โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ที่ปรึกษาความมั่นคงแห่งชาติ (สหรัฐ)

ดัชนี ที่ปรึกษาความมั่นคงแห่งชาติ (สหรัฐ)

ผู้ช่วยประธานาธิบดีฝ่ายกิจการความมั่นคงแห่งชาติ (Assistant to the President for National Security Affairs, ย่อ APNSA) หรือ ที่ปรึกษาความมั่นคงแห่งชาติ (National Security Advisor, ย่อ NSA) The National Security Advisor and Staff: p. 1.

16 ความสัมพันธ์: กระทรวงกลาโหมสหรัฐกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมสหรัฐรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐริชาร์ด นิกสันวุฒิสภาสหรัฐสำนักข่าวกรองกลางสำนักงานความมั่นคงแห่งชาติสำนักประธานาธิบดีสหรัฐจอร์จ ดับเบิลยู. บุชจอห์น อาร์. โบลตันจอห์น เอฟ. เคนเนดีดอนัลด์ ทรัมป์ประธานาธิบดีสหรัฐเอกอัครราชทูตสหรัฐประจำสหประชาชาติเฮนรี คิสซินเจอร์

กระทรวงกลาโหมสหรัฐ

กระทรวงกลาโหมสหรัฐ (United States Department of Defense; ย่อ: DoD) เป็นกระทรวงของรัฐบาลกลางแห่งสหรัฐ ที่ทำหน้าที่ประสานงานและตรวจตราการทำงานและหน่วยงานราชการของรัฐบาลสหรัฐที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับความมั่นคงของชาติและการทหาร.

ใหม่!!: ที่ปรึกษาความมั่นคงแห่งชาติ (สหรัฐ)และกระทรวงกลาโหมสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐ

กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐ (United States Department of State) เป็นกระทรวงของรัฐบาลกลางสหรัฐ รับผิดชอบด้านกิจการและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของสหรัฐ กระทรวงดังกล่าวก่อตั้งขึ้นในปี..

ใหม่!!: ที่ปรึกษาความมั่นคงแห่งชาติ (สหรัฐ)และกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมสหรัฐ

รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหม (Secretary of Defense) เป็นหัวหน้าและประธานบริหารกระทรวงกลาโหม อันเป็นกระทรวงหนึ่งของรัฐบาลกลางแห่งสหรัฐDoDD 5100.1: Enclosure 2: a อำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมเหนือกองทัพสหรัฐอเมริกานั้นเป็นรองเพียงประธานาธิบดีTrask & Goldberg: p.11 ประธานาธิบดีแต่งตั้งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมโดยคำแนะนำและยินยอมของวุฒิสภา เป็นสมาชิกคณะรัฐมนตรีโดยจารีตประเพณี และเป็นสมาชิกสภาความมั่นคงแห่งชาติตามกฎหม.

ใหม่!!: ที่ปรึกษาความมั่นคงแห่งชาติ (สหรัฐ)และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐ

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศแห่งสหรัฐ (United States Secretary of State.) เป็นตำแหน่งเจ้าหน้าที่อาวุโสของรัฐบาลกลางแห่งสหรัฐอเมริกาซึ่งบังคับบัญชากระทรวงการต่างประเทศ มีหน้าที่รับผิดชอบและพิจารณาการดำเนินการด้านกิจการต่างประเทศของรัฐบาลสหรัฐ รัฐมนตรีต่างประเทศได้รับการแต่งตั้งโดยประธานาธิบดีสหรัฐและโดยการรับรองของวุฒิสภา ตำแหน่งรัฐมนตรีต่างประเทศเรียกได้ว่าเป็นหนึ่งในสี่ตำแหน่งสำคัญที่สุดของคณะรัฐบาล อันได้แก่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และอัยการสูงสุด รัฐมนตรีต่างประเทศคนปัจจุบันคือ ไมก์ ปอมเปโอ อดีตผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองกลางสหรัฐ คนที่6 เป็นรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐคนที่ 70 นับตั้งแต่สถาปนาตำแหน่งนี้ม.

ใหม่!!: ที่ปรึกษาความมั่นคงแห่งชาติ (สหรัฐ)และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

ริชาร์ด นิกสัน

ริชาร์ด มิลเฮาส์ นิกสัน (ภาษาอังกฤษ: Richard Milhous Nixon) (9 มกราคม พ.ศ. 2456 - 22 เมษายน พ.ศ. 2537) เป็นประธานาธิบดีคนที่ 37 ของสหรัฐอเมริกา ระหว่าง พ.ศ. 2512- พ.ศ. 2517 และเคยเป็นรองประธานาธิบดีคนที่ 36 ระหว่างปี พ.ศ. 2496 - พ.ศ. 2504 ริชาร์ด นิกสันเป็นประธานาธิบดีคนแรกและคนเดียวที่ลาออกจากตำแหน่ง สาเหตุที่ลาออกนั้นเกิดจากคดีวอเตอร์เกต ในสมัยของนิกสันนั้นประสบความสำเร็จในด้านการทูต โดยเฉพาะการผ่อนคลายความตึงเครียดในช่วงสงครามเย็นกับสหภาพโซเวียต และประเทศจีน รวมไปถึงการถอนตัวออกจากสงครามเวียดนาม.

ใหม่!!: ที่ปรึกษาความมั่นคงแห่งชาติ (สหรัฐ)และริชาร์ด นิกสัน · ดูเพิ่มเติม »

วุฒิสภาสหรัฐ

วุฒิสภาสหรัฐ (United States Senate) เป็นสภาสูงของรัฐสภาสหรัฐ โดยเป็นสภานิติบัญญัติแห่งสหรัฐร่วมกับสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐซึ่งเป็นสภาล่าง องค์ประกอบและอำนาจของวุฒิสภาตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญแห่งสหรัฐ มาตรา 1 วุฒิสภาประกอบด้วยสมาชิกวุฒิสภาซึ่งเป็นผู้แทนจากแต่ละรัฐ โดยแต่ละรัฐมีผู้แทนเท่ากันรัฐละสองคน ไม่ว่ามีประชากรมากน้อยเพียงใด โดยมีวาระดำรงตำแหน่งสลับฟันปลา (staggered term) วาระละ 6 ปี ปัจจุบันในสหภาพมี 50 รัฐ ฉะนั้นจึงมีสมาชิกวุฒิสภา 100 คน ตั้งแต่ปี 1789 ถึง 1913 สมาชิกวุฒิสภามาจากการแต่งตั้งของสภานิติบัญญัติของรัฐที่ตนเป็นผู้แทน หลังการให้สัตยาบันการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญครั้งที่ 17 ในปี 1913 ปัจจุบัน สมาชิกวุฒิสภามาจากการเลือกตั้งของประชาชน ห้องประชุมวุฒิสภาตั้งอยู่ปีกเหนือของอาคารรัฐสภาสหรัฐในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี.

ใหม่!!: ที่ปรึกษาความมั่นคงแห่งชาติ (สหรัฐ)และวุฒิสภาสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

สำนักข่าวกรองกลาง

ำนักข่าวกรองกลาง (Central Intelligence Agency) หรือย่อว่า ซีไอเอ (CIA) เป็นหน่วยงานราชการด้านข่าวกรองต่างชาติพลเรือนของ รัฐบาลกลางสหรัฐ มีหน้าที่รวบรวม ประมวลผล และวิเคราะห์ข้อมูลที่เป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติจากทั่วโลก โดยผ่านการข่าวกรองทางมนุษย์ (Human Intelligence; HUMINT) เป็นส่วนใหญ่ ในฐานะที่เป็นหนึ่งในสมาชิกหลักของชุมชนข่าวกรองสหรัฐ (U.S. Intelligence Community; IC) สำนักข่าวกรองรายงานต่อผู้อำนวยการข่าวกรองแห่งชาติ (Director of National Intelligence; DNI) และจะเน้นไปที่การหาข่าวกรองให้ ประธานาธิบดีสหรัฐ และ คณะรัฐมนตรีสหรัฐ เป็นหลัก ไม่เหมือนกับ สำนักงานสอบสวนกลาง ที่เป็นหน่วยงานราชการความมั่นคงภายใน สำนักข่าวกรองกลางไม่มีหน้าที่บังคับใช้กฎหมายและเน้นการรวบรวมข่าวกรองในต่างประเทศ โดยมีข้อจำกัดเฉพาะในการที่จะหาข่าวกรองจากในประเทศ อย่างไรก็ตามสำนักข่าวกรองกลางไม่ได้เป็นแค่หน่วยงานรัฐบาลสหรัฐฯที่เชี่ยวชาญในด้านข่าวกรองทางมนุษย์เท่านั้น มันยังมีหน้าที่ในการเป็นผู้จัดการระดับชาติในการประสานงานกับหน่วนงานต่างๆที่ทำกิจกรรมเกี่ยวกับการข่าวกรองทางมนุษย์ทั้งหมด ในชนชุมข่าวกรองสหรัฐฯ ยิ่งไปกว่านั้น สำนักข่าวกรองกลางเป็นหน่วยงานเดียวที่ได้รับอนุญาตโดยกฎหมาย ในการดำเนินการและดูแลการปฏิบัติการณ์ซ่อนเร้น (Covert Action/Operation) โดยคำสั่งประธานาธิบดี สำนักข่าวกรองกลางสามารถควบคุมอิทธิพลทางการเมืองของต่างประเทศได้โดยผ่านทางแผนกยุทธวิธีของตน อย่างเช่น แผนกปฏิบัติการณ์พิเศษ (Special Activities Division; SAD) ก่อนจะมีรัฐบัญญัติการปฏิรูปการข่าวกรองและการป้องกันการก่อการร้าย (Intelligence Reform and Terrorism Prevention Act) ผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองกลางยังทำหน้าที่ควบคู่ไปกับการเป็นหัวหน้าชุมชนข่าวกรองสหรัฐฯ แต่ปัจจุบันสำนักข่าวกรองถูกจัดระเบียบภายใต้ผู้อำนวยการข่าวกรองแห่งชาติ แม้จะมีการถ่ายโอนอำนาจบางส่วนไปยังผู้อำนวยการข่าวกรองแห่งชาติก็ตาม สำนักข่าวกรองกลางได้มีขนาดเพิ่มขึ้น เป็นผลมาจาก วินาศกรรม 11 กันยายน พ.ศ. 2544 ในปี..

ใหม่!!: ที่ปรึกษาความมั่นคงแห่งชาติ (สหรัฐ)และสำนักข่าวกรองกลาง · ดูเพิ่มเติม »

สำนักงานความมั่นคงแห่งชาติ

ำนักงานความมั่นคงแห่งชาติ (National Security Agency) หรือย่อว่า เอ็นเอสเอ (NSA) เป็นองค์กรข่าวกรองของ รัฐบาลกลางสหรัฐ มีหน้าที่สังเกตการณ์ รวบรวม และประมวลผลข้อมูลเพื่อหาข่าวกรองต่างประเทศและหน้าที่การต่อต้านการข่าวกรองของประเทศอื่น โดยใช้ข่าวกรองทางสัญญาณ (Signal Intelligence; SIGINT) สำนักงานความมั่นคงแห่งชาติยังทำหน้าที่ควบคู่ไปกับการปกป้องระบบการสื่อสารและข้อมูลของรัฐบาลสหรัฐฯ จากการสงครามทางการแทรงซึมและเครือข่าย แม้ว่าหลายๆการทำงานสำนักงานความมั่นคงแห่งชาติจะเป็นการพึ่งพาในการรวบรวมทางอิเล็กทรอนิกส์อย่างอดทน แต่สำนักงานก็ได้รับอนุญาตในการทำภารกิจให้สำเร็จโดยการปฏิบัติการณ์ลับ รวมไปกับระบบการดักฟังทางอิเล็กทรอนิกส์ และได้ถูกกล่าวหาว่ามีส่วนร่วมในการก่อวินาศกรรมผ่าน Stuxnet มากกว่านั้นสำนักงานความมั่นคงแห่งชาติมีเจ้าหน้าที่จำนวนมากอยู่ในหลายประเทศทั่วโลก ที่ซึ่งหน่วยงานราชการการรวบรวมพิเศษ (Special Collection Service; SCS) ได้ติดตั้งอุปกรณ์ดักฟังไว้ในพื้นที่ที่ยากจะเข้าถึง ยุทธวิธีการรวบรวมของหน่วยงานราชการรวบรวมพิเศษถูกกล่าวหาว่าหมายรวมถึง การเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด การลักทรัพย์ การดักฟังสาย และการบุกรุกเข้าไป ไม่เหมือนกับองค์ข่าวกรองกลาโหม (Defense Intelligence Agency; DIA) และ สำนักข่าวกรองกลาง (Central Intelligence Agency; CIA) ทั้งคู่เป็นการหาข่าวกรองทางมนุษย์ (Human Intelligence; HUMINT) สำนักงานความมั่นคงแห่งชาติไม่มีการรวบรวมขาวกรองจากแหล่งข่าวทางมนุษย์ แม้มักจะถูกทำให้เหมือนอย่างนั้นในวัฒนธรรมที่เป็นที่ยอดนิยม (จำพวกหนังสือ เกมส์ ภาพยนต์หรือซีรีส์ต่างๆ) ในความเป็นจริงสำนักงานความมั่นคงแห่งชาติได้รับความไว้วางใจด้วยความช่วยเหลือและการประสานงานในด้านข่าวกรองทางสัญญาณกับองค์รัฐบาลอื่นๆ ซึ่งถูกป้องกันโดยกฎหมายในการกระทำปฏิบัติการณ์ดังกล่าวโดยไม่ได้รับอนุญาตจากสำนักงานความมั่นคงแห่งชาติผ่านทาง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมสหรัฐ ในฐานะที่เป็นหนึ่งของความรับผิดชอบเหล่านี้ สำนักงานได้มีองค์กรที่ตั้งอยู่ร่วมกันเรียกว่า หน่วยงานราชการความมั่นคงกลาง (Central Security Service; CSS) ซึ่งที่ก่อตั้งขึ้นมาเพื่ออำนวยความสะดวกในการประสานงานระหว่างสำนักงานความมั่นคงแห่งชาติกับหน่วยงานการเข้ารหัสลับอื่นๆของ กองทัพสหรัฐ นอกจากนี้ผู้อำนวยการสำนักงานความมั่นคงแห่งชาติ ยังทำหน้าที่เป็นผู้บัญชาการกองสั่งการไซเบอร์สหรัฐฯ (United States Cyber Command; USCYBERCOM) และเป็นหัวหน้าหน่วยงานราชการความมั่นคงกลาง ไปพร้อมๆกันด้ว.

ใหม่!!: ที่ปรึกษาความมั่นคงแห่งชาติ (สหรัฐ)และสำนักงานความมั่นคงแห่งชาติ · ดูเพิ่มเติม »

สำนักประธานาธิบดีสหรัฐ

ำนักการบริหารของประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา (The Executive Office of the President of the United States (EOPOTUS or EOP)) ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่และผู้ช่วยของประธานาธิบดีสหรัฐฯรวมไปถึงเจ้าหน้าที่ระดับสูงหลายระดับที่รายงานตรงต่อประธานาธิบดี จำนวนของเจ้าหน้าที่ของทำเนียบขาวเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อรวมถึงผู้เชี่ยวชาญด้านนโยบายมากมายเพื่อตอบสนองความหลากหลายของยุคสมัยใหม่ สำนักงานบริหารฯ กำกับงานและควบคุมโดย เสนาธิการทำเนียบขาว.

ใหม่!!: ที่ปรึกษาความมั่นคงแห่งชาติ (สหรัฐ)และสำนักประธานาธิบดีสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

จอร์จ ดับเบิลยู. บุช

รืออากาศโท จอร์จ วอล์กเกอร์ บุช (George Walker Bush) เกิดเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2489 (ค.ศ. 1946) เป็นประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกาคนที่ 43 บุชสังกัดพรรครีพับลิกัน และเกิดในตระกูลบุชซึ่งเป็นตระกูลนักการเมืองตระกูลใหญ่ของสหรัฐอเมริกา โดยพ่อของเขาคือ จอร์จ บุช ประธานาธิบดีคนที่ 41 และน้องชายเขา เจบ บุช เป็นอดีตผู้ว่าการมลรัฐฟลอริดา ก่อนเริ่มเล่นการเมือง จอร์จ ดับเบิลยู บุชเป็นนักธุรกิจบ่อน้ำมัน และเป็นเจ้าของทีมเบสบอล เทกซัส เรนเจอร์ (Texas Rangers) เขาเริ่มเล่นการเมืองระดับท้องถิ่นโดยเป็นผู้ว่าการรัฐเทกซัสคนที่ 46 ชนะการเสนอชื่อลงชิงตำแหน่งประธานาธิบดีของพรรครีพับลิกัน และชนะการเลือกตั้งต่อรองประธานาธิบดี อัล กอร์ใน พ.ศ. 2543 (ค.ศ. 2000) และได้รับการเลือกตั้งสมัยที่สองเมื่อ พ.ศ. 2547 (ค.ศ. 2004) โดยเอาชนะวุฒิสมาชิก จอห์น เคร์รี ของ พรรคเดโมแครต.

ใหม่!!: ที่ปรึกษาความมั่นคงแห่งชาติ (สหรัฐ)และจอร์จ ดับเบิลยู. บุช · ดูเพิ่มเติม »

จอห์น อาร์. โบลตัน

อห์น โรเบิร์ต โบลตัน (John Robert Bolton) เกิด 20 พฤศจิกายน 2491 เป็นนักการทูต ทนายความ และที่ปรึกษาความมั่นคงแห่งชาติของสหรัฐอเมริกาคนที่ 27 และคนปัจจุบัน เขาเริ่มดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาความมั่นคงแห่งชาติเมื่อวันที่ 09 เมษายน..

ใหม่!!: ที่ปรึกษาความมั่นคงแห่งชาติ (สหรัฐ)และจอห์น อาร์. โบลตัน · ดูเพิ่มเติม »

จอห์น เอฟ. เคนเนดี

รือเอก จอห์น ฟิตซ์เจอรัลด์ เคนเนดี (John Fitzgerald Kennedy) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า เจเอฟเค (JFK ย่อจากชื่อภาษาอังกฤษ) (29 พฤษภาคม ค.ศ. 1917 — 22 พฤศจิกายน ค.ศ. 1963) เป็นประธานาธิบดีคนที่ 35 ของสหรัฐอเมริกา เจ้าของวาทะเปี่ยมไปด้วยจิตสำนึกหน้าที่ความรับผิดชอบของพลเมือง: "จงอย่าถามว่าประเทศชาติจะให้อะไรแก่ท่าน แต่จงถามตัวท่านเองว่าท่านจะทำอะไรให้ประเทศชาติ" เกิดเมื่อ 29 พฤษภาคม ค.ศ. 1917 ที่เมืองบรู๊คลาย รัฐแมสซาชูเซตส์ อยู่ที่นั่นถึง 10 ขวบ ครอบครัวก็ย้ายเข้านิวยอร์ก เป็นคริสต์ศาสนิกชนนิกายโรมันคาทอลิก ลูกคนที่ 2 ในจำนวน 9 คนของโจเซฟ แพทริก เคนเนดี คหบดีใหญ่อดีตเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำสหราชอาณาจักร จากโรงเรียนมัธยมในรัฐคอนเนตทิคัต เรียนต่อมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ถึงช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เข้าหน่วยกองทัพเรือสหรัฐอเมริกา เป็นผู้บังคับการเรือ ตอร์ปิโด Patrol Torpedo boat 59 รับเหรียญกล้าหาญจากวีรกรรมช่วยเพื่อนทหารให้รอดชีวิตจากเหตุเรืออับปางด้วยข้าศึกโจมตี เขาว่ายน้ำพยุงร่างเพื่อนที่ได้รับบาดเจ็บไปโดยไม่ทอดทิ้ง ลงสนามการเมืองได้เป็นวุฒิสมาชิกรัฐบ้านเกิด จากนั้นเข้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดี ค.ศ. 1960 สหรัฐอเมริกาได้ประธานาธิบดีที่หนุ่มที่สุดเพียง 43 ปี และเป็นคริสต์คนแรกที่ดำรงตำแหน่งยิ่งใหญ่นี้ เจเอฟเคบริหารประเทศด้วยพลังหนุ่ม (เป็นคำหนึ่งที่เขาชอบมาก) และมองโลกในแง่ดี เคเนดี้เป็นผู้จัดตั้ง องค์กรเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศแห่งสหรัฐอเมริกา หรือยูเสด เพื่อให้การสนับสนุนประเทศประชาธิปไตยในการป้องกันลัทธิคอมมิวนิสต์ วันที่ 25 พฤษภาคม ค.ศ. 1961 เขาแถลงต่อสภาคองเกรสว่าอเมริกากำลังเผชิญหน้ากับความท้าทายที่ไม่ธรรมดา ให้สภาอนุมัติงบประมาณเพื่อจุดมุ่งหมายของชาติคือ การส่งมนุษย์ไปลงบนดวงจันทร์ และเดินทางกลับอย่างปลอดภัย ด้านการต่างประเทศ เคนเนดียุติวิกฤตการณ์ต่าง ๆ ทางการเมืองด้วยการยื่นคำขาดให้สหภาพโซเวียตถอนฐานยิงขีปนาวุธในประเทศคิวบา ความสำเร็จอีกประการหนึ่งคือ สนธิสัญญาระหว่างประเทศในการห้ามทดสอบอาวุธนิวเคลียร์ อย่างไรก็ตามนโยบายที่ผิดพลาดก็มีเช่นกัน การให้ความช่วยเหลือทางทหารแก่เวียดนามใต้ เป็นจุดเริ่มต้นสงครามเวียดนามที่โหดร้ายรุนแรง แรกทีเดียวประธานาธิบดีเชื่อข้อมูลฝ่ายทหารและนักค้าอาวุธสงคราม ว่าสหรัฐจะสามารถชนะกองกำลังคอมมิวนิสต์ในเวียดนามได้ไม่ยาก เพราะแสนยานุภาพทางทหารเหนือกว่า เฉพาะอย่างยิ่งกองกำลังทางอากาศที่ใช้เฮลิคอปเตอร์เป็นหลัก แต่นั่นไม่จริง สงครามเวียดนามยืดเยื้อ ทหารอเมริกันเข้าสมรภูมิเป็นจำนวนมหาศาล ความสูญเสียเกินบรรยาย ช่วงเวลาที่จะหมดวาระ เตรียมชิงเก้าอี้ผู้นำสมัยที่ 2 เขาตัดสินใจใช้การเจรจาทางการทูตยุติสงคราม แต่จากนั้นไม่นานเคนเนดีก็ถูกยิงเสียชีวิตที่เมืองแดลลัส รัฐเทกซัส ในเหตุการณ์การลอบสังหารฯ เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน ค.ศ. 1963 ประวัติศาสตร์บันทึกถึงประธานาธิบดีผู้มีอายุน้อยที่สุดของสหรัฐอเมริกา ผู้มีผลงานโดดเด่นมากมายท่ามกลางวิกฤตการณ์หลังสงครามโลกครั้งที่สอง รอยต่อของยุคก้าวสู่สงครามเย็น เพื่อเป็นการให้เกียรติของท่าน รัฐบาลจึงนำชื่อของท่านมาตั้งเป็น ท่าอากาศยานนานาชาติจอห์น เอฟ. เคนเนดีในนครนิวยอร์ก ของ สหรัฐอเมริกา อีกด้ว.

ใหม่!!: ที่ปรึกษาความมั่นคงแห่งชาติ (สหรัฐ)และจอห์น เอฟ. เคนเนดี · ดูเพิ่มเติม »

ดอนัลด์ ทรัมป์

อนัลด์ จอห์น ทรัมป์ (Donald John Trump; เกิด 14 มิถุนายน ค.ศ. 1946) เป็นประธานาธิบดีสหรัฐคนที่ 45 และยังเป็นนักธุรกิจ, พิธีกรรายการโทรทัศน์ และนักแสดงรับเชิญในภาพยนตร์หลายเรื่อง เขาเป็นประธานและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ของบริษัททรัมป์ออร์กาไนเซชัน ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในสหรัฐอเมริกา ทรัมป์ยังเป็นผู้ก่อตั้งทรัมป์เอนเตอร์เทนเมนต์รีสอร์ต ที่มีกิจการกาสิโนและโรงแรมหลายแห่งทั่วโลก และด้วยการใช้ชีวิตที่หรูหราและการพูดจาที่โผงผางทำให้เขามีชื่อเสียง ยังเป็นส่วนให้เขาประสบความสำเร็จในรายการเรียลลิตี้โชว์ทางช่องเอ็นบีซี ที่ชื่อ The Apprentice (ที่เขารับตำแหน่งพิธีกรและผู้อำนวยการสร้าง) ดอนัลด์เกิดและเติบโตในนครนิวยอร์ก เขาเป็นบุตรคนที่ 4 ใน 5 ของเฟรด ทรัมป์ เศรษฐีผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในนครนิวยอร์ก ดอนัลด์ได้รับอิทธิพลอย่างมากจากพ่อของเขาในเป้าหมายของอาชีพการเป็นนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ และในครั้งจบการศึกษาจากโรงเรียนธุรกิจวอร์ตันแห่งมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย ในปี..

ใหม่!!: ที่ปรึกษาความมั่นคงแห่งชาติ (สหรัฐ)และดอนัลด์ ทรัมป์ · ดูเพิ่มเติม »

ประธานาธิบดีสหรัฐ

ประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา (President of the United States; ย่อ: POTUS) เป็นประมุขแห่งรัฐและหัวหน้ารัฐบาลแห่งสหรัฐ เป็นผู้นำสูงสุดของฝ่ายบริหาร และเป็นจอมทัพสหรัฐ รัฐธรรมนูญ มาตรา 2 บัญญัติว่า ประธานาธิบดีมีอำนาจหน้าที่บังคับใช้กฎหมายส่วนกลาง รับผิดชอบแต่งตั้งข้าราชการฝ่ายบริหาร ข้าราชการทูต ข้าราชการประจำ และข้าราชการตุลาการในส่วนกลาง ทั้งมีอำนาจทำสนธิสัญญาเมื่อได้รับคำแนะนำและยินยอมของวุฒิสภา นอกจากนี้ ประธานาธิบดีมีอำนาจอภัยโทษ ลดโทษ เปลี่ยนโทษ เรียกและเลื่อนประชุมสมัยวิสามัญแห่งสภาทั้งสองของรัฐสภา นับแต่สถาปนาประเทศเป็นต้นมา ประธานาธิบดีและรัฐบาลกลางมีอำนาจเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ และแม้ปัจจุบันไม่มีอำนาจนิติบัญญัติอย่างเป็นทางการนอกเหนือไปจากการลงนามและยับยั้งร่างกฎหมายที่รัฐสภาอนุมัติ แต่ประธานาธิบดีก็แบกรับความรับผิดชอบขนานใหญ่ในการกำหนดวาระประชุมพรรค รวมถึงกำหนดนโยบายการต่างประเทศและการในประเทศด้วย ประธานาธิบดีสหรัฐนั้นมาจากการเลือกตั้งโดยอ้อมผ่านทางคณะผู้เลือกตั้ง (electoral college) มีวาระในการดำรงตำแหน่ง 4 ปีและสามารถอยู่ในดำรงตำแหน่งได้ไม่เกิน 2 วาระซึ่งบัญญัติไว้ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งที่ 22 ที่ได้รับการอนุมัติในปี..

ใหม่!!: ที่ปรึกษาความมั่นคงแห่งชาติ (สหรัฐ)และประธานาธิบดีสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

เอกอัครราชทูตสหรัฐประจำสหประชาชาติ

อกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำสหประชาชาติ เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนของสหรัฐอเมริกาในงานประจำสหประชาชาติ รู้จักกันอย่างเป็นทางการในนามของ "ผู้แทนถาวรของสหรัฐอเมริกาประจำสหประชาชาติเทียบเท่าเอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็ม" และ ทำหน้าที่เป็นผู้แทนสหรัฐฯประจำสภาความมั่นคงแห่งสหประชาชาติด้วย หน้าที่หลักคือการเป็นหัวหน้าคณะผู้ตัวแทนสหรัฐฯในคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติและในระหว่างการประชุมทั้งหมดของสมัชชาใหญ่ยกเว้นในสถานการณ์ที่หายากซึ่งเจ้าหน้าที่อาวุโสของสหรัฐอเมริกา (เช่นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศหรือประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา) เข้าร่วมประชุมด้วย ดั่งเช่นกับเอกอัครราชทูตทั่วไป ผู้ที่จะเข้าดำรงตำแหน่งนั้นต้องได้รับการเสนอชื่อโดยประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา และผ่านการยินยอมของวุฒิสภาก่อนเข้ารับตำแหน่ง ปัจจุบันผู้ดำรงตำแหน่งคือ นิกกี เฮลีย์ ซึ่งเข้ารับตำแหน่งตั้งแต่วันที่ 27 มกราคม 2560.

ใหม่!!: ที่ปรึกษาความมั่นคงแห่งชาติ (สหรัฐ)และเอกอัครราชทูตสหรัฐประจำสหประชาชาติ · ดูเพิ่มเติม »

เฮนรี คิสซินเจอร์

นรี คิสซินเจอร์ เฮนรี คิสซินเจอร์ (Henry Alfred Kissinger; เกิด 27 พฤษภาคม ค.ศ. 1923; ชื่อเมื่อเกิด Heinz Alfred Kissinger) เป็นนักวิทยาศาสตร์และนักการทูตชาวอเมริกันเชื้อสายเยอรมัน และเป็นผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพประจำปี..

ใหม่!!: ที่ปรึกษาความมั่นคงแห่งชาติ (สหรัฐ)และเฮนรี คิสซินเจอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ที่ปรึกษาความมั่นคงแห่งชาติ(สหรัฐ)

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »