โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ถนนเสรีไทย

ดัชนี ถนนเสรีไทย

นนเสรีไทย (Thanon Seri Thai) เริ่มตั้งแต่เขตบางกะปิ ผ่านเขตบึงกุ่ม เขตคันนายาว ไปสิ้นสุดที่เขตมีนบุรี ในกรุงเทพมหานคร เดิมอยู่ในความดูแลของแขวงการทางกรุงเทพ กรมทางหลวง และได้รับการกำหนดเป็น ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3278 ปัจจุบันอยู่ในความดูแลของกรุงเทพมหานคร ถนนสายนี้มีความยาวประมาณ 9 กิโลเมตร มีจุดเริ่มต้นที่แยกบางกะปิ ปลายถนนลาดพร้าวในเขตบางกะปิ ซึ่งเป็นจุดตัดกับถนนนวมินทร์และถนนพ่วงศิริ โดยมีทิศทางมุ่งไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ตัดกับถนนศรีบูรพาที่แยกนิด้า ผ่านเขตบึงกุ่ม ตัดกับถนนกาญจนาภิเษก (ด้านตะวันออก) ถนนสวนสยาม และตัดกับถนนมีนพัฒนาที่แยกบางชัน ไปสิ้นสุดที่แยกเมืองมีน ซึ่งเป็นจุดตัดกับถนนรามอินทรา ถนนสุวินทวงศ์ และถนนสีหบุรานุกิจในเขตมีนบุรี.

32 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2538พิพิธภัณฑ์เสรีไทยกรุงเทพมหานครกรุงเทพมหานคร (องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น)การเคหะแห่งชาติวันสันติภาพไทยสวนสยามสวนเสรีไทยสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์สงครามโลกครั้งที่สองอำเภอบางปะอินจังหวัดฉะเชิงเทราถนนพ่วงศิริถนนกาญจนาภิเษกถนนมีนพัฒนาถนนรามคำแหงถนนลาดพร้าวถนนศรีบูรพาถนนสีหบุรานุกิจถนนนวมินทร์ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 304แยกเมืองมีนโรงพยาบาลเสรีรักษ์โรงเรียนบางกะปิเสรีไทยเขตบางกะปิเขตบางนาเขตบึงกุ่มเขตมีนบุรีเขตหลักสี่เขตหนองจอกเขตคันนายาว

พ.ศ. 2538

ทธศักราช 2538 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1995 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอาทิตย์ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: ถนนเสรีไทยและพ.ศ. 2538 · ดูเพิ่มเติม »

พิพิธภัณฑ์เสรีไทย

200px พิพิธภัณฑ์เสรีไทย ตั้งอยู่ด้านหลังของโรงแรมภราดร ถนนยันตรกิจโกศล อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ การเสียสละที่ยิ่งใหญ่เพื่อชาติ แสดงถึงความสมัครสมานสามัคคี ความร่วมมือร่วมใจเพื่อประเทศชาติ ขบวนการเสรีไทยในภาคเหนือมีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองแพร.

ใหม่!!: ถนนเสรีไทยและพิพิธภัณฑ์เสรีไทย · ดูเพิ่มเติม »

กรุงเทพมหานคร

กรุงเทพมหานคร เป็นเมืองหลวงและนครที่มีประชากรมากที่สุดของประเทศไทย เป็นศูนย์กลางการปกครอง การศึกษา การคมนาคมขนส่ง การเงินการธนาคาร การพาณิชย์ การสื่อสาร และความเจริญของประเทศ เป็นเมืองที่มีชื่อยาวที่สุดในโลก ตั้งอยู่บนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเจ้าพระยา มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านและแบ่งเมืองออกเป็น 2 ฝั่ง คือ ฝั่งพระนครและฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานครมีพื้นที่ทั้งหมด 1,568.737 ตร.กม.

ใหม่!!: ถนนเสรีไทยและกรุงเทพมหานคร · ดูเพิ่มเติม »

กรุงเทพมหานคร (องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น)

กรุงเทพมหานคร (ย่อ: กทม.; Bangkok Metropolitan Administration, BMA) เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ ซึ่งทำหน้าที่บริหารเขตการปกครองพิเศษกรุงเทพมหานคร ตามกฎหมายปัจจุบันคือ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528.

ใหม่!!: ถนนเสรีไทยและกรุงเทพมหานคร (องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น) · ดูเพิ่มเติม »

การเคหะแห่งชาติ

ที่อยู่: 905 ถ. นวมินทร์ แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ 10240 website: https://www.nha.co.th การเคหะแห่งชาติ, การเคหะสาธารณะ, การเคหะแผ่นดิน หรือ การเคหะหลวง (national housing หรือ public housing) เป็นรูปแบบหนึ่งของการถือครองเคหสถานโดยที่เคหสถานเหล่านั้นเป็นสมบัติของแผ่นดิน.

ใหม่!!: ถนนเสรีไทยและการเคหะแห่งชาติ · ดูเพิ่มเติม »

วันสันติภาพไทย

วันสันติภาพไทย คือ วันที่ 16 สิงหาคม ของทุกปี ซึ่งเป็นวันที่ระลึกถึงการสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งในวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2488 ประเทศไทยโดยนายปรีดี พนมยงค์ หัวหน้าขบวนการเสรีไทย ในฐานะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในรัชกาลที่ 8 ได้ออกประกาศสันติภาพในพระปรมาภิไธยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ให้การประกาศสงครามต่อสหรัฐอเมริกาและบริเตนใหญ่เมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2485 เป็นโมฆะ เนื่องจากเป็นการกระทำอันขัดต่อเจตจำนงของประชาชนและขัดต่อรัฐธรรมนูญ ซึ่งประชาชนชาวไทยทั้งในและนอกประเทศได้ร่วมกันแสดงเจตจำนงไม่ยอมรับคำประกาศดังกล่าวด้วยการจัดตั้งขบวนการเสรีไทยช่วยเหลือฝ่ายสัมพันธมิตรในการต่อสู้กับกองทัพญี่ปุ่นที่ยึดครองประเทศไทยอยู่ในระหว่างสงคราม (ตั้งแต่วันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2484) โดยที่ประเทศไทยประกาศว่าจะร่วมมือเต็มที่ทุกทางกับสหประชาชาติในการสถาปนาเสถียรภาพในโลกนี้ ประกาศสันติภาพนี้มีนายทวี บุณยเกตุ รัฐมนตรี เป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ เพื่อเป็นการรำลึกถึงเหตุการณ์ดังกล่าว มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จึงตั้งชื่อถนนภายในศูนย์ท่าพระจันทร์ ที่เชื่อมระหว่างประตูถนนพระอาทิตย์กับประตูท่าพระจันทร์และผ่านหน้าตึกโดมว่า ถนน 16 สิงหา สันติภาพไทย หมวดหมู่:มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ใหม่!!: ถนนเสรีไทยและวันสันติภาพไทย · ดูเพิ่มเติม »

สวนสยาม

ลเดอร์ขนาดใหญ่ของสวนสยาม สวนสยามทะเลกรุงเทพ (Siam Park) เป็นสวนสนุกและสวนน้ำ ตั้งอยู่ที่ถนนสวนสยาม แขวงคันนายาว เขตคันนายาว บนเนื้อที่ 300 ไร่ ได้ฉายาว่า "ทะเลกรุงเทพ" และคำขวัญคือ "สวนสยาม...

ใหม่!!: ถนนเสรีไทยและสวนสยาม · ดูเพิ่มเติม »

สวนเสรีไทย

วนเสรีไทย หรือชื่อเดิมว่า สวนน้ำบึงกุ่ม เป็น สวนสาธารณะ ตั้งอยู่ที่ หมู่บ้านสหกรณ์ ถนนเสรีไทย57ถนนเสรีไทย เขตบึงกุ่ม กรุงเทพมหานคร มีพื้นที่ทั้งสิ้นประมาณ 350 ไร่ มีจุดที่น่าสนใจหลายแห่งได้แก.

ใหม่!!: ถนนเสรีไทยและสวนเสรีไทย · ดูเพิ่มเติม »

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

ันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (สพบ.) (National Institute of Development Administration) หรือ ที่นิยมเรียกกันว่า นิด้า (NIDA) เป็นสถาบันการศึกษาชั้นสูงของรัฐ เปิดสอนเฉพาะระดับมหาบัณฑิต (ปริญญาโท) และดุษฎีบัณฑิต (ปริญญาเอก) และถือเป็นสถาบันการศึกษาที่เปิดการสอนหลักสูตร MBA เป็นแห่งแรกในประเทศไทย โดยคณะบริหารธุรกิจของนิด้าได้รับการจัดอยู่ในอันดับต้นของทวีปเอเชียอยู่สม่ำเสมอจากสื่อชั้นนำระดับนานาชาติ ประกอบกับเป็นสถาบันที่มีอัตราส่วนอาจารย์ระดับปริญญาเอกต่อจำนวนนักศึกษาที่สูงที่สุดในประเทศไทย และสัดส่วนอาจารย์ที่มีตำแหน่งทางวิชาการสูงที่สุดในประเทศไทย รวมไปถึงยังได้รับคะแนนการประเมินการดำเนินงานจากหลากหลายองค์กรในระดับสูงที่สุดในประเทศไทย บุคคลที่เกี่ยวข้องกับสถาบันรวมถึงคณาจารย์และศิษย์เก่ามีหลากหลาย ซึ่งรวมถึงบุคคลสำคัญในด้านการเมืองการปกครองและภาคธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นนายกรัฐมนตรี, รองนายกรัฐมนตรี, รัฐมนตรีประจำกระทรวงต่างๆ, สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ, สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ, สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ และข้าราชการระดับสูง รวมถึงเจ้าของธุรกิจขนาดใหญ่ ของประเทศไท.

ใหม่!!: ถนนเสรีไทยและสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

สงครามโลกครั้งที่สอง

งครามโลกครั้งที่สอง (World War II หรือ Second World Warคำว่าสงครามโลกครั้งที่สองในภาษาอังกฤษนั้น ในเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการของสหราชอาณาจักรและชาติตะวันตกใช้คำว่า "Second World War" ส่วนในสหรัฐใช้คำว่า "World War II" (ย่อเป็น "WWII" หรือ "WW2") ซึ่งเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการในประเทศส่วนใหญ่มักจะใช้ภาษาอังกฤษว่า "Second World War" (เช่น Zweiter Weltkrieg ในภาษาเยอรมัน; Segunda Guerra mundial ในภาษาสเปน; Seconde Guerre mondiale ในภาษาฝรั่งเศส) แต่ทั้งสองคำนี้โดยทั่วไปแล้วสามารถใช้แทนกันได้; แม้ในประวัติศาสตร์การทหารอย่างเป็นทางการ คำว่า "Second World War" ถูกสร้างขึ้นโดย แฟรงก์ บี. เคลล็อก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา; ส่วนคำว่า "World War II" พบใช้เป็นครั้งแรกในนิตยสาร ไทมส์ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 1939 ซึ่งเป็นผู้ประดิษฐ์คำว่า "World War I" ขึ้นในอีกสามเดือนต่อมา; มักย่อเป็น WWII หรือ WW2) เป็นสงครามทั่วโลกกินเวลาตั้งแต่ปี 1939 ถึง 1945 ประเทศส่วนใหญ่ในโลกมีส่วนเกี่ยวข้อง รวมทั้งรัฐมหาอำนาจทั้งหมด แบ่งเป็นพันธมิตรทางทหารคู่สงครามสองฝ่าย คือ ฝ่ายสัมพันธมิตรและฝ่ายอักษะ เป็นสงครามที่กว้างขวางที่สุดในประวัติศาสตร์ มีทหารกว่า 100 ล้านนายจากกว่า 30 ประเทศเข้าร่วมโดยตรง สงครามนี้มีลักษณะเป็น "สงครามเบ็ดเสร็จ" คือ ประเทศผู้ร่วมสงครามหลักทุ่มขีดความสามารถทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ทั้งหมดเพื่อความพยายามของสงคราม โดยลบเส้นแบ่งระหว่างทรัพยากรของพลเรือนและทหาร ประเมินกันว่าสงครามมีมูลค่าราว 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ประเมินกันว่ามีผู้เสียชีวิตระหว่าง 50 ถึง 85 ล้านคน ด้วยประการทั้งปวง สงครามโลกครั้งที่สองจึงนับว่าเป็นสงครามขนาดใหญ่ที่สุด ใช้เงินทุนมากที่สุด และมีผู้เสียชีวิตสูงสุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ จักรวรรดิญี่ปุ่นซึ่งมีเป้าหมายครอบงำทวีปเอเชียและแปซิฟิกและทำสงครามกับจีนมาตั้งแต่ปี 1937 แล้ว แต่โดยทั่วไปถือว่าสงครามโลกครั้งที่สองเริ่มตั้งแต่การบุกครองโปแลนด์ของเยอรมนีในวันที่ 1 กันยายน 1939 นำไปสู่การประกาศสงครามต่อเยอรมนีของประเทศฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักร ตั้งแต่ปลายปี 1939 ถึงต้นปี 1941 ในการทัพและสนธิสัญญาต่าง ๆ ประเทศเยอรมนีพิชิตหรือควบคุมยุโรปภาคพื้นทวีปได้ส่วนใหญ่ และตั้งพันธมิตรอักษะกับอิตาลีและญี่ปุ่น ภายใต้สนธิสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบนทรอพเมื่อเดือนสิงหาคม 1939 เยอรมนีและสหภาพโซเวียตแบ่งแลผนวกดินแดนประเทศเพื่อนบ้านยุโรปของตน ได้แก่ โปแลนด์ ฟินแลนด์ โรมาเนียและรัฐบอลติก สงครามดำเนินต่อส่วนใหญ่ระหว่างชาติฝ่ายอักษะยุโรปและแนวร่วมสหราชอาณาจักรและเครือจักรภพบริติช โดยมีการทัพอย่างการทัพแอฟริกาเหนือและแอฟริกาตะวันออก ยุทธการที่บริเตนซึ่งเป็นการสู้รบทางอากาศ การทัพทิ้งระเบิดเดอะบลิตซ์ การทัพบอลข่าน ตลอดจนยุทธการที่แอตแลนติกที่ยืดเยื้อ ในเดือนมิถุนายน 1941 ชาติอักษะยุโรปบุกครองสหภาพโซเวียต เปิดฉากเขตสงครามภาคพื้นดินที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ซึ่งทำให้กำลังทหารสำคัญของฝ่ายอักษะตกอยู่ในสงครามบั่นทอนกำลัง ในเดือนธันวาคม 1941 ญี่ปุ่นโจมตีสหรัฐและอาณานิคมยุโรปในมหาสมุทรแปซิฟิก และพิชิตมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกส่วนมากได้อย่างรวดเร็ว การรุกของฝ่ายอักษะยุติลงในปี 1942 หลังญี่ปุ่นปราชัยในยุทธนาวีที่มิดเวย์ใกล้กับฮาวายที่สำคัญ และเยอรมนีปราชัยในแอฟริกาเหนือและจากนั้นที่สตาลินกราดในสหภาพโซเวียต ในปี 1943 จากความปราชัยของเยอรมนีติด ๆ กันที่เคิสก์ในยุโรปตะวันออก การบุกครองอิตาลีของฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งนำให้อิตาลียอมจำนน จนถึงชัยของฝ่ายสัมพันธมิตรในมหาสมุทรแปซิฟิก ฝ่ายอักษะเสียการริเริ่มและต้องล่าถอยทางยุทธศาสตร์ในทุกแนวรบ ในปี 1944 ฝ่ายสัมพันธมิตรบุกครองฝรั่งเศสในการยึดครองของเยอรมนี ขณะเดียวกันกับที่สหภาพโซเวียตยึดดินแดนที่เสียไปทั้งหมดคืนและบุกครองเยอรมนีและพันธมิตร ระหว่างปี 1944 และ 1945 ญี่ปุ่นปราชัยสำคัญในทวีปเอเชียในภาคกลางและภาคใต้ของจีนและพม่า ขณะที่ฝ่ายสัมพันธมิตรก่อความเสียหายต่อกองทัพเรือญี่ปุ่นและยึดหมู่เกาะแปซิฟิกตะวันตกที่สำคัญ สงครามในยุโรปยุติลงหลังกองทัพแดงยึดกรุงเบอร์ลินได้ และการยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขของเยอรมนีเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 1945 แม้จะถูกโดดเดี่ยวและตกอยู่ในสภาพเสียเปรียบอย่างยิ่ง ญี่ปุ่นยังปฏิเสธที่จะยอมจำนน กระทั่งมีการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์สองลูกถล่มญี่ปุ่น และการบุกครองแมนจูเรีย จึงได้นำไปสู่การยอมจำนนอย่างเป็นทางการของญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 2 กันยายน 1945 สงครามยุติลงด้วยชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตร ผลของสงครามได้เปลี่ยนแปลงการวางแนวทางการเมืองและโครงสร้างสังคมของโลก สหประชาชาติถูกสถาปนาขึ้น เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศและเพื่อป้องกันความขัดแย้งในอนาคต สหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตก้าวเป็นอภิมหาอำนาจของโลกอันเป็นคู่ปรปักษ์กัน นำไปสู่ความขัดแย้งบนเวทีแห่งสงครามเย็น ซึ่งได้ดำเนินต่อมาอีก 46 ปีหลังสงคราม ขณะเดียวกัน การยอมรับหลักการการกำหนดการปกครองด้วยตนเอง เร่งให้เกิดการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องเอกราชในทวีปเอเชียและทวีปแอฟริกา พร้อม ๆ กับที่หลายประเทศได้มุ่งหน้าฟื้นฟูเศรษฐกิจซึ่งอุตสาหกรรมได้รับความเสียหายระหว่างสงคราม และบูรณาการทางการเมืองได้เกิดขึ้นทั่วโลกในความพยายามที่จะรักษาเสถียรภาพความสัมพันธ์หลังสงคราม.

ใหม่!!: ถนนเสรีไทยและสงครามโลกครั้งที่สอง · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอบางปะอิน

งปะอิน เป็นอำเภอหนึ่งใน 16 อำเภอของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เดิมชื่อ อำเภอพระราชวัง ต่อมาในปี พ.ศ. 2460 ได้เปลี่ยนชื่อมาเป็นชื่ออำเภอดังเช่นปัจจุบัน ซึ่งเป็นอำเภอที่มีประชากรมากเป็นอันดับ 2 ของจังหวัดพระนครศรีอ.

ใหม่!!: ถนนเสรีไทยและอำเภอบางปะอิน · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดฉะเชิงเทรา

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: ถนนเสรีไทยและจังหวัดฉะเชิงเทรา · ดูเพิ่มเติม »

ถนนพ่วงศิริ

ถนนพ่วงศิริ (Thanon Phuang Siri) เป็นถนนสายสั้น ๆ ในเขตบางกะปิ มีความยาวประมาณ 300 เมตร มีจุดเริ่มต้นที่สี่แยกบางกะปิ ปลายถนนลาดพร้าว ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของถนนนวมินทร์ (ถนนสุขาภิบาล 1 เดิม) และถนนเสรีไทย (ถนนสุขาภิบาล 2 เดิม) มุ่งไปทางทิศใต้ ข้ามคลองแสนแสบ ไปสิ้นสุดที่แยกตัดกับถนนรามคำแหง (ถนนสุขาภิบาล 3 เดิม) หมวดหมู่:ถนนในกรุงเทพมหานคร หมวดหมู่:ถนนในเขตบางกะปิ.

ใหม่!!: ถนนเสรีไทยและถนนพ่วงศิริ · ดูเพิ่มเติม »

ถนนกาญจนาภิเษก

นนกาญจนาภิเษก (Thanon Kanchanaphisek) หรือ ถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร ซึ่งมีระยะทางส่วนใหญ่เป็น ทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 เป็นถนนสายสำคัญที่มีเส้นทางเชื่อมต่อกันเป็นวงแหวนล้อมรอบตัวเมืองกรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ รวมถึงผ่านจังหวัดพระนครศรีอยุธยาด้วย มีระยะทางตลอดทั้งสายรวม 168 กิโลเมตร ถนนสายนี้สร้างขึ้นเพื่อแก้ปัญหาการจราจรที่ติดขัดในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลที่มีปริมาณการจราจรและการขนส่งเพิ่มขึ้น อันเป็นผลจากความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และเป็นทางเลี่ยงเมืองกรุงเทพมหานครที่เป็นตัวเชื่อมทางสายหลักเข้าไปสู่ทุกภาคของประเทศ เริ่มก่อสร้างครั้งแรกเมื่อปี..

ใหม่!!: ถนนเสรีไทยและถนนกาญจนาภิเษก · ดูเพิ่มเติม »

ถนนมีนพัฒนา

ถนนมีนพัฒนา (Thanon Min Phatthana) เป็นถนนสายสั้น ๆ ในท้องที่แขวงมีนบุรี เขตมีนบุรี กรุงเทพมหานคร มีความยาวประมาณ 700 เมตร เชื่อมระหว่างถนนเสรีไทยกับถนนรามคำแหง (ถนนสุขาภิบาล 3 เดิม) มีจุดเริ่มต้นที่แยกบางชันบนถนนเสรีไทย มีทิศทางมุ่งไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ข้ามคลองแสนแสบ ไปสิ้นสุดที่แยกลาดบัวขาวบนถนนรามคำแหง หมวดหมู่:ถนนในกรุงเทพมหานคร หมวดหมู่:ถนนในเขตมีนบุรี.

ใหม่!!: ถนนเสรีไทยและถนนมีนพัฒนา · ดูเพิ่มเติม »

ถนนรามคำแหง

นนรามคำแหง (Thanon Ramkhamhaeng) เป็นถนนสายหนึ่งในกรุงเทพมหานคร ฝั่งตะวันออก มีความยาวรวมทั้งหมดประมาณ 18 กิโลเมตร แบ่งออกเป็น 2 ช่วงคือ.

ใหม่!!: ถนนเสรีไทยและถนนรามคำแหง · ดูเพิ่มเติม »

ถนนลาดพร้าว

นนลาดพร้าว (Thanon Lat Phrao) เป็นถนนสายหนึ่งในกรุงเทพมหานคร มีจุดเริ่มต้นที่ห้าแยกลาดพร้าว (หรือที่นิยมเรียกว่า "ปากทางลาดพร้าว") ในพื้นที่เขตจตุจักร ซึ่งเป็นจุดตัดกับถนนพหลโยธินและถนนวิภาวดีรังสิต มีทิศทางมุ่งไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ผ่านจุดตัดกับถนนรัชดาภิเษก ผ่านพื้นที่เขตห้วยขวางในระยะสั้น ๆ เข้าพื้นที่เขตวังทองหลาง ผ่านแยกถนนโชคชัย 4 (ลาดพร้าว 53) ซอยลาดพร้าว 71 และถนนประดิษฐ์มนูธรรม เข้าพื้นที่ระหว่างเขตวังทองหลางกับเขตบางกะปิ ผ่านแยกถนนลาดพร้าว 101 (วัดบึงทองหลาง) เข้าพื้นที่เขตบางกะปิ ผ่านสามแยกบางกะปิ ซึ่งเป็นจุดตัดกับถนนศรีนครินทร์ ไปสิ้นสุดที่สี่แยกบางกะปิตัดกับถนนนวมินทร์และถนนพ่วงศิริ โดยจากแยกนี้ไปจะเป็นถนนเสรีไทย ในปี..

ใหม่!!: ถนนเสรีไทยและถนนลาดพร้าว · ดูเพิ่มเติม »

ถนนศรีบูรพา

ถนนศรีบูรพา (Thanon Si Burapha) เป็นถนนสายหนึ่งของกรุงเทพมหานคร มีความยาวประมาณ 2 กิโลเมตร เริ่มจากถนนนวมินทร์ (สุขาภิบาล 1) ในพื้นที่แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ ข้ามคลองลำพังพวย ผ่านถนนเสรีไทย (สุขาภิบาล 2) ที่แยกนิด้า ข้ามคลองแสนแสบ ไปสิ้นสุดที่ถนนรามคำแหง (สุขาภิบาล 3) ที่แยกบ้านม้า ในท้องที่แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ เป็นถนนขนาด 4 ช่องทางจราจรตั้งแต่ถนนนวมินทร์ถึงถนนเสรีไทย และจากถนนเสรีไทยถึงถนนรามคำแหงเป็นถนนขนาด 6 ช่องทางจราจร ศรีบูรพา ศรีบูรพา.

ใหม่!!: ถนนเสรีไทยและถนนศรีบูรพา · ดูเพิ่มเติม »

ถนนสีหบุรานุกิจ

นนสีหบุรานุกิจ (Thanon Sihaburanukit) เป็นถนนสายสั้น ๆ ในแขวงมีนบุรี เขตมีนบุรี กรุงเทพมหานคร มีความยาวประมาณ 3 กิโลเมตร มีจุดเริ่มต้นที่แยกเมืองมีน ซึ่งเป็นจุดตัดระหว่างถนนรามอินทรา ถนนสุวินทวงศ์ และถนนเสรีไทย มีทิศทางมุ่งไปทางทิศตะวันออก ข้ามคลองสามวา เลี้ยวขึ้นไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ไปบรรจบกับกับถนนร่มเกล้าบริเวณวัดแสนสุข สถานที่สำคัญบนถนนสายนี้ มีโรงพยาบาลนวมินทร์ วิทยาลัยเทคนิคมีนบุรี ตลาดนัดจตุจักร 2 ตลาดมีนบุรี สวนเฉลิมพระเกียรติ ร.9 มีนบุรี สำนักงานเขตมีนบุรี พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร เขตมีนบุรี โรงเรียนมีนบุรี โรงเรียนสตรีเศรษฐบุตรบำเพ็ญ ศาลจังหวัดมีนบุรี และวัดแสนสุข ในอดีตถนนสายนี้เคยเป็นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3101 แต่ในปัจจุบันดูแลโดยกรุงเทพมหานคร หมวดหมู่:ถนนในกรุงเทพมหานคร หมวดหมู่:ถนนในเขตมีนบุรี.

ใหม่!!: ถนนเสรีไทยและถนนสีหบุรานุกิจ · ดูเพิ่มเติม »

ถนนนวมินทร์

นนนวมินทร์ (Thanon Nawamin) เป็นถนนสายหนึ่งในกรุงเทพมหานคร เดิมชื่อว่า ถนนสุขาภิบาล 1 มีความยาวประมาณ 9 กิโลเมตร มีจุดเริ่มต้นที่สี่แยกบางกะปิ ซึ่งเป็นจุดตัดระหว่างถนนลาดพร้าว ถนนเสรีไทย และถนนพ่วงศิริ ในแขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ มีทิศทางมุ่งขึ้นไปทางทิศเหนือ ผ่านพื้นที่เขตบึงกุ่ม ไปสิ้นสุดที่แยกตัดกับถนนรามอินทรา (บริเวณกิโลเมตรที่ 8) ในเขตคันนายาว เดิมถนนนวมินทร์ได้รับการกำหนดให้เป็นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3202 ในความดูแลของกรมทางหลวง ต่อมากรมทางหลวงได้โอนให้สำนักการโยธา กรุงเทพมหานคร เป็นผู้ดูแลตลอดระยะทาง.

ใหม่!!: ถนนเสรีไทยและถนนนวมินทร์ · ดูเพิ่มเติม »

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 304

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 304 สายปากเกร็ด–สะพานต่างระดับนครราชสีมา เป็นทางหลวงแผ่นดินสายรองประธานที่เชื่อมระหว่างจังหวัดนนทบุรี กรุงเทพมหานคร จังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดปราจีนบุรี และจังหวัดนครราชสีมา มีจุดเริ่มต้นบนถนนติวานนท์ (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 306) ที่ห้าแยกปากเกร็ด ในอำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี และสิ้นสุดบนถนนมิตรภาพ กับทางเลี่ยงเมืองนครราชสีมาด้านตะวันตก (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 204) ที่ทางแยกต่างระดับนครราชสีมา ในอำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา ระยะทางทั้งสิ้น 298.515 กิโลเมตร อยู่ในความรับผิดชอบของกรมทางหลวง 296.707 กิโลเมตร.

ใหม่!!: ถนนเสรีไทยและทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 304 · ดูเพิ่มเติม »

แยกเมืองมีน

แยกเมืองมีน หรือ แยกมีนบุรี เป็นสี่แยกจุดตัดระหว่างถนนรามอินทรา (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 304) ต่อเนื่องถนนสีหบุรานุกิจ ซึ่งเป็นเส้นทางเข้าสู่ชุมชนตลาดมีนบุรี กับถนนเสรีไทยต่อเนื่องถนนสุวินทวงศ์ (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 304) ในพื้นที่แขวงมีนบุรี เขตมีนบุรี กรุงเทพมหานคร.

ใหม่!!: ถนนเสรีไทยและแยกเมืองมีน · ดูเพิ่มเติม »

โรงพยาบาลเสรีรักษ์

รงพยาบาลเสรีรักษ์ เป็นโรงพยาบาลเอกชนที่สร้างแล้วเสร็จในปี..

ใหม่!!: ถนนเสรีไทยและโรงพยาบาลเสรีรักษ์ · ดูเพิ่มเติม »

โรงเรียนบางกะปิ

รงเรียนบางกะปิ เป็นโรงเรียนสหศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และตอนปลายแห่งแรกของเขตบางกะปิ ก่อตั้งเมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2498 ปัจจุบันเป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ แบบสหศึกษา สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กระทรวงศึกษาธิการ โรงเรียนบางกะปิ ตั้งอยู่เลขที่ 69 ถนนเสรีไทย แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร 10240 ซึ่งตรงข้ามกับ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ หรือ นิด้า บนพื้นที่ 49 ไร่ 1 งาน 51 ตารางวา จำนวนนักเรียนประมาณ 3,265 คน ครู-อาจารย์ 157 คน.

ใหม่!!: ถนนเสรีไทยและโรงเรียนบางกะปิ · ดูเพิ่มเติม »

เสรีไทย

รีไทย (Free Thai Movement) เป็นขบวนการใต้ดินที่ดำเนินการระหว่างสงครามมหาเอเชียบูรพา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสงครามโลกครั้งที่สอง ในช่วง พ.ศ. 2484 - 2488 มีวัตถุประสงค์เพื่อต่อต้านการรุกรานของกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่น รักษาเอกราชและอธิปไตยของชาติไทย ขบวนการเสรีไทยกำเนิดขึ้นในวันที่ 8 ธันวาคม..

ใหม่!!: ถนนเสรีไทยและเสรีไทย · ดูเพิ่มเติม »

เขตบางกะปิ

ตบางกะปิ เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงเทพตะวันออก ซึ่งถือเป็นเขตที่อยู่อาศัยรองรับการขยายตัวของเมือง ทางทิศตะวันออก (ตอนใต้).

ใหม่!!: ถนนเสรีไทยและเขตบางกะปิ · ดูเพิ่มเติม »

เขตบางนา

ตบางนา เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงเทพใต้ สภาพทั่วไปเป็นเขตชุมชนเมืองหนาแน่นปานกลางผสมกับชุมชนการเกษตร.

ใหม่!!: ถนนเสรีไทยและเขตบางนา · ดูเพิ่มเติม »

เขตบึงกุ่ม

ตบึงกุ่ม เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงเทพตะวันออก สภาพโดยทั่วไปเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย โดยมีย่านการค้าหนาแน่นทางตอนกลางของพื้นที.

ใหม่!!: ถนนเสรีไทยและเขตบึงกุ่ม · ดูเพิ่มเติม »

เขตมีนบุรี

ตมีนบุรี เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงเทพตะวันออก สภาพภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่ม มีคลองและลำรางไหลผ่านหลายสาย ในอดีตเป็นเรือกสวนไร่นา บ่อปลา นาบัว และไร่หญ้า แต่ปัจจุบันเริ่มลดน้อยลง เนื่องจากพื้นที่หลายแห่งถูกเปลี่ยนสภาพเป็นที่อยู่อาศัยหนาแน่น หมู่บ้าน อาคารพาณิชย์ สถานที่ประกอบการทั้งเล็กและขนาดใหญ.

ใหม่!!: ถนนเสรีไทยและเขตมีนบุรี · ดูเพิ่มเติม »

เขตหลักสี่

ตหลักสี่ เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงเทพเหนือ ซึ่งถือเป็นเขตที่อยู่อาศัยรองรับการขยายตัวของเมือง ทางทิศตะวันออก (ตอนเหนือ) ของกรุงเทพมหานคร.

ใหม่!!: ถนนเสรีไทยและเขตหลักสี่ · ดูเพิ่มเติม »

เขตหนองจอก

ตหนองจอก เป็นเขตการปกครองที่มีพื้นที่มากที่สุดของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงเทพตะวันออก สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นท้องทุ่งและเกษตรกรรม มีลำคลองไหลผ่านหล.

ใหม่!!: ถนนเสรีไทยและเขตหนองจอก · ดูเพิ่มเติม »

เขตคันนายาว

ตคันนายาว เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร จัดอยู่ในกลุ่มเขตกรุงเทพตะวันออก สภาพโดยทั่วไปเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลางและหนาแน่นน้อย โดยมีย่านการค้าหนาแน่นทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือของพื้นที.

ใหม่!!: ถนนเสรีไทยและเขตคันนายาว · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3278

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »