เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

ทรอปิกออฟแคปริคอร์น

ดัชนี ทรอปิกออฟแคปริคอร์น

แผนที่โลกแสดงทรอปิกออฟแคปริคอร์น ทรอปิกออฟแคปริคอร์น (Tropic of Capricorn) หรือ ทรอปิกใต้ เป็นวงกลมละติจูดที่ประกอบด้วยจุดใต้แสงอาทิตย์ (subsolar point) ในอายันใต้ (Southern solstice) ของเดือนธันวาคม ทรอปิกออฟแคปริคอร์นเป็นละติจูดใต้สุดที่ดวงอาทิตย์สามารถปรากฏอยู่เหนือหัวพอดี ส่วนละติจูดเหนือสุดที่ดวงอาทิตย์สามารถปรากฏอยู่เหนือหัวพอดีคือทรอปิกออฟแคนเซอร์ ทรอปิกออฟแคปริคอร์นเป็นหนึ่งในห้าวงกลมละติจูดหลักบนแผนที่ของโลก ละติจูดของเส้นทรอปิกออฟแคปริคอร์นคือ ใต้เส้นศูนย์สูตร (ณ วันที่) แต่เส้นนี้ค่อยๆเลื่อนไปทางเหนือด้วยอัตรา 0.47 พิลิปดา หรือ 15 เมตรต่อปีในปัจจุบัน.

เปิดใน Google Maps

สารบัญ

  1. 6 ความสัมพันธ์: ลิปดาวงกลมละติจูดทรอปิกออฟแคนเซอร์แผนที่โลกเส้นศูนย์สูตร

  2. เขตร้อน

ลิปดา

ลิปดา (minute of arc, arcminute หรือ MOA) เป็นหน่วยหนึ่งในการวัดมุม มีค่าเท่ากับ ของหนึ่งองศา เนื่องจากหนึ่งองศาเท่ากับ ของวงกลม ดังนั้น 1 ลิปดาจึงเท่ากับ ของวงกลม หน่วยวัดขนาดเล็กเช่นนี้มักใช้ในการวัดค่าที่ละเอียดมากๆ เช่นในวิชาดาราศาสตร์หรือการกำหนดพิกัดการยิงอาวุธ ส่วน พิลิปดา (second of arc, arcsecond) (บ้างก็เขียนว่า วิลิปดา) เป็นหน่วยที่มีขนาดเป็น ของหนึ่งลิปดาอีกต่อหนึ่ง หรือเท่ากับ องศา หรือเท่ากับ ของวงกลม ลิปดาและพิลิปดาเป็นคำไทย การเขียน "ฟิลิปดา" ไม่ถูกต้องและมาจากความเข้าใจที่ผิดว่าคำนี้มาจากภาษาต่างประเทศ ตารางแสดงสัดส่วนและความสัมพันธ์ระหว่าง องศา ลิปดา พิลิปดา และมิลลิพิลิปดา แสดงได้ดังนี้.

ดู ทรอปิกออฟแคปริคอร์นและลิปดา

วงกลมละติจูด

วงกลมละติจูด (Circle of Latitude) หรือ เส้นขนาน (Parallel) เป็นเส้นสมมติในแนวตะวันออก-ตะวันตกของโลก ลากเชื่อมจุดต่างๆ ที่มีพิกัดละติจูดเท่ากัน วงกลมละติจูดวัดจากการหมุนรอบตัวของโลก โดยจะตั้งฉากกับแกนหมุนเสมอ และมีวงกลมละติจูดพิเศษ 4 เส้นที่นำมาจากการโคจรรอบดวงอาทิตย์ วงกลมละติจูดที่สำคัญมี 5 เส้นคือ.

ดู ทรอปิกออฟแคปริคอร์นและวงกลมละติจูด

ทรอปิกออฟแคนเซอร์

แผนที่โลกแสดงทรอปิกออฟแคนเซอร์ ทรอปิกออฟแคนเซอร์ (Tropic of Cancer) หรือเรียก ทรอปิกเหนือ เป็นวงกลมละติจูดเหนือสุดบนโลกที่ดวงอาทิตย์ปรากฏหัวศีรษะโดยตรงเมื่อถึงจุดสูงสุด เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นปีละครั้ง คือ เวลาอายันเหนือ (Northern solstice) เมื่อซีกโลกเหนือเอียงเข้าหาดวงอาทิตย์ถึงขนาดมากที่สุด วันที่ เส้นนี้อยู่ที่ เหนือเส้นศูนย์สูตร ส่วนในซีกโลกใต้ เส้นที่กำหนดตำแหน่งใต้สุดที่ดวงอาทิตย์อาจปรากฏเหนือศีรษะโดยตรง คือ ทรอปิกออฟแคปริคอร์น สองทรอปิกนี้เป็นการวัดองศาใหญ่หรือวงกลมละติจูดใหญ่สองจากห้าอย่างซึ่งทำเครื่องหมายแผนที่โลก นอกเหนือจากวงกลมอาร์กติกและแอนตาร์กติกและเส้นศูนย์สูตร ตำแหน่งของวงกลมละติจูดเหล่านี้ (สัมพันธ์กับเส้นศูนย์สูตร) กำหนดโดยความเอียงของแกนหมุนโลกเทียบกับระนาบวงโคจรของโลก.

ดู ทรอปิกออฟแคปริคอร์นและทรอปิกออฟแคนเซอร์

แผนที่

231x231px แผนที่ คือ รูปภาพอย่างง่ายซึ่งจำลองบริเวณบริเวณหนึ่ง และมีการแสดงความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบต่าง ๆ เช่น วัตถุ หรือบริเวณย่อย ๆ ที่อยู่ในบริเวณนั้น แผนที่มักเป็นรูปสองมิติซึ่งแสดงระยะห่างระหว่างจุดสองจุดในบริเวณใดบริเวณหนึ่งได้อย่างถูกต้องตามหลักเรขาคณิต ยกตัวอย่างเช่น แผนที่ทางภูมิศาสตร์ นอกจากนี้เรายังสามารถวาดแผนที่แสดงคุณสมบัติของบริเวณต่าง ๆ บนพื้นโลก เช่น ความหนาแน่นของประชากร ความสูงของพื้นที่ ดัชนีการพัฒนาของมนุษย์ในแต่ละประเทศ เป็นต้น.

ดู ทรอปิกออฟแคปริคอร์นและแผนที่

โลก

"เดอะบลูมาร์เบิล" ภาพถ่ายดาวเคราะห์โลกจากยาน ''อพอลโล 17'' โลก (loka; world) มีความหมายโดยปริยายหมายถึงหมู่มนุษย์ รวมทั้งอารยธรรมมนุษย์โดยรวมทั้งหมด โดยเฉพาะในด้านประสบการณ์ ประวัติศาสตร์ หรือสภาพของมนุษย์โดยทั่ว ๆ ไป ทั้งนี้ คำว่า ทั่วโลก หมายถึงสถานที่ใด ๆ บนดาวเคราะห์โลก ในทางปรัชญามองโลกอยู่ 2 แบบ คือ.

ดู ทรอปิกออฟแคปริคอร์นและโลก

เส้นศูนย์สูตร

้นศูนย์สูตรบนแผนที่โลก ในทางภูมิศาสตร์ เส้นศูนย์สูตร (Equator) คือ เส้นที่ลากผ่านศูนย์กลางวงกลมในแนวทิศตะวันตก-ตะวันออก และตั้งฉากกับแกนหมุนของโลก เป็นเส้นสมมุติที่ลากผ่านเส้นศูนย์กลางวงกลม แบ่งโลกออกเป็นสองซีกเท่า ๆ กัน ผู้สังเกตที่อยู่บนเส้นศูนย์สูตร มีระยะเวลาของกลางวันกับกลางคืนยาวนานเกือบเท่ากันตลอดทั้งปี และเห็นดวงอาทิตย์ผ่านจุดเหนือศีรษะในเวลาเที่ยงของวันวิษุวัต เส้นศูนย์สูตรของโลกมีความยาวประมาณ 40,075 กิโลเมตร ลากผ่าน 13 ประเทศ และเป็นหนึ่งในละติจูด 5 เส้นสำคัญของโลก เป็นละติจูดที่เรียกว่า "Great Circle" ที่ลากแบ่งครึ่งโลกเป็นวงกลมขนาดใหญ่ที่มีจุดศูนย์กลางและมีรัศมีเท่า ๆ กัน เมื่อขยายเส้นศูนย์สูตรโลกเป็นระนาบศูนย์สูตร (Equatorial Plane) ออกไปตัดทรงกลมฟ้า เกิดเป็นวงกลมใหญ่ เรียกว่า เส้นศูนย์สูตรท้องฟ้า (Celestial Equator).

ดู ทรอปิกออฟแคปริคอร์นและเส้นศูนย์สูตร

ดูเพิ่มเติม

เขตร้อน

หรือที่รู้จักกันในชื่อ ทรอปิกออฟแครปริคอน