โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ทฤษฎีรักนิรันดร

ดัชนี ทฤษฎีรักนิรันดร

ทฤษฎีรักนิรันดร (The Theory of Everything) เป็นภาพยนตร์ชีวประวัติแนวโรแมนติกในปี 2015 ของประเทศอังกฤษ กำกับโดยเจมส์ มาร์ช และเขียนบทดัดแปลงโดยแอนโธนี นิคาร์เทิน Travelling to Infinity: My Life with Stephen โดยเจน ไวลด์ ฮอว์กิ้ง เขียนถึงความสัมพันธ์ของเธอกับอดีตสามีนักฟิสิกส์ทฤษฎี สตีเฟน ฮอว์คิง ที่เป็นโรคเซลล์ประสาทสั่งการ และความสำเร็จของเขาในฟิสิกส์ นำแสดงโดย เอดดี เรดเมย์น, เฟลิซิตี้ โจนส์, ชาร์ลี ค็อกซ์, เอมิลี่ วัตสัน, ไซม่อน แม็คเบอร์นี่ย์ และเดวิด ธิวลิส ฉายรอบปฐมทัศน์โลกที่ โตรอนโตอินเตอร์เนชั่นแนลฟิล์มเฟสติวัล วันที่ 7 กันยายน ค.ศ. 2014 ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับการตอบรับและคำวิจารณ์ในเชิงบวกทั่วโลก และได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลมากมาย เช่น รางวัลสมาคมนักแสดงภาพยนตร์และโทรทัศน์, รางวัลแซทเทิร์น เป็นต้น เรดเมย์นเป็นสตีเฟน ฮอว์คิง เขาได้รับเสียงชื่นชมอย่างกว้างขวาง ได้รับรางวัลหลายรางวัลและการเสนอชื่อเข้าชิง รวมทั้งได้รับรางวัลออสการ์ สาขานักแสดงนำชายยอดเยี่ยมอีกด้วย ภาพยนตร์ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลลูกโลกทองคำ 4 สาขา และคว้ามาได้ 2 สาขาคือ สาขานักแสดงนำชายยอดเยี่ยม ในภาพยนตร์ประเภทดราม่า (เรดเมย์น) และดนตรีประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (โจฮานสัน) เข้าชิงรางวัลแบฟตาทั้งหมด 10 สาขา คว้ามาได้ 3 สาขาคือ สาขาภาพยนตร์อังกฤษยอดเยี่ยม, นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม (เรดเมย์น) และบทภาพยนตร์ดัดแปลงยอดเยี่ยม (นิคาร์เทิน).

23 ความสัมพันธ์: บ็อกซ์ออฟฟิศโมโจฟิสิกส์ฟิสิกส์ทฤษฎีพ.ศ. 2557พ.ศ. 2558ภาพยนตร์ชีวประวัติยูนิเวอร์แซลสตูดิโอส์รางวัลลูกโลกทองคำรางวัลสมาคมนักแสดงภาพยนตร์และโทรทัศน์รางวัลออสการ์ สาขานักแสดงนำชายยอดเยี่ยมรางวัลแบฟตารางวัลแซทเทิร์นวีรคติสตีเฟน ฮอว์กิงคณะกรรมการจัดประเภทภาพยนตร์แห่งอังกฤษปฐมทัศน์ประเทศอังกฤษเฟลิซิตี โจนส์เอดดี เรดเมนเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติโทรอนโต1 มกราคม5 กุมภาพันธ์7 กันยายน

บ็อกซ์ออฟฟิศโมโจ

็อกซ์ออฟฟิศโมโจ เป็นเว็บไซต์ที่บอกรายได้บ็อกซ์ออฟฟิศในระบบอัลกอริทึม ที่ก่อตั้งขึ้นในปี 1999 ในปี 2008 บ็อกซ์ออฟฟิศโมโจถูกซื้อต่อโดยอินเทอร์เน็ตมูวีเดตาเบส มีเจ้าของคือแอมะซอน.คอม บ็อกซ์ออฟฟิศโมโจเป็นเว็บไซต์ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ จากข้อมูลปี 2002–11 มีเว็บบอร์ดที่เป็นที่นิยมจากแฟนๆ ภาพยนตร์ วันที่ 10 ตุลาคม 2014 ยูอาร์แอลของเว็บไซต์ถูกเปลี่ยนทางไปยังเว็บไซต์ของแอมะซอน.คอม และ อินเทอร์เน็ตมูวีเดตาเบส 1 วัน แต่เว็บไซต์กลับมาในวันรุ่งขี้นโดยไม่มีใครทราบสาเหต.

ใหม่!!: ทฤษฎีรักนิรันดรและบ็อกซ์ออฟฟิศโมโจ · ดูเพิ่มเติม »

ฟิสิกส์

แสงเหนือแสงใต้ (Aurora Borealis) เหนือทะเลสาบแบร์ ใน อะแลสกา สหรัฐอเมริกา แสดงการแผ่รังสีของอนุภาคที่มีประจุ และ เคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูง ขณะเดินทางผ่านสนามแม่เหล็กโลก ฟิสิกส์ (Physics, φυσικός, "เป็นธรรมชาติ" และ φύσις, "ธรรมชาติ") เป็นวิทยาศาสตร์ ที่เกี่ยวข้องกับ สสาร และ พลังงาน ศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ และ ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสสารกับพลังงาน รวมทั้งเป็นความรู้พื้นฐานที่นำไปใช้ในการพัฒนาเทคโนโลยีเกี่ยวกับการผลิต และเครื่องใช้ต่าง ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่มนุษย์ ตัวอย่างเช่น การนำความรู้พื้นฐานทางด้านแม่เหล็กไฟฟ้า ไปใช้ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ (โทรทัศน์ วิทยุ คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ ฯลฯ) อย่างแพร่หลาย หรือ การนำความรู้ทางอุณหพลศาสตร์ไปใช้ในการพัฒนาเครื่องจักรกลและยานพาหนะ ยิ่งไปกว่านั้นความรู้ทางฟิสิกส์บางอย่างอาจนำไปสู่การสร้างเครื่องมือใหม่ที่ใช้ในวิทยาศาสตร์สาขาอื่น เช่น การนำความรู้เรื่องกลศาสตร์ควอนตัม ไปใช้ในการพัฒนากล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนที่ใช้ในชีววิทยา เป็นต้น นักฟิสิกส์ศึกษาธรรมชาติ ตั้งแต่สิ่งที่เล็กมาก เช่น อะตอม และ อนุภาคย่อย ไปจนถึงสิ่งที่มีขนาดใหญ่มหาศาล เช่น จักรวาล จึงกล่าวได้ว่า ฟิสิกส์ คือ ปรัชญาธรรมชาติเลยทีเดียว ในบางครั้ง ฟิสิกส์ ถูกกล่าวว่าเป็น แก่นแท้ของวิทยาศาสตร์ (fundamental science) เนื่องจากสาขาอื่น ๆ ของวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ เช่น ชีววิทยา หรือ เคมี ต่างก็มองได้ว่าเป็น ระบบของวัตถุต่าง ๆ หลายชนิดที่เชื่อมโยงกัน โดยที่เราสามารถสามารถอธิบายและทำนายพฤติกรรมของระบบดังกล่าวได้ด้วยกฎต่าง ๆ ทางฟิสิกส์ ยกตัวอย่างเช่น คุณสมบัติของสารเคมีต่าง ๆ สามารถพิจารณาได้จากคุณสมบัติของโมเลกุลที่ประกอบเป็นสารเคมีนั้น ๆ โดยคุณสมบัติของโมเลกุลดังกล่าว สามารถอธิบายและทำนายได้อย่างแม่นยำ โดยใช้ความรู้ฟิสิกส์สาขาต่าง ๆ เช่น กลศาสตร์ควอนตัม, อุณหพลศาสตร์ หรือ ทฤษฎีแม่เหล็กไฟฟ้า เป็นต้น ในปัจจุบัน วิชาฟิสิกส์เป็นวิชาที่มีขอบเขตกว้างขวางและได้รับการพัฒนามาแล้วอย่างมาก งานวิจัยทางฟิสิกส์มักจะถูกแบ่งเป็นสาขาย่อย ๆ หลายสาขา เช่น ฟิสิกส์ของสสารควบแน่น ฟิสิกส์อนุภาค ฟิสิกส์อะตอม-โมเลกุล-และทัศนศาสตร์ ฟิสิกส์ดาราศาสตร์ ฟิสิกส์พลศาสตร์ที่ไม่เป็นเชิงเส้น-และเคออส และ ฟิสิกส์ของไหล (สาขาย่อยฟิสิกส์พลาสมาสำหรับงานวิจัยฟิวชั่น) นอกจากนี้ยังอาจแบ่งการทำงานของนักฟิสิกส์ออกได้อีกสองทาง คือ นักฟิสิกส์ที่ทำงานด้านทฤษฎี และนักฟิสิกส์ที่ทำงานทางด้านการทดลอง โดยที่งานของนักฟิสิกส์ทฤษฎีเกี่ยวข้องกับการพัฒนาทฤษฎีใหม่ แก้ไขทฤษฎีเดิม หรืออธิบายการทดลองใหม่ ๆ ในขณะที่ งานการทดลองนั้นเกี่ยวข้องกับการทดสอบทฤษฎีที่นักฟิสิกส์ทฤษฎีสร้างขึ้น การตรวจทดสอบการทดลองที่เคยมีผู้ทดลองไว้ หรือแม้แต่ การพัฒนาการทดลองเพื่อหาสภาพทางกายภาพใหม่ ๆ ทั้งนี้ขอบเขตของวิชาฟิสิกส์ภาคปฏิบัติ ขึ้นอยู่กับขีดจำกัดของการสังเกต และประสิทธิภาพของเครื่องมือวัด ถ้าเทคโนโลยีของเครื่องมือวัดพัฒนามากขึ้น ข้อมูลที่ได้จะมีความละเอียดและถูกต้องมากขึ้น ทำให้ขอบเขตของวิชาฟิสิกส์ยิ่งขยายออกไป ข้อมูลที่ได้ใหม่ อาจไม่สอดคล้องกับสิ่งที่ทฤษฎีและกฎที่มีอยู่เดิมทำนายไว้ ทำให้ต้องสร้างทฤษฏีใหม่ขึ้นมาเพื่อทำให้ความสามารถในการทำนายมีมากขึ้น.

ใหม่!!: ทฤษฎีรักนิรันดรและฟิสิกส์ · ดูเพิ่มเติม »

ฟิสิกส์ทฤษฎี

ฟิสิกส์ทฤษฎี คือ สาขาวิชาฟิสิกส์แขนงหนึ่งที่นำแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ ความคิดเชิงนามธรรมของวัตถุเชิงกายภาพและระบบต่าง ๆ ให้อยู่ในหลักการเหตุผล อธิบายและทำนายปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ ซึ่งแตกต่างจากฟิสิกส์ทดลองจากการใช้อุปกรณ์การทดลองที่จะตรวจหาปรากฏการณ์เหล่านี้ ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์มักจะมาจากอิทธิพลระหว่างการเรียนรู้จากการทดลองและทฤษฎีโดยปกติ แต่ฟิสิกส์ทฤษฎียึดติดกับความเคร่งครัดทางคณิตศาสตร์ ซึ่งได้ให้ความสำคัญกับการทดลองและการสังเกตค่อนข้างน้อยในบางกรณี อาทิ ในขณะที่พัฒนาทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ได้พิจารณาถึงการแปลงลอเรนซ์ซึ่งทำให้สมการของแมกซ์เวลล์ไม่เปลี่ยนแปลง แต่ไม่ได้สนใจถึงการทดลองของมิเชลสัน-มอร์ลีย์ที่ทำเกี่ยวกับอีเธอร์ที่มีผลต่อการเคลื่อนของโลก ในทางกลับกัน ไอน์สไตน์ได้รับรางวัลโนเบลสำหรับการอธิบายปรากฏการณ์โฟโตอิเล็กทริกซึ่งไม่มีการอ้างอิงในเชิงทฤษฎีใด ๆ ทั้งสิ้น.

ใหม่!!: ทฤษฎีรักนิรันดรและฟิสิกส์ทฤษฎี · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2557

ทธศักราช 2557 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2014 วันแรกของปีตรงกับวันพุธตามปฏิทินเกรกอเรียน นับเป็นปีที่ 2014 ตามกำหนดสากลศักราช และปีที่ 2557 ตามกำหนดพุทธศักร.

ใหม่!!: ทฤษฎีรักนิรันดรและพ.ศ. 2557 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2558

ทธศักราช 2558 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2015 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพฤหัสบดีตามปฏิทินเกรกอเรียน นับเป็นปีที่ 2015 ตามกำหนดสากลศักร.

ใหม่!!: ทฤษฎีรักนิรันดรและพ.ศ. 2558 · ดูเพิ่มเติม »

ภาพยนตร์ชีวประวัติ

นตร์ชีวประวัติ (Biographical film หรือเรียกอย่างสั้นว่า biopic) เป็นภาพยนตร์ประเภทหนึ่งที่ได้รับความนิยมสูง ที่เล่าเรื่องชีวิตของคน มักมีโครงสร้างที่ค่อนข้างตายตัว คือเล่าตั้งแต่เกิดจนตายโดยเน้นช่วงสำคัญในชีวิตคนแต่ละประเภทแตกต่างกัน หากเป็นศิลปิน อาจเล่าถึงแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลงาน หากเป็นกีฬา หนังอาจถ่ายทอดความกดดันในเกมแข่งขัน หรือหากเป็นนักรบ หนังก็อาจเล่าถึงช่วงเวลาที่ถือเป็นความพ่ายแพ้ที่สุดในชีวิต ภาพยนตร์ชีวประวัติที่มีชื่อเสียงเช่น Edvard Munch (พ.ศ. 2537) เล่าชีวิตของ เอ็ดเวิร์ด มุงค์ ศิลปินชาวนอร์เวย์, American Spendor (พ.ศ. 2546) เล่าชีวิตของ ฮาร์วีย์ เพ็กการ์ นักวาดการ์ตูน, La Vie en Rose (พ.ศ. 2550) เล่าชีวิตของ อีดิธ เพียฟ นักร้องชื่อดังชาวฝรั่งเศส, Nightwatching (พ.ศ. 2550) เล่าเรื่องของจิตรกรชาวเนเธอร์แลนด์ แรมบรัง.

ใหม่!!: ทฤษฎีรักนิรันดรและภาพยนตร์ชีวประวัติ · ดูเพิ่มเติม »

ยูนิเวอร์แซลสตูดิโอส์

ูนิเวอร์แซลสตูดิโอส์ (Universal Studios) หรือในบางครั้งเรียกว่า ยูนิเวอร์แซลซิตีสตูดิโอ หรือเรียกสั้น ๆ ว่า ยูนิเวอร์แซล เป็นบริษัทในเครือเอ็นบีซียูนิเวอร์แซล เป็นหนึ่งใน 6 สตูดิโอผลิตภาพยนตร์ใหญ่ของสหรัฐอเมริกา โดยมีบริษัทร่วมอย่าง ยูนิเวอร์แซลพิกเจอส์ มาร่วมในขึ้นตอนผลิตและจัดจำหน่าย 8 สิงหาคม 2548 บริษัทก่อตั้งในปี 1 มกราคม 2545 โดยคาร์ล เลียมเมิล สตูดิโอในการผลิตตั้งอยู่ที่ 100 Universal City Plaza Drive ในยูนิเวอร์แซลซิตี รัฐแคลิฟอร์เนีย ส่วนสำนักงานจัดจำหน่ายและอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ตั้งอยู่ที่นิวยอร์กซิตี ยูนิเวอร์แซลพิกเจอส์ถือเป็นสตูดิโอฮอลลีวูดที่มีมายาวนานที่สุดเป็นอันดับ 2 รองจากพาราเมาต์พิกเจอส์ของเวียคอม (ห่างกันไม่กี่เดือน).

ใหม่!!: ทฤษฎีรักนิรันดรและยูนิเวอร์แซลสตูดิโอส์ · ดูเพิ่มเติม »

รางวัลลูกโลกทองคำ

รางวัลลูกโลกทองคำ รางวัลลูกโลกทองคำ (Golden Globe Award) เป็นรายการแจกรางวัลประจำปีที่มอบให้กับภาพยนตร์และรายการโทรทัศน์เริ่มมาต้งแต่ปี 1944 จัดโดย Hollywood Foreign Press Association (HFPA) รางวัลลูกโลกทองคำถูกจัดอันดับว่ามีผู้ชมมากที่สุดอันดับ 3 สำหรับรายการแจกรางวัล ตามหลังรางวัลออสการ์และรางวัลแกรมมี่ การจัดจะจัดช่วงต้นปี โดยยึดผลจากการโหวดจากนักข่าวและสื่อมวลชนในสหรัฐอเมริกา ผู้มีสิทธิเข้าชิงจะคัดเลือกในช่วงหลังวันที่ 1 ตุลาคม ซึ่งแตกต่างจากรางวัลออสการ์ที่ใช้เกณฑ์วันที่ 1 มกราคม และที่แตกต่างคือ เป็นรางวัลที่ไม่มีพิธีกรหลักแต่จะมีผู้เสนอรางวัล และผู้แนะนำรางวัลต่าง.

ใหม่!!: ทฤษฎีรักนิรันดรและรางวัลลูกโลกทองคำ · ดูเพิ่มเติม »

รางวัลสมาคมนักแสดงภาพยนตร์และโทรทัศน์

แอ็กเทอร์ รูปปั้นรางวัล รางวัลของสมาคมนักแสดงภาพยนตร์และโทรทัศน์ (Screen Actors Guild Awards) หรือ แซกอวอร์ดส (SAG Awards) เป็นรางวัลภาพยนตร์ประจำปีที่จัดโดย สมาคมนักแสดงอาชีพแห่งอเมริกา เพื่อมอบรางวัลให้กับนักแสดงผู้มีผลงานโดดเด่น แซกอวอร์ดส เป็นงานแจกรางวัลใหญ่ของฮอลลีวูดมาตั้งแต่ปี 1995 โดยผู้ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงมาจากการสุ่มสมาชิกจำนวน 4200 คนของสมาคมเป็นผู้ให้คะแนน จากสมาชิกทั้งหมด 120,000 คน (ข้อมูลปี 2007) รางวัล งานแจกรางวัลออกอากาศหลายปีทางช่องทีเอ็นที แต่ปัจจุบันออกอากาศทางช่อง ทีบีเอส พิธีการมอบรางวัล ถ่ายทอดสดเมื่อ 25 กุมภาพัน..

ใหม่!!: ทฤษฎีรักนิรันดรและรางวัลสมาคมนักแสดงภาพยนตร์และโทรทัศน์ · ดูเพิ่มเติม »

รางวัลออสการ์ สาขานักแสดงนำชายยอดเยี่ยม

รางวัลออสการ์ สาขานักแสดงนำชายยอดเยี่ยม เป็นรางวัลประจำปีที่จัดโดยสถาบันศิลปะภาพยนตร์และวิทยาการ (AMPAS) เพื่อมอบให้กับนักแสดงชายผู้มีการแสดงที่โดดเด่นในการทำงานกับอุตสาหกรรมภาพยนตร์ ในงานประกาศผลรางวัลออสการ์ ครั้งที่ 1 ปี..

ใหม่!!: ทฤษฎีรักนิรันดรและรางวัลออสการ์ สาขานักแสดงนำชายยอดเยี่ยม · ดูเพิ่มเติม »

รางวัลแบฟตา

รางวัลแบฟตา รางวัลสถาบันศิลปะภาพยนตร์และโทรทัศน์บริติช (British Academy of Film and Television Arts) หรือ แบฟตา (BAFTA) เป็นรางวัลการแจกรางวัลประจำปีของสหราชอาณาจักร ที่มอบรางวัลให้กับภาพยนตร์ โทรทัศน์ รายการสำหรับเด็ก และสื่อเชิงโต้ตอบ การแจกรางวัลเริ่มมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1947 ในฐานะเดอะบริติชฟิล์มอะแคเดมี โดย เดวิด ลีน, อเล็กซานเดอร์ คอร์ดา, คาโรล รีด, ชาลส์ ลอตัน, โรเจอร์ แมนเวลล์ และคนอื่น ๆ ต่อมาในปี ค.ศ. 1958 สถาบันได้รวมกับ The Guild of Television Producers and Directors และก่อตั้งเป็น The Society of Film and Television ซึ่งต่อมาก็ได้เปลี่ยนมาเป็น The British Academy of Film and Television Arts (BAFTA) ในปี 1976 สัญลักษณ์รางวัลที่มองเป็นรูปหน้ากากออกแบบโดย Mitzi Cunliffe ประติมากรชาวอเมริกัน.

ใหม่!!: ทฤษฎีรักนิรันดรและรางวัลแบฟตา · ดูเพิ่มเติม »

รางวัลแซทเทิร์น

รางวัลแซทเทิร์น รางวัลแซทเทิร์น (Saturn Award) เป็นงานแจกรางวัลที่จัดขึ้นประจำปีโดย Academy of Science Fiction, Fantasy & Horror Films เพื่อให้เกียรติกับภาพยนตร์ รายการโทรทัศน์ และโฮมวิดีโอ แนว นิยายวิทยาศาสตร์, แฟนตาซี และสยองขวัญ โดยดร.

ใหม่!!: ทฤษฎีรักนิรันดรและรางวัลแซทเทิร์น · ดูเพิ่มเติม »

วีรคติ

วีรคติ หรือ โรมานซ์ (romance) อาจหมายถึง.

ใหม่!!: ทฤษฎีรักนิรันดรและวีรคติ · ดูเพิ่มเติม »

สตีเฟน ฮอว์กิง

ตีเฟน วิลเลียม ฮอว์กิง (Stephen William Hawking; 8 มกราคม ค.ศ. 1942 – 14 มีนาคม ค.ศ. 2018) เป็นนักฟิสิกส์ทฤษฎีและนักจักรวาลวิทยา ศาสตราจารย์ประจำมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ หนังสือวิทยาศาสตร์ของเขาและการปรากฏตัวต่อสาธารณะได้ทำให้เขาเป็นผู้มีชื่อเสียงด้านวิชาการ ผลงานวิทยาศาสตร์สำคัญของเขาจนถึงปัจจุบันมีการบัญญัติทฤษฎีบทเกี่ยวกับภาวะเอกฐานเชิงความโน้มถ่วงในกรอบของทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป ร่วมกับโรเจอร์ เพนโรส และการทำนายเชิงทฤษฎีที่ว่าหลุมดำควรปล่อยรังสี ซึ่งปัจจุบันมีชื่อว่า รังสีฮอว์กิง (บางครั้งเรียก รังสีเบเคนสไตน์-ฮอว์กิง) ฮอว์กิงป่วยจากโรคอะไมโอโทรฟิก แลเทอรัล สเกลอโรซิส (ALS) ชนิดหายาก ซึ่งเริ่มมีอาการเร็ว แต่ดำเนินโรคช้า ทำให้เขามีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงลงเรื่อย ๆ เป็นเวลาหลายสิบปี ปัจจุบันต้องสื่อสารโดยใช้อุปกรณ์สังเคราะห์เสียงพูด ควบคุมผ่านกล้ามเนื้อมัดเดียวในแก้ม เขาแต่งงานสองครั้งและมีลูกสามคน ฮอว์กิงประสบความสำเร็จกับผลงานวิทยาศาสตร์สำหรับบุคคลทั่วไป (popular science) ซึ่งเขาอภิปรายทฤษฎีของเขาและจักรวาลวิทยาโดยรวม ซึ่งมีประวัติย่อของกาลเวลา (A Brief History of Time) และจักรวาลในเปลือกนัท (The Universe in a Nutshell) ซึ่งอยู่ในรายการขายดีที่สุดของบริติชซันเดย์ไทมส์ทำลายสถิตินานถึง 237 สัปดาห์ สตีเฟน ฮอว์กิง เสียชีวิตในวันที่ 14 มีนาคม..

ใหม่!!: ทฤษฎีรักนิรันดรและสตีเฟน ฮอว์กิง · ดูเพิ่มเติม »

คณะกรรมการจัดประเภทภาพยนตร์แห่งอังกฤษ

ัญลักษณ์คณะกรรมการจัดประเภทภาพยนตร์แห่งอังกฤษ คณะกรรมการจัดประเภทภาพยนตร์แห่งอังกฤษ (British Board of Film Classification หรือ BBFC) คือ หน่วยงานที่มีหน้าที่ตรวจสอบเนื้อหาสื่อภาพยนตร์ ดีวีดี รวมถึงวีดีโอเกมส์ที่จะเผยแพร่ในอังกฤษ เปลี่ยนชื่อมาจาก "คณะกรรมการตรวจตราภาพยนตร์แห่งอังกฤษ" (British Board of Film Censors).

ใหม่!!: ทฤษฎีรักนิรันดรและคณะกรรมการจัดประเภทภาพยนตร์แห่งอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

ปฐมทัศน์

การเตรียมจัดงานรอบปฐมทัศน์ โรงภาพยนตร์ El Capitan Theatre ปฐมทัศน์ (premiere หรือ première มาจากภาษาpremière หมายถึง ครั้งแรก) มีความหมายถึงการแสดงครั้งแรก สามารถหมายถึงละครเวที ภาพยนตร์ รายการโทรทัศน์ การแสดงโอเปร่า ซิมโฟนี และอื่น ๆ รอบปฐมทัศน์สำหรับละครเพลงและการแสดงเกี่ยวกับวัฒนธรรมอื่น สามารถกลายเป็นงานที่ใหญ่โตฟุ้งเฟ้อได้ เป็นที่ดึงดูดคนดังในสังคมและสื่อมวลชนให้เข้าร่วมอย่างมาก ลักษณะทั่วไปอาจมีการเดินพาเหรดคู่ไปกับการเดินบนพรมแดง ในงานเทศกาลภาพยนตร์ นักแสดงเด่นจะร่วมเข้ารอบปฐมทัศน์ด้วย การปฐมทัศน์ครั้งแรกในโลก ("worldwide" premieres หรือ "world" premieres) คือการแสดงครั้งแรกที่เคยมีมา ส่วนการปฐมทัศน์ในส่วนภูมิภาคอาจเป็นการแสดง/ฉาย ในประเทศนั้น ๆ ภาพยนตร์ที่ฉายในงานเทศกาลภาพยนตร์จะฉายก่อนการออกฉายปกติตามโรงภาพยนตร.

ใหม่!!: ทฤษฎีรักนิรันดรและปฐมทัศน์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอังกฤษ

อังกฤษ (England อิง(ก)ลันด์) หรือในอดีตเรียกว่า แคว้นอังกฤษ เป็นประเทศอันเป็นส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร มีพรมแดนทางบกติดต่อกับสกอตแลนด์ทางเหนือ และเวลส์ทางตะวันตก ทะเลไอร์แลนด์ทางตะวันตกเฉียงเหนือ ทะเลเคลติกทางตะวันตกเฉียงใต้ ทะเลเหนือทางตะวันออก และช่องแคบอังกฤษซึ่งคั่นระหว่างอังกฤษกับยุโรปแผ่นดินใหญ่ พื้นที่ประเทศอังกฤษส่วนใหญ่ตั้งอยู่ทางตอนกลางและตอนใต้ของเกาะบริเตนใหญ่ในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ ประเทศอังกฤษยังรวมถึงเกาะที่เล็กกว่าอีกกว่า 100 เกาะ เช่น หมู่เกาะซิลลีและเกาะไวต์ ภูมิประเทศของอังกฤษส่วนมากประกอบด้วยเขาเตี้ยๆ และที่ราบ โดยเฉพาะทางตอนกลางและตอนใต้ของอังกฤษ อย่างไรก็ตาม ทางเหนือและทางตะวันตกเฉียงใต้เป็นที่สูง วินเชสเตอร์เป็นเมืองหลวงเก่าของอังกฤษกระทั่งเปลี่ยนมาเป็นลอนดอนใน..

ใหม่!!: ทฤษฎีรักนิรันดรและประเทศอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

เฟลิซิตี โจนส์

ฟลิซิตี โรส ฮัดลีย์ โจนส์ (อังกฤษ: Felicity Rose Hadley Jones; เกิด 17 ตุลาคม ปี 1983) หรือที่รู้จักกันในชื่อ เฟลิซิตี โจนส์ เป็นนักแสดงชาวอังกฤษ เธอเริ่มการแสดงมืออาชีพตั้งแต่ยังเด็ก ปรากฏตัวเมื่อวัย 12 ปีในภาพยนตร์โทรทัศน์ The Treasure Seekers (1996) เฟซิลิตี้แสดงบทบาท Ethel Hallow หนึ่งซีซันในทีวีซีรีส์ The Worst Witch (1986) และซีรีส์ภาคต่อ Weirdsister College (2001) ในงานวิทยุเธอยังได้รับบทของ Emma Grundy ในรายการ The Archers ของบีบีซี  ในปี 2008 เธอปรากฏตัวบนเวที The Chalk Garden โรงละคร Donmar Warehouse (ลอนดอน) ตั้งแต่ปี 2006 เฟลิซิตี โจนส์ปรากฏตัวในภาพยนตร์หลายเรื่อง รวมถึง Northanger Abbey (2007), Brideshead Revisited (2008), Chéri (2009), The Tempest (2010), The Amazing Spider-Man 2 (2014) และ True Story (2015) ในปี 2011 เธอได้รับความนิยมอย่างมากในภาพยนตร์โรแมยติก Like Crazy (2011) คว้ารางวัลจำนวนมาก รวมถึง รางวัลคัดสรรพิเศษ (Jury prize) ที่เทศกาลภาพยนตร์ซันแดนซ์ ในปี 2014 เฟซิลิตี้สวมบทบาท เจน ฮอว์คิง ในภาพยนตร์ ทฤษฎีรักนิรันดร (The Theory of Everything) เธอประสบความสำเร็จครั้งสำคัญ โดยได้รับการเสนอชื่อหลายรางวัล เป็นผู้แสดงนำหญิงยอดเยี่ยม รวมถึง ลูกโลกทอง, SAG, BAFTA และรางวัลออสการ์  ในปี 2016 เธอแสดงในภาพยนตร์ผจญภัย-ระทึกขวัญ Inferno, และดราม่าแฟนตาซี A Monster Calls แล้วตามด้วย Rogue One: A Star Wars Story ในบทบาทของ Jyn Erso  เธอได้รับการยกย่องจากรางวัล "ศิลปินบริติชแห่งปี" จาก BAFTA Britannia ใน 2016.

ใหม่!!: ทฤษฎีรักนิรันดรและเฟลิซิตี โจนส์ · ดูเพิ่มเติม »

เอดดี เรดเมน

อดเวิร์ด จอห์น เดวิด เรดเมน (Edward John David Redmayne) (เกิด 6 มกราคม ค.ศ. 1982) หรือชื่อลำลองคือ เอดดี เรดเมน (Eddie Redmayne) เป็นนักแสดง นักร้อง นายแบบ ชาวอังกฤษ เขาแสดงในภาพยนตร์ 7 วัน แล้วคิดถึงกันตลอดไป, Les Misérables, The Theory of Everything, และ Jupiter Ascending เขาได้รับเสียงวิจารณ์ด้านบวกกับบทบาท สตีเฟน ฮอว์คิง ในภาพยนตร์ The Theory of Everything ซึ่งเขาได้รับรางวัลออสการ์ สาขานักแสดงนำชายยอดเยี่ยม รางวัลนักแสดงภาพยนตร์ยอดเยี่ยมประเภทดราม่าจากลูกโลกทองคำ รางวัลนักแสดงนำยอดเยี่ยมจากแซกอวอร.

ใหม่!!: ทฤษฎีรักนิรันดรและเอดดี เรดเมน · ดูเพิ่มเติม »

เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติโทรอนโต

ทศกาลภาพยนตร์นานาชาติโทรอนโต (Toronto International Film Festival ย่อว่า TIFF) เป็นเทศกาลภาพยนตร์ที่เปิดเผยแก่คนทั่วไป ที่จัดขึ้นทุก ๆ เดือนกันยายน ที่เมืองโทรอนโต รัฐออนแทรีโอ เทศกาลเริ่มในคืนวันพฤหัสบดี หลังจากวันแรงงาน (จันทร์แรกในเดือนกันยายน เป็นวันแรงงานของแคนาดา) และมีขึ้นเป็นเวลา 10 วัน มีภาพยนตร์ราว 300-400 เรื่องที่เข้าฉายในราว 23 โรงในดาวทาวน์ของโทรอนโต มีผู้เข้าร่วมในเทศกาลนี้มากถึงราว 300,000 คน เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติโทรอนโตเกิดขึ้นในปี..

ใหม่!!: ทฤษฎีรักนิรันดรและเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติโทรอนโต · ดูเพิ่มเติม »

1 มกราคม

วันที่ 1 มกราคม เป็นวันแรกของปี ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 364 วันในปีนั้น (365 วันในปีอธิกสุรทิน).

ใหม่!!: ทฤษฎีรักนิรันดรและ1 มกราคม · ดูเพิ่มเติม »

5 กุมภาพันธ์

วันที่ 5 กุมภาพันธ์ เป็นวันที่ 36 ของปี ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 329 วันในปีนั้น (330 วันในปีอธิกสุรทิน).

ใหม่!!: ทฤษฎีรักนิรันดรและ5 กุมภาพันธ์ · ดูเพิ่มเติม »

7 กันยายน

วันที่ 7 กันยายน เป็นวันที่ 250 ของปี (วันที่ 251 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 115 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: ทฤษฎีรักนิรันดรและ7 กันยายน · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »