โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เทศกาลทุ่งทานตะวันบาน

ดัชนี เทศกาลทุ่งทานตะวันบาน

ทศกาลทุ่งทานตะวันบาน เป็นชื่อเรียกเทศกาลรวมๆ ในการจัดชมดอกทานตะวันในบริเวณภาคกลางของประเทศไทย จะจัดขึ้นโดยจะมีในช่วงเดือนพฤศจิกายน - กุมภาพันธ์ ของทุกปี โดยมีพื้นที่ปลูกใน อำเภอพัฒนานิคม บางส่วนของอำเภอเมืองลพบุรี รวมทั้งบริเวณโดยรอบเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ และรวมถึงพื้นที่ติดต่อกันในจังหวัดสระบุรีอีกด้วย การเยี่ยมชมทุ่งทานตะวันบาน สามารถเดินทางมาได้หลายเส้นทาง โดยทางถนนให้เดินทางมาตามถนนพหลโยธิน ก่อนเข้าเมืองลพบุรี 5 กิโลเมตร ให้เลี้ยวขวา เข้าเส้นทางไป อำเภอพัฒนานิคม (ตามทางหลวงหมายเลย 3017) มุ่งหน้าเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ หรือเส้นทางที่สอง เดินทางตามถนนพหลโยธิน มาถึงสามแยกพุแค ให้ไปทางจังหวัดเพชรบูรณ์ (ตามทางหลวงหมายเลข 21) มุ่งหน้าสู่อำเภอพัฒนานิคมเช่นกัน ซึ่งทั้งสองเส้นทางนี้ในช่วงที่มีเทศกาลทุ่งทานตะวันบาน จะมีทิวทัศน์สองข้างทางที่สวยงามมาก ท่านสามารถเยี่ยมชม ถ่ายภาพ ในทุ่งทานตะวันได้ โดยอาจเสียค่าเยี่ยมชมเล็กน้อย รวมทั้งยังสามารถซื้อของฝาก เช่น น้ำผึ้ง ของฝากจากจังหวัดลพบุรี หรือผลิตภัณฑ์จากดอกทานตะวันได้อีกด้วย อีกเส้นทางหนึ่งที่นิยมคือ เส้นทางรถไฟ โดยจะมีรถไฟออกเดินทางจาก สถานีรถไฟหัวลำโพงทุกวัน ซึ่งสามารถสอบถามข้อมูลจากการรถไฟแห่งประเทศไทยโดยการโทร 1690 โดยขบวนรถไฟจะวิ่งผ่านอ่างเก็บน้ำของ เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์บางขบวนจะจอดที่ เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์เพื่อให้ผู้โดยสารได้แวะถ่ายภาพอีกด้ว.

6 ความสัมพันธ์: สถานีรถไฟกรุงเทพอำเภอพัฒนานิคมอำเภอเมืองลพบุรีจังหวัดสระบุรีทานตะวันเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์

สถานีรถไฟกรุงเทพ

นอกสถานีรถไฟกรุงเทพ ภายในสถานีรถไฟกรุงเทพ สถานีรถไฟกรุงเทพ หรือที่นิยมเรียกกันว่า สถานีรถไฟหัวลำโพง เป็นสถานีรถไฟหลักของประเทศไทย และเป็นสถานีที่เก่าแก่ที่สุด สร้างในสมัย รัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2453 สร้างเสร็จและเริ่มใช้งาน วันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2459 ในปัจจุบันสถานีรถไฟหัวลำโพง มีทางเชื่อมต่อที่มีรูปแบบทางสถาปัตยกรรมที่ดูกลมกลืนกับรถไฟฟ้ามหานครหรือรถไฟฟ้าใต้ดินบริเวณถนนพระรามที่ 4 การก่อสร้างสถานีกรุงเทพ ก่อสร้างในลักษณะโดมสไตล์อิตาเลียนผสมกับศิลปะแบบเรอเนสซองซ์ ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับสถานีรถไฟแฟรงก์เฟิร์ตในประเทศเยอรมนี การประดับหลัก ประดับด้วยหินอ่อนและเพดานมีการสลักลายนูนต่าง ๆ โดยมีนาฬิกาขนาดใหญ่ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 160 เซนติเมตร ตั้งอยู่กลางสถานีรถไฟเป็นสัญลักษณ์แห่งหนึ่ง สถานีกรุงเทพ มีรถไฟประมาณ 200 ขบวนต่อวัน โดยมีผู้โดยสารหลายหมื่นคน (ข้อมูลปี พ.ศ. 2561) โดยเฉพาะช่วงวันสำคัญ เช่น วันขึ้นปีใหม่ วันสงกรานต์ จะมีผู้โดยสารเป็นจำนวนมาก.

ใหม่!!: เทศกาลทุ่งทานตะวันบานและสถานีรถไฟกรุงเทพ · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอพัฒนานิคม

อำเภอพัฒนานิคม เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดลพบุรี และเป็นอำเภอที่ตั้งของเขื่อนป่าสักชลสิท.

ใหม่!!: เทศกาลทุ่งทานตะวันบานและอำเภอพัฒนานิคม · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอเมืองลพบุรี

อำเภอเมืองลพบุรี เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดลพบุรี.

ใหม่!!: เทศกาลทุ่งทานตะวันบานและอำเภอเมืองลพบุรี · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดสระบุรี

ังหวัดสระบุรี เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลางของประเทศไทย ตั้งอยู่ทางตะวันออกของภาคกลาง นับเป็นเสมือนด่านผ่านระหว่างภาคกลางกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีแหล่งท่องเที่ยวมากมายทั้งทางประวัติศาสตร์และแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และยังเป็นเมืองที่มีความสำคัญต่อภาคอุตสาหกรรมลำดับต้น ๆ ของประเทศไทย สภาพภูมิศาสตร์ของจังหวัดสระบุรี นับว่าเป็นทำเลแห่งการเพาะปลูก ได้รับความอุดมสมบูรณ์จากแม่น้ำสายหลัก คือแม่น้ำป่าสัก และสภาพโดยทั่วไปเป็นที่ราบลุ่ม.

ใหม่!!: เทศกาลทุ่งทานตะวันบานและจังหวัดสระบุรี · ดูเพิ่มเติม »

ทานตะวัน

ทานตะวัน มีชื่อตามภาษาถิ่นพายัพว่า บัวผัด เป็นพืชปีเดียว (annual plant) อยู่ในแฟมิลี Asteraceae มีฐานรองกลุ่มดอก (Inflorescence) ขนาดใหญ่ ลำต้นโตได้สูงถึง 3 เมตร ฐานรองกลีบดอกอาจกว้างได้ถึง 30 เซนติเมตร ชื่อ"ทานตะวัน"ถูกใช้อ้างอิงถึงพืชทั้งหมดในสกุล Helianthus ด้วยเช่นกัน ทานตะวัน เป็นพืชท้องถิ่นของอเมริกากลาง มีหลักฐานแสดงให้เห็นว่ามีการปลูกดอกทานตะวันในประเทศเม็กซิโกตั้งแต่ประมาณ 2600 ปีก่อนคริสตกาล.

ใหม่!!: เทศกาลทุ่งทานตะวันบานและทานตะวัน · ดูเพิ่มเติม »

เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์

ื่อนป่าสักชลสิทธิ์ เป็นเขื่อนดินกักเก็บน้ำที่ยาวที่สุดในประเทศไทย สืบค้นวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2551ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเพื่อป้องกันปัญหาน้ำท่วม เริ่มดำเนินการก่อสร้างในวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2537 โดยกรมชลประทานเป็นผู้รับผิดชอบ สืบค้นวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2551.

ใหม่!!: เทศกาลทุ่งทานตะวันบานและเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ทุ่งทานตะวัน

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »