โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ถนนพระสุเมรุ

ดัชนี ถนนพระสุเมรุ

ป้ายชื่อถนนบริเวณป้อมพระสุเมรุ ถนนพระสุเมรุ (Thanon Phra Sumen) เป็นถนนสายหนึ่งในพื้นที่แขวงชนะสงคราม และแขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร โดยชื่อถนนมาจากป้อมพระสุเมรุ ป้อมปราการป้องกันพระนครป้อมแรกรอบเกาะรัตนโกสินทร์ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้น เป็นถนนสายสั้น ๆ ที่มีจุดเริ่มต้นที่บริเวณข้างป้อมพระสุเมรุ ซึ่งเป็นจุดสิ้นสุดของถนนพระอาทิตย์ ในย่านบางลำพู ทอดผ่านแยกบางลำพู ซึ่งเป็นจุดตัดกับถนนจักรพงษ์และถนนสามเสน จากนั้นทอดผ่านวงเวียนสิบสามห้างเลียบไปกับวัดบวรนิเวศวิหาร ไปยังแยกสะพานวันชาติ อันเป็นจุดตัดกับถนนดินสอและถนนประชาธิปไตย จากนั้นเป็นเส้นทางโค้งไปสิ้นสุดลงที่แยกป้อมมหากาฬ อันเป็นจุดตัดกับถนนราชดำเนินกลาง บริเวณป้อมมหากาฬ และเชิงสะพานผ่านฟ้าลีลาศ บริเวณถนนพระสุเมรุ เป็นที่ตั้งของร้านอาหาร, ร้านกาแฟ และร้านหนังสือต่าง ๆ เหมือนกับถนนพระอาทิตย์ที่อยู่ใกล้กัน โดยร้านค้าและอาคารบ้านเรือนบางส่วนยังคงเป็นอาคารเก่าแก่ที่สร้างด้วยสถาปัยกรรมแบบโคโลเนียล รวมถึงยังคงเหลือซากกำแพงพระนครและป้อมปราการรอบพระนคร อันได้แก่ วังริมป้อมพระสุเมรุ และป้อมยุคนธร ป้อมสุดท้ายของเกาะรัตนโกสินทร.

22 ความสัมพันธ์: บางลำพูพิพิธบางลำพูพินิจนครกรุงเทพมหานครกำแพงเมืองและป้อมปราการกรุงเทพมหานครวัดบวรนิเวศราชวรวิหารวังริมป้อมพระสุเมรุสะพานผ่านฟ้าลีลาศสะพานเฉลิมวันชาติหอศิลป์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถถนนพระอาทิตย์ถนนราชดำเนิน (กรุงเทพมหานคร)ถนนสามเสนถนนสิบสามห้างถนนจักรพงษ์ถนนดินสอทีเอ็นเอ็น24ป้อมพระสุเมรุป้อมมหากาฬแยกบางลำพูเกาะรัตนโกสินทร์เขตพระนคร

บางลำพู

ซอยชนะสงคราม แหล่งที่พักนักท่องเที่ยวอีกแห่งในย่านบางลำพู ต้นลำพู ต้นสุดท้ายของกรุงเทพมหานครในสวนสันติชัยปราการ อันเป็นที่มาของชื่อบางลำพู บางลำพู (มักสะกดผิดเป็น บางลำภู) เป็นย่านหนึ่งในพื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์ ในเขตพระนคร กรุงเทพมหานคร บางลำพู ได้ชื่อมาจากในอดีตมีต้นลำพูอยู่เป็นจำนวนมาก ริมคลอง เดิมเป็นชุมนุมและตลาดเล็ก ๆ ริมน้ำก่อนการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ มีวัดเก่าแก่ปรากฏอยู่ในพื้นที่ ได้แก่ วัดสังเวชวิศยาราม (วัดบางลำพู, วัดกลางนา) และวัดชนะสงครามราชวรมหาวิหาร ก่อนจะพัฒนาเป็นแหล่งพำนักของบรรดาเจ้านาย ขุนนาง ข้าราชบริพาร และประชาชนพลเมืองหลายหลากชาติพันธุ์ ทั้งไทย, จีน, มอญ และมุสลิม ที่มาตั้งบ้านเรือนอยู่อาศัยคละเคล้ากัน จนทำให้เป็นแหล่งเกิดอาชีพที่หลากหลาย ต่อมาเมื่อมีการตัดคลองรอบกรุง ทำให้ย่านบางลำพูกลายเป็นท่าน้ำใช้สำหรับขนถ่ายและแลกเปลี่ยนสินค้า เช่น พืชผักผลไม้จากฝั่งธนบุรี ก่อนจะพัฒนากลายเป็นตลาดบกที่สำคัญในเวลาต่อมา ในรัชสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อมีการสร้างพระราชวังดุสิตขึ้น ได้มีการตัดถนนหลายสายขึ้นมาจากถนนสามเสน เช่น ถนนจักรพงษ์, ถนนพระอาทิตย์, ถนนพระสุเมรุ, ถนนข้าวสาร, ถนนรามบุตรี, ถนนตะนาว และถนนสิบสามห้าง จึงให้บางลำพูมีความคึกคักมากขึ้นด้วย ปัจจุบัน บางลำพูเป็นที่รู้จักกันดีในฐานะเป็นแหล่งของการค้าขายเสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่มต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ชุดนักเรียน มีห้างร้านสำหรับจัดจำหน่ายโดยเฉพาะเคยเป็นที่ตั้งของห้างสรรพสินค้าหลายแห่ง และยังเป็นแหล่งที่พักชั่วคราวสำหรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวตะวันตก และได้มีร้านอาหาร, ร้านกาแฟ ตลอดจนร้านจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ไว้ให้บริการด้วย โดยเฉพาะที่ถนนข้าวสาร หรือถนนรามบุตรี.

ใหม่!!: ถนนพระสุเมรุและบางลำพู · ดูเพิ่มเติม »

พิพิธบางลำพู

งลำพู เป็นทั้งพิพิธภัณฑ์ ศูนย์การเรียนรู้ และห้องสมุดชุมชนของย่านบางลำพู อยู่ใกล้กับป้อมพระสุเมรุ บนถนนพระสุเมรุ ปัจจุบันอยู่ในความดูแลของสำนักทรัพย์สินมีค่าของแผ่นดิน กรมธนารักษ์ จัดสร้างขึ้นเพื่อส่งเสริมและพัฒนาชุมชนบางลำพูให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวบริเวณเกาะรัตนโกสินทร์ และเป็นศูนย์การเรียนรู้เชิงการศึกษาวัฒนธรรมชุมชน.

ใหม่!!: ถนนพระสุเมรุและพิพิธบางลำพู · ดูเพิ่มเติม »

พินิจนคร

นิจนคร เป็นรายการสารประโยชน์ประเภทสารคดี ผลิตโดย บริษัท SANFAH television ออกอากาศทาง สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ทุกวันพุธเวลา 20.25 น. - 21.10 น.(เริ่มวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป) (เคยออกอากาศทุกวันจันทร์เวลา 20.20 - 21.10 น.) มี นิธิ สมุทรโคจร เป็นพิธีกร และออกอากาศซ้ำในวันเสาร์เวลา 11.05 น. - 12.00 น. (ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์เป็นต้นไป - พฤษภาคม) ส่วนที่ออกอากาศตั้งแต่เดือนตุลาคมออกอากาศซ้ำในวันอาทิตย์เวลา 11.05 น. - 12.00 น. รายการพินิจนคร มีเนื้อหาเกี่ยวกับสถานที่ต่าง ๆ ในประเทศไทยและมาพินิจพิเคราะห์ให้เห็นว่าสถานที่เหล่านั้นมีความสำคัญกับคนไทยอย่างไร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแง่ของประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรม ซึ่งควรค่าแก่การอนุรักษ์เอาไว้ โดยเริ่มออกอากาศตั้งแต่วันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 จนถึง 27 เมษายน พ.ศ. 2552 และจะกลับมาออกอากาศอีกครั้งตั้งแต่วันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2552 เป็นต้นไปทุกคืนวันจันทร์เวลา 21.10 - 22.00 น.และย้ายวันออกอากาศเป็นวันอังคาร เวลาเดิม ตั้งแต่วันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2553 - 28 ธันวาคม พ.ศ. 2553.

ใหม่!!: ถนนพระสุเมรุและพินิจนคร · ดูเพิ่มเติม »

กรุงเทพมหานคร

กรุงเทพมหานคร เป็นเมืองหลวงและนครที่มีประชากรมากที่สุดของประเทศไทย เป็นศูนย์กลางการปกครอง การศึกษา การคมนาคมขนส่ง การเงินการธนาคาร การพาณิชย์ การสื่อสาร และความเจริญของประเทศ เป็นเมืองที่มีชื่อยาวที่สุดในโลก ตั้งอยู่บนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเจ้าพระยา มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านและแบ่งเมืองออกเป็น 2 ฝั่ง คือ ฝั่งพระนครและฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานครมีพื้นที่ทั้งหมด 1,568.737 ตร.กม.

ใหม่!!: ถนนพระสุเมรุและกรุงเทพมหานคร · ดูเพิ่มเติม »

กำแพงเมืองและป้อมปราการกรุงเทพมหานคร

กำแพงเมืองและประตูเมืองที่เหลืออยู่ด้านทิศเหนือ หน้าวัดบวรนิเวศวิหาร กำแพง และ ประตูพระนคร ของกรุงเทพมหานครนั้น ตั้งอยู่ในเขตพระนคร ปัจจุบันหลงเหลืออยู่ 2 แห่ง ก็คือ ป้อมพระสุเมรุ บริเวณกำแพงเมืองและประตูเมืองด้านทิศเหนือ และบริเวณป้อมมหากาฬ กำแพงเมืองพระนครสร้างมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1 โดยนำอิฐที่จากกำแพงกรุงศรีอยุธยามาสร้าง รวมความยาวทั้งหมดประมาณ 7 กิโลเมตร ครอบคลุมเขตเกาะกรุงรัตนโกสินทร์ มีประตูใหญ่ 16 ประตู ประตูเล็กหรือช่องกุด 47 ประตู และมีป้อม 14 ป้อม ประตูเมืองและกำแพงเมือง ทางทิศเหนือนั้นกรมศิลปากรได้บูรณะเมื่อ พ.ศ. 2524 เป็นประตูเมืองตามแบบในสมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งเป็นประตูยอด โดยแตกต่างจากประตูไม้ทาดินแดงในสมัยรัชกาลที่ 1 และประตูก่ออิฐข้างบนซึ่งใช้เป็นหอรบในสมัยรัชกาลที่ 3 ส่วนกำแพงเมืองทางด้านป้อมมหากาฬนั้น ได้ถูกรื้อถอนออกเป็นจำนวนมากเพื่อสร้างถนน และที่อยู่อาศัย จะเหลือให้เห็นเพียงระยะประมาณ 100 เมตร ติดต่อกับตัวป้อมมหากาฬ ด้านหลังกำแพงมีชุมชนแออัดอาศัยอยู่ ในปัจจุบัน มีแผนการพัฒนาพื้นที่บริเวณนี้ให้เป็นสวนสาธารณะ ซึ่งอาจจะต้องย้ายชุมชนหรืออาจจะแบ่งกลุ่มให้ชาวชุมชนเป็นผู้ดแล.

ใหม่!!: ถนนพระสุเมรุและกำแพงเมืองและป้อมปราการกรุงเทพมหานคร · ดูเพิ่มเติม »

วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร

วัดบวรนิเวศ ราชวรวิหาร หรือ วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร ตั้งอยู่ริมถนนบวรนิเวศและถนนพระสุเมรุ แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร พระอารามนี้เคยเป็นที่ประทับของสมเด็จพระสังฆราชถึง 4 พระองค์ และเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ทั้งยังเป็นวัดประจำรัชกาลที่ ๖ (พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว) และ วัดประจำรัชกาลที่ ๙ (พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช).

ใหม่!!: ถนนพระสุเมรุและวัดบวรนิเวศราชวรวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

วังริมป้อมพระสุเมรุ

วังริมป้อมพระสุเมรุ เดิมเป็นวังของ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าลา กรมหลวงจักรเจษฎา พระราชอนุชาในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปัจจุบันถูกรื้อลงแล้ว เหลือแต้เพียงซุ้มประตูวังเท่านั้น.

ใหม่!!: ถนนพระสุเมรุและวังริมป้อมพระสุเมรุ · ดูเพิ่มเติม »

สะพานผ่านฟ้าลีลาศ

นผ่านฟ้าลีลาศ เป็นสะพานข้ามคลองรอบกรุง ตอนที่เรียกว่าคลองบางลำพู เชื่อมถนนราชดำเนินกลางและถนนราชดำเนินนอก บริเวณใกล้กับป้อมมหากาฬ ในพื้นที่เขตพระนครและเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร สะพานผ่านฟ้าลีลาศสร้างในปีใดไม่ปรากฏหลักฐาน แต่สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างพร้อมกับถนน เดิมเป็นสะพานโครงเหล็ก ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างสะพานใหม่ให้มีลักษณะใหม่และงดงามขึ้น และพระราชทานนามว่าสะพานผ่านฟ้าลีลาศ แม้ในสมัยต่อมาจะมีการปรับปรุงขยายสะพานผ่านฟ้าลีลาศอีกหลายครั้ง เพื่อรองรับกับจำนวนยวดยานพาหนะที่สัญจรผ่านไปมา แต่ก็ยังรักษาลักษณะศิลปกรรมเดิมไว้ให้มากที่สุด สะพานผ่านฟ้าลีลาศเป็นสะพานที่สวยงาม ปลายสะพานทั้ง 2 ฝั่งมีเสาหินอ่อนประดับด้วยเครื่องสำริดและมีลวดลายสลักที่เสาหินอ่อน มีลักษณะงดงามมาก เดิมบริเวณสะพานผ่านฟ้าลีลาศยังเคยเป็นที่ทำการสอนของ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในปี..

ใหม่!!: ถนนพระสุเมรุและสะพานผ่านฟ้าลีลาศ · ดูเพิ่มเติม »

สะพานเฉลิมวันชาติ

นเฉลิมวันชาติ หรือที่นิยมเรียกกันว่า สะพานวันชาติ เป็นสะพานแห่งหนึ่งในพื้นที่แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เป็นสะพานที่ข้ามคลองรอบกรุง ในส่วนของคลองบางลำพู สร้างขึ้นเมื่อปี..

ใหม่!!: ถนนพระสุเมรุและสะพานเฉลิมวันชาติ · ดูเพิ่มเติม »

หอศิลป์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ

ืบเนื่องจากธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) และ มูลนิธิธนาคารกรุงเทพ ได้จัดประกวด จิตรกรรมบัวหลวง ต้นแบบภาพปัก เพื่อมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในพระบรม ราชินูปถัมภ์ โดยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนินมา พระราชทานรางวัล และเสด็จทอดพระเนตรผลงาน จิตรกรรม ณ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) สำนักงานใหญ่ สีลม ถนนสีลม แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร เมื่อ วันที่ 15 มิถุนายน..

ใหม่!!: ถนนพระสุเมรุและหอศิลป์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ · ดูเพิ่มเติม »

ถนนพระอาทิตย์

ป้ายชื่อถนนพระอาทิตย์บริเวณป้อมพระสุเมรุ ถนนพระอาทิตย์ (Thanon Phra Athit) เป็นถนนขนาด 2 ช่องจราจร ในท้องที่แขวงพระบรมมหาราชวังและแขวงชนะสงคราม เขตพระนคร กรุงเทพฯ มีระยะทางระหว่างประตูมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เลียบฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ จนถึงบริเวณป้อมพระสุเมรุ ถนนพระสุเมรุ ชื่อของถนนพระอาทิตย์นำมาจากป้อมพระอาทิตย์ซึ่งเป็นป้อมปราการ 1 ใน 14 ป้อม ที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อสถาปนากรุงเทพฯ เป็นราชธานี ปัจจุบันป้อมพระอาทิตย์ถูกรื้อไปแล้ว.

ใหม่!!: ถนนพระสุเมรุและถนนพระอาทิตย์ · ดูเพิ่มเติม »

ถนนราชดำเนิน (กรุงเทพมหานคร)

นนราชดำเนินกลางและอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ถนนราชดำเนิน (Thanon Ratchadamnoen) เป็นถนนสายสำคัญสายหนึ่งในกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วยถนน 3 สาย ได้แก.

ใหม่!!: ถนนพระสุเมรุและถนนราชดำเนิน (กรุงเทพมหานคร) · ดูเพิ่มเติม »

ถนนสามเสน

แผนที่เขตดุสิต ถนนสามเสนอยู่บริเวณซ้ายบน ใกล้กับแม่น้ำเจ้าพระยา ถนนสามเสน (Thanon Sam Sen) เป็นถนนสายสำคัญในพื้นที่เขตพระนครและเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร.

ใหม่!!: ถนนพระสุเมรุและถนนสามเสน · ดูเพิ่มเติม »

ถนนสิบสามห้าง

แผนที่เขตพระนคร ถนนพระนครอยู่ใกล้กับวัดบวรนิเวศวิหาร (Wat Bowonniwett) ในชื่อ Sip Sam Hang Road ถนนสิบสามห้าง (Thanon Sip Sam Hang) เป็นถนนสายเล็ก ๆ ตั้งอยู่ในย่านบางลำพู แขวงตลาดยอด เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เป็นถนนที่สร้างขึ้นมาตั้งแต่รัชสมัยรัชกาลที่ 5 โดยมีที่มาจากกลุ่มพ่อค้ากลุ่มหนึ่งในมณฑลกวางตุ้ง ประเทศจีน ซึ่งเริ่มต้นมีห้างร้านอยู่ทั้งสิ้น 13 ห้าง ได้รวมตัวกันเพื่อเข้าช่วยเหลือซึ่งกันและกันในด้านการค้าและอื่น ๆ มีตึกทำการอยู่ที่มณฑลกวางตุ้ง ต่อมาเมื่อชาวจีนเข้ามาจับจองทำกิจการค้าที่บางลำพู ได้นำวิธีการนี้มาใช้ และได้สร้างอาคารซึ่งมีลักษณะเหมือนอาคารที่ทำการสมาคมเช่นเดียวกันนี้ขึ้นที่บางลำพู แม้ภายหลังเมื่ออาคารดังกล่าวจะถูกรื้อถอน แต่ชื่อสิบสามห้างยังคงอยู่ และได้กลายเป็นชื่อถนนที่เคยเป็นที่ตั้งอาคารสมาคม นอกจากนี้แล้ว ถนนสิบสามห้างในช่วงกึ่งพุทธกาล (พ.ศ. 2500) เป็นแหล่งชุมนุมของวัยรุ่นเช่นเดียวกับสยามสแควร์ในปัจจุบัน เพราะเป็นแหล่งของร้านอาหารจำนวนมาก ที่เปิดกันจนถึงช่วงดึก และยังมีร้านไอศกรีมซึ่งเป็นสิ่งที่หารับประทานยากในสมัยนั้น รวมถึงยังมีบริการโทรทัศน์เปิดให้กับลูกค้าได้ดูอีกด้วย ซึ่งนับว่าเป็นนวัตกรรมใหม่อีกอย่างหนึ่ง ถนนสิบสามห้างได้รับการกล่าวถึงในภาพยนตร์เรื่อง 2499 อันธพาลครองเมือง ภาพยนตร์ไทยในปี..

ใหม่!!: ถนนพระสุเมรุและถนนสิบสามห้าง · ดูเพิ่มเติม »

ถนนจักรพงษ์

นนจักรพงษ์ในปี พ.ศ. 2559 ถนนจักรพงษ์ (Thanon Chakrabongse) เริ่มตั้งแต่ถนนเจ้าฟ้าถึงสะพานนรรัตน์สถาน (สะพานข้ามคลองรอบกรุง) เป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างแขวงชนะสงครามกับแขวงตลาดยอด เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ถนนจักรพงษ์เป็นถนนที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น โดยทรงใช้วิธีการให้เจ้าของที่ดินริมถนนที่จะตัดขึ้นใหม่ออกเงินตัดถนนเอง แล้วพระราชทานนามว่า ถนนจักรพงษ์ ซึ่งมาจากพระนามของจอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ ต้นราชสกุลจักรพงษ์ พระราชโอรสซึ่งประสูติจากสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี พระพันปีหลวง ถนนจักรพงษ์เป็นถนนที่ตัดผ่านย่านการค้าสำคัญของกรุงเทพมหานครคือย่านบางลำพู.

ใหม่!!: ถนนพระสุเมรุและถนนจักรพงษ์ · ดูเพิ่มเติม »

ถนนดินสอ

ลาว่าการกรุงเทพมหานคร ถนนดินสอ (Thanon Dinso) ถนนเส้นหนึ่งในพื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร มีจุดเริ่มต้นที่วงเวียนเสาชิงช้าที่ถนนบำรุงเมือง บริเวณหน้าเทวสถานโบสถ์พราหมณ์ และทอดยาวออกไปยังถนนราชดำเนินกลางผ่านอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ไปสิ้นสุดลงที่แยกสะพานวันชาติ เชิงสะพานเฉลิมวันชาติ โดยเป็นถนนที่เป็นเส้นตรงตลอดทั้งสาย มีความยาวทั้งสิ้น 850 เมตร ถนนดินสอ เป็นถนนที่สร้างขึ้นในรัชสมัยรัชกาลที่ 5 เหตุที่ได้ชื่อว่า "ดินสอ" เนื่องจากแถบนี้ในช่วงกรุงศรีอยุธยา ผู้คนที่อาศัยอยู่ที่นี่มีอาชีพทำดินสอและกระดาษ จนได้ชื่อว่า "ย่านป่าดินสอ" ปรากฏเป็นหลักฐานในเอกสารจากหอหลวง เรื่องคำให้การขุนหลวงวัดประดู่ ความว่า "ย่านป่าดินสอ ริมวัดพระงาม มีร้ายขายดินสอศิลาอ่อนแก่ แลดินสอขาวเหลือง ดินสอดำ ชื่อตลาดบ้านดินสอ" จนล่วงมาถึงยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์ อาชีพทำดินสอของผู้คนแถบนี้ก็ยังคงอยู่ และถูกเรียกว่า "ย่านดินสอ" หรือ "บ้านดินสอ" ต่อมามีการสร้างถนนขึ้นเมื่อปี..

ใหม่!!: ถนนพระสุเมรุและถนนดินสอ · ดูเพิ่มเติม »

ทีเอ็นเอ็น24

นีโทรทัศน์ทีเอ็นเอ็น24 (TNN24) ก่อตั้งเมื่อวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2550 เดิมชื่อ ยูบีซี นิวส์ (UBC News) ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น ทรู นิวส์ 24 ทรู นิวส์ 2 (True News 24) True news 2 แล้วจึงเปลี่ยนเป็นชื่อปัจจุบันในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2551 ทีเอ็นเอ็นนำเสนอรายการข่าวและเหตุการณ์ปัจจุบัน ตลอด 24 ชั่วโมง ผ่าน 2 ช่องรายการ คือช่อง ทีเอ็นเอ็น24 (ออกอากาศทาง ทรูวิชั่นส์ ช่อง 7) และ ทีเอ็นเอ็น2 (ออกอากาศทาง ทรูวิชั่นส์ ช่อง 8) ต่อมา เมื่อวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2552 ในโอกาสครบรอบ 2 ปี สถานีฯ เปิดตัวเว็บไซต์ เพื่อการนำเสนอข่าวสารทางอินเทอร์เน็ต และตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2553 TNN24 ได้มีการนำเสนอเนื้อหาผ่านทางสถานีวิทยุ TNN RADIO ทางสถานีวิท.2 FM 103 อีกด้วย ต่อมาเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2553 TNN24 ได้เริ่มส่งสัญญาณการออกอากาศในระบบ Free To Air เพื่อขยายฐานสู่ผู้ชมทั่วประเทศและทั่วโลก ท่านสามารถรับชม TNN24 ผ่านทางจาน DTV และ PSI ช่อง 60 หรือที่ระบบ KU-Band ความถี่ 12604 H 30000 และ C-Band ความถี่ 3600 H 26667 จากนั้นเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2555 TNN24 ได้ปรับปรุงระบบส่งสัญญาณและการออกอากาศใหม่ เป็นระบบโทรทัศน์ความละเอียดสูง High Definition และเริ่มออกอากาศช่อง TNN24 ระบบ HD โดยระยะแรกออกอากาศทางระบบดิจิตอลเคเบิลใยแก้วของทรูวิชั่นส์ที่ช่อง 124 ต่อมาได้เปลี่ยนเลขช่องไปยังทรูวิชั่นส์ช่อง 121 แต่ในปัจจุบันออกอากาศทางทรูวิชั่นส์ช่อง 111 ทั้งระบบจานดาวเทียม และระบบดิจิตอลเคเบิลใยแก้ว พร้อมกันนี้ช่อง TNN24 ระบบ SD ยังได้ปรับสัดส่วนภาพจาก 4:3 เป็น 16:9 อีกด้วย และเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2557 TNN24 ได้เริ่มออกอากาศมาสู่ทีวีในระบบดิจิตอลแบบภาคพื้นดิน โดยออกอากาศทางช่องหมายเลข16 ผ่านเสาสัญญาณ มัลติเพล็กซ์ 2 ของกองทัพบก จนถึงปัจจุบัน.

ใหม่!!: ถนนพระสุเมรุและทีเอ็นเอ็น24 · ดูเพิ่มเติม »

ป้อมพระสุเมรุ

ป้อมพระสุเมรุ เป็นป้อมปราการที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 1 ในสมัยนั้นได้มีการสร้างป้อมปราการ 14 แห่งเพื่อป้องกันพระนคร แต่เมื่อเวลาผ่านไป ป้อมปราการหมดความจำเป็น จึงถูกรื้อถอนไป ป้อมพระสุเมรุเป็น 1 ใน 2 ป้อมที่ยังคงเหลืออยู่ อีกป้อมหนึ่งคือป้อมมหากาฬ ชื่อป้อมพระสุเมรุได้นำมาตั้งเป็นชื่อถนนพระสุเมรุ ป้อมพระสุเมรุซึ่งสร้างมาแต่รัชกาลที่ 1 มีลักษณะสวยงามและเป็นประโยชน์ใช้สอยมากมาย มีเชิงเทิน ช่องยิงปืน ห้องเก็บกระสุนดินดำ และอาวุธยุทโธปกรณ์ต่าง ๆ แต่ก็ชำรุดทรุดโทรมเป็นธรรมดา จนถึง พ.ศ. 2524 กรมศิลปากรได้ซ่อมแซมบูรณะตามรูปแบบเดิมจากภาพถ่ายในสมัยรัชกาลที่ 5 จนแลดูสง่างามเหมือนเดิม และยังปรับปรุงบริเวณโดยรอบให้เป็นสวนสาธารณะอีกด้วย โดยให้ชื่อว่า "สวนสันติชัยปราการ" มีพลับพลา ชื่อว่า "พระที่นั่งสันติชัยปราการ" ชุมชนโดยรอบป้อมพระสุเมรุ คือชุมชนถนนพระอาทิตย์ มีความเข้มแข็งด้านการมีส่วนร่วมสูงเช่นเดียวกับชุมชนป้อมมหากาฬ แต่มีความหลากหลายสูงกว่า ในสมัยรัชกาลที่ 1 เมื่อ..

ใหม่!!: ถนนพระสุเมรุและป้อมพระสุเมรุ · ดูเพิ่มเติม »

ป้อมมหากาฬ

ป้อมมหากาฬ ตั้งอยู่บริเวณเชิงสะพานผ่านฟ้าลีลาศ ติดกับถนนมหาไชย แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ทางด้านหลังมีกำแพงเมืองพระนครหลงเหลืออยู่ ป้อมมหากาฬสร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ในปี พ.ศ. 2326 เป็นป้อม 1 ใน 14 ป้อมที่โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อป้องกันรักษาพระนคร มีลักษณะรูปแปดเหลี่ยม มีกำแพงล้อมรอบ 2 ชั้น เป็นป้อมประจำพระนครด้านตะวันออก ปัจจุบันป้อมมหากาฬเป็น 1 ใน 2 ป้อมที่ยังคงเหลืออยู่ในกรุงเทพมหานคร อีกป้อมหนึ่งคือป้อมพระสุเมร ทางกรุงเทพมหานคร และกรมศิลปากรได้บูรณะซ่อมแซมป้อมมหากาฬเมื่อคราวพระราชพิธีสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี ในปี พ.ศ. 2525 และได้มีการบูรณะเรื่อยมาจนมีสภาพที่เห็นในปัจจุบัน ที่ตั้งด้านหนึ่งของป้อมเป็นที่อยู่ของชุมชนที่มีชื่อเสียงด้านลิเกโบราณ ผู้ที่ศึกษาด้านการมีส่วนร่วมของชุมชนทั้งชาวไทยและต่างประเทศมักจะมาสำรวจและทำวิจัยเรื่องการมีส่วนร่วมฯ ณ ชุมชนแห่งนี้ โดยมีประวัติการชุมนุมและต่อสู้มายาวนานกว่าสองทศวรรษ ในสมัยรัชกาลที่ 1-4 เป็นบ้านพักขุนนางชั้นสูงหลายท่าน เช่น เจ้าพระยายมราช (ครุฑ) เสนาบดีกรมเวียง (กรมเมือง) ฯลฯ เป็นต้น ภายหลังได้มีการรื้อบ้านที่อยู่ติดกับป้อมมหากาฬ คงเหลือไว้แค่บ้านที่จะอนุรักษ์ต่อไป บริเวณที่ได้มีการรื้อบ้าน จะเป็นสวนสาธารณะต่อไป.

ใหม่!!: ถนนพระสุเมรุและป้อมมหากาฬ · ดูเพิ่มเติม »

แยกบางลำพู

แยกบางลำพู (Bang Lamphu Intersection) เป็นทางแยกในลักษณะสี่แยกในพื้นที่บางลำพู แขวงชนะสงคราม เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เป็นจุดตัดกันของถนนพระสุเมรุ, ถนนสามเสน และถนนจักรพงษ์ โดยถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของถนนสามเสนและถนนจักรพงษ์ ในอดีต บริเวณทางแยกทางฝั่งถนนพระสุเมรุนี้เป็นที่ตั้งห้างนิวเวิลด์ ห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ที่เปิดดำเนินกิจการมาตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: ถนนพระสุเมรุและแยกบางลำพู · ดูเพิ่มเติม »

เกาะรัตนโกสินทร์

แผนที่เกาะรัตนโกสินทร์ เกาะรัตนโกสินทร์ เป็นพื้นที่ประวัติศาสตร์ในเขตพระนครในกรุงเทพมหานคร อยู่ติดกับแม่น้ำเจ้าพระยา มีความสำคัญทางประวัติศาสตร.

ใหม่!!: ถนนพระสุเมรุและเกาะรัตนโกสินทร์ · ดูเพิ่มเติม »

เขตพระนคร

ตพระนคร เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงเทพกลาง ถือเป็นเขตอนุรักษ์เมืองเก่า แหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมทางฝั่งพระนคร เนื่องจากมีสถานที่สำคัญทั้งทางด้านวัฒนธรรมและด้านการเมืองการปกครองตั้งอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งเขตพระนครเป็นที่ตั้งของเกาะรัตนโกสินทร์ในปัจจุบัน.

ใหม่!!: ถนนพระสุเมรุและเขตพระนคร · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »