โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ตำนานแห่งนาร์เนีย

ดัชนี ตำนานแห่งนาร์เนีย

ตำนานแห่งนาร์เนีย (The Chronicles of Narnia) เป็นชุดนิยายแฟนตาซีจำนวน 7 เล่ม เขียนโดย ซี.เอส. ลิวอิส ระหว่าง..

30 ความสัมพันธ์: ชาสต้าฟอนพ.ศ. 2493พ.ศ. 2545กำเนิดนาร์เนียภาษาอังกฤษวรรณกรรมเยาวชนวอลต์ดิสนีย์พิกเชอส์ศาสนาคริสต์สหราชอาณาจักรอภินิหารตำนานแห่งนาร์เนีย ตอน ราชสีห์ แม่มด กับตู้พิศวงอภินิหารตำนานแห่งนาร์เนีย ตอน ผจญภัยโพ้นทะเลอภินิหารตำนานแห่งนาร์เนีย ตอน เจ้าชายแคสเปี้ยนอวสานการยุทธ์อัสลานอาชากับเด็กชายอิงคลิงส์ผจญภัยโพ้นทะเลผีเสื้อ (สำนักพิมพ์)ดิกอรี่ เคิร์กคนแคระตู้พิศวงซี. เอส. ลิวอิสปีเตอร์ พีเวนซี่นวนิยายแฟนตาซีเก้าอี้เงินเจ้าชายแคสเปียนเทพปกรณัมกรีกเทพปกรณัมนอร์สเซนทอร์

ชาสต้า

ต้า (Shasta)หรือ คอร์ (Cor) เป็นตัวละครหลักในนวนิยายชุดตำนานแห่งนาร์เนีย ตอน อาชากับเด็กชายโดยซี.เอส. ลิวอ.

ใหม่!!: ตำนานแห่งนาร์เนียและชาสต้า · ดูเพิ่มเติม »

ฟอน

ภาพวาดฟอนกำลังเป่าขลุ่ย ฟอน (faun; faunus, เฟานุส; φαῦνος, เพาโนส) เป็นสัตว์ในเทพปกรณัมโรมัน ท่อนบนจากศีรษะลงไปถึงเอวเป็นมนุษย์แต่มีเขาและหูของแพะ ท่อนล่างจากเอวถึงเท้าเป็นแพะ อาศัยอยู่ในป่า มีความเกี่ยวข้องกับเซเทอร์ในเทพปกรณัมกรีก หมวดหมู่:สิ่งมีชีวิตในตำนานเทพปกรณัมโรมัน หมวดหมู่:เทพเจ้าสัตว์ หมวดหมู่:มนุษย์พันทางในปรัมปรา.

ใหม่!!: ตำนานแห่งนาร์เนียและฟอน · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2493

ทธศักราช 2493 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1950 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอาทิตย์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: ตำนานแห่งนาร์เนียและพ.ศ. 2493 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2545

ทธศักราช 2545 V 2002 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2002 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอังคารตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: ตำนานแห่งนาร์เนียและพ.ศ. 2545 · ดูเพิ่มเติม »

กำเนิดนาร์เนีย

กำเนิดนาร์เนีย (The Magician's Nephew) เป็นนิยายแฟนตาซีเยาวชนในชุดตำนานแห่งนาร์เนีย เขียนโดยซี.เอส. ลิวอิส ใน ค.ศ. 1955 นับเป็นลำดับที่หกตามที่ตีพิมพ์ และลำดับแรกถ้านับตามเหตุการณ์ในเรื่อง เป็นเรื่องที่เกิดก่อนเหตุการณ์ในตู้พิศวง ฉบับภาษาไทยจัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ผีเสื้อ แปลโดยสุมนา บุณยะรัตเวช พิมพ์ครั้งแรก..

ใหม่!!: ตำนานแห่งนาร์เนียและกำเนิดนาร์เนีย · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอังกฤษ

ษาอังกฤษ หรือ ภาษาอังกฤษใหม่ เป็นภาษาในกลุ่มภาษาเจอร์แมนิกตะวันตกที่ใช้ครั้งแรกในอังกฤษสมัยต้นยุคกลาง และปัจจุบันเป็นภาษาที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดในโลก ประชากรส่วนใหญ่ในหลายประเทศ รวมทั้ง สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย ไอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ และประเทศในแคริบเบียน พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่หนึ่ง ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ที่มีผู้พูดมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก รองจากภาษาจีนกลางและภาษาสเปน มักมีผู้เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองอย่างกว้างขวาง และภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการของสหภาพยุโรป หลายประเทศเครือจักรภพแห่งชาติ และสหประชาชาติ ตลอดจนองค์การระดับโลกหลายองค์การ ภาษาอังกฤษเจริญขึ้นในราชอาณาจักรแองโกล-แซ็กซอนอังกฤษ และบริเวณสกอตแลนด์ตะวันออกเฉียงใต้ในปัจจุบัน หลังอิทธิพลอย่างกว้างขวางของบริเตนใหญ่และสหราชอาณาจักรตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 จนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ผ่านจักรวรรดิอังกฤษ และรวมสหรัฐอเมริกาด้วยตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ภาษาอังกฤษได้แพร่หลายทั่วโลก กลายเป็นภาษาชั้นนำของวจนิพนธ์ระหว่างประเทศและเป็นภาษากลางในหลายภูมิภาค ในประวัติศาสตร์ ภาษาอังกฤษกำเนิดจากการรวมภาษาถิ่นหลายภาษาที่สัมพันธ์อย่างใกล้ชิด ซึ่งปัจจุบันเรียกรวมว่า ภาษาอังกฤษเก่า ซึ่งผู้ตั้งนิคมนำมายังฝั่งตะวันออกของบริเตนใหญ่เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 5 คำในภาษาอังกฤษจำนวนมากสร้างขึ้นบนพื้นฐานรากศัพท์ภาษาละติน เพราะภาษาละตินบางรูปแบบเป็นภาษากลางของคริสตจักรและชีวิตปัญญาชนยุโรปDaniel Weissbort (2006).

ใหม่!!: ตำนานแห่งนาร์เนียและภาษาอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

วรรณกรรมเยาวชน

วรรณกรรมเยาวชน (Young-adult fiction; บางครั้งเรียกย่อว่า YA fiction หรือ YA) เป็นนวนิยาย หรือ เรื่องสั้น ที่เขียนขึ้นสำหรับกลุ่มผู้อ่านที่มีอายุโดยประมาณระหว่าง 12-18 ปี ซึ่งมีลักษณะเฉพาะตัวที่แตกต่างจากวรรณกรรมสำหรับวัยอื่น คือวรรณกรรมสำหรับผู้ใหญ่ วรรณกรรมยุวชน และวรรณกรรมเด็ก ตัวละครหลักของวรรณกรรมเยาวชนมักเป็นวัยรุ่น มีส่วนน้อยที่ใช้ตัวเอกเป็นผู้ใหญ่หรือเด็ก เนื้อหามักเกี่ยวข้องกับสิ่งที่พึงประสบด้วยวัยและประสบการณ์ของตัวเอกของนวนิยายนั้นๆ ส่วนเนื้อหาของเรื่องอาจครอบคลุมลักษณะของนวนิยายหลากหลายประเภท แต่มักเน้นไปที่ประเด็นซึ่งท้าทายความเป็นวัยรุ่น รวมไปถึงนวนิยายประเภทการเปลี่ยนผ่านของวัย (coming of age) นอกเหนือจากนี้แล้ว วรรณกรรมเยาวชนก็มีลักษณะพื้นฐานเช่นเดียวกับนวนิยายประเภทอื่นๆ ทั้งเรื่องของตัวละคร พล็อต ฉาก แนวทางของเรื่อง และวิธีการเล่าเรื่อง.

ใหม่!!: ตำนานแห่งนาร์เนียและวรรณกรรมเยาวชน · ดูเพิ่มเติม »

วอลต์ดิสนีย์พิกเชอส์

วอลต์ดิสนีย์พิกเชอส์ (Walt Disney Pictures) เป็นบริษัททำภาพยนตร์ชั้นนำ ที่ก่อตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1983 ซึ่งก่อนหน้านี้ภาพยนตร์ดิสนีย์ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1954 ออกภายใต้ชื่อบริษัทแม่ จากนั้นเปลี่ยนชื่อมาเป็น วอลต์ดิสนีย์โพรดักชันส์ ส่วนอีกบริษัทคือ ทัชสโตนพิกเจอส์ ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1984 ที่ผลิตภาพยนตร์ที่มีเนื้อหาโตขึ้นมากกว่าของดิสนีย์ เกินกว่าที่จะใช้ชื่อดิสนีย์นี้อย่างเป็นทางการ วอลต์ดิสนีย์พิกเชอส์แอนด์เทเลวิชัน เป็นบริษัทในเครือวอลต์ดิสนีย์สตูดิโอเอนเตอร์เทนเมนต์ และผลิตภาพยนตร์ไลฟ์แอ็กชันเป็นส่วนใหญ่ ภายใต้บริษัท วอลต์ดิสนีย์โมชันพิกเจอส์กรุป ที่ผลิตภายนตร์ภายใต้บริษัทวอลต์ดิสนีย์พิกเจอส์และทัชสโตนพิกเจอส์ ส่วนหุ้นส่วนการค้าที่ประสบความสำเร็จในธุรกิจในปีหลัง ๆ อย่างเช่น เกรตโอกส์, คาราวานพิกเจอส์, เจอร์รี บรัคไฮเมอร์, มาร์เวลคอมิกส์, อิมเมจมูฟเวอส์ดิจิตอล, สปายกลาสเอนเตอร์เทนเมนต์, วอลเดนมีเดีย, แมนดีวิลฟิล์มส และกันน์ฟิล์ม ภาพยนตร์แอนิเมชันที่ผลิตโดยวอลต์ดิสนีย์แอนิเมชันสตูดิโอ, พิกซาร์, อิมเมจมูฟเวอส์ดิจิตอล และดิสนีย์ตูนสตูดิโอ จะออกภายใต้ชื่อ วอลต์ดิสนีย์พิกเจอส์ ภายใต้ชื่อของดิสนีย์ ยกเว้น Who Framed Roger Rabbit และ The Nightmare Before Christmas ที่ออกภายใต้ทัชสโตนในเครือดิสนี.

ใหม่!!: ตำนานแห่งนาร์เนียและวอลต์ดิสนีย์พิกเชอส์ · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาคริสต์

นาคริสต์ (Christianity) ราชบัณฑิตยสถานเรียกว่า คริสต์ศาสนาราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 156 เป็นศาสนาประเภทเอกเทวนิยม ที่มีพื้นฐานมาจากชีวิตและการสอนของพระเยซูตามที่ปรากฏในพระวรสารในสารบบ (canonical gospel) และงานเขียนพันธสัญญาใหม่อื่น ๆ ผู้นับถือศาสนาคริสต์เรียกว่าคริสต์ศาสนิกชนหรือคริสตชน คริสตชนเชื่อว่าพระเยซูเป็นพระบุตรพระเป็นเจ้า และเป็นพระเจ้าผู้มาบังเกิดเป็นมนุษย์และเป็นพระผู้ช่วยให้รอด ด้วยเหตุนี้ คริสตชนจึงมักเรียกพระเยซูว่า "พระคริสต์" หรือ "พระเมสสิยาห์" Briggs, Charles A. The fundamental Christian faith: the origin, history and interpretation of the Apostles' and Nicene creeds. C. Scribner's sons, 1913.

ใหม่!!: ตำนานแห่งนาร์เนียและศาสนาคริสต์ · ดูเพิ่มเติม »

สหราชอาณาจักร

หราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ หรือโดยทั่วไปรู้จักกันว่า สหราชอาณาจักร และ บริเตน (Britain) เป็นรัฐเอกราชตั้งอยู่นอกชายฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของยุโรปภาคพื้นทวีป ประเทศนี้ประกอบด้วยเกาะบริเตนใหญ่ ส่วนตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะไอร์แลนด์ และเกาะที่เล็กกว่าจำนวนมาก ไอร์แลนด์เหนือเป็นเพียงส่วนเดียวของสหราชอาณาจักรที่มีพรมแดนทางบกติดต่อกับรัฐอื่น คือ ประเทศไอร์แลนด์ นอกเหนือจากนี้แล้ว สหราชอาณาจักรล้อมรอบด้วยมหาสมุทรแอตแลนติกทางทิศตะวันตกและเหนือ ทะเลเหนือทางทิศตะวันออก ช่องแคบอังกฤษทางทิศใต้ และทะเลไอร์แลนด์ทางทิศตะวันตก รูปแบบการปกครองเป็นแบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยมีระบบรัฐสภา เมืองหลวง คือ กรุงลอนดอน ประกอบด้วยสี่ประเทศ คือ ประเทศอังกฤษ สกอตแลนด์ เวลส์ และไอร์แลนด์เหนือ สามประเทศหลังนี้ได้รับการถ่ายโอนการบริหาร โดยมีอำนาจแตกต่างกัน ตั้งอยู่ในเมืองหลวงของประเทศนั้น ๆ คือ เอดินบะระ คาร์ดิฟฟ์ และเบลฟัสต์ตามลำดับ ส่วนเกิร์นซีย์ เจอร์ซีย์ และเกาะแมนเป็นบริติชคราวน์ดีเพนเดนซี และมิใช่ส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร สหราชอาณาจักรมีดินแดนโพ้นทะเล 14 แห่ง ซึ่งเป็นสิ่งที่เหลืออยู่ของจักรวรรดิอังกฤษ ซึ่งขณะที่รุ่งเรืองที่สุดในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 นั้น ครอบคลุมพื้นดินของโลกเกือบหนึ่งในสี่ และเป็นจักรวรรดิใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ อิทธิพลของอังกฤษยังสามารถพบเห็นได้จากความแพร่หลายของภาษา วัฒนธรรมและระบบกฎหมายในอดีตอาณานิคมหลายแห่ง สหราชอาณาจักรเป็นประเทศพัฒนาแล้ว และมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 7 ของโลก ตามค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ณ ราคาตลาด และเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 8 ของโลก ตามความเท่าเทียมของอำนาจซื้อ สหราชอาณาจักรเป็นประเทศอุตสาหกรรมประเทศแรกในโลก และเป็นมหาอำนาจอันดับหนึ่งของโลกระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 สหราชอาณาจักรยังถูกกล่าวขานว่าเป็นมหาอำนาจและยังมีอิทธิพลทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรม ทหาร วิทยาศาสตร์และการเมืองระหว่างประเทศค่อนข้างมากอยู่ สหราชอาณาจักรได้รับรองว่าเป็นรัฐอาวุธนิวเคลียร์และมีรายจ่ายทางทหารมากเป็นอันดับที่ 4 ของโลก สหราชอาณาจักรเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาตินับแต่สมัยประชุมแรกใน..

ใหม่!!: ตำนานแห่งนาร์เนียและสหราชอาณาจักร · ดูเพิ่มเติม »

อภินิหารตำนานแห่งนาร์เนีย ตอน ราชสีห์ แม่มด กับตู้พิศวง

อภินิหารตำนานแห่งนาร์เนีย ตอน ราชสีห์ แม่มด กับตู้พิศวง (The Chronicles of Narnia: The Lion, the Witch and the Wardrobe) ภาพยนตร์ในชุดของ ตำนานแห่งนาร์เนีย จากหนังสือเรื่อง ตู้พิศวง ภาพยนตร์เรื่องนี้ ได้รับรางวัลออสการ์ สาขาแต่งหน้ายอดเยี่ยม ในงานประกาศผลรางวัลออสการ์ ครั้งที่ 78.

ใหม่!!: ตำนานแห่งนาร์เนียและอภินิหารตำนานแห่งนาร์เนีย ตอน ราชสีห์ แม่มด กับตู้พิศวง · ดูเพิ่มเติม »

อภินิหารตำนานแห่งนาร์เนีย ตอน ผจญภัยโพ้นทะเล

อภินิหารตำนานแห่งนาร์เนีย ตอน ผจญภัยโพ้นทะเล (The Chronicles of Narnia: The Voyage of the Dawn Treader) ภาพยนตร์ในชุดของ ตำนานแห่งนาร์เนีย จากหนังสือเรื่อง ผจญภัยโพ้นทะเล.

ใหม่!!: ตำนานแห่งนาร์เนียและอภินิหารตำนานแห่งนาร์เนีย ตอน ผจญภัยโพ้นทะเล · ดูเพิ่มเติม »

อภินิหารตำนานแห่งนาร์เนีย ตอน เจ้าชายแคสเปี้ยน

อภินิหารตำนานแห่งนาร์เนีย ตอน เจ้าชายแคสเปี้ยน (The Chronicles of Narnia: Prince Caspian) ภาพยนตร์ในชุดของ ตำนานแห่งนาร์เนีย จากหนังสือเรื่อง เจ้าชายแคสเปี้ยน.

ใหม่!!: ตำนานแห่งนาร์เนียและอภินิหารตำนานแห่งนาร์เนีย ตอน เจ้าชายแคสเปี้ยน · ดูเพิ่มเติม »

อวสานการยุทธ์

อวสานการยุทธ์ เป็นนิยายแฟนตาซีเยาวชนในชุดตำนานแห่งนาร์เนีย เขียนโดยซี.เอส. ลิวอิส ใน ค.ศ. 1957 นับเป็นลำดับที่เจ็ดตามที่ตีพิมพ์ และลำดับที่เจ็ดถ้านับตามเหตุการณ์ในเรื่อง เป็นตอนเดียวในชุดนาร์เนียที่เรียงลำดับการพิมพ์ลงตัวกับเนื้อหา ฉบับภาษาไทยจัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ผีเสื้อ แปลโดยสุมนา บุณยะรัตเว.

ใหม่!!: ตำนานแห่งนาร์เนียและอวสานการยุทธ์ · ดูเพิ่มเติม »

อัสลาน

อัสลาน (Aslan) เป็นตัวลำครหลักในนวนิยายชุดตำนานแห่งนาร์เนีย โดยซี.เอส. ลิวอิส อัสลานเป็นสิงโตผู้ยิ่งใหญ่ในหนังสือเรื่องตู้พิศวง และเป็นเพียงตัวละครเดียวที่อยู่ในหนังสือทั้ง 7 เล่ม โดยคำว่า "อัสลาน" มาจากภาษาตุรกีแปลว่าสิงโต ซี.เอส. ลิวอิสมักจะพิมพ์คำว่า "Lion" ด้วยตัวแอลตัวใหญ่เสมอ เพื่อให้สื่อถึงอัสลาน โดยสันนิษฐานว่าอัสลานหมายถึงพระเยซูThe Collected Letters of C.S. Lewis, vol iii, p 160: "I found the name...it is the Turkish for Lion.

ใหม่!!: ตำนานแห่งนาร์เนียและอัสลาน · ดูเพิ่มเติม »

อาชากับเด็กชาย

The Horse and His Boy หรือ อาชากับเด็กชาย เป็นนิยายแฟนตาซีเยาวชนในชุดตำนานแห่งนาร์เนีย เขียนโดยซี.เอส. ลิวอิส ใน ค.ศ. 1955 นับเป็นลำดับที่ห้าตามที่ตีพิมพ์ และลำดับที่สามถ้านับตามเหตุการณ์ในเรื่อง ฉบับภาษาไทยจัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ผีเสื้อ แปลโดยสุมนา บุณยะรัตเว.

ใหม่!!: ตำนานแห่งนาร์เนียและอาชากับเด็กชาย · ดูเพิ่มเติม »

อิงคลิงส์

ผับ "The Eagle and Child" ในเมืองออกซฟอร์ด ซึ่งกลุ่มอิงคลิงส์ใช้พบปะสังสรรค์กันทุกคืนวันอังคาร ในช่วงปี ค.ศ. 1939 อิงคลิงส์ (Inklings) เป็นชื่อกลุ่มสังสรรค์ทางด้านวรรณกรรมอย่างไม่เป็นทางการในมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด ประเทศอังกฤษ ในระหว่างช่วงทศวรรษ 1930 ถึง 1960 สมาชิกส่วนใหญ่เป็นอาจารย์หรือนักวิชาการในมหาวิทยาลัย ในจำนวนนี้มีสมาชิกคนสำคัญได้แก่ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน (Tollers), ซี. เอส. ลิวอิส (Jack), โอเวน บาร์ฟิลด์, ชาร์ลส วิลเลียมส์, คริสโตเฟอร์ โทลคีน (ลูกชายของเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน), วอร์เรน ลิวอิส (วอร์นี่ - พี่ชายของ ซี. เอส. ลิวอิส), โรเจอร์ แลนเซลีน กรีน, อดัม ฟ็อกซ์, ฮิวโก ดีสัน, โรเบิร์ต ฮาวาร์ด,.

ใหม่!!: ตำนานแห่งนาร์เนียและอิงคลิงส์ · ดูเพิ่มเติม »

ผจญภัยโพ้นทะเล

ผจญภัยโพ้นทะเล (The Voyage of the Dawn Treader) เป็นนิยายแฟนตาซีเยาวชนในชุดตำนานแห่งนาร์เนีย เขียนโดยซี.เอส. ลิวอิส ใน ค.ศ. 1952 นับเป็นลำดับที่สามตามที่ตีพิมพ์ และลำดับที่ห้าถ้านับตามเหตุการณ์ในเรื่อง ฉบับภาษาไทยจัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ผีเสื้อ แปลโดยสุมนา บุณยะรัตเวช พิมพ์ครั้งแรก..

ใหม่!!: ตำนานแห่งนาร์เนียและผจญภัยโพ้นทะเล · ดูเพิ่มเติม »

ผีเสื้อ (สำนักพิมพ์)

ำนักพิมพ์ผีเสื้อ เป็นสำนักพิมพ์ขนาดเล็ก ที่อยู่ 261.

ใหม่!!: ตำนานแห่งนาร์เนียและผีเสื้อ (สำนักพิมพ์) · ดูเพิ่มเติม »

ดิกอรี่ เคิร์ก

กอรี่ เคิร์ก (Digory Kirke) เป็นตัวละครหลักในนวนิยายชุดตำนานแห่งนาร์เนีย ตอน กำเนิดนาร์เนียโดยซี.เอส. ลิวอ.

ใหม่!!: ตำนานแห่งนาร์เนียและดิกอรี่ เคิร์ก · ดูเพิ่มเติม »

คนแคระ

วาด ''Men hur kommer man in i berget, frågade tomtepojken'' (''ข้าจะกลับไปในภูเขาได้อย่างไร, คนแคระน้อยถาม'') ของ จอห์น บาวเออร์ คนแคระ (Dwarf) เป็นสิ่งมีชีวิตที่ปรากฏในตำนานปรัมปราในกลุ่มประเทศเจอร์แมนิก (สแกนดิเนเวียและเยอรมัน) ปรากฏในเทพนิยาย นิยายแฟนตาซี และเกมอาร์พีจีจำนวนมาก มักมีพรสวรรค์อันวิเศษโดยเฉพาะด้านเกี่ยวกับการเหมืองและการโลหะ แนวคิดเริ่มแรกเกี่ยวกับกำเนิดตำนานของคนแคระไม่สามารถระบุได้แน่ชัด แหล่งกำเนิดที่ใกล้เคียงที่สุดเท่าที่สามารถค้นพบคือในตำนานปรัมปราของเจอร์แมนิกที่สืบทอดมาจากตำนานนอร์ส แต่กระนั้นก็หาหลักฐานได้ยากและมีรูปแบบหลากหลายมาก เรื่องราวที่ผิดเพี้ยนไปทำให้คนแคระดูน่าขบขันมากขึ้นและช่างเชื่อถือโชคลาง คนแคระมีลักษณะคล้ายมนุษย์ แต่เรื่องเล่าระบุถึงความสูงและชีวิตความเป็นอยู่แตกต่างกันไป บางเรื่องถึงกับบรรยายพวกเขาไปคล้ายกับพวกเอลฟ์ เมื่อพิจารณาจากแหล่งข้อมูลที่เก่าแก่ที่สุดและจากลักษณะตามธรรมชาติของคนแคระ เชื่อได้ว่าในยุคแรกๆ คนแคระมีความสูงพอกันกับมนุษย์นี้เอง บทบาทของพวกเขาในตำนานมักมีความผูกพันใกล้ชิดกับความตาย มีผิวกายซีด ผมสีเข้ม ชอบอยู่กับพื้นโลก มีประเพณีที่นิยมนับถือลัทธิภูตผี ซึ่งสอดคล้องกับความผูกพันกับความตาย บางครั้งมีลักษณะคล้ายคลึงกับพวก 'Vættir' หรือจิตวิญญาณแห่งธรรมชาติ เช่นพวกเอลฟ์ ตำนานปรัมปราเกี่ยวกับคนแคระที่พัฒนาการต่อมา มีข้อเปลี่ยนแปลงที่สำคัญคือ พวกเขาดูน่าขบขันมากขึ้น มีความลึกลับมากขึ้น คนแคระเริ่มมีรูปร่างเตี้ยลงและน่าเกลียดมากขึ้นตามภาพลักษณ์ในยุคใหม่ รวมถึงภาพการใช้ชีวิตใต้พื้นดินของพวกเขาก็โดดเด่นยิ่งขึ้น คนแคระเป็นสิ่งมีชีวิตมหัศจรรย์ที่มีทักษะด้านการโลหะอย่างวิเศษ มีชื่อเสียงในการสร้างของวิเศษในตำนานมากมาย แนวคิดเกี่ยวกับคนแคระในตำนานนอร์สยุคหลังมีความแตกต่างจากตำนานดั้งเดิมมาก คนแคระในแนวคิดใหม่นี้ไปปรากฏในเทพนิยายและนิทานพื้นบ้านในยุคหลังมากขึ้น (ดูเพิ่มเติมใน นิทานพื้นบ้านเยอรมัน และนิทานพื้นบ้านดัตช์) พวกเขากลายเป็นสิ่งมีชีวิตซึ่งมีเวทมนตร์ ไม่สามารถมองเห็นได้ เป็นเจ้าแห่งมนตร์มายา คำสาป และคำล่อลวง แฟนตาซีและวรรณกรรมยุคใหม่ช่วยกันถักทอความเจ้าเล่ห์แสนกลให้กับเหล่าคนแคระเพิ่มเติมไปยิ่งกว่าคนแคระดั้งเดิม คนแคระในยุคใหม่จึงมีลักษณะเฉพาะตัวคือ มีร่างกายเตี้ยแคระ ผมและขนดกหนา มีความสามารถในการทำเหมืองและการช่างโลหะอย่างพิเศษ อย่างไรก็ดีวรรณกรรมยุคใหม่ยังบรรยายภาพของคนแคระที่แตกต่างกันออกไปอีกตามแต่ตำนานและประวัติศาสตร์ของแต่ละท้องถิ่น วรรณกรรมแฟนตาซีหลายเรื่องประดิษฐ์คิดค้นอำนาจหรือภาพลักษณ์ของคนแคระขึ้นใหม่ ทำให้ "คนแคระ" ในตำนานยุคใหม่ไม่อาจมีคำจำกัดความที่ชัดเจนได้ แต่แนวคิดเรื่องคนแคระมีร่างเตี้ยดูจะเป็นประเด็นที่มั่นคงไม่เปลี่ยนแปลงมากที่สุด และคำว่า "คนแคระ" (dwarf) ก็ถูกนำมาใช้บรรยายถึงมนุษย์ร่างเตี้ยโดยทั่วไปไม่ว่าจะมีอำนาจเวทมนตร์หรือไม่ ดังนั้นคำจำกัดความสากลในยุคใหม่สำหรับคำว่า คนแคระ จึงหมายถึงสิ่งมีชีวิตร่างเตี้ย มีความเกี่ยวข้องกับเวทมนตร์ อยู่ในวรรณกรรมแฟนตาซีและเทพน.

ใหม่!!: ตำนานแห่งนาร์เนียและคนแคระ · ดูเพิ่มเติม »

ตู้พิศวง

ตู้พิศวง (The Lion, the Witch and the Wardrobe) เป็นนิยายแฟนตาซีเยาวชนในชุดตำนานแห่งนาร์เนีย เขียนโดยซี.เอส. ลิวอิส ใน ค.ศ. 1950 ฉบับภาษาไทยถูกตีพิมพ์หลายครั้ง บางฉบับใช้ชื่อว่า เมืองในตู้เสื้อผ้า แปลโดย อ. สนิทวงศ์ ฉบับล่าสุดจัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ผีเสื้อ แปลโดยสุมนา บุณยะรัตเวช พิมพ์ครั้งแรก..

ใหม่!!: ตำนานแห่งนาร์เนียและตู้พิศวง · ดูเพิ่มเติม »

ซี. เอส. ลิวอิส

ลฟ์ สเตเปิลส์ ลิวอิส (Clive Staples Lewis; 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2441 — 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2506) หรือรู้จักในนาม ซี.เอ.

ใหม่!!: ตำนานแห่งนาร์เนียและซี. เอส. ลิวอิส · ดูเพิ่มเติม »

ปีเตอร์ พีเวนซี่

ปีเตอร์ พีเวนซี่ (Peter Pevensie) เป็นตัวละครหลักในนวนิยายชุดตำนานแห่งนาร์เนีย ตอน ตู้พิศวง,เจ้าชายแคสเปี้ยนโดยซี.เอส. ลิวอ.

ใหม่!!: ตำนานแห่งนาร์เนียและปีเตอร์ พีเวนซี่ · ดูเพิ่มเติม »

นวนิยายแฟนตาซี

นวนิยายแฟนตาซี (Fantasy Fiction) เป็นจินตนิยายประเภทหนึ่งที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับแฟนตาซี รูปแบบเนื้อเรื่อง (ที่กลายมาเป็นรูปแบบพื้นฐานของนิยายแฟนตาซีกลุ่มหลักในปัจจุบันไปแล้ว – โดยมีงานของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน เป็นรากฐาน) มักจะเป็นในเชิงของดาบและเวทมนตร์ ความเจริญต่าง ๆ อยู่ในขั้นของยุคกลางหรือยุคโบราณ มีเรื่องอำนาจเหนือธรรมชาติ และ/หรือ เทพเจ้า เข้ามาเกี่ยวข้อง มีผู้วิเศษ (Sorcerror) ที่มีอำนาจด้วยตัวของตัวเอง และบันดาลเวทย์ หรือสิ่งเหนือธรรมชาติได้ด้วยพลังที่มีอยู่แล้วในตัว หรือโดยการตั้งสมาธิจิต (will), พ่อมด (Wizard) ซึ่งอำนาจเวทย์เกิดจากคาถา ที่จะต้องท่องคำวิเศษหรือใช้อักขระศักดิ์สิทธิ์ (runes), มีปีศาจและสัตว์ประหลาดต่าง ๆ, มีฝ่ายธรรมะ ฝ่ายอธรรม, มีมังกร เขาวงกต และส่วนประกอบอื่น ๆ รวมถึงตอนนี้ มักจะต้องมีแผนที่ประกอบ (เป็นธรรมเนียมไปแล้ว) อีกด้วย แฟนตาซีหลาย ๆ เรื่อง อย่างในชุดของ "Forgotten Realm" แม้จะมีเครื่องจักรกล หรือวิทยาศาสตร์เข้ามาประกอบอยู่ด้วย แต่ด้วยโครงสร้างของฉาก และเนื้อเรื่อง ย่อมดูออกทันทีว่าเป็นแฟนตาซี.

ใหม่!!: ตำนานแห่งนาร์เนียและนวนิยายแฟนตาซี · ดูเพิ่มเติม »

เก้าอี้เงิน

ก้าอี้เงิน เป็นนิยายแฟนตาซีเยาวชนในชุดตำนานแห่งนาร์เนีย เขียนโดยซี.เอส. ลิวอิส ใน ค.ศ. 1953 นับเป็นลำดับที่สี่ตามที่ตีพิมพ์ และลำดับที่หกถ้านับตามเหตุการณ์ในเรื่อง ฉบับภาษาไทยจัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ผีเสื้อ แปลโดยสุมนา บุณยะรัตเว.

ใหม่!!: ตำนานแห่งนาร์เนียและเก้าอี้เงิน · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าชายแคสเปียน

้าชายแคสเปียน (Prince Caspian: The Return to Narnia หรือ Prince Caspian เฉยๆ ในบางฉบับ) เป็นนิยายแฟนตาซีเยาวชนในชุดตำนานแห่งนาร์เนีย เขียนโดยซี. เอส. ลูอิส ใน พ.ศ. 2494(ค.ศ. 1951) ถือเป็นเล่มที่สองในชุดถ้านับตามลำดับเวลาที่เขียน แต่ถ้านับตามลำดับเหตุการณ์ในเรื่องถือเป็นลำดับที่สี่ ฉบับภาษาไทยจัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ผีเสื้อ แปลโดยสุมนา บุณยะรัตเวช พิมพ์ครั้งแรก..

ใหม่!!: ตำนานแห่งนาร์เนียและเจ้าชายแคสเปียน · ดูเพิ่มเติม »

เทพปกรณัมกรีก

รูปปั้นครึ่งตัวของซูส, ที่เมือง Otricoli พิพิธภัณฑ์ Pio-Clementino วาติกัน) เทพปกรณัมกรีก (ΜΥΘΟΛΟΓΊΑ ΕΛΛΗΝΙΚΉ) เป็นเรื่องปรัมปราและตำนานที่เกี่ยวข้องกับเทพเจ้า, วีรบุรุษ, ธรรมชาติของโลก รวมถึงจุดกำเนิดและความสำคัญของขนบ คติและจารีตพิธีในทางศาสนาของชาวกรีกโบราณ เทพปกรณัมกรีกเป็นส่วนหนึ่งของศาสนาในกรีซโบราณ นักวิชาการสมัยใหม่มักอ้างถึงและศึกษาเรื่องปรัมปราเหล่านี้ เพื่อที่จะทราบเกี่ยวกับสถาบันทางศาสนา, สถาบันทางการเมืองในกรีซโบราณ, อารยธรรมของชาวกรีก และเพื่อเพิ่มความเข้าใจในธรรมชาติของการสร้างตำนานเทพปกรณัมขึ้น เทพปกรณัมกรีกได้ถูกรวบรวมขึ้นจากเรื่องเล่าและศิลปะที่แสดงออกในวัฒนธรรมกรีก เช่น การระบายสีแจกันและของแก้บน ตำนานกรีกอธิบายถึงการถือกำเนิดของโลก และรายละเอียดของเรื่องราวในชีวิต และการผจญภัยของบรรดาเทพเจ้า เทพธิดา วีรบุรุษ วีรสตรี และสิ่งมีชีวิตในตำนานอื่น ๆ ซึ่งเรื่องราวเหล่านี้ในตอนแรกเป็นเพียงการสืบทอดผ่านบทกวีตามประเพณีมุขปาฐะเท่านั้น ซึ่งอาจสืบย้อนหลังไปได้ถึงสมัยไมนอส และสมัยไมซีนี ตั้งแต่ศตวรรษที่ 18 ก่อน..

ใหม่!!: ตำนานแห่งนาร์เนียและเทพปกรณัมกรีก · ดูเพิ่มเติม »

เทพปกรณัมนอร์ส

ทพเจ้าธอร์เข้าณรงค์ยุทธกับเหล่ายักษ์ เทพปกรณัมนอร์สหรือเทพปกรณัมสแกนดิเนเวียเป็นเทพปกรณัมของชนเจอร์แมนิกเหนือ และเป็นส่วนหนึ่งของศาสนาเก่าแก่ของชาวนอร์สซึ่งเป็นความเชื่อพหุเทวนิยม และยังคงเล่าสืบเนื่องกันมาแม้ภายหลังจากชาวสแกนดิเนเวียหันมานับถือศาสนาคริสต์ จนกลายมาเป็นคติชาวบ้านสแกนดิเนเวียแห่งสมัยใหม่ เทพปกรณัมนอร์สเป็นการกระจายขึ้นเหนือสุดของเทพปกรณัมเจอร์มานิก โดยประกอบด้วยนิทานเทวดา และวีรบุรุษต่าง ๆ จากแหล่งที่มาจำนวนมากทั้งก่อนและหลังยุคเพกัน ซึ่งรวมถึงวรรณกรรมของชาวไอซ์แลนด์ที่เขียนขึ้นในสมัยกลาง หลักฐานทางโบราณคดีและประเพณีพื้นบ้าน เทพเจ้าองค์สำคัญในเทพปกรณัมนอร์ส ได้แก่ ธอร์เทพสายฟ้าผู้มีค้อนใหญ่เป็นอาวุธ โดยเป็นเทพนักรบผู้พิทักษ์มนุษยชาติ ฯ โอดิน เทพเจ้าพระเนตรเดียว ผู้ทรงขวนขวายหาความรู้ในโลกฐาตุทั้งหลาย และพระราชทานอักษรรูนให้แก่มนุษย์; เฟรยา (Freyja) เทพสตรีผู้ทรงสิริโฉม ผู้ใช้เวทมนตร์ (seiðr) และทรงฉลองพระองค์คลุมขนนก ผู้ทรงม้าเข้าสู่สมรภูมิเพื่อเลือกเอาดวงวิญญาณในหมู่ผู้ตาย; สคาดดี (Skaði) ยักขินีและเทวีแห่งการสกี ผู้อาศัยอยู่ท่ามกลางฝูงหมาป่าบนภูเขาในฤดูหนาว; นโยร์ด (Njörðr) เทพเจ้าทรงฤทธิ์ผู้อาจปราบได้ทั้งทะเลและไฟและยังประทานความมั่งคั่งและที่ดิน; เฟรย์ (Freyr) ผู้นำสันติภาพและความเพลิดเพลินสู่มนุษยชาติ ผ่านทางฤดูกาลและการกสิกรรม; อีดุนน์ (Iðunn) เทพเจ้าผู้ทรงรักษาแอปเปิลที่ให้ความเยาว์วัยชั่วนิรันดร์; เฮม์ดาลร์ (Heimdallr) เทพเจ้าลึกลับผู้ประสูติแต่มารดาเก้าตน ทรงสามารถฟังเสียงหญ้าโต มีพระทนต์เป็นทองคำ และมีเขาสัตว์ที่เป่าได้ดังกึกก้อง; และโยตุนโลกิ ผู้นำโศกนาฏกรรมมาสู่ทวยเทพโดยวางแผนให้บัลเดอร์ (Baldr) พระโอรสแห่งเทพเจ้าฟริกก์ ต้องตาย เป็นต้น เทพปกรณัมนอร์สจัดเหล่าเทพเจ้าออกเป็นสองกลุ่ม คือ พวกอัสร์ (Æsir) ซึ่งมีรากคำเดียวกับ "อสูร" ในภาษาสันสกฤต ได้แก่ พวกเทพเจ้าองค์สำคัญๆในเทพวิหารของนอร์ส (เช่น โอดิน, ธอร์, ฟริกก์, บัลเดอร์ ฯลฯ) พวกหนึ่ง และ พวกวาเน็น หรือวานร์ อันเป็นเหล่าเทพที่มีความเกี่ยวพันกับความอุดมสมบูรณ์ ปัญญาเฉลียวฉลาด ธรรมชาติ และการรู้อนาคตอีกพวกหนึ่ง ทั้งสองพวกเข้าทำสงครามกันมาแต่ดึกดำบรรพ์ จนในที่สุดรู้ว่าตนมีอำนาจเท่าๆกัน นอกจากนี้ในโลกยังมีสัตว์และเผ่าในเทพนิยายอยู่อีกนานับประการ (เช่น ยักษ์, คนแคระ, เอลฟ์, และภูตในแผ่นดิน) จักรวาลวิทยาของนอร์สประกอบด้วยโลกเก้าโลก ซึ่งขนาบอิกดระซิล ต้นไม้แห่งเอกภพ โลกมนุษย์ในจักรวาลวิทยานอร์สมีชื่อเรียกว่า มิดการ์ นอกจากนี้ยังมีภพหลังความตายอยู่หลายภพซึ่งมีเทพเจ้าพิทักษ์รักษาอยู่แตกต่างกัน ในตำนานของนอร์สมีตำนานสร้างโลกอยู่หลายแบบ มีการทำนายว่าโลกเหล่านี้จะกำเนิดใหม่หลังเหตุการณ์แรกนะร็อก เมื่อเกิดการยุทธ์มโหฬารระหว่างเหล่าทวยเทพและฝ่ายศัตรู และโลกถูกเพลิงประลัยกัลป์หุ้มเพื่อถือกำเนิดใหม่ ที่นั่น เทพเจ้าที่เหลือรอดจะประชุม แผ่นดินจะเขียวอุดม และมนุษย์สองคนจะเพิ่มประชากรโลกอีกครั้ง.

ใหม่!!: ตำนานแห่งนาร์เนียและเทพปกรณัมนอร์ส · ดูเพิ่มเติม »

เซนทอร์

ซนทอร์ เซนทอร์ (centaur; มาจากภาษากรีกโบราณ κένταυροι) เป็นสัตว์ชนิดหนึ่งในเทพปกรณัมกรีก มีร่างส่วนบนเป็นมนุษย์ผู้ชาย แต่ส่วนลำตัวลงไปเป็นม้าหนุ่มที่มีกล้ามเนื้อเป็นมัด ๆ สง่างาม อาศัยอยู่แถบภูเขาของอาคาเดีย และเทสสาลีในประเทศกรีซ เซนทอร์มีสองตระกูล โดยตระกูลหนึ่งเกิดจาก อิคซอน อันธพาลแห่งสวรรค์ที่ขึ้นชื่อ กับอีกตระกูลที่เกิดจากโครนัส ฝ่ายหลังมีอุปนิสัยดีแตกต่างจากฝ่ายแรกมาก เซนทอร์ตระกูลอิคซอน เกิดจากอิคซอนกับเนฟีลี มีพละกำลังมาก ชอบดื่มไวน์กับชอบไล่คว้าผู้หญิง ซ้ำชอบทะเลาะเวลาเมา เซนทอร์จึงถูกมองว่าเป็นพวกขี้เมาไม่กลัวใครทั้งสิ้น เซนทอร์ตระกูลโครนัสต่างกับตระกูลอิคซอน เป็นเซนทอร์แสนดี โครนัสแต่งงานกับฟีลีร่า นางอัปสรน้ำผู้เลอโฉม มีลูกชื่อไครอน ซึ่งเป็นผู้คงแก่เรียน มีความสุขุมรอบคอบจนได้รับเลือกให้เป็นอาจารย์ของเหล่าวีรบุรุษหลายคนในตำนานกรีก เช่น อคิลลีส, เฮอร์คิวลีส, เจสัน, พีลูส, อีเนียส และบรรดาลูกศิษย์ของเขาก็ประพฤติตัวตามแบบครูบาอาจารย์ได้เป็นอย่างดี.

ใหม่!!: ตำนานแห่งนาร์เนียและเซนทอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Narniaท่องแดนนาร์เนีย

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »