โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ทำลายกำแพงนี้!

ดัชนี ทำลายกำแพงนี้!

เรแกนปราศรัยหน้าประตูบรันเดนบูร์ก "ทำลายกำแพงนี้!" ("Tear down this wall!") เป็นการท้าทายของโรนัลด์ เรแกน ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ต่อมีฮาอิล กอร์บาชอฟ ผู้นำโซเวียต ให้ทำลายกำแพงเบอร์ลิน ในสุนทรพจน์ที่ประตูบรันเดนบูร์กใกล้กำแพงเบอร์ลินเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2530 อันเป็นวันครบรอบ 750 ปีการก่อตั้งเบอร์ลิน เรแกนท้าทายกอร์บาชอฟ ซึ่งขณะนั้นเป็นเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์สหภาพโซเวียต ให้ทำลายกำแพงนี้เพื่อเป็นสัญลักษณ์ความปรารถนาของกอร์บาชอฟที่จะเพิ่มเสรีภาพในกลุ่มตะวันออกผ่านนโยบายกลัสนอสต์และเปเรสตรอยคา หมวดหมู่:กำแพงเบอร์ลิน หมวดหมู่:สุนทรพจน์สงครามเย็น หมวดหมู่:พ.ศ. 2530.

9 ความสัมพันธ์: พรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียตกลัสนอสต์กลุ่มตะวันออกกำแพงเบอร์ลินมีฮาอิล กอร์บาชอฟประตูบรันเดินบวร์คโรนัลด์ เรแกนเบอร์ลินเปเรสตรอยคา

พรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียต

รรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียต (Коммунисти́ческая Па́ртия Сове́тского Сою́за; КПСС) เป็นพรรคคอมมิวนิสต์ที่ปกครองสหภาพโซเวียตและเป็นสถาบันหรือองค์กรที่มีอำนาจและบทบาททั้งทางด้านนิตินัยและพฤตินัยในการกำหนดดำเนินนโยบายต่างประเทศ อำนาจในการบริหารและตัดสินใจมาจากกลุ่มบุคคลชั้นนำในคณะกรรมการการเมือง หรือ 'โปลิตบูโร' (Politburo / Политбюро).

ใหม่!!: ทำลายกำแพงนี้!และพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียต · ดูเพิ่มเติม »

กลัสนอสต์

กลัสนอสต์ (гла́сность, Glasnost; ท. "การเผยแพร่") เป็นนโยบายเรียกร้องให้เพิ่มความเปิดเผยและความโปร่งใสในสถาบันและกิจกรรมรัฐบาลในสหภาพโซเวียต มีฮาอิล กอร์บาชอฟริเริ่มนโยบายดังกล่าวในครึ่งหลังของคริสต์ทศวรรษ 1980 มักถูกจับคู่กับเปเรสตรอยคา (Perestroika) ซึ่งเป็นอีกการปฏิรูปที่กอร์บาชอฟริเริ่มในห้วงเวลาเดียวกัน กอร์บาชอฟมักใช้คำนี้เพื่อเจาะจงนโยบายที่เขาเชื่อว่าอาจช่วยลดการฉ้อราษฎร์บังหลวงในผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์และรัฐบาลโซเวียต และบรรเทาการละเมิดอำนาจบริหารในคณะกรรมการกลาง กลัสนอสต์ยังหมายถึงสมัยที่เจาะจงในประวัติศาสตร์สหภาพโซเวียตระหว่างคริสต์ทศวรรษ 1980 เมื่อมีการตรวจพิจารณาลดลงและมีเสรีภาพในสารสนเทศเพิ่มขึ้น.

ใหม่!!: ทำลายกำแพงนี้!และกลัสนอสต์ · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มตะวันออก

นการณ์ทางการเมืองของโลกตะวันออกในยุคสงครามเย็น. โลกตะวันออกในยุคสงครามเย็น คำว่า กลุ่มตะวันออก (Eastern Bloc) เป็นชื่อเรียกที่หมายถึงอดีตรัฐซึ่งปกครองด้วยระบอบสังคมนิยมแบบคอมมิวนิสต์ ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในยุโรปตะวันออก และอาจหมายรวมถึงประเทศที่เข้าร่วมสนธิสัญญาวอร์ซอด้วยเช่นกัน คำว่า "กลุ่มตะวันออก" เป็นชื่อที่ใช้เรียกในยุคสงครามเย็น (ค.ศ. 1946 - ค.ศ. 1989) รัฐต่างๆ ที่อยู่ในโลกตะวันออกส่วนใหญ่เป็นรัฐที่ถูก สหภาพโซเวียตเข้ายึดครองในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง หลังจากที่สหภาพโซเวียตล่มสลาย รัฐแต่ละรัฐที่อยู่ภายใต้การปกครองของสหภาพโซเวียตก็ได้แยกตัวตั้งตนเป็นอิสระและเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสังคมนิยมเป็นระบอบประชาธิปไตยแทน รวมอีกทั้งประเทศเยอรมันทั้งตะวันออกและตะวันตกก็ได้รวมตัวกันเป็นหนึ่งภายหลังการทำลายกำแพงเบอร์ลิน ทำให้กลุ่มตะวันออกล่มสล.

ใหม่!!: ทำลายกำแพงนี้!และกลุ่มตะวันออก · ดูเพิ่มเติม »

กำแพงเบอร์ลิน

กำแพงเบอร์ลิน ภาพถ่ายจากฝั่งเบอร์ลินตะวันตก เมื่อปี พ.ศ. 2529 กำแพงเบอร์ลิน (Berlin Wall; Berliner Mauer) เป็นกำแพงที่สร้างขึ้นช่วงสงครามเย็น มีวัตถุประสงค์เพื่อปิดกั้นพรมแดนระหว่างเบอร์ลินตะวันตกซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเยอรมนีตะวันตก กับเยอรมนีตะวันออกที่โอบอยู่โดยรอบ มีความยาวทั้งสิ้น 155 กิโลเมตร เริ่มสร้างเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2504 (ค.ศ. 1961) และปิดกั้นพรมแดนนี้เป็นระยะเวลา 28 ปี ก่อนถูกทลายในวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2532 ในเยอรมนีตะวันออก กำแพงเบอร์ลิน คือ แนวเขตแดนที่มั่นคง และสัญลักษณ์ของการต่อต้านทุนนิยม มันถูกเรียกอย่างเป็นทางการว่า "แนวป้องกันการต่อต้านฟาสซิตส์" แต่สำหรับโลกเสรีแล้ว มันคือ สัญลักษณ์ของความขัดแย้งระหว่างระบบทุนนิยมของยุโรปตะวันตก ภายใต้การนำของสหรัฐอเมริกา กับระบบคอมมิวนิสต์ของยุโรปตะวันออก ภายใต้การปกครองของสหภาพโซเวียต หรือที่เรียกกันว่า สงครามเย็น นั่นเอง กำแพงเบอร์ลิน ทำให้กรุงเบอร์ลินฝั่งตะวันตก กลายเป็นเสมือน หน้าต่างสู่เสรีภาพ นับตั้งแต่การสร้างกำแพงเบอร์ลิน การข้ามผ่านแดนจากเยอรมนีตะวันออก ไปยังเยอรมนีตะวันตก กลายเป็นเรื่องผิดกฎหมาย หากมีการฝ่าฝืนและถูกพบเห็น มีโทษสถานเดียว คือ การยิงทิ้ง ณ บริเวณกำแพงนั่นเอง ตลอดระยะเวลา 28 ปี คาดว่ามีผู้เสียชีวิตที่กำแพงเบอร์ลินขณะหลบหนีระหว่าง 137 ถึง 206 คน.

ใหม่!!: ทำลายกำแพงนี้!และกำแพงเบอร์ลิน · ดูเพิ่มเติม »

มีฮาอิล กอร์บาชอฟ

มีฮาอิล เซียร์เกเยวิช กอร์บาชอฟ (Михаи́л Серге́евич Горбачёв, Mikhail Sergeyevich Gorbachyov) เป็นอดีตประธานาธิบดีสหภาพโซเวียต ทั้งยังเคยดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียตอีกด้วย ความพยายามปฏิรูปสหภาพของกอร์บาชอฟได้นำไปสู่การล่มสลายของสหภาพโซเวียต และการยุติสงครามเย็น เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพประจำปี..

ใหม่!!: ทำลายกำแพงนี้!และมีฮาอิล กอร์บาชอฟ · ดูเพิ่มเติม »

ประตูบรันเดินบวร์ค

ประตูบรันเดินบวร์ค ประตูบรันเดินบวร์ค (Brandenburger Tor) เป็นอดีตประตูเมืองที่ถูกสร้างขึ้นใหม่ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 เป็นประตูชัยที่สร้างแบบสถาปัตยกรรมฟื้นฟูคลาสสิก (Neoclassical) และปัจจุบันถือว่าเป็นสถานที่สำคัญที่เป็นที่รู้จักกันอย่างดีใน กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี ประตูบรันเดินบวร์คตั้งอยู่ฝั่งตะวันของใจกลางกรุงเบอร์ลินบริเวณชุมทางระหว่างถนนหลวงอุนเทอร์ เดน ลินเดน (Unter den Linden) กับถนนอีบัทสทราสเซ่ (Ebertstraße) และอยู่ทางทิศตะวันตกของจัตุรัสพาริเซอร์ (Pariser Platz) ห่างประตูออกไปทางเหนือหนึ่งบล็อก เป็นที่ตั้งของ อาคารรัฐสภาไรชส์ทาค ประตูแห่งนี้เป็นอนุสรณ์ของทางเข้าสู่ถนนอุนเทอร์ เดน ลินเดน ซึ่งเป็นถนนหลวงที่มีชื่อเสียงมาจากต้นลินเดน (บางที่เรียกต้นทิเลีย หรือต้นไลม์) ซึ่งเป็นถนนที่ตรงไปสู่พระราชวังเมือง (Stadtschloss/Berlin City Palace) ของพระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรปรัสเซีย (Prussia) พระเจ้าฟรีดริช วิลเฮล์มที่ 2 แห่งปรัสเซียทรงมีรับสั่งให้สร้างประตูบรันเดินบวร์คเพื่อเป็นสัญลักษณ์ของสันติภาพ ใช้เวลาสร้างตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2331 ถึงปี 2334 โดยนายคาร์ล ก็อทท์ฮาร์ด แลงฮานส์ แล้วได้รับความเสียหายในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ต่อมาประตูบรันเดินบวร์คก็ได้รับการบูรณะจนเสร็จสิ้นในช่วงปีพุทธศักราช 2543 ถึง 2545 โดยมูลนิธิอนุรักษ์อนุสาวรีย์เบอร์ลิน (Stiftung Denkmalschutz Berlin) ในช่วงหลังสงครามที่ได้แบ่งประเทศเยอรมนีออกเป็นสองส่วน ประตูบรันเดินบวร์คตั้งอยู่ในเยอรมนีตะวันออก และได้แยกออกจากเยอรมนีตะวันตก ซึ่งมีกำแพงเบอร์ลินกั้นไว้ บริเวณโดยรอบประตูถือว่าเป็นจุดเด่นที่เด่นชัดที่สุดในการคุ้มครองสื่อในการเผยแพร่การเปิดผนังกำแพงในปีพุทธศักราช 2532 ตั้งแต่มีการสร้างประตู บ่อยครั้งเกิดเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ของเยอรมนีในบริเวณประตูบรันเดินบวร์ค และวันนี้ก็ถือได้ว่าเป็นสัญลักษณ์ของความปั่นป่วนในประวัติศาสตร์ยุโรป แต่ก็เป็นสัญลักษณ์ของความเป็นเอกภาพและสันติภาพของยุโรปด้ว.

ใหม่!!: ทำลายกำแพงนี้!และประตูบรันเดินบวร์ค · ดูเพิ่มเติม »

โรนัลด์ เรแกน

รนัลด์ วิลสัน เรแกน (Ronald Wilson Reagan; 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2454 – 5 มิถุนายน พ.ศ. 2547) เป็นประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกาคนที่ 40 (พ.ศ. 2524–2532) สังกัดพรรครีพับลิกัน นอกจากนี้เรแกนยังดำรงตำแหน่งผู้ว่าการรัฐแคลิฟอร์เนีย คนที่ 33 (พ.ศ. 2510-พ.ศ. 2518) ก่อนหน้านั้นเขาเคยเป็นผู้ประกาศข่าวและนักแสดงมาก่อน เรแกนเกิดในเมือง ตัมปีโก, รัฐอิลลินอยส์ เติบโตมาในดิกซัน แรแกนได้ศึกษาเข้าที่มหาวิทยาลัย Eureka โดยได้หารายได้จากศิลปศาสตรบัณฑิต ปริญญาในสาขาเศรษฐศาสตร์และสังคมวิทยา หลังจากสำเร็จการศึกษา เรแกนได้ย้ายไปยัง รัฐไอโอวา โดยทำหน้าที่เป็นผู้กระจายเสียงทางวิทยุ หลังจากในปี พ.ศ. 2480 เรแกนได้ไปยังเมือง ลอสแอนเจลิส เมื่อเรแกนเริ่มทำงานโดยการเป็นนักแสดง โดยเป็นครั้งแรกในภาพยนตร์และครั้งสุดท้ายในวิทยุ หนึ่งในภาพยนตร์ที่โดดเด่นที่สุดของเขามีดังนี้ Knute Rockne, All American (2483), Kings Row (2485), and Bedtime for Bonzo (2494) เรแกนทำหน้าที่เป็นประธานของสมาคมนักแสดงหน้าจอและต่อมาเป็นโฆษกสำหรับ General Electric (GE) จุดเริ่มต้นของแรแกนในทางการเมืองที่เกิดขึ้นในระหว่างการทำงานของเขาสำหรับจีอี แต่เดิมเขาเป็นสมาชิกของพรรคเดโมแครต (สหรัฐอเมริกา) แต่เนื่องจากฝ่ายขยับแพลตฟอร์มในระหว่างปี พ.ศ. 2493 เปลี่ยนไปอยู่ในพรรคริพับลิกัน (สหรัฐอเมริกา) ใน พ.ศ. 2505 หลังจากการส่งมอบคำพูดที่เร้าใจในการสนับสนุนของผู้สมัครประธานาธิบดี แบรี่ โกรวอทเธอร์ ในปี พ.ศ. 2507, เขาถูกชักชวนให้ไปหาผู้ว่าจ้างแคลิฟอเนีย, เขาชนะสองปีและอีกครั้งในปี พ.ศ. 2513 เขาก็พ่ายแพ้ในระยะของเขาสำหรับพรรคริพับลิกันเสนอชื่อเข้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดีในปี พ.ศ. 2511 และในปี พ.ศ. 2519.

ใหม่!!: ทำลายกำแพงนี้!และโรนัลด์ เรแกน · ดูเพิ่มเติม »

เบอร์ลิน

อร์ลิน (แบร์ลีน) เป็นเมืองหลวงและรัฐหนึ่งในสิบหกรัฐสหพันธ์ของประเทศเยอรมนี มีประชากร 3.4 ล้านคนในเขตเมือง มากที่สุดในเยอรมนี และมากเป็นอันดับสองในสหภาพยุโรป เป็นศูนย์กลางของเขตนครหลวงเบอร์ลิน-บรานเดนบูร์ก ทางตะวันออกเฉียงเหนือของเยอรมนี มีประชากรในเขตนครหลวงรวม 1คนจาก 1ชาติ มากเป็นอันดับเก้าในสหภาพยุโรป, Eurostat.

ใหม่!!: ทำลายกำแพงนี้!และเบอร์ลิน · ดูเพิ่มเติม »

เปเรสตรอยคา

''เปเรสตรอยคา'' ในไปรษณียากรของสหภาพโซเวียต ในปี 1988 เปเรสตรอยคา (перестро́йка, Perestroika) เป็นขบวนการทางการเมืองเพื่อการปฏิรูปภายในพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียตระหว่างคริสต์ทศวรรษ 1980 ซึ่งสัมพันธ์กับผู้นำโซเวียต มีฮาอิล กอร์บาชอฟ และการปฏิรูปนโยบายกลัสนอสต์ของเขา มีความหมายตามอักษรว่า "การปรับโครงสร้าง" ซึ่งหมายถึง การปรับโครงสร้างระบบการเมืองและเศรษฐกิจของโซเวียต มักแย้งว่าเปเรสตรอยคาเป็นสาเหตุแห่งการล่มสลายของสหภาพโซเวียต การปฏิวัต..

ใหม่!!: ทำลายกำแพงนี้!และเปเรสตรอยคา · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Tear down this wall!ทำลายกำแพงนี้

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »