เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

ดิเอนเตอร์เทนเนอร์

ดัชนี ดิเอนเตอร์เทนเนอร์

อนเตอร์เทนเนอร์ (The Entertainer, a rag time two step) เป็นผลงานประพันธ์ดนตรีแบบแร็กไทม์ สำหรับบรรเลงด้วยเปียโน ผลงานของสก็อต จอปลินในปี..

สารบัญ

  1. 10 ความสัมพันธ์: บิลบอร์ดฮอต 100รัฐมิสซูรีรางวัลออสการ์รางวัลแกรมมีสก็อต จอปลินสมาคมผู้ประกอบกิจการเพลงของสหรัฐอเมริกาโครงการมิวโทเปียเซนต์หลุยส์เปียโนOgg

  2. ซิงเกิลในปี พ.ศ. 2516

บิลบอร์ดฮอต 100

ลโก้บิลบอร์ด บิลบอร์ดฮอต 100 (The Billboard Hot 100) เป็นชาร์ตอันดับซิงเกิลในวงการดนตรี ในสหรัฐที่วัดความนิยม ออกเป็นรายสัปดาห์โดยนิตยสารบิลบอร์ด โดยในการจัดอันดับวัดจากยอดการเปิดออกอากาศและยอดขาย โดยยอดขายประจำสัปดาห์นับยอดจากวันศุกร์ถึงวันพฤหัสบดี ขณะที่ยอดการออกอากาศนับจากวันจันทร์ถึงวันอาทิตย์ โดยชาร์ตอย่างเป็นทางการจะออกสู่สาธารณะทุกวันอังคาร ซึ่งหัวตารางของชาร์ตจะเป็นชาร์ตประจำสุดสัปดาห์ของวันเสาร์ถัดไป ตัวอย่างเช่น.

ดู ดิเอนเตอร์เทนเนอร์และบิลบอร์ดฮอต 100

รัฐมิสซูรี

รัฐมิสซูรี เป็นรัฐที่อยู่ทางตอนกลางของประเทศสหรัฐอเมริกา ล้อมรอบด้วยรัฐไอโอวา อิลลินอยส์ เคนทักกี เทนเนสซี อาร์คันซอ โอคลาโฮมา แคนซัส และเนแบรสกา มิสซูรีเป็นรัฐที่มีจำนวนประชากรเป็นอันดับที่ 18 ของประเทศ ประกอบด้วย 114 เคาน์ทีและ 1 เมืองอิสระ เมืองหลวงของรัฐคือ เจฟเฟอร์สัน ซิตี้ เมืองขนาดใหญ่ของรัฐเรียงตามลำดับ คือ เซนต์หลุยส์ แคนซัสซิตี สปริงฟิลด์ และโคลัมเบีย ดั้งเดิมนั้น มิสซูรีเป็นส่วนหนึ่งของฝรั่งเศสจากการซื้อหลุยส์เซียนาและต่อมากลายเป็นดินแดนมิสซูรี ส่วนของดินแดนมิสซูรีได้เข้าร่วมเป็นสหพันธ์ลำดับรัฐที่ 24 ในวันที่ 10 สิงหาคม..

ดู ดิเอนเตอร์เทนเนอร์และรัฐมิสซูรี

รางวัลออสการ์

รางวัลออสการ์ อะแคเดมีอะวอร์ด ("รางวัลสถาบัน") หรืิอ ออสการ์ เป็นรางวัลทางภาพยนตร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก จัดโดยสถาบันศิลปะและวิชาการทางภาพยนตร์ (หรือ) เริ่มจัดครั้งแรกในปี..

ดู ดิเอนเตอร์เทนเนอร์และรางวัลออสการ์

รางวัลแกรมมี

รางวัลแกรมมี รางวัลแกรมมี (Grammy Award) มีชื่อเต็มว่า Gramophone Awards เป็นรางวัลทางดนตรี และศิลปิน ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของโลก จัดขึ้นโดยสถาบันศิลปะวิทยาการการบันทึกเสียงแห่งสหรัฐอเมริกา (National Academy of Recording Arts and Sciences:NARAS) เป็นรายการแจกรางวัลให้ผู้มีผลงานโดดเด่นในอุตสาหกรรมการดนตรี จัดขึ้นเป็นประจำปีในสหรัฐอเมริกา โดยมากจะจัดในเดือนกุมภาพันธ์ มีสาขารางวัลถึง 108 สาขา ใน 30 แนวเพลง เป็นการโหวดโดยคณะกรรมการใน NARAS(คณะกรรมการที่เคยโหวดเช่น จอน บอน โจวี, ปริ้นซ์, Anand Bhatt, พอล ไซม่อน, เป็นต้น) รางวัลแกรมมีเริ่มมีการมอบรางวัลตั้งแต่ปี ค.ศ.

ดู ดิเอนเตอร์เทนเนอร์และรางวัลแกรมมี

สก็อต จอปลิน

ก็อต จอปลิน สก็อต จอปลิน (Scott Joplin) (พ.ศ. 2410 — 1 เมษายน พ.ศ. 2460) เป็นนักดนตรีและคีตกวีเพลงแร็กไทม์ ที่มีชื่อเสียงอย่างมาก และได้สร้างมาตรฐานไว้ให้สำหรับคนรุ่นหลัง.

ดู ดิเอนเตอร์เทนเนอร์และสก็อต จอปลิน

สมาคมผู้ประกอบกิจการเพลงของสหรัฐอเมริกา

มาคมผู้ประกอบกิจการเพลงของสหรัฐอเมริกา (The Recording Industry Association of America หรือ RIAA) เป็นสมาคมที่เป็นตัวแทนของผู้ประกอบกิจการเพลงในสหรัฐ มีสมาชิกจากทั้งค่ายเพลง ตัวแทนจำหน่าย ที่สมาคมกล่าวว่า "เป็นการรวมผู้สร้าง ผู้ผลิต หรือ/และ แจกจ่ายประมาณ ซึ่งมี 90% ของที่ถูกต้องตามกฎหมายเกี่ยวกับเพลง ที่ผลิตและขายในสหรัฐอเมริกา" โดยทำหน้าที่เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของกลุ่มธุรกิจและศิลปินที่อยู่ใน วงการเพลง สมาคมก่อตั้งในปี 1952 โดยแรกเริ่มเพื่อจัดการ ดูแลด้านเทคนิคของความถี่ในการผลิตแผ่นเสียง ในระหว่างการผลิต จนสมาคมเริ่มพัฒนาเกี่ยวกับมาตรฐานด้านเทคนิค และระบบในอุตสาหกรรมเพลง เช่นเทปแม่เหล็ก (อย่างเทปคาสเซ็ตต์ และเทปดิจิทัล) ซีดี และเทคโนโลยีดิจิทัล.

ดู ดิเอนเตอร์เทนเนอร์และสมาคมผู้ประกอบกิจการเพลงของสหรัฐอเมริกา

โครงการมิวโทเปีย

รงการมิวโทเปีย (Mutopia Project) เป็นโครงการจัดตั้งห้องสมุดออนไลน์เพื่อเก็บรวบรวมชีทมิวสิกที่เป็นเนื้อหาเสรี โดยอาศัยการทำงานของอาสาสมัคร ทำนองเดียวกับโครงการกูเทนแบร์ก สมาชิกของโครงการจะนำชีทมิวสิกของผลงานดนตรีเก่าที่หมดลิขสิทธิ์แล้ว มาคัดลอกโน้ตดนตรี และแปลงเป็นดิจิตอลในรูปแบบ GNU LilyPond และเปิดให้ดาวน์โหลดได้ทั้งรูปแบบ PDF, MIDI, โพสต์สคริปต์ และ LilyPond มีลิขสิทธิ์แบบครีเอทีฟคอมมอนส์ ผลงานดนตรีที่เผยแพร่ในปัจจุบัน มีมากกว่า 1,700 ชิ้น ส่วนใหญ่เป็นชีทมิวสิกสำหรับบรรเลงด้วยเปียโน นอกนั้นเป็นผลงานสำหรับการขับร้อง และบรรเลงด้วยเครื่องดนตรีอื่น เซิร์ฟเวอร์หลักของโครงการตั้งอยู่ที่มหาวิทยาลัยวอเทอร์ลู รัฐออนแทรีโอ ประเทศแคนาดา มีเซิร์ฟเวอร์สำรองอยู่ที่สหรัฐอเมริกา และโปรตุเก.

ดู ดิเอนเตอร์เทนเนอร์และโครงการมิวโทเปีย

เซนต์หลุยส์

ซนต์หลุยส์ (อังกฤษ/ฝรั่งเศส: St. Louis) เป็นเมืองอิสระที่ไม่ได้อยู่ในเคาน์ตีใดในรัฐมิสซูรี.

ดู ดิเอนเตอร์เทนเนอร์และเซนต์หลุยส์

เปียโน

ปียโน (ย่อมาจาก เปียโนฟอร์เต) เป็นเครื่องดนตรีที่บรรเลงโดยการกดลิ่มนิ้ว (คีย์บอร์ด) มักใช้นิยมบรรเลงเพลงแนว คลาสสิก และ แจ๊ส แม้ว่าเปียโนจะมีขนาดใหญ่และหนักทำให้ไม่สามารถพกพาได้ และมีราคาค่อนข้างแพง แต่เปียโนก็เป็นเครื่องดนตรีที่ได้เปรียบเครื่องดนตรีมากมาย เสียงของเปียโนสามารถเข้ากับเครื่องดนตรีเกือบทุกชนิด ดังนั้นเปียโนจึงสามารถเล่นได้ทั้งแบบบรรเลงเดี่ยว, แชมเบอร์, คลอเสียง หรือแม้กระทั่งร่วมกับวง ออร์เคสตรา ฝาครอบและแผ่นครอบของเปียโนอะคูสติกจะทำมาจากไม้ ในขณะที่กระดานเสียง (soundboard) จะถูกทำจากเหล็กกล้า และขึงด้วยสายโลหะ ลิ่มนิ้วของเปียโนมาตรฐานมีอยู่ทั้งหมด 88 คีย์ (คีย์ขาว 52, คีย์ดำ 36) ช่วงคีย์ปกติจะมีสายโลหะอยู่ 3 เส้นในหนึ่งคีย์ และคีย์เบสจะมีสายโลหะเส้นใหญ่อยู่ 1–2 เส้นในหนึ่งคีย์ เมื่อกดคีย์ จะเกิดเป็นเสียงโน้ตดนตรีที่มีความถี่การสั่นพ้องแตกต่างกันออกไป และเมื่อปล่อยคีย์ เสียงก็จะถูกตัด หากต้องการให้เสียงกังวานและลากยาวก็สามารถทำให้ โดยการเหยียบเพดัลขวา (คันเหยียบ) ที่อยู่บริเวณด้านล่างของเปียโนค้างไว้ กลไกการเกิดเสียงในเปียโนอะคูสติกนั้น เริ่มจากแรงจากการกดคีย์จะถูกส่งผ่านโดยกลไกที่ซับซ้อนไปยังหัวค้อน และหัวค้อนจะตีกระทบกับสายโลหะที่ขึงอยู่บนกระดานเสียงเกิดเป็นเสียงดนตรี ในระหว่างที่คีย์ถูกกดอยู่นั้น กลไกที่เรียกว่า แดมเปอร์ (damper) ของแต่ละคีย์ ซึ่งเดิมจะคอยดันสายโลหะไว้จะถูกยกออก ทำให้สายโลหะเกิดการสั่นพ้องได้ เมื่อใดก็ตามที่ปล่อยคีย์ แดมเปอร์จะกลับมาดันสายโลหะ ทำให้เสียงถูกตัดไป ดังนั้นการเหยียบเพดัลขวา จะเป็นการยกเพดัลของทุกคีย์ออก ทำให้สายโลหะเกิดการสั่นพ้องและกังวานมากขึ้นซึ่งทำให้เพลงมีความไพเราะ อย่างไรก็ตาม การเหยียบเพดัลขวาแช่ไว้ จะทำให้เสียงโน้ตดนตรีกังวานจนตีกับโน้ตดนตรีที่ตามมาทีหลัง ดังนั้นผู้บรรเลงจึงต้องทำการยกเท้าจากเพดัลเป็นจังหวะ ๆ เพื่อเป็นการตัดโน้ตดนตรีไม่ให้ข้ามห้องหรือตีกัน คำว่า เปียโน นั้น เป็นคำย่อจากคำว่า เปียโนฟอร์เต, ซึ่งเป็นภาษาอิตาลี ซึ่งเป็นการประสมคำระหว่างคำว่า เปียโน ที่แปลว่า "นุ่มนวล" กับ ฟอร์เต ที่แปลว่า "แข็งแกร่ง" ซึ่งมีที่มาจากการที่เป็ยโนนั้นมีคุณภาพเสียงที่หลากหลาย คีย์เบสที่ให้เสียงกังวานและทรงพลัง คีย์ปกติที่ให้เสียงนุ่มนวล และคีย์สูงที่ให้เสียงเล็กแหลม.

ดู ดิเอนเตอร์เทนเนอร์และเปียโน

Ogg

ogg ("อ็อก") เป็นรูปแบบหีบห่อดิจิทัลแบบมาตรฐานเปิดสำหรับบรรจุสื่อผสม มันถูกออกแบบมาเพื่อประสิทธิภาพในการกระจายเสียง (สตรีมมิง) และการเปลี่ยนแปร รูปแบบ ogg ออกแบบโดยมูลนิธิ Xiph.Org และปลอดจากสิทธิบัตรซอฟต์แวร์ คำว่า "ogg" ยังถูกใช้บ่อย ๆ เพื่อเรียกรูปแบบแฟ้มเสียง Ogg Vorbis ซึ่งเป็นเสียงที่ถูกเข้ารหัสแบบ Vorbis แล้วเก็บลงในหีบห่อ Ogg การเข้ารหัสอื่นที่เด่น ๆ ของ Xiph ที่มักถูกใส่ใน Ogg ก็คือ Theora ซึ่งเป็นการเข้ารหัสภาพเคลื่อนไหว (วิดีโอ), และ Speex ซึ่งเป็นการบีบอัดเสียงพูดของมนุษย์ MIME type ของ ogg คือ application/ogg.

ดู ดิเอนเตอร์เทนเนอร์และOgg

ดูเพิ่มเติม

ซิงเกิลในปี พ.ศ. 2516

หรือที่รู้จักกันในชื่อ The Entertainer