โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ตู้ ฉีฟง

ดัชนี ตู้ ฉีฟง

ตู้ ฉีฟง (Johnny To, Johnnie To, Johnnie To Kei-Fung, จีนตัวเต็ม: 杜琪峯, จีนตัวย่อ: 杜琪峰, พินอิน: dù qífēng) เป็นผู้กำกับภาพยนตร์ และผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ชาวฮ่องกงที่มีชื่อเสียงคนหนึ่ง ตู้ ฉีฟง เกิดเมื่อวันที่ 22 เมษายน ค.ศ. 1955 ที่ฮ่องกง เริ่มต้นบทบาทในแวดวงบันเทิงของฮ่องกงด้วยการเป็นพนักงานส่งเอกสารของบริษัททีวีบี จากนั้นจึงขยับเลื่อนขั้นขึ้นมา จนกระทั่งได้มีโอกาสกำกับภาพยนตร์เรื่องแรกในปี ค.ศ. 1980 จากเรื่อง The Enigmatic Case ปัจจุบัน ตู้ ฉีฟง ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้กำกับฯที่มีความสามารถมาก โดยเฉพาะในภาพยนตร์แนวแอ็คชั่นหรือทริลเลอร์ระทึกขวัญ เช่นเดียวกับ จอห์น วู, ฉีเคอะ หรือหลิว เหว่ยเฉียง แต่ก็มีผลงานที่หลากหลายทั้งภาพยนตร์รัก หรือภาพยนตร์ตลกอีกด้วย ได้รับรางวัลมากมายทั้งรางวัลภาพยนตร์ฮ่องกงยอดเยี่ยม, รางวัลดอกชงโคทองคำ, รางวัลม้าทองคำ, รางวัลสมาคมนักวิจารณ์ฮ่องกง เป็นต้น ในปี ค.ศ. 1996 ได้ก่อตั้งบริษัทผลิตภาพยนตร์ของตนร่วมกับเพื่อนผู้กำกับฯอีกคน คือ ไว กาเฟย ชื่อ มิลด์กี เวย์ อิมเม.

16 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2498พ.ศ. 2523พ.ศ. 2539พลิกเกมทรชน คนเหนือเมฆพินอินรางวัลม้าทองคำสองทรนงไม่ยอมให้โลกทรยศสฺวี เค่อหลิว เหว่ยเฉียงอักษรจีนตัวย่ออักษรจีนตัวเต็มฮ่องกงผู้กำกับภาพยนตร์จอห์น วูเกมกล คนเงื่อนเงิน22 เมษายน

พ.ศ. 2498

ทธศักราช 2498 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1955 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันเสาร์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: ตู้ ฉีฟงและพ.ศ. 2498 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2523

ทธศักราช 2523 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1980 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันอังคารตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: ตู้ ฉีฟงและพ.ศ. 2523 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2539

ทธศักราช 2539 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1996 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันจันทร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: ตู้ ฉีฟงและพ.ศ. 2539 · ดูเพิ่มเติม »

พลิกเกมทรชน คนเหนือเมฆ

ลิกเกมทรชน คนเหนือเมฆ (Eye in the Sky, จีนตัวย่อ: 跟踪; จีนตัวเต็ม: 跟蹤, คำแปล: กับดัก) ภาพยนตร์แนวแอ็คชั่นทริลเลอร์สัญชาติฮ่องกง นำแสดงโดย เยิ่น ต๊ะหัว, เหลียง เจียฮุย, ฉี จื่อซาน, หลินเซียะ กำกับโดย ตู้ ฉีฟง และหยู ไหน่ไห.

ใหม่!!: ตู้ ฉีฟงและพลิกเกมทรชน คนเหนือเมฆ · ดูเพิ่มเติม »

พินอิน

นอิน หรือ ฮั่นยฺหวี่พินอิน (แปลว่า สะกดเสียงภาษาจีน) คือระบบในการถอดเสียงภาษาจีนมาตรฐาน ด้วยตัวอักษรละติน ความหมายของพินอินคือ "การรวมเสียงเข้าด้วยกัน" (โดยนัยก็คือ การเขียนแบบสัทศาสตร์ การสะกด การถอดเสียง หรือการทับศัพท์) พินอินเริ่มต้นในปี พ.ศ. 2501 และเริ่มใช้กันในปี พ.ศ. 2522 โดย รัฐบาลของสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยใช้แทนที่ระบบการถอดเสียงแบบเก่า เช่น ระบบเวดและไจลส์ และระบบจู้อิน นอกจากนี้ ยังมีการออกแบบระบบอื่น ๆ สำหรับนำไปใช้กับภาษาพูดของจีนในถิ่นต่าง ๆ และภาษาของชนกลุ่มน้อยที่ไม่ใช้ภาษาฮั่น ในสาธารณรัฐประชาชนจีนด้วย นับแต่นั้นมา พินอินก็เป็นที่ยอมรับจากสถาบันนานาชาติหลายแห่ง รวมทั้งรัฐบาลสิงคโปร์ หอสมุดรัฐสภาอเมริกัน และสมาคมหอสมุดอเมริกัน โดยถือว่าเป็นระบบการถอดเสียงที่เหมาะสมสำหรับภาษาจีนกลาง ครั้นปี พ.ศ. 2522 องค์การมาตรฐานนานาชาติ (ISO) ก็ได้รับเอาพินอินเป็นระบบมาตรฐาน (ISO 7098) ในการถ่ายทอดเสียงภาษาจีนปัจจุบันด้วยอักษรโรมัน (the standard romanization for modern Chinese) สิ่งสำคัญที่ต้องระลึกไว้ก็คือ พินอินนั้น เป็นการทับศัพท์ด้วยอักษรโรมัน (Romanization) มิใช่การถอดเสียงแบบภาษาอังกฤษ (Anglicization) นั่นคือ การกำหนดให้ใช้ตัวอักษรตัวหนึ่ง สำหรับแทนเสียงหนึ่ง ๆ ในภาษาจีนไว้อย่างตายตัว เช่น b และ d ในระบบพินอิน เป็นเสียง "ป" และ "ต" ตามลำดับ ซึ่งแตกต่างจากระบบการออกเสียงส่วนใหญ่ ไม่ว่าอังกฤษ ฝรั่งเศส หรือภาษาอื่นในยุโรป ขณะที่อักษร j หรือ q นั้นมีเสียงไม่ตรงกับในภาษาอังกฤษเลย กล่าวสั้น ๆ ก็คือ พินอินมุ่งที่จะใช้อักษรโรมัน เพื่อแทนเสียงใดเสียงหนึ่งโดยเฉพาะ เพื่อความสะดวกในการเขียน มิได้ยืมเสียงจากระบบของอักษรโรมันมาใช้ การใช้ระบบนี้นอกจากทำให้ชาวต่างชาติเขียนอ่านภาษาจีนได้สะดวกแล้ว ยังสามารถใช้กับคอมพิวเตอร์ได้สะดวกอย่างยิ่งด้วย ต่อไปนี้เป็นการถอดเสียงภาษาจีน (ที่เขียนด้วยอักษรโรมันในระบบพินอิน) ด้วยอักษรไทย โปรดสังเกตว่า บางหน่วยเสียงในภาษาจีนไม่มีหน่วยเสียงที่ตรงกันในภาษาไทย จึงต้องอนุโลมใช้อักษรที่ใกล้เคียง ในที่นี้จึงมีอักษรไทยบางตัว ที่ต้องใช้แทนหน่วยเสียงในภาษาจีนมากกว่าหนึ่งหน่วยเสียง ทั้งนี้เพื่อเป็น "เกณฑ์อย่างคร่าว ๆ" สำหรับการเขียนคำทับศัพท์ภาษาจีน.

ใหม่!!: ตู้ ฉีฟงและพินอิน · ดูเพิ่มเติม »

รางวัลม้าทองคำ

รางวัลม้าทองคำ (臺北金馬影展; Golden Horse Awards) เป็นรางวัลที่มอบให้กับภาพยนตร์ภาษาจีนซึ่งมาจากทั้ง ฮ่องกง, ไต้หวัน และจีนแผ่นดินใหญ่ โดยมอบในเทศกาลภาพยนตร์ดังกล่าวทุกปี.

ใหม่!!: ตู้ ฉีฟงและรางวัลม้าทองคำ · ดูเพิ่มเติม »

สองทรนงไม่ยอมให้โลกทรยศ

องทรนงไม่ยอมให้โลกทรยศ (真心英雄; A Hero Never Dies; ความหมายของชื่อต้นฉบับ: True Heart Hero) เป็นภาพยนตร์ฮ่องกงแนวแอ็คชันอาชญากรรม-ดรามา จัดฉายครั้งแรกใน ค.ศ. 1998 และเป็นภาพยนตร์เรื่องแรกของมิลกีเวย์อิเมจที่กำกับโดยตู้ ฉีฟง ภาพยนตร์ชุดดังกล่าวนำแสดงโดยหลี่หมิง และหลิว ชิงหวิน สองทรนงไม่ยอมให้โลกทรยศ เป็นภาพยนตร์ที่ว่าด้วยการนองเลือดของตัวเอกโดยมีมิตรภาพและการแข่งขันอยู่ระหว่างทั้งสองฝ่าย ท่ามกลางสงครามระหว่างแก๊ง ภาพยนตร์ชุดดังกล่าวได้รับการเปรียบเทียบกับภาพยนตร์ฮ่องกง..

ใหม่!!: ตู้ ฉีฟงและสองทรนงไม่ยอมให้โลกทรยศ · ดูเพิ่มเติม »

สฺวี เค่อ

วี เค่อ หรือในประเทศไทยมักเรียก ฉีเคอะ (Tsui Hark; จีน: 徐克, พินอิน: Xú Kè) ผู้อำนวยการสร้าง, ผู้เขียนบทและผู้กำกับภาพยนตร์ชาวฮ่องกงชื่อดัง ที่มีผลงานมากมายโดยเฉพาะ ภาพยนตร์แอ๊คชั่นในช่วงทศวรรษที่ 80 และทศวรรษที่ 90 เช่นเดียวกับ จอห์น วู สฺวี เค่อ เกิดเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1950 ที่ไซ่ง่อน เวียดนามใต้ เมื่ออายุได้ 13 ปี ครอบครัวได้เดินทางมาตั้งรกรากที่ฮ่องกง สฺวี เค่อมีความสนใจในศาสตร์ด้านภาพยนตร์ตั้งแต่เด็ก ๆ โดยร่วมกันสร้างภาพยนตร์ขนาด 8 มิลลิเมตร กับเพื่อน สฺวี เค่อ จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเทกซัส ออสติน ในปี ค.ศ. 1975 เมื่อจบการศึกษาแล้วจึงเริ่มงานในวงการภาพยนตร์ฮ่องกงอย่างแท้จริง จนได้รับการกล่าวขานว่าเป็น "ผู้กำกับรุ่นที่ 4" แต่ผลงานเริ่มต้นของสฺวี เค่อไม่ประสบความสำเร็จมากนัก โดยเขาเริ่มจากการกำกับละครโทรทัศน์และภาพยนตร์ในแนวตลกและกังฟู จนกระทั่งมาประสบความสำเร็จเป็นครั้งแรก จาก A Better Tomorrow เมื่อปี ค.ศ. 1986 จากการกำกับของจอห์น วู โดยสฺวี เค่อเป็นผู้อำนวยการสร้าง จากนั้นมา ชื่อของสฺวี เค่อ ก็เสมือนเครื่องการันตีคุณภาพของภาพยนตร์เรื่องนั้น ๆ จนกระทั่งในช่วงที่ประสบความสำเร็จและในชื่อเสียงอยู่นั้น การโฆษณาภาพยนตร์ในประเทศไทยต้องมีคำลงท้ายว่า "ฉีเคอะ กำกับ!!"ซึ่งภาพยนตร์ที่เป็นผลงานของสฺวี เค่อ ได้แก่ The Sword Man ทั้งภาคแรก, ภาคที่ 2 และภาคที่ 3 (เฉพาะภาคแรก สฺวี เค่อไม่ได้กำกับ แต่เป็นผู้อำนวยการสร้าง แต่ทว่าคนส่วนใหญ่มักเข้าใจว่าสฺวี เค่อเป็นผู้กำกับ), ภาพยนตร์ชุด Once Upon a Time in China หรือ หวงเฟยหง ที่นำแสดงโดย หลี่ เหลียนเจี๋ย หรือ A Chinese Ghost Story ที่นำแสดงโดย เลสลี่ จาง และ หวัง จู่เสียนและ Black Mask ในปี ค.ศ. 1996 นอกจากนี้แล้ว ยังได้กำกับภาพยนตร์ฮอลลีวู้ดอีก ในเรื่อง Double Team ในปี ค.ศ. 1997 นำแสดงโดย ชอง-โกลด ว็อง ดามม์, เดนนิส ร็อดแมน และมิกกีย์ รูร์ก และ Knock Off ในปี ค.ศ. 1998 นำแสดงโดย ชอง-โกลด ว็อง ดามม์, ร็อบ สไนเดอร์ และไมเคิล หว่อง นอกจากนี้แล้วยังได้กำกับภาพยนตร์การ์ตูนเรื่อง A Chinese Ghost Story หรือโปเยโปโลเย ที่เป็นความเชื่อเรื่องผีของจีนและเป็นหนังสืออ่านนอกเวลาของเด็กระดับชั้นประถมตามหลักสูตรการศึกษาของจีน โดยเป็นการนำเอาผลงานเก่ากลับมาสร้างใหม่ในรูปแบบอะนิเมะชั่น ในปี..

ใหม่!!: ตู้ ฉีฟงและสฺวี เค่อ · ดูเพิ่มเติม »

หลิว เหว่ยเฉียง

หลิว เหว่ยเฉียง หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ แอนดริว เลา (Andrew Lau, Andrew Lau Wai-Keung; จีนตัวเต็ม: 劉偉強; จีนตัวย่อ: 刘伟强) ผู้กำกับภาพยนตร์, ผู้กำกับภาพ และผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ชาวฮ่องกงที่มีชื่อเสียง เกิดเมื่อวันที่ 4 เมษายน ค.ศ. 1960 ที่ฮ่องกง หลิว เหว่ยเฉียง เข้าสู่วงการภาพยนตร์ตั้งแต่ยุคต้นทศวรรษที่ 90 โดยมีชื่อเสียงเคียงคู่กับมากับผู้กำกับรุ่นเดียวกันเช่น ริงโก แลม, หว่อง จิง, หว่อง กาไว โดยแรกเริ่มทำหน้าที่ผู้กำกับภาพ ซึ่งได้รับการยกย่องเช่นเดียวกับ คริสโตเฟอร์ ดอยล์ ผู้กำกับภาพที่มีชื่อเสียงระดับโลก โดยเคยร่วมงานกับดอยล์ด้วยใน Chungking Express ในปี ค.ศ. 1994 ส่วนผลงานการกำกับของหลิว เหว่ยเฉียง ประสบความสำเร็จอย่างมากในหลาย ๆ เรื่อง ทั้งรายได้และเสียงวิจารณ์ โดยเฉพาะในช่วงทศวรรษที่ 90 และ 2000 เช่น Young and Dangerous (ค.ศ. 1996), The Storm Riders (ค.ศ. 1998), A Man Called Hero (ค.ศ. 1999), The Dual (ค.ศ. 2000), Born to be King (ค.ศ. 2000), Infernal Affairs (ค.ศ. 2002), Infernal Affairs II (ค.ศ. 2003), Infernal Affairs III (ค.ศ. 2003), Confession of Pain (ค.ศ. 2006), Legend of the Fist: The Return of Chen Zhen (ค.ศ. 2010) และThe Guillotines (ค.ศ. 2012) นอกจากนี้แล้ว ยังเคยกำกับภาพยนตร์ 2 เรื่อง ที่ไม่ใช่ภาพยนตร์ฮ่องกง คือ Daisy ในปี..

ใหม่!!: ตู้ ฉีฟงและหลิว เหว่ยเฉียง · ดูเพิ่มเติม »

อักษรจีนตัวย่อ

Hànzì ฮั่นจื้อ แปลว่า ภาษาฮั่น หรือ ภาษาจีนกลาง เขียนด้วยอักษรจีนตัวย่อ แผนภาพออยเลอร์แสดงกลุ่มของการเปลี่ยนแปลงอักษรจีนตัวเต็มไปเป็นอักษรจีนตัวย่อ อักษรจีนตัวย่อ (เจี่ยนถี่จื้อ/เจี่ยนฮั่วจื้อ) เป็นหนึ่งในสองรูปแบบอักษรจีนมาตรฐานที่ใช้กันทั่วโลกในปัจจุบัน อักษรจีนตัวย่อประดิษฐ์และเริ่มใช้โดยรัฐบาลของสาธารณรัฐประชาชนจีน (จีนแผ่นดินใหญ่) ใน พ.ศ. 2492 เหตุที่ต้องเรียกว่าอักษรจีนตัวย่อ หรือ Simplified Chinese character ก็เพื่อให้แตกต่างจากอักษรจีนมาตรฐานอีกรูปแบบหนึ่งที่ในปัจจุบัน นั่นคือ อักษรจีนตัวเต็ม หรือ Traditional Chinese Character (อักษรจีนดั้งเดิม) อักษรจีนตัวเต็มได้ใช้ใน ฮ่องกง มาเก๊า ไต้หวัน และชุมชนชาวจีนโพ้นทะเลบางชุมชนที่เริ่มตั้งชุมชนก่อนการใช้อักษรจีนตัวย่ออย่างแพร่หลาย ส่วนอักษรจีนตัวย่อ ใช้กันใน สาธารณรัฐประชาชนจีน สิงคโปร์ และชุมชนชาวจีนโพ้นทะเลบางชุมชนที่เริ่มตั้งชุมชนหลังการใช้อักษรจีนตัวย่ออย่างแพร่หลาย อย่างไรก็ตาม ชาวไทยเชื้อสายจีนส่วนมากยังคงใช้อักษรจีนตัวเต็มเป็นหลัก แต่สำหรับการสอนภาษาจีนตามสถานศึกษาในประเทศไทยส่วนมากจะใช้อักษรจีนตัวย่อ เพื่อให้เป็นแบบแผนเดียวกันกับสาธารณรัฐประชาชนจีน.

ใหม่!!: ตู้ ฉีฟงและอักษรจีนตัวย่อ · ดูเพิ่มเติม »

อักษรจีนตัวเต็ม

Hànzì ฮั่นจื้อ แปลว่า ตัวอักษรจีน เขียนด้วยอักษรจีนตัวเต็ม อักษรจีนตัวเต็ม เป็นหนึ่งในสองรูปแบบอักษรจีนมาตรฐานที่ใช้กันทั่วโลกในปัจจุบัน ปรากฏครั้งแรกในสมัยราชวงศ์ฮั่น (พ.ศ. 337 - 763) และได้ใช้มาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 5 ในสมัยราชวงศ์เหนือใต้ ที่ต้องเรียกว่าอักษรจีนตัวเต็ม หรืออักษรจีนดั้งเดิม ก็เพื่อให้แตกต่างจากอักษรจีนมาตรฐานอีกรูปแบบหนึ่งที่ใช้ในปัจจุบัน นั่นคือ อักษรจีนตัวย่อ ซึ่งประดิษฐ์และเริ่มใช้โดยรัฐบาลของ สาธารณรัฐประชาชนจีน (จีนแผ่นดินใหญ่) ใน พ.ศ. 2492 อักษรจีนตัวเต็มได้ใช้ใน ฮ่องกง มาเก๊า ไต้หวัน และชุมชนชาวจีนโพ้นทะเลบางชุมชนที่เริ่มตั้งชุมชนก่อนการใช้อักษรจีนตัวย่ออย่างแพร่หลาย ส่วนอักษรจีนตัวย่อ ใช้กันใน สาธารณรัฐประชาชนจีน สิงคโปร์ และชุมชนชาวจีนโพ้นทะเลบางชุมชนที่เริ่มตั้งชุมชนหลังการใช้อักษรจีนตัวย่ออย่างแพร่หลาย อย่างไรก็ตาม ชาวไทยเชื้อสายจีนส่วนมากยังคงใช้อักษรจีนตัวเต็มเป็นหลัก แต่สำหรับการสอนภาษาจีนตามสถานศึกษาในประเทศไทยส่วนมากจะใช้อักษรจีนตัวย่อ เพื่อให้เป็นแบบแผนเดียวกันกับสาธารณรัฐประชาชนจีน.

ใหม่!!: ตู้ ฉีฟงและอักษรจีนตัวเต็ม · ดูเพิ่มเติม »

ฮ่องกง

องกง (Hong Kong; 香港) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า เขตบริหารพิเศษฮ่องกงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (Hong Kong Special Administrative Region of the People's Republic of China) เป็นเขตปกครองตนเองริมฝั่งทางใต้ของประเทศจีน ในทางภูมิศาสตร์มีสามเหลี่ยมปากแม่น้ำจูเจียงและทะเลจีนใต้โอบรอบ ฮ่องกงเป็นที่รู้จักในสกายไลน์ (skyline) ขยายและท่าเรือธรรมชาติลึก มีเนื้อที่ 1,104 กม.

ใหม่!!: ตู้ ฉีฟงและฮ่องกง · ดูเพิ่มเติม »

ผู้กำกับภาพยนตร์

วิศิษฏ์ ศาสนเที่ยง ขณะกำกับภาพยนตร์ในกองถ่ายเรื่องเปนชู้กับผี ผู้กำกับภาพยนตร์ คือผู้ที่มีหน้าที่กำกับในขั้นตอนการสร้างภาพยนตร์ โดยผู้กำกับภาพยนตร์มีหน้าที่สร้างจินตนาการจากบทหนัง แล้วถ่ายทอดความคิดทางด้านศิลปะออกมาตามแบบที่ตนเองต้องการ และเป็นคนสั่งฝ่ายอื่น ๆ ในกองถ่าย อย่างเช่น ฝ่ายผู้กำกับภาพ ผู้กำกับการแสดง ฝ่ายเทคนิค นักแสดง ออกมาอยู่ในองค์ประกอบทางศิลป์ที่ตนเองต้องการบนแผ่นฟิล์มหรือในระบบดิจิตอล อย่างไรก็ดี ผู้กำกับภาพยนตร์อาจจะควบคุมทุกอย่างตามที่ตนคิดไว้ไม่ได้เสมอไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเป็นภาพยนตร์ที่ฉายในโรง เพราะผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ จะเป็นคนกำหนดงบประมาณที่จะให้ผู้กำกับใช้จ่ายได้ หรือสั่งตัดต่อหนังในขั้นตอนสุดท้ายก่อนเข้าโรงฉายหากหนังมีความยาวเกินไป หรือเพื่อดึงการจัดเรตหนังให้ต่ำลงมา หรือบางฉากอาจจะมีการเพิ่มโฆษณาเข้าไป ดังนั้นเป็นเรื่องที่ไม่แปลกหากผู้กำกับจะมีปัญหาให้คุยกับผู้อำนวยการสร้างเสมอ.

ใหม่!!: ตู้ ฉีฟงและผู้กำกับภาพยนตร์ · ดูเพิ่มเติม »

จอห์น วู

อห์น วู (John Woo, 吳宇森, พินอิน: Wú Yǔsēn) ผู้กำกับภาพยนตร์ชาวฮ่องกงที่ไปมีผลงานในฮอลลีวูดและมีชื่อเสียงในระดับโลก เกิดเมื่อวันที่ 23 กันยายน ค.ศ. 1946 ณ เมืองกว่างโจว ประเทศจีน มีชื่อในภาษาจีนว่า อู๋ อี่ว์เซิน ในช่วงวัยเด็กครอบครัวของเขามีปัญหาทางการเมืองของจีนอยู่มาก จึงทำให้ต้องเขามาอาศัยในฮ่องกงในปี ค.ศ. 1953 ต่อมาพ่อของเขาก็ล้มป่วย ไม่สามารถหาเลี้ยงชีพให้กับครอบครัวได้ ทำให้เขาต้องพึ่งเงินจากทางโบสถ์เพื่อใช้เรียนหนังสือ.

ใหม่!!: ตู้ ฉีฟงและจอห์น วู · ดูเพิ่มเติม »

เกมกล คนเงื่อนเงิน

กมกล คนเงื่อนเงิน (Life Without Principle, จีนตัวเต็ม: 奪命金, จีนตัวย่อ: 夺命金, พินอิน: Duó Mìng Jīn) ภาพยนตร์ทริลเลอร์สัญชาติฮ่องกง นำแสดงโดย หลิว ชิงหวิน, เยิ่น เสียนฉี, เหอ หวั่นซือ, หลอ ไห่เผิง, ซู ฮั่งซวน, หวง เย่อหัว กำกับโดย ตู้ ฉีฟง.

ใหม่!!: ตู้ ฉีฟงและเกมกล คนเงื่อนเงิน · ดูเพิ่มเติม »

22 เมษายน

วันที่ 22 เมษายน เป็นวันที่ 112 ของปี (วันที่ 113 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 253 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: ตู้ ฉีฟงและ22 เมษายน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Johnnie ToJohnny Toตู้ฉีฟง

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »