โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ที่หยุดรถไฟหัวมาด

ดัชนี ที่หยุดรถไฟหัวมาด

ที่หยุดรถไฟหัวมาด (Hua Mat Railway Station) ตั้งอยู่ที่หมู่ 5 บ้านหัวมาด ตำบลทุ่งหลวง อำเภอละแม จังหวัดชุมพร อยู่ห่างจากสถานีรถไฟกรุงเทพเป็นระยะทาง 562.58 กิโลเมตร และอยู่ห่างจากอยู่ห่างจากสถานีรถไฟธนบุรีเป็นระยะทาง 546.03 กิโลเมตร เป็นที่หยุดรถไฟของทางรถไฟสายใต้ อยู่ระหว่าง สถานีรถไฟคลองขนาน และ สถานีรถไฟละแม ตัวย่อของสถานีคือ มั.

11 ความสัมพันธ์: การรถไฟแห่งประเทศไทยกิโลเมตรสถานีรถไฟชุมพรสถานีรถไฟชุมทางหาดใหญ่สถานีรถไฟกรุงเทพสถานีรถไฟละแมสถานีรถไฟธนบุรีสถานีรถไฟคลองขนานอำเภอละแมจังหวัดชุมพรทางรถไฟสายใต้

การรถไฟแห่งประเทศไทย

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: ที่หยุดรถไฟหัวมาดและการรถไฟแห่งประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

กิโลเมตร

กิโลเมตร อักษรย่อ กม. (mètre, km) เป็นหน่วยวัดความยาว มีขนาดเท่ากับ 1 × 103 เมตร.

ใหม่!!: ที่หยุดรถไฟหัวมาดและกิโลเมตร · ดูเพิ่มเติม »

สถานีรถไฟชุมพร

นีรถไฟชุมพร ตั้งอยู่ ถนนนวมินทร์รวมใจ ตำบลท่าตะเภา อำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร เป็นสถานีรถไฟชั้น 1 ของทางรถไฟสายใต้ สถานีชุมพร เป็นจุดเติมน้ำมัน จุดแรก ของทางรถไฟสายใต้ หลังจากออกมาจากสถานีกรุงเทพ, สถานีธนบุรี และ ย่านรับส่งสินค้าพหลโยธิน และ รถไฟจากเส้นทางสายใต้ทุกขบวนที่จะเข้าสถานีกรุงเทพ สถานีธนบุรี และย่านรับส่งสินค้าพหลโยธิน ดังนั้นรถไฟต้องจอดทุกขบวน.

ใหม่!!: ที่หยุดรถไฟหัวมาดและสถานีรถไฟชุมพร · ดูเพิ่มเติม »

สถานีรถไฟชุมทางหาดใหญ่

นีรถไฟชุมทางหาดใหญ่ ตั้งอยู่บนถนนรถไฟ ตำบลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เป็นสถานีรถไฟ ระดับ 1 ของทางรถไฟสายใต้ โดยจากจุดนี้ทางรถไฟจะแยกออกเป็นสองสาย คือ.

ใหม่!!: ที่หยุดรถไฟหัวมาดและสถานีรถไฟชุมทางหาดใหญ่ · ดูเพิ่มเติม »

สถานีรถไฟกรุงเทพ

นอกสถานีรถไฟกรุงเทพ ภายในสถานีรถไฟกรุงเทพ สถานีรถไฟกรุงเทพ หรือที่นิยมเรียกกันว่า สถานีรถไฟหัวลำโพง เป็นสถานีรถไฟหลักของประเทศไทย และเป็นสถานีที่เก่าแก่ที่สุด สร้างในสมัย รัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2453 สร้างเสร็จและเริ่มใช้งาน วันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2459 ในปัจจุบันสถานีรถไฟหัวลำโพง มีทางเชื่อมต่อที่มีรูปแบบทางสถาปัตยกรรมที่ดูกลมกลืนกับรถไฟฟ้ามหานครหรือรถไฟฟ้าใต้ดินบริเวณถนนพระรามที่ 4 การก่อสร้างสถานีกรุงเทพ ก่อสร้างในลักษณะโดมสไตล์อิตาเลียนผสมกับศิลปะแบบเรอเนสซองซ์ ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับสถานีรถไฟแฟรงก์เฟิร์ตในประเทศเยอรมนี การประดับหลัก ประดับด้วยหินอ่อนและเพดานมีการสลักลายนูนต่าง ๆ โดยมีนาฬิกาขนาดใหญ่ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 160 เซนติเมตร ตั้งอยู่กลางสถานีรถไฟเป็นสัญลักษณ์แห่งหนึ่ง สถานีกรุงเทพ มีรถไฟประมาณ 200 ขบวนต่อวัน โดยมีผู้โดยสารหลายหมื่นคน (ข้อมูลปี พ.ศ. 2561) โดยเฉพาะช่วงวันสำคัญ เช่น วันขึ้นปีใหม่ วันสงกรานต์ จะมีผู้โดยสารเป็นจำนวนมาก.

ใหม่!!: ที่หยุดรถไฟหัวมาดและสถานีรถไฟกรุงเทพ · ดูเพิ่มเติม »

สถานีรถไฟละแม

นีรถไฟละแม ตั้งอยู่ถนนราษฎร์พัฒนา ตำบลละแม อำเภอละแม จังหวัดชุมพร เป็นสถานีรถไฟชั้น 3 ของทางรถไฟสายใต้.

ใหม่!!: ที่หยุดรถไฟหัวมาดและสถานีรถไฟละแม · ดูเพิ่มเติม »

สถานีรถไฟธนบุรี

ัญญาหางปลาที่สถานี ดูเพิ่มที่ สถานีรถไฟธนบุรี (แก้ความกำกวม) สถานีรถไฟธนบุรี หรือเดิมเรียกว่า สถานีรถไฟบางกอกน้อย ตั้งอยู่บนถนนรถไฟ แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร บริเวณตลาดรถไฟ (แห่งใหม่) มีความสำคัญในฐานะเป็นสถานีต้นทางของรถไฟสายใต้ และสายตะวันตก สถานีรถไฟบางกอกน้อย เปิดเมื่อ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2446 โดยมีสถานีต้นทางอยู่สถานีรถไฟบางกอกน้อย ปลายทางไปที่สถานีรถไฟเพชรบุรี.

ใหม่!!: ที่หยุดรถไฟหัวมาดและสถานีรถไฟธนบุรี · ดูเพิ่มเติม »

สถานีรถไฟคลองขนาน

นีรถไฟคลองขนาน ตั้งอยู่บ้านคลองขนาน หมู่ 10 ตำบลบ้านควน อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร เป็นสถานีรถไฟชั้น 4 ของทางรถไฟสายใต้.

ใหม่!!: ที่หยุดรถไฟหัวมาดและสถานีรถไฟคลองขนาน · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอละแม

อำเภอละแม เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดชุมพร นับเป็นอำเภอขนาดกลาง ได้รับการยกฐานะจากกิ่งอำเภอเป็นอำเภอเมื่อปี พ.ศ. 2514 และมีความเติบโตทั้งด้านเศรษฐกิจ การศึกษา และปริมาณประชากรเพิ่มขึ้นตามลำดับ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่เกษตรกรรม ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทำสวนผลไม้ ยางพารา ปาล์มน้ำมัน และทำการประมง.

ใหม่!!: ที่หยุดรถไฟหัวมาดและอำเภอละแม · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดชุมพร

มพร มีชื่อปรากฏมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 1098 โดยมีฐานะเป็นเมืองสิบสองนักษัตรของราชอาณาจักรนครศรีธรรมราช ใช้รูปแพะเป็นตราเมือง และเป็นเมืองหน้าด่านฝ่ายเหนือ เพราะอยู่ตอนบนของภาคใต้ ใน พ.ศ. 1997 รัชสมัยแผ่นดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ปรากฏในกฎหมายตราสามดวงว่า เมืองชุมพรเป็นเมืองตรี อาณาจักรฝ่ายใต้ของราชอาณาจักรกรุงศรีอยุธยา ในช่วงนี้ชนชาติจาม แห่งราชอาณาจักรจามปา ถูกชาวเวียดนามรุกราน ชาวจามกลุ่มนี้อพยพเข้าสู่กรุงศรีอยุธยาครั้งแรก ปรากฏว่ามี "อาสาจาม" ในแผ่นดินนี้ เพื่อการขยายอาณานิคมของกรุงศรีอยุธยา ส่วนหนึ่งต้องมารักษาด่านเมืองชุมพร ซึ่งเป็นเมืองตรี และตั้งชาวจาม เป็นเจ้าเมืองชุมพร และดินแดนแถบนี้ขึ้นตรงต่อกรุงศรีอยุธยา เนื่องด้วย ชาวจาม มีความสามารถในการรบ ที่มีชื่อเสียง เช่น กองอาสาจาม เป็นทหารชั้นดี มีวินัย เชี่ยวชาญการเดินเรือ รับใช้ราชสำนักมานาน และเก่งการค้ามาหลายพันปี และต่อมาระหว่าง ปี พ.ศ. 2173 - 2199 ในแผ่นดิน พระเจ้าปราสาททองแห่งราชอาณาจักกรุงศรีอยุธยา ได้กวาดต้อนชาวเมืองแถง หรือ (เดียนเบียนฟู) อยู่ในประเทศเวียดนาม และชาวเมืองพงสาลี อยู่ในประเทศลาว มาเป็นพลเมือง เมืองชุมพร เมืองปะทิว(อำเภอปะทิว) เพื่อทำการเกษตรกรรม และเมืองท่าการค้าสำคัญ ตั้งแต่นั้นมา เดิมชาวจามนับถือศาสนาพราหมณ์-ฮินดู พ.ศ. 1400 นับถือศาสนาพุทธมหายาน และเมื่อค้าขายกับอาหรับก็นับถือ ศาสนาอิสลาม แต่ชาวจามที่มาอยู่เมืองชุมพร ต่อมานับถือ ศาสนาพุทธ มีวัฒนธรรม ประเพณี เหมือนกัน แต่เมื่อเวลาผ่านไปกว่า 500 -600 ปี ที่ชาวจาม เข้าปกครองเมืองชุมพร และดินแดนแถบนี้จนแทบจะไม่เหลือวัฒนธรรมเดิมเลย เช่น ข้าวต้มใบพ้อ ที่ใช้ในงานมงคล เช่นเดียวกับชาวมุสลิม บ้านกาลอ ตำบลกาลอ อำเภอรามัญ จังหวัดยะลา ก็สูญหายไม่ได้ใช้ในงานมงคลแล้ว.

ใหม่!!: ที่หยุดรถไฟหัวมาดและจังหวัดชุมพร · ดูเพิ่มเติม »

ทางรถไฟสายใต้

ทางรถไฟสายใต้ เป็นทางรถไฟที่เริ่มต้นจากสถานีรถไฟธนบุรี กรุงเทพมหานคร ผ่านจังหวัดนครปฐม, ราชบุรี, เพชรบุรี, ประจวบคีรีขันธ์, ชุมพร, สุราษฎร์ธานี, นครศรีธรรมราช, พัทลุง, สงขลา, ปัตตานี, ยะลา และไปสุดปลายทางที่สถานีรถไฟสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส และไปบรรจบกับทางรถไฟของประเทศมาเลเซีย ที่สถานีรถไฟรันเตาปันจาง ทางรถไฟสายใต้สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจากสถานีรถไฟธนบุรีถึงสถานีรถไฟเพชรบุรี ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ขยายเส้นทางไปภาคใต้และสร้างทางแยกที่สถานีรถไฟชุมทางบางซื่อ ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาที่สะพานพระรามหกไปบรรจบกันที่สถานีรถไฟชุมทางตลิ่งชัน เพื่อเชื่อมทางรถไฟสายใต้กับทางรถไฟสายเหนือ ทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ และสถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) ความยาวของทางรถไฟสายใต้ นับจากสถานีรถไฟธนบุรี ถึง ชายแดนไทย-มาเลเซีย ที่อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส รวมทั้งสิ้น 1,144.29 กิโลเมตร เป็นทางรถไฟสายที่ยาวที่สุดในประเทศไท.

ใหม่!!: ที่หยุดรถไฟหัวมาดและทางรถไฟสายใต้ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

สถานีรถไฟหัวมาดที่หยุดรถหัวมาด

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »