด็อกโด, เกาะทางด้านตะวันตกเฉียงใต้ของปูซานและอยู่ทางด้านใต้ของ 'ท่าเรือปูซานนิวพอร์ท' ประมาณ 7 กม.

ใหม่!!: ท่าอากาศยานนานาชาติย่างกุ้งและท่าอากาศยานนานาชาติคิมแฮ · ดูเพิ่มเติม »

ท่าอากาศยานนานาชาติปักกิ่ง

อาคารเทียบเครื่องบิน 3 ท่าอากาศยานนานาชาติปักกิ่ง เป็นสนามบินระหว่างประเทศสนามบินหลักของกรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือห่างจากใจกลางเมืองประมาณ ในเขตฉาวหยาง และบางส่วนของ เขตซุ่นอี้ บริหารงานโดย บริษัทท่าอากาศยานปักกิ่งแคปิตอล ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจ รหัสสนามบิน IATA ของปักกิ่งคือ PEK มาจากการถอดความชื่อของปักกิ่งเป็นอักษรโรมันแบบเดิม (Peking) ท่าอากาศยานนานาชาติปักกิ่ง เป็นท่าอากาศยานหลักของสายการบินแอร์ไชน่า สายการบินแห่งชาติของประเทศจีน ซึ่งมีเที่ยวบินจากที่นี่มากกว่า 120 เส้นทาง (ไม่รวมเที่ยวบินส่งสินค้า) ทั้งนี้ยังมี ไห่หนานแอร์ไลน์ และ ไชน่าเซาเทิร์นแอร์ไลน์ ที่ยึดสนามบินนี้เป็นสนามบินหลักอีกด้วย ท่าอากาศยานนานาชาติปักกิ่ง เพิ่มอาคารผู้โดยสารหลังที่ 3 ในปี..

ใหม่!!: ท่าอากาศยานนานาชาติย่างกุ้งและท่าอากาศยานนานาชาติปักกิ่ง · ดูเพิ่มเติม »

ท่าอากาศยานนานาชาตินาริตะ

ท่าอากาศยานนานาชาตินาริตะ เป็นสนามบินนานาชาติ ตั้งอยู่ที่เมืองนาริตะ จังหวัดชิบะ ประเทศญี่ปุ่น ดำเนินการโดย บริษัทท่าอากาศยานนานาชาตินาริตะ ซึ่งแปรสภาพมาจาก องค์การบริหารงานท่าอากาศยานนานาชาติโตเกียวแห่งใหม่ ท่าอากาศยานนานาชาตินาริตะเป็นสนามบินหลักที่ให้บริการผู้โดยสารระหว่างประเทศที่เดินทางเข้าและออกจากประเทศญี่ปุ่น และเป็นจุดเชื่อมต่อการเดินทางระหว่างทวีปเอเชียและอเมริกา เป็นสนามบินที่รองรับเที่ยวบินสำหรับผู้โดยสารมากอันดับ 2 ของญี่ปุ่น (รองจากสนามบินฮะเนะดะ) เป็นสนามบินที่รองรับการขนส่งทางอากาศเป็นอันดับ 1 ของญี่ปุ่นและอันดับ 3 ของโลก ท่าอากาศยานนานาชาตินาริตะเป็นท่าอากาศยานหลักของสายการบินเจแปนแอร์ไลน์ สายการบินออล นิปปอน แอร์เวย์ และสายการบินนอร์ธเวสต์แอร์ไลน์ และยังเป็นท่าอากาศยานรองของสายการบินยูไนเต็ดแอร์ไลน์ อีกด้วย ท่าอากาศยานานาชาตินาริตะ เคยใช้ชื่อว่า New Tokyo International Airport (新東京国際空港 Shin-Tōkyō Kokusai Kūkō) จนกระทั่งปี..

ใหม่!!: ท่าอากาศยานนานาชาติย่างกุ้งและท่าอากาศยานนานาชาตินาริตะ · ดูเพิ่มเติม »

ท่าอากาศยานนานาชาติโหน่ยบ่าย

ท่าอากาศยานนานาชาติโหน่ยบ่าย (Sân bay Quốc tế Nội Bài) เป็นท่าอากาศยานที่ใหญ่ที่สุดในเวียดนามตอนเหนือ ให้บริการสำหรับบริเวณเมืองหลวงฮานอย ตั้งอยู่ห่างจากใจกลางเมือง 45 กิโลเมตร การเดินทางจากเมืองโดยรถแท็กซี่ใช้เวลา 30-45 นาที.

ใหม่!!: ท่าอากาศยานนานาชาติย่างกุ้งและท่าอากาศยานนานาชาติโหน่ยบ่าย · ดูเพิ่มเติม »

ท่าอากาศยานนานาชาติไต้หวันเถา-ยฺเหวียน

ท่าอากาศยานนานาชาติไต้หวันเถา-ยฺเหวียน (จีนตัวเต็ม: 台灣桃園國際機場 หรือ 臺灣桃園國際機場, ไต้หวันพินอิน: Táiwan Táoyuán Gúojì Jicháng, พินอิน: Táiwān Táoyuán Gúojì Jīcháng) เดิมคือท่าอากาศยานนานาชาติเจียงไคเช็ก (จีนตัวเต็ม: 中正國際機場, ไต้หวันพินอิน: Jhongjhèng Gúojì Jicháng, พินอิน: Zhōngzhèng Gúojì Jīcháng) ตั้งอยู่ที่เมืองเถา-ยฺเหวียน ในเขตไต้หวัน ประเทศสาธารณรัฐจีน เป็นท่าอากาศยานที่ใหญ่ที่สุดของสาธารณรัฐจีน และเป็นท่าอากาศยานหลักของไชน่าแอร์ไลน์ และอีวีเอแอร์ โดยอาคาร 1 รองรับผู้โดยสารได้ 15ล้านคน อาคาร 2 รองรับผู้โดยสารได้ 17ล้านคน รวมกันได้ 32ล้านคนต่อปี.

ใหม่!!: ท่าอากาศยานนานาชาติย่างกุ้งและท่าอากาศยานนานาชาติไต้หวันเถา-ยฺเหวียน · ดูเพิ่มเติม »

ท่าอากาศยานนานาชาติเสียมราฐ

ท่าอากาศยานนานาชาติเสียมราฐ-อังกอร์ (អាកាសយានដ្ឋានអន្តរជាតិសៀមរាបអង្គរ; อากาสยานฐานอนฺตรชาติเสียมราบองฺคร; Siem Reap International Airport, Aéroport International De Siem Reap) คือสนามบินที่ตั้งอยู่ในจังหวัดเสียมราฐ มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองของประเทศกัมพู.

ใหม่!!: ท่าอากาศยานนานาชาติย่างกุ้งและท่าอากาศยานนานาชาติเสียมราฐ · ดูเพิ่มเติม »

ท่าอากาศยานนานาชาติเตินเซินเญิ้ต

ท่าอากาศยานนานาชาติเตินเซินเญิ้ต (Cảng hàng không quốc tế Tân Sơn Nhất) เป็นท่าอากาศยานนานาชาติที่ใหญ่ที่สุดในเวียดนาม ตั้งอยู่ในโฮจิมินห์ซิตี.

ใหม่!!: ท่าอากาศยานนานาชาติย่างกุ้งและท่าอากาศยานนานาชาติเตินเซินเญิ้ต · ดูเพิ่มเติม »

ท่าอากาศยานนานาชาติเฉิงตูซวงหลิว

ท่าอากาศยานนานาชาติเฉิงตูซวงหลิว เป็นท่าอากาศยานขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ในเมืองเฉิงตู ประเทศจีน ตั้งอยู่ห่างจากตัวเมืองไปทางตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ 16 กิโลเมตร ในเขตซวงหลิว ในปี 2552 ท่าอากาศยานแห่งนี้ได้กลายเป็นท่าอากาศยานที่วุ่นวายที่สุดในภาคตะวันตกของจีน มีผู้โดยสารมาใช้บริการทั้งสิ้นกว่า 22,637,762 คน เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2551 ท่าอากาศยานต้องปิดทำการชั่วคราว เนื่องจากเกิดเหตุแผ่นดินไหวในมณฑลเสฉวน พ.ศ. 2551 ในอนาคต ได้มีแผนการก่อสร้างท่าอากาศยานแห่งใหม่ที่เขตจินถัง ซึ่งจะประกอบด้วยรันเวย์ 5 รันเวย์ และเมื่อสร้างเสร็จแล้ว จะช่วยย่นเวลาในการเดินทางจากตัวเมืองเฉิงตูได้ 30 นาที.

ใหม่!!: ท่าอากาศยานนานาชาติย่างกุ้งและท่าอากาศยานนานาชาติเฉิงตูซวงหลิว · ดูเพิ่มเติม »

ท่าอากาศยานนานาชาติเนปยีดอ

ท่าอากาศยานนานาชาติเนปยีดอ (နေပြည်တော်အပြည်ပြည်ဆိုင်ရာလေဆိပ်; Naypyidaw International Airport) เป็นท่าอากาศยานนานาชาติแห่งที่ 3 ของพม่า นับจากท่าอากาศยานนานาชาติย่างกุ้งและท่าอากาศยานนานาชาติมัณฑะเลย์ ตั้งอยู่ห่างจากกรุงเนปยีดอ เมืองหลวงของพม่า ไปทางตะวันออกเฉียงใต้ราว 16 กิโลเมตร ท่าอากาศยานมีพื้นที่ทั้งหมด 111,500 ตารางเมตร ทางวิ่งยาว 3.6 กิโลเมตร โดยบริษัท China Harbour Engineering Company Ltd.

ใหม่!!: ท่าอากาศยานนานาชาติย่างกุ้งและท่าอากาศยานนานาชาติเนปยีดอ · ดูเพิ่มเติม »

ท่าอากาศยานแม่สอด

ท่าอากาศยานแม่สอด หรือ สนามบินแม่สอด (Mae Sot Airport) ตั้งอยู่ที่ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ท่าอากาศยานแม่สอด เดิมเป็นท่าอากาศยานเล็ก ๆ อยู่ทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศไทย สร้างขึ้นมาหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ตั้งอยู่ที่ตำบลท่าสายลวด อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก เดิมเป็นสนามบิน ที่ใช้ในกิจการทหารอยู่ในความดูแลของกองทัพอากาศ ในปี 2473 ดำเนินการเป็นรัฐพาณิชย์ กองการบินพลเรือน กระทรวงพาณิชย์ ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ประเทศญี่ปุ่น ได้ใช้สนามบินแห่งนี้เป็นหน่วยบินในการปฏิบัติการ ทางอากาศ โจมตีฝ่ายสัมพันธมิตรในประเทศพม่า เมื่อสงครามโลกครั้งที่สอง สงบลงในปี..

ใหม่!!: ท่าอากาศยานนานาชาติย่างกุ้งและท่าอากาศยานแม่สอด · ดูเพิ่มเติม »

ท่าอากาศยานเชียงใหม่

มุมสูงของท่าอากาศยานเชียงใหม่ มองจากวัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร ภายในอาคารท่าอากาศยานเชียงใหม่ Boeing 737-800 ของสายการบินนกแอร์ ที่สนามบินเชียงใหม่ Airbus A319 ของสายการบินบางกอกแอร์เวย์ ที่สนามบินเชียงใหม่ ท่าอากาศยานเชียงใหม่ หรือสนามบินเชียงใหม่ (Chiang Mai International Airport) ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ ห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่ 4 กิโลเมตร ในตำบลสุเทพ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ เป็นท่าอากาศยานนานาชาติ 1 ในจำนวนทั้งหมด 6 แห่ง ที่ดำเนินงานโดยบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) เป็นศูนย์กลางทางการบินของภาคเหนือ โดยมีเที่ยวบินเข้าออกหนาแน่นเป็นลำดับสี่ รองจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ท่าอากาศยานดอนเมือง และท่าอากาศยานภูเก็ต.

ใหม่!!: ท่าอากาศยานนานาชาติย่างกุ้งและท่าอากาศยานเชียงใหม่ · ดูเพิ่มเติม »

ดรากอนแอร์

ร์กอน(จีน:國泰港龍航空)หรือชือเก่า ดรากอนแอร์(จีน:港龍航空公司) เป็นสายการบินภายในภูมิภาคสัญชาติฮ่องกง ซึ่งเป็นบริษัทลูกของสายการบินคาเธ่ย์แปซิฟิค มีฐานการบินและสำนักงานใหญ่อยู่ที่ท่าอากาศยานนานาชาติฮ่องกง ปัจจุบันทำการบินใน 47 เส้นทาง โดยที่เป็นเส้นทางในประเทศจีนจำนวน 22 เส้นทาง โดยสายการบินดรากอนแอร์มีข้อตกลงการบินโดยใช้รหัสเที่ยวบินร่วมกัน (โค้ดแชร์) กับสายการบินพันธมิตรอื่นๆอีก 5 สายการบิน คือ คาเธ่ย์แปซิฟิค, แอร์ไชนา, มาเลเซียแอร์ไลน์, S7แอร์ไลน์ และ เซินเจิ้นแอร์ไลน.

ใหม่!!: ท่าอากาศยานนานาชาติย่างกุ้งและดรากอนแอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ซิลค์แอร์

ซิลค์แอร์ (SilkAir) เป็นสายการบินภายในภูมิภาคอันเป็นบริษัทลูกของสิงคโปร์แอร์ไลน์ มีเส้นทางบินจากสิงคโปร์ไปยัง 44 เมืองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้, อินเดีย, จีน และ ออสเตรเลีย สายการบินนี้ก่อตั้งเมื่อปี..

ใหม่!!: ท่าอากาศยานนานาชาติย่างกุ้งและซิลค์แอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศพม่า

ม่า หรือ เมียนมา (မြန်မာ,, มฺยะหฺม่า) มีชื่อทางการว่า สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า หรือ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา (ပြည်ထောင်စု သမ္မတ မြန်မာနိုင်ငံတော်, ปหฺยี่เด่าง์ซุ ตัมมะดะ มฺยะหฺม่า ไหฺน่หฺงั่นด่อ) เป็นรัฐเอกราชในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพรมแดนติดกับอินเดีย บังกลาเทศ จีน ลาว และไทย หนึ่งในสามของพรมแดนพม่าที่มีความยาว 1,930 กิโลเมตรเป็นแนวชายฝั่งตามอ่าวเบงกอลและทะเลอันดามัน ด้วยพื้นที่ 676,578 ตารางกิโลเมตร ประเทศพม่าเป็นประเทศที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 40 ของโลก และใหญ่เป็นอันดับที่ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สำมะโนของประเทศในปี 2557 เผยว่าประเทศพม่ามีประชากรน้อยกว่าที่คาดการณ์ โดยมีบันทึกประชากร 51 ล้านคน มีเมืองหลวง คือ กรุงเนปยีดอ และนครใหญ่สุด คือ ย่างกุ้ง อารยธรรมช่วงต้นของประเทศพม่ามีนครรัฐปยูที่พูดภาษาตระกูลทิเบต-พม่าในพม่าตอนบน และราชอาณาจักรมอญในพม่าตอนล่าง ในคริสต์ศตวรรษที่ 9 ชาวพม่าได้เข้าครอบครองบริเวณลุ่มแม่น้ำอิรวดีตอนบน และสถาปนาราชอาณาจักรพุกามในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1050 ภาษาและวัฒนธรรมพม่าพร้อมด้วยศาสนาพุทธนิกายเถรวาทค่อย ๆ ครอบงำในประเทศ อาณาจักรพุกามล่มสลายเพราะการบุกครองของมองโกลและรัฐหลายรัฐกำเนิดขึ้น ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ราชวงศ์ตองอูสร้างเอกภาพอีกครั้ง และช่วงสั้น ๆ เป็นจักรวรรรดิใหญ่สุดในประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ต้นศตวรรษที่ 19 ราชวงศ์คองบองได้ปกครองพื้นที่ประเทศพม่าและควบคุมมณีปุระและอัสสัมในช่วงสั้น ๆ ด้วย บริติชพิชิตพม่าหลังสงครามอังกฤษ-พม่าทั้งสามครั้งในคริสต์ศตวรรษที่ 19 และประเทศกลายเป็นอาณานิคมบริติช ประเทศพม่าได้รับเอกราชใน..

ใหม่!!: ท่าอากาศยานนานาชาติย่างกุ้งและประเทศพม่า · ดูเพิ่มเติม »

นกแอร์

นกแอร์ (อังกฤษ: Nok Air) เป็นสายการบินราคาประหยัดของประเทศไทย เปิดตัวอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547 ภายใต้ชื่อบริษัท สกายเอเชีย จำกัด (Sky Asia Ltd.) เริ่มทำการบินครั้งแรกวันที่ 23 กรกฎาคม 2547 และเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2549 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท สายการบินนกแอร์ จำกัด (Nok Airlines Co., Ltd.) ต่อมาได้เปลี่ยนชื่ออีกครั้งเป็น บริษัทสายการบินนกแอร์ จำกัด (มหาชน) (Nok Airlines Public Company Limited) เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2556 เพื่อเตรียมนำบริษัทเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และเริ่มซื้อขายบนกระดานหลักทรัพย์ได้ในวันที่ 20 มิถุนายนปีเดียวกัน สายการบินนกแอร์ ก่อตั้งขึ้นโดยมีบริษัทร่วมทุนดังนี้ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) (ถือหุ้น 49%) บริษัท นกแอร์แมนเนจเม้นท์ฮ่องกง จำกัด (25%) บริษัท ทุนลดาวัลย์ จำกัด (สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์) (6%) ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) (5%) บริษัท คิง เพาเวอร์ อินเตอร์เนชั่นแนลจำกัด (5%) ผู้ถือหุ้นรายอื่น ๆ (10%) โดยมีนายพาที สารสิน เป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ตั้งแต่ก่อตั้งสายการบิน จนกระทั่งนายพาทีลาออกจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 14 กันยายน 2560 ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทจึงได้แต่งตั้งนายปิยะ ยอดมณี รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหารแทน.

ใหม่!!: ท่าอากาศยานนานาชาติย่างกุ้งและนกแอร์ · ดูเพิ่มเติม »

แอร์อินเดีย

แอร์อินเดีย (एअर इंडिया) เป็นสายการบินแห่งชาติของประเทศอินเดีย สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่เมืองมุมไบ เป็นสายการบินที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 16 ของทวีปเอเชีย ให้บริการใน 24 จุดหมายปลายทางทั่วโลก และมีข้อตกลงการบินร่วมอีกกว่า 13 สายการบิน.

ใหม่!!: ท่าอากาศยานนานาชาติย่างกุ้งและแอร์อินเดีย · ดูเพิ่มเติม »

แอร์ไชนา

แอร์ไชนา (อังกฤษ: Air China, จีนตัวย่อ: 中国国际航空公司, พินอิน: Zhōngguó Guójì Hángkōng Gōngsī) เป็นสายการบินแห่งชาติของสาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นรัฐวิสาหกิจในรัฐบาล และเป็นสายการบินใหญ่อันดับสองของจีนรองจากสายการบินไชนาเซาต์เทิร์นแอร์ไลน์ มีขนาดฝูงบินเป็นอันดับที่ 18 ของโลก มีฐานบินหลักอยู่ที่ท่าอากาศยานนานาชาติปักกิ่ง, ท่าอากาศยานนานาชาติเฉิงตูซวงหลิว, และท่าอากาศยานนานาชาติเซี่ยงไฮ้ผู่ตง เป็นหนึ่งในพันธมิตรสายการบินสตาร์อัลไลแอนซ.

ใหม่!!: ท่าอากาศยานนานาชาติย่างกุ้งและแอร์ไชนา · ดูเพิ่มเติม »

แอร์เอเชีย

การบินแอร์เอเชีย เป็นสายการบินต้นทุนต่ำที่ก่อตั้งขึ้นในประเทศมาเลเซีย และเป็นสายการบินที่ให้บริการด้วยค่าโดยสารที่ถูกที่สุดในเอเชีย กลุ่มแอร์เอเชีย ดำเนินการให้บริการเที่ยวบินทั่งในประเทศ และ ระหว่างประเทศ โดยมีจุดหมายปลายทางมากกว่า 400 เมืองใน 25 ประเทศ และมีท่าอากาศยานหลักคือ ท่าอากาศยานนานาชาติกัวลาลัมเปอร์ โดยให้บริการที่อาคารผู้โดยสาร อาคาร KLIA2 และยังมี สายการบินไทยแอร์เอเชีย, สายการบินอินโดนีเซียแอร์เอเชีย เข้ามาใช้บริการร่วมด้วย แอร์เอเชียมาเลเซีย มีสำนักงานจดทะเบียนตั้งอยู่ที่เปอตาลิงจายา, รัฐเซอลาโงร์ ประเทศมาเลเซีย และมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ ท่าอากาศยานนานาชาติกัวลาลัมเปอร์ แอร์เอเชียมีแผนจะเปิดสำนักงานใหญ่ประจำภูมิภาคอาเซียนในจาการ์ตา ในปี..

ใหม่!!: ท่าอากาศยานนานาชาติย่างกุ้งและแอร์เอเชีย · ดูเพิ่มเติม »

โคเรียนแอร์

รียนแอร์ (ฮันกึล: 대한항공, ฮันจา: 大韓航空) เป็นสายการบินแห่งชาติของประเทศเกาหลีใต้ และเป็นสายการบินที่ใหญ่ที่สุด มีสำนักงานใหญ่ที่โซล มีฐานบินหลักที่ท่าอากาศยานนานาชาติอินชอนและท่าอากาศยานกิมโป นอกจากนี้ยังมีท่าอากาศยานรองอีก คือ ท่าอากาศยานนานาชาติเชจู และท่าอากาศยานนานาชาติกิมแฮ เมืองปูซาน เป็นหนึ่งในพันธมิตรสายการบินสกายทีม แต่เดิมสายการบิน โคเรียนแอร์ นั้นก่อตั้งขึ้นโดยรัฐบาลเกาหลีใต้ในปี 1962 ต่อมาในเดือนมีนาคม ปี1969 กลุ่มบริษัท ฮันจินอินดัสตรีกรุ๊ป (Hanjin Transport Group) ซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มแชโบล ที่ก่อตั้งโดยนาย โช ชุง-ฮุน บิดาของนาย โช ยัง-โฮ เข้าถือหุ้นใหญ่และเป็นผู้บริหารสายการบินโคเรียนแอร์ นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นม.

ใหม่!!: ท่าอากาศยานนานาชาติย่างกุ้งและโคเรียนแอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ไชนาอีสเทิร์นแอร์ไลน์

China Eastern Airlines and Shanghai Airlines headquarters ไชนาอีสเทิร์นแอร์ไลน์ เป็นสายการบินที่ให้บริการทั้งเส้นทางภายในประเทศ และเส้นทางระหว่างประเทศ โดยมีฐานการบินหลักอยู่ที่ท่าอากาศยานนานาชาติซ่างไห่ผู่ตง และท่าอากาศยานนานาชาติซ่างไห่หงเฉียว และยังมีฐานการบินที่ท่าอากาศยานนานาชาติคุนหมิงอูเจียป้า และท่าอากาศยานนานาชาติซีอานเสียนหยาง ไชนาอีสเทิร์นแอร์ไลน์ เป็นสายการบินที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองของจีน เมื่อนับจากจำนวนผู้โดยสาร และเมื่อวันที่ 16 เมษายน..2010 ไชนาอีสเทิร์นแอร์ไลน์ได้ประกาศตัวเข้าเป็นสามชิกของกลุ่มสกายทีม.

ใหม่!!: ท่าอากาศยานนานาชาติย่างกุ้งและไชนาอีสเทิร์นแอร์ไลน์ · ดูเพิ่มเติม »

ไชนาแอร์ไลน์

CAL Park, China Airlines headquarters The former China Airlines headquarters in Taipei ไชน่าแอร์ไลน์ เป็นสายการบินแห่งชาติของสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) มีฐานบินหลักอยู่ที่ท่าอากาศยานนานาชาติไต้หวันเถาหยวน และมีสำนักงานใหญ่ที่เขตต้าหยวน เทศมณฑลเถาหยวน ให้บริการจุดหมายปลายทางทั้งในทวีปเอเชีย ยุโรป อเมริกาเหนือ และโอเชียเนีย โดยเฉพาะการเปิดเส้นทางระหว่างไต้หวันกับจีนแผ่นดินใหญ่ซึ่งเริ่มให้บริการเมื่อเดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2551 จุดหมายที่สำคัญคือเมืองเซี่ยงไฮ้ กวางโจว ปักกิ่ง และฮ่องกง คู่แข่งที่สำคัญของไชนาแอร์ไลน์ คือสายการบินอีวาแอร์ซึ่งเป็นสายการบินเอกชนของไต้หวัน ในเครื่อเอเวอร์กรีน.

ใหม่!!: ท่าอากาศยานนานาชาติย่างกุ้งและไชนาแอร์ไลน์ · ดูเพิ่มเติม »

ไชนาเซาเทิร์นแอร์ไลน์

China Southern head office ไชนาเซาเทิร์นแอร์ไลน์ เป็นสายการบินหนึ่งในสามสายการบินหลักสัญชาติจีน สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ เขตไป่หยวน เมืองกว่างโจว มณฑลกวางตุ้ง สาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นสายการบินที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 6 ของโลกในจำนวนผู้โดยสาร เป็นสายการบินที่มีขนาดฝูงบินใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชีย, และอันดับ 4 ของโลกในจำนวนผู้โดยสารเดินทางภายในประเทศ มีฐานบินหลักอยู่ที่ท่าอากาศยานนานาชาติกว่างโจวไป้หยวน และท่าอากาศยานนานาชาติปักกิ่ง กับ 121 จุดหมายปลายทาง ปัจจุบันเข้าร่วมกลุ่มพันธมิตรทางการบินสกายทีม ในปี..

ใหม่!!: ท่าอากาศยานนานาชาติย่างกุ้งและไชนาเซาเทิร์นแอร์ไลน์ · ดูเพิ่มเติม »

ไทยแอร์เอเชีย

ทยแอร์เอเชีย (IATA: FD, ICAO: AIQ, Callsign: THAI ASIA) ด้วยสโลแกนหลัก ใคร ใคร...ก็บินได้ (Now Everyone Can Fly) เป็นแรงจูงใจและกระตุ้นให้ผู้โดยสารที่ไม่เคยเดินทางโดยเครื่องบิน ได้เดินทางด้วยราคาที่เหมาะสม ซึ่งรูปแบบการนำเสนอคือ การเดินทางแบบเรียบง่าย การเดินทางในระยะสั้นตั๋วค่าโดยสารไม่ถูกบวกเพิ่มด้วยอาหาร และเครื่องดื่ม สายการบินไทยแอร์เอเชีย มีความโดดเด่น เนื่องจากเป็นสายการบินที่มีราคาเหมาะสม จากต้นทุนได้ถูกควบคุมในทุกวิธีการ อีกทั้งวัฒนธรรมทางองค์กรที่มีการบริหารงานอย่างมืออาชีพ ทำให้สายการบินไทยแอร์เอเชีย เติบโตได้อย่างรวดเร็วมากภายในระยะเวลาไม่กี่ปี สายการบินไทยแอร์เอเชีย มีความแปลกใหม่ และเน้นการใช้เทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์เป็นอย่างมาก โดยลดต้นทุนจากการใช้งานบุคลากรให้ใช้งานผ่านระบบออนไลน์ ซึ่งมีความสะดวกรวดเร็วมากกว่า พร้อมทั้งจ่ายด้วยบัตรเครดิตได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย โดยการจองที่นั่งผ่านทางระบบออนไลน์ ไทยแอร์เอเชียยังเป็นสายการบินผู้ให้การสนับสนุนคณะกรรมการผู้ตัดสินฟุตบอลไทยพรีเมียร์ลีก 2012 อย่างเป็นทางการ และ ทีมฟุตบอลต่างๆ ที่สังกัดสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยอีกด้ว.

ใหม่!!: ท่าอากาศยานนานาชาติย่างกุ้งและไทยแอร์เอเชีย · ดูเพิ่มเติม »

ไทยไลอ้อนแอร์

ทยไลอ้อนแอร์ เป็นสายการบินต้นทุนต่ำในประเทศไทย สายการบินไทยไลอ้อนแอร์ เกิดจากการร่วมทุนระหว่างสายการบินไลอ้อนแอร์ ประเทศอินโดนีเซีย และกลุ่มนักธุรกิจชาวไทย โดยจะเริ่มต้นเปิดให้บริการจาก กรุงเทพ - ดอนเมือง ไปยังเส้นทางภายในประเทศ และเส้นทางระหว่างประเทศ โดยเริ่มให้บริการในวันที่ 29 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: ท่าอากาศยานนานาชาติย่างกุ้งและไทยไลอ้อนแอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ไทเกอร์แอร์

ทเกอร์แอร์ (Tigerair) หรือชื่อเดิมคือ ไทเกอร์ แอร์เวย์ (Tiger Airways) คือสายการบินราคาประหยัดที่มีฐานการบินอยู่ที่ประเทศสิงคโปร์"." Civil Aviation Authority of Singapore.

ใหม่!!: ท่าอากาศยานนานาชาติย่างกุ้งและไทเกอร์แอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เวียดนามแอร์ไลน์

แอร์บัส เอ 321 ของเวียดนาม แอร์ไลน์ เวียดนาม แอร์ไลน์ (เวียดนาม: Tổng công ty Hàng không Quốc gia Việt Nam) เป็นสายการบินแห่งชาติของประเทศเวียดนาม เดิมเป็นหน่วยงานของรัฐ ก่อนที่จะแปรรูปกิจการมาเป็นเวียดนาม แอร์ไลน์ คอร์ปอเรชั่น ในปี..

ใหม่!!: ท่าอากาศยานนานาชาติย่างกุ้งและเวียดนามแอร์ไลน์ · ดูเพิ่มเติม »

เวียดเจ็ทแอร์

วียดเจ็ทเอวิชัน (VietJet Aviation) หรือ สายการบินเวียดเจ็ทแอร์ เป็นสายการบินต้นทุนต่ำสัญชาติเวียดนาม และเป็นสายการบินเอกชนแห่งแรกของเวียดนาม จัดตั้งขึ้นเมื่อเดือนพฤศจิกายน..

ใหม่!!: ท่าอากาศยานนานาชาติย่างกุ้งและเวียดเจ็ทแอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เอเชียน่าแอร์ไลน์

อเชียนาแอร์ไลน์ (Asiana Airlines) เป็นสายการบินที่มีฐานอยู่ที่โซล สาธารณรัฐเกาหลี และเป็นหนึ่งในสองสายการบินหลักของเกาหลีใต้ เอเชียนาแอร์ไลน์เป็นสมาชิกของ Star Alliance และให้บริการเส้นทางการบินไปยังจุดหมายปลายทางภายในประเทศ 12 แห่ง และระหว่างประเทศ 73 แห่งใน 17 ประเทศ สำนักงานใหญ่และศูนย์กลางระหว่างประเทศของเอเชียนาแอร์ไลน์ตั้งอยู่ที่ท่าอากาศยานนานาชาติอินชอน (ใกล้กับโซล) ขณะที่ศูนย์กลางภายในประเทศตั้งอยู่ที่ท่าอากาศยานนานาชาติกิมโป.

ใหม่!!: ท่าอากาศยานนานาชาติย่างกุ้งและเอเชียน่าแอร์ไลน์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Yangon International Airport

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »