โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ตราประทับ

ดัชนี ตราประทับ

ตราประทับเครื่อง รูปลูกคลื่น ตราประทับ (postal marking) ในทางไปรษณีย์ หมายถึงการทำเครื่องหมายต่าง ๆ ลงบนซองจดหมาย หรือ สิ่งอื่นที่ส่งทางไปรษณีย์ มีหลายประเภท มีทั้งตราที่ใช้ในงานไปรษณีย์ และตราสำหรับประทับเป็นที่ระลึกในการสะสมแสตมป.

17 ความสัมพันธ์: กรุงเทพมหานครการสะสมแสตมป์ภาษีมหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ 2549วันแรกจำหน่ายสภากาชาดไทยสหราชอาณาจักรที่ทำการไปรษณีย์งานแสดงตราไปรษณียากรแห่งชาติซองจดหมายปลาการ์ตูนปากน้ำป้ายลงทะเบียนนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติฯ เนื่องในโอกาสการจัดงานฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปีแสตมป์แสตมป์ตลกไปรษณีย์

กรุงเทพมหานคร

กรุงเทพมหานคร เป็นเมืองหลวงและนครที่มีประชากรมากที่สุดของประเทศไทย เป็นศูนย์กลางการปกครอง การศึกษา การคมนาคมขนส่ง การเงินการธนาคาร การพาณิชย์ การสื่อสาร และความเจริญของประเทศ เป็นเมืองที่มีชื่อยาวที่สุดในโลก ตั้งอยู่บนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเจ้าพระยา มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านและแบ่งเมืองออกเป็น 2 ฝั่ง คือ ฝั่งพระนครและฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานครมีพื้นที่ทั้งหมด 1,568.737 ตร.กม.

ใหม่!!: ตราประทับและกรุงเทพมหานคร · ดูเพิ่มเติม »

การสะสมแสตมป์

ร้านขายแสตมป์ในงานแสดงตราไปรษณียากรแห่งชาติ การสะสมแสตมป์ คือ การเก็บสะสมและรวบรวมแสตมป์ ตลอดจนสิ่งสะสมอื่น ๆ เช่น ซองจดหมาย ถือเป็นงานอดิเรกที่นิยมมาก.

ใหม่!!: ตราประทับและการสะสมแสตมป์ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษี

ษี (tax, มาจากภาษาละติน taxo, "ข้าประเมิน") เป็นเงินหรือสิ่งของอื่นที่รัฐหรือสถาบันปฏิบัติหน้าที่เทียบเท่ารัฐเรียกเก็บจากผู้เสียภาษี ซึ่งอาจเป็นปัจเจกบุคคลหรือนิติบุคคลก็ได้ กฎหมายมีบทลงโทษผู้ที่ไม่เสียภาษี ระบอบต่ำกว่ารัฐ (subnational entity) จำนวนมากยังมีการเรียกเก็บภาษีเช่นกัน ภาษีประกอบด้วยภาษีทางตรงและภาษีทางอ้อม และอาจจ่ายเป็นรูปตัวเงินหรือการใช้แรงงานที่เทียบเท่า (มักเป็นการใช้แรงงานที่ไม่มีค่าตอบแทน แต่ไม่เสมอไป) ภาษีอาจนิยามได้ว่า "ภาระที่เป็นตัวเงินซึ่งตกแก่ปัจเจกบุคคลหรือเจ้าของทรัพย์สินเพื่อสนับสนุนรัฐบาล เป็นการชำระซึ่งเรียกเอาจากองค์การใช้อำนาจนิติบัญญัติ"Black's Law Dictionary, p. 1307 (5th ed. 1979).

ใหม่!!: ตราประทับและภาษี · ดูเพิ่มเติม »

มหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ 2549

ตราสัญลักษณ์งาน มหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ 2549 (International Horticulture Exposition for His Majesty the King; Royal Flora Ratchapruek 2006) หรือเรียกย่อๆว่า ราชพฤกษ์ 2549 เป็นงานมหกรรมจัดแสดงด้านพืชสวนกลางแจ้ง จัดขึ้นระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2549 – 28 กุมภาพันธ์ 2550 ณ ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ ตำบลแม่เหียะ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ มหกรรมพืชสวนโลกจัดขึ้นโดยใช้งบประมาณทั้งสิ้น 2,404 ล้านบาท จัดขึ้นในนามของรัฐบาลไทย โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรมวิชาการเกษตร และสมาคมพืชสวนแห่งประเทศไทย ภายใต้การสนับสนุนของสมาพันธ์ดอกไม้โลก (WFC) และสมาคมพืชสวนระหว่างประเทศ (ISHS) และการรับรองมาตรฐานมหกรรมระดับโลก ระดับ A1 (มาตรฐานมหกรรมขั้นสูงสุด) การจัดงานจาก สมาคมพืชสวนระหว่างประเทศ (AIPH) และสำนักงานมหกรรมโลก (BIE)จดหมายข่าวมหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ 2549 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนมกราคม พ.ศ. 2549 โดยประเทศไทยนับเป็นประเทศที่สามในทวีปเอเชีย ที่ได้รับรองการจัดงานมหกรรมระดับโลกจาก BIE ต่อจากจีน และญี่ปุ่น ตลอดช่วงการจัดงานมหกรรมพืชสวนโลก ได้ก่อให้เกิดเม็ดเงินสะพัดสู่ธุรกิจด้านการท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงใหม่คิดเป็นมูลค่าประมาณ 23,000 ล้านบาท โดยที่ร้อยละ 65 เป็นรายได้จากนักท่องเที่ยวคนไทย และร้อยละ 35 เป็นรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาต.

ใหม่!!: ตราประทับและมหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ 2549 · ดูเพิ่มเติม »

วันแรกจำหน่าย

วันแรกจำหน่าย (first day of issue) คือวันแรกที่วางจำหน่ายแสตมป์ชุดหนึ่ง ๆ ให้กับนักสะสมและผู้สนใจ แสตมป์สามารถหาซื้อได้ในวันดังกล่าวจากที่ทำการไปรษณีย์ต่าง ๆ ที่มีเคาน์เตอร์จำหน่ายแสตมป์สำหรับการสะสม หรือจากร้านจำหน่ายแสตมป์ที่ไปรษณีย์จัดในงานต่าง ๆ เช่น งานกาชาด หรือ งานสัปดาห์สากลแห่งการเขียนจดหมาย เป็นต้น ในกรณีที่วันแรกจำหน่ายตรงกับวันหยุดราชการ ไปรษณีย์บางแห่งจะเปิดทำการเป็นพิเศษสำหรับจำหน่ายแสตมป์โดยเฉพาะ แต่ไม่เปิดให้บริการด้านไปรษณีย์หรือบริการอื่น.

ใหม่!!: ตราประทับและวันแรกจำหน่าย · ดูเพิ่มเติม »

สภากาชาดไทย

กาชาดไทย เป็นสภากาชาดประจำประเทศไทย มีภารกิจปกป้องชีวิตและสุขภาพของมนุษย์ ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 26 เมษายน ร..

ใหม่!!: ตราประทับและสภากาชาดไทย · ดูเพิ่มเติม »

สหราชอาณาจักร

หราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ หรือโดยทั่วไปรู้จักกันว่า สหราชอาณาจักร และ บริเตน (Britain) เป็นรัฐเอกราชตั้งอยู่นอกชายฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของยุโรปภาคพื้นทวีป ประเทศนี้ประกอบด้วยเกาะบริเตนใหญ่ ส่วนตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะไอร์แลนด์ และเกาะที่เล็กกว่าจำนวนมาก ไอร์แลนด์เหนือเป็นเพียงส่วนเดียวของสหราชอาณาจักรที่มีพรมแดนทางบกติดต่อกับรัฐอื่น คือ ประเทศไอร์แลนด์ นอกเหนือจากนี้แล้ว สหราชอาณาจักรล้อมรอบด้วยมหาสมุทรแอตแลนติกทางทิศตะวันตกและเหนือ ทะเลเหนือทางทิศตะวันออก ช่องแคบอังกฤษทางทิศใต้ และทะเลไอร์แลนด์ทางทิศตะวันตก รูปแบบการปกครองเป็นแบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยมีระบบรัฐสภา เมืองหลวง คือ กรุงลอนดอน ประกอบด้วยสี่ประเทศ คือ ประเทศอังกฤษ สกอตแลนด์ เวลส์ และไอร์แลนด์เหนือ สามประเทศหลังนี้ได้รับการถ่ายโอนการบริหาร โดยมีอำนาจแตกต่างกัน ตั้งอยู่ในเมืองหลวงของประเทศนั้น ๆ คือ เอดินบะระ คาร์ดิฟฟ์ และเบลฟัสต์ตามลำดับ ส่วนเกิร์นซีย์ เจอร์ซีย์ และเกาะแมนเป็นบริติชคราวน์ดีเพนเดนซี และมิใช่ส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร สหราชอาณาจักรมีดินแดนโพ้นทะเล 14 แห่ง ซึ่งเป็นสิ่งที่เหลืออยู่ของจักรวรรดิอังกฤษ ซึ่งขณะที่รุ่งเรืองที่สุดในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 นั้น ครอบคลุมพื้นดินของโลกเกือบหนึ่งในสี่ และเป็นจักรวรรดิใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ อิทธิพลของอังกฤษยังสามารถพบเห็นได้จากความแพร่หลายของภาษา วัฒนธรรมและระบบกฎหมายในอดีตอาณานิคมหลายแห่ง สหราชอาณาจักรเป็นประเทศพัฒนาแล้ว และมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 7 ของโลก ตามค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ณ ราคาตลาด และเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 8 ของโลก ตามความเท่าเทียมของอำนาจซื้อ สหราชอาณาจักรเป็นประเทศอุตสาหกรรมประเทศแรกในโลก และเป็นมหาอำนาจอันดับหนึ่งของโลกระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 สหราชอาณาจักรยังถูกกล่าวขานว่าเป็นมหาอำนาจและยังมีอิทธิพลทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรม ทหาร วิทยาศาสตร์และการเมืองระหว่างประเทศค่อนข้างมากอยู่ สหราชอาณาจักรได้รับรองว่าเป็นรัฐอาวุธนิวเคลียร์และมีรายจ่ายทางทหารมากเป็นอันดับที่ 4 ของโลก สหราชอาณาจักรเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาตินับแต่สมัยประชุมแรกใน..

ใหม่!!: ตราประทับและสหราชอาณาจักร · ดูเพิ่มเติม »

ที่ทำการไปรษณีย์

อาคารที่ทำการไปรษณีย์กลางของเมืองมุมไบ ประเทศอินเดีย ที่ทำการไปรษณีย์รถไฟของสหราชอาณาจักร ซึ่งปัจจุบันไม่ใช้แล้ว ที่ทำการไปรษณีย์ (post office) เป็นสถานที่ซึ่งไปรษณีย์จัดตั้งขึ้นเพื่อจัดการกับจดหมายหรือสิ่งของอื่นที่ส่งทางไปรษณีย์ ซึ่งอาจเป็นการรวบรวม จนกระทั่งนำจดหมายส่งถึงผู้รับ ที่ทำการไปรษณีย์ส่วนใหญ่เปิดให้ประชาชนทั่วไปสามารถซื้อ แสตมป์ ส่งจดหมาย พัสดุ หรือ บริการด้านอื่น ๆ ทางไปรษณีย์ บริการให้เช่าตู้ ปณ. บริการธนาณัติ บริการชำระเงิน ฯลฯ ซึ่งด้านหน้าของที่ทำการไปรษณีย์เป็นเคาน์เตอร์สำหรับให้บริการกับประชาชน ส่วนด้านหลังใช้เป็นที่คัดแยกจดหมายเพื่อส่งต่อไปไปรษณีย์อื่นหรือผู้รับ แต่ก็มีที่ทำการไปรษณีย์จำนวนหนึ่งซึ่งมีหน้าที่คัดแยกจดหมายโดยเฉพาะ ไม่เปิดให้บุคคลทั่วไปเข้าไปใช้บริการ ที่ทำการไปรษณีย์ไม่จำเป็นต้องเป็นลักษณะอาคารเท่านั้น อาจเป็นเพียงเคาน์เตอร์ให้บริการขนาดเล็กในหน่วยงานอื่น ในศูนย์การค้า หรือแม้แต่ในงานจัดแสดงต่าง ๆ หรือการแข่งขันกีฬานานาชาติ ซึ่งเปิดเป็นที่ทำการไปรษณีย์ชั่วคราว นอกจากนี้ยังมีที่ทำการไปรษณีย์แบบเคลื่อนที่ เช่น บนรถไฟ รถยนต์ หรือ เรือ ซึ่งสามารถให้บริการตามจุดต่าง ๆ ที่มีการหยุดแวะ เป็นต้น.

ใหม่!!: ตราประทับและที่ทำการไปรษณีย์ · ดูเพิ่มเติม »

งานแสดงตราไปรษณียากรแห่งชาติ

งาน THAIPEX '05 งานแสดงตราไปรษณียากรแห่งชาติ (Thailand Philatelic Exhibition หรือ THAIPEX) เป็นงานที่จัดโดยไปรษณีย์ของไทยเป็นประจำทุกสองปี ในงานมีการจัดแสดงและประกวดแสตมป์จากนักสะสมในระดับประเทศ ไม่ว่าจะเป็นเยาวชนหรือผู้ใหญ่ มีการออกร้านของร้านขายแสตมป์จำนวนมาก ในบางปีเป็นการจัดงานระดับโลก ซึ่งมีผู้นำแสตมป์เข้าประกวดจากนานาชาติ และเรียกงานเป็น งานแสดงตราไปรษณียากรระหว่างประเทศ (พ.ศ. 2526) หรือ งานแสดงตราไปรษณียากรโลก (พ.ศ. 2536 และ 2546) เป็นต้น ปกติจะจัดงานในช่วงที่ตรงกับวันที่ 4 สิงหาคม ตรงกับวันไปรษณีย์ไทย ยกเว้นงานระดับโลกอาจจัดในช่วง 9 ตุลาคม ซึ่งเป็นวันก่อตั้ง สหภาพสากลไปรษณีย์แทน.

ใหม่!!: ตราประทับและงานแสดงตราไปรษณียากรแห่งชาติ · ดูเพิ่มเติม »

ซองจดหมาย

ตัวอย่างซองจดหมาย กระดาษรูปกากบาทสำหรับทำซองจดหมาย ซองจดหมาย คือบรรจุภัณฑ์ชนิดหนึ่งที่ผลิตจากกระดาษหรือวัสดุอื่นที่เรียบแบน ออกแบบขึ้นเพื่อบรรจุวัตถุเรียบแบน อาทิ จดหมาย การ์ด หรือธนบัตร เป็นต้น ซองจดหมายแบบดั้งเดิมทำจากกระดาษที่ตัดออกเป็นสามรูปร่างได้แก่ รูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน รูปสี่เหลี่ยมรูปว่าว และรูปกากบาท แล้วพับทบติดเข้าด้วยกันเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ปลายข้างหนึ่งเปิดออกสำหรับใส่วัตถุเรียบแบนที่ต้องการ และมีแถบกาวสำหรับปิดผนึก และถึงแม้ว่าจะนำซองจดหมายไปใส่วัตถุเรียบแบนอย่างอื่นที่ไม่ใช่จดหมาย ก็ยังคงเรียกว่าซองจดหมาย หรือเรียกสั้น ๆ ว่า ซอง ใน ค.ศ. 1876 วิลเลียม เออร์วิน มาร์ติน (William Irwin Martin) ได้ริเริ่มสร้างซองจดหมายที่มีขนาดมาตรฐานเพื่อใช้ในเชิงพาณิชย์ และได้แบ่งขนาดอย่างง่ายออกเป็นหมายเลข 0 ถึงหมายเลข 12 ซึ่งเป็นที่นิยมในสมัยนั้น ปัจจุบันขนาดของซองจดหมายถูกกำหนดด้วยมาตรฐาน ISO 269 (ซึ่งใช้ควบคู่กับขนาดกระดาษตาม ISO 216) และ DIN 678 ของเยอรมนี.

ใหม่!!: ตราประทับและซองจดหมาย · ดูเพิ่มเติม »

ปลาการ์ตูน

ปลาการ์ตูน เป็นปลากระดูกแข็งขนาดเล็กที่อาศัยอยู่ในทะเล จัดอยู่ในวงศ์ย่อย Amphiprioninae ในวงศ์ปลาสลิดหิน (Pomacentridae).

ใหม่!!: ตราประทับและปลาการ์ตูน · ดูเพิ่มเติม »

ปากน้ำ

ปากน้ำ หมายถึง ปากแม่น้ำ หรือบริเวณที่แม่น้ำบรรจบกับทะเลหรือบรรจบกับแม่น้ำสายใหญ่กว.

ใหม่!!: ตราประทับและปากน้ำ · ดูเพิ่มเติม »

ป้ายลงทะเบียน

แบบใช้กระดาษติด จาก พ.ศ. 2531 แบบที่ใช้ตรายาง จาก พ.ศ. 2532 แบบรหัสแท่ง จาก พ.ศ. 2548 ป้ายลงทะเบียน (registry label) เป็นสัญลักษณ์ที่ปรากฏบนจดหมายที่ส่งแบบลงทะเบียน กล่าวคือ มีการจดบันทึกไว้เป็นหลักฐานโดยไปรษณีย์ทั้งตอนส่งและตอนรับจดหมายเพื่อป้องกันการสูญหายของจดหมาย ป้ายลงทะเบียนอาจเป็นกระดาษหรือสติกเกอร์ติด หรือใช้วิธีประทับตรายางลงไปก็ได้ โดยบนสัญลักษณ์จะมีหมายเลข และตัวอักษร R ขนาดใหญ่ตามข้อตกลงของสหภาพสากลไปรษณีย์ (Universal Postal Union) เนื่องจากป้ายลงทะเบียนมักระบุถึงที่ทำการไปรษณีย์ที่ใช้ฝากส่งจดหมาย จึงมีการสะสมป้ายจากที่ทำการไปรษณีย์ต่าง ๆ นอกจากนี้ในกรณีที่นักสะสมแสตมป์สะสมตราประจำวัน หรือ ซองจดหมาย ป้ายลงทะเบียนที่ปรากฏบนจดหมายช่วยให้ซองมีคุณค่ามากขึ้น โดยเฉพาะในการศึกษาการไปรษณีย์ในสมัยต่าง ๆ ปัจจุบันไปรษณีย์ประเทศต่าง ๆ หันมาใช้ป้ายทะเบียนที่มีรหัสแท่ง (barcode) อยู่บนป้าย ทำให้สามารถใช้เครื่องอ่านเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ได้โดยตรงโดยไม่ต้องบันทึกเป็นกระดาษหรือพิมพ์เข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยมือ ข้อดีประการหนึ่งของการบันทึกเข้าระบบคอมพิวเตอร์คือ สามารถทำระบบออนไลน์ให้ผู้ฝากส่งสามารถตรวจสอบสถานะของจดหมายได้จากทางอินเทอร์เน็ต เช่น ของไทยสามารถตรวจที่ หมวดหมู่:ไปรษณีย์.

ใหม่!!: ตราประทับและป้ายลงทะเบียน · ดูเพิ่มเติม »

นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติฯ เนื่องในโอกาสการจัดงานฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี

วนหนึ่งของงานนิทรรศการฯ นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสการจัดงานฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี เนื่องในวโรกาสที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เถลิงถวัลยราชสมบัติครบ 60 ปี ในวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2549 ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 53/2549 ลงวันที่ 23 กุมภาพัน..

ใหม่!!: ตราประทับและนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติฯ เนื่องในโอกาสการจัดงานฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี · ดูเพิ่มเติม »

แสตมป์

แสตมป์ฝรั่งเศส ที่ใช้ในจักรวรรดิออตโตมัน ช่วงปี พ.ศ. 2445-2463 แสตมป์ หรือ ตราไปรษณียากร (Postage stamp หรือ Stamp) เป็นหลักฐานการชำระค่าบริการไปรษณีย์ มักเป็นกระดาษรูปสี่เหลี่ยมเพื่อติดบนซองจดหมาย แสตมป์ที่มีรูปร่างหรือทำจากวัสดุอื่นก็มีปรากฏให้เห็นอยู่บ้าง แสตมป์มักพิมพ์ออกเป็นแผ่น ประกอบด้วยแสตมป์หลายดวง ปกติอยู่ระหว่าง 20 ถึง 120 ดวง มีการปรุรู รอบดวงแสตมป์เพื่อเพิ่มความสะดวกในการฉีก รอยฉีกที่ได้เรียกว่า ฟันแสตมป์ ด้านหลังแสตมป์มีกาวเคลือบอยู่ กระดาษที่ใช้พิมพ์มักมีสิ่งพิเศษไว้เพื่อป้องกันการปลอมแปลง เช่น ลายน้ำ (watermark) หรือ ด้ายสี หากติดแสตมป์เพื่อใช้งานบนซองแล้ว ต้องมีการประทับตราทุกครั้ง เพื่อป้องกันการนำกลับมาใช้อีก การสะสมแสตมป์เป็นงานอดิเรกอย่างหนึ่งที่ได้รับความนิยมอย่างมาก.

ใหม่!!: ตราประทับและแสตมป์ · ดูเพิ่มเติม »

แสตมป์ตลก

แสตมป์ที่ชื่อ Inverted Jenny เป็น error สีน้ำเงินพิมพ์กลับหัว แสตมป์ตลก (อังกฤษ error, freak, oddity หรือ variety) คือแสตมป์ที่เกิดความผิดพลาดระหว่างการออกแบบหรือการพิมพ์ ทำให้แสตมป์ที่พิมพ์ออกมาผิดจากที่ควรจะเป็น แสตมป์ตลกมีได้หลายแ.

ใหม่!!: ตราประทับและแสตมป์ตลก · ดูเพิ่มเติม »

ไปรษณีย์

ในที่ทำการไปรษณีย์ โดยในภาพเป็นที่ทำการไปรษณีย์นาหว้า อำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม ไปรษณีย์ เป็นคำที่มีความหมายได้หลายอย่าง อาจหมายถึง จดหมาย (mail) บริการรับส่งจดหมายและพัสดุภัณฑ์ (postal service) รวมทั้งเป็นคำเรียกย่อ ๆ ของ ที่ทำการไปรษณี.

ใหม่!!: ตราประทับและไปรษณีย์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ตราที่ระลึกตราประจำวันตราประทับวันแรกจำหน่าย

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »