โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ตัวกระตุ้นให้ทำงาน

ดัชนี ตัวกระตุ้นให้ทำงาน

ตัวกระตุ้นให้ทำงาน (actuator) หรือสั้น ๆ ว่า "ตัวกระตุ้น" เป็นชนิดหนึ่งของมอเตอร์ที่รับผิดชอบสำหรับการเคลื่อนไหวหรือการควบคุมกลไกหรือระบบ มันทำงานโดยแหล่งที่มาของพลังงาน โดยปกติเป็นกระแสไฟฟ้า, แรงดันของเหลวไฮดรอลิก, หรือแรงดันลม จากนั้นก็แปลงพลังงานนั้นให้เป็นการเคลื่อนไหว มันกระตุ้นให้หัวพิมพ์ฉีดสีออกมา หรือกระตุ้นให้ก้ามปูเบรกจับเข้ากับล้อ เป็นต้น ตัวกระตุ้นให้ทำงานเป็นกลไก โดยที่ระบบการควบคุมของตัวกระตุ้นจะทำงานอยู่กับสภาพแวดล้อม ระบบการควบคุมอาจเป็นแค่ระบบง่าย ๆ (ระบบเครื่องกลอยู่กับที่หรือระบบอิเล็กทรอนิกส์), ระบบตัวขับที่ใช้ซอฟต์แวร์ (เช่นตัวขับเครื่องพิมพ์, ระบบการควบคุมหุ่นยนต์), มนุษย์, หรืออินพุทอื่น.

4 ความสัมพันธ์: มอเตอร์วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ตัวแปรสัญญาณเฟือง

มอเตอร์

การทำงานของมอเตอร์ กระแสไฟฟ้าที่ป้อนเข้าในขดลวดที่พันรอบเหล็กอ่อนบนแกนหมุน(โรเตอร์) ทำให้เกิดอำนาจแม่เหล็กไปดูดหรือผลักกับอำนาจแม่เหล็กถาวรบนตัวนิ่ง(สเตเตอร์) หรือป้อนกลับกัน หรือป้อนทั้งสองที่ มอเตอร์ไฟฟ้าแบบต่างๆเมื่อเทียบกับแบตเตอรี 9V.

ใหม่!!: ตัวกระตุ้นให้ทำงานและมอเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์

วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Engineering) เดิมเป็นสาขาหนึ่งของวิศวกรรมไฟฟ้าที่ถูกแยกออกมาเพื่อให้เห็นความแตกต่างของงานทางด้านไฟฟ้ากำลัง กับงานทางด้านอิเล็กทรอนิกส์ อิเล็กทรอนิกส์ดิจิทัลคอมพิวเตอร์เครื่องแรกทำด้วยหลอดสูญญากาศ โดยทั่วไปแล้ววิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์หมายความครอบคลุมถึง วงจรอิเล็กทรอนิกส์ระดับสัญญาณต่ำ (small signal) ทั้งระบบแอนะล็อกและดิจิทัล ทั้งระดับPrinted Circuit Board และIntegrated Circuit และอาจรวมไปถึงระบบสื่อสารทั้งทางคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า, และแสง อิเล็กทรอนิกส์ เดิมทีเป็นสาขาที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบ และ ทดสอบวงจรไฟฟ้า ซึ่งสร้างจากอุปกรณ์ที่มีคุณสมบัติเฉพาะทางแม่เหล็กไฟฟ้า ตั้งแต่อุปกรณ์ที่เป็น active เช่นหลอดสูญญากาศ, แบตเตอรี, เซลล์เชื้อเพลิง, จอแสดงผล จนถึง อุปกรณ์จากสารกึ่งตัวนำเช่น ไดโอด ทรานซิสเตอร์ และ อื่น ๆ รวมทั้งอุปกรณ์ที่เป็น พาสซีฟ เช่นตัวต้านทาน, ตัวเก็บประจุและขดลวดแม่เหล็กไฟฟ้า เพื่อให้เป็นอุปกรณ์ที่ทำงานตามจุดประสงค์ที่ต้องการ เช่น เป็นวงจรวิทยุสื่อสาร วงจรคอมพิวเตอร์ เป็นต้น ปัจจุบันขอบเขตของวิศวกรรมอิเล็กโทรนิคส์ถูกขยายออกไปเป็น subfield ได้แก่ อิเล็กทรอนิกส์แอนะลอก, อิเล็กทรอนิกส์ดิจิทัล, อิเล็กทรอนิกส์ผู้บริโภค, ระบบการฝังตัว และอิเล็กทรอนิกส์กำลัง วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ยังเข้าไปทำงานร่วมกับงาน implement ของ application, งานด้าน หลักการและ algorithm เกี่ยวกับฟิสิกส์ของ solid state, โทรคมนาคม, ระบบควบคุม, การประมวลผลสัญญาณ, วิศวกรรมระบบคอมพิวเตอร์, วิศวกรรมเครื่องมือ, วิศวกรรมควบคุมพลังงานไฟฟ้า, หุ่นยนต์, และอื่น ๆ อีกมากม.

ใหม่!!: ตัวกระตุ้นให้ทำงานและวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ · ดูเพิ่มเติม »

ตัวแปรสัญญาณ

ตัวแปรสัญญาณ (Transducer) เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่แปลงสัญญาณของพลังงานในรูปแบบหนึ่งเป็นพลังงานในอีกรูปแบบหนึ่ง พลังงานดังกล่าวรวมถึง (แต่ไม่จำกัด เพียงเท่านี้) พลังงานไฟฟ้า, เครื่องกล, แม่เหล็กไฟฟ้า (รวมทั้งแสง), พลังงานเคมี, พลังงานเสียง, หรือพลังงานความร้อน ตัวแปรสัญญาณปกติจะหมายถึงเซ็นเซอร์/เครื่องตรวจจับ และใช้กันอย่างแพร่หลายในเครื่องมือวัดต่างๆ เซ็นเซอร์จะใช้ในการตรวจสอบพารามิเตอร์ในรูปแบบหนึ่ง และรายงานในอีกรูปแบบหนึ่งของพลังงาน ซึ่งมักจะเป็นสัญญาณไฟฟ้า ตัวอย่างเช่น เซ็นเซอร์ความดันอาจตรวจจับความดัน (รูปแบบเชิงกลของพลังงาน) และแปลงเป็นกระแสไฟฟ้าสำหรับจอแสดงผลที่เครื่องวัดระยะไกล Actuator จะทำงานตรงกันข้ามกับ transducer นั่นคือ actuator รับพลังงานไฟฟ้าและเปลี่ยนเป็นการเคลื่อนไหว เช่นมอเตอร์ไฟฟ้าและ ลำโพงเป็น actuator ทั้งสองอย่างนี้แปลงพลังงานไฟฟ้าให้เป็นการเคลื่อนไหว เพื่อวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน.

ใหม่!!: ตัวกระตุ้นให้ทำงานและตัวแปรสัญญาณ · ดูเพิ่มเติม »

เฟือง

ืองสองตัวขบกัน และกำลังหมุน (หมายเหตุ: เฟืองเล็กหมุนเร็วกว่าเฟืองใหญ่ แต่จะมีแรงหมุนน้อยกว่า, และสังเกตว่าบริเวณขอบของทั้งสองเฟืองจะมีความเร็วเชิงเส้นเท่ากัน) เฟือง (gear) เป็นชิ้นส่วนเครื่องกลที่มีรูปร่างเป็นจานแบนรูปวงกลม ตรงขอบมีลักษณะเป็นแฉก (เรียกว่าฟันเฟือง) ซึ่งสามารถนำไปประกบกับเฟืองอีกตัวหนึ่ง ทำให้เมื่อเฟืองตัวแรกหมุน เฟืองตัวที่สองจะหมุนในทิศทางตรงกันข้าม เกิดเป็นระบบส่งกำลังขึ้น โดยความเร็วรอบของเฟืองที่สองจะขึ้นกับอัตราส่วนจำนวนฟันเฟืองของตัวแรกเทียบกับตัวที่สอง ซึ่งอัตราส่วนนี้สามารถปรับให้เกิดเป็นความได้เปรียบเชิงกลได้ จึงถือเป็นเครื่องกลอย่างง่ายชนิดหนึ่ง ด้วยคุณลักษณะนี้ เฟือง สามารถนำมาใช้ส่งผ่านแรงหมุน ปรับความเร็ว, แรงหมุน และทิศทางการหมุนในเครื่องจักรได้ โดยระบบเฟืองหรือระบบส่งกำลังนี้ มีความสามารถคล้ายคลึงกับระบบสายพาน แต่จะดีกว่าตรงที่ระบบเฟืองจะไม่สูญเสียพลังงานไปกับการยืดหดและการลื่นไถลของสายพาน.

ใหม่!!: ตัวกระตุ้นให้ทำงานและเฟือง · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ตัวกระตุ้นให้ทำ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »