โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ดาวหางเฮียะกุตะเกะ

ดัชนี ดาวหางเฮียะกุตะเกะ

วหางเฮียะกุตะเกะ (Comet Hyakutake, ชื่ออย่างเป็นทางการว่า C/1996 B2) เป็นดาวหาง ค้นพบเมื่อวันที่ 31 มกราคม 2539Comet was discovered on 1996 January 30.8 UT (local time: January 31), see ซึ่งผ่านใกล้โลกในเดือนมีนาคมปีนั้น ได้รับการขนานนามว่าเป็น ดาวหางใหญ่ปี 2539 ซึ่งเป็นหนึ่งในดาวหางที่เข้าใกล้โลกที่สุดในรอบ 200 ปีที่ผ่านมา เฮียะกุตะเกะสว่างมากในท้องฟ้าราตรี และสามารถมองเห็นได้อย่างกว้างขวางทั่วโลก การสังเกตดาวหางทางวิทยาศาสตร์นำไปสู่การค้นพบจำนวนมาก ที่น่าประหลาดใจที่สุดสำหรับนักวิทยาศาสตร์ดาวหาง คือ การค้นพบการปล่อยรังสีเอกซ์จากดาวหางเป็นครั้งแรก ซึ่งเชื่อกันว่าเกิดจากอนุภาคลมสุริยะที่แตกตัวเป็นไอออนทำปฏิกิริยากับอะตอมที่เป็นกลางในโคมาของดาวหาง ยานอวกาศยูลิสซิสข้ามหางของดาวหางที่ระยะทางกว่า 500 ล้านกิโลเมตรจากนิวเคลียสอย่างไม่คาดฝัน แสดงให้เห็นว่าเฮียะกุตะเกะเป็นดาวหางที่มีหางยาวที่สุด เฮียะกุตะเกะเป็นดาวหางคาบยาว ก่อนการผ่านเข้าใกล้ระบบสุริยะที่สุดครั้งล่าสุด คาบวงโคจรอยู่ที่ราว 17,000 ปี แต่การรบกวนทางแรงโน้มถ่วงจากดาวเคราะห์ยักษ์เพิ่มคาบวงโคจรเป็น 70,000 ปี.

2 ความสัมพันธ์: ระบบสุริยะหลักการตั้งชื่อทางดาราศาสตร์

ระบบสุริยะ

ระบบสุริยะ (Solar System) ประกอบด้วยดวงอาทิตย์และวัตถุอื่น ๆ ที่โคจรรอบดวงอาทิตย์เนื่องจากแรงโน้มถ่วง ได้แก่ ดาวเคราะห์ 8 ดวงกับดวงจันทร์บริวารที่ค้นพบแล้ว 166 ดวง ดาวเคราะห์แคระ 5 ดวงกับดวงจันทร์บริวารที่ค้นพบแล้ว 4 ดวง กับวัตถุขนาดเล็กอื่น ๆ อีกนับล้านชิ้น ซึ่งรวมถึง ดาวเคราะห์น้อย วัตถุในแถบไคเปอร์ ดาวหาง สะเก็ดดาว และฝุ่นระหว่างดาวเคราะห์ โดยทั่วไปแล้วจะแบ่งย่านต่าง ๆ ของระบบสุริยะ นับจากดวงอาทิตย์ออกมาดังนี้คือ ดาวเคราะห์ชั้นในจำนวน 4 ดวง แถบดาวเคราะห์น้อย ดาวเคราะห์ขนาดใหญ่รอบนอกจำนวน 4 ดวง และแถบไคเปอร์ซึ่งประกอบด้วยวัตถุที่เย็นจัดเป็นน้ำแข็ง พ้นจากแถบไคเปอร์ออกไปเป็นเขตแถบจานกระจาย ขอบเขตเฮลิโอพอส (เขตแดนตามทฤษฎีที่ซึ่งลมสุริยะสิ้นกำลังลงเนื่องจากมวลสารระหว่างดวงดาว) และพ้นไปจากนั้นคือย่านของเมฆออร์ต กระแสพลาสมาที่ไหลออกจากดวงอาทิตย์ (หรือลมสุริยะ) จะแผ่ตัวไปทั่วระบบสุริยะ สร้างโพรงขนาดใหญ่ขึ้นในสสารระหว่างดาวเรียกกันว่า เฮลิโอสเฟียร์ ซึ่งขยายออกไปจากใจกลางของแถบจานกระจาย ดาวเคราะห์ชั้นเอกทั้ง 8 ดวงในระบบสุริยะ เรียงลำดับจากใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดออกไป มีดังนี้คือ ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน นับถึงกลางปี ค.ศ. 2008 วัตถุขนาดย่อมกว่าดาวเคราะห์จำนวน 5 ดวง ได้รับการจัดระดับให้เป็นดาวเคราะห์แคระ ได้แก่ ซีรีสในแถบดาวเคราะห์น้อย กับวัตถุอีก 4 ดวงที่โคจรรอบดวงอาทิตย์อยู่ในย่านพ้นดาวเนปจูน คือ ดาวพลูโต (ซึ่งเดิมเคยถูกจัดระดับไว้เป็นดาวเคราะห์) เฮาเมอา มาคีมาคี และ อีรีส มีดาวเคราะห์ 6 ดวงและดาวเคราะห์แคระ 3 ดวงที่มีดาวบริวารโคจรอยู่รอบ ๆ เราเรียกดาวบริวารเหล่านี้ว่า "ดวงจันทร์" ตามอย่างดวงจันทร์ของโลก นอกจากนี้ดาวเคราะห์ชั้นนอกยังมีวงแหวนดาวเคราะห์อยู่รอบตัวอันประกอบด้วยเศษฝุ่นและอนุภาคขนาดเล็ก สำหรับคำว่า ระบบดาวเคราะห์ ใช้เมื่อกล่าวถึงระบบดาวโดยทั่วไปที่มีวัตถุต่าง ๆ โคจรรอบดาวฤกษ์ คำว่า "ระบบสุริยะ" ควรใช้เฉพาะกับระบบดาวเคราะห์ที่มีโลกเป็นสมาชิก และไม่ควรเรียกว่า "ระบบสุริยจักรวาล" อย่างที่เรียกกันติดปาก เนื่องจากไม่เกี่ยวข้องกับคำว่า "จักรวาล" ตามนัยที่ใช้ในปัจจุบัน.

ใหม่!!: ดาวหางเฮียะกุตะเกะและระบบสุริยะ · ดูเพิ่มเติม »

หลักการตั้งชื่อทางดาราศาสตร์

ในยุคโบราณ มีการตั้งชื่อให้แก่ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดวงดาวที่สว่างพอจะมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าเพียงไม่กี่ร้อยดวงเท่านั้น ตลอดช่วงหลายร้อยปีหลังมานี้ จำนวนของวัตถุทางดาราศาสตร์ที่เรารู้จักเพิ่มขึ้นอย่างมากจากไม่กี่ร้อยดวงกลายเป็นจำนวนนับพันล้านดวง และยังมีการค้นพบเพิ่มเติมตลอดเวลาทุกปี นักดาราศาสตร์จึงจำเป็นต้องกำหนดระบบการตั้งชื่อเพื่อบ่งชี้ถึงวัตถุทางดาราศาสตร์เหล่านี้ ในเวลาเดียวกันก็ให้ชื่อแก่วัตถุซึ่งน่าสนใจที่สุดโดยสัมพันธ์กับคุณลักษณะของวัตถุเหล่านั้น สหพันธ์ดาราศาสตร์สากล (IAU) คือหน่วยงานอย่างเป็นทางการซึ่งเป็นที่ยอมรับของนักดาราศาสตร์และนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลก ว่าเป็นองค์กรทำหน้าที่กำหนดชื่อแก่วัตถุทางดาราศาสตร์ ซึ่งองค์กรได้สร้างระบบการกำหนดชื่อสำหรับวัตถุทางดาราศาสตร์ประเภทต่างๆ กันอยู่หลายร.

ใหม่!!: ดาวหางเฮียะกุตะเกะและหลักการตั้งชื่อทางดาราศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »